Group Blog
 
All blogs
 
แอลคาร์นิทีน L-carnitine

แอล-คาร์นิทีน กับบทบาทเพื่อการลดน้ำหนัก


แอลคาร์นิทีน(L-Carnitine)



  • มีการสังเคราะห์จากกรดอะมิโน
    2 ชนิดคือ ไลซีน (lysine) และเมไทโอนีน (methionine) พร้อมกับอาศัยตัวเร่งให้เกิดการสังเคราะห์ ได้แก่
    Niacin วิตามิน B6 C และธาตุเหล็ก

  • โดยปกติจะพบในสัตว์เนื้อแดงชนิดต่างๆ โดยเฉพาะในส่วนกล้ามเนื้อลายจะมากเป็นพิเศษ

  • หน้าที่หลักของ
    Carnitine จะช่วยลำเลียงโมเลกุลไขมันเล็กๆ เข้าไปใช้ในเซลล์ต่างๆ ช่วยให้ร่างกายเปลี่ยนกรดไขมันไปเป็นพลังงานนั่นเอง

  • แอล-คาร์นิทีนถูกสร้างขึ้นภายในตับและไต และนำไปเก็บไว้ในกล้ามเนื้อลาย (skeletalmuscle) ตัวอย่าง ก็เช่น กล้ามเนื้อตามแขน ขา ของเรานั่นเอง นอกจากนี้ยังถูกลำเลียงไปเก็บไว้ในหัวใจ สมอง และสเปิร์ม

  • สำหรับในอาหารก็จะพบแอล-คาร์นิทีนในอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ นมและผลิตภัณฑ์จากนม ผลอะโวคาโด (Avocado)

    ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่วหมัก (tempeh)



รูปแบบของคาร์นิทีนที่มีการนำมาใช้


คาร์นิทีนที่ถูกนำมาใช้ในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมจะมีอยู่หลายรูปแบบแต่ที่ใช้กันแพร่หลายมีอยู่ 3 รูปแบบ



  1. แอล-คาร์นิทีน (LC) เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายและมีราคาถูกที่สุด

  2. แอล-อะซิทิลคาร์นิทีน [L-acetylcarnitine (LAC)] เป็นเพียงรูปแบบเดียวที่ถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคแอลไซเมอร์ (Alzheimer) และโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของสมองโรคอื่นๆ

  3. แอล-โพรพิโอนิลคาร์นิทีน [L-propionylcarnitine (LPC)] ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษาอาการเจ็บหน้าอกและโรคที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ และใช้ได้ผลดีกับโรคเกี่ยวกับเส้นเลือดตามแขนขาอีกด้วย (peripheral vascular disease - PVD)



10 เหตุผลที่ควรรู้ก่อนเลือกกินคาร์นิทีน (Carnitine)



  1. คาร์นีทีนทำให้เราแก่ช้าลง แค่เหตุผลแรกก็ชวนให้เราหลงใหลใคร่อยากที่จะกินคาร์นิทีนกันแล้วสิ ที่คาร์นิทีนทำให้แก่ช้าลงได้ ก็เพราะเหตุผลที่ว่า เซลล์ในร่างกายของเราทุกๆ เซลล์ไม่ว่าจะเป็นเซลล์สมอง เซลล์จากระบบภูมิคุ้มกัน เซลล์จากหัวใจ หรือเซลล์จากที่อื่นๆ ในร่างกายทั้งหมดจะทำงานได้ดีก็ต่อเมื่อ ได้รับพลังงานเพียงพอและเหมาะสมกับความต้องการของเซลล์แต่ละชนิดและคาร์นิทีนนี่เองที่เข้าไปช่วยทำให้เซลล์มีอายุยืนนานขึ้น

  2. คาร์นิทีนทำให้ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ (triglycerides) อยู่ในระดับที่ต่ำ และช่วยเพิ่มระดับHDL-คลอเรสเตอรอล ในเลือด

  3. คาร์นิทีนยังช่วยป้องกันโรคหัวใจ โดยมีผลทำให้สุขภาพโดยรวมของหัวใจดีขึ้นและช่วยป้องกันการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวด้วย (ซึ่งเป็น 1/3 ของสาเหตุที่ทำให้คนเป็นโรคหัวใจตาย)

  4. คาร์นิทีนช่วยทำให้น้ำหนักลดโดยเฉพาะถ้าใช้ร่วมกันวิธีการที่เราลดอาหารจำพวกแป้งลงในอาหารแต่ละมื้อ

