เกลียดจริง ๆ คนไม่จริงใจ
 
3. ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ

1. ด้านการพัฒนาการเมืองการปกครองของประเทศ
2. ด้านสังคม
3. ด้านการคมนาคม
4. ด้านการพัฒนาสาธารณสุข
5. ด้านวงการธุรกิจ
6. ด้านการศึกษา
7. ด้านการบริการสารสนเทศ
8. ด้านวงการบันเทิง
ฯลฯ


แบบฝึกหัด
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)


Create Date : 27 มีนาคม 2552
Last Update : 12 มิถุนายน 2552 10:05:35 น. 164 comments
Counter : 10620 Pageviews.

 
1. การลงทะเบียนเรียน

การลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง นักศึกษาแต่ละคนสามารถเลือกเรียนวิชาที่สนใจได้ แต่ต้องเป็นวิชาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร การลงทะเบียนแต่ละวิชามีข้อจำกัด คือ จำนวนนักศึกษาแต่ละห้องมีจำนวนจำกัด ดังนั้นการลงทะเบียนเรียนจึงต้องอาศัยข้อมูลจากการประมวลผลแบบเชื่อมตรง เพื่อให้สามารถตรวจสอบการลงทะเบียนได้ทันทีว่า มีวิชาอะไรเปิดสอนบ้าง วิชาใดมีผู้สมัครเรียนเต็มแล้ว ถ้าเต็มแล้ว สามารถเปลี่ยนกลุ่ม หรือวิชาอื่นใดแทนได้บ้าง

ขั้นตอนของการลงทะเบียนเรียนของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง มีดังนี้

1. นักศึกษานำรายวิชาที่ตนเองสนใจจะเรียนปรึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อขอความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาจึงนำไปลงทะเบียนเรียนได้

2.นักศึกษานำเอกสารการลงทะเบียนที่มีลายมือชื่ออาจารย์ที่ปรึกษามาพบกับเจ้าหน้าที่ลงทะเบียน เจ้าหน้าที่ลงทะเบียนป้อนข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์จะทำการตรวจสอบวิชาที่บันทึกแต่ละวิชาว่า ติดขัดข้อกำหนดใดหรือไม่ เช่น มีผู้ลงทะเบียนวิชานั้นเต็มแล้ว ไม่สามารถลงทะเบียนได้ ต้องให้นักศึกษาเปลี่ยนกลุ่มเรียน หรือหากต้องการลงทะเบียนวิชาใหม่ ก็ต้องกลับไปขอความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาอีกครั้ง

3. โปรแกรมพิมพ์รายการที่นักศึกษาลงทะเบียนทั้งหมด พร้อมทั้งคิดค่าใช้จ่ายที่นักศึกษาต้องจ่ายเป็นค่าลงทะเบียนเรียน

4. นักศึกษาจ่ายเงินและรับเอกสารใบเสร็จที่พิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์

5. เมื่อลงทะเบียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะมีข้อมูลในฐานข้อมูลที่บ่งบอกได้ว่าแต่ละวิชามีนักศึกษาผู้ใดลงทะเบียนเรียนบ้าง นักศึกษาลงทะเบียนรวมทั้งสิ้นกี่คน พร้อมทั้งพิมพ์รายงานการลงทะเบียนเรียนของนักศึกษาในแต่ละรายวิชา แจ้งให้อาจารย์ผู้สอนวิชานั้น ๆ ทราบ

6. ในกรณีที่นักศึกษาต้องการเพิ่มหรือถอนการลงทะเบียนในภายหลัง ซึ่งอยู่ในระยะเวลาที่อนุญาต นักศึกษาสามารถดำเนินการโดยขออนุญาตการเพิ่มหรือถอนจากอาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ประจำวิชา แล้วนำเอกสารมาให้เจ้าหน้าที่ป้อนรหัสวิชาที่เพิ่มหรือถอน โปรแกรมจะตรวจสอบกับฐานข้อมูลและพิมพ์รายการทางด้านการเงิน พร้อมทั้งปรับปรุงฐานข้อมูลให้ถูกต้องอยู่เสมอ

ข้อมูลในระบบการลงทะเบียนของสถานศึกษา มีการเปลี่ยนแปลงและทำให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา สามารถเรียกใช้หรือตรวจสอบข้อมูลได้ทันที ข้อมูลเหล่านี้จะนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดการศึกษาต่าง ๆ เช่น การจัดตารางสอน การจัดห้องสอบ การปรับปรุงข้อมูลคะแนน รวมถึงการรายงานผลต่าง ๆ

1.8.3 การบริการและการทำธุรกรรมบนอินเทอร์เน็ต

การเติบโตของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้มีผู้ใช้งานกันอย่างกว้างขวาง เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงถึงกันทั่วโลก ทำให้การสื่อสารระหว่างกันบนอินเทอร์เน็ตทำได้ง่ายและมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าระบบการสื่อสารแบบอื่น การสื่อสารที่นิยมบนอินเทอร์เน็ต ได้แก่ การรับส่งข้อมูล ทำการแลกเปลี่ยน โอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน การส่งอีเมล์ การกระจายทำการในรูปแบบเว็บเพจ ตลอดจนการโต้ตอบสื่อสารแบบส่งข้อความและการประยุกต์ในเรื่องธุรกิจอีกมากมาย

การประยุกต์ที่น่าสนใจบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอย่างหนึ่ง คือ ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรืออีคอมเมิร์ซ (Electronic Commerce : E-Commerce) หรือการค้าขายบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีการตั้งร้านค้าบนอินเทอร์เน็ตจำนวนมาก ผู้ตั้งร้านค้าใช้เว็บเพจนำเสนอสินค้าและบริการต่างๆซึ่งทำให้ผู้เข้าใช้บริการสามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ ทุกประเทศ เป็นการเปิดร้านค้าที่มีลูกค้าเข้าเยี่ยมชมจากที่ต่าง ๆ ได้ทั่วทุกมุมโลก ตัวอย่างเช่น ร้านหนังสือหลายแห่งที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต นำเสนอรายการและตัวอย่างหนังสือบนเครือข่าย มีหนังสือที่ทางร้านนำเสนอหลายแสนเล่ม มีระบบเครือข่ายค้นหาหนังสือเล่มที่ต้องการ และหากสนใจติดต่อสั่งซื้อก็กรอกลงในแบบฟอร์มการสั่งซื้อ มีระบบการชำระเงินได้หลายแบบ เช่น ระบบการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต ระบบการโอนเงินผ่านธนาคาร ระบบการนำสินค้าส่งถึงที่แล้วจึงค่อยชำระเงิน การจัดส่งสินค้าก็ทำได้รวดเร็ว มีเครือข่ายการส่งสินค้าได้ทั่วโลกผ่านทางบริษัทจัดส่งสินค้าแบบเร่งด่วน ระบบการค้าขายบนอินเทอร์เน็ตจึงเติบโตและมีผู้นิยมเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทั้งนี้เพราะข้อดีคือสามารถนำเสนอสินค้าให้กับลูกค้าได้กว้างขวาง สินค้าบางอย่างเป็นสินค้าที่มีมากและราคาถูกในท้องที่หนึ่ง แต่อาจเป็นที่ต้องการในอีกที่หนึ่ง เช่น คนไทยสามารถส่งปลาทูขายผ่านระบบอีคอมเมิร์ซไปยังผู้บริโภคแถบประเทศตะวันออกกลาง โดยระบบบรรจุหีบห่อแช่แข็งขนาดเล็ก ส่งผ่านบริษัทจัดส่งสินค้าเร่งด่วนไปยังผู้บริโภคได้ นอกจากนี้สินค้าประเภทหัตถกรรมไทยจำนวนมากก็เป็นที่ต้องการของต่างประเทศ การนำเสนอสินค้าผ่านทางเครือข่ายจึงเป็นหนทางของการเปิดตลาดให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น จนในปัจจุบันมีผู้ตั้งร้านค้าบนเครือข่ายมากมาย โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดย่อม
ค้นคว้าจาก //www.htayaiwit.ac.th


โดย: นางสาวเบญจมาศ โคตรเพชร<พฤหัสเช้า 18/06/2009> IP: 172.29.9.73, 202.29.5.62 วันที่: 18 มิถุนายน 2552 เวลา:9:18:39 น.  

 
ข้อที่ 1
นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการศึกษา
ในปีพ.ศ. 2535 รัฐบาลได้จัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริม การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติขึ้นด้วยเล็งเห็นว่าสังคม จะต้องมีการเตรียมการเพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในยุคข่าวสารข้อมูล ทางการจึงเห็นสมควรให้มีหน่วยงานรองรับทางด้านนโยบาย โดยมอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ทำหน้าที่สำนักงานเลขานุการเพื่อกลั่นกรองนโยบายและมาตรการที่จะมีผลต่อ การพัฒนาเทคโนโลยี สารสนเทศให้เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาประเทศ
ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ประกาศใช้ “นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ” ตามที่คณะกรรมการฯ เสนอโดยมีสาระสำคัญที่เป็นเสาหลักในการพัฒนา 3 ประการคือ
1. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศแห่งชาติ (National Information Infrastructure:
NII)
2. พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development)
3. พัฒนาระบบสารสนเทศและปรับปรุงบทบาทภาครัฐเพื่อบริการที่ดีขึ้นรวมทั้ง สร้างรากฐาน อุตสาหกรรมสารสนเทศที่แข็งแกร่ง (IT for Good Governance)
โดยกลยุทธ์ของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มีทิศทาง 2 ประการ คือ
1.เร่งสร้างบุคลากรที่มีทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทุกระดับ เพื่อแก้ปัญหาความ ขาดแคลน และเพื่อเตรียมรับความต้องการของตลาด
2.ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเพื่อการศึกษา และการฝึกอบรม ทุกระดับทั้งในสาขาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสาขามนุษย์ศาสตร์ และสังคมศาสตร์ โดย
- จัดให้มีภารกิจเบื้องต้นเพื่อรองรับกลยุทธ์ดังกล่าวด้วยการจัดให้ครูในโรงเรียนและคณาจารย์ในมหาวิทยาลัย รวมทั้งนักเรียน นักศึกษามีโอกาสเรียนวิธีใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อนำเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้เป็น เครื่องมือรับข่าวสารและ ความรู้ด้วยวิธีเรียนด้วยตนเองหรือด้วยวิธีสื่อสารตอบโต้กับครูหรือ ระหว่างนักเรียนด้วยกันเอง
- ต่อเชื่อมโรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย และห้องสมุดด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเอื้ออำนวยให้ครูและ นักเรียนสามารถเข้าถึง แหล่งความรู้ที่อยู่ห่างไกลได้
- นำเทคโนโลยีสารสนเทศและการศึกษาทางไกลมาใช้อย่างเต็มที่เพื่อ ตอบสนองประชาชน ผู้มุ่งหวังการต่อยอด ทางทักษะและการศึกษาโดยไม่คำนึงถึงอายุ อาชีพ ระยะทางหรือภูมิศาสตร์รวมทั้งสนใจเป็นพิเศษต่อผู้พิการและด้อยโอกาส
นโยบาย IT-2000 ได้จัดทำข้อเสนอแนะทางด้านนโยบายดังนี้
- ดำเนินโครงการ “ระบบสารสนเทศโรงเรียน” โดยกำหนดเป้าหมาย จำนวนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ต่อนักเรียน (PC Density) 1:40 และ 1:80 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมและประถมตามลำดับ
- จัดสรรงบประมาณประจำปีอย่างต่อเนื่องเพื่อระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่จำเป็น ต่อเชื่อมมหาวิทยาลัย วิทยาลัย และโรงเรียนทุกแห่งเข้ากับเครือข่ายระบบอินเทอร์เน็ต
-สถาปนาสถาบันสื่อประสมปฏิสัมพันธ์แห่งชาติ เพื่อความคล่องตัวในการพัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์และการพัฒนา บทเรียนการศึกษา โดย กำหนดเป้าหมาย ให้เป็นองค์กรกลางดูแลการพัฒนา การออกแบบ จัดหาและเผยแพร่เทคโนโลยีสื่อประสมแบบมัลติมีเดีย รวมทั้งดูแลการแจกจ่ายบทเรียนและชุดสื่อประสมCAI/CAL หรือเป็นตัวกลางในการจัดซื้อลิขสิทธิ์เพื่อนำมาปรุงแต่งใช้ประโยชน์ ต่อไป
- เร่งผลิตบุคลากรด้านเทคโนโลยีในทุกระดับ โดยวางเป้าไว้ว่าเร่งผลิตวิศวกรและเจ้าหน้าที่เทคนิคด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ พัฒนาหลักสูตรและอุปกรณ์การเรียนการสอนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ในวิทยาลัยและ มหาวิทยาลัย ระดมและรักษาคณาจารย์ในสาขาขาดแคลน รวมทั้งจ้างผู้เชี่ยวชาญและอาจารย์จากต่างประเทศ
-ส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาระดับมัธยมและ อุดมศึกษาโดยเฉพาะ ในสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น

ที่มา //www.sg.ac.th/go/article/article_prevo.asp?id=44&status=prev

ข้อที่ 2
1. ช่วยในการสืบค้นหาข่าวสารต่างๆในชีวิตประจำวัน
2.ทำให้สะดวกสะบายในการใช้ชีวิตประจำวัน

ที่มา//blog.spu.ac.th/spufcontent5/2009/06/10/entry-1


โดย: นางสาวชลดา บุญรุ่ง(หมู่ 8 พฤ เช้า) IP: 192.168.1.115, 58.147.38.196 วันที่: 18 มิถุนายน 2552 เวลา:13:45:04 น.  

 
ข้อที่1. ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยี่สารสนเทศมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ เป็นอย่างมาก ตัวอย่างเช่น
1. การศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยในด้านการค้นคว้าศึกษาแหล่งข้อมูล ทำให้การศึกษาง่ายขึ้นและ
ไร้ขีดจำกัด ผู้เรียนมีความสะดวกในการค้นคว้าวิจัย
2. การดำรงชีวิตประจำวัน ทำให้มีความสะดวกคล่องตัวและรวดเร็วในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นใน

ชีวิตประจำวัน สามารถทำงานได้หลายอย่างในเวลาเดียวกันได้หรือทำงานใช้เวลาน้อยลง
3. การดำเนินธุรกิจ ทำให้มีการแข่งขันระหว่างธุรกิจมากขึ้น ทำให้ต้องมีการพัฒนาองค์กรเพื่อให้ทันกับข้อมูล
ข่าวสารอยู่ตลอดเวลา อันส่งผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง
4. อัตราการขยายตัวทุก ๆ ด้านที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะมีการติดต่อสื่อสารที่เจริญก้าวหน้าทันสมัย รวดเร็ว
ถูกต้องและทำให้เป็นโลกที่ไร้พรมแดน
5. ระบบการทำงานมีคอมพิวเตอร์มาใช้ซื่อสามารถทำงานได้มากขึ้น งานบางอย่างมนุษย์ทำไม่ได้ก็ใช้
คอมพิวเตอร์ช่วยทำงานแทนซึ่งได้ผลถูกต้องรวดเร็ว
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ต้องประกอบด้วย
1. ฮาร์ดแวร์ Hardware
2. ซอฟต์แวร์ Software
3. อุปกรณ์ที่ใช้ในการให้บริการข้อมูลและติดต่อสื่อสาร
พื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วยส่วนประกอบ ดังนี้
1. องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ ได้แก่
1. ฮาร์ดแวร์ Hardware
2. ซอฟต์แวร์ Software
3. ข้อมูล Data
4. บุคลากร People
2. โปรแกรมเมอร์ นักวิเคราะห์ระบบและผู้ใช้งาน Programmer,System Analyst และ User
เป็นบุคคลที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในงานคอมพิวเตอร์ โปรแกรมเมอร์มีหน้าที่เขียนโปรแกรมตามที่นักวิเคราะห์ได้ออกแบบไว้ ส่วนผู้ใช้จะเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลต่อทิศทางในการพัฒนาเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์มากที่สุด
3. หน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยแสดงผลและหน่วยเก็บข้อมูล
หน่วยรับข้อมูล ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์
หน่วยประมวลผล ทำหน้าที่ประมวลผลและควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด
หน่วยแสดงผล ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากการประมวลผลข้อมูล
หน่วยเก็บข้อมูล ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่รอการประมวลผล และเก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลในระหว่างที่รอส่งไปยังหน่วยแสดงผล
4. การจัดการข้อมูล ซึ่งหมายถึงแฟ้มข้อมูล
5. การประมวลผล ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน
1. การรวมบรวมข้อมูล
2. การประมวลผล
3. การดูแลรักษา
เทคโนโลยีสารสนเทศรูปแบบต่าง ๆ
1. เทคโนโลยีระบบสารสนเทศ เป็นระบบการจัดการสารสนเทศที่ทำหน้าที่ไม่ว่าจะเป็นการบันทึก การแก้ไข การทำรายงาน งานบัญชี งานลงทะเบียน ระบบสารสนเทศจะช่วยให้องค์กรมีความสะดวกรวดเร็วในการทำงานและยังช่วยเป็นข้อมูลในการตัดสินใจด้วย
2. เทคโนโลยีระบบเครือข่าย เป็นระบบเทคโนโลยีที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน มีประโยชน์ ดังนี้
1. สามารถติดต่อถึงกันได้ด้วยจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)
2. จัดเก็บข้อมูลไว้รวมในที่เดียวกัน ผู้อยู่ห่างไกลก็สามารถดึงข้อมูลนั้นไปใช้ได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทาง
3. องค์กรประหยัดค่าใช้จ่ายงบประมาณด้านอุปกรณ์ เพราะระบบเครื่อข่ายสามารถใช้อุปกรณ์ร่วมกันได้
4. สามารถทำงานร่วมกันได้หรือทำงานโดยใช้เอกสารชุดเดียวกัน
3. เทคโนโลยีสำนักงานอัตโนมัติ เป็นระบบการทำงานที่ใช้ระบบการเืชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สำนักงาน ซึ่งมีผลทำให้
1. พนักงานสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E - mail)
2. สามารถบันทึกแฟ้มเอกสารหรืองานพิมพ์เก็บไว้ และสามารถนำมาแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ง่าย
3. การออกแบบงานต่าง ๆ ทำได้ง่ายสะดวกรวดเร็วและใช้งานได้ง่าย
4. มีระบบฝากข้อความเสียง (Voice Mail)
5. การประชุมทางไกล (Vedio Teleconference)
4. เทคโนโลยีช่วยสอน CAI ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โรงเรียนและสถานศึกษาก็เริ่มมีการพัฒนาโปรแกรมบทเรียนสำเร็จรูปขึ้นมาใช้ และมีผลดีกับนักเรียนที่จะได้สื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัยและมีความน่าสนใจมากขึ้น
การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. การนำมาประยุกต์ใช้งาน จะต้องคำนึงถึงผลที่จะได้รับและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาด้วย
2. การวางแผนที่ดี เพื่อเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เหมาะสมกับงานและเพื่อประโยชน์สูงสุดที่ควรจะได้รับ
3. มาตรฐานการใช้งาน ควรจะมีเจ้าหน้าที่ควบคุมดูแล ไม่ปล่อยปละละเลยหรือใช้ในทางที่ผิด
4. การลงทุน ควรคำนึงถึงงบประมาณและผลประโยชน์ที่ได้รับด้วย หากประโยชน์ที่ได้ไม่คุ้มค่าแก่การลงทุนก็ควรที่จะปรับแผนการเสียใหม่
5. การจัดการข้อมูล ต้องระมัดระวังไม่ให้ข้อมูลซ้ำซ้อน ควรมีการแบ่งปันข้อมูลเพื่อให้การทำงานร่วมกันมีการติดต่อสร้างความสัมพันธ์กัน
6. การรักษาความปลอดภัยของระบบ การใช้เทคโนโลยีร่วมกัน ต้องมีการดูแลให้สิทธิแก่ผู้ใช้ภายในขอบเขตของแต่ละคน
ข้อที่2.
1.เพื่อใช้ในการจัดเก็บข้อมูลที่มากๆให้เป็นระบบเเละค้นหาได้ง่าย
2.เพื่อให้เราจัดระบบชีวิตประจำวันของเราให้เป็นระบบ
ที่มา //learnersin.th/blog/wasana/2510/259724


โดย: น.ส.วรวรรณ สุภาพัก (หมู่8 พฤ เช้า) 18/06/2552 IP: 61.7.137.252 วันที่: 18 มิถุนายน 2552 เวลา:19:32:05 น.  

