Group Blog
  •  

  •  
  •  
  •  
  •   
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  ชีวิตในญี่ปุ่น
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
อาการคนท้องใกล้คลอด และ สัญญาณเตือนใกล้คลอด

อาการคนท้องใกล้คลอดหรือสัญญาณเตือนใกล้คลอดนั้นจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ระยะด้วยกันค่ะ ที่ อาการคนท้องใกล้คลอด ถูกแบ่งออกเป็น 3 ระยะนี้จะช่วยให้คุณแม่เข้าใจถึง สัญญาณเตือนใกล้คลอด ที่มาเป็นระยะ ๆ เพราะอันที่จริงแล้วยังคงมีการเข้าใจผิวที่ว่า อาการคนท้องใกล้คลอด นั้นจะมาในครั้งเดียวอย่างต่อเนื่องแต่อันที่จริงนั้นอาการคนท้องใกล้คลอดจะมาเป็นระยะต่างหากค่ะ วันนี้เราจึงนำข้อมูลอาการคนท้องใกล้คลอดและสัญญาณเตือนใกล้คลอดมาเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยให้เรื่องคลอดของคุณแม่เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นและเข้าใจมากยิ่งขึ้นอีกด้วยค่ะ




อาการคนท้องใกล้คลอด และ สัญญาณเตือนใกล้คลอด แบ่งออกเป็น 3 ระยะ


การเจ็บท้องคลอดเป็นกระบวนการของร่างกาย โดยมดลูกจะเริ่มหดรัดตัวและปากมดลูกของคุณแม่จะเปิดขยายเพื่อให้ทารกสามารถเคลื่อนผ่านออกมาสู่โลกภายนอก ระยะที่ 1 จะประกอบด้วยระยะย่อย ๆ คือระยะเริ่มต้น ระยะเร่ง และระยะเปลี่ยนผ่าน ในแต่ละระยะนี้ปากมดลูกของคุณแม่จะเริ่มบางตัวและเปิดกว้างออกจนถึง 10 เซนติเมตร เพื่อเตรียมคลอด ส่วนระยะที่ 2 ของการคลอดเป็นระยะเบ่งคลอดที่คุณแม่จะเบ่งคลอดลูกน้อยออกมา และระยะที่ 3 จะเป็นระยะคลอดทารก



ระยะที่ 1


การคลอดระยะที่ 1 อาจใช้เวลานานหลายชั่วโมงหรือในบางกรณีอาจยาวนานเป็นวัน ๆ ดังนั้น คุณแม่จึงไม่ควรตกใจเมื่อเริ่มเจ็บท้องในช่วงเริ่มต้น


- ความรู้สึกในช่วงต้นของการเจ็บท้องคลอด


สำหรับคุณแม่หลายท่านอาการแรกสุดของการเจ็บท้องคลอดก็คือ ความรู้สึกปวดหน่วง ๆ คล้ายกับการปวดท้องเวลามีประจำเดือน นอกจากนี้คุณแม่อาจมีอาการท้องผูก ท้องเฟ้อ หรือรู้สึกปวดท้องหรือปวดหลังร่วมด้วย คุณแม่บางท่านอาจท้องเสียรู้สึกไม่สบายหรือคลื่นไส้อาเจียน ทั้งนี้เพราะในระยะเริ่มต้นของการเจ็บท้องคลอดระบบการย่อยอาหารของคุณแม่จะทำงานช้าลง ดังนั้น คุณแม่ควรรับประทานอาหารเบา ๆ แทน เช่น ซุป ซีเรียล หรือขนมปังปิ้ง และดื่มน้ำมาก ๆ ในตอนแรกคุณแม่อาจจะไม่ทราบว่าความรู้สึกไม่สบายตัวนี้เป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงการเริ่มเจ็บท้องคลอด แต่เมื่ออาการเหล่านี้ค่อย ๆ เปลี่ยนไปเป็นอาการปวดรุนแรงเป็นระยะ ๆ อย่างสม่ำเสมอหรือที่เรียกว่า การหดรัดตัวของมดลูก คุณแม่ก็จะทราบว่า กำลังเข้าสู่ช่วงของการเจ็บท้องคลอดแล้ว



- มีมูกขาวข้นออกทางช่องคลอด


ในช่วงที่คุณแม่อุ้มท้องอยู่นั้นที่บริเวณคอมดลูกจะมีมูกอุดกั้นอยู่ในระยะเริ่มต้นของการคลอดหรือก่อนหน้านั้น มูกหรือมูกปนเลือดจะหลุดออกมาเปรอะกางเกงชั้นในหรือในขณะที่คุณเข้าห้องน้ำหรือเรียกกันว่ามีมูกเลือดออกจากทางช่องคลอด แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า คุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคนจะต้องมีมูกเลือดออกมาทางช่องคลอดในระยะเริ่มต้นของการคลอดเสมอไป ดังนั้น อย่ากังวลใจถ้าคุณแม่ไม่มีมูกออกมาทางช่องคลอดบางครั้งมูกอาจออกมาในระยะอื่นของการเจ็บท้องคลอดก็ได้



- น้ำเดิน


" น้ำเดิน " ที่พูดถึงนี้ที่จริงแล้วก็คือน้ำคร่ำซึ่งคอยรองรับลูกน้อยในช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์ เมื่อร่างกายคุณพร้อมจะคลอดลูกแล้วถุงน้ำคร่ำจะแตกออกและน้ำคร่ำก็จะไหลออกมาจากช่องคลอด คุณแม่บางท่านบอกว่าได้ยินเสียง "โพละ" เบา ๆ  ด้วยซ้ำเมื่อถุงน้ำคร่ำแตก และคุณแม่บางท่านอาจจะมีน้ำไหลออกมาเพียงเล็กน้อยแต่บางท่านก็ไหลออกมามาก หากคุณแม่มีน้ำคร่ำเดินตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของการเจ็บท้องคลอดคุณแม่อาจมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องรักษาความสะอาดบริเวณปากช่องคลอด คุณแม่จึงไม่ควรใส่ผ้าอนามัยแบบสอดหรือมีเพศสัมพันธ์หรือลงแช่น้ำอุ่น

หากน้ำคร่ำเดินแล้วคุณแม่ควรติดต่อสูติแพทย์ที่ดูแลโดยทันทีเพื่อตรวจเช็คว่าถึงเวลาใกล้คลอดแล้วหรือยัง



- การเจ็บท้องคลอด


การเจ็บท้องคลอดเกิดจากการหดรัดตัวและผ่อนคลายเป็นจังหวะ ๆ ของกล้ามเนื้อบริเวณท้องและหลังของคุณแม่ และคุณแม่จะรู้สึกเจ็บมากกว่าอาการท้องแข็งในช่วงตั้งครรภ์ หากคุณแม่เข้าสู่ระยะเจ็บท้องคลอดแล้วคุณแม่จะรู้สึกว่ามดลูกหดรัดตัวรุนแรงขึ้นท นานขึ้น และถี่ขึ้นเรื่อย ๆ โดยปกติแล้วในช่วงเริ่มต้นมดลูกจะหดรัดตัวทุก ๆ 10 นาที โดยแต่ละครั้งกินเวลานาน 40 วินาที เมื่อถึงเวลาใกล้คลอดแล้วมดลูกก็จะหดรัดตัวทุก ๆ 30 วินาที และแต่ละครั้งกินเวลานานกว่า 1 นาที อย่างไรก็ตาม ตัวเลขนี้เป็นเพียงค่าเฉลี่ยเพราะคุณแม่แต่ละท่านอาจมีระยะเวลาการบีบรัดตัวของมดลูกแตกต่างกันไป



