GAC FRUIT FARM บ้านฟักข้าว สารภี เชียงใหม่

pandi
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]




สวนฟักข้าว บ้านสารภี เชียงใหม่ @2549
ฟักข้าว สีสวย ก็ยังคงขยันผลิดอก ออกผล ให้อย่างต่อเนื่อง ให้ได้ชื่นใจ มาตลอด และได้รับความสนใจจากแฟนคลับ มาอย่างต่อเนื่อง เช่นกันค่ะ
สำหรับผู้ที่สนใจเรื่องราวของ เจ้าผลไม้ หน้าตาแปลก สีสวย อุดมไปด้วย คุณประโยชน์ ก็เชิญคลิกเข้าไปชมได้ตาม หัวข้อเรื่องทางซ้ายมือของ blog หรือ
https://www.facebook.com/Gacfruitfarm/ ได้เลยค่ะ
ติดต่อบ้านฟักข้าว:
Line: @fakkowsarapi2006
Email: gacthailand@hotmail.com
โทร.086-9531114
Free counter and web stats
New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add pandi's blog to your web]
Links
 

 

การขยายพันธุ์ฟักข้าว





การขยายพันธุ์ฟักข้าว 



หลังจากที่ไม่ค่อยได้ มาอัพโหลดแบ่งปันเรื่องราว เกี่ยวกับ ฟักข้าว ไม้เลื้อยพันธุ์ดุ หน้าตาแปลกสีสวย มากด้วยคุณประโยชน์ ที่ใครๆหลายคนก็อยากเพาะปลูกไว้เป็นไม้สมุนไพรประจำบ้าน
ก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จักกับ การขยายพันธุ์ ของต้นไม้ต้นนี้กันก่อนค่ะ 



กิ่ง
ต้นฟักข้าวเป็นไม้เลื้อย เถาว์วัลย์ พันเลื้อยไปกับต้นไม้ กิ่งไม้ หรือที่สามารถเกาะเลื้อยพัน ทอดยอดไปได้ เมื่อมีอายุมากขึ้น จะเลื้อยพันไปได้ไกล ถึง 20-50 เมตร จากโคนต้น และกิ่งก้านใหญ่โต เหนียว และมีน้ำหนักมาก สามารถรับน้ำหนักได้มาก ภายในกิ่งมีรูพรุนสำหรับดูดน้ำ และ ดูดอากาศไปเลี้ยงลำต้น กิ่งเล็กกิ่งน้อย มีตุ่ม ตา จุดๆ ที่สามารถงอกเป็นรากอากาศได้ สามารถนำไปปักชำ หรือ ตอนกิ่ง และสามารถเสียบตา เสียบกิ่ง โดยใช้ตา หรือกิ่งต้นตัวเมียเสียบ-ต่อ กับต้นตอฟักข้าวตัวผู้ ได้

เมล็ด
การเพาะเมล็ด ฟักข้าว ตามธรรมชาติแล้ว เมล็ดฟักข้าวมีขนาดใหญ่ และมีเปลือกหนาแข็ง อัตราการงอกจึง ใช้เวลานาน และบางทีอัตราการงอกมีน้อยกว่าเมล็ดพันธุ์พืชอื่นๆ มีหลายวิธีให้เลือก ตามความถนัด และความชำนาญ เช่น การแช่เมล็ด,การแกะเปลือก และการกระเทาะเปลือก ฯลฯ

โดยตามธรรมชาติ เมล็ดฟักข้าวในป่า หรือสภาพธรรมชาติ ที่ล่วงลงพื้นและงอกเองได้เมื่อ เมล็ดได้ความชื้นที่เหมาะสมเปลือกจะ แตกกระเทาะได้เอง ทำให้น้ำและความชื้น ผ่านเข้าไปในเมล็ดชั้นในทำให้รากงอกได้ ซึ่งใช้เวลานานเพราะเมล็ดใหญ่ และเปลือกแข็งมาก



วิธีลัดเลียนแบบธรรมชาติ ช่วยเร่งการงอก มีหลายวิธี เช่น
-นำเมล็ดแช่น้ำ หรือ น้ำยาเร่งราก
-กระเทาะเปลือกให้เปลือกแตก มีรูอากาศ ให้ความชื้นผ่านเข้าไปชั้นในเมล็ด
-แกะเปลือก ให้เหลือแต่เมล็ดชั้นใน
(ปล.การเพาะเมล็ดมีหลายวิธี หลากหลาย ที่กล่าวมาเป็นเพียงบางตัวอย่างจากประสบการณ์จริงจากหลายท่านที่ได้ทดลองเพาะและอัตราการงอกได้ดี80%ขึ้นไป)

-


สิ่งที่ควรระวัง!! ระวังการกระทบกระเทือนหรือสร้างความเสียหายให้แก่ส่วนหัว (ปลายเแหลม) ของเมล็ด เพราะเป็นส่วนที่สำคัญมากที่สุดในการงอก







สำหรับการเพาะเมล็ด อาจใช้เวลางอกอย่างน้อยที่สุด2-4 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับสภาพของดิน และ ระดับความลึกของดินที่นำเมล็ดลงไปปลูก นะคะ
หากท่านใดมีประสบกาณ์การเพาะ ที่ได้ผลมาแล้วนั้น ต้องการแชร์แบ่งปันประสบการณ์ ทางเรายินดีมากๆๆ ค่ะ  
 เชิญติดตาม เราได้ที่  เฟสบุค แฟนเพจ    https://www.facebook.com/Gacfruitfarm/

ขอบคุณค่ะ
(บ้านฟักข้าวสารภี เชียงใหม่)




 

Create Date : 10 ตุลาคม 2559    
Last Update : 10 ตุลาคม 2559 12:45:37 น.
Counter : 3057 Pageviews.  

10ปี แล้วจร้าาา






 

Create Date : 21 กรกฎาคม 2559    
Last Update : 21 กรกฎาคม 2559 11:28:54 น.
Counter : 738 Pageviews.  

10 ขวบ แล้วจร้าาาาาา






 

Create Date : 18 กรกฎาคม 2559    
Last Update : 18 กรกฎาคม 2559 5:26:55 น.
Counter : 684 Pageviews.  

พาเข้าสวน ส่องดู ฟักข้าว (ปลายฝนต้นหนาว) 23/10/14

  เดือน ตุลาคมแล้ว ย่างเข้า ฤดูหนาว กันแล้วนะคะ  (ปลายฝนต้นหนาว)
วันนี้จึงนึกอยากจะชวนไปเดิน ดู สวนฟักข้าว  ไปแอบส่องดู ว่า เจ้าลูกสีส้ม หนามๆๆ เค้าเป็นยังไงกันบ้าง หลังจาก พึ่งผ่าน ฤดูฝน อัน ชุ่มฉ่ำ พันเลื้อย กัน อย่าง สนุกสนาน ราวกับว่า เป็น ป่าดงดิบ



เมื่อฤดูกาล แห่งสายฝน ผ่านพ้น เราก็จัดแจง  ตัด แต่งกิ่ง รื้อ ถอน ฯลฯ  เพื่อสะดวกแก่การเข้าถึง พื้นที่  อย่างสะดวกสะบาย 

ฟักข้าว เป็น ไม้เลื้อยยืนต้น ขนาดใหญ่ ที่สามารถเลื้อยไปได้ไกลกว่า 20 เมตร ไปตามพื้นที่ที่สามารถยึดเกาะ เลื้อยพันไปได้  สามารถขึ้นคลุม ต้นไม้ ยืนต้น ขนาดใหญ่ เช่น ต้นก้ามปู,ต้นพยุง ฯลฯ   (หากปล่อยไว้นานสามารถทำให้ต้นไม้ที่ถูกขึ้นคลุม ไม่ได้รับแสงแดด และ ยืนต้นตายได้)

เราจึงต้องทำ ซุ้ม เหล็ก ,ไม้ ให้ เจ้าฟักข้าว เลื้อยพัน อย่างมีระเบียบ นะคะ  มาค่ะ !!!  เรามาเดินชมสวนกันค่ะ

เมื่อฝนตกชุก กิ่งก้าน ก็แตกยอดอ่อน ติดดอก ออกผล อย่างล้นหลาม ทยอยกัน เป็น รุ่น ต่อ รุ่น ไม่เคยขาด ต้น  ดอกที่ออก ก็ บานได้แค่วันเดียว  สำหรับผลอ่อน ก็ โตขึ้นแบบ แอบซ่อนอยู่ตามหลึบ ตามซอก กิ่ง ก้าน ใบ  เหมือนจะ เล่นซ่อนแอบ ให้เราได้ค้นหา  (พอเจอก็ จะได้ดีใจ) 

พอเจอผลอ่อน แล้ว  ก็อย่ารอช้า ต้องรีบหา ถุงมามัดห่อหุ้มกัน แมลง มาเจาะ หนอนมาไต่ แทะเล็ม  (วัยเด็กบอบบางมาก)  ตามธรรมชาติแล้ว ฟักข้าวก็เจริญเติบโตได้เอง ยิ่งโต หนามยิ่งแหลมคม รอดพ้นก่อ นก หนุ  ค้างคาวได้ อย่างสบายๆๆ   เราจึงต้องหมั่นเดินดู เจ้าตัวน้อย กันบ่อยๆ ค่ะ
เลยกลายเป็น ภารกิจยามเย็น ชมสวน ประจำวันไปเลยค่ะ
"รักกันวันละนิด แต่ รักกัน นาน นานนนนน  นะจ๊ะ"   อิอิ




 

Create Date : 23 ตุลาคม 2557    
Last Update : 23 ตุลาคม 2557 17:52:16 น.
Counter : 1711 Pageviews.  

"ข้าวส้มฟักข้าว"

  ข้าวส้มฟักข้าว
สูตรข้าวส้มเงี้ยวล้านนา

ข้าวส้มเงี้ยว  เป็นอาหารล้านนา ภาคเหนือ  วัฒนธรรมการกินที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ สันนิษฐานว่าเป็นอาหารของ ชนกลุ่มไทยใหญ่  หรือ ชาวเงี้ยว  จึงเรียกว่า... ข้าวส้มเงี้ยว   สูตรดั้งเดิม มีส่วนผสมหลัก จาก มะเขือเทศ  (จึงเรียกว่าข้าวส้ม) สำหรับบางพื้นที่ ก็ใช้ เลือดคลุกกับข้าว  ห่อใบตอง แล้วนำไปนึ่งให้สุก 
รับประทานกับ กระเทียมเจียว ,หอมเจียว,ต้นหอมผักชี,พริกทอด และ แตงกวา ผักสด

ข้าวส้มเงี้ยวฟักข้าว  (บ้านฟักข้าวสารภี เชียงใหม่) เราจึงนำฟักข้าว วัตถุดิบสำคัญในวันนี้มาประยุกต์ ปรุงเป็นอาหารสูตรล้านนา แนวใหม่ ที่ได้ทั้งประโยชน์ และ อร่อย  ทีเดียวค่ะ  เริ่มกันเลยนะคะ (ขออธิบายแบบรวบลัดค่ะ)

วัตถุดิบเครื่องปรุง
-ใบตอง (เช็ดทำความสะอาด และตัดให้ได้ขนาด)
-ตอก  (ไผ่เส้นบาง)
-ข้าวหุงสุกแล้ว (หุงจากข้าวสาร 3 ถ้วย)
-เยื่อหุ้มฟักข้าว 1 -2 ถ้วยตวง
-เกลือ  หรือ ผงปรุงรส (แล้วแต่ชอบ)
-กระเทียมเจียว ,หอมเจียว,พริกทอด
-ผักชี,ต้นหอม,แตงกวา,ผักสด



นำข้าวหุงสุก เทใส่กะละมัง คนให้ข้าวไม่เป็นก้อน ทิ้งไว้ให้เย็น
-นำเยื่อฟักข้าว มาคลุก กับข้าวหุงสุก ปรุงรสด้วยเกลือ หรือ ผงปรุงรส
-นำข้าวที่คลุกเคล้าเรียบร้อยแล้ว มาห่อในใบตอง นำไปนึ่งให้สุก 30 นาที

**แกะห่อใบตอง แล้วราดด้วยกระเทียมเจียว ,หอมเจียว ทานกับพริกทอดและแตงกวา,ผักสด**










 

Create Date : 10 ตุลาคม 2557    
Last Update : 10 ตุลาคม 2557 6:20:25 น.
Counter : 1778 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.