 
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย

ความสำคัญของเทคโนโลยีด้านการศึกษา
การนำเอาเทคโนโลยีการศึกษามาใช้นั้น ส่วนใหญ่นำมาใช้ในการแก้ปัญหา ในด้านการศึกษาก็เช่นเดียวกัน เพราะปัญหาทางด้านการศึกษามากมาย เช่น - ปัญหาผู้สอน - ปัญหาผู้เรียน - ปัญหาด้านเนื้อหา - ปัญหาด้านเวลา ปัญหาเรื่องระยะทางนอกจากนั้นการนำเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ในการเรียนการสอนก็เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนการสอนและเพิ่มประสิทธิผลทางการศึกษาอีกด้วยคณะกรรมการด้านเทคโนโลยีการศึกษา
ได้สรุปความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษาดังนี้
1 เทคโนโลยีการศึกษาทำให้การเรียนการสอน มีความหมายมากขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้กว้างขวาง เรียนได้เร็วขึ้น ทำให้ผู้สอนมีเวลาให้ผู้เรียนมากขึ้น
2 เทคโนโลยีการศึกษาสามารถตอบสนองความแตกต่างของผู้เรียน ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความสามารถของผู้เรียน การเรียนการสอนจะเป็นการตอบสนองความสนใจและความต้องการของแต่ละบุคคลได้ดี
3 เทคโนโลยีการศึกษาทำให้การจัดการศึกษา ตั้งบนรากฐานของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ทำให้การจัดการศึกษาเป็นระบบและเป็นขั้นตอน
4 เทคโนโลยีการศึกษาช่วยให้การศึกษามีพลังมากขึ้น การนำเทคโนโลยีด้านสื่อเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่จะทำให้การศึกษามีพลัง
5 เทคโนโลยีการศึกษาทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวาง และได้พบกับสภาพความจริงในชีวิตมากที่สุด
6 เทคโนโลยีการศึกษาทำให้เปิดโอกาสทางการศึกษาทั้งๆ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
บทบาทของเทคโนโลยีการศึกษาในการเรียนการสอนจึงมีอยู่ 4 บทบาท ดังนี้
1. บทบาทด้านการจัดการ
2. บทบาทด้านการพัฒนา
3. บทบาทด้านทรัพยากร
4. บทบาทด้านผู้เรียน

องค์ประกอบต่างๆ ทั้งหลายนั้น ประกอบด้วย

1 การจัดการทางการศึกษา (Educational Management Functions)

เป็นหน้าที่ที่มีจุดมุ่งหมาย เพื่อควบคุมหรือกำกับการพัฒนาการศึกษา/การสอน หรือการจัดการทางการศึกษา/การสอน (การวิจัย การออกแบบ การผลิต การประเมนผล การให้ความช่วยเหลือการใช้) เพื่อเป็นหลักประกันประสิทธิผลการปฏิบัติงาน ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประการใหญ่ ๆ คือ
1.1 การจัดการหรือบริหารด้านหน่วยงานหรือองค์การ (Organization Management) เพื่อให้ดำเนินงานตามวิธีระบบและบรรลุวัตถุประสงค์ จะเกี่ยวข้องกับงานสำคัญ ๆ ดังนี้คือ
1.1.1 การกำหนดจุดมุ่งหมายและนโยบาย เกี่ยวกับบทบาท วัตถุประสงค์ การเรียนการสอน ผู้เรียน ทรัพยากรการเรียน ฯลฯ จะต้องให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกันการให้การสนับสนุน จะต้องมีการวางแผน การจัดหาข้อมูล ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกในการพิจารณาและตัดสินใจ
1.1.2 การจัดบริการที่มีประสิทธิภาพ
1.1.3 การสร้างความประสานสัมพันธ์ ให้มีการร่วมมือในการปฏิบัติงานของทุกฝ่าย ตลอดจนวิธีการเผยแพร่ข่าวสาร และการติดต่อสื่อสารเพื่อให้การปฏิบัติงานดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยและสำเร็จตามวัตถุประสงค์
1.2 การจัดหรือบริหารงานด้านบุคคล (Personal Management) เป็นการจัดงานทางด้านการจัดบุคลากรให้เหมาะสมตามหน้าที่การงาน และความสามารถเฉพาะงาน เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ อันได้แก่การคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานทั้งการบรรจุใหม่ หรือการว่าจ้าง การฝึกอบรมหรือพัฒนากำลังคน การนิเทศงาน การบำรุงขวัญการทำงาน สวัสดิการ และ การประเมินผลการประกอบกิจการของบุคลากร

2. การพัฒนาทางการศึกษา (Educational Development)

เป็นหน้าที่ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการวิเคราะห์ปัญหา การคิดค้น การปรับใช้ และการประเมินผล ข้อแก้ไขปัญหา ทรัพยาการเรียน ด้วยการวิจัย (Researci-tneory) การออกแบบ (Desing) การผลิต (Production) การประเมินผล (Evaluation) การใช้ (Utilizsiton) ทั้งหมดนี้ต่างก็มีวิธีการดำเนินการที่มีส่วนสัมพันธ์กับทรัพยากรการเรียน เช่น ในด้านการวิจัยนั้น เราก็วิจัยทรัพยากรการเรียนนั่นเอง ซึ่งก็ได้แก่การวิจัย ข่าวสารข้อมูล บุคลากร วัสดุ เครื่องมือ เทคนิค และอาคารสถานที่ ดังนี้เป็นต้น นอกจากนี้ เนื่องจากว่าเทคโนโลยีการศึกษามีส่วนในการพัฒนา และเอื้ออำนวยต่อกระบวนการสอนต่าง
ในระบบการสอน จึงจะต้องมีกิจกรรมที่สัมพันธ์กับการพัฒนาระบบการสอนและระบบการศึกษาด้วย
1. การวิจัย ในการพัฒนาทรัพยากรการเรียนเป็นการสำรวจศึกษาค้นคว้า และทดสอบเกี่ยวกับความรู้ ทฤษฎี (ทฤษฎี และระเบียบวิธีวิจัย) ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการและการพัฒนาทรัพยากรการเรียน องค์ประกอบระบบการสอนและผู้เรียน การวิจัยเป็นการพัฒนาโครงสร้างของความรู้ ซึ่งจะเป็นพื้นฐาน การตัดสินใจในการดำเนินการผลของการวิจัยคือ ได้ความรู้ ซึ่งจะนำไปใช้ ศึกษาค้นคว้าข้อมูล อ่านข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สังเคราะห์ข้อมูล ทดสอบข้อมูล วิเคราะห์และทดสอบผลลัพธ์ที่ได้
2. การออกแบบ เป็นการแปลความหมาย ความรู้ในหลักการทฤษฎีออกมาในรายละเอียด เฉพาะสำหรับเกี่ยวกับทรัพยาการเรียน หรือองค์ประกอบระบบการสอน ผลลัพธ์ของการออกแบบได้แก่รายละเอียดเฉพาะสำหรับผลิตผลของทรัพยากรการเรียน/องค์ประกอบระบบการสอนในเรื่องเกี่ยวกับ รูปแบบหรือแหล่ง หรือทรัพยากรกิจกรรมที่ใช้ในการดำเนินการ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนวัตถุประสงค์ ศึกษาลักษณะผู้เรียน วิเคราะห์งาน กำหนดเงื่อนไขการเรียนกำหนดสภาวการเรียน กำหนดรายละเอียดทรัพยากรการเรียน หรือองค์ประกอบระบบการสอน
3. การผลิต มีวัตถุประสงค์เพื่อแปลความหมาย ข้อกำหนดรายละเอียดสำหรับ ทรัพยาการการเรียน/องค์ประกอบระบบการสอนให้เป็นแบบลักษณะเฉพาะ หรือเป็นรายการที่จะปฏิบัติได้ ผลลัพธ์ที่ได้คือ ผลิตผลลักษณะเฉพาะในรูปแบบ ข้อทดสอบ แบบจำลอง กิจกรรมที่ดำเนินงาน ได้แก่ การใช้เครื่องมือสำหรับการผลิต การเขียนแบบ การร่างแบบ การเขียนเรื่องหรือเค้าโครง สร้างแบบจำลอง
4 การประเมินผล มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดประเมินผลการดำเนินงานของทรัพยากรการเรียน/องค์ประกอบระบบการสอน และเพื่อพัฒนาแบบจำลองที่ใช้ทดสอบ ผลลัพธ์ที่ได้ การประเมินผลการออกแบบ ประสิทธิผลของทรัพยากรการเรียน

3 ทรัพยากรการเรียน (Learning Resources)

ทรัพยากรการเรียน ได้แก่ ทรัพยากรทุกชนิด ซึ่งผู้เรียนสามารถใช้แบบเชิงเดี่ยว หรือแบบผสม แบบไม่เป็นทางการ เพื่อเอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ทรัพยากรการเรียนรู้ ได้แก่ข้อมูลสนเทศ/ข่าวสาร บุคคล วัสดุ เครื่องมือ เทคนิค และอาคารสถานที่
1 ข้อมูลสนเทศ/ข่าวสาร (Message) คือ ข้อสนเทศที่ถ่ายทอดโดยองค์ประกอบอื่น ๆ ในรูปแบบของความจริง ความหมาย และข้อมูล
2 บุคคล (People) ทำหน้าที่เก็บและถ่ายทอดข้อสนเทศและข่าวสาร เป็นคณะบุคคลที่ปฏิบัติงานในหน่วยงาน ได้แก่ ครู นักการศึกษา
3 ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเตรียมงาน ปรับปรุง ผลิต ดำเนินการประเมินผลและพัฒนา เพื่อให้การเรียนการสอนประสบผลสำเร็จ
4 วัสดุ(Material) ได้แก่ สิ่งของ เป็นต้น
5. เครื่องมือ (Devices) เครื่องมืออุปกรณ์ที่เป็นตัวถ่ายทอดข่าวสารที่บรรจุหรือบันทึกไว้ในวัสดุ (นิยมเรียกว่า Hardware) ส่วนมากจะเป็นเครื่องกลไก ไฟฟ้า และอิเลคทรอนิค บางอย่างก็ไม่จำเป็นจะต้องเป็นเครื่องกลไกที่ใช้ไฟฟ้า หรือเครื่องอิเลคทรอนิค ได้แก่ เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายสไลด์ เครื่องบันทึกเสียง เครื่องบันทึกภาพ เครื่องฉายภาพทึบแสง กล้องถ่ายรูป-ถ่ายภาพยนตร์-โทรทัศน์ เครื่องพิมพ์ และอ่านไมโครฟิล์ม/ไมโครพิช กระดานดำ ป้ายนิเทศ
6. เทคนิค (Techniques)เป็นกลวิธีในการถ่ายทอดข่าวสารหรือเสนอเนื้อหาวิชา-ความรู้ให้แก่ผู้เรียน ได้แก่
ก เทคนิคทั่วไป (Gerneral Technique) ได้แก่ เทคนิคการสอนแบบต่างๆ เช่น การสาธิต การสังเกต การอภิปราย การแสดงนาฎการ การบรรยาย การสาธิต การฝึกปฏิบัติการเรียน แบบแก้ปัญหา หรือแบบค้นพบและแบบสอบสวน และสืบสวน การเรียนการสอนแบบโปรแกรม สถานการจำลอง เกมต่างๆ การเรียนการสอนแบบโครงการ ฯลฯ
ข เทคนิคการใช้ทรัพยากร (Resource-based Techniques) ได้แก่ การศึกษานอกสถานที่ การใช้ทรัพยากรชุมชน การจัดห้องเรียน
ค เทคนิคการใช้วัสดุและเครื่องมือ (Material/devices-based Techniques) เป็นเทคนิคของการใช้วัสดุและเครื่องมือในการจัดการศึกษา และการเรียนการสอนเช่น ใช้โสตทัศนูปกรณ์ในการเรียนการสอนใช้บทเรียนแบบโปรแกรมตลอดจน เทคนิคการเสนอเนื้อหาวิชาด้วยวิธีการใช้เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ด้วยวิธีการเสนอที่ดีเช่น ใช้วิธีบังภาพบางส่วนที่ยังไม่ใช้ก่อนเมื่อใช้จึงเปิดส่วนนั้นออกมา หรือเทคนิคการใช้สื่อประสมเพื่อให้ผู้เรียนได้ความคิดรวบยอดที่กระจ่างจากตัวอย่าง หรือการแสดงด้วยสื่อหลายชนิด
ง เทคนิคการใช้บุคคล (People-based Technique) ได้แก่ เทคนิคในการจัดบุคคลให้เหมาะสมกับงาน เช่น การสอนเป็นคณะ เทคนิคกลุ่มสัมพันธ์ หรือพลวัตรของกลุ่ม การสอนแบบซ่อมเสริม ตัวต่อตัว หรือการสัมมนา ฯลฯ เป็นต้น

4. ผู้เรียน (Learner)

จุดหมายปลายทางรวมของเทคโนโลยีการศึกษาอยู่ที่ผู้เรียนและความต้องการของผู้เรียน จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องเข้าใจลักษณะของผู้เรียนซึ่งแตกต่างไปตามลักษณะ ความแตกต่างระหว่างบุคคลของแต่ละคน อันจะทำให้เราสามารถที่จะออกแบบระบบการเรียนการสอนตลอดจนสื่อการเรียนการสอนสนองวัตถุประสงค์การเรียนการสอนตลอดจนสื่อการเรียนการสอนสนองวัตถุประสงค์การเรียนการสอน หรือสนองวัตถุประสงค์ผู้เรียน ได้ให้บรรลุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีสิ่งที่จะต้องเข้าใจในตัวผู้เรียนหลายประการ เช่น เกี่ยวกับอายุ เพศ ระดับไอคิว ประสบการณ์เดิมในด้านความรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติ จัดทำเมื่อปี พ.ศ. 2546 โดย ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน ได้รับการสนับสนุนโดยสำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัย Copyright 2003 by Ministry of University Affairs and Department of Educational Technology, Kasertsart University.


3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)
1. เป็นสิ่งที่อำนวยความรู้ในทางเทคโนโลยี
2. ให้ความสะดวกสบายในการใช้งานทางเทคโนโลยีในการสื่อสาร การศึกษา

ที่มา
จาก Domain of Education Technology จะเห็นได้ว่าแนวโน้มของเทคโนโลยีทางการศึกษา คือ การจัดระเบียบ (organizing) และการบูรณาการ (integrating) องค์ประกอบต่างๆ ทั้งหลายที่จะเอื้ออำนวยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล หรือกล่าวได้ว่า เป็นการเอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้
//thongam10.blogspot.com/2008/02/2.html


โดย: น.ส.นิตยา กลิ่นเมือง (หมู่ 15 ศ. เช้า) IP: 172.29.6.9, 58.137.131.62 วันที่: 19 มิถุนายน 2552 เวลา:8:35:55 น.  

 
1.ตอบ เทคโนโลยีสารสนเทศที่ปัจจุบันนี้นิยมนำมาใช้ใน การจัดการเรียน การสอน โดยช่วยในด้านการค้นคว้าศึกษาแหล่งข้อมูล ทำให้การศึกษาง่ายขึ้นและไร้ขีดจำกัด ผู้เรียนมีความสะดวกในการค้นคว้าวิจัย ได้แก่
1.1 Computer Assisted Information (CAI) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยระบบนี้จะใช้ในรูปแบบ OffLine โดยมากจะจัดสร้างในรูปแบบของ CD-ROM

1.2 Web-Based Instruction (WBI) การจัดการศึกษาในรูปแบบ Web Knowledge Based On Line เป็นการจัดสภาวการณ์การเรียนการสอน ในรูปแบบ On Line


2.ตอบ เช่น
2.1ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาลของแต่ละวัน
2.2เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสารสนเทศ เช่น การคำนวณตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน การจัดเรียงลำดับสารสนเทศ ฯลฯ

ที่มา: //www.thaigoodview.com/node/25246 และ //61.19.218.122/jukkrit/IT_FOR_Lift/technology2.htm


โดย: 52040281122 น.ส.ณัฐติยา โกศิลา ม.08 เช้าวันพฤหัสดี IP: 172.29.85.80, 58.137.131.62 วันที่: 21 มิถุนายน 2552 เวลา:11:52:55 น.  

 
ตอบแบบฝึกหัดที่3.
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ข้อที่1 เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา
เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาประกอบด้วย
1. เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้ปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มีระบบมัลติมีเดีย (Multimedia)* ระบบวิดีโออนนดีมานด์ (Video on Demand) วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ (Video Teleconference) และอินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น ระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้
2. เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษาในการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการดำเนินการ การติดตามและประเมินผลคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในเรื่องนี้
3. เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคลเกือบทุกวงการ ทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เขียน ผู้เรียนกับผู้เรียน เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสาร และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร เทเลคอนเฟอเรนส์ และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

ข้อที่2 ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน
1. ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการสืบค้นข้อมูลต่างๆ
2. ช่วยเพิ่มขีดความรู้ความสามารถให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น

ที่มา //www.thaigoodview.com/node/25310


โดย: นางสาวจิลวรรณ ปัดถาวะโร ม.08 เช้าวันพฤหัสบดี วทบ.ชีววิทยา (จุลชีววิทยา) IP: 172.29.85.32, 58.137.131.62 วันที่: 21 มิถุนายน 2552 เวลา:12:52:58 น.  

 
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาลของแต่ละวัน
2. เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสารสนเทศ เช่น การคำนวณตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน การจัดเรียงลำดับสารสนเทศ ฯลฯ
3. ช่วยให้สามารถเก็บสารสนเทศไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้ทุกครั้งอย่างสะดวก
4. ช่วยให้สามารถจัดระบบอัตโนมัติ เพื่อการจัดเก็บประมวลผล และเรียกใช้สารสนเทศูล
5. ช่วยในการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น
6. ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลา และระยะทาง โดยการใช้ระบบโทรศัพท์ และอื่นๆ
ที่มา
61.19.218.122/jukkrit/IT_FOR_Lift/technology2.htm

บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศในโลกปัจจุบัน ในอนาคตอันใกล้นี้ คอมพิวเตอร์คงเข้ามาสู่ชีวิตประจำวันของเราไม่มากก็น้อย ไม่ว่าเราจะอยากรู้จักโดยตรง หรือไม่ก็ตาม เช่น การซื้อสินค้า ตามตลาด ปัจจุบันนี้ร้านค้าเกือบทุกร้านจะนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในการทอนเงิน โดยเครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้นจะอยู่ในรูปของ เครื่องคิดเลข เครื่องทอนเงิน หรือแม้แต่เครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง ความรวดเร็วและความแม่นยำ ของระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ ช่วยให้ระบบงานคล่องตัวและรวดเร็ว เช่น การเก็บ คงคลังสินค้า เมื่อมีการนำสินค้าเข้ามาเก็บ การนำสินค้าออกจำหน่าย สินค้าคงเหลือ สินค้าเสียหาย เป็นต้น นอกจาก นี้เรายังสามารถที่จะเก็บข้อมูลได้ว่า สินค้า ล็อทนี้ นำไปจำหน่ายที่ใด ขายแล้วได้กำไรมากน้อยแค่ไหน และที่สำคัญ เมื่อเราต้องการเรียกดูข้อมูลของสินค้าเราสามารถที่จะทำได้อย่างง่าย เช่น เรียกดูข้อมูล โดยเรียงตามรายการสินค้า เรียกดูตามจำนวนของสินค้า เรียนดูตามราคาสินค้า ซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ทันที โดยการกรอกข้อมูลพียงครั้งเดียว ซึ่งต่างจากการเก็บข้อมูลด้วย กระดาษ ที่จะไม่สามารถเรียกดูสินค้าโดยแบ่งเป็นหมวดหมู่ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ทางด้านการศึกษา การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ทางด้านการศึกษาถือได้ว่าเป็นเรื่องสำคัญ ในระดับประเทศ เนื่องจากปัจจุบันได้ก้าวเข้าสู่ยุค ดิจิตอล ที่ทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องอาศัยคอมพิวเตอร์ในการเข้ามามีส่วนร่วมแทบทั้งสิ้น การศึกษาในปัจจุบันจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สอดคล้องกับความเจริญก้าวหน้าของ เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง อยู่ตลอดเวลา เดิมในท้องถิ่นที่ห่างไกลความเจริญ เด็ก ๆ แทบจะไม่มีโอกาสได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร จนกลายเป็น ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม แต่ในปัจจุบันเริ่มมีระบบการถ่ายทอดสัญญาณผ่านดาวเทียมทำให้เด็กเหล่านี้ได้รับโอกาสเรียนรู้ ถึงแม้จะยังไม่แพร่หลายนักก็ตาม สำหรับเด็กในชุมชนที่มีโอกาสได้ใช้คอมพิวเตอร์นอกจากการใช้คอมพิวเตอร์ ส่วนบุคคลแล้ว ก็ยังสามารถแสวงหาความรู้จากแหล่งความรู้ที่มีอยู่อย่างมากมาย โดยการเชื่อมต่อกับเครือข่ายผ่าน ระบบอินเตอร์เน็ตที่มีการเชื่อมโยงกันอยู่ทั่วโลก นอกเหนือไปจากความรู้ที่จะได้เรียนในห้องเรียนที่มีครูผู้สอน เป็นผู้ ถ่ายทอดเท่านั้น นอกจากนี้ ผู้สอนและผู้เรียนยังสามารถติดต่อถึงกันได้อย่างไร้ขีดจำกัดของเวลา โดยผ่านระบบ อิเล็กทรอนิค เมล (e-mail) ได้อีกทางหนึ่งด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่ปัจจุบันนี้นิยมนำมาใช้ใน การจัดการเรียน การสอน ได้แก่
ที่มา
//www.thaigoodview.com/node/25246



โดย: น.ส.ชฎาพร โสภาคำ รหัส52040281117ชีววิทยา(จุลชีววิทยา) ม.8 พฤ(เช้า) IP: 124.157.220.178 วันที่: 21 มิถุนายน 2552 เวลา:15:55:35 น.  