- การทำให้การคลอดระยะที่หนึ่งผ่านไปได้ด้วยดี


ดูเม็กซ์มีคำแนะนำดีๆ ที่จะช่วยให้คุณแม่คลอดง่ายขึ้น ลองอ่านคำแนะนำเพื่อช่วยให้การคลอดเป็นไปอย่างราบรื่น เพื่อเข้าใจในเรื่อง นี้ได้มากขึ้น หรือหากคุณแม่ต้องการเรี่ยวแรงที่มากขึ้นในการเบ่งคลอด ควรอ่านบทความเรื่อง อาหารและเครื่องดื่มในช่วงเจ็บท้องคลอดสามารถช่วยเพิ่มพลังงานให้คุณแม่ได้



อาการคนท้องใกล้คลอด และ สัญญาณเตือนใกล้คลอด



ระยะที่ 2


ระยะที่ 2 ของการคลอดจะเริ่มขึ้นเมื่อปากมดลูกของคุณแม่เปิดกว้างออกถึง 10 เซนติเมตร และจะสิ้นสุดลงเมื่อทารกคลอดออกมา หากท้องนี้เป็นท้องแรก ระยะที่สองอาจใช้เวลาถึง 1 ชั่วโมงหรือนานกว่านั้น แต่หากไม่ใช่ท้องแรกก็จะใช้เวลาสั้นกว่านั้นมากบางครั้งเพียงแค่ 5 นาทีเท่านั้น


การเบ่งคลอดโดยธรรมชาติแล้วร่างกายของคุณแม่จะบอกเองว่าเมื่อไหร่ควรเบ่งคลอด ซึ่งเวลานั้นคุณแม่จะมีความรู้สึกอยากเบ่งจนสุดที่จะกลั้นไว้ได้ เมื่อหัวลูกโผล่พ้นออกมาทางช่องคลอดคุณหมออาจขอให้คุณแม่หยุดเบ่งก่อนและกลั้นลมเบ่งไว้ด้วยการหายใจสั้น ๆ ตื้น ๆ คล้ายคนหอบ ระยะเจ็บเบ่งนี้เป็นระยะที่มีความละเอียดอ่อนและต้องอาศัยความอ่อนโยนพอสมควรเพื่อไม่ให้ปากช่องคลอดฉีกขาดมากเกินไป จากนั้นเมื่อกล้ามเนื้อขยายออกและมดลูกหดรัดตัวรอบใหม่คุณแม่จึงค่อยออกแรงเบ่งอีกครั้ง และในที่สุดทารกก็จะคลอดออกมาคุณหมอจะสำรวจทารก ตัดสายสะดือ และห่อหุ้มลูกน้อยด้วยผ้านุ่ม ๆ ก่อนจะส่งให้คุณแม่อุ้ม "ยินดีด้วยนะคะลูกของคุณแม่คลอดออกมาอย่างปลอดภัยแล้ว"



ระยะที่ 3


ฟังดูอาจเป็นเรื่องแปลกที่การคลอดยังไม่สิ้นสุดลง หลังจากที่ทารกคลอดออกมาแล้วนั่นก็เพราะคุณแม่ยังต้องรอคลอดรกก่อน แต่ไม่ต้องกังวลใจไป สูติแพทย์หรือพยาบาลผดุงครรภ์จะอยู่กับคุณแม่เพื่อดูแลการคลอดระยะที่ 3 นี้ จนสิ้นสุดการคลอดทารกคุณหมออาจเสนอการฉีดยาเพื่อช่วยเร่งการคลอดทารกให้เร็วขึ้น ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นการคลอดระยะที่ 3 นี้จะใช้เวลาประมาณ 5-15 นาที แต่หากคุณแม่ต้องการจะคลอดทารกเองตามธรรมชาติก็อาจใช้เวลานานกว่านั้นซึ่งอาจนานถึง 1 ชั่วโมง คุณแม่จะรู้สึกว่ามดลูกเริ่มต้นบีบรัดตัวใหม่ แต่จะไม่รุนแรงเท่ากับระยะที่ 2 จากนั้นทารกที่หลุดลอกแล้วก็จะดันผ่านปากมดลูกที่เปิดกว้างอยู่ออกมาทางช่องคลอด เมื่อทารกคลอดออกมาหมดแล้วคุณหมอจะนำทารกไปตรวจเพื่อให้แน่ใจว่ารกลอกตัวออกหมดแล้ว และจะกดบริเวณหน้าท้องของคุณแม่เพื่อให้แน่ใจว่ามดลูกเริ่มหดรัดตัวลงแล้ว


การให้ลูกดูดนมแม่ทันทีหลังคลอด หากคุณแม่ได้โอบกอดลูกน้อยแบบเนื้อแนบเนื้อทันทีหลังคลอด คุณหมอจะแนะนำให้คุณแม่ให้ลูกดูดนมแม่ได้เลยทันทีเพราะจะช่วยสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแม่กับลูก


ขอขอบคุณข้อมูลจาก dumex ขอขอบคุณรูปภาพจากอินเตอร์เน็ต


//www.n3k.in.th/%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81/%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%94




Create Date : 09 มิถุนายน 2555
Last Update : 9 มิถุนายน 2555 20:32:47 น.
Counter : 4667 Pageviews.

0 comment
อาการคนท้องใกล้คลอด และ สัญญาณเตือนใกล้คลอด

อาการคนท้องใกล้คลอดหรือสัญญาณเตือนใกล้คลอดนั้นจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ระยะด้วยกันค่ะ ที่ อาการคนท้องใกล้คลอด ถูกแบ่งออกเป็น 3 ระยะนี้จะช่วยให้คุณแม่เข้าใจถึง สัญญาณเตือนใกล้คลอด ที่มาเป็นระยะ ๆ เพราะอันที่จริงแล้วยังคงมีการเข้าใจผิวที่ว่า อาการคนท้องใกล้คลอด นั้นจะมาในครั้งเดียวอย่างต่อเนื่องแต่อันที่จริงนั้นอาการคนท้องใกล้คลอดจะมาเป็นระยะต่างหากค่ะ วันนี้เราจึงนำข้อมูลอาการคนท้องใกล้คลอดและสัญญาณเตือนใกล้คลอดมาเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยให้เรื่องคลอดของคุณแม่เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นและเข้าใจมากยิ่งขึ้นอีกด้วยค่ะ




