O[r]NgoinG (^^,)GoingO[r]N--สิ่งดี ๆ ซ่อนตัวอยู่ในทุกวันของคุณ
Group Blog
 
All blogs
 
The Power of COLORS

By Kran KGz., MissConsult.com
July 21, 2006

The Power of COLORS
อิทธิพลของสี & การแต่งกายในที่ทำงาน

สำหรับการแต่งกายในการทำงาน นักจิตวิทยาเผยว่า อิทธิพลของสีเสื้อผ้ามีผลต่อความรู้สึก และ อิทธิพลต่อผู้ทำงานคนข้างเคียง เพราะสีมีอิทธิพลต่อความรู้สึก ดังเราจะเห็นว่า ในงานเศร้า จะไม่มีใครใส่เสื้อสีสด และ ในงานที่ต้องการความรื่นเริง แทบไม่มีใครใส่เสื้อสีเข้ม โดยไม่แอบมีสีสดใสขับ

เพราะอิทธิพลของสีมีผลโดยรวมทางด้านการรับรู้ ดังนั้น มีการวิเคราะห์กันว่า สีแบบใดเหมาะสมและควรใส่ในเหตุการณ์ใดบ้าง ในสถานการณ์การทำงานที่เราต้องเจอ เพื่อให้เกิดผลประโยชน์มากที่สุด

มีการวิจัยเรื่องอิทธิพลของสี หรือ การแต่งกายที่เหมาะสมในสถานการณ์การทำงานต่างๆ ออกมา โดยการวิจัย พบว่า ในแต่ละสถานการณ์ข้างล่าง เราสามารถใช้สีของเสื้อเข้ามาช่วยให้แต่ละสถานการณ์ประสบความสำเร็จได้มากขึ้น
มาลองเรียนรู้และถ้าจะนำไปใช้ในแต่ละสถานการณ์ก็ดูน่าสนใจดีไม่น้อย!


* สถานการณ์ที่ 1 คุณเป็นผู้นำการประชุม หรือ เป็นผู้นำเสนอหัวข้อการประชุม

Wear: สีแดง
Why: เพราะคนอื่นจะเห็นคุณ โดดเด่น และ เต็มเปี่ยมด้วยพลัง อีกทั้งยังทำให้ดูมีอำนาจ ทำให้หัวข้อที่คุณเป็นผู้นำเสนอ ได้รับความสนใจ และ ผู้ฟังจะถูกดึงดูดด้วยอิทธิพลของสีทำให้เกิดความน่าเชื่อถือในสิ่งที่คุณนำเสนอด้วยเช่นกัน แต่ทั้งนี้ สิ่งที่คุณนำเสนอ ก็ต้องดีด้วย เพราะถ้าเป็นเช่นนั้น การประชุมดังกล่าวของคุณ คงได้รับผลสำเร็จ และ ได้รับการยอมรับโดยไม่ต้องสงสัย
Don't: สถานการณ์ที่ไม่ควรใส่สีแดง ก็คือ สถานการณ์ที่คุณถูกเรียกเพื่อประเมินผลงาน หรือ ประเมินประจำปี เพราะจะทำให้คุณดูน่าอึดอัด และ ไม่น่าเป็นมิตร



* สถานการณ์ที่2 เจ้านายคุณอารมณ์ไม่ดี (ถ้าเจอสถานการณ์ที่เจ้านายหรือหัวหน้าของคุณอารมณ์ไม่ดี หรือ อยู่ในช่วงที่เศร้า)

Wear: สีน้ำตาล
Why: สีน้ำตาลเป็นสีที่ส่งอิทธิพล ถึงความเป็นมิตร ความอบอุ่น และ ความซื่อสัตย์ คนที่มองสีน้ำตาล อารมณ์จะนิ่งลง และ รู้สึกถึงความเป็นมิตร ทำให้คุณไม่ไปเพิ่มความน่าอึดอัด น่าหงุดหงิดให้หัวหน้าคุณโดยใช้เหตุ
Don't: สถานการณ์ที่ไม่ควรใส่สีน้ำตาล ก็คือ สถานการณ์ในการประชุมทุกรูปแบบ เพราะถ้าคุณใส่สีน้ำตาลในที่ประชุม คุณจะกลายเป็นคนที่ทุกคนไม่สนใจ ประหนึ่งไม่มีตัวตน และ ถึงแม้นคุณจะพูดอะไรที่ดี หรือ น่าสนใจ แต่ก็จะกลายเป็นไม่น่าสนใจไปซะได้



* สถานการณ์ที่3 คุณต้องการขอ หรือ เสนอข้อเสนอของคุณให้แก่คนอื่น

Wear: สีฟ้าอ่อน
Why: สีฟ้าอ่อนให้อิทธิพลที่ดีต่อผู้เห็น ทำให้ดูน่าเชื่อถือ และ เต็มไปด้วยความคิด
Don't : สถานการณ์ที่ไม่ควรใส่สีฟ้าอ่อน ไม่มี สำหรับสีฟ้าอ่อน เราถือว่าเป็นสีที่สบายตา และ สามารถใส่ได้แทบทุกโอกาส ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสถานการณ์ใดๆ

* สถานการณ์ที่ 4 การไปทำงานวันแรก

Wear: สีดำ
Why: สีดำเป็นสีที่บ่งบอกถึงความมั่นใจ และ ความเฉียบแหลม ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึง การดูน่านับถือ
Don't : สถานการณ์ที่ไม่ควรใส่สีดำ ในสถานการณ์ที่ทุกคนส่วนใหญ่ ใส่สีดำ เพราะทุกอย่างจะดูกลมกลืนไม่น่าสนใจ คุณสามารถหลีกเลี่ยงไปใส่สีเทาแทนจะดีกว่า



* สถานการณ์ที่ 5 การชักจูงหรือโน้มน้าวทีมงานให้เห็นด้วยกับความเห็นของคุณ

Wear: สีขาว
Why: คุณจะดูซื่อสัตย์ จริงจัง เชี่ยวชาญ เป็นมืออาชีพ ทำให้คนอื่นในทีมต้องการที่เห็นหรือได้ฟังในสิ่งที่คุณกำลังโน้มน้าว และ เห็นด้วยโดยง่าย
Don't : สถานการณ์ที่ไม่ควรใส่ คือ สถานการ์ที่เป็นลักษณะการประชุมแบบ Brain storming กับคนอื่นๆ เพราะคุณจะดูไม่มีความคิดสร้างสรรค์ ดูจืด และ ไม่น่าสนใจ



* สถานการณ์ที่ 6 ไล่คนออก

Wear: สีเขียว
Why: อิทธิพลสีเขียว จะทำให้คุณดูสุภาพ เยือกเย็น สุขุม ส่งอิทธิพลให้คุณดูจริงใจ และ หนักแน่น คำพูดที่พูดก็จะดูเป็นไปด้วยความจริงจัง และ ช่วยเหลือ ทำให้สถานการณ์ที่ดูเคร่งเครียด น่ากลัว ลดแรงกดดันลงได้อย่างมาก
Don't : สถานการณ์ที่ไม่ควรใส่ สถานการณ์ที่คุณต้องยื่นคำขาดกับคนใดคนหนึ่ง เพราะอิทธิพลของสีเขียวไม่ทำให้คุณดูน่ากลัว มากไปกว่า ดูมีเมตตา ดังนั้น กับสถานการณ์ที่คุณต้องยื่นคำขาดกับใคร ก็ควรหลีกเลี่ยงสีเขียว

ลองนำไปประยุทธ์ลองใช้ดูในแต่ละสถานการณ์การทำงานของเรา อย่างน้อย หลักทางจิตวิทยาเรื่องอิทธิพลของสี อาจจะช่วยทำให้สถานการณ์ที่เราต้องเผชิญผ่อนคลายลงก็ได้


Create Date : 10 กันยายน 2550
Last Update : 10 กันยายน 2550 13:32:56 น. 0 comments
Counter : 370 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ธีร์ตา
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add ธีร์ตา's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.