 
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศโดยรวมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร โทรคมนาคม

ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศสร้างขึ้นมาเพื่อจุดมุ่งหมายหลายประการจุดมุ่งหมายพื้นฐานประการหนึ่ง คือ การประมวลข้อมูล (Data) ให้เป็นสารสนเทศ (Information) และนำไปสู่ความรู้ (Knowledge) ที่ช่วยแก้ปัญหาในการดำเนินงาน

ความหมายของข้อมูล
ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ หรือข้อมูลดิบที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล ยังไม่มีความหมายในการนำไปใช้งาน ข้อมูลอาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร สัญลักษณ์ รูปภาพ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหว

ความหมายของสารสนเทศ
สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ได้ผ่านการประมวลผลหรือจัดระบบแล้ว เพื่อให้มีความหมายและคุณค่าสำหรับผู้ใช้

ลักษณะสารสนเทศที่ดี
เนื้อหา (Content)
- ความสมบูรณ์ครอบคลุม (completeness)
- ความสัมพันธ์กับเรื่อง (relevance)
- ความถูกต้อง (accuracy)
- ความเชื่อถือได้ (reliability)
- การตรวจสอบได้ (verifiability)

รูปแบบ (Format)
- ชัดเจน (clarity)
- ระดับรายละเอียด (level of detail)
- รูปแบบการนำเสนอ (presentation)
- สื่อการนำเสนอ (media)
- ความยืดหยุ่น (flexibility)
- ประหยัด (economy)

เวลา (Time)
- ความรวดเร็วและทันใช้ (timely)
- การปรับปรุงให้ทันสมัย (up-to-date)
- มีระยะเวลา (time period)

กระบวนการ (Process)
- ความสามารถในการเข้าถึง (accessibility)
- การมีส่วนร่วม (participation)
- การเชื่อมโยง (connectivity)
ที่มา
//forum.datatan.net/index.php?topic=94.0

นายวีระวิทย์ นาคเสน หมู่ 1 เรียนวันจันทร์ บ่าย


โดย: นายวีระวิทย์ นาคเสน หมู่ 1 เรียนวันจันทร์ บ่าย IP: 172.29.9.52, 202.29.5.62 วันที่: 22 มิถุนายน 2552 เวลา:14:26:46 น.  

 
แบบฝึกหัดที่ 3

3.1.เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย

ตอบ
ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อการศึกษา ดังนี้

1. เทคโนโลยีสารสนเทศลดความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษา ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญในการตอบสนองนโยบายการศึกษาที่เป็น “การศึกษาเพื่อประชาชนทุกคน” (Education for All) อันจะเป็นการสร้างความเท่าเทียมทางสังคม (Social Equity) โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเท่าเทียมทางด้านการศึกษา ตัวอย่างที่สำคัญคือ ผลของการติดตั้งจานดาวเทียมที่มีต่อโรงเรียนห่างไกลในชนบท ที่ด้อยโอกาสให้มี “โอกาส” เท่าเทียมกับโรงเรียนในท้องถิ่นที่เจริญกว่าอย่างน้อยในรูปแบบที่เป็น ไปได้ในเชิงกายภาพ รวมทั้งผลของการที่นักเรียนในชนบทมีโอกาสเข้าถึงแหล่งข้อมูลของ โลกหรืออีกนัยหนึ่ง “ห้องสมุดโลก” ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือการที่เทคโนโลยีสารสนเทศเป็น เครื่องมือที่ช่วยให้คนพิการ สามารถมีโอกาสรับการศึกษาในสิ่งแวดล้อมของคนปกติ และยังเปิดโอกาสให้คนพิการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้และ เพื่อการประกอบอาชีพอีกด้วย เป็นต้น

2. เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา ได้ในรูปแบบต่างๆ เช่น การที่นักเรียนที่เรียนรู้ได้ช้า สามารถใช้เวลาเพิ่มเติมกับบทเรียนด้วยสื่อซีดีรอมเพื่อตามให้ทัน เพื่อนนักเรียน ในขณะที่นักเรียนที่รับข้อมูลได้ปกติ สามารถเพิ่มศักยภาพในการ “เรียนรู้ด้วยตนเอง” (independent learning) ได้มากขึ้นจากความหลากหลายของเนื้อหาในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ผลจากเทคโนโลยีสารสนเทศยังก่อให้เกิดนวัตกรรมทาง การศึกษาใหม่ๆ เช่น วิธีการ “Constructionism” ของศาสตราจารย์ Seymour Papert ที่ใช้หลักการที่ว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเด็กๆ มีความใส่ใจ (engagement) กับการสร้างสิ่งที่มีความหมาย อันเป็นที่มาของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ LEGO Logo ซึ่งผสมผสานความน่าสนใจในของเด็กเล่นกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ส่งเสริมให้เด็กสร้าง (build) และควบคุม (control) สิ่งก่อสร้างนั้นซึ่งเป็นผลให้เกิด “ความรู้” ในตัวของเด็กได้ ทั้งนี้โดยการจัดสิ่งแวดล้อมที่ดีที่คำนึงถึงโอกาสของเด็กในการเลือก (choice) ความหลากหลาย (diversity) และความเป็นมิตร (congeniality) นอกจากนี้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งในระดับท้องถิ่นหรือระดับโลก อย่างระบบ World Wide Web ในอินเทอร์เน็ตยังเปิดโอกาสให้นักเรียน นักศึกษา สามารถพัฒนาคุณภาพของการเรียนรู้จากฐานข้อมูลที่หลากหลาย และกว้างขวางอย่างที่ระบบ ฐานข้อมูลหรือห้องสมุดเดิมไม่สามารถรองรับได้

3. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยในการจัดการและบริหารการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากใช้อย่างถูกต้องเป็นระบบและมีความต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นการจัดทำระบบ MIS, EIS, Decision Support System (DSS) เข้ามาช่วยจัดระบบฐานข้อมูลการศึกษา หรือการจัดให้มีเครือข่ายบริหาร on-line ที่ทำให้มีระบบการปรับปรุง (update) ข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ที่นอกจากจะช่วยลดงานกระดาษแล้ว ยังทำให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการวางแผนและจัดการ ทางการศึกษาอีกด้วย นอกจากนี้ยังสามารถใช้เทคโนโลยีประเภทอื่นๆ เช่น อินเทอร์เน็ตเพื่อประโยชน์ในงานด้านประชาสัมพันธ์ของสถาบันการศึกษา การสื่อสารระหว่าง ผู้บริหารและบุคลากรในส่วนต่างๆ ขององค์กรและภายนอกองค์กร

3.2.ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)

ตอบ 1. ช่วยให้ติดต่อสื่อสารระหว่างกันอย่างสะดวกรวดเร็ว โดยใช้โทรศัพท์ , คอมพิวเตอร์หรือในรูปของสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ
2. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารนิเทศ เช่น ช่วยนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร ด้วยการช่วยคำนวณตัวเลขที่ยุ่งยาก ซับซ้อนซึ่งไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ด้วยมือ

ที่มา //learners.in.th/blog/chalinee/138102
//www.sci.nu.ac.th/information-it/index.php?topic=6409.0




โดย: นางสาวสมฤทัย มิตรอุดม รหัสนักศึกษา 51040240104 ( หมู่ 1 วันจันทร์บ่าย ) IP: 172.29.168.169, 58.137.131.62 วันที่: 22 มิถุนายน 2552 เวลา:18:07:40 น.  

 
3.1
เทคโนโลยีสารสนเทศ คือเทคโนโลยีในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานจัดการกับข้อมูล ข่าวสาร หรือที่เรียกว่าสารสนเทศ ศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นศาสตร์ที่ใหม่มาก และมีความสำคัญมากในสังคมปัจจุบัน และถือเป็นหนึ่งในสามศาสตร์หลัก (เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีนาโน เทคโนโลยีชีวภาพ) ที่ถูกกล่าวว่าจะมีผลต่อสังคมในอนาคตมากที่สุด โดยปัจจุบัน มีผู้กล่าวถึง เทคโนโลยีสารสนเทศกันอย่างกว้างขวาง โดยเราจะรู้จักกันทั่วไปในชื่อสั้นๆ ว่า ไอที (IT) รัฐบาลไทยเองก็เล็งเห็นความสำคัญด้านนี้มาก จึงมีการจัดตั้งกระทรวงใหม่ที่เกี่ยวกับงานทางด้านนี้ขึ้น ชื่อกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือเรียกย่อๆ ว่า กระทรวงไอซีที
เทคโนโลยีสารสนเทศนั้นมีลักษณะเด่น คือ มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมาก เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ทันสมัยเกิดขึ้นมาเรื่อยๆ ทุกวัน เช่น เราจะเห็นว่ามีการใช้อินเตอร์เน็ตกันอย่างแพร่หลาย มีการส่งอีเมล์ มีการท่องเว็บต่างๆ มีการส่งข้อมูลผ่านเว็บ มีการเล่นเกมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ต นอกจากอินเตอร์เน็ตแล้ว ยังมีเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวกับมือถือ เช่น มีการส่งข้อมูลผ่านทางมือถือ มีการดาวโหลดข้อมูลต่างๆ รวมทั้งเพลงผ่านมือถือ มีการสืบค้นข้อมูลหรือเล่นเกมผ่านมือถือ เป็นต้น ในทางอุตสาหกรรมก็มีการนำระบบสารสนเทศเข้าไปช่วยเพิ่มผลผลิตในโรงงาน ช่วยควบคุมดูแลเครื่องจักรเพื่อผลิตสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้กระบวนการผลิตเป็นแบบอัตโนมัติ นอกจากนี้มีการนำสารสนเทศไปใช้ในงานด้านธุรกิจเพื่อทำให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพ โดยสามารถดูข้อมูลต่างๆ ได้ทันทีทั้งข้อมูลที่เป็นรายละเอียดและข้อมูลสรุป และช่วยในการสนับสนุนการตัดสิน บริษัทที่ทันสมัยทุกบริษัทต้องมีระบบสารสนเทศภายในองค์กร ในยุคต่อไป คอมพิวเตอร์จะมีขนาดเล็กลง มีความเร็วสูงขึ้น และมีหน่วยความจำมากขึ้น และที่สำคัญ ราคาของคอมพิวเตอร์จะถูกลงมาก ดังนั้นคอมพิวเตอร์จะเข้ามามีบทบาทในสังคมของเรามากขึ้น โดยเราจะเรียกสังคมนี้ว่าสังคมยูบิคิวตัส (Ubiquitous) คือคอมพิวเตอร์อยู่ทุกหนทุกแห่ง ดังนั้นการจัดการข้อมูลสารสนเทศที่เกิดจากคอมพิวเตอร์เหล่านี้ จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก นอกจากนี้การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศภายในบริษัทก็เป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง จะเห็นได้ว่าบริษัทหรือองค์กรใหญ่จำเป็นต้องมีหน่วยงานด้านการจัดการระบบสารสนเทศ ปัจจุบันในโลกของธุรกิจ มีธุรกิจที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศมากมาย ซึ่ง นักธุรกิจที่ร่ำรวยที่สุดก็คือ นักธุรกิจด้านไอที ซึ่งความจริงนี้แสดงให้เห็นว่า ไอทีได้เป็นศาสตร์ที่รับความสนใจและมีความสำคัญมากในสังคมปัจจุบันและต่อไปในอนาคต

เทคโนโลยีสารสนเทศเรียนเกี่ยวกับอะไร

ในสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ จะศึกษาด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับการนำคอมพิวเตอร์ไปจัดการกับข้อมูลข่าวสาร ทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ โดยจัดเป็นหมวดหมู่ได้ดังนี้คือ
1.เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมและซอฟต์แวร์
นักศึกษาจะได้ศึกษาถึง วิธีการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาต่างๆ ที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน ซึ่งภาษาที่ศึกษาหลักๆ ได้แก่ ภาษาซี ภาษาจาวา ภาษาพีเฮชพี และภาษาเอส คิวแอล เป็นต้น นอกจากนี้ยังศึกษาถึงหลักการเขียนโปรแกรมหรืออัลกอริธึม และศึกษาว่ามีโครงสร้างข้อมูลอะไรบ้างที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม รวมทั้งศึกษาว่า ภาษาที่ใช้ในการโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีกี่ประเภท แต่ละประเภทมีลักษณะเฉพาะอย่างไร แตกต่างกันอย่างไร และศึกษาวิธีการแปลงภาษาระดับสูงที่มนุษย์เข้าใจ ไปเป็นภาษาเครื่องที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ รวมทั้งศึกษาวิธีการเขียนออกแบบระบบ

2.เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับโครงสร้างของคอมพิวเตอร์และการควบคุมคอมพิวเตอร์
นักศึกษาจะได้ศึกษาว่า คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยวงจรไฟฟ้าแบบดิจิตอลอย่างไร และศึกษาว่าคอมพิวเตอร์มีโครงสร้างหรือสถาปัตยกรรมเป็นแบบใด และศึกษาว่านอกจากฮาร์ดแวร์แล้วคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีโปรแกรมพื้นฐาน ไว้ติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่า ระบบปฏิบัติการหรือโอเอส รวมทั้งศึกษาวงจรคอมพิวเตอร์เฉพาะงาน ที่เรียกว่าไมโครโปรเซสเซอร์ และการนำไมโครโปรเซสเซอร์ไปประยุกต์ใช้งานต่างๆ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยและเป็นที่กล่าวถึงกันอยู่ในปัจจุบันก็คือ ระบบสมองกลฝังตัวซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ที่ฝังตัวอยู่ในอุปกรณ์ต่างๆ เช่น รถยนต์ โทรทัศน์ วิทยุ ตู้เย็น และเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ เป็นต้น


3.เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสาร
นักศึกษาจะได้ศึกษาถึง พื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล โครงสร้างและโปรโตคอลของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ค) การนำคอมพิวเตอร์มาเชื่อมโยงกันเพื่อใช้งานร่วมกัน รวมทั้งศึกษาถึง การนำคอมพิวเตอร์ไปให้บริการต่างๆ ทางอินเตอร์เน็ต และเทคโนโลยีสารสนเทศบนเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา เช่น มือถือ เครื่องปาล์ม เป็นต้น


4.เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ในงานด้านกราฟิก มัลติเมเดีย
นักศึกษาจะได้ศึกษาถึง การประยุกต์คณิตศาสตร์ไปใช้กับการออกแบบชิ้นงานที่มีรูปร่างต่างๆ ซึ่งศาสตร์ด้านนี้รู้จักในชื่อของ ซอฟต์แวร์ประเภทแคด/แคม รวมทั้งการนำคอมพิวเตอร์ไปจัดการกับภาพและเสียง


5.เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ทำงานที่ชาญฉลาด
นักศึกษาจะได้ศึกษาถึง วิธีการสร้างระบบสารสนเทศที่มีความชาญฉลาด หรือศาสตร์ที่ชื่อว่าปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งจะศึกษาเกี่ยวกับระบบสารสนเทศที่เลียนแบบมนุษย์ เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ ระบบวิเคราะห์ภาพ ระบบวิเคราะห์เสียง เป็นต้น


6.เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
นักศึกษาจะได้ศึกษาถึงระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร ระบบสารสนเทศด้านการบัญชี ระบบพาณิชย์อีเล็กทรอนิกส์ หรือ อีคอมเมิร์ซ และลักษณะการลงทุนด้านธุรกิจไอที

เทคโนโลยีสารสนเทศต่างกับวิทยาการคอมพิวเตอร์อย่างไร

คำถามที่ถูกถามบ่อยๆ ข้อหนึ่งก็คือ เทคโนโลยีสารสนเทศต่างกับวิทยาการคอมพิวเตอร์อย่างไร ที่จริงแล้วสองสาขานี้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมาก โดยวิทยาการคอมพิวเตอร์นั้นถือกำเนิดมาก่อนเทคโนโลยีสารสนเทศ และจะเน้นด้านทฤษฏีเป็นหลัก โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับ โครงสร้างของเครื่องคอมพิวเตอร์ หลักการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ การผลิตซอฟต์แวร์ที่มีขนาดใหญ่ให้มีประสิทธิภาพ การนำคอมพิวเตอร์มาใช้กับงานชั้นสูงที่มีความซับซ้อนมาก จุดเด่นของวิทยาการคอมพิวเตอร์คือ เน้นศึกษาวิธีการทำให้คอมพิวเตอร์มีสมรรถนะที่สูงขึ้น และศึกษาวิธีการผลิตซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพเพื่อใช้งานคอมพิวเตอร์ให้เกิดประโยชน์สูงที่สุด

สำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศหรือไอทีนั้น ได้ถูกกล่าวถึงกันมากในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมานี้เองหลังจากอินเตอร์เน็ตเป็นที่แพร่หลาย โดยเทคโนโลยีสารสนเทศจะเน้นการประยุกต์ใช้งานคอมพิวเตอร์ในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานด้านธุรกิจ งานด้านการสื่อสาร งานในสายการผลิต งานด้านบริการ เป็นต้น เทคโนโลยีสารสนเทศนั้นค่อนข้างเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว โดยจะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา จุดเด่นของเทคโนโลยีสารสนเทศคือ เน้นศึกษาวิธีการนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้งาน จัดการเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารหรือสารสนเทศ ซึ่งรวมไปถึงเทคโนโลยีระบบเคลื่อนที่ เช่น มือถือ และการจัดการธุรกิจและการลงทุนที่เกี่ยวกับสารสนเทศ