อาการคนท้องใกล้คลอด และ สัญญาณเตือนใกล้คลอด แบ่งออกเป็น 3 ระยะ


การเจ็บท้องคลอดเป็นกระบวนการของร่างกาย โดยมดลูกจะเริ่มหดรัดตัวและปากมดลูกของคุณแม่จะเปิดขยายเพื่อให้ทารกสามารถเคลื่อนผ่านออกมาสู่โลกภายนอก ระยะที่ 1 จะประกอบด้วยระยะย่อย ๆ คือระยะเริ่มต้น ระยะเร่ง และระยะเปลี่ยนผ่าน ในแต่ละระยะนี้ปากมดลูกของคุณแม่จะเริ่มบางตัวและเปิดกว้างออกจนถึง 10 เซนติเมตร เพื่อเตรียมคลอด ส่วนระยะที่ 2 ของการคลอดเป็นระยะเบ่งคลอดที่คุณแม่จะเบ่งคลอดลูกน้อยออกมา และระยะที่ 3 จะเป็นระยะคลอดทารก



ระยะที่ 1


การคลอดระยะที่ 1 อาจใช้เวลานานหลายชั่วโมงหรือในบางกรณีอาจยาวนานเป็นวัน ๆ ดังนั้น คุณแม่จึงไม่ควรตกใจเมื่อเริ่มเจ็บท้องในช่วงเริ่มต้น


- ความรู้สึกในช่วงต้นของการเจ็บท้องคลอด


สำหรับคุณแม่หลายท่านอาการแรกสุดของการเจ็บท้องคลอดก็คือ ความรู้สึกปวดหน่วง ๆ คล้ายกับการปวดท้องเวลามีประจำเดือน นอกจากนี้คุณแม่อาจมีอาการท้องผูก ท้องเฟ้อ หรือรู้สึกปวดท้องหรือปวดหลังร่วมด้วย คุณแม่บางท่านอาจท้องเสียรู้สึกไม่สบายหรือคลื่นไส้อาเจียน ทั้งนี้เพราะในระยะเริ่มต้นของการเจ็บท้องคลอดระบบการย่อยอาหารของคุณแม่จะทำงานช้าลง ดังนั้น คุณแม่ควรรับประทานอาหารเบา ๆ แทน เช่น ซุป ซีเรียล หรือขนมปังปิ้ง และดื่มน้ำมาก ๆ ในตอนแรกคุณแม่อาจจะไม่ทราบว่าความรู้สึกไม่สบายตัวนี้เป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงการเริ่มเจ็บท้องคลอด แต่เมื่ออาการเหล่านี้ค่อย ๆ เปลี่ยนไปเป็นอาการปวดรุนแรงเป็นระยะ ๆ อย่างสม่ำเสมอหรือที่เรียกว่า การหดรัดตัวของมดลูก คุณแม่ก็จะทราบว่า กำลังเข้าสู่ช่วงของการเจ็บท้องคลอดแล้ว



- มีมูกขาวข้นออกทางช่องคลอด


ในช่วงที่คุณแม่อุ้มท้องอยู่นั้นที่บริเวณคอมดลูกจะมีมูกอุดกั้นอยู่ในระยะเริ่มต้นของการคลอดหรือก่อนหน้านั้น มูกหรือมูกปนเลือดจะหลุดออกมาเปรอะกางเกงชั้นในหรือในขณะที่คุณเข้าห้องน้ำหรือเรียกกันว่ามีมูกเลือดออกจากทางช่องคลอด แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า คุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคนจะต้องมีมูกเลือดออกมาทางช่องคลอดในระยะเริ่มต้นของการคลอดเสมอไป ดังนั้น อย่ากังวลใจถ้าคุณแม่ไม่มีมูกออกมาทางช่องคลอดบางครั้งมูกอาจออกมาในระยะอื่นของการเจ็บท้องคลอดก็ได้



- น้ำเดิน


" น้ำเดิน " ที่พูดถึงนี้ที่จริงแล้วก็คือน้ำคร่ำซึ่งคอยรองรับลูกน้อยในช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์ เมื่อร่างกายคุณพร้อมจะคลอดลูกแล้วถุงน้ำคร่ำจะแตกออกและน้ำคร่ำก็จะไหลออกมาจากช่องคลอด คุณแม่บางท่านบอกว่าได้ยินเสียง "โพละ" เบา ๆ  ด้วยซ้ำเมื่อถุงน้ำคร่ำแตก และคุณแม่บางท่านอาจจะมีน้ำไหลออกมาเพียงเล็กน้อยแต่บางท่านก็ไหลออกมามาก หากคุณแม่มีน้ำคร่ำเดินตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของการเจ็บท้องคลอดคุณแม่อาจมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องรักษาความสะอาดบริเวณปากช่องคลอด คุณแม่จึงไม่ควรใส่ผ้าอนามัยแบบสอดหรือมีเพศสัมพันธ์หรือลงแช่น้ำอุ่น

หากน้ำคร่ำเดินแล้วคุณแม่ควรติดต่อสูติแพทย์ที่ดูแลโดยทันทีเพื่อตรวจเช็คว่าถึงเวลาใกล้คลอดแล้วหรือยัง



- การเจ็บท้องคลอด


การเจ็บท้องคลอดเกิดจากการหดรัดตัวและผ่อนคลายเป็นจังหวะ ๆ ของกล้ามเนื้อบริเวณท้องและหลังของคุณแม่ และคุณแม่จะรู้สึกเจ็บมากกว่าอาการท้องแข็งในช่วงตั้งครรภ์ หากคุณแม่เข้าสู่ระยะเจ็บท้องคลอดแล้วคุณแม่จะรู้สึกว่ามดลูกหดรัดตัวรุนแรงขึ้นท นานขึ้น และถี่ขึ้นเรื่อย ๆ โดยปกติแล้วในช่วงเริ่มต้นมดลูกจะหดรัดตัวทุก ๆ 10 นาที โดยแต่ละครั้งกินเวลานาน 40 วินาที เมื่อถึงเวลาใกล้คลอดแล้วมดลูกก็จะหดรัดตัวทุก ๆ 30 วินาที และแต่ละครั้งกินเวลานานกว่า 1 นาที อย่างไรก็ตาม ตัวเลขนี้เป็นเพียงค่าเฉลี่ยเพราะคุณแม่แต่ละท่านอาจมีระยะเวลาการบีบรัดตัวของมดลูกแตกต่างกันไป



- การทำให้การคลอดระยะที่หนึ่งผ่านไปได้ด้วยดี


ดูเม็กซ์มีคำแนะนำดีๆ ที่จะช่วยให้คุณแม่คลอดง่ายขึ้น ลองอ่านคำแนะนำเพื่อช่วยให้การคลอดเป็นไปอย่างราบรื่น เพื่อเข้าใจในเรื่อง นี้ได้มากขึ้น หรือหากคุณแม่ต้องการเรี่ยวแรงที่มากขึ้นในการเบ่งคลอด ควรอ่านบทความเรื่อง อาหารและเครื่องดื่มในช่วงเจ็บท้องคลอดสามารถช่วยเพิ่มพลังงานให้คุณแม่ได้



