Group Blog
 
All Blogs
 
Knowledge Mangement จากภาพยนต์เรื่องแดจังกึม ค่ะ

สวัสดีค่ะ ทุก ๆ ท่าน ขา

เก็บตก จาก แดจังกึม นะคะ

วันก่อนได้มีโอกาสอ่านหนังสือพิมพ์หน้าบันเทิง

พบเรื่อง KM (Knowledge Mangement) จากภาพยนต์เรื่องแดจังกึม ค่ะ

เป็นเรื่อง มองผ่านจอ…แดจังกึม เห็น KM

เขียนโดย คุณรัชฎา อสิสนธิสกุล ในคอลัมน์ จุดประกายบันเทิง จากกรุงเทพธุรกิจ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2549

คุณรัชฎา ได้สรุปประเด็นกิจกรรมที่เป็น KM ไว้

ขออนุญาต คัดบางส่วนมาเล่าสู่กัยทราบ นะคะ

ละครเรื่องนี้มีแง่มุมให้ศึกษาหลายเรื่อง

และมีผู้เขียนถึงในบางแง่มุมของการบริหารจัดการไปแล้ว

นอกจากความเข้มข้นชวนติดตามด้านการแย่งชิงอำนาจชิงไหวชิงพริบ

ความมุมานะของนางเอก มิตรภาพ และแง่คิดอื่นๆ

แต่ในฐานะที่คลุกคลีอยู่กับ KM (Knowledge Management-การจัดการความรู้)

ก็อดมองไม่ได้ว่าในแดจังกึมมีอะไรที่เป็น KM บ้าง

ถ้าเราจะลองให้คำจำกัดความ KM ง่ายๆ

ว่าเป็นการแสวงหา เก็บรักษา

และสร้างองค์ความรู้สำคัญให้อยู่กับองค์กรเสมือนเป็นภูมิปัญญาที่มีค่า

ในแดจังกึมเราก็เห็นอะไรหลายอย่างที่สะท้อน KM เหมือนกัน …

เมื่อพิจารณาในแง่ KM เรื่องแดจังกึมสะท้อนให้เห็นถึง

ระบบการจัดการความรู้ขององค์กรทั้งส่วนห้องเครื่องเสวยและสำนักหมอหลวง

พอสรุปกิจกรรมที่เป็น KM ได้ดังนี้

1. การบันทึกวิธีการทำงาน และประสบการณ์

ทั้งห้องเครื่องและสำนักหมอหลวงต่างมีด้วยกัน แต่มีระบบการเผยแพร่ต่างกัน

บันทึกของห้องเครื่องจำกัดเฉพาะผู้ที่ดำรงตำแหน่งสูงสุดเท่านั้น

ส่วนสำนักหมอหลวงแยกเป็นสองระดับ ห้องสมุดที่เก็บตำราทั่วไป

สำหรับหมอทุกคนค้นคว้าได้

ส่วนบันทึกอาการของเชื้อพระวงศ์จำกัดเฉพาะบุคคลที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น

ไม่ต่างจากระบบความปลอดภัยสำหรับการเข้าถึงข้อมูลใน KM Web ของแต่ละองค์กร

กำหนดสิทธิตามหน้าที่ ตำแหน่ง เพื่อป้องกันการนำข้อมูลไปใช้ผิดวัตถุประสงค์

2. การถ่ายทอดความรู้จากบุคคลสู่บุคคลโดยการสอนงาน

และเรียนรู้จากการทำงานร่วมกัน

เช่นเดียวกับระบบพี่เลี้ยง (Mentoring) จากรุ่นหนึ่งสู่รุ่นหนึ่ง

ใครเก็บเกี่ยวได้มากกว่ากันขึ้นอยู่กับความสามารถและความตั้งใจของผู้สอนและผู้เรียน

3. การประชุมร่วมเพื่อหาวิธีปฏิบัติหรือแก้ไขปัญหา

ต่างคนต่างถ่ายทอดสิ่งที่เคยประสบมา

รวมทั้งแง่คิดและมุมมองต่อปัญหานั้น

รวมถึงอาจขยายไปยังปัญหาใกล้เคียง ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกัน

หรือส่วนงานอื่นๆ ลักษณะเดียวกับการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ (Knowledge Sharing)

4. การสรุปทบทวนการปฏิบัติงาน

ได้ทำอะไรบ้าง ผลเป็นอย่างไร

มีอะไรเป็นตัวแปรที่กระทบต่อสถานการณ์นั้นบ้าง

มุมมองและความคิดเห็นทั้งก่อน ระหว่าง และหลังเหตุการณ์

เป็นการทบทวนหลังปฏิบัติงานหรือแก้ไขสถานการณ์ที่สำคัญให้ผู้อื่นได้เรียนรู้ ที่เรียกว่า After Action Review

นอกจากเรื่องการจัดการความรู้ในวังหลวงแล้ว ยังมีมุมสะท้อนด้านบุคคล

เมื่อคนเก่งและทุกคนยอมรับว่าไม่เคยตรวจผิดพลาดมาก่อน

อย่างหมอโยลี กลับวินิจฉัยไม่ละเอียดพอ ความไม่พอใจและความริษยาที่เกิดขึ้น

เมื่อถูกลดทอนความสำคัญของตนเองลง

จากเดิมที่เคยเป็นที่ยอมรับในความสามารถ

ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จหรือเป็นอุปสรรคขององค์กร

ที่ต้องคำนึงถึงเช่นเดียวกัน ในมุมมอง KM

จึงต้องใส่ใจเรื่องความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมของบุคคลประกอบด้วย

ยาวไปหน่อย…

แต่คิดว่าคงเป็นประโยชน์แก่ทุก ๆ ท่านบ้าง ไม่มากก็น้อย

เชิญอ่านฉบับเต็ม ๆ ได้ตามลิงค์ ข้างล่างนี้ นะคะ

//www.bangkokbiznews.com/2006/03/08/i003_82624.php?news_id=82624




Create Date : 14 มีนาคม 2549
Last Update : 14 มีนาคม 2549 5:18:43 น. 3 comments
Counter : 642 Pageviews.

 
ชอบมากเลยคะ.... แดจังกึม


โดย: 304 คอนแวนต์ IP: 203.144.169.187 วันที่: 14 มีนาคม 2549 เวลา:16:30:51 น.  

 
ไม่เคยดูเลยแดจังกึม คงจะสนุกมากฮิตจริงๆ


โดย: ปูขาเก เซมารู วันที่: 18 มีนาคม 2549 เวลา:12:30:55 น.  

 
ชอบมากจังเลย กับตัวอย่างที่ดีของ KM เคยเข้าอบรม
หลักสูตรพี่เลี้ยง กับ อ.อุไรวรรณ อยู่ชา อาจารย์ได้นำ
เรื่องราวของแดจีงกึม มาถ่ายทอดและเชื่อมโยง KM กับ ระบบพี่เลี้ยง สนุกมากและทำให้เห็นภาพได้ชัดเจนด้วย



โดย: นกสวย IP: 124.121.195.84 วันที่: 12 ธันวาคม 2552 เวลา:7:52:47 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

นู๋เองค่ะ
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




Friends' blogs
[Add นู๋เองค่ะ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.