เรียนจบแล้วสามารถทำงานที่ไหนได้บ้าง

หลังจบสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ นักศึกษาสามารถทำงานหรือศึกษาต่อระดับสูงได้ทั้งที่เป็นด้านเทคนิคและด้าน การบริหารจัดการ โดยถ้าผู้สำเร็จการศึกษาสนใจด้านการบริหารจัดการนั้น การเรียนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมีข้อได้เปรียบกว่าสาขาอื่นๆ คือ นักศึกษาจะมีความรู้ในเชิงเทคนิคที่แน่นพอ โดยเฉพาะ องค์กรเกือบทุกองค์กรในปัจจุบันใช้ระบบสารสนเทศในการบริหารจัดการ ดังนั้นนักศึกษาที่จบจะมีพื้นฐานที่ดีต่อการประกอบอาชีพในบริษัทหรือ องค์กรที่นำระบบสารสนเทศมาใช้ในการจัดการ การจัดการที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ นอกจากนี้นักศึกษาสามารถเลือกเรียนเพิ่มเติมด้านการบริหารจัดการทำให้สามารถ ทำงานด้านการให้คำแนะนำแก่บริษัทต่างๆ ได้ นักศึกษาที่จบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจะสามารถทำงานได้ทั้งด้านเทคนิคและด้าน การบริหารจัดการดังนี้

1. งานด้านเทคนิคหรืองานผู้เชี่ยวชาญ

ผู้ออกแบบและวิเคราะห์ระบบสารสนเทศในบริษัทหรือองค์กรต่างๆ
ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ และบำรุงรักษาระบบสารสนเทศ
ผู้เขียนโปรแกรมประยุกต์หรือโปรแกรมระบบงาน หรือที่เรียกว่าโปรแกรมเมอร์
ผู้ออกแบบสร้างและบำรุงรักษาระบบฐานข้อมูลซึ่งเป็นระบบสารสนเทศพื้นฐานในทุกองค์กร
ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ผู้ออกแบบและโปรแกรมระบบสารสนเทศอัจฉริยะ
ผู้ออกแบบและโปรแกรมระบบกราฟิกหรืออะนิเมชั่น
2. งานด้านการบริหารจัดการหรืองานให้คำปรึกษา

ผู้ประสานงานในโครงการต่างๆที่เกี่ยวกับระบบสารสนเทศ
ผู้จัดการแผนก ส่วนหรือฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กร
ผู้ให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแก่องค์กรต่างๆ
ผู้ประกอบธุรกิจหรือนักลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

เรียนจบแล้วสามารถทำงานที่ไหนได้บ้าง

จบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแล้ว เราสามารถทำงานได้ในทุกองค์กรที่มีคอมพิวเตอร์หรือระบบสารสนเทศอยู่ ซึ่งในปัจจุบันเกือบทุกองค์กรไม่ว่าที่เป็นของรัฐหรือเอกชน จะมีระบบสารสนเทศใช้งานอยู่แล้ว จึงทำให้ผู้จบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นที่ต้องการมาก อย่างไรก็ตามการทำงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กรมีสองประเภท คือ การทำงานในองค์กรหรือธุรกิจที่เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นแกนหลัก และ การทำงานในองค์กรหรือธุรกิจที่เทคโนโลยีสารสนเทศไม่ใช่แกนหลัก

ธุรกิจที่มีเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นแกนหลักได้แก่ ธุรกิจผลิตซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขาย ธุรกิจบริการด้านข้อมูลข่าวสาร ธุรกิจด้านการให้บริการระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบอินเตอร์เน็ตหรือระบบเครือข่ายมือถือ ธุรกิจให้บริการด้านพาณิชย์อีเล็กทรอนิกส์หรืออีคอมเมิร์ซ ธุรกิจให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือที่เรียกว่าธุรกิจคอนซัลแตนต์

ธุรกิจที่เทคโนโลยีสารสนเทศไม่ได้เป็นแกนหลัก ได้แก่

ธุรกิจผลิตสินค้าหรือโรงงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจด้านการเกษตร ด้านอาหาร ด้านรถยนต์ ด้านน้ำมัน ด้านไฟฟ้าและพลังงาน ด้านสินค้าอีเล็กทรอนิกส์ ด้านผลิตเครื่องจักรกล ด้านผลิตภาพยนตร์ เป็นต้น
ธุรกิจเชิงบริการ ได้แก่ ด้านการธนาคาร ด้านบัญชี ด้านขนส่ง ด้านโรงภาพยนตร์ ด้านค้าปลีกหรือร้านค้าซูเปอร์มาร์เก็ต เป็นต้น

เรียนต่อด้านไหนได้บ้าง

จบสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศแล้ว สามารถไปศึกษาต่อได้ทั้งทางด้านเทคนิค และด้านการบริหารจัดการหรือด้านธุรกิจ ทางด้านเทคนิค ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถไปศึกษาต่อได้ทั้งที่เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ คอมพิวเตอร์โดยตรง เช่น ด้านระบบฐานข้อมูลในองค์กร ด้านเน็ตเวิร์ค ด้านความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์ ด้านระบบคอมพิวเตอร์อัจฉริยะหรือปัญญาประดิษฐ์ และที่นำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ในงานสาขาอื่น เช่น ด้านสื่อสารมวลชน ด้านมัลติเมเดีย ด้านอะนิเมชั่น ด้านสารสนเทศเพื่อการแพทย์ ด้านสารสนเทศชีววิทยา ด้านการสร้างแบบจำลองเพื่อวิเคราะห์ทางเคมีและฟิสิกส์ เป็นต้น

ส่วนด้านการบริหารจัดการหรือด้านธุรกิจนั้น ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถศึกษาต่อด้านการบริหารจัดการหรือเอ็มบีเอ ด้านการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการลงทุนเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านระบบสารสนเทศเพื่อบริหารงานบัญชี ด้านระบบสารสนเทศเพื่องานบุคคล ด้านระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร ด้านการประเมินและวิเคราะห์ความเสี่ยงของธุรกิจ เป็นต้น

3.2
-ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาลของ
-ใช้ในการค้นหาข้อมูลที่เราไม่รู้และทำสื่อเผื่อแพร่งานนิทัศการณ์


ที่มา : guru.google.co.th/guru/thread?tid=2bb9905a601d1220...


โดย: วันพฤหัส(เช้า)หมู่8 นางสาวเจนจิรา จุตตะโน รหัส 52040302126 IP: 1.1.1.157, 202.29.5.62 วันที่: 24 มิถุนายน 2552 เวลา:23:18:08 น.  

 
ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology หรือ IT) ได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว และมีบทบาทสำคัญในด้านต่างๆ อย่างกว้างขวาง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การบริการสังคม สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านการศึกษา ซึ่งการมีบทบาทสำคัญนี้อาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอทีนั้นเปรียบเหมือนเครื่องจักรที่สามารถรองรับข้อมูลข่าวสารมาทำการประมวลผล และการแสดงผลตามที่ต้องการได้รวดเร็ว โดยอาศัยองค์ประกอบอื่นๆ ช่วยในการจัดการ ได้แก่ โปรแกรมปฏิบัติการ โปรแกรมชุดคำสั่งต่างๆ และที่สำคัญคือ ผู้ที่จะตัดสินใจหรือสั่งการให้ทำงานได้ถูกต้องตามเป้าหมาย ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ใช้ ผู้บริหาร และผู้ชำนาญการ หรือนักเทคโนโลยีสารสนเทศโดยตรง






รัฐบาลไทยในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญ เล็งเห็นประโยชน์และคุณค่าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยใน พ.ศ. 2535 ได้แต่งตั้ง "คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ" ขึ้น โดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและให้มีรองนายกรัฐมนตรี ที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธาน มีคณะกรรมการประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง และผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาครัฐบาลและเอกชน และได้มอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการฯ มีหน้าที่เสนอแนะนโยบายและแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศต่อคณะรัฐมนตรี ทั้งในเรื่องการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างบรรยากาศ ให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการดำเนินงานด้านต่างๆ
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จัดทำแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานของรัฐ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการและการดำเนินการตามแผนดังกล่าวโดยแบ่งเป็น 4 ช่วงได้แก่

ช่วงที่ 1 : การมีการใช้คอมพิวเตอร์ในงานทั่วไป (พ.ศ. 2536-2538)
ช่วงที่ 2 : การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (พ.ศ. 2536-2539)
ช่วงที่ 3 : การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานด้านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (พ.ศ. 2537-2540)
ช่วงที่ 4 : การใช้คอมพิวเตอร์เต็มรูปแบบ (พ.ศ. 2540 เป็นต้นไป)


การดำเนินการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษานั้น ดำเนินการมาก่อนหน้านี้อีก คือเริ่มดันในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) ซึ่งในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งได้เห็นความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งในด้านการเรียนการสอนโดยมีหลักสูตรการศึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และวิชาการที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคม มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยการบริหารงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการลงทะเบียนนักศึกษา สำหรับกระทรวงศึกษาธิการนั้น ได้จัดตั้งศูนย์สารสนเทศขึ้นในปี พ.ศ. 2522 ในสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ทางด้านทบวงมหาวิทยาลัย ได้จัดประชุมระดับภูมิภาคอาเซียน เรื่องการศึกษาและระบบสารสนเทศภายใต้โครงการพัฒนาการศึกษาอาเซียนในเดือนพฤศจิกายน 2523 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการพัฒนาการสารสนเทศทางการศึกษาของประเทศ
พ.ศ. 2526 ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานและปฏิบัติการของระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา (ศ.ส.ษ.) ขึ้น โดยความเห็นชอบของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศให้ก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดให้มีข้อมูลและสารสนเทศที่มีคุณภาพทันสมัย และสอดคล้องกับความต้องการ และเพื่อเป็นศูนย์กลางในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสารสนเทศทางการศึกษาที่จำเป็นต่อการกำหนดนโยบายการวางแผนการศึกษาและการพัฒนาการศึกษาของประเทศ นอกจากนั้นยังมีหน้าที่กำหนดนิยามที่จำเป็นต้องใช้ในระบบสารสนเทศทางการศึกษา กำหนดมาตรฐานในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำแนกข้อมูลและจัดกระทำข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ ที่สามารถนำไปใช้ได้ตามความต้องการ รวมทั้งการกำหนดขอบข่ายการประสานงานของระบบสารสนเทศทางการศึกษา ตลอดจนส่งเสริมและเผยแพร่วิชาการ และการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศทางการศึกษาของประเทศ
ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) ได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งแก่เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาการศึกษาของชาติ ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 มีแผนงานหลักเพื่อพัฒนาการศึกษาอยู่ 9 แผนงานหลัก แผนงานหลักที่ 9 เป็นแผนเรื่องการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษา ในแผนงานหลักที่ 9 การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษานั้นได้มีแนวคิดว่า สำหรับระบบการศึกษาก็ได้ตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลและสารสนเทศเช่นเดียวกันโดยหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้องได้สนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การจัดเก็บ การให้บริการและแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศที่ใช้ในการกำหนดนโยบาย การวางแผนพัฒนาการศึกษา การบริหารการศึกษา และการจัดการศึกษาให้เป็นระบบ ที่มีรูปแบบและมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการเรียนการสอนทุกระดับการศึกษา
อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษาของหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง มีลักษณะเป็นไปอย่างอิสระทำให้ขาดความเป็นเอกภาพ ประกอบกับขาดความพร้อมทั้งด้านงบประมาณ บุคลากร และอุปกรณ์ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่อเชื่อมระบบซอฟแวร์ เป็นต้น ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ อันได้แก่ ปัญหาการผลิตข้อมูลปฐมภูมิที่มีข้อมูลไม่ครบถ้วนตามที่ผู้ต้องการใช้ ปัญหาการจัดเก็บข้อมูลทุติยภูมิ ปัญหาการประสานงานเครือข่าย รวมทั้งปัญหาการดำเนินงานสารสนเทศ ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ส่งผลไปถึงการจัดการศึกษาที่ต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินงาน
จากปัญหาข้างต้น จึงจำเป็นจะต้องพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา โดยมีพื้นฐานอยู่บนหลักการพัฒนาร่วมกันระหว่างหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถประสานการดำเนินงาน และการนำทรัพยากรมาใช้ในการบริหารการวางแผนการจัดการศึกษา และการฝึกอบรมร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติเป็นหน่วยประสานงานกลาง ในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา



โดย: นางสาวลำไพ พูลเกษม ม.15 ศุกร์ เช้า IP: 58.147.38.36 วันที่: 25 มิถุนายน 2552 เวลา:14:58:00 น.  

 
ในโลกยุคข่าวสาร (Information society) เช่นปัจจุบันมีคำพูดที่กล่าวถึงความสำคัญของสารสนเทศว่า Information is Power หรือ สารสนเทศคืออำนาจ หรือสารสนเทศคือพลัง หมายถึง ผู้ใดที่มีสารสนเทศหรือ ได้รับสารสนเทศที่มีคุณค่าและทันสมัย ผู้นั้นย่อมมีพลังหรือมีอำนาจ ได้เปรียบผู้อื่นในทุก ๆ ด้านเพราะสารสนเทศเป็นสิ่งที่มีค่ายิ่งอันเกิดจากสติปัญญาของมนุษย์ เพื่อประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ จึงมีความสำคัญต่อบุคคลและสังคม
2.1.1.1 สารสนเทศที่ดี ถูกต้อง เหมาะสมจะช่วยพัฒนาบุคคลในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1.พัฒนาสติปัญญา ช่วยให้เป็นผู้ที่ได้รับรู้ มีสติปัญญา เจริญก้าวหน้าทางการศึกษามีความคิดสร้างสรรค์ สามารถนำความรู้ แนวคิดต่าง ๆ มาพัฒนาสติปัญญาของตนให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น
2. พัฒนาบุคลิกภาพ สารสนเทศต่าง ๆ ที่ได้รับรู้นั้น สามารถนำไปพัฒนาบุคลิกภาพส่วนบุคคลได้ ทำให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
3. เกิดความเจริญงอกงามด้านจิตใจ สารสนเทศที่ดี ถูกต้อง มีคุณค่าต่อจิตใจทำให้มี จิตใจเป็นธรรม ไม่อคติ สามรถควบคุมอารมณ์ที่ไม่พึงประสงค์ได้ มีจิตใจดี รักศิลปะ และวรรณกรรม
4. เพิ่มประสิทธิภาพการประกอบอาชีพ บุคคลที่มีสารสนเทศที่ดี ถูกต้องทันสมัยย่อมได้เปรียบผู้อื่น สามารถนำสารสนเทศที่ได้รับใหม่ ๆ นั้นมาเพิ่มประสิทธิภาพในการประกอบอาชีพให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น 5. การตัดสินใจที่เกิดประโยชน์สูงสุด หากมีสารสนเทศที่ดี ถูกต้อง สมบูรณ์ จะทำให้บุคคลสามารถตัดสินใจในการบริโภค การประกอบการ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและใช้สารสนเทศตัดสินใจเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนให้ดีขึ้น
2.1.1.2 ความสำคัญของสารสนเทศต่อสังคม สารสนเทศที่มีคุณภาพจะช่วยพัฒนาสังคมโดยส่วนรวมได้หลายด้าน คือ
1. ด้านการศึกษา การเลือกใช้สารสนเทศที่ดี ทันสมัย มีคุณค่าจะช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
2. การศึกษาค้นคว้า วิจัย ที่มีประสิทธิภาพ การเลือกใช้สารสนเทศที่มีคุณค่าจะทำให้ผลการศึกษาค้นคว้าวิจัย น่าเชื่อถือและสามรถนำไปใช้ประโยชน์ต่อสังคมได้มาก
3. พัฒนาวิทยาการและเทคโนโลยีให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น เพราะสารสนเทศที่ถ่ายทอดความรู้ เทคนิคใหม่ ๆ สืบต่อกันมานั้น สามารถนำไปพัฒนาวิทยาการและเทคโนโลยีให้ ก้าวหน้ายิ่งขึ้นซึ่งมีผลต่อการพัฒนาสังคมให้เจริญก้าวหน้าต่อไป
4. การถ่ายทอดวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจ ความรักในศิลปวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติตน
5. สร้างความเข้าใจอันดีระหว่างมนุษยชาติ การได้รับสารสนเทศที่มีคุณค่า ช่วยให้ผู้รับมีโลกทัศน์กว้างขวาง แม้จะต่างเชื้อชาติ ศาสนา ภาษาและวัฒนธรรม ก็มีความเข้าใจซึ่งกันและกัน ช่วยลดความขัดแย้ง ทำให้อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
6. พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ สารสนเทศที่มีคุณค่าช่วยลดปัญหาการลองผิดลองถูกทำให้ลดต้นทุนและช่วยเพิ่มผลผลิตและรายได้ ทำให้เศรษฐกิจของบุคคลและประเทศชาติดีขึ้น
7. พัฒนาการเมือง สารสนเทศที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเมืองที่มีคุณค่า มีคุณธรรมปราศจากอคติ ย่อมก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจอันดีทางด้านการเมือง ซึ่งจะเป็นผลดีในการพัฒนาระบบ การเมืองของประเทศชาติให้ดีขึ้น
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า สารสนเทศนั้นมีความสำคัญต่อบุคคลและสังคม ช่วยพัฒนาบุคคลให้มีความก้าวหน้าทางสติปัญญา ช่วยพัฒนาบุคลิกภาพ พัฒนาอาชีพ สามารถตัดสินใจแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ มีโลกทัศน์กว้างขวางซึ่งมีผลต่อการพัฒนาสังคม การพัฒนาประเทศ ทั้งด้านสังคม ด้านการศึกษา ศิลปวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมืองการปกครอง นับเป็นสิ่งที่มีคุณค่าที่เกิดจากมนุษย์เพื่อมนุษยชาติ โดยแท้จริง

คัดลอกมาจาก //human.uru.ac.th/Major/LIB1/1500101/2/Unit1/b3.html


โดย: นาย กฤษฎา ศรีรักษา ศุกร์(เช้า) ม.15 IP: 58.147.38.36 วันที่: 25 มิถุนายน 2552 เวลา:15:05:19 น.  

 
ประโยชน์
ด้าน การจราจร
ด้าน การสื่อสาร


โดย: นาย กฤษฎา ศรีรักษา ศุกร์(เช้า) ม.15 IP: 58.147.38.36 วันที่: 25 มิถุนายน 2552 เวลา:15:07:52 น.  

 
1.3.4 เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยงานในชีวิตประจำวัน พัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีมากขึ้น ดังเห็นได้จาก การพิมพ์เอกสารต่างๆ ด้วยคอมพิวเตอร์ การถ่ายรูปด้วยกล้องดิจิตอล และใช้อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมแบบต่างๆ เป็นต้น
1.3.3 เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยดำเนินการในหน่วยงานต่างๆ ปัจจุบันทุกหน่วยงานต่างพัฒนาระบบจัดเก็บ ข้อมูล รวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในองค์กร ประเทศไทยมีระบบทะเบียนราษฎร์ที่จัดทำด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ระบบเวชระเบียนในโรงพยาบาล ระบบการจัดเก็บข้อมูลภาษี ในปัจจุบันองค์กรทุกระดับเห็นความสำคัญที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ ไฟล์//www.spo.moph.go.th/ict/knowage_ict/mis1.doc
ที่มา


โดย: นางสาวลำไพ พูลเกษม ม.15 ศุกร์ เช้า IP: 58.147.38.36 วันที่: 25 มิถุนายน 2552 เวลา:15:18:43 น.  

 
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย

คำตอบคือ.......

บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศในโลกปัจจุบัน ในอนาคตอันใกล้นี้ คอมพิวเตอร์คงเข้ามาสู่ชีวิตประจำวันของเราไม่มากก็น้อย ไม่ว่าเราจะอยากรู้จักโดยตรง หรือไม่ก็ตาม เช่น การซื้อสินค้า ตามตลาด ปัจจุบันนี้ร้านค้าเกือบทุกร้านจะนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในการทอนเงิน โดยเครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้นจะอยู่ในรูปของ เครื่องคิดเลข เครื่องทอนเงิน หรือแม้แต่เครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง ความรวดเร็วและความแม่นยำ ของระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ ช่วยให้ระบบงานคล่องตัวและรวดเร็ว เช่น การเก็บ คงคลังสินค้า เมื่อมีการนำสินค้าเข้ามาเก็บ การนำสินค้าออกจำหน่าย สินค้าคงเหลือ สินค้าเสียหาย เป็นต้น นอกจาก นี้เรายังสามารถที่จะเก็บข้อมูลได้ว่า สินค้า ล็อทนี้ นำไปจำหน่ายที่ใด ขายแล้วได้กำไรมากน้อยแค่ไหน และที่สำคัญ เมื่อเราต้องการเรียกดูข้อมูลของสินค้าเราสามารถที่จะทำได้อย่างง่าย เช่น เรียกดูข้อมูล โดยเรียงตามรายการสินค้า เรียกดูตามจำนวนของสินค้า เรียนดูตามราคาสินค้า ซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ทันที โดยการกรอกข้อมูลพียงครั้งเดียว ซึ่งต่างจากการเก็บข้อมูลด้วย กระดาษ ที่จะไม่สามารถเรียกดูสินค้าโดยแบ่งเป็นหมวดหมู่ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ทางด้านการศึกษา การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ทางด้านการศึกษาถือได้ว่าเป็นเรื่องสำคัญ ในระดับประเทศ เนื่องจากปัจจุบันได้ก้าวเข้าสู่ยุค ดิจิตอล ที่ทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องอาศัยคอมพิวเตอร์ในการเข้ามามีส่วนร่วมแทบทั้งสิ้น การศึกษาในปัจจุบันจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สอดคล้องกับความเจริญก้าวหน้าของ เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง อยู่ตลอดเวลา เดิมในท้องถิ่นที่ห่างไกลความเจริญ เด็ก ๆ แทบจะไม่มีโอกาสได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร จนกลายเป็น ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม แต่ในปัจจุบันเริ่มมีระบบการถ่ายทอดสัญญาณผ่านดาวเทียมทำให้เด็กเหล่านี้ได้รับโอกาสเรียนรู้ ถึงแม้จะยังไม่แพร่หลายนักก็ตาม สำหรับเด็กในชุมชนที่มีโอกาสได้ใช้คอมพิวเตอร์นอกจากการใช้คอมพิวเตอร์ ส่วนบุคคลแล้ว ก็ยังสามารถแสวงหาความรู้จากแหล่งความรู้ที่มีอยู่อย่างมากมาย โดยการเชื่อมต่อกับเครือข่ายผ่าน ระบบอินเตอร์เน็ตที่มีการเชื่อมโยงกันอยู่ทั่วโลก นอกเหนือไปจากความรู้ที่จะได้เรียนในห้องเรียนที่มีครูผู้สอน เป็นผู้ ถ่ายทอดเท่านั้น นอกจากนี้ ผู้สอนและผู้เรียนยังสามารถติดต่อถึงกันได้อย่างไร้ขีดจำกัดของเวลา โดยผ่านระบบ อิเล็กทรอนิค เมล (e-mail) ได้อีกทางหนึ่งด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่ปัจจุบันนี้นิยมนำมาใช้ใน การจัดการเรียน การสอน ได้แก่

1. Computer Assisted Information (CAI) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยระบบนี้จะใช้ในรูปแบบ OffLine โดยมากจะจัดสร้างในรูปแบบของ CD-ROM

2. Web-Based Instruction (WBI) การจัดการศึกษาในรูปแบบ Web Knowledge Based On Line เป็นการจัดสภาวการณ์การเรียนการสอน ในรูปแบบ On Line
ปัจจัยที่ทำให้เกิดความล้มเหลวในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ ในสังคม จากสังคมที่เรามีความต้องการใน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มอย่างมากมายนี้ ในบางครั้งก็ทำให้ผู้ใช้เกิดความ เสียหายอย่างใหญ่หลวงได้ หากการ ใช้นั้นเกิดขึ้นโดยไม่ได้อยู่บนรากฐานของความเข้าใจและความสมเหตุสมผล ในการใช้ อาทิเช่น ในทุกวันคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ทางเทคโนโลยีสารสนเทศได้พัฒนาตลอดเวลา ในขณะที่ในสังคม เมืองมีการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ อยู่ตลอดเวลา ได้สัมผัสทุกกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศทางด้าน การคมนาคม ทางด้านการสื่อสารที่เห็น ได้อย่างชัดเจน แต่ในขณะเดียวกันทางสังคมชนบท กลับมีวิถีชีวิตอยู่กับสังคม การเกษตร และสภาพแวดล้อมที่ล้าหลัง กว่าสังคมเมืองอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้นการพัฒนาในด้านการศึกษาของทั้งสอง กลุ่มสังคม จึงมีความแตกต่างอย่างมาก ไม่สามารถที่จะใช้มาตรฐานการศึกษาในรูปแบบเดียวกันได้ ช่องว่างระหว่าง สังคมเมืองกับสังคมชนบทจึงกว้างขึ้น อย่างเห็นได้ชัด ปัจจุบันในหลายๆ หน่วยงานจึงมีการรับบริจาคอุปกรณ ์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับ สังคมชนบท หรือนักเรียนที่ด้อยโอกาส แต่ปัญหาต่างๆ ไม่ๆได้หมดไป กลับเป็นไปในทางตรงกันข้าม เพราะปัญหาต่างๆ กลับเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ไม่สาสามรถใช้งานได้ ตกรุ่น เสียจน เกินกว่าที่จะซ่อมบำรุงเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ได้ และที่ ี่สำคัญคือบุคลากรที่อยู่ในท้องถิ่นไม่มีความรู้ความสามารถในการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศจึงเท่ากับว่าส่งสิ่งของไปให้ ้เพื่อเป็นภาระกว่าเดิม เป็นต้น

ที่มา....
//www.thaigoodview.com/node/25246



โดย: นางสาวศศิวิมล ภาณุพงศ์ภูสิทธิ์ หมู่8(พฤหัสเช้า) IP: 125.26.243.46 วันที่: 25 มิถุนายน 2552 เวลา:22:13:04 น.  

 
3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)

คำตอบคือ....

1. ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาลของแต่ละวัน

2. ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลา และระยะทาง โดยการใช้ระบบโทรศัพท์ และอื่นๆ

ที่มา....

//61.19.218.122/jukkrit/IT_FOR_Lift/technology2.htm




โดย: นางสาวศศิวิมล ภาณุพงศ์ภูสิทธิ์ หมู่8(พฤหัสเช้า) IP: 125.26.243.46 วันที่: 25 มิถุนายน 2552 เวลา:22:24:02 น.  

 
3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)

คำตอบคือ....

1. ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาลของแต่ละวัน

2. ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลา และระยะทาง โดยการใช้ระบบโทรศัพท์ และอื่นๆ

ที่มา....

//61.19.218.122/jukkrit/IT_FOR_Lift/technology2.htm




โดย: นางสาวศศิวิมล ภาณุพงศ์ภูสิทธิ์ หมู่8(พฤหัสเช้า) IP: 125.26.243.46 วันที่: 25 มิถุนายน 2552 เวลา:22:25:39 น.  

 
2. Web-Based Instruction (WBI) การจัดการศึกษาในรูปแบบ Web Knowledge Based On Line เป็นการจัดสภาวการณ์การเรียนการสอน ในรูปแบบ On Line
ปัจจัยที่ทำให้เกิดความล้มเหลวในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ ในสังคม จากสังคมที่เรามีความต้องการใน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มอย่างมากมายนี้ ในบางครั้งก็ทำให้ผู้ใช้เกิดความ เสียหายอย่างใหญ่หลวงได้ หากการ ใช้นั้นเกิดขึ้นโดยไม่ได้อยู่บนรากฐานของความเข้าใจและความสมเหตุสมผล ในการใช้ อาทิเช่น ในทุกวันคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ทางเทคโนโลยีสารสนเทศได้พัฒนาตลอดเวลา ในขณะที่ในสังคม เมืองมีการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ อยู่ตลอดเวลา ได้สัมผัสทุกกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศทางด้าน การคมนาคม ทางด้านการสื่อสารที่เห็น ได้อย่างชัดเจน แต่ในขณะเดียวกันทางสังคมชนบท กลับมีวิถีชีวิตอยู่กับสังคม การเกษตร และสภาพแวดล้อมที่ล้าหลัง กว่าสังคมเมืองอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้นการพัฒนาในด้านการศึกษาของทั้งสอง กลุ่มสังคม จึงมีความแตกต่างอย่างมาก ไม่สามารถที่จะใช้มาตรฐานการศึกษาในรูปแบบเดียวกันได้ ช่องว่างระหว่าง สังคมเมืองกับสังคมชนบทจึงกว้างขึ้น อย่างเห็นได้ชัด ปัจจุบันในหลายๆ หน่วยงานจึงมีการรับบริจาคอุปกรณ ์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับ สังคมชนบท หรือนักเรียนที่ด้อยโอกาส แต่ปัญหาต่างๆ ไม่ๆได้หมดไป กลับเป็นไปในทางตรงกันข้าม เพราะปัญหาต่างๆ กลับเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ไม่สาสามรถใช้งานได้ ตกรุ่น เสียจน เกินกว่าที่จะซ่อมบำรุงเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ได้ และที่ ี่สำคัญคือบุคลากรที่อยู่ในท้องถิ่นไม่มีความรู้ความสามารถในการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศจึงเท่ากับว่าส่งสิ่งของไปให้ ้เพื่อเป็นภาระกว่าเดิม เป็นต้น
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศในโลกปัจจุบัน ในอนาคตอันใกล้นี้ คอมพิวเตอร์คงเข้ามาสู่ชีวิตประจำวันของเราไม่มากก็น้อย ไม่ว่าเราจะอยากรู้จักโดยตรง หรือไม่ก็ตาม เช่น การซื้อสินค้า ตามตลาด ปัจจุบันนี้ร้านค้าเกือบทุกร้านจะนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในการทอนเงิน โดยเครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้นจะอยู่ในรูปของ เครื่องคิดเลข เครื่องทอนเงิน หรือแม้แต่เครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง ความรวดเร็วและความแม่นยำ ของระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ ช่วยให้ระบบงานคล่องตัวและรวดเร็ว เช่น การเก็บ คงคลังสินค้า เมื่อมีการนำสินค้าเข้ามาเก็บ การนำสินค้าออกจำหน่าย สินค้าคงเหลือ สินค้าเสียหาย เป็นต้น นอกจาก นี้เรายังสามารถที่จะเก็บข้อมูลได้ว่า สินค้า ล็อทนี้ นำไปจำหน่ายที่ใด ขายแล้วได้กำไรมากน้อยแค่ไหน และที่สำคัญ เมื่อเราต้องการเรียกดูข้อมูลของสินค้าเราสามารถที่จะทำได้อย่างง่าย เช่น เรียกดูข้อมูล โดยเรียงตามรายการสินค้า เรียกดูตามจำนวนของสินค้า เรียนดูตามราคาสินค้า ซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ทันที โดยการกรอกข้อมูลพียงครั้งเดียว ซึ่งต่างจากการเก็บข้อมูลด้วย กระดาษ ที่จะไม่สามารถเรียกดูสินค้าโดยแบ่งเป็นหมวดหมู่ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ทางด้านการศึกษา การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ทางด้านการศึกษาถือได้ว่าเป็นเรื่องสำคัญ ในระดับประเทศ เนื่องจากปัจจุบันได้ก้าวเข้าสู่ยุค ดิจิตอล ที่ทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องอาศัยคอมพิวเตอร์ในการเข้ามามีส่วนร่วมแทบทั้งสิ้น การศึกษาในปัจจุบันจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สอดคล้องกับความเจริญก้าวหน้าของ เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง อยู่ตลอดเวลา เดิมในท้องถิ่นที่ห่างไกลความเจริญ เด็ก ๆ แทบจะไม่มีโอกาสได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร จนกลายเป็น ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม แต่ในปัจจุบันเริ่มมีระบบการถ่ายทอดสัญญาณผ่านดาวเทียมทำให้เด็กเหล่านี้ได้รับโอกาสเรียนรู้ ถึงแม้จะยังไม่แพร่หลายนักก็ตาม สำหรับเด็กในชุมชนที่มีโอกาสได้ใช้คอมพิวเตอร์นอกจากการใช้คอมพิวเตอร์ ส่วนบุคคลแล้ว ก็ยังสามารถแสวงหาความรู้จากแหล่งความรู้ที่มีอยู่อย่างมากมาย โดยการเชื่อมต่อกับเครือข่ายผ่าน ระบบอินเตอร์เน็ตที่มีการเชื่อมโยงกันอยู่ทั่วโลก นอกเหนือไปจากความรู้ที่จะได้เรียนในห้องเรียนที่มีครูผู้สอน เป็นผู้ ถ่ายทอดเท่านั้น นอกจากนี้ ผู้สอนและผู้เรียนยังสามารถติดต่อถึงกันได้อย่างไร้ขีดจำกัดของเวลา โดยผ่านระบบ อิเล็กทรอนิค เมล (e-mail) ได้อีกทางหนึ่งด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่ปัจจุบันนี้นิยมนำมาใช้ใน การจัดการเรียน การสอน ได้แก่


ที่มา //www.thaigoodview.com/node/25246


โดย: อนุชิต จำปาเรือง 15 (ศ ช) IP: 172.29.6.24, 202.29.5.62 วันที่: 26 มิถุนายน 2552 เวลา:9:11:33 น.  

 
เทคโนโลยี สังคมที่สำคัญคือ
ความสามารถในการจัดการกับความขัดแย้งทั้งภายในและระหว่างประเทศ
ความสามารถในการพัฒนาระบบการเมืองการปกครองบริหารที่ทำงานได้ผล
ความสามารถในการสร้างวัฒนธรรมทางจิตใจ ที่ตั้งอยู่บนฐานของความยุติธรรม
เป็นธรรม ความเอื้ออาทรและเมตตาอารีต่อกัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งภราดรภาพแห่งมนุษยชาติ


ที่มา //onknow.blogspot.com/2009/06/blog-post_860.html


โดย: อนุชิต จำปาเรือง 15 (ศ ช) IP: 172.29.6.24, 202.29.5.62 วันที่: 26 มิถุนายน 2552 เวลา:9:37:39 น.  

 
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย

ความสำคัญ

ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology หรือ IT) ได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว และมีบทบาทสำคัญในด้านต่างๆ อย่างกว้างขวาง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การบริการสังคม สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านการศึกษา ซึ่งการมีบทบาทสำคัญนี้อาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอทีนั้นเปรียบเหมือนเครื่องจักรที่สามารถรองรับข้อมูลข่าวสารมาทำการประมวลผล และการแสดงผลตามที่ต้องการได้รวดเร็ว โดยอาศัยองค์ประกอบอื่นๆ ช่วยในการจัดการ ได้แก่ โปรแกรมปฏิบัติการ โปรแกรมชุดคำสั่งต่างๆ และที่สำคัญคือ ผู้ที่จะตัดสินใจหรือสั่งการให้ทำงานได้ถูกต้องตามเป้าหมาย ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ใช้ ผู้บริหาร และผู้ชำนาญการ หรือนักเทคโนโลยีสารสนเทศโดยตรง






รัฐบาลไทยในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญ เล็งเห็นประโยชน์และคุณค่าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยใน พ.ศ. 2535 ได้แต่งตั้ง "คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ" ขึ้น โดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและให้มีรองนายกรัฐมนตรี ที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธาน มีคณะกรรมการประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง และผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาครัฐบาลและเอกชน และได้มอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการฯ มีหน้าที่เสนอแนะนโยบายและแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศต่อคณะรัฐมนตรี ทั้งในเรื่องการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างบรรยากาศ ให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการดำเนินงานด้านต่างๆ
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จัดทำแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานของรัฐ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการและการดำเนินการตามแผนดังกล่าวโดยแบ่งเป็น 4 ช่วงได้แก่

ช่วงที่ 1 : การมีการใช้คอมพิวเตอร์ในงานทั่วไป (พ.ศ. 2536-2538)
ช่วงที่ 2 : การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (พ.ศ. 2536-2539)
ช่วงที่ 3 : การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานด้านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (พ.ศ. 2537-2540)
ช่วงที่ 4 : การใช้คอมพิวเตอร์เต็มรูปแบบ (พ.ศ. 2540 เป็นต้นไป)


การดำเนินการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษานั้น ดำเนินการมาก่อนหน้านี้อีก คือเริ่มดันในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) ซึ่งในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งได้เห็นความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งในด้านการเรียนการสอนโดยมีหลักสูตรการศึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และวิชาการที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคม มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยการบริหารงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการลงทะเบียนนักศึกษา สำหรับกระทรวงศึกษาธิการนั้น ได้จัดตั้งศูนย์สารสนเทศขึ้นในปี พ.ศ. 2522 ในสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ทางด้านทบวงมหาวิทยาลัย ได้จัดประชุมระดับภูมิภาคอาเซียน เรื่องการศึกษาและระบบสารสนเทศภายใต้โครงการพัฒนาการศึกษาอาเซียนในเดือนพฤศจิกายน 2523 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการพัฒนาการสารสนเทศทางการศึกษาของประเทศ
พ.ศ. 2526 ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานและปฏิบัติการของระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา (ศ.ส.ษ.) ขึ้น โดยความเห็นชอบของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศให้ก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดให้มีข้อมูลและสารสนเทศที่มีคุณภาพทันสมัย และสอดคล้องกับความต้องการ และเพื่อเป็นศูนย์กลางในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสารสนเทศทางการศึกษาที่จำเป็นต่อการกำหนดนโยบายการวางแผนการศึกษาและการพัฒนาการศึกษาของประเทศ นอกจากนั้นยังมีหน้าที่กำหนดนิยามที่จำเป็นต้องใช้ในระบบสารสนเทศทางการศึกษา กำหนดมาตรฐานในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำแนกข้อมูลและจัดกระทำข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ ที่สามารถนำไปใช้ได้ตามความต้องการ รวมทั้งการกำหนดขอบข่ายการประสานงานของระบบสารสนเทศทางการศึกษา ตลอดจนส่งเสริมและเผยแพร่วิชาการ และการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศทางการศึกษาของประเทศ
ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) ได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งแก่เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาการศึกษาของชาติ ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 มีแผนงานหลักเพื่อพัฒนาการศึกษาอยู่ 9 แผนงานหลัก แผนงานหลักที่ 9 เป็นแผนเรื่องการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษา ในแผนงานหลักที่ 9 การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษานั้นได้มีแนวคิดว่า สำหรับระบบการศึกษาก็ได้ตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลและสารสนเทศเช่นเดียวกันโดยหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้องได้สนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การจัดเก็บ การให้บริการและแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศที่ใช้ในการกำหนดนโยบาย การวางแผนพัฒนาการศึกษา การบริหารการศึกษา และการจัดการศึกษาให้เป็นระบบ ที่มีรูปแบบและมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการเรียนการสอนทุกระดับการศึกษา
อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษาของหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง มีลักษณะเป็นไปอย่างอิสระทำให้ขาดความเป็นเอกภาพ ประกอบกับขาดความพร้อมทั้งด้านงบประมาณ บุคลากร และอุปกรณ์ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่อเชื่อมระบบซอฟแวร์ เป็นต้น ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ อันได้แก่ ปัญหาการผลิตข้อมูลปฐมภูมิที่มีข้อมูลไม่ครบถ้วนตามที่ผู้ต้องการใช้ ปัญหาการจัดเก็บข้อมูลทุติยภูมิ ปัญหาการประสานงานเครือข่าย รวมทั้งปัญหาการดำเนินงานสารสนเทศ ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ส่งผลไปถึงการจัดการศึกษาที่ต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินงาน
จากปัญหาข้างต้น จึงจำเป็นจะต้องพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา โดยมีพื้นฐานอยู่บนหลักการพัฒนาร่วมกันระหว่างหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถประสานการดำเนินงาน และการนำทรัพยากรมาใช้ในการบริหารการวางแผนการจัดการศึกษา และการฝึกอบรมร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติเป็นหน่วยประสานงานกลาง ในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา

ที่มา //learners.in.th/blog/mooddang/256435


โดย: นายจักรกริช โพธิวงษ์ (ศุกร์) เช้า หมู่15 IP: 172.29.6.7, 202.29.5.62 วันที่: 26 มิถุนายน 2552 เวลา:9:57:39 น.  