อาการคนท้องใกล้คลอด และ สัญญาณเตือนใกล้คลอด



ระยะที่ 2


ระยะที่ 2 ของการคลอดจะเริ่มขึ้นเมื่อปากมดลูกของคุณแม่เปิดกว้างออกถึง 10 เซนติเมตร และจะสิ้นสุดลงเมื่อทารกคลอดออกมา หากท้องนี้เป็นท้องแรก ระยะที่สองอาจใช้เวลาถึง 1 ชั่วโมงหรือนานกว่านั้น แต่หากไม่ใช่ท้องแรกก็จะใช้เวลาสั้นกว่านั้นมากบางครั้งเพียงแค่ 5 นาทีเท่านั้น


การเบ่งคลอดโดยธรรมชาติแล้วร่างกายของคุณแม่จะบอกเองว่าเมื่อไหร่ควรเบ่งคลอด ซึ่งเวลานั้นคุณแม่จะมีความรู้สึกอยากเบ่งจนสุดที่จะกลั้นไว้ได้ เมื่อหัวลูกโผล่พ้นออกมาทางช่องคลอดคุณหมออาจขอให้คุณแม่หยุดเบ่งก่อนและกลั้นลมเบ่งไว้ด้วยการหายใจสั้น ๆ ตื้น ๆ คล้ายคนหอบ ระยะเจ็บเบ่งนี้เป็นระยะที่มีความละเอียดอ่อนและต้องอาศัยความอ่อนโยนพอสมควรเพื่อไม่ให้ปากช่องคลอดฉีกขาดมากเกินไป จากนั้นเมื่อกล้ามเนื้อขยายออกและมดลูกหดรัดตัวรอบใหม่คุณแม่จึงค่อยออกแรงเบ่งอีกครั้ง และในที่สุดทารกก็จะคลอดออกมาคุณหมอจะสำรวจทารก ตัดสายสะดือ และห่อหุ้มลูกน้อยด้วยผ้านุ่ม ๆ ก่อนจะส่งให้คุณแม่อุ้ม "ยินดีด้วยนะคะลูกของคุณแม่คลอดออกมาอย่างปลอดภัยแล้ว"



ระยะที่ 3


ฟังดูอาจเป็นเรื่องแปลกที่การคลอดยังไม่สิ้นสุดลง หลังจากที่ทารกคลอดออกมาแล้วนั่นก็เพราะคุณแม่ยังต้องรอคลอดรกก่อน แต่ไม่ต้องกังวลใจไป สูติแพทย์หรือพยาบาลผดุงครรภ์จะอยู่กับคุณแม่เพื่อดูแลการคลอดระยะที่ 3 นี้ จนสิ้นสุดการคลอดทารกคุณหมออาจเสนอการฉีดยาเพื่อช่วยเร่งการคลอดทารกให้เร็วขึ้น ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นการคลอดระยะที่ 3 นี้จะใช้เวลาประมาณ 5-15 นาที แต่หากคุณแม่ต้องการจะคลอดทารกเองตามธรรมชาติก็อาจใช้เวลานานกว่านั้นซึ่งอาจนานถึง 1 ชั่วโมง คุณแม่จะรู้สึกว่ามดลูกเริ่มต้นบีบรัดตัวใหม่ แต่จะไม่รุนแรงเท่ากับระยะที่ 2 จากนั้นทารกที่หลุดลอกแล้วก็จะดันผ่านปากมดลูกที่เปิดกว้างอยู่ออกมาทางช่องคลอด เมื่อทารกคลอดออกมาหมดแล้วคุณหมอจะนำทารกไปตรวจเพื่อให้แน่ใจว่ารกลอกตัวออกหมดแล้ว และจะกดบริเวณหน้าท้องของคุณแม่เพื่อให้แน่ใจว่ามดลูกเริ่มหดรัดตัวลงแล้ว


การให้ลูกดูดนมแม่ทันทีหลังคลอด หากคุณแม่ได้โอบกอดลูกน้อยแบบเนื้อแนบเนื้อทันทีหลังคลอด คุณหมอจะแนะนำให้คุณแม่ให้ลูกดูดนมแม่ได้เลยทันทีเพราะจะช่วยสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแม่กับลูก


ขอขอบคุณข้อมูลจาก dumex ขอขอบคุณรูปภาพจากอินเตอร์เน็ต


//www.n3k.in.th/%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81/%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%94




Create Date : 09 มิถุนายน 2555
Last Update : 9 มิถุนายน 2555 20:23:19 น.
Counter : 640 Pageviews.

0 comment
พัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์ (ตั้งแต่ 1-9 เดือน)
ลอกเขามาจ้า เพื่อว่าจะเป็นประโยชน์ให้กับเพื่อนๆในอนาคต


เดือนที่ 1 หลังจากที่อสุจิกับไข่ผสม กันกลาย เป็นเซลล์ตัวอ่อนงอกอยู่ในเยื่อบุโพลงมดลูกจากเพียง 1 เซลล์ เพิ่มจำนวนเป็น 150 เซลล์ภายใน 7 วัน ตัวอ่อนเจริญเติบโตได้โดยอาศัยหลอดเลือดของแม่เป็นตัวลำเลียง ออกซิเจนและ สารอาหารผ่านเข้าไปหล่อเลี้ยงเซลล์ตัวอ่อน ส่งผ่านของเสียต่างๆผ่านเข้าสู่ระบบ

*** พออายุ 5 สัปดาห์ลูกจะมีลำตัวยาว 7 มิลลิเมตร ขนาดเท่าเมล็ดถั่ว

เดือนที่ 2
ทารกเริ่มมี ลักษณะรูปร่างชัดเจนขึ้น มีส่วนหัวโตกว่าส่วนอื่นๆ รูปหน้า มือและเท้า ปรากฎให้เห็น กล้ามเนื้อเริ่มเติบโต มีขนงอก ช่วงปลายเดือนถ้าอัลตราซาวด์จะเห็นการเคลือนไหวและจับการเต้นหัวใจ ได้ รวมทั้งมองเห็นสายรก ซึ่งรกนี้ทำหน้าที่แทนอวัยวะทารกที่ยังเติบโตไม่เต็มที่ เช่น ทำหน้าที่เป็นปอดแลกเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์กับออกซิเจนจากแม่ ทำหน้าที่เป็นลำไส้โดยดูดสารอาหารจากเลือดแม่ ทำหน้าที่เป็นไตกรองของเสียทำหน้าที่แทนตับโดยเก็บธาตุเหล็กจาก เม็ดเลือดแดง ของแม่ และทำหน้าที่เป็นต่อมไร้ท่อ เพื่อสร้างฮอร์โมน

