นํ้าท่วม 7 ปิดประตูนํ้าคลองสามบาททำไม? โปรดกระจายนํ้าอย่างมีเมตตาธรรม


 รู้จักคลองสามบาทกันไหมครับ ?



3) ตัวอย่างการจัดการเรื่องนํ้า ประตูนํ้าปากคลองสามบาท

เป็นที่ทราบกันดีถึงมวลนํ้าทางเหนือของกรุงเทพฯและปริมณฑลแบ่งเป็นส่วนตะวันตก และตะวันออก ซึ่งฝั่งตะวันตกดูตามภาพของ Team Consultant ข้างล่างนั้น  ที่สุดแล้วปราการสำคัญที่จะรับคือคลองมหาสวัสดิ์ ดังที่ทำเส้นหนาเข้มขวางเอาไว้ นัยว่าคลองมหาสวัสดิ์จะป้องกันพื้นที่ด้านใต้ซึ่งอยู่ในเขต กทม มิให้นํ้าท่วม ซึ่งคลองมหาสวัสดิ์รับนํ้าแล้วก็ระบายนํ้าไปสู่แม่นํ้าท่าจีนต่อไป

ข้างล่างเป็นแผนที่ แสดงคลองมหาสวัสดิ์ ทางรถไฟสายใต้ และถนนศาลายา-นครชัยศรี ซึ่งต่างก็ขนานกันคลองมหาสวัสดิ์ ทำหน้าที่เป็นแนวป้องกันนํ้า หรือชลอนํ้าได้ดีระดับหนึ่ง แต่เห็นไม่ชัดในรูปนี้



หมู่บ้านผมอยู่ระหว่างคลองมหาสวัสดิ์กับทางรถไฟ ใกล้ๆเป็น รพ. ศาลายาที่ทั้งหมดและรวมถึงประชาชนจำนวนมหาศาลเหนือคลองมหาสวัสดิ์ต่างก็ทนทุกข์กับนํ้าท่วม อย่างของผมหลังบ้านท่วม 1.5 ม. ที่อื่นๆน่าจะท่วมสูงกว่าผมมาก เราท่วมกันมา 1-2 เดือนแล้ว และเหนือผมไปมากๆซึ่งอยู่ในมวลนํ้าก้อนเดียวกันอาจท่วมนานกว่านั้นก็เป็นได้

ก่อนนํ้าท่วม จนท กรมชลฯมาเตือนภัย และบอกพวกเราว่า จะเปิดประตูคลองสามบาท (ดูรูป) แต่หน่วยราชการหลังประตูนํ้าซึ่งขอไม่เอ่นชื่อไม่ยอมให้เปิด จนนํ้าสูงขึ้นๆจนสูงกว่าทางรถไฟ ฯ นํ้าก็ข้ามไปท่วมตลาดและถนนศาลายา-นครชัยศรี ผมเองหลังท่วมมากๆก็ไปดูด้วยตาที่ถนน เห็นประตูนั้าปิดอยู่ และนํ้าซึ่งท่วมเราสูงมากไหลข้ามสันประตูนํ้าลงมายังคลองหลังประตูโดยมีระดับตํ่ากว่าถึงราว 50 ซม. ผมนึกในใจว่าหากประตูนํ้านี้เปิดนํ้าก็จะได้ไหลไปสู่ปลายทางคือแม่นํ้าท่าจีนและลงทะเล บ้านผมและพวกเราแถวนั้นที่อยู่ใกล้ประตูนํ้ามาก นํ้าจะระดับตํ่าลงมากอาจจะไม่เข้าบ้านด้วยซํ้า



(ล่าง)ภาพประตูนํ้าที่ปิดอยู่ 2 เดือน ทำให้นํ้าไปตามคลองสามบาทสู่แม่นํ้าท่าจีนไม่ได้ จะสังเกตว่านํ้านิ่ง