 
แบบฝึกหัดที่ 3

3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย

ตอบ

พัฒนาการทางการศึกษาของประเทศไทยจะเห็นได้ว่าอาศัยความก้าวหน้าทางด้านการสื่อสาร เป็นส่วนประกอบสำคัญในการพัฒนาการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียนมาตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทางไกล ปัจจุบันมีการพัฒนา การด้านการสื่อสารหลายๆ อย่าง โดยมีความคิดว่าจะไม่ขึ้นอยู่กับสื่อสารใด สื่อสารหนึ่งเท่านั้น เพราะจะทำให้ใช้ประโยชน์ไม่ได้เต็มที่ ต้องใช้การสื่อสารหลายๆ รูปแบบที่เรียกว่า "การใช้สื่อสารแบบประสม"

เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษา ดังนี้
1. เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีส่วนช่วยเรื่องการเรียนรู้ ปัจจุบันมีเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ หลายด้าน มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสาร เช่น การค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้ใน World Wide Web เป็นต้น
2. เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา โดยเฉพาะการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผน การดำเนินการ การติดตามและประเมินผลซึ่งอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญ
3. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการสื่อสารระหว่างบุคคล ในเกือบทุกวงการทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยสื่อสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคล เช่น การสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน โดยใช้องค์ประกอบที่สำคัญช่วยสนับสนุนให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เทเลคอมเฟอเรนซ์ เป็นต้น

3.2ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)

ตอบ
-ช่วยให้เราเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้นและทำให้เราจัดระบบ ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน ระบบข่าวสาร หรือแม้กระทั่งระบบชีวิตของเราเอง

-ประหยัดเวลาในการทำสิ่งต่างๆในชีวิตประจำวัน



โดย: ศุภชัย จันทาพูน IP: 125.26.164.252 วันที่: 28 มิถุนายน 2552 เวลา:21:41:05 น.  

 
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย

คำตอบคือ.......

บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศในโลกปัจจุบัน ในอนาคตอันใกล้นี้ คอมพิวเตอร์คงเข้ามาสู่ชีวิตประจำวันของเราไม่มากก็น้อย ไม่ว่าเราจะอยากรู้จักโดยตรง หรือไม่ก็ตาม เช่น การซื้อสินค้า ตามตลาด ปัจจุบันนี้ร้านค้าเกือบทุกร้านจะนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในการทอนเงิน โดยเครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้นจะอยู่ในรูปของ เครื่องคิดเลข เครื่องทอนเงิน หรือแม้แต่เครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง ความรวดเร็วและความแม่นยำ ของระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ ช่วยให้ระบบงานคล่องตัวและรวดเร็ว เช่น การเก็บ คงคลังสินค้า เมื่อมีการนำสินค้าเข้ามาเก็บ การนำสินค้าออกจำหน่าย สินค้าคงเหลือ สินค้าเสียหาย เป็นต้น นอกจาก นี้เรายังสามารถที่จะเก็บข้อมูลได้ว่า สินค้า ล็อทนี้ นำไปจำหน่ายที่ใด ขายแล้วได้กำไรมากน้อยแค่ไหน และที่สำคัญ เมื่อเราต้องการเรียกดูข้อมูลของสินค้าเราสามารถที่จะทำได้อย่างง่าย เช่น เรียกดูข้อมูล โดยเรียงตามรายการสินค้า เรียกดูตามจำนวนของสินค้า เรียนดูตามราคาสินค้า ซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ทันที โดยการกรอกข้อมูลพียงครั้งเดียว ซึ่งต่างจากการเก็บข้อมูลด้วย กระดาษ ที่จะไม่สามารถเรียกดูสินค้าโดยแบ่งเป็นหมวดหมู่ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ทางด้านการศึกษา การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ทางด้านการศึกษาถือได้ว่าเป็นเรื่องสำคัญ ในระดับประเทศ เนื่องจากปัจจุบันได้ก้าวเข้าสู่ยุค ดิจิตอล ที่ทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องอาศัยคอมพิวเตอร์ในการเข้ามามีส่วนร่วมแทบทั้งสิ้น การศึกษาในปัจจุบันจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สอดคล้องกับความเจริญก้าวหน้าของ เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง อยู่ตลอดเวลา เดิมในท้องถิ่นที่ห่างไกลความเจริญ เด็ก ๆ แทบจะไม่มีโอกาสได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร จนกลายเป็น ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม แต่ในปัจจุบันเริ่มมีระบบการถ่ายทอดสัญญาณผ่านดาวเทียมทำให้เด็กเหล่านี้ได้รับโอกาสเรียนรู้ ถึงแม้จะยังไม่แพร่หลายนักก็ตาม สำหรับเด็กในชุมชนที่มีโอกาสได้ใช้คอมพิวเตอร์นอกจากการใช้คอมพิวเตอร์ ส่วนบุคคลแล้ว ก็ยังสามารถแสวงหาความรู้จากแหล่งความรู้ที่มีอยู่อย่างมากมาย โดยการเชื่อมต่อกับเครือข่ายผ่าน ระบบอินเตอร์เน็ตที่มีการเชื่อมโยงกันอยู่ทั่วโลก นอกเหนือไปจากความรู้ที่จะได้เรียนในห้องเรียนที่มีครูผู้สอน เป็นผู้ ถ่ายทอดเท่านั้น นอกจากนี้ ผู้สอนและผู้เรียนยังสามารถติดต่อถึงกันได้อย่างไร้ขีดจำกัดของเวลา โดยผ่านระบบ อิเล็กทรอนิค เมล (e-mail) ได้อีกทางหนึ่งด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่ปัจจุบันนี้นิยมนำมาใช้ใน การจัดการเรียน การสอน ได้แก่

1. Computer Assisted Information (CAI) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยระบบนี้จะใช้ในรูปแบบ OffLine โดยมากจะจัดสร้างในรูปแบบของ CD-ROM

2. Web-Based Instruction (WBI) การจัดการศึกษาในรูปแบบ Web Knowledge Based On Line เป็นการจัดสภาวการณ์การเรียนการสอน ในรูปแบบ On Line
ปัจจัยที่ทำให้เกิดความล้มเหลวในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ ในสังคม จากสังคมที่เรามีความต้องการใน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มอย่างมากมายนี้ ในบางครั้งก็ทำให้ผู้ใช้เกิดความ เสียหายอย่างใหญ่หลวงได้ หากการ ใช้นั้นเกิดขึ้นโดยไม่ได้อยู่บนรากฐานของความเข้าใจและความสมเหตุสมผล ในการใช้ อาทิเช่น ในทุกวันคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ทางเทคโนโลยีสารสนเทศได้พัฒนาตลอดเวลา ในขณะที่ในสังคม เมืองมีการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ อยู่ตลอดเวลา ได้สัมผัสทุกกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศทางด้าน การคมนาคม ทางด้านการสื่อสารที่เห็น ได้อย่างชัดเจน แต่ในขณะเดียวกันทางสังคมชนบท กลับมีวิถีชีวิตอยู่กับสังคม การเกษตร และสภาพแวดล้อมที่ล้าหลัง กว่าสังคมเมืองอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้นการพัฒนาในด้านการศึกษาของทั้งสอง กลุ่มสังคม จึงมีความแตกต่างอย่างมาก ไม่สามารถที่จะใช้มาตรฐานการศึกษาในรูปแบบเดียวกันได้ ช่องว่างระหว่าง สังคมเมืองกับสังคมชนบทจึงกว้างขึ้น อย่างเห็นได้ชัด ปัจจุบันในหลายๆ หน่วยงานจึงมีการรับบริจาคอุปกรณ ์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับ สังคมชนบท หรือนักเรียนที่ด้อยโอกาส แต่ปัญหาต่างๆ ไม่ๆได้หมดไป กลับเป็นไปในทางตรงกันข้าม เพราะปัญหาต่างๆ กลับเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ไม่สาสามรถใช้งานได้ ตกรุ่น เสียจน เกินกว่าที่จะซ่อมบำรุงเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ได้ และที่ ี่สำคัญคือบุคลากรที่อยู่ในท้องถิ่นไม่มีความรู้ความสามารถในการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศจึงเท่ากับว่าส่งสิ่งของไปให้ ้เพื่อเป็นภาระกว่าเดิม เป็นต้น

ที่มา....
//www.thaigoodview.com/node/25246



โดย: นางสาววินภา พินิจมนตรี 512411151116 วันเสาร์ หมู่ 5 รูปแบบพิเศษ IP: 125.26.178.231 วันที่: 29 มิถุนายน 2552 เวลา:10:36:21 น.  

 
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย

คำตอบคือ.......

บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศในโลกปัจจุบัน ในอนาคตอันใกล้นี้ คอมพิวเตอร์คงเข้ามาสู่ชีวิตประจำวันของเราไม่มากก็น้อย ไม่ว่าเราจะอยากรู้จักโดยตรง หรือไม่ก็ตาม เช่น การซื้อสินค้า ตามตลาด ปัจจุบันนี้ร้านค้าเกือบทุกร้านจะนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในการทอนเงิน โดยเครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้นจะอยู่ในรูปของ เครื่องคิดเลข เครื่องทอนเงิน หรือแม้แต่เครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง ความรวดเร็วและความแม่นยำ ของระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ ช่วยให้ระบบงานคล่องตัวและรวดเร็ว เช่น การเก็บ คงคลังสินค้า เมื่อมีการนำสินค้าเข้ามาเก็บ การนำสินค้าออกจำหน่าย สินค้าคงเหลือ สินค้าเสียหาย เป็นต้น นอกจาก นี้เรายังสามารถที่จะเก็บข้อมูลได้ว่า สินค้า ล็อทนี้ นำไปจำหน่ายที่ใด ขายแล้วได้กำไรมากน้อยแค่ไหน และที่สำคัญ เมื่อเราต้องการเรียกดูข้อมูลของสินค้าเราสามารถที่จะทำได้อย่างง่าย เช่น เรียกดูข้อมูล โดยเรียงตามรายการสินค้า เรียกดูตามจำนวนของสินค้า เรียนดูตามราคาสินค้า ซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ทันที โดยการกรอกข้อมูลพียงครั้งเดียว ซึ่งต่างจากการเก็บข้อมูลด้วย กระดาษ ที่จะไม่สามารถเรียกดูสินค้าโดยแบ่งเป็นหมวดหมู่ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ทางด้านการศึกษา การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ทางด้านการศึกษาถือได้ว่าเป็นเรื่องสำคัญ ในระดับประเทศ เนื่องจากปัจจุบันได้ก้าวเข้าสู่ยุค ดิจิตอล ที่ทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องอาศัยคอมพิวเตอร์ในการเข้ามามีส่วนร่วมแทบทั้งสิ้น การศึกษาในปัจจุบันจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สอดคล้องกับความเจริญก้าวหน้าของ เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง อยู่ตลอดเวลา เดิมในท้องถิ่นที่ห่างไกลความเจริญ เด็ก ๆ แทบจะไม่มีโอกาสได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร จนกลายเป็น ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม แต่ในปัจจุบันเริ่มมีระบบการถ่ายทอดสัญญาณผ่านดาวเทียมทำให้เด็กเหล่านี้ได้รับโอกาสเรียนรู้ ถึงแม้จะยังไม่แพร่หลายนักก็ตาม สำหรับเด็กในชุมชนที่มีโอกาสได้ใช้คอมพิวเตอร์นอกจากการใช้คอมพิวเตอร์ ส่วนบุคคลแล้ว ก็ยังสามารถแสวงหาความรู้จากแหล่งความรู้ที่มีอยู่อย่างมากมาย โดยการเชื่อมต่อกับเครือข่ายผ่าน ระบบอินเตอร์เน็ตที่มีการเชื่อมโยงกันอยู่ทั่วโลก นอกเหนือไปจากความรู้ที่จะได้เรียนในห้องเรียนที่มีครูผู้สอน เป็นผู้ ถ่ายทอดเท่านั้น นอกจากนี้ ผู้สอนและผู้เรียนยังสามารถติดต่อถึงกันได้อย่างไร้ขีดจำกัดของเวลา โดยผ่านระบบ อิเล็กทรอนิค เมล (e-mail) ได้อีกทางหนึ่งด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่ปัจจุบันนี้นิยมนำมาใช้ใน การจัดการเรียน การสอน ได้แก่

1. Computer Assisted Information (CAI) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยระบบนี้จะใช้ในรูปแบบ OffLine โดยมากจะจัดสร้างในรูปแบบของ CD-ROM

2. Web-Based Instruction (WBI) การจัดการศึกษาในรูปแบบ Web Knowledge Based On Line เป็นการจัดสภาวการณ์การเรียนการสอน ในรูปแบบ On Line
ปัจจัยที่ทำให้เกิดความล้มเหลวในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ ในสังคม จากสังคมที่เรามีความต้องการใน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มอย่างมากมายนี้ ในบางครั้งก็ทำให้ผู้ใช้เกิดความ เสียหายอย่างใหญ่หลวงได้ หากการ ใช้นั้นเกิดขึ้นโดยไม่ได้อยู่บนรากฐานของความเข้าใจและความสมเหตุสมผล ในการใช้ อาทิเช่น ในทุกวันคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ทางเทคโนโลยีสารสนเทศได้พัฒนาตลอดเวลา ในขณะที่ในสังคม เมืองมีการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ อยู่ตลอดเวลา ได้สัมผัสทุกกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศทางด้าน การคมนาคม ทางด้านการสื่อสารที่เห็น ได้อย่างชัดเจน แต่ในขณะเดียวกันทางสังคมชนบท กลับมีวิถีชีวิตอยู่กับสังคม การเกษตร และสภาพแวดล้อมที่ล้าหลัง กว่าสังคมเมืองอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้นการพัฒนาในด้านการศึกษาของทั้งสอง กลุ่มสังคม จึงมีความแตกต่างอย่างมาก ไม่สามารถที่จะใช้มาตรฐานการศึกษาในรูปแบบเดียวกันได้ ช่องว่างระหว่าง สังคมเมืองกับสังคมชนบทจึงกว้างขึ้น อย่างเห็นได้ชัด ปัจจุบันในหลายๆ หน่วยงานจึงมีการรับบริจาคอุปกรณ ์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับ สังคมชนบท หรือนักเรียนที่ด้อยโอกาส แต่ปัญหาต่างๆ ไม่ๆได้หมดไป กลับเป็นไปในทางตรงกันข้าม เพราะปัญหาต่างๆ กลับเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ไม่สาสามรถใช้งานได้ ตกรุ่น เสียจน เกินกว่าที่จะซ่อมบำรุงเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ได้ และที่ ี่สำคัญคือบุคลากรที่อยู่ในท้องถิ่นไม่มีความรู้ความสามารถในการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศจึงเท่ากับว่าส่งสิ่งของไปให้ ้เพื่อเป็นภาระกว่าเดิม เป็นต้น

ที่มา....
//www.thaigoodview.com/node/25246



โดย: นางสาววินภา พินิจมนตรี 512411151116 วันเสาร์ หมู่ 5 รูปแบบพิเศษ IP: 125.26.178.231 วันที่: 29 มิถุนายน 2552 เวลา:10:36:30 น.  

 
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย

คำตอบคือ.......

บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศในโลกปัจจุบัน ในอนาคตอันใกล้นี้ คอมพิวเตอร์คงเข้ามาสู่ชีวิตประจำวันของเราไม่มากก็น้อย ไม่ว่าเราจะอยากรู้จักโดยตรง หรือไม่ก็ตาม เช่น การซื้อสินค้า ตามตลาด ปัจจุบันนี้ร้านค้าเกือบทุกร้านจะนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในการทอนเงิน โดยเครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้นจะอยู่ในรูปของ เครื่องคิดเลข เครื่องทอนเงิน หรือแม้แต่เครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง ความรวดเร็วและความแม่นยำ ของระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ ช่วยให้ระบบงานคล่องตัวและรวดเร็ว เช่น การเก็บ คงคลังสินค้า เมื่อมีการนำสินค้าเข้ามาเก็บ การนำสินค้าออกจำหน่าย สินค้าคงเหลือ สินค้าเสียหาย เป็นต้น นอกจาก นี้เรายังสามารถที่จะเก็บข้อมูลได้ว่า สินค้า ล็อทนี้ นำไปจำหน่ายที่ใด ขายแล้วได้กำไรมากน้อยแค่ไหน และที่สำคัญ เมื่อเราต้องการเรียกดูข้อมูลของสินค้าเราสามารถที่จะทำได้อย่างง่าย เช่น เรียกดูข้อมูล โดยเรียงตามรายการสินค้า เรียกดูตามจำนวนของสินค้า เรียนดูตามราคาสินค้า ซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ทันที โดยการกรอกข้อมูลพียงครั้งเดียว ซึ่งต่างจากการเก็บข้อมูลด้วย กระดาษ ที่จะไม่สามารถเรียกดูสินค้าโดยแบ่งเป็นหมวดหมู่ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ทางด้านการศึกษา การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ทางด้านการศึกษาถือได้ว่าเป็นเรื่องสำคัญ ในระดับประเทศ เนื่องจากปัจจุบันได้ก้าวเข้าสู่ยุค ดิจิตอล ที่ทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องอาศัยคอมพิวเตอร์ในการเข้ามามีส่วนร่วมแทบทั้งสิ้น การศึกษาในปัจจุบันจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สอดคล้องกับความเจริญก้าวหน้าของ เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง อยู่ตลอดเวลา เดิมในท้องถิ่นที่ห่างไกลความเจริญ เด็ก ๆ แทบจะไม่มีโอกาสได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร จนกลายเป็น ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม แต่ในปัจจุบันเริ่มมีระบบการถ่ายทอดสัญญาณผ่านดาวเทียมทำให้เด็กเหล่านี้ได้รับโอกาสเรียนรู้ ถึงแม้จะยังไม่แพร่หลายนักก็ตาม สำหรับเด็กในชุมชนที่มีโอกาสได้ใช้คอมพิวเตอร์นอกจากการใช้คอมพิวเตอร์ ส่วนบุคคลแล้ว ก็ยังสามารถแสวงหาความรู้จากแหล่งความรู้ที่มีอยู่อย่างมากมาย โดยการเชื่อมต่อกับเครือข่ายผ่าน ระบบอินเตอร์เน็ตที่มีการเชื่อมโยงกันอยู่ทั่วโลก นอกเหนือไปจากความรู้ที่จะได้เรียนในห้องเรียนที่มีครูผู้สอน เป็นผู้ ถ่ายทอดเท่านั้น นอกจากนี้ ผู้สอนและผู้เรียนยังสามารถติดต่อถึงกันได้อย่างไร้ขีดจำกัดของเวลา โดยผ่านระบบ อิเล็กทรอนิค เมล (e-mail) ได้อีกทางหนึ่งด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่ปัจจุบันนี้นิยมนำมาใช้ใน การจัดการเรียน การสอน ได้แก่

1. Computer Assisted Information (CAI) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยระบบนี้จะใช้ในรูปแบบ OffLine โดยมากจะจัดสร้างในรูปแบบของ CD-ROM

2. Web-Based Instruction (WBI) การจัดการศึกษาในรูปแบบ Web Knowledge Based On Line เป็นการจัดสภาวการณ์การเรียนการสอน ในรูปแบบ On Line
ปัจจัยที่ทำให้เกิดความล้มเหลวในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ ในสังคม จากสังคมที่เรามีความต้องการใน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มอย่างมากมายนี้ ในบางครั้งก็ทำให้ผู้ใช้เกิดความ เสียหายอย่างใหญ่หลวงได้ หากการ ใช้นั้นเกิดขึ้นโดยไม่ได้อยู่บนรากฐานของความเข้าใจและความสมเหตุสมผล ในการใช้ อาทิเช่น ในทุกวันคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ทางเทคโนโลยีสารสนเทศได้พัฒนาตลอดเวลา ในขณะที่ในสังคม เมืองมีการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ อยู่ตลอดเวลา ได้สัมผัสทุกกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศทางด้าน การคมนาคม ทางด้านการสื่อสารที่เห็น ได้อย่างชัดเจน แต่ในขณะเดียวกันทางสังคมชนบท กลับมีวิถีชีวิตอยู่กับสังคม การเกษตร และสภาพแวดล้อมที่ล้าหลัง กว่าสังคมเมืองอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้นการพัฒนาในด้านการศึกษาของทั้งสอง กลุ่มสังคม จึงมีความแตกต่างอย่างมาก ไม่สามารถที่จะใช้มาตรฐานการศึกษาในรูปแบบเดียวกันได้ ช่องว่างระหว่าง สังคมเมืองกับสังคมชนบทจึงกว้างขึ้น อย่างเห็นได้ชัด ปัจจุบันในหลายๆ หน่วยงานจึงมีการรับบริจาคอุปกรณ ์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับ สังคมชนบท หรือนักเรียนที่ด้อยโอกาส แต่ปัญหาต่างๆ ไม่ๆได้หมดไป กลับเป็นไปในทางตรงกันข้าม เพราะปัญหาต่างๆ กลับเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ไม่สาสามรถใช้งานได้ ตกรุ่น เสียจน เกินกว่าที่จะซ่อมบำรุงเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ได้ และที่ ี่สำคัญคือบุคลากรที่อยู่ในท้องถิ่นไม่มีความรู้ความสามารถในการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศจึงเท่ากับว่าส่งสิ่งของไปให้ ้เพื่อเป็นภาระกว่าเดิม เป็นต้น

ที่มา....
//www.thaigoodview.com/node/25246



โดย: นายสุรพล อินทร์ธิราช หมู่ 5 รูปแบบพิเศษ IP: 125.26.178.231 วันที่: 29 มิถุนายน 2552 เวลา:10:37:11 น.  