เดือนที่ 3
ทารก มีลักษณะคล้ายมนุษย์มากขึ้น ตัวลอยอยู่ในน้ำคร่ำภายมดลูก ซึ่งน้ำคร่ำนี้เองทำหน้าที่ปกป้องและห่อหุ้มทารกไม่ให้ได้รับความ กระทบ กระเทือน ตัวทารกเริ่มมีนิ้วมือนิ้วเท้าขึ้นมาในสภาพติดกันแล้วค่อยแยก ออก ช่วงกลางเดือน หัวใจจะเป็นรูปเป็นร่างเต็มที่ เห็นหูชัดเจนตอนปลายเดือนอวัยวะสำคัญ เช่น อวัยวะเพศ จะเริ่มก่อตัวเป็นรูปร่างขึ้นมา แต่ยังไม่สามารถแยกแยะได้ว่าเป็นเพศ ไหน สิ่งที่คุณแม่พึงระมัดระวังคือ ช่วง 3 เดือนแรกนี้ มีอัตราเสี่ยงในการแท้งค่อนข้างสูง ต้องดูแลตัวเองอย่างมาก และระมัดระวังเรื่องยาที่รับประทาน ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้ยาควรปรึกษาแพทย์ก่อน
*** พอทารกอายุได้ 12 สัปดาห์ ลูกจะมีน้ำหนัก 14 กรัม และมีลำตัวยาว 3 นิ้ว

เดือนที่ 4
ตอน นี้อวัยยวะภายในของทารกเริ่มสมบูรณ์ขึ้นมาก เล็บก็เริ่มงอกแล้ว แต่ตัวยังผอมเพราะยังไม่มีชั้นไขมัน ช่วงปลายเดือนเริ่มมีเส้นขนละเอียดขึ้นทั้งตัว ผิวบางจนมองเห็นเส้นเลือด เมื่อตั้งครรภ์ได้ 4 เดือน รกมีขนาดโตมากขึ้นจากช่วงแรกซึ่งใหญ่กว่าตัวอ่อนเพียงเล็กน้อย สามารถได้ยินเสียงหัวใจเต้น เริ่มมีไตที่ทำงานได้เหมือนผู้ใหญ่ นอกจากนี้ทารกยังมีจำนวนเส้นประสาทและกล้ามเนื้อมากกว่าเดือนที่ แล้วถึง 3 เท่า สามารถเตะ งอนิ้วมือนิ้วเท้า กลอกตาได้อวัยวะเพศพัฒนามากขึ้นจนสามารถบอกได้ว่าเป็นเพศใด*** จาก 18 สัปดาห์ เป็นต้นไป เสียงดังๆจะทำให้ลูกในท้องสะดุ้

เดือนที่ 5
ทารก เจริญเติบโตเร็วมาก ลำตัวยาว 9 นิ้ว ร่างกายผลิตสารสีขาวข้นที่เรียก ว่า เวอร์นิกซ์ ขึ้นมาเคลือบเพื่อปกป้องผิวเส้นผม คิ้วและขนตาเริ่มงอกเริ่มพัฒนาประสาทสัมผัส คือ รับรู้รส ได้กลิ่น และได้ยิน ตายังปิดอยู่แต่รับรู้แสงสว่างจ้าได้ ดังนั้นเวลาคุณพูดแกจะได้ยิน หรือเวลาที่คุณลูบท้องแกก็จะรู้สึกเช่นกันตอนนี้ทารกเริ่มเคลื่อนไหว มากขึ้น บิดตัว เตะเท้าอยู่ในถุงน้ำคร่ำ เวลาโก่งหรือขยับตัว แม่จะรู้สึกได้ เพราะท้องของแม่จะนูนขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ช่วงปลายเดือนทารกยังเริ่มถ่ายปัสสาวะลงสู่น้ำคร่ำอีกด้วย


เดือนที่ 6

ร่าง กายของทารกเริ่มเติบโตช้ากว่าเดิมเพื่อให้อวัยวะภายใน เช่น ปอด ระบบย่อยอาหาร และระบบภูมิคุ้มกันได้พัฒนาอย่างเต็มที่ ที่น่าอัศจรรย์คือทารกสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวทำให้คุณแม่ รู้สึกได้โดย เฉพาะตอนนอนพักทารกสามารถได้ยินเสียงหัวใจเต้น เสียงพูด เสียงดนตรี และสามารถตอบสนองการกระตุ้นของแม่ เช่น ถ้าแม่ขยับตัวเร็วจะดิ้นตอบ ร่างกายทารกเริ่มมีเนื้อมีหนังมากขึ้น เพราะมีไขมันมาสะสมที่ชั้นใต้ผิวหนัง ถ้าทารกคลอดออก มาตอนนี้ อาจมีโอกาสรอดชีวิตได้*** ตอนอายุ 20 สัปดาหื ลูกเริ่มสะอึกเป็น และคุณแม่ก็รู้สึกได้ด้วย พอเข้าสู่สัปดาห์ที่ 26 ลูกจะเริ่มจำเสียงคุณแม่ได้

เดือนที่ 7
ทารก ในครรภ์เติบโตขึ้นมาก จนไปกดอวัยวะต่างๆในช่องท้องแม่ เปลือกตาเริ่มเปิด และนัยน์ตาพัฒนาไปมากจนมองเห็นแสงที่ผ่านมาทางหน้าทองแม่ได้ เสียงดังๆทำให้ทารกเคลื่อนไหว และการเต้นของหัวใจเปลี่ยนไปตามเสียงและ แสงไฟ ต่อมรับรสของทารกพัฒนาไปมาก ถึงขนาดสามารถแยกรสหวานกับรสเปรี้ยวได้ แต่ดูเหมือนทารกจะติดใจในรสหวานมากกว่า ถ้าทารกคลอดออกมาตอนนี้จะมีโอกาศรอดค่อนข้างสูง เพราะอวัยวะสำคัญทั้งหลาย(ยกเว้นปอดที่ยังทำงานได้ไม่เต็มที่นัก) ทำงานเป็นระบบมากขึ้นสมองเติบโตมากขึ้น ร่างกายเจริญเติบโตได้สัดส่วนมากขึ้น


เดือนที่ 8


ทารก ตัวโตมากขึ้นจนแน่นท้องคุณแม่ โดยเฉลี่ยน้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็น 2-3 กก. มีไขมันมากขึ้นจนดูเหมือนทารกแรกเกิด การทำงานของอวัยยวะต่างๆ ประสานงานกันได้ดีขึ้น อาจอยู่ในท่ากลับหัวพร้อมที่จะคลอด แต่ขยับตัวน้อยลง เพราะพื้นที่ในท้องแม่ดูจะน้อยเกินไปเสียแล้ว น้ำดีและน้ำคร่ำที่ทารกกลืนเข้าไปจะสะสมอยู่ในลำไส้ของทารกไปจน ถึงคลอด ซึ่งทารกจะถ่ายของเสียนี้ออกมาเป็นอุจจาระสีเขียวแก่ เรียกว่าขี้เทา ช่วงหนึ่งเดือนก่อนคลอดคุณแม่อาจมีอาการมดลูกบีบรัดตัวซึ่งเป้ นอาการที่ เรียกว่า เจ็บท้องหลอก การหดตัวรัดตัวนี้ก็เพื่อดันตัวทารก มาประชิดปากมดลุกเพื่อเตรียมพร้อมที่จะคลอดออกมานั่นเอง

เดือนที่ 9

ใน เดือนนี้ทารกมีน้ำหนักเฉลี่ยมากกว่า 3 กก. ขึ้นไปมีชั้นไขมันหนาทำให้ดูอ้วนกลมและเก็บไว้เป็นพลังสำรองหลัง คลอด ปอดทำงานได้ดี อยู่ในท่ากลับหัวเชิงกราน หัวจะกดปากมดลูกทำให้เปิดออก ช่วยให้คลอดง่ายขึ้น จากนั้นหัวจะหมุนผ่านอุ้งเชิงกานแม่ออกมา ดังนั้นคุณแม่อาจคลอดตอนไหนก็ได้ในช่วงนี้ ทารกส่วนใหญ่จะคลอดตามกำหนดหรือช้าไป 2 สัปดาห์หลังกำหนด ถ้าช้ากว่านี้แพทย์อาจต้องเร่งคลอดเพราะออกซิเจนและสารอาหารจากรก ที่ทารกเคย ได้รับ เริ่มเพียงพอเสียแล้วเมื่อเทียบกับความต้องการของทารก
*** ลูกจะยังไม่มีฟันงอกออกมาจนกว่าจะอายุ 4 เดือน แต่มีฟันก่อตัวอยู่ในขากรรไกรเรียบร้อยแล้ว รอแค่เวลาโผล่ขึ้นมาเท่านั้นเอง

( ขอขอบคุณแหล่งอ้างอิง mother&care)




Create Date : 29 เมษายน 2555
Last Update : 29 เมษายน 2555 22:15:01 น.
Counter : 5534 Pageviews.

0 comment
เรื่องกุ๊กกิ๊กxxx ระหว่างตั้งครรภ์

  หลังจากที่ได้ตั้งครรภ์และไปพบปะเพื่อนๆคำถามยอดฮิตที่ถูกถามมาก็นี้เลย ท้องแล้วมีอะไรกันได้รึเปล่า ใครๆก็คงอยากรู้แต่ไม่กล้าถามอ่ะเด่


   เราไปหาหมอรอบหลังนี้อายุครรภ์ได้ 31อาทิตย์ แล้วก็นึกขึ้นได้ว่ามีแต่คนถามเรื่องนี้ เราก็จัดการถามคุณหมอไปแบบหน้าซื่อๆ

เรา :    หนูยังมีเพศสัมพันได้ไหมคะ (เอาตัวเข้าแลกเพื่อคำถามของเพื่อน ฮ่าๆๆ)

คุณหมอ:  มองหน้า(คิดในใจ ยังจะ........อีกนะนังนี้ แล้วตอบแบบเรียบๆ) ยังมีได้ครับ แต่หลังจากนี้อีก 3อาทิตย์ก็ควรหยุด

เรา :    (ยังอยากรู้ต่อ) แล้วถึงจุดสุดยอดได้ไหมค่ะ

คุณหมอ: (มองหน้าเรา แล้วเขิน) ได้ครับ

   ทำไมคนที่อายเป็นหมออ่ะ T_T

น้องเรา : (วันนี้ดันเข้าไปด้วย) แล้วเด็กจะคิดตาม รู้สึกตามแม่ไหมคะ

คุณหมอ : (มองหน้า) เด็กไม่รู้สึกกับเราครับ

   สรุปว่าสามรถมีเพศสัมพันได้แต่ช่วงเดือนท้ายๆงดไว้จะดีกว่าเพื่อความปลอดภัย


หลังจากที่เราเรื่องของตัวเองไว้เป็นข้อมูลแล้วก็ใส่ข้อมูลแบบมีที่อ้างอิงด้วยดีกว่า


 

จากประสบการณ์ที่เป็นหมอสูติฯ มานานนับสิบปีแล้ว ผมรู้สึกว่าคุณแม่ที่มาฝากครรภ์กับผมในปัจจุบัน เปลี่ยนแปลงไปจากสมัยก่อนไม่น้อย กล่าวคือช่างซักช่างถามมากขึ้น เรื่องที่ถามก็มีมากมายสารพัดตอบไม่หวาดไหว

อย่างไรก็ตามมีอยู่เรื่องหนึ่งที่ผมคิดว่าคุณแม่ก็คงอยากรู้ แต่ไม่กล้าถามเพราะอาย เรื่องที่ว่าก็คือเรื่องเซ็กซ์ขณะตั้งครรภ์ ในระยะหลังๆ นี้เวลาคุณแม่มาฝากท้องกับผม ผมก็มักจะอธิบายวิธีปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ให้คุณแม่ฟังซะเลย ไม่ต้องรอให้ถาม และหนึ่งในบรรดาเรื่องที่เล่าก็คือเรื่องเซ็กซ์ขณะตั้งครรภ์ ผลของการเล่าพบว่าคุณแม่หลายคนนั่งฟังหูผึ่งเลย บางคนพอฟังแล้วก็ถือโอกาสถามแหลกถึงเรื่องที่ค้างใจ เหมือนได้โอกาสระบายสิ่งที่เก็บกดอยู่

พูดถึงเรื่องเซ็กซ์ขณะตั้งครรภ์ ผมรู้สึกว่าทั้งหมอและคนไข้ก็พอๆ กันนั่นแหละครับ คนไข้ก็ไม่ค่อยกล้าถาม ในขณะที่หมอโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นหมอผู้หญิงด้วยแล้วก็ไม่ค่อยอยากเล่าเรื่องนี้กันเท่าไร เพราะอายกันทั้งคู่ มีงานวิจัยทางการแพทย์ที่ผมอยากจะเล่าให้ฟังก็คือ หมอเองจำนวนไม่น้อยก็มีความรู้เกี่ยวกับเซ็กซ์ขณะตั้งครรภ์ไม่ได้มากมายไปกว่าคุณแม่ซักเท่าไรหรอก ดังนั้นเวลาตอบคำถามบางทีหมอก็ชอบพูดเฉไฉนอกเรื่อง บางคนก็ตอบวกไปวนมาไม่ตรงประเด็นที่คุณแม่อยากรู้ซะที วันนี้ผมเลยอยากเล่าปัญหาที่คุณแม่ชอบถามกันบ่อยๆ ให้อ่านกัน


 

  • ตอนท้องมีเซ็กซ์ได้ไหม ?

เป็นคำถามยอดฮิตติดอันดับแรกที่คุณแม่มักจะถาม ความจริงเวลาจะถามก็อายหมอเหมือนกัน กลัวหมอจะหาว่าท้องแล้วยังไม่รู้จักบันยะบันยังราคะจริตบ้างเลย แต่เท่าที่ผมลองคุยกับคุณแม่หลายคน ส่วนมากตัวเองก็ไม่ค่อยได้อยากจะมีเซ็กซ์อะไรมากมายหรอก แต่ที่เป็นห่วงหรือกังวลมักจะเป็นเรื่องของสามีมากกว่า กลัวว่าถ้าไม่ให้สามีมีเซ็กซ์ด้วยขณะตั้งครรภ์ สามีจะหนีไปหาอีหนูที่ไหนก็ไม่รู้ แต่ถ้าให้สามีมีเซ็กซ์ด้วยก็กลัวว่าจะมีอันตรายสารพัด ทั้งต่อตัวแม่และลูกในท้อง

