แจ้งย้าย BLog ใหม่

 ปัจจุบันได้ย้ายไปที่ Blog ใหม่แล้วนะครับ

โฉมใหม่
อัพเดตใหม่
เนื้อหาครบถ้วน
รวมทั้งจะมีเพจสำหรับอัพเดตข่าวเกี่ยวกับโรคมะเร็งด้วยครับ

oncodog.blogspot.com




 

Create Date : 26 เมษายน 2557   
Last Update : 26 เมษายน 2557 9:16:13 น.   
Counter : 4853 Pageviews.  

การดูแลระหว่างที่ได้รับยาเคมีบำบัด


เรื่อง การดูแลผู้ป่วยระหว่างรับการรักษาด้วยเคมีบำบัด


เนื้อหา ผลข้างเคียงของเคมีบำบัดทั่วไป ผลข้างเคียงของเคมีบำบัดเฉพาะตัวที่สำคัญ
การปฏิบัติตัวที่เหมาะสม


คำแนะนำ สำหรับผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วยที่จะได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด



การรักษาด้วยเคมีบำบัดนั้นอาจจะประกอบด้วยยาเคมีบำบัดปกติ
(cytotoxic chemotherapy) และ/หรือยาตรงเป้า (targeted agent) ซึ่งเป็นยาที่ไม่ใช่ยาเคมีบำบัด
ผู้ป่วยควรจะทราบชื่อยาเคมีบำบัดที่ได้รับด้วยเนื่องจากยาแต่ละตัวที่ผมข้างเคียงที่แตกต่างกันและแต่ละคนก็ไม่จำเป็นจะต้องได้ยาชนิดเดียวกัน
การทราบชื่อยาจะช่วยให้แพทย์คนอื่นที่ต้องมาดูแล (โดยเฉพาะต่างรพ.)
เข้าใจปัญหาที่อาจจะมีและให้การรักษาผลข้างเคียงต่างๆได้รวดเร็วและถูกต้อง


ผลข้างเคียงของยาเคมีบำบัดนั้นมาจากการที่ยาเข้าไปทำอันตรายกับเซลล์หรือการทำงานของเซลล์ ส่วนมากมักจะเป็นชั่วคราว แต่บางอย่างอาจมีอาการเป็นเวลานาน การที่ผู้ป่วยเกิดผลข้างเคียงไม่ใช่การแพ้ยา
ดังนั้นจึงไม่ควรตัดสินใจหยุดการรักษาเอง ควรปรึกษาแพทย์ผู้ให้ยา
เพื่อพิจารณาบรรเทา
เยียวยา หรือป้องกันอย่างเหมาะสมต่อไป


ผลข้างเคียงทั่วไปที่พบบ่อย


เม็ดเลือดขาวต่ำ ยาเคมีบำบัดส่วนใหญ่จะมีผลต่อเซลล์ไขกระดูกทำให้เม็ดขาวลดลงไม่มากก็น้อย
โดยปกติมักจะเกิดประมาณ
7 วันหลังได้รับยาและเริ่มฟื้นตัวในวันที่ 14
ซึ่งมักจะฟื้นตัวสมบูรณ์เมื่อถึงรอบถัดไปของการให้ยา
เนื่องจากผู้ป่วยจะไม่ทราบว่าเม็ดเลือดขาวจะต่ำลงเมื่อใดและรุนแรงเพียงใด
ดังนั้นจึงสำคัญมากที่จะต้องหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ โดย ดูแลสุขลักษณะของผู้ป่วยให้ดี
อาหารต้องปรุงสุกสะอาด ไม่ใช่อาหารแช่แข็งมาอุ่นร้อน
ยาบางสูตรอาจจะต้องงดผักดิบผลไม้สดด้วย หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีคนมากๆหรือไม่สบายหากจำเป็น
(เช่นมารพ.) ควรสวมหน้ากากอนามัย


เนื่องจากผลข้างเคียงนี้มักจะเป็นผลข้างเคียงที่จำกัดปริมาณยาดังนั้นการบำรุงร่างกายด้วยอาหารที่พอเพียงโดยเฉพาะโปรตีน(เนื้อสัตว์
นม ไข่)จึงมีความสำคัญมากต่อความสำเร็จในการรักษา
หากโปรตีนไม่พอเพียง
อาจทำให้เม็ดเลือดขาวต่ำนาน จะทำให้ได้รับยาไม่ต่อเนื่องสม่ำเสมอ
จนนำไปสู่การล้มเหลวต่อการรักษาโดยง่าย


คลื่นไส้อาเจียน เป็นอาการที่พบได้บ่อยมากในละคร แต่ในความเป็นจริงนั้นขึ้นอยู่กับสูตรยาที่ได้รับ
ยาหลายๆสูตรแทบจะไม่มีปัญหาเรื่องคลื่นไส้อาเจียนเลย
โดยปกติแพทย์จะมีการให้ยาป้องกันและแก้อาการคลื่นไส้อาเจียนที่เหมาะสมอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตามก็จะมีผู้ป่วยจำนวนหนึ่ง (โดยเฉพาะผู้หญิง คนที่ไม่ได้ดื่มเหล้าประจำ)
ที่ยังมีอาการคลื่นไส้อาเจียนอยู่ หากอาการไม่มากสามารถกินอาหารได้ปกติ
อาจรอแจ้งให้แพทย์ทราบเมื่อถึงวันนัด
แต่ถ้าอาการเป็นมากกินไม่ได้ควรไปพบแพทย์ก่อนวันนัด
มีการศึกษาพบว่า ขมิ้นชัน
อาจช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้


ผมร่วง เป็นอาการที่พบได้บ่อย แต่อาการผมร่วงจนหมดศีรษะแบบในละครนั้นมักจะเกิดขึ้นเฉพาะยาบางตัวเท่านั้นเช่น
Doxorubicin (ชื่อสามัญ), Paclitaxel (ชื่อสามัญ) ซึ่งมักจะใช้ในการรักษามะเร็งเต้านม
ยาที่ทำให้ผมร่วงมากนั้นไม่ได้หมายความว่ายานั้นแรงกว่าตัวอื่น โดยทั่วไปคนไข้มักจะสังเกตได้ว่าผมร่วงมากกว่าปกติ
หรือดูบางลง แต่ในรายที่ได้ยาที่ทำให้ผมร่วงมากๆ
มักจะมีช่วงแรกที่ผมร่วงพร้อมๆกันโดยจะเกิดในวันที่
10-14 หลังได้ยาครั้งแรก ดังนั้นในคนไข้ที่กังวลต่อภาพลักษณ์หรืออาย
อาจเตรียมผ้าโพกหัว หมวก หรือ วิกผมไว้เนิ่นๆได้ ภายหลังเสร็จสิ้นการรักษา
ผมจะสามารถงอกกลับมาได้ตามปกติ


ซีด เกร็ดเลือดต่ำ นอกจากเม็ดเลือดขาวต่ำแล้ว
ยาเคมีบำบัดยังอาจทำให้เม็ดเลือดแดงต่ำมีภาวะซีด หรือเกร็ดเลือดต่ำทำให้เลือดออกง่ายหรือหยุดยาก
ภาวะซีดมักพบได้บ่อยแต่ส่วนมากจะไม่ร้ายแรงจนต้องได้รับเลือด การปฏิบัติตัวที่ดีคือ
กินอาหารที่มีธาตุเหล็กให้พอเพียงหรือกินธาตุเล็กเสริมตามแพทย์สั่ง

ส่วนภาวะเกร็ดเลือดต่ำพบได้น้อยและส่วนมากไม่รุนแรง อาจมีอาการฟกช้ำดำเขียวง่าย
เลือดออกตามไรฟัน บางรายถ้าเกร็ดเลือดต่ำมากๆอาจมีเลือดออกรุนแรงได้
ดังนั้นการปฏิบัติตัวจึงเน้นไปที่การป้องกันอุบัติเหตุ แปรงฟันด้วยขนแปรงที่อ่อนนุ่ม
หลีกเลี่ยงการผ่าตัดหรือถอนฟันโดยไม่ได้รับอนุญาตจากแพทย์

เช่นเดียวกับเม็ดเลือดขาวต่ำ เม็ดเลือดแดงและเกร็ดเลือดสามารถฟื้นตัวได้เอง


อ่อนเพลีย
เบื่ออาหาร
เป็นผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยแต่มักไม่รุนแรง การพักผ่อนมากๆในช่วงวันแรกๆที่ได้ยา
จะช่วยได้มาก อาหารที่กินก็ควรสะอาดถูกสุขลักษณะ
ที่สำคัญที่มักทำให้คนไข้เบื่ออาหารคือความเชื่อผิดๆเรื่องของแสลง

ความจริงแล้วแทบจะไม่มีอาหารที่แพทย์ห้ามกินนอกไปจากอาหารที่ไม่สะอาด


ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อปวดกระดูก สามารถพบได้บ่อยแต่ไม่รุนแรง ยกเว้นในยาบางตัวและยากระตุ้นเม็ดเลือดขาวที่อาจพบได้บ่อย
การพักผ่อนงดออกแรงหนักๆในช่วงวันแรกๆที่ได้รับยาจะช่วยลดอาการเหล่านี้ได้
หามีอาการมากอาจใช้ยานวดทาภายนอก
หรือปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาเรื่องยาแก้ปวดที่เหมาะสม ข้อสำคัญคือไม่ควรซื้อยากินเองเพราะอาจจะตีกับยาเคมีบำบัดได้


ไข้ เป็นอาการที่พบไม่บ่อยแต่มีความสำคัญมาก
ปกติคนไข้ที่เป็นมะเร็งอาจมีไข้ต่ำๆได้ (ไม่เกิน
37.8 ทางปาก) แต่เมื่อไรก็ตามที่มีไข้มากกว่า
38.5 ทางปาก หรือ มีไข้ลอยมากกว่า 38.0 ทางปากติดต่อกันอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมง
ควรไปพบแพทย์ทันที
เพื่อตรวจเลือดว่ามีภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำร่วมด้วยหรือไม่ โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับยาเคมีบำบัดที่มีผลต่อเม็ดเลือดขาวรุนแรง
เนื่องจากหากมีไข้ในขณะที่มีเม็ดเลือดขาวต่ำมากๆอาจจะเกิดภาวะติดเชื้อรุนแรงจนเสียชีวิตได้
การรักษาจะขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ อาจให้ยาฆ่าเชื้อมากินที่บ้านหรือให้นอนรพ.ก็ได้
ยากระตุ้นเม็ดเลือดขาวขึ้นกับแพทย์จะพิจารณาเนื่องจากมีหลักฐานว่าไม่ช่วยลดอัตราตายจากการติดเชื้อ


ผลข้างเฉพาะยาบางตัวที่สำคัญ


Xeloda
(
ชื่อสามัญ Capecitabine) เป็นยาเคมีบำบัดประเภทรับประทาน
มักใช้ในมะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจายและมะเร็งลำไส้ใหญ่
เม็ดยาสามารถใช้มือจับได้เนื่องจากยาจะเปลี่ยนเป็นสารออกฤทธิ์ในร่างกาย
แม้เป็นยากินแต่ก็เป็นยาเคมีบำบัดจึงสามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงได้เช่นเดียวกัน
ส่วนผลข้างเคียงเฉพาะที่พบบ่อยคือ เจ็บมือเจ็บเท้า
(Hand-Foot
syndrome)
โดยมักจะเริ่มโดยมีผื่นหรือปื้นแดงๆที่บริเวณฝ่ามือฝ่าเท้า
ต่อมาจะเริ่มมีอาการเจ็บ จนในที่สุดจะเจ็บแม้กระทั่งจับลูกบิดหรือเดิน
ถ้ายังกินยาต่อไป (ยานี้มักจะกินสิบสี่วันต่อรอบ) อาจเกิดแผลที่ฝ่ามือและเท้าได้

ในขนาดยาที่ได้รับมักจะเกิดแค่รอยแดงๆเท่านั้น
อย่างไรก็ตามถ้ามีอาการเจ็บมากขึ้นจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันแพทย์ที่ดูแลมักแนะนำให้หยุดยาหรือทำตามที่แพทย์แนะนำเพื่อลดโอกาสการเกิดแผล
การดูแลควรระวังอย่าให้มือและเท้าแห้ง ลดการใช้งานเช่นหยิบจับมากๆเดินเยอะๆ และควรหารองเท้านุ่มๆสวมใส่ตลอดเวลา
อ้อยาตัวนี้อาจทำให้ผิวคล้ำได้ง่ายเวลาโดนแดดควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสแดดแรงๆครับ


Eloxatin
(
ชื่อสามัญ Oxaliplatin) เป็นยาที่ใช้บ่อยในมะเร็งลำไส้
มีผลข้างเคียงที่สำคัญสามอย่างคือ อย่างแรกคือภาวะเกร็งตัวของกล้ามเนื้อโดยมีความเย็นกระตุ้น
ดังนั้นระหว่างที่ให้ยาคนไข้คนควรหลีกเลี่ยงการอมน้ำแข็ง กินน้ำเย็น สัมผัสอากาศหรือสิ่งของเย็นจัด

เนื่องจากอาจเกิดภาวะเกร็งตัวของกล้ามเนื้อได้ (อมน้ำแข็งอาจทำให้กล่องเสียงปิดหายใจไม่ออกได้
บางคนจะบอกว่าเอามือหยิบขวดน้ำในตู้เย็นและแบบมือไม่ออกก็มี)
ไม่ได้เกิดทุกรายแต่ควรหลีกเลี่ยงตามคำแนะนำ อย่างที่สองคือปลายประสาทเสื่อม จะมีอาการปลายมือปลายเท้าชาเกิดขึ้นเกือบทุกคนแต่ส่วนใหญ่จะแค่รู้สึกชาๆ
แต่บางรายอาจชามากจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันเช่น ลายมือลายเซ็นเปลี่ยน หยิบจับช้อนไม่ถนัด
เดินแล้วรองเท้าแตะหลุด ควรรายงานแพทย์ที่ดูแลเป็นระยะๆ อาการมักจะค่อยๆเป็นมากขึ้นเรื่อยตามปริมาณยาที่ได้ไปดังนั้นมักพบอาการมากขึ้นเมื่อใกล้ๆจะครบตามแผนที่วางไว้
หลังหยุดยาอาการมักจะค่อยๆดีขึ้น สุดท้ายคืออาการแพ้ระหว่างให้ยาโดยมีอาการแน่นหน้าอก
หน้าแดงตัวแดง อาจมีผื่นแดง ความดันพุ่งสูง
มักเป็นขณะกำลังเดินยาอยู่และมักเป็นในรอบหลังๆเช่น รอบที่
9-10 จาก 12
หรือ
รอบที่
6 จาก 8 ถ้ามีอาการให้แจ้งพยาบาลทราบทันทีและแจ้งแพทย์อีกครั้งก่อนให้ยารอบถัดไปเนื่องจากอาการแพ้แบบนี้มักสามารถให้ต่อได้ถ้าให้ช้าลง
(ขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ที่ดูแล) อาการนี้ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย


Campto
(ชื่อสามัญ
Irinotecan) เป็นยาที่มักใช้ในมะเร็งลำไส้ระยะแพร่กระจาย มีผลข้างเคียงที่จำเพาะและสำคัญคือเรื่องท้องเสีย
โดยพบได้สองระยะ คือ ระยะเฉียบพลัน
เกิดภายในสองวันแรกจะมีอาการท้องเสียเป็นน้ำปริมาณมาก
อาจรุนแรงถึงขั้นต้องนอนโรงพยาบาล และระยะต่อมา
ยังอาจเกิดท้องเสียได้อีกจากสารพิษที่เกิดจากการสลายตัวของยา
อาการท้องเสียจะมีลักษณะเป็นถ่ายเหลวๆบางรายอาจเป็นน้ำ
ปริมาณมากน้อยแล้วแต่ร่างกายคนไข้ การรักษา ถ้าเกิดอาการระหว่างอยู่โรงพยาบาลให้แจ้งพยาบาลทราบทันทีที่ถ่ายเหลวครั้งแรก
ถ้าเกิดอาการระหว่างอยู่ที่บ้าน โดยปกติจะมียาหยุดถ่าย
Imodium มาให้อยู่แล้วให้รับประทานตามนั้น (ขนาดยาและความถี่จะมากกว่าปกติ)
เช่น กินสองเม็ดทันที แล้วกินอีกหนึ่งเม็ดทุกสองชั่วโมงจนกว่าจะหยุดถ่ายมาแล้วอย่างน้อยหกชั่วโมง
นอกจากนี้ควรรับประทานน้ำและเกลือแร่ให้พอเพียง
ถ้ายังมีอาการท้องเสียมากให้ไปพบแพทย์ทันที






Free TextEditor




 

Create Date : 02 สิงหาคม 2554   
Last Update : 2 สิงหาคม 2554 0:19:21 น.   
Counter : 12866 Pageviews.  

เริ่มต้นอ่านตรงนี้ก่อนครับ

ยินดีต้อนรับสู่บล็อกแรกในชีวิตครับ

ก่อนจะเริ่มอ่านเนื้อหาต่างๆในบล็อก(ที่กำลังจะมีเพิ่มในอนาคต) ขอให้อ่านบทความนี้ให้จบก่อนนะครับ

ก่อนอื่นขอแนะนำตัวครับ ผมเป็นหมอครับ แต่เรื่องข้อมูลส่วนตัวผมยังไม่อยากบอกด้วยเหตุผลหลายๆอย่างครับ แต่เอาเป็นว่าขณะนี้ผมจบเฉพาะทาง อายุรกรรมสาขามะเร็งวิทยา

ข้อมูลต่างๆในเว็บบล็อกนี้รวมทั้งที่ตอบในเว็บบอร์ด pantip ผมพยายามตอบตามข้อมูลที่มีอยู่จากการศึกษาวิจัยในขณะนั้นเป็นหลัก ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงไปตามเวลาและข้อมูลใหม่ๆที่เพิ่มมาเรื่อยๆ

ธรรมชาติของการแพทย์อย่างหนึ่งที่ทุกคนควรจะต้องรู้คือความไม่แน่นอน ไม่มีสิ่งใดถูกหรือผิดร้อยเปอร์เซนต์เสมอ และข้อมูลตามตำราไม่พอเพียงที่จะใช้รักษาผู้ป่วย เรา(ในฐานะแพทย์)ต้องใช้ประสบการณ์และการประเมินผู้ป่วยร่วมด้วยในการตัดสินใจรักษา

หมายเหตุ การใช้ข้อมูลเหล่านี้ควรใช้เพื่อการเรียนรู้ เพื่อการดูแลตนเอง แต่ไม่สามารถเอาไปอ้างอิงทางกฏหมายได้




 

Create Date : 21 ธันวาคม 2552   
Last Update : 1 สิงหาคม 2554 21:40:35 น.   
Counter : 1391 Pageviews.  


oncodog
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




[Add oncodog's blog to your web]