 
ตอบที่ 3.1
บทบาทและความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการบริหารจัดการศึกษา
“ เทคโนโลยีสารสนเทศ ” (Information Technology) หรือเรียกกันย่อ ๆ ว่า“ IT ” หมายถึงเทคโนโลยีที่นํามาใชในการจัดเก็บขอมูล (Data) และประมวลผลขอมูลใหเกิดผลลัพธเปนสารสนเทศ (Information) เพื่อนําไปใชประโยชน
ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อมูลดิบที่เก็บรวบรวมมาจากที่ต่าง ๆ ซึ่งยังนําไปใชงานไมได
เช่น การสํารวจความคิดเห็น ความคิดเห็นที่ไดยังถือวาเปนขอมูลดิบ
สารสนเทศ (Information) หมายถึง ผลลัพธจากการประมวลผลขอมูลดิบซึ่งสามารถนําไปใชประโยชน เพื่อประกอบการทํางาน หรือเพิ่มประกอบการตัดสินใจของผูบริหาร เชน นําข้อมูล ความคิดเห็นแตละขอมาหาความถี่ เป็นค่าร้อยละเพื่อเปรียบเทียบดูว่า ข้อคิดเห็นขอใดมีผูเลือกมากนอย เป็นร้อยละเท่าไร ค่ารอยละดัง
กล่าว ก็จัดเป็นสารสนเทศ เป็นต้น
การจัดเก็บข้อมูลและการจัดการข้อมูล ต้องการความถูกตองและรวดเร็วสูง จึงจําเปนตองนําเทคโนโลยีคอมพิวเตอรเขามาช่วย และ เมื่อตองการใหผูที่อยูหางไกลกันสามารถใชประโยชนจากสารสนเทศดังกลาว ก็จําเปนตองนําเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมเขามาชวยอีกทางหนึ่งดวย
ในวงการบริหารงานตางๆ โดยเฉพาะในวงการบริหารงานธุรกิจ ซึ่งมีการแขงขันกันสูง ไดนําเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการบริหารกันเปนอันมากเพื่อใหการบริหารมีประสิทธิภาพสูง ประหยัดสุดและไดประสิทธิผลสูงสุด
ผู้บริหารยุคใหมทุกระดับจึงนํานวัตกรรมเทคโนโลยีมาใชกันอยางแพรหลาย เชน ผู้บริหารระดับสูงในองค์การ จะนําสารสนเทศที่แสดงภาพรวมของการดําเนินงาน ความสัมพันธระหวางองคการและสิ่งแวดลอม สรุปปญหาและแนวทางแก้ไข มาใชเพื่อประกอบการแก้ปญหา และการตัดสินใจกําหนดกลยุทธขององคการ สวนผูบริหารระดับกลางจะนําสารสนเทศ ที่ ประมวลงานประจําป มาใชจัดแผนงบประมาณ และกําหนดแผนการดําเนินงานของหนวยงาน สําหรับ ผู้บริหารงานระดับต้นจะใชเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยในการควบคุมการปฏิบัติงาน เป็นต้น
ปัจจุบันผูบริหารในการศึกษาไดนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชและมีบทบาทความสำคัญในการบริหารจัดการศึกษากันมากขึ้น อาทิ เชน
1. การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการตัดสินใจ การตัดสินใจที่ดีจะต้องรวดเร็วและไมผิดพลาด และการตัดสินใจที่รวดเร็วและไมผิดพลาดนั้นจําเป็น ต้องมี ข้อมูลสารสนเทศที่ เป็นปัจจุบันไมล้าสมัย มีจํานวนมากเพียงพอ และสามารถนํามาใชไดง่ายและรวดเร็ว ซึ่งเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยเรื่องนี้เป็นอย่างดี ระบบสารสนเทศที่ผูบริหารนํามาใชในการตัดสินใจมีดังนี้
1.1 ระบบสารสนเทศสําหรับผูบริหาร (Executive Systems) หรือ “EIS” ในบางครั้งอาจเรียกว่า “ระบบสนับสนุนผู้บริหาร” (Executive Support Systems) หรือ “ESS” ระบบ EISเป็นระบบที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นมาเพื่อจัดเตรียมสารสนเทศที่เหมาะสมในการตัดสินใจของผูบริหารระดับสูงช่วยให้ ผู้บริหารสามารถทําความเข้าใจ ปัญหาอย่างชัดเจน และสามารถตัดสินใจเลือกแนวทางแกปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
1.2 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support) หรือ DSS ระบบ DSS เป็นระบบที่ ออกแบบและพัฒนาขึ้นมาเพื่อใชสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง ระบบDSS จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจของผูบริหารแตจะไมทําการตัดสินใจแทนผู้บริหาร โดยประมวลผลและนําเสนอข้อมูล ที่สําคัญต่อการตัดสินใจ ตลอดจนประเมินทางเลือกที่เหมาะสมภายใตข้อจํากัดของแต่ละสถานการณ เพื่อใหผู้บริหารใช
สติปญญา เหตุผล ประสบการณ และความคิดสร้างสรรคของตนวิเคราะหและเปรียบเทียบทางเลือกใหสอดคล้องกับปัญหาหรือสถานการณนั้นๆ
2. การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการบริหารงานทางไกล มีการนําสื่อหลายๆอย่าง เช่น โทรศัพทมือถือ โทรสาร วิทยุ โทรทัศน คอมพิวเตอร และเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคม มาใชในการติดต่อการสื่อสารและการบริหารงานทางไกลไดสะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลาและค่าใช้จายเป็น อันมาก ถึงแมจะอยูไกลกันก็สามารถทํางานร่วมกัน ประชุมร่วมกันไดโดยใช Teleconference เป็นต้น
3. การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการบริหารสถานศึกษา ปัจจุบันสถานศึกษาหลายแห่ง พัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อใชในการบริหารงานด้านต่างๆ ทั้งการบริหารงานวิชาการ การบริหารกิจการนักเรียน การบริหารงานบุคลากร การบริหารงานธุรการ การเงิน พัสดุ ครุภัณฑ การบริหารงานอาคารสถานที่และการการบริหารงานชุมชน
4. การสร้างเครือข่ายข้อมูล (Network) ด้วยระบบสารสนเทศ เครือข่ายนี้จะช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยเป็นอันมาก ปัจจุบันมี โครงการเครือข่ายคอมพิวเตอรโรงเรียนมัธยม (Schoolnet) ซึ่งเป็นโครงการ
ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หนึ่งในหลายโครงการที่เกิดขึ้นตามพระราชดําริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี โดยศูนยเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกสคอมพิวเตอรแห่งชาติ ไดนําแนวพระราชดําริมาดําเนินการร่วมกับหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดกรมสามัญศึกษา(เดิม)
5. การนํานวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการจัดการศึกษา ในปัจจุบันผูบริหาร หน่วยงานทางการศึกษานํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการจัดการศึกษา เป็นประโยชนต่อการเรียนรูหลายอย่าง อาทิเช่น
5.1 อินเตอร์เน็ต (Internet) เพื่อใชในการศึกษาหาข้อมูล ข่าวสารทางวิชาการและอื่นๆ จากที่ต่าง ๆ เป็นการส่งเสริมการเรียนรูตลอดชีวิต
5.2 จดหมายอิเล็กทรอนิกส (Electronic Mail หรือ E-mail) เพื่อใชรับส่งข่าวสาร ข้อมูล รูปภาพ และส่งงานใหครูอาจารยตรวจ
5.3 การจัดทํา Website ของสถานศึกษา เพื่อการเผยแพรขาวสารของสถานศึกษา เป็นการประชาสัมพันธระหว่างสถานศึกษากับ ผู้ที่เกี่ยวข้อง และบุคคลทั่วไป
5.4 การใชโปรแกรม SPSS เพื่อการวิเคราะหข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชนต่อการทําวิจัยในชั้นเรียนของครูอาจารย การทําวิจัยสถานบันของฝ่ายบริหาร และอื่น ๆ
5.5 การทํา PowerPoint เพื่อใชในการเรียนการสอนของครูอาจารย์และใชเสนอผลงานของผู้บริหารสถานศึกษา
5.6 คอมพิวเตอรช่วยสอน (Computer Assisted Instruction หรือ CAI) เพื่อช่วยใหผู้เรียนเรียนรูด้วยตนเองจากบทเรียนสําเร็จรูปในคอมพิวเตอร
5.7 การเรียนรูผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส (Electronic Learning) หรือที่เรียกกันว่าE-Learning เป็นการเรียนทางไกลที่ผูเรียนสามารถโตตอบกับผู้สอนได โดยอาศัยเครือข่าย อินเตอร์เน็ต จึงช่วยใหเรียนรู้ไดโดยไม่มีข้อจํากัดของเวลา ระยะทาง และสถานที่ โดยผูเรียนจะสามารถเรียนรูไดตลอดเวลาจึงตอบสนองศักยภาพการเรียนรูของผู้เรียนไดเป็นอย่างดี
5.8 ห้องเรียนอัจฉริยะ (Electronic Classroom หรือ E-Classroom) เป็นการจัดระบบบริหารจัดการห้องเรียน ที่ใชการเรียนการสอนแบบ on-line และ ปฏิสัมพันธ (interactive) สามารถควบคุมและและตรวจสอบกิจกรรมของนักเรียนไดโดยตรงจากเครื่องคอมพิวเตอรของครูแบบ real time
5.9 หนังสืออิเล็กทรอนิกส (E-book) และ หองสมุดอิเล็กทรอนิกส (E-Library) เพื่อเสริม การเรียนการสอน และใหบริการค้นคว้าหาความรูแกนักเรียน ครูอาจารย และประชาชน
5.10 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ “ICT” (Information and Communication Technologies) เพื่อพัฒนาการศึกษา ปัจจุบันประเทศไทยโดยกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายสําคัญที่จะนําเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช เพื่อพัฒนาการสื่อสารในทุกด้าน โดยเฉพาะการช่วยพัฒนาครูอาจารย การช่วยใหเด็กและเยาวชนไดเข้าถึงแหล่งความรูและไดเรียนอย่างทัดเทียมกัน ตลอดจนการพัฒนาระบบบริหารจัดการให้ ฉับไว มีประสิทธิภาพสูงสุด
ดังนั้น นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ก็เข้ามามีบทบาทมากขึ้น โนเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุคของการปฎิรูปการศึกษา ผู้บริหารการศึกษายุคใหมต่างก็นํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชประโยชนในการบริหารจัดการศึกษา เพื่อใหประสบผลสําเร็จในการพัฒนาคุณภาพผูเรียนไดอย่างมีประสิทธิภาพสูง
ที่มา //www.sahavicha.com/?name=faq&file=readfaq&id=290


โดย: นางสาวอรสา จุไธสง หมู่ 1 (จันทร์บ่าย) IP: 172.29.9.56, 202.29.5.62 วันที่: 29 มิถุนายน 2552 เวลา:12:47:20 น.  

 
ตอบข้อที่3.2
บทบาทและความสำคัญของเทคโนโลยี
-เพื่อการดำเนินชีวิตประจำวัน
-เพื่อการรคำนวณและเก็บข้อมูล
-เพื่อการแข่งขันทางธุรกิจ
-เพื่องานสำนักงาน
ที่มา//school.obec.go.th/wichienmatu2/ptt/basic_IT.ppt#258,3,บทบาทและความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ


โดย: นางสาวอรสา จุไธสง หมู่ 1 (จันทร์บ่าย) IP: 172.29.9.56, 202.29.5.62 วันที่: 29 มิถุนายน 2552 เวลา:13:09:20 น.  

 
3.1เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา
เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาประกอบด้วย
1. เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้ปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มีระบบมัลติมีเดีย (Multimedia)* ระบบวิดีโออนนดีมานด์ (Video on Demand) วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ (Video Teleconference) และอินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น ระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้
2. เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษาในการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการดำเนินการ การติดตามและประเมินผลคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในเรื่องนี้
3. เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคลเกือบทุกวงการ ทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เขียน ผู้เรียนกับผู้เรียน เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสาร และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร เทเลคอนเฟอเรนส์ และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

3.2ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน
1. ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการสืบค้นข้อมูลต่างๆ
2. ช่วยเพิ่มขีดความรู้ความสามารถให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น

ที่มา //www.thaigoodview.com/node/25310

นายวีระวิทย์ นาคเสน หมู่ 1 เรียนวันจันทร์ บ่าย


โดย: นายวีระวิทย์ นาคเสน หมู่ 1 เรียนวันจันทร์ บ่าย IP: 172.29.9.152, 58.137.131.62 วันที่: 29 มิถุนายน 2552 เวลา:14:03:14 น.  

 
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการศึกษา อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศช่วยการเรียนการสอน การวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตร การแนะแนวและบริการ การทดสอบวัดผล การพัฒนาบุคลากร
เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเป็นที่นิยมประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน อาทิ
1. ระบบสารสนเทศช่วยในการเรียนการสอน
2. การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม
3. การประชุมทางไกลระบบจอภาพ
4. ระบบฐานข้อมูลการศึกษา
5. ระบบสารสนเทศเอกสาร
ที่มา://www.csjoy.com/story/net/tne.htm
3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)
1.ด้านเศรษฐกิจ 2. ด้านอุตสาหกรรม


โดย: นางสาวเบญจมาศ ปวงสุข ศศ.บ.ภาษาอังกฤษ3/1 รหัส 50040302108 หมู่ 1 เรียนจันทร์-บ่าย IP: 172.29.9.44, 58.137.131.62 วันที่: 29 มิถุนายน 2552 เวลา:15:20:41 น.  

 
เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
“ เทคโนโลยีสารสนเทศ ” (Information Technology) หรือเรียกกันย่อ ๆ ว่า“ IT ” หมายถึงเทคโนโลยีที่นํามาใชในการจัดเก็บขอมูล (Data) และประมวลผลขอมูลใหเกิดผลลัพธเปนสารสนเทศ (Information) เพื่อนําไปใชประโยชน

ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อมูลดิบที่เก็บรวบรวมมาจากที่ต่าง ๆ ซึ่งยังนําไปใชงานไมได
เช่น การสํารวจความคิดเห็น ความคิดเห็นที่ไดยังถือวาเปนขอมูลดิบ

สารสนเทศ (Information) หมายถึง ผลลัพธจากการประมวลผลขอมูลดิบซึ่งสามารถนําไปใชประโยชน เพื่อประกอบการทํางาน หรือเพิ่มประกอบการตัดสินใจของผูบริหาร เชน นําข้อมูล ความคิดเห็นแตละขอมาหาความถี่ เป็นค่าร้อยละเพื่อเปรียบเทียบดูว่า ข้อคิดเห็นขอใดมีผูเลือกมากนอย เป็นร้อยละเท่าไร ค่ารอยละดัง
กล่าว ก็จัดเป็นสารสนเทศ เป็นต้น

การจัดเก็บข้อมูลและการจัดการข้อมูล ต้องการความถูกตองและรวดเร็วสูง จึงจําเปนตองนําเทคโนโลยีคอมพิวเตอรเขามาช่วย และ เมื่อตองการใหผูที่อยูหางไกลกันสามารถใชประโยชนจากสารสนเทศดังกลาว ก็จําเปนตองนําเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมเขามาชวยอีกทางหนึ่งดวย
ในวงการบริหารงานตางๆ โดยเฉพาะในวงการบริหารงานธุรกิจ ซึ่งมีการแขงขันกันสูง ไดนําเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการบริหารกันเปนอันมากเพื่อใหการบริหารมีประสิทธิภาพสูง ประหยัดสุดและไดประสิทธิผลสูงสุด
ผู้บริหารยุคใหมทุกระดับจึงนํานวัตกรรมเทคโนโลยีมาใชกันอยางแพรหลาย เชน ผู้บริหารระดับสูงในองค์การ จะนําสารสนเทศที่แสดงภาพรวมของการดําเนินงาน ความสัมพันธระหวางองคการและสิ่งแวดลอม สรุปปญหาและแนวทางแก้ไข มาใชเพื่อประกอบการแก้ปญหา และการตัดสินใจกําหนดกลยุทธขององคการ สวนผูบริหารระดับกลางจะนําสารสนเทศ ที่ ประมวลงานประจําป มาใชจัดแผนงบประมาณ และกําหนดแผนการดําเนินงานของหนวยงาน สําหรับ ผู้บริหารงานระดับต้นจะใชเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยในการควบคุมการปฏิบัติงาน เป็นต้น
ปัจจุบันผูบริหารในการศึกษาไดนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชและมีบทบาทความสำคัญในการบริหารจัดการศึกษากันมากขึ้น อาทิ เชน

1. การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการตัดสินใจ การตัดสินใจที่ดีจะต้องรวดเร็วและไมผิดพลาด และการตัดสินใจที่รวดเร็วและไมผิดพลาดนั้นจําเป็น ต้องมี ข้อมูลสารสนเทศที่ เป็นปัจจุบันไมล้าสมัย มีจํานวนมากเพียงพอ และสามารถนํามาใชไดง่ายและรวดเร็ว ซึ่งเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยเรื่องนี้เป็นอย่างดี ระบบสารสนเทศที่ผูบริหารนํามาใชในการตัดสินใจมีดังนี้
1.1 ระบบสารสนเทศสําหรับผูบริหาร (Executive Systems) หรือ “EIS” ในบางครั้งอาจเรียกว่า “ระบบสนับสนุนผู้บริหาร” (Executive Support Systems) หรือ “ESS” ระบบ EISเป็นระบบที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นมาเพื่อจัดเตรียมสารสนเทศที่เหมาะสมในการตัดสินใจของผูบริหารระดับสูงช่วยให้ ผู้บริหารสามารถทําความเข้าใจ ปัญหาอย่างชัดเจน และสามารถตัดสินใจเลือกแนวทางแกปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
1.2 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support) หรือ DSS ระบบ DSS เป็นระบบที่ ออกแบบและพัฒนาขึ้นมาเพื่อใชสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง ระบบDSS จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจของผูบริหารแตจะไมทําการตัดสินใจแทนผู้บริหาร โดยประมวลผลและนําเสนอข้อมูล ที่สําคัญต่อการตัดสินใจ ตลอดจนประเมินทางเลือกที่เหมาะสมภายใตข้อจํากัดของแต่ละสถานการณ เพื่อใหผู้บริหารใช
สติปญญา เหตุผล ประสบการณ และความคิดสร้างสรรคของตนวิเคราะหและเปรียบเทียบทางเลือกใหสอดคล้องกับปัญหาหรือสถานการณนั้นๆ

2. การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการบริหารงานทางไกล มีการนําสื่อหลายๆอย่าง เช่น โทรศัพทมือถือ โทรสาร วิทยุ โทรทัศน คอมพิวเตอร และเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคม มาใชในการติดต่อการสื่อสารและการบริหารงานทางไกลไดสะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลาและค่าใช้จายเป็น อันมาก ถึงแมจะอยูไกลกันก็สามารถทํางานร่วมกัน ประชุมร่วมกันไดโดยใช Teleconference เป็นต้น

3. การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการบริหารสถานศึกษา ปัจจุบันสถานศึกษาหลายแห่ง พัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อใชในการบริหารงานด้านต่างๆ ทั้งการบริหารงานวิชาการ การบริหารกิจการนักเรียน การบริหารงานบุคลากร การบริหารงานธุรการ การเงิน พัสดุ ครุภัณฑ การบริหารงานอาคารสถานที่และการการบริหารงานชุมชน

4. การสร้างเครือข่ายข้อมูล (Network) ด้วยระบบสารสนเทศ เครือข่ายนี้จะช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยเป็นอันมาก ปัจจุบันมี โครงการเครือข่ายคอมพิวเตอรโรงเรียนมัธยม (Schoolnet) ซึ่งเป็นโครงการ
ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หนึ่งในหลายโครงการที่เกิดขึ้นตามพระราชดําริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี โดยศูนยเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกสคอมพิวเตอรแห่งชาติ ไดนําแนวพระราชดําริมาดําเนินการร่วมกับหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดกรมสามัญศึกษา(เดิม)

5. การนํานวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการจัดการศึกษา ในปัจจุบันผูบริหาร หน่วยงานทางการศึกษานํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการจัดการศึกษา เป็นประโยชนต่อการเรียนรูหลายอย่าง อาทิเช่น
5.1 อินเตอร์เน็ต (Internet) เพื่อใชในการศึกษาหาข้อมูล ข่าวสารทางวิชาการและอื่นๆ จากที่ต่าง ๆ เป็นการส่งเสริมการเรียนรูตลอดชีวิต
5.2 จดหมายอิเล็กทรอนิกส (Electronic Mail หรือ E-mail) เพื่อใชรับส่งข่าวสาร ข้อมูล รูปภาพ และส่งงานใหครูอาจารยตรวจ
5.3 การจัดทํา Website ของสถานศึกษา เพื่อการเผยแพรขาวสารของสถานศึกษา เป็นการประชาสัมพันธระหว่างสถานศึกษากับ ผู้ที่เกี่ยวของ และบุคคลทั่วไป
5.4 การใชโปรแกรม SPSS เพื่อการวิเคราะหข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชนต่อการทําวิจัยในชั้นเรียนของครูอาจารย การทําวิจัยสถานบันของฝ่ายบริหาร และอื่น ๆ
5.5 การทํา PowerPoint เพื่อใชในการเรียนการสอนของครูอาจารย และใชเสนอผลงานของ ผู้บริหารสถานศึกษา
5.6 คอมพิวเตอรช่วยสอน (Computer Assisted Instruction หรือ CAI) เพื่อช่วยใหผู้เรียนเรียนรูด้วยตนเองจากบทเรียนสําเร็จรูปในคอมพิวเตอร
5.7 การเรียนรูผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส (Electronic Learning) หรือที่เรียกกันว่า
E-Learning เป็นการเรียนทางไกลที่ผูเรียนสามารถโตตอบกับผู้สอนได โดยอาศัยเครือข่าย อินเตอร์เน็ต จึงช่วยใหเรียนรู้ไดโดยไม่มีข้อจํากัดของเวลา ระยะทาง และสถานที่ โดยผูเรียนจะสามารถเรียนรูไดตลอดเวลาจึงตอบสนองศักยภาพการเรียนรูของผู้เรียนไดเป็นอย่างดี
5.8 ห้องเรียนอัจฉริยะ (Electronic Classroom หรือ E-Classroom) เป็นการจัดระบบบริหารจัดการ
ห้องเรียน ที่ใชการเรียนการสอนแบบ on-line และ ปฏิสัมพันธ (interactive) สามารถควบคุมและและตรวจสอบกิจกรรมของนักเรียนไดโดยตรงจากเครื่องคอมพิวเตอรของครูแบบ real time
5.9 หนังสืออิเล็กทรอนิกส (E-book) และ หองสมุดอิเล็กทรอนิกส (E-Library) เพื่อเสริม การเรียนการสอน และใหบริการค้นคว้าหาความรูแกนักเรียน ครูอาจารย และประชาชน
5.10 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ “ICT” (Information and Communication Technologies) เพื่อพัฒนาการศึกษา ปัจจุบันประเทศไทยโดยกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายสําคัญที่จะนําเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช เพื่อพัฒนาการสื่อสารในทุกด้าน โดยเฉพาะการช่วยพัฒนาครูอาจารย การช่วยใหเด็กและเยาวชนไดเข้าถึงแหล่งความรูและไดเรียนอย่างทัดเทียมกัน ตลอดจนการพัฒนาระบบบริหารจัดการให้ ฉับไว มีประสิทธิภาพสูงสุด

ดังนั้น นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ก็เข้ามามีบทบาทมากขึ้น โนเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุคของการปฎิรูปการศึกษา ผู้บริหารการศึกษายุคใหมต่างก็นํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชประโยชนใน การบริหารจัดการศึกษา เพื่อใหประสบผลสําเร็จในการพัฒนาคุณภาพผูเรียนไดอย่างมีประสิทธิภาพสูง

ที่มา//www.sahavicha.com/?name=faq&file=readfaq&id=290

ข้อ2
1.เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสารสนเทศ เช่น การคำนวณตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน การจัดเรียงลำดับสารสนเทศ ฯลฯ
.2.ช่วยในการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ที่มา//61.19.218.122/jukkrit/IT_FOR_Lift/technology2.htm


โดย: น.ส นิภารัตน์ เครือเนตร (ม.1 จันทร์ บ่าย) IP: 172.29.168.65, 58.137.131.62 วันที่: 29 มิถุนายน 2552 เวลา:16:08:56 น.  

 
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ
1. การออกแบบ (design) คือ กำหนดสภาพการเรียนรู้
1.1 การออกแบบระบบการสอน (instructional systems design)
1.2 ออกแบบสาร (message design)           
1.3 กลยุทธ์การสอน (instructional strategies)
1.4 ลักษณะผู้เรียน (learner characteristics)
2. การพัฒนา (development) กระบวนการเปลี่ยนการออกแบบ
      2.1 เทคโนโลยีสิ่งพิมพ์ (print technologies)        2.2 เทคโนโลยีโสตทัศนูปกรณ์ (audiovisual technologies)              
2.3 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (computer – based technologies)                 
2.4 เทคโนโลยีบูรณาการ (integrated technologies)
3. การใช้ (utilization) ใช้กระบวนการ และแหล่งทรัพยากรเพื่อการเรียนการสอน        
3.1 การใช้สื่อ          
3.2 การแพร่กระจายนวัตกรรม   
3.3 วิธีการนำไปใช้ และการจัดการ      
3.4 นโยบาย หลักการและกฎระเบียบข้อบังคับ
4. การจัดการ (management) ควบคุมกระบวนการทางเทคโนโลยีการศึกษา ตลอดจนการวางแผน การจัดการ การประสานงาน และการให้คำแนะนำ  
4.1 การจัดการโครงการ           
4.2 การจัดการแหล่งทรัพยากร      
4.3 การจัดการระบบส่งถ่าย   
4.4 การจัดการสารสนเทศ
5. การประเมิน (evaluation) หาข้อมูลเพื่อกำหนดความเหมาะสมของการเรียนการสอน    
5.1 การวิเคราะห์ปัญหา
5.2 เกณฑ์การประเมิน
5.3 การประเมินความก้าวหน้า
5.4 การประเมินผลสรุป
ที่มา ceit.sut.ac.th/ceit/images/saya/lesson.ppt


โดย: นางสาวจันทร์ หงสระคู หมู่1 (จันทร์บ่าย IP: 117.47.130.28 วันที่: 29 มิถุนายน 2552 เวลา:16:57:26 น.  

 
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย

ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology หรือ IT) ได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว และมีบทบาทสำคัญในด้านต่างๆ อย่างกว้างขวาง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การบริการสังคม สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านการศึกษา ซึ่งการมีบทบาทสำคัญนี้อาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอทีนั้นเปรียบเหมือนเครื่องจักรที่สามารถรองรับข้อมูลข่าวสารมาทำการประมวลผล และการแสดงผลตามที่ต้องการได้รวดเร็ว โดยอาศัยองค์ประกอบอื่นๆ ช่วยในการจัดการ ได้แก่ โปรแกรมปฏิบัติการ โปรแกรมชุดคำสั่งต่างๆ และที่สำคัญคือ ผู้ที่จะตัดสินใจหรือสั่งการให้ทำงานได้ถูกต้องตามเป้าหมาย ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ใช้ ผู้บริหาร หรือนักเทคโนโลยีสารสนเทศโดยตรง
รัฐบาลไทยในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญ เล็งเห็นประโยชน์และคุณค่าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยใน พ.ศ. 2535 ได้แต่งตั้ง "คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ" ขึ้น โดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและให้มีรองนายกรัฐมนตรี ที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธาน มีคณะกรรมการประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง และผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาครัฐบาลและเอกชน และได้มอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการฯ มีหน้าที่เสนอแนะนโยบายและแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศต่อคณะรัฐมนตรี ทั้งในเรื่องการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างบรรยากาศ ให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการดำเนินงานด้านต่างๆ
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จัดทำแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานของรัฐ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการและการดำเนินการตามแผนดังกล่าวโดยแบ่งเป็น 4 ช่วงได้แก่

ช่วงที่ 1 : การมีการใช้คอมพิวเตอร์ในงานทั่วไป (พ.ศ. 2536-2538)
ช่วงที่ 2 : การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (พ.ศ. 2536-2539)
ช่วงที่ 3 : การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานด้านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (พ.ศ. 2537-2540)
ช่วงที่ 4 : การใช้คอมพิวเตอร์เต็มรูปแบบ (พ.ศ. 2540 เป็นต้นไป)


การดำเนินการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษานั้น ดำเนินการมาก่อนหน้านี้อีก คือเริ่มดันในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) ซึ่งในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งได้เห็นความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งในด้านการเรียนการสอนโดยมีหลักสูตรการศึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และวิชาการที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคม มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยการบริหารงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการลงทะเบียนนักศึกษา สำหรับกระทรวงศึกษาธิการนั้น ได้จัดตั้งศูนย์สารสนเทศขึ้นในปี พ.ศ. 2522 ในสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ทางด้านทบวงมหาวิทยาลัย ได้จัดประชุมระดับภูมิภาคอาเซียน เรื่องการศึกษาและระบบสารสนเทศภายใต้โครงการพัฒนาการศึกษาอาเซียนในเดือนพฤศจิกายน 2523 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการพัฒนาการสารสนเทศทางการศึกษาของประเทศ
พ.ศ. 2526 ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานและปฏิบัติการของระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา (ศ.ส.ษ.) ขึ้น โดยความเห็นชอบของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศให้ก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดให้มีข้อมูลและสารสนเทศที่มีคุณภาพทันสมัย และสอดคล้องกับความต้องการ และเพื่อเป็นศูนย์กลางในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสารสนเทศทางการศึกษาที่จำเป็นต่อการกำหนดนโยบายการวางแผนการศึกษาและการพัฒนาการศึกษาของประเทศ นอกจากนั้นยังมีหน้าที่กำหนดนิยามที่จำเป็นต้องใช้ในระบบสารสนเทศทางการศึกษา กำหนดมาตรฐานในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำแนกข้อมูลและจัดกระทำข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ ที่สามารถนำไปใช้ได้ตามความต้องการ รวมทั้งการกำหนดขอบข่ายการประสานงานของระบบสารสนเทศทางการศึกษา ตลอดจนส่งเสริมและเผยแพร่วิชาการ และการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศทางการศึกษาของประเทศ
ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) ได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งแก่เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาการศึกษาของชาติ ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 มีแผนงานหลักเพื่อพัฒนาการศึกษาอยู่ 9 แผนงานหลัก แผนงานหลักที่ 9 เป็นแผนเรื่องการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษา ในแผนงานหลักที่ 9 การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษานั้นได้มีแนวคิดว่า สำหรับระบบการศึกษาก็ได้ตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลและสารสนเทศเช่นเดียวกันโดยหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้องได้สนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การจัดเก็บ การให้บริการและแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศที่ใช้ในการกำหนดนโยบาย การวางแผนพัฒนาการศึกษา การบริหารการศึกษา และการจัดการศึกษาให้เป็นระบบ ที่มีรูปแบบและมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการเรียนการสอนทุกระดับการศึกษา
อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษาของหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง มีลักษณะเป็นไปอย่างอิสระทำให้ขาดความเป็นเอกภาพ ประกอบกับขาดความพร้อมทั้งด้านงบประมาณ บุคลากร และอุปกรณ์ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่อเชื่อมระบบซอฟแวร์ เป็นต้น ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ อันได้แก่ ปัญหาการผลิตข้อมูลปฐมภูมิที่มีข้อมูลไม่ครบถ้วนตามที่ผู้ต้องการใช้ ปัญหาการจัดเก็บข้อมูลทุติยภูมิ ปัญหาการประสานงานเครือข่าย รวมทั้งปัญหาการดำเนินงานสารสนเทศ ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ส่งผลไปถึงการจัดการศึกษาที่ต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินงาน
จากปัญหาข้างต้น จึงจำเป็นจะต้องพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา โดยมีพื้นฐานอยู่บนหลักการพัฒนาร่วมกันระหว่างหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถประสานการดำเนินงาน และการนำทรัพยากรมาใช้ในการบริหารการวางแผนการจัดการศึกษา และการฝึกอบรมร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติเป็นหน่วยประสานงานกลางในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา

ที่มา
//www.csjoy.com/story/net/tne.htm


โดย: น.ส. วริศรา ทิมแดง (ม.8 เช้า พฤ. ) IP: 172.29.85.24, 58.137.131.62 วันที่: 29 มิถุนายน 2552 เวลา:17:06:19 น.  

 
3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน
1.สามารถจัดเก็บสารสนเทศ ไว้ในรูปแบบที่สามารถใช้งานได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
2.สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ที่มา
//www.kingsolder.com/computer/it/default.asp#2


โดย: น.ส. วริศรา ทิมแดง (ม.8 เช้า พฤ. ) IP: 172.29.85.24, 58.137.131.62 วันที่: 29 มิถุนายน 2552 เวลา:17:16:38 น.  

 
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ
• ข้อแรกนี้ก็คือทำให้สามารถจัดเก็บสารสนเทศ ไว้ในรูปแบบที่สามารถใช้งานได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
• ในข้อนี้ก็คือจะทำให้สามารถจัดระบบข่าวสารไว้ได้จำนวนมากครับของแต่ละวัน
• ส่วนในข้อนี้ก็คือ เพื่อให้สามารถจัดเก็บ และเรียกใช้สารสนเทศนั้นให้เป็นไปอย่างอัตโนมัติครับ
• ในข้อนี้ก็คือ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสารสนเทศครับ ก็ตัวอย่างเช่น ในการคำนวณที่มีความซับซ้อน ยุ่งยาก ให้สามารถทำได้ง่ายขึ้นนั่นเองครับ
• ใช้ข้อนี้ก็คือจะช่วยในการสื่อสารครับให้สามารถทำได้อย่างรวดเร็วสะดวก ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของระยะทางหรือเรื่องของเวลาครับ อย่างเช่น การใช้งานโทรศัพท์
• ในข้อนี้ก็คือ ทำให้เราสามารถเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ในการใช้งานสารสนเทศนั้นเราจะต้องใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุดเลยดังนั้นเราจึงต้องมีการบริหารสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพครับ และเหตุผลที่ต้องมีการบริหารสารสนเทศนี่นะครับก็มีดังต่อไปนี้

• เทคโนโลยีสารสนเทศนี้เป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จของกิจการหลายๆ ประเภท ดังนั้นเราจึงต้องมีการบริหารมีวิธีการจัดการที่มีประสิทธิภาพ
• เทคโนโลยีสารสนเทศนี้ มีผลกระทบต่อความสำเร็จของการดำเนินการขององค์การเป็นอย่างมากจึงต้องมีวิธีการที่เหมาะสมในการใช้และจัดทำสารสนเทศขึ้น
• เทคโนโลยีสารสนเทศนี่ คือเครื่องมือเชิงกลยุทธ์เพื่อความได้เปรียบในด้านการแข่งขัน
• ผู้บริหารนี้ ควรมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจะได้มีส่วนสนับสนุนในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
• ความก้าวหน้าในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นเป็นไปอย่างรวดเร็วครับ จึงต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับงานและองค์กร
• เทคโนโลยีสารสนเทศนี้ ถือเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งซึ่งมีผลกระทบต่อการจัดการองค์การ

ที่มา https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=numpuang&date=27-03-2009&group=7&gblog=4

3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)
ตอบ
1)เพื่อการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
2)เพื่อเข้าถึงวิวัฌนาการใหม่ๆของเทคโนโลยีสารสนเทศ


โดย: น.ส ชฎาพร โสภาคำ 52040281117 ชีววิทยา (จุลชีววิทยา) พฤ(เช้า)หมู่ 8 IP: 124.157.245.94 วันที่: 29 มิถุนายน 2552 เวลา:17:29:46 น.  

 
ในสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ จะศึกษาด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับการนำคอมพิวเตอร์ไปจัดการกับข้อมูลข่าวสาร ทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ โดยจัดเป็นหมวดหมู่ได้ดังนี้คือ

เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมและซอฟต์แวร์
นักศึกษาจะได้ศึกษาถึง วิธีการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาต่างๆ ที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน ซึ่งภาษาที่ศึกษาหลักๆ ได้แก่ ภาษาซี ภาษาจาวา ภาษาพีเฮชพี และภาษาเอส คิวแอล เป็นต้น นอกจากนี้ยังศึกษาถึงหลักการเขียนโปรแกรมหรืออัลกอริธึม และศึกษาว่ามีโครงสร้างข้อมูลอะไรบ้างที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม รวมทั้งศึกษาว่า ภาษาที่ใช้ในการโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีกี่ประเภท แต่ละประเภทมีลักษณะเฉพาะอย่างไร แตกต่างกันอย่างไร และศึกษาวิธีการแปลงภาษาระดับสูงที่มนุษย์เข้าใจ ไปเป็นภาษาเครื่องที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ รวมทั้งศึกษาวิธีการเขียนออกแบบระบบ


เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับโครงสร้างของคอมพิวเตอร์และการควบคุมคอมพิวเตอร์
นักศึกษาจะได้ศึกษาว่า คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยวงจรไฟฟ้าแบบดิจิตอลอย่างไร และศึกษาว่าคอมพิวเตอร์มีโครงสร้างหรือสถาปัตยกรรมเป็นแบบใด และศึกษาว่านอกจากฮาร์ดแวร์แล้วคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีโปรแกรมพื้นฐาน ไว้ติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่า ระบบปฏิบัติการหรือโอเอส รวมทั้งศึกษาวงจรคอมพิวเตอร์เฉพาะงาน ที่เรียกว่าไมโครโปรเซสเซอร์ และการนำไมโครโปรเซสเซอร์ไปประยุกต์ใช้งานต่างๆ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยและเป็นที่กล่าวถึงกันอยู่ในปัจจุบันก็คือ ระบบสมองกลฝังตัวซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ที่ฝังตัวอยู่ในอุปกรณ์ต่างๆ เช่น รถยนต์ โทรทัศน์ วิทยุ ตู้เย็น และเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ เป็นต้น


เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสาร
นักศึกษาจะได้ศึกษาถึง พื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล โครงสร้างและโปรโตคอลของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ค) การนำคอมพิวเตอร์มาเชื่อมโยงกันเพื่อใช้งานร่วมกัน รวมทั้งศึกษาถึง การนำคอมพิวเตอร์ไปให้บริการต่างๆ ทางอินเตอร์เน็ต และเทคโนโลยีสารสนเทศบนเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา เช่น มือถือ เครื่องปาล์ม เป็นต้น


เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ในงานด้านกราