Group Blog
 
All Blogs
 
ข้อมูลเรื่องเครื่องซักผ้า ฝาหน้ากับฝาบนครับ

ฝาบน:
-เกือบทั้งหมดเลือกความเร็วรอบปั่นแห้งไม่ได้ ยกเว้น Hitachi รุ่นใหม่ (มีผลเรื่องการถนอมผ้า)
-ปกติ ถ้าความจุเท่ากัน ฝาบนจะซักผ้าได้น้อยกว่าฝาหน้า เพราะต้องให้เนื้อที่กับน้ำในถังมากพอที่จะหมุนกลับผ้าข้างบนลงข้างล่าง ซ้ายไปขวา กลับไปกลับมาในขณะที่ฝาหน้าใช้ตัวแกนชัก+การหมุนของถัง
-เห็นมีปัญหาเรื่องวิธีการดึงน้ำยาปรับผ้านุ่มในรุ่นกลาง-ล่าง (ต่ำกว่า 10 โล)ว่ามักจะถูกดึงไปใช้ก่อนน้ำสุดท้าย ทำให้ใช้เหมือนไม่ใช้ ไม่รู้ว่ารุ่นใหญ่ๆเป็นไม๊
-หาผงหรือน้ำยาซักผ้าได้ง่ายกว่า
-ถ้าดูแลไม่ดี เห็นมีเสียงบ่นเรื่องมีคราบผงซักฟอกตกค้างหรือมีเศษตะไคร่หรืออะไรสักอย่างสีดำเกาะติดเสื้อผ้า เข้าใจว่าน่ะจะเกิดจากคราบตะไคร่หรือเชื้อราที่อยู่ระหว่างถังมันถูกชะล้างแล้วลอยมาติดระหว่างซัก-- ต้องล้างถังบ่อยๆมั้งครับ ส่วนฝาหน้า ปกติไม่มีปัญหานี้ เพราะไม่ได้ไปตีน้ำให้เป็นน้ำวนเพื่อใช้พลังในการซัก
-ไม่มี heater ทำน้ำร้อนในเครื่อง ที่อาจเป็นประโยชน์ในการซักผ้าขาว
-ผู้ผลิตหลักเป็น Asia ปัจจุบันผู้นำตลาดเป็นเกาหลี (LG) ที่แซงญี่ปุ่น (Hitachi, Toshiba)ไปในเรื่องยอดขายและชื่อเสียงด้านความทนทาน

ฝาหน้า:
-เชื่อกันว่าวิธีซักถนอมผ้ามากกว่า (การเสียดสีของผ้าต่อผ้า ผ้าต่อน้ำ และผ้าต่อตัวถังซักน้อยกว่า ผลคือผ้าเป็นขุยน้อยกว่า และ มีการกระชากไปมาน้อยกว่า ผลคือการย้วยยืดหรือการล้า-เปื่อย-ฉีกขาดน้อยกว่า)
-function มากกว่าเพราะผนวกเรื่องการเลือกอุณหภูมิขณะซักไว้ด้วย
-ข้อติติงหลักอยู่ที่เวลาซักนาน เพราะปกติเครื่องจะตั้งซักที่ 60 องศาจึงเสียเวลาทำน้ำร้อน ถ้าเลือกซักน้ำเย็นจะใช้เวลาประมาณ 60-90 นาที แต่ก็ยังนานกว่า ฝาบนอยู่บ้าง
-ประหยัดน้ำกว่ามาก
-เครื่องมีประสิทธิภาพสูงกว่าในการใช้พลังงาน คือถ้าซักน้ำเย็นเหมือนกันจะใช้น้ำและไฟน้อยกว่าฝาบน เนื่องจากแบกน้ำหนักน้ำน้อยกว่าในการซักผ้าเท่าๆกัน (ตรงนี้มักเชื่อกันว่า ฝาบนดีกว่า เพราะมักเทียบจากอัตราการใช้ไฟฟ้าที่เครื่องฝาหน้าจะประทับไว้เป็น 1,xxx watts ในขณะที่ ฝาบน ที่ 4xx) ซึ่งอันนั้นเป็นอัตราบริโภคไฟฟ้าที่รวมการทำน้ำร้อนสูงสุดที่ 90-95 องศาครับ
-เกือบทุกตัวในตลาดสามารถเลือกรอบปั่นแห้งให้เหมาะกับชนิดผ้าได้เพื่อถนอมผ้า
-โดยตัวสินค้าเอง สร้างมาเพื่อจับตลาดบนและตลาดยุโรปเป็นหลัก มักใช้วัสดุที่ดูดีกว่า ฟังก์ชั่นการซักและปั่นแห้งจึงดูว่ามีมากและใช้ได้จริง
-ผู้ผลิตหลักเป็นฟากยุโรป อิตาลี เยอรมัน (แต่ถ้าที่ขายในเอเชีย ก็ผลิตในเอเชียเป็นส่วนใหญ่ยกเว้นรุ่นท็อปๆที่อาจยังผลิตในยุโรป ถ้าผลิตในไทยได้รับการยอมรับในเรื่องคุณภาพการประกอบสูงกว่าแหล่งอื่นในสายตาชาวยุโรป-- ดูจากการวิจารณ์ของผู้ใช้ในเวปของยุโรป)
-ที่ขายๆกันในตลาดความจุประมาณ 5-8 กิโล (เทียบกับ ุ6-14 โล ในตลาดฝาบน) ถามเซลส์มา เห็นว่าถ้าเครื่องฝาหน้า 7 โล ก็เทียบได้กับฝาบนประมาณ 10-11 โล
-ราคาปกติแพงกว่าฝาบน เพราะต้องใช้อุปกรณ์ช่วยเยอะ เช่นทำน้ำร้อน (จำเป็นสำหรับประเทศต.ต.) โช็คกันการสั่นสะเทือนซึ่งต้องใช้เพราะตัวถังวางขนานหรือเกือบขนานโลก ต้องเอาแกนมาพยุงรับน้ำหนักถังไว้ด้วย
-เปิดเครื่องด้านหน้าที่ปัญหาเรื่องน้ำรั่วซึมที่ยางประกับหรือเกิดการขังของน้ำทำให้เป็นเชื้อราได้ ถ้าดูแลไม่ดี (เห็นหลายเจ้าบอกว่าเดี๊ยวนี้ไม่ค่อยมีปัญหานี้แล้ว-- ซักเสร็จให้เปิดฝาไว้ให้มันแห้งได้)
-ยังมีปัญหาเรื่องความยืดหยุ่นในการใช้งานเช่นการเพิ่มลดผ้าระหว่างซักในหลายๆรุ่น เพราะต้องล็อกไม่ให้เปิดฝาเพื่อกันน้ำ

ผมว่าถ้าสมาชิกในครอบครัวสัก 3 คน น่าจะใช้ผาบนที่ประมาณ 10 โล ถ้าฝาหน้าก็ 7 โล ขึ้นไป


Create Date : 11 มิถุนายน 2551
Last Update : 29 กรกฎาคม 2552 11:06:09 น. 2 comments
Counter : 5478 Pageviews.

 
ขอบคุณมาก ครับ สำหรับ ข้อมูล
แต่ยังสงสัยเรื่อง การ วัดน้ำหนัก อยู่ ถ้า มีรายละเอียด รบกวนขอเพิ่มด้วยนะครับ


โดย: คม IP: 124.157.178.206 วันที่: 14 ธันวาคม 2552 เวลา:9:09:19 น.  

 
ขอตอบหน่อยนะครับ
ที่ว่าเครื่องฝาหน้าึ7kg ซักผ้าได้เท่ากับเครื่องฝนบน 10-11kg
หรือว่าที่ชอบพูดกันว่าฝาหน้าชั่งน้ำหนักเป็นผ้าแห้ง แต่ฝาบนชั่งผ้าเปียก
อันนี้ไม่จริงนะครับ ไม่เชื่อดูในคู่มือของฝาบน เค้าจะเขียนไว้เลยว่า น้ำหนัก เป็นน้ำหนักสูงสุดของผ้าแห้งหน่วยเป็น กก. เพราะฉะนั้น 7kg ฝาหน้า ก็ซักผ้าได้เท่ากับ 7kgของฝาบนครับ อย่าไปเชื่อเซลล์มาก เพียงแต่ว่าอาจจะมีฝาบนบางยี่ห้อเขียน spec ไว้เกินจริง เช่น ซักได้ 5kg แต่เขียนว่า7kg


โดย: HIDE IP: 125.24.251.11 วันที่: 28 มีนาคม 2554 เวลา:18:56:41 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ชาตินี้ชาติไหน
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Sign by Danasoft - Myspace Layouts and Signs

Friends' blogs
[Add ชาตินี้ชาติไหน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.