นักบุญฟรังซิสเซเวียร์ในหมู่บ้านชาวประมง (1)



หลังจากฟรังซิสไปถึงเมืองกัวแล้ว ก็ได้รับคำแนะนำให้ออกไปดูแลกลุ่มคริสตชนชาวปารวาส ที่เป็นชาวประมงงมหอยมุกในชายฝั่งโคโมรินในอินเดียใต้ ชาวปารวาสยากจนมาก จนชาวโปรตุเกสเองก็ไม่ลงไปตั้งถิ่นฐานแถบนั้น ท่านออกไปสอนคำสอนและโปรดศีลล้างบาปให้ผู้คนกว่า 30 หมู่บ้าน



ฟรังซิสในหมู่ชาวประมงปารวาส

ภารกิจ ของฟรังซิสไม่ได้จำกัดตามพวกโปรตุเกสที่อาศัยอยู่แค่ในเมืองกัวเท่านั้นแต่ยังกระจายออกไปถึงชาวพื้นเมืองอินเดียในแหลมทางใต้สุดด้วยโดยไปทางตะวันออกเรื่อย ๆ จากแหลมโคโมรินไปจนถึงตรงข้ามเกาะที่นักประวัติศาสตร์รุ่นโบราณเรียกว่า Rammanakoyel 

คนพื้นเมืองที่นี่คือพวก ปารวาส เป็นคนวรรณะต่ำ ยากจน มีอาชีพหลักคือทำประมงและเก็บหอยมุก ซึ่งไข่มุกในดินแดนแถบนี้ได้ชื่อว่ามีคุณภาพสูงรองจากไข่มุกจากบาเรห์นทีเดียว พวกเขามีสภาพชีวิตไม่ดีนักและไม่สามารถป้องกันตัวเองจากบรรดาเจ้านายที่กดขี่ได้ เมื่อชาวโปรตุเกสเข้ามายังอินเดียนั้น พวกปารวาสอยู่ใต้ปกครองของพวกมุสลิม แต่พวกเขาก็มีเจ้านายปกครองตัวเองเป็นหุ่นเชิด เพื่อที่จะได้เก็บภาษีไข่มุกไปบรรณาการเจ้าผู้ปกครองอีกต่อหนึ่ง อย่างไรก็ตามด้วยสถานะที่ไม่มั่นคงเช่นนี้ ทำให้ชาวโปรตุเกสเข้าไปมีอิทธิพลได้ง่ายและมีการเผยแผ่ศาสนาตามมา ชาวโปรตุเกสเริ่มเข้ามายึดครองแหล่งงมหอยมุกนี้

ตั้งแต่ปี 1525โดยขับไล่มุสลิมออกจากเมืองกัลยาปัฏ

นัม 



(บน) แหลมกัลยากุมารี ปลายสุดของอินเดีย 

เป็นแหล่งงมไข่มุก 

(ที่มา : en.wikipedia.org/wiki/Pearl_Fishery)


ที่ Tuticorin เมืองกลางชายฝั่ง ชาวมุสลิมคนหนึ่งได้ตัดหูของชาวปารวาส ซึ่งการกระทำเช่นนี้เป็นการดูหมิ่นดูแคลนอย่างหนักจนชาวปารวาสทนไม่ได้ จึงฆ่าเขาเสีย เกิดการต่อสู้กันจนชาวปารวาสล้มตายไปหลายคน พวกเขาจึงจับอาวุธขึ้นสู้ และรวมกำลังจากหมู่บ้านต่าง ๆ จัดการสังหารหมู่ชาวมุสลิมเสีย แต่ชาวปารวาสนั้นอ่อนแอกว่า ไม่ชอบสงครามรักสงบและแบ่งเป็นพรรคเป็นพวก แม้ว่าพวกเขาจะมีกษัตริย์ แต่สุดท้ายก็ถูกข่มขู่กลับจากบรรดาชาวมุสลิมที่มีกำลังกองเรือมากกว่า

และด้วยคำแนะนำของอัศวินคริสเตียนชาวพื้นเมืองชั้นสูงคนหนึ่ง ที่เคยเดินทางไปโปรตุเกสและได้รับความโปรดปรานจากกษัตริย์พวกเขาจึงร้องขอความช่วยเหลือไปยังกองทัพโปรตุเกสที่เมืองโคชิน และส่งบรรดาขุนนางของเขาไปที่นั่นเรื่องนี้พิจารณากันในหมู่ชาวโปรตุเกสว่าน่าจะเป็นผลดีในการประกาศพระวรสารของพระคริสต์ท่ามกลางพวกเขาทั้งพวกเขาก็จะไม่ถูกข่มเหงอีกต่อไปรวมทั้งเป็นโอกาสที่จะให้คนพื้นเมืองละทิ้งความเชื่องมงายด้วย

นอกจากนี้พวกโปรตุเกสยังเห็นเป็นข้อดีในการยืมมือชาวพื้นเมืองกำจัดชาวมุสลิมออกไป และหลังจากกำจัดมุสลิมไปได้แล้วโปรตุเกสก็จะได้รับไข่มุกจำนวนมากเป็นค่าปฏิกรณ์สงคราม กองทัพโปรตุเกสที่เมืองโคชินยอมช่วยเหลือชาวปารวาสโดยมีข้อแม้ว่าพวกเขาจะต้องยอมรับนับถือศาสนาคริสต์ บรรดาขุนนางที่เป็นทูตไปยังโคชินต่างยอมรับข้อเสนอของโปรตุเกสและยอมรับศีลล้างบาป[1]และรับปากว่าบรรดาเพื่อนร่วมชาติของตนก็จะรับศีลล้างบาปด้วยพวกโปรตุเกสจึงไปขับไล่มุสลิมออกจากชายฝั่ง และคืนดินแดนให้พวกปารวาสมีการส่งพระสงฆ์บางรูปไปดูแลพวกเขาด้วย 

หัวหน้าของคณะมิชชันนารีชื่อ Miguel Vaz เป็นตัวแทนของพระสังฆราชแห่งกัว ด้วยเหตุนี้ประชาชนชาวปารวาสทั้งหมดจึงเข้ารับศีลล้างบาปในปี1532 เป็นเวลา 10 ปี ก่อนการมาถึงของฟรังซิสเซเวียร์แต่งานแพร่ธรรมก็ไม่ได้เจริญก้าวหน้าต่อไป ฟรังซิสได้ยินเรื่องปารวาสมาจากมิเกลวาส ผู้แนะนำให้ท่านเดินทางไปดูแลชุมชนคริสตชนแห่งนี้ พวกเขาไม่มีพระสงฆ์และไม่ได้รับการอบรมใดๆหลังจากการล้างบาปครั้งแรกฟรังซิสพบว่าพวกเขาไม่มีความรู้อะไรเลย ยกเว้นว่าพวกเขาเป็นชาวคริสต์ดังนั้นท่านจึงเดินทางออกจากกัวในฤดูใบไม้ร่วงของปีเดียวกับที่ท่านมาถึงอินเดีย เพื่อมาดูแลชาวปารวาส

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ปล. ความขัดแย้งระหว่างชาวปารวาสกับชาวอาหรับเกิดขึ้นในปี 1532 ชาวปารวาสจึงขอความช่วยเหลือไปยังโปรตุเกส ในปี 1535 พวกโปรตุเกสยกทัพมาช่วย โดยมี Pedro vaz  เป็นแม่ทัพ และขับไล่ชาวอาหรับออกไป เพื่อเป็นการตอบแทน ชาวปารวาสต้องหันมานับถือศาสนาคริสต์ ชาวโปรตุเกสเห็นความสำคัญของไข่มุกจึงเข้าควบคุมพื้นที่นี้อย่างจริงจัง

ชาวปารวาสคนแรกที่รับศีลล้างบาปที่โคชินชื่อ Avho ตอนนั้นอายุ 70 ปีแล้ว พวกชาวมุสลิมที่รู้ข่าวนี้ส่งเงินสินบนไปให้โปรตุเกสที่โคชินเพื่อจะซื้อเขาแต่บรรดาพนักงานเห็นแก่วิญญาณของชาวปารวาสมากกว่าและหลังจากที่โปรตุเกสจัดการสังหารชาวมุสิลมไปกว่า 20,000 คนแล้ว ชาวบ้านปารวาสทั้งหมดก็รับศีลล้างบาป


----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------



(บน) หมู่บ้านชาวประมงของชาวปารวาส ที่ตุติโคริน ในศตวรรษที่ 17 (หลังฟรังซิส 200 ปี)

(ที่มา : en.wikipedia.org)


จดหมายถึงคุณพ่ออิกญาซีโอ

เจ้าคณะเยสุอิตที่กรุงโรม

ขอพระหรรษทานและความเมตตาของ   

พระคริสต์ เจ้าช่วยเหลือเราตลอดไปอาแมน


"ข้าพเจ้าเขียนมาจากเมืองกัวเพื่อเล่าเรื่องราวการเดินทางของข้าพเจ้าที่แหลมโคโมริน

ข้าพเจ้าออกเดินทางกับนักศึกษาพื้นเมืองหลายคนจากกัวเขาเหล่านี้รับการอบรมเรียบร้อยดีตั้งแต่เป็นเด็กเกี่ยวกับจารีตพิธีกรรมและตอนนี้ก็ได้รับศีลน้อยแล้วพวกเราตรงไปยังหมู่บ้านที่เพิ่งจะรับศีลล้างบาปไปเมื่อไม่กี่ปีก่อนแถบนั้นกันดารและยากจนมากเกินกว่าพวกโปรตุเกสจะยอมไปอาศัยอยู่พวกเขาไม่มีพระสงฆ์อยู่ด้วยเลยพวกเขารู้แค่ว่าเป็นชาวคริสต์และไม่รู้อะไรมากกว่านี้ 


ไม่มีใครทำมิสซาให้พวกเขาไม่มีใคร  สอนคำสอน ไม่มีบทข้าแต่พระบิดา วันทามารีอา หรือบัญญัติสิบประการข้าพเจ้าต้องทำงานหนักมากที่สุดตั้งแต่มาอยู่ที่นี่ ข้าพเจ้าออกเดินไปทั่วหมู่บ้านและล้างบาปเด็กๆที่ยังไม่ได้ล้างบาป ผู้ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามือไหนซ้ายหรือขวาพวกหนุ่มๆก็ไม่ยอมให้ข้าพเจ้าหยุดพัก กิน หรือนอนจนกว่าข้าพเจ้าจะสอนให้เขาสวดภาวนา ข้าพเจ้าเริ่มเข้าใจเป็นครั้งแรกว่า“พระอาณาจักรสวรรค์ก็เป็นเช่นนี้”


ข้าพเจ้าเริ่มสอนให้พวกเขารู้จักพระตรีเอกภาพและเริ่มสอนสัญลักษณ์ของอัครสาวก บทข้าแต่พระบิดา วันทามารีอาแล้วข้าพเจ้าก็ได้พบบางคนที่มีสติปัญญาสูงส่งในพวกเขาและถ้าได้รับการขัดเกลาที่ถูกต้อง พวกเขาก็คงจะเป็นคริสเตียนที่ยอดเยี่ยมทีเดียว

วันหนึ่งข้าพเจ้าเดินไปบนถนนไปยังหมู่บ้านของคนต่างศาสนาที่ไม่มีใครอยากกลับใจเป็นคริสเตียนแม้ว่าหมู่บ้านข้าง ๆ จะกลับใจแล้วก็ตาม พวกเขาบอกว่าพระเจ้าในเขตบ้านของพวกเขาสั่งห้ามไม่ให้เขากลับใจ ที่นั่นมีผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์เธอเจ็บท้องจะคลอดบุตรมา 3 วันแล้ว แต่คลอดไม่ได้ พวกชาวบ้านสวดมนต์อ้อนวอนแต่คำอ้อนวอนของพวกเขาไม่ไปถึงพระเป็นเจ้า เพราะพวกเทพเจ้าทั้งหลายล้วนมาจากปีศาจ

ข้าพเจ้าไปถึงที่นั่นพร้อมผู้ช่วยคนหนึ่งและได้ร้องเรียกพระนามพระเป็นเจ้าโดยลืมไปว่าอยู่ในดินแดนของคนแปลกหน้าข้าพเจ้าคิดถึงพระวาจาที่ว่า “แผ่นดินเป็นของพระเจ้าและสิ่งสร้างทั้งปวงในแผ่นดินเต็มเปี่ยมด้วยพระเมตตาของพระเจ้า”ข้าพเจ้าพยายามจะแปลบทนี้ เพื่อจะอธิบายเธอให้เข้าใจถึงศาสนาของเราและด้วยพระเมตตาของพระ หญิงนั้นเข้าใจคำพูดของเราในที่สุดข้าพเจ้าถามเธอว่าอยากจะเป็นคริสเตียนไหม เธอตอบสนองด้วยความยินดีว่าเธอปรารถนาจะเป็นคริสเตียน

ดังนั้นข้าพเจ้าจึงกล่าวพระวรสารต่อเธอนี่คงเป็นครั้งแรกที่พระวาจาของพระคริสต์จะได้ยินกันในดินแดนนี้ แล้วก็ได้โปรดศีลล้างบาปเธอ โดยไม่ต้องเล่าให้ยืดยาวทันใดนั้นเธอผู้ฝากความหวังเอาไว้ในพระคริสตเยซูเต็มเปี่ยมแล้ว ก็คลอดบุตรออกมาหลังจากนั้นข้าพเจ้าก็ล้างบาปให้สามีของเธอลูก ๆ ของเธอและทารกน้อยคนนั้นในวันที่เขาเกิดพอดี รวมทั้งครอบครัวทั้งหมดด้วย 

ทั้งครอบครัวเป็นผลจากข่าวดีของพระเป็นเจ้าข้าพเจ้าไปพบผู้นำชุมชนและอวยพรเขาในพระนามพระเยซู และแนะนำให้รู้จักศาสนาคริสต์แต่พวกเขากล่าวว่าเขาไม่อาจละทิ้งศาสนาของบรรพชนได้หากไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้านาย

ดังนั้นข้าพเจ้าจึงไปพบเจ้านายของพวกเขา เมื่อเขาฟังข้าพเจ้าเล่าถึงศาสนาคริสตังแล้วเขาก็กล่าวว่าเป็นการดีถ้าจะนับถือคริสต์ศาสนาและยินดีที่จะละทิ้งสิ่งที่เขารักมาสู่อ้อมกอดของพระเยซูคริสต์แต่แม้ว่าเขาจะยอมให้คนอื่นๆนับถือ ตัวเขาเองกลับไม่ยอม อย่างไรก็ตามชาวบ้านเกือบทั้งหมดก็มีศรัทธาขึ้นมาได้มีผู้คนจากทุกชนชั้นและทุกช่วงอายุ มารับศีลล้างบาป เมื่องานที่นี่จบลงแล้วข้าพเจ้าไปที่เมืองตุติโคริน ชาวบ้านที่นั่นต้อนรับข้าพเจ้าดีมากเราหวังว่าจะทำงานเก็บเกี่ยววิญญาณในพื้นที่แถบนี้ได้มากมาย

ท่านข้าหลวงประหลาดใจมากที่ได้ทราบว่ามีผู้คนจำนวนมากยอมกลับใจหลังจากที่ได้ช่วยพวกเขาขับไล่มุสลิมศัตรูเก่า ทั้งหมดเป็นชาวประมงตามชายฝั่งทำอาชีพหาปลาและงมหอยมุก พวกมุสลิมมักจะรังควานชาวบ้านอยู่เสมอๆ เมื่อท่านข้าหลวงทราบความก็ได้จัดการอย่างเด็ดขาดมีคนล้มตายมากมายและได้ยึดเรือของพวกเขาท่านคืนเรือให้กับชาวบ้านและมอบเรือของพวกมุสลิมให้กับคนยากจน เป็นสัญลักษณ์ของความเมตตากรุณาท่านเองก็ได้รับประสบการณ์ของการเป็นผู้รับใช้ของพระเจ้าจากชัยชนะครั้งนี้ 

ชาวมุสลิมถูกปราบอย่างราบคาบ พวกเจ้านายถูกจองจำ ชาวปารวาสที่เข้ารีตต่างรักท่านข้าหลวงเหมือนบิดาข้าพเจ้ายากที่จะอธิบายว่าท่านมีบุญคุณเพียงใดในการปลูกสวนองุ่นใหม่ให้ข้าพเจ้าดูแลและนี้ก็ถือเป็นฤทธิ์กุศลอย่างใหญ่หลวงในประวัติศาสตร์ศาสนาของเราท่านคิดจะรวบรวมคริสตชนพื้นเมืองที่กระจัดกระจายในที่ห่างไกลมาไว้บนเกาะเดียวกันและให้พวกเขามีกษัตริย์เพื่อที่จะจัดการความยุติธรรมและคอยดูแลความปลอดภัยต่างๆ

ข้าพเจ้ามั่นใจว่าถ้าสมเด็จพระสันตะปาปาทรงล่วงรู้กิจการเหล่านี้ ท่านจะชื่นชมยินดีและโปรดปรานท่านข้าหลวงเพียงใดและคงจะประทานสมณสาส์นออกมาขอบใจท่านเป็นแน่แท้ ท่านเป็นผู้ที่สมควรได้รับการยกย่องและขอบคุณในฐานะที่เป็นผู้นำคริสตชนและคอยห่วงใยการดูแลฝูงแกะของพระคริสต์มีแกะเพียงไม่กี่ตัวที่ถูกทำลายโดยหมาป่านอกรีต ข้าพเจ้าคิดว่าท่านน่าจะเขียนจดหมายไปหาท่านข้าหลวงด้วยตัวเองท่านคงจะยินดีมากที่ได้รับจดหมายจากท่านโลโญลา และโปรดกรุณาสวดภาวนาให้ท่านด้วยเพื่อความรอดจะได้มาถึงท่านในที่สุด

สำหรับข้าพเจ้าเองด้วยความดีอันหาที่สุดมิได้ของพระเป็นเจ้า และด้วยความศักดิ์สิทธิ์และคำภาวนาของเหล่าชาวคณะข้าพเจ้าหัวงว่าเราจะได้พบกันอีกครั้งหนึ่ง ถ้าไม่ใช่ในชีวิตนี้ก็คงเป็นในชีวิตหน้าเพื่อเราจะได้มีชีวิตร่วมกันในความสุขนิรันดร


บุตรของท่านในพระคริสต์

ฟรังซิส

Tuticorin (ฤดูใบไม้ผลิปี 1543)


----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

เชิงอรรถ กิจการสงครามของข้าหลวงโปรตุเกสแห่งเมืองกัว คือ Martin Alfonso de Sousa ครั้งนี้เป็นที่พอใจของชาวปารวาสมาก แต่เราไม่ทราบวันเวลาที่แท้จริง น่าจะประมาณปี 1542 เป็นปีเดียวกับที่ฟรังซิสไปเยือนชาวปารวาส ท่านข้าหลวงและกองทัพเดินทางไปที่ Batecala เมืองในเขตของ Canara ห่างจากกัวไป 25 ลีก พระราชินีของเมืองนี้ปฏิเสธจะจ่ายบรรณาการและสนับสนุนพวกโจรสลัด โปรตุเกสจึงยึดเมืองได้แต่ก็ทะเลาะกันเอง จึงพลาดท่าเสียทีแก่ศัตรู จนต้องถอยทัพออกมา ต่อมาท่านข้าหลวงจึงจัดการแก้แค้นโดยให้เผาเมืองและทำลายดินแดนนี้ มีบันทึกว่า “ทั้งเมืองเต็มไปด้วยเลือดของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ทุกเพศ และทุกวัย ก่อนจะถูกเผาป่าไม้ทั้งหมดถูกตัดทำลายลง (Faria y Sousa, t. ii. p. i. ch. xi.). หลังจากนั้นในปี 1543 หรือ 1544 ท่านข้าหลวงเดินเรือไปยังมะละบาร์และชายฝั่งทะเลที่ทำประมงโดยเรือ 45 ลำโดยมีจุดประสงค์จะทำลายเทวาลัยอันร่ำรวยในอาณาจักรพิษณคฤห์ (Bisnaghur) ที่อยู่ไม่ห่างจาก Meliapor มีชื่อว่า วัด Tremele กล่าวกันว่าการรบในครั้งนี้เป็นพระราชบัญชาจากกษัตริย์โปรตุเกสโดยตรงเพื่อแก้แค้นแทนการบุกรุกดินแดนที่เป็นพันธมิตรกับพระองค์ มีความเป็นไปได้ว่าเพราะความร่ำรวยของวัดแห่งนี้ ทำให้ข้าหลวงโปรตุเกสต้องการทำสงคราม แต่ต่อมาโปรตุเกสเปลี่ยนแผนไปโจมตีเทวาลัยแห่งอื่นแทน คือวัดที่ Tebelicate ใกล้กับ Celecoulan ซึ่งอยู่ในเขตแดนของอาณาจักร Travancore เงินที่ได้จากการปล้นวัดนี้ถูกส่งไปยังโปรตุเกส เป็นไปได้ว่าการเดินทัพของข้าหลวงในครั้งนี้ จะเป็นการถือโอกาสจัดการกับชาวมุสลิมที่รังควานชาวปารวาสของนักบุญฟรังซิสด้วยแต่ก็ไม่ได้สำคัญพอจนมีการบันทึกเอาไว้ในเอกสารประจำปีของโปรตุเกส




Create Date : 27 ตุลาคม 2559
Last Update : 28 ตุลาคม 2559 23:46:38 น.
Counter : 780 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ปลาทองสยองเมือง
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 23 คน [?]



New Comments