ผมขอเรียนตรงนี้แบบไม่อ้อมค้อมเลยนะครับว่า ขณะตั้งครรภ์คุณแม่สามารถมีเซ็กซ์ได้ตามปกติครับ และสามารถมีได้ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ไปจนกระทั่งใกล้คลอดเลย จะมีแค่บางช่วงที่ควรลดการมีเซ็กซ์ลงบ้าง เช่น ตอนตั้งครรภ์ใหม่ๆ เพราะคุณแม่ส่วนมากมักมีอาการแพ้ท้อง เวียนศีรษะ อ่อนเพลียง่าย

มีคุณแม่บางคนเท่านั้นที่หมออยากแนะนำให้งดเว้นการมีเซ็กซ์ขณะตั้งครรภ์ เช่น คุณแม่ที่เคยแท้งบุตรหรือเคยคลอดก่อนกำหนดมาก่อน เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาซ้ำได้ คุณแม่ที่มีรกเกาะต่ำก็ควรขอร้องให้สามีงดการมีเซ็กซ์เพราะอาจไปกระตุ้นให้เลือดออกได้ เดี๋ยวจะโดนข้อหาแทงเมียจนเลือดตกยางออกไม่รู้ด้วยนะครับ


 

  • เวลามีเซ็กซ์จะเป็นอันตรายต่อลูกไหม ?

อยากให้คุณแม่ลองจินตนาการดูนะครับว่าลูกที่อยู่ในท้อง ก็คล้ายกับก้อนหินที่อยู่ในลูกโป่งใส่น้ำแล้วยัดใส่เข้าไปในขวดอีกที และเจ้าขวดที่ว่าก็มีปากขวดที่ปิดและแข็งแรงพอควร เวลามีเซ็กซ์กัน อวัยวะเพศของสามีอย่างมากก็จะไปโดนแค่บริเวณปากขวดเท่านั้น ไม่มีทางไปโดนตัวลูกหรอก บางคนก็เล่าเป็นเรื่องโจ๊กว่าถ้ามีเซ็กซ์กันบ่อยๆ ลูกอาจจะออกมาหัวโน เพราะถูกเขกหัวประจำ ขอเรียนว่าเพ้อเจ้อ ลูกคุณมีระบบกันกระแทกที่ดีเยี่ยมครับ และโอกาสได้รับอันตรายน้อยมาก ผมว่าถ้ามีเซ็กซ์กันบ่อยๆ น่าจะเหมือนไปทักทายลูกก็ได้นะครับ ใครจะไปรู้


 

  • เซ็กซ์ตอนท้องจะให้ความรู้สึกเหมือนตอนไม่ท้องไหม ?

เวลามีการตั้งครรภ์จะมีเลือดมาเลี้ยงที่อวัยวะต่างๆ มากขึ้นกว่าปกติ ทำให้มีการบวมเกิดขึ้น เคยลองสังเกตไหมครับว่า พอตั้งครรภ์ไปสักระยะหนึ่ง คุณแม่บางคนจะมีขาบวม หน้าบวม ที่บริเวณช่องคลอดก็บวมเหมือนกันครับ เพียงแต่สังเกตยากหน่อยเพราะไม่มีคนไปคอยนั่งสังเกต

การที่อวัยวะสืบพันธุ์มีเลือดมาเลี้ยงมากและบวมขึ้น ทำให้เวลามีเซ็กซ์คุณแม่จะมีความรู้สึกทางเพศเร็วขึ้นและมากขึ้น ที่เต้านมก็เช่นเดียวกันแตะไม่ได้เหมือนกัน เดี๋ยวเป็นเรื่อง นอกจากนี้แล้วคุณแม่ยังรู้สึกว่าช่องคลอดมีการหล่อลื่นดีกว่าตอนไม่ตั้งครรภ์ เพราะคนท้องจะมีตกขาวมากกว่าคนปกติ

สรุปว่าคนท้องน่าจะมีความรู้สึกทางเพศดีกว่าคนไม่ท้องเสียอีก เพราะฉะนั้นก็ตั้งครรภ์กันบ่อยๆ น่าจะดีนะครับ บางคนอาจจะเถียงว่าไม่เห็นจริงเลย เพราะเวลาตัวเองท้องไม่เห็นอยากมีเซ็กซ์อย่างที่ว่า คุณแม่ที่มีความรู้สึกแบบนี้ ก็มีครับ แต่ส่วนมากมักเกิดจากความกลัวหรือวิตกกังวลว่าจะมีอันตรายเวลามีเซ็กซ์เลยทำให้หมดอารมณ์ เพราะฉะนั้นทำใจให้สบายเถอะนะครับ

 


โดย รศ.นพ.วิทยา ถิฐาพันธ์

//www.clinicrak.com/article/article.php?id=iuDGBXcIPdRjOMHQCZLXax&catno=16




Create Date : 17 เมษายน 2555
Last Update : 17 เมษายน 2555 9:50:41 น.
Counter : 3123 Pageviews.

1 comment
2 เทคนิคสร้างสุขสไตล์ญี่ปุ่น..สื่อสารพ่อ-แม่-ลูกในครรภ์

พอดีไปอ่านเจอมาค่ะ ว่าเรามีเทคนิคที่เราสามารถสื่อสารกับน้องในท้องได้ เลยเอาแบ่งบันเพื่อนๆค่า

ยังไม่เคยลองนะค่ะ พออ่านจบก็ก๊อปมาลงก่อนเลย กลัวกลับไปหาอีกครั้งไม่เจอ


หากคุณแม่ท่านใดเคยสงสัยว่าการสื่อสารกับลูกในครรภ์นั้น ควรจะเริ่มเมื่อใดจึงจะเหมาะสม ต้องรอให้อวัยวะเช่นหู พัฒนาก่อนหรือไม่ หรือควรมีอายุครรภ์เท่าใดลูกจึงจะสามารถเข้าใจในสิ่งที่แม่พูด ในวันนี้เรามีเทคนิคดี ๆ ที่ช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่และลูกในครรภ ส่งตรงจากแดนอาทิตย์อุทัย มาบอกเล่าให้ครอบครัวชาวไทยได้ลองนำไปปรับใช้ โดยอาจารย์อากิโกะ ซากาโมโต ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันชิจิดะ (Shichida Educational Institute) ได้กล่าวถึงประเด็นดังกล่าวในกิจกรรม Prenatal Workshop ซึ่งจัดที่สถาบันชิจิดะ ณ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ว่า

     

       "ในญี่ปุ่น เรามีการศึกษาพบว่า การสร้างสภาวะแวดล้อมที่ดีที่สุดเ พื่อลูกในครรภ์เป็นสิ่งที่พ่อแม่ควรให้ความใส่ใจ ซึ่งการจะสร้างสภาวะดังกล่าวให้เกิดขึ้นได้นั้น มีองค์ประกอบหลัก 3 ประการ ได้แก่ การให้ความรักแก่ลูก การสื่อสารระหว่างพ่อแม่ลูก และคำพูดอ่อนโยนที่พ่อแม่ได้พูดกับลูกนั่นเอง"

     

       ทั้งนี้ ผู้เป็นพ่อแม่สามารถสื่อสารกับลูกได้ ตั้งแต่วันที่คุณหมอแสดงความยินดีกับคุณแม่ตั้งครรภ์เลยทีเดียว แม้ว่าทารกในครรภ์จะยังไม่ได้มีรูปลักษณ์ที่ชัดเจนก็ตาม