  5. คาร์นิทีนช่วยเพิ่มระดับพลังงานของร่างกายอย่างเป็นธรรมชาติ ค่อยเป็นค่อยไปโดยไม่ทำให้ร่างกายได้รับบาดเจ็บหรือเกิดความเสียหายใดๆ กับร่างกาย เหมือนกันที่พบในสารสกัดจากพืชสกุล Ephedra (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บไซต์ของกระทรวงอาหารและยาของอเมริกา ในเอกสารอ้างอิงครับ)

  6. ยังพบอีกว่าคาร์นิทีนช่วยให้ความสามารถในการออกกำลังกายเพิ่มขึ้น มีความทนทานมากขึ้น และป้องกันเนื้อเยื่อไม่ให้เกิดความเสียหายอันเนื่องมาจากปริมาณออกซิเจนในเซลล์ไม่เพียงพอ

  7. ทั้งคาร์นีทีน และ อะซีทิล-แอล-คาร์นิทีน (Acetyl-L-carnitine) ทำให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น

  8. อะซีทิล-แอล-คาร์นิทีนช่วยลดความเสียหายของเซลล์ประสาทอันเนื่องมาจากความเครียด และอาจจะมีส่วนช่วยในการป้องกันโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer) ด้วย แต่ได้ผลเฉพาะในผู้ป่วยที่มีอายุน้อยทำให้อาการของโรคไม่เป็นไปมากกว่านี้

  9. อะซีทิล-แอล-คาร์นิทีน มีผลต่อสุขภาพจิตในทางบวก และลดภาวะความเครียดได้

  10. คาร์นิทีนช่วยในการทำงานของตับ ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมของเราด้วย





ข้อควรระวังในการใช้แอล-คาร์นิทีน



  • สำหรับคนที่คิดจะซื้อแอล-คาร์นิทีนมาใช้ควรต้องระวังเพราะอาจจะมีผลข้างเคียงต่างๆ เกิดขึ้นกับร่างกายได้ และอาจจะเข้าทำปฏิกิริยากับยาอื่นๆ ที่กินร่วมกัน ดังนั้น ในการใช้แต่ละครั้งควรต้องอยู่ในความควบคุมดูแลของแพทย์จะปลอดภัยกว่า 

  • ข้อควรจำให้ขึ้นใจก็คือสสารทุกอย่างมีทั้งประโยชน์และโทษในตัวเอง ขึ้นกับปริมาณและช่วงจังหวะเวลาของการใช้ ถึงแม้ว่าแอล-คาร์นิทีนจะไม่ปรากฏผลข้างเคียงใดๆที่เด่นชัดมากนัก แต่ก็มีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าถ้ากินเข้าไปมากขนาด 5 กรัมต่อวัน

    หรือมากกว่าอาจจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้ (ต้องอย่าลืมว่าเราได้แอล-คาร์นิทีนจากอาหารประเภทเนื้อสัตว์และนมอยู่แล้วด้วย ซึ่งเราไม่สามารถทราบปริมาณที่แน่นอนได้)

  • ส่วนอาการข้างเคียงอื่นๆที่อาจจะพบได้บ้าง ก็เช่น มีความอยากอาหารเพิ่มขึ้น มีกลิ่นตัว และเกิดมีผื่นแดง

  • และในนักกีฬาหรือคนที่กินแอล-คาร์นิทีนเสริมสำหรับการเล่นกีฬาเพื่อช่วยในการสลายไขมันและช่วยทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อดีขึ้น ก็ควรจะต้องหยุดใช้เพื่อให้กล้ามเนื้อได้พักบ้างอย่างน้อยเดือนละ 1 อาทิตย์ คือไม่ควรใช้ต่อเนื่องติดต่อกันไปเป็นเวลานานๆ

  • สำหรับคนที่มีอาการแพ้ต่ออาหารโปรตีน เช่น ไข่ นม หรือข้าวสาลี ไม่ควรกินผลิตภัณฑ์ที่เสริมแอล-คาร์นิทีนเป็นอันขาด

  • รวมไปถึงคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับตับและไต

  • เด็กที่มีอายุยังไม่ถึง 2 ขวบ และสตรีมีครรภ์ ก็ควรหลีกเลี่ยงการใช้ ถ้าไม่จำเป็นหรือใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์




Create Date : 14 กันยายน 2552
Last Update : 14 กันยายน 2552 22:04:04 น. 0 comments
Counter : 577 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

nupha45
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]





Friends' blogs
[Add nupha45's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.