ประตูยังคงปิดอยู่เช่นนั้นผมพยายามติดต่อกรมชลฯ และมีน้องที่รู้จักช่วยเหลือระดับหนึ่งจนกระทั่งทีวีช่องสามไปถ่ายประตูนํ้า และทราบจากสื่อว่าที่ปรึกษานายก คือคุณอุเทนเสนอให้แก้ไขตรงจุดนี้ประตูจึงเปิดวันศุกร์ที่ 18 พย ที่ผ่านมานี้ (ดูภาพข้างล่างซึ่งถ่ายจากทางรถไฟใกล้บ้านผม ภาพ wide angle จริงๆประตูนํ้าอยู่ใกล้กว่านี้ และจะสังเกตเห็นว่านํ้าไหลแล้ว)


คลิกดูข่าวคุณอุเทน




นํ้าลดลง 5-10 ซม. แต่ที่สำคัญคือ นํ้าไหลผ่านบ้านผมเชี่ยวกราก พายเรือไม่ไหวต้องขึงเชือกดึงเอา แสดงถึงอัตราที่จะส่งผ่านนํ้าจํานวนมากขึ้นมากจากทิศเหนือเพื่อไปลงแม่นํ้าท่าจีน และทะเลต่อไป ตามแผนที่รัฐวางไว้ แต่น่าเสียดายที่ทำช้าไปมากกว่าที่ควร

ผมขอขอบคุณอย่างสูงในทุกๆท่านที่มีส่วนกระทำสิ่งที่ถูกต้อง ยุติธรรม และขอโทษหากผมเข้าใจผิด หรือได้ข้อมูลอะไรมาไม่ถูกต้อง และขอแสดงความเสียใจต่อท่านทั้งหลายที่นํ้าท่วมเกิดความสูญเสีย โปรดระลึกว่านํ้าที่ใหลบ่ามานั้น ไม่ใครก็ใครต้องรับให้มันท่วมและผ่านไปลงทะเล ท่านที่รับมาก และนาน ก็คงเข้าใจว่าท่านได้เสียสละเพื่อผู้อื่นไปแล้วไม่ว่าท่านจะตั้งใจเช่นนั้นหรือไม่ก็ตาม โปรดนึกอีกอย่างก็ได้ว่ายังนับว่าน้อยหากเทียบกับแผ่นดินไหว หรือภัยพิบัติอื่นๆ และถือเป็นการซ้อมจริงหากภายหน้ามีภัยที่รุนแรงกว่านี้ เราก็จะเตรียมการรับมือกับมันได้ดียิ่งขึ้นกว่านี้



1)ช่วยกันรักษาธรรมชาติ อย่าสะสมที่ดิน อย่ามีลูกมาก

สมัย
โบราณฝนตกหนัก นํ้าไหลบ่าเข้าท่วมไร่นาสวนชุมชนตามธรรมชาติ
ไม่มีการว่ากันเพราะต่างคนก็เลือกจะอยู่ตรงที่ลุ่มที่ดอน
ห่างหรือติดแม่นํ้าลำห้วย แต่เมื่อเรามีความสามารถมากขึ้นก็ขุดคลอง
ทำเขื่อนทำฝายเพื่อจัดการนํ้าระดับหนึ่ง และที่ไม่ได้ตั้งใจได้แก่ ถนน
ทางรถไฟ การรุกลํ้าพื้นที่ป่า โดยหลบเลี่ยงกฏหมาย หรือทำผิดให้เป็นถูก
การสะสมความมั่งมีโดยสะสมที่ดิน
ทำให้การใช้ประโยชน์ที่ดินไม่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เท่าเทียมยุติธรรม
และสมดุลย์กับการยังคงพื้นที่ซับนํ้า พื้นที่ต้นนํ้า
แหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์อื่นๆที่เขาก็ย่อมมีสิทธ์ของเขาเช่นกัน
ป่าไม้อันมีคุณค่ามหาศาลในด้านต่างๆ เช่น
เป็นแหล่งรวมความหลากหลายทางชีวภาพ สมุนไพร ต้นทางของยารักษาโรค ฯลฯ
ซึ่งอย่างหลังนี้ก็ได้เกิดจากนํ้ามือพวกเรา กัดกินตัวของเราเอง
ทำลายสภาพแวดล้อมอันสมบูรณ์ที่บรรพบุรุษสร้างมาด้วยสองมือ เลือดเนื้อ

คน
ที่อายุเท่าหรือมากกว่าผมคงจำได้ดีถึงความสมบูรณ์ทางธรรมชาติสมัยก่อน
ดงพญาไฟ ดงพญาเย็น ความสมบูรณ์ของป่าทางภาคเหนือ ภาคใต้
ซึ่งบัดนี้ถูกพวกเราคนละไม้คนละมือทำลายลงไปมากมาย

ผม
ขอฝากเยาวชนรุ่นหลังๆ ที่มีสตางค์
อย่าได้สะสมที่ดินเกินกว่าที่จะอยู่อาศัยอย่างสมถะโดยมีจิตเมตตาต่อคนอื่นๆ
ให้ได้มีโอกาสได้ใช้บ้าง และต่อลูกหลานของเรา
ส่วนคนยากคนจนนั้นก็ใช้ที่ดินอย่างสมคุณค่า
อย่าเป็นเครื่องมือรุกลํ้าที่ดินของชาติ ทุกคนอย่ามีลูกมาก
เพราะที่ดินเราจำกัดเหลือเกิน ประชากรมาก สมดุลย์ธรรมชาติก็จะยิ่งแย่ลงๆ

2) นํ้าควรจะไปท่วมที่ใหน?

พอ
เราควบคุมธรรมชาติได้บ้างอย่างคราวนํ้าท่วมครั้งนี้
ก็เป็นเรื่องปวดหัวตามมาที่จะกำหนดหลักการแบ่งว่านํ้าที่ไหลบ่าเข้ามาทั้ง
ทางแม่นํ้าลําคลอง และบ่าท่วมทุ่ง ว่าควรไปท่วมที่ใหนดี
ไม่ว่าจะทำอย่างไรก็ไม่สามารถทำให้คน หรือกลุ่มคนที่เห็นแก่ตัวพอใจได้
แต่ย่อมมีความยุติธรรมที่เราต้องคิดหาหลักการกันต่อไป
ทั้งนี้โดยละอคติคือความเห็นแก่ตัวของเราและพวกเราเสียก่อน

ผมเองคิดเรื่องนี้มาก แต่ก็คิดไม่ออกเหมือนกันว่าควรกำหนดอย่างไรจึงจะยุติธรรม ลองคิดกันดูเถิดครับ

อย่างกรุงเทพฯ
นั้นโดยที่เป็นเศรษฐกิจ เป็นหัวใจของประเทศ ก็พยายามทำทุกวิถีทาง ป้องกัน
ผันไปทางอื่นๆได้แก่ทางตะวันออก ทางตะวันตก ซึ่งท้องที่ที่ไม่เคยนํ้าท่วม
พอกรุงเทพฯป้องกันได้ดี เขาเหล่านั้นก็ตกเป็นเหยื่อ
เป็นผู้เสียสละโดยไม่ได้เลือกเองที่จะเสียสละ

คงยังไม่มีวิธีคิดที่
ตอบโจทย์ได้ง่ายๆ ในเรื่องที่ชาวบ้านยกกำลังออกมาร้อง คัดค้าน ปิดถนน
ไม่เห็นด้วยกับการจัดการเรื่องนํ้าท่วมของรัฐ
หรือการเผชิญหน้าระหว่างชุมชนใกล้เคียงที่ขัดแย้งกันดังที่เห็นกัน
เพียงแต่ผู้มีอำนาจจัดการจะต้องกระทำด้วยความรู้ด้านเท็คนิคเป็นอย่างดี
และมากกว่านั้นจะต้องคิดในกรอบของประเทศ ชุมชน ทิ้งเรื่องการเมือง
ความเห็นแก่ตัว ก็จะพอๆไปได้





Create Date : 20 พฤศจิกายน 2554
Last Update : 17 กันยายน 2560 0:18:16 น.
Counter : 1363 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

permsak.rat
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



All Blog