     

       "การที่ลูกได้ยินเสียงของพ่อหรือแม่กำลังสื่อสารกับเขา ทำให้ลูกตื่นเต้น รอวันที่เขาจะเกิดออกมาได้พบหน้าพ่อแม่ ดังนั้นจึงควรพูดกับลูกให้เป็นกิจวัตร หรือถ้าไม่ทราบว่าจะพูดอะไรกับลูกก็อาจบอกเขาว่า ขอบคุณนะที่มาเกิดเป็นลูกแม่ก็ได้ค่ะ" อาจารย์ซากาโมโต้แนะนำ

     

       2 เทคนิคสื่อสารสไตล์ญี่ปุ่นถึงเจ้าตัวเล็ก

     

       นอกจากการพูดคุยกับลูกในครรภ์จนเป็นกิจวัตรแล้ว อาจารย์ซากาโมโต ยังได้ยกตัวอย่างการสื่อสารกับลูกตัวน้อยในครรภ์แบบง่าย ๆ มาด้วย 2 วิธี หนึ่งในนั้นได้แก่ การสื่อสารโดยการสัมผัส (Touching) ซึ่งสามารถใช้นิ้วชี้ กลาง นาง สามนิ้ว (ทำมือเหมือนลูกเสือ) กดลงไปที่ครรภ์ในจุดที่ลูกในท้องขยับนานประมาณ 1 นาที พร้อม ๆ กับบอกลูกว่า "สวัสดีค่ะ" และหากลูกโต้ตอบกลับมาด้วยการเตะหน้าท้องคุณแม่ ก็ให้ตอบกลับลูกไปว่า "ขอบคุณนะคะที่ตอบกลับแม่" หรือจะชมว่า "ลูกเก่งจังเลย" ก็ได้ในจุดนี้ จะทำให้ทารกรู้สึกดีใจที่ได้รู้ว่า แม่ของเขาก็โต้ตอบกลับมาเช่นกัน

     

     

       อย่างไรก็ดี ในครั้งแรก ๆ ของการสัมผัสด้วยวิธีดังกล่าว หากลูกไม่โต้ตอบกลับก็มีความเป็นไปได้ที่ลูกอาจกลัว ไม่คุ้นเคย หรือการสัมผัสนั้นเบาไป จนเด็กไม่รู้สึก ตลอดจนเข้าใจว่าเป็นความบังเอิญที่แม่ก็พอดีสัมผัสกลับมา ในจุดนี้จึงอยากให้กำลังใจคุณแม่หมั่นทำบ่อย ๆ อาจจะ 2 - 3 ครั้งต่อวัน เพื่อให้เด็กมีความคุ้นเคยกับสัมผัสของแม่มากขึ้น

     

       สำหรับวิธีที่สองที่อาจารย์ซากาโมโตแนะนำมาถึงคุณแม่ชาวไทย ก็คือการฝึก "Image Training" ซึ่งในจุดนี้ อาจารย์ซากาโมโต้ได้กล่าวว่า สมองของเด็กในครรภ์จะมีการทำงานด้วยสมองซีกขวามากกว่า ขณะที่สมองของคุณแม่ซึ่งเป็นผู้ใหญ่กว่านั้น จะทำงานด้วยซีกซ้ายเป็นหลัก ดังนั้น การฝึก Image Training จะเป็นการฝึกการทำงานของสมองซีกขวาของคุณแม่ เพื่อให้สามารถสื่อสารกับลูกได้ดียิ่งขึ้นนั่นเอง

     

       โดยการฝึก Image Training นั้น ผู้ฝึกควรอยู่ในอิริยาบถที่ผ่อนคลาย หลับตาลง อาจเปิดเพลงบรรเลงเบา ๆ ประกอบ เริ่มจากการหายใจเข้าทางจมูก และเป่าลมหายใจออกทางปากจนรู้สึกว่าทุกอย่างนั้นอยู่ในความสงบ ผ่อนคลาย

     

       จากนั้น ก็ให้เริ่มจินตนาการว่า บนศีรษะของคุณแม่มีลูกบอลสีทองเหลืองอร่ามวางอยู่ ลูกบอลนั้นกำลังจะลงไปในศีรษะ และเปลี่ยนให้ศีรษะกลายเป็นสีทองสว่าง จากนั้น แสงสว่างก็กลายเป็นแสงสีขาว ค่อย ๆ เคลื่อนที่ผ่านร่างกายของคุณแม่ลงไปถึงลูกในท้อง โดยให้จินตนาการว่า พลังนี้ได้ไปโอบล้อมลูกเอาไว้ และส่งไปถึงร่างกายของลูกให้แข็งแรง และความเจ็บปวดต่าง ๆ ของแม่ที่มีก็จะหายไปหมดสิ้น เมื่อทำเสร็จจะพบว่าศีรษะ ร่างกาย และจิตใจจะรู้สึกปลอดโปร่ง จากนั้นจึงค่อย ๆ เปิดตาขึ้นอีกครั้ง

     

       สองเทคนิคการสื่อสารนี้ถือเป็นกิจกรรมง่าย ๆ ที่ช่วยให้พ่อแม่สามารถสร้างความสัมพันธ์กับทารกในครรภ์ได้มากขึ้น ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสภาวะแวดล้อมที่ดี ให้แก่ทารกตั้งแต่ในครรภ์ เพื่อให้เขาเติบใหญ่ขึ้นมา เป็นทรัพยากรบุคคลอันมีคุณค่าต่อสังคมได้ในที่สุดนั่นเอง


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

 ข้อมูลอ้างอิง

//mothercorner.com/index.php?topic=518.0




Create Date : 05 เมษายน 2555
Last Update : 5 เมษายน 2555 23:17:25 น.
Counter : 915 Pageviews.

0 comment
1  2  

Harutoaki
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]



ตอนนี้ผันตัวมาเป็นแม่ค้าทำขนส่งจากจีนมาไทย หาตังค่าขนมให้เจ้าหนูฮิโร ใครสนใจติดต่อมาได้เลยนะคะ เราคิดราคาถูกสุดๆ

ส่วนอะไรที่เป็นข้อมูลเอามาแชร์กับเพื่อนๆเท่าที่จะทำได้นะคะ เพื่อนๆจะได้ไม่เจอเหตุการเซ็งแบบเรา หากเพื่อนๆมีข้อมูลอะไรเพิ่มเติมก็เขียนแนะนำเราเอาไว้ได้เลยนะคะจะได้เป็นความรู้กับเราด้วย.

สำหรับเพื่อนๆที่สงสัยเกี่ยงกับเรื่องวีซ่า สามารถทิ้งอีเมล์ไว้ให้เราได้นะค่ะ เวลาตอบบางทีบางคนไม่ใช่สมาชิกเราก็ไม่รู้ว่าจะได้เห็นข้อความเราไหม

เรื่องวีซ่าเราไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญแต่อย่างใด แต่ที่ลงข้อมูลไว้เผื่อคนที่ต้องการทำวีซ่าอย่างเราจะได้มีที่หาข้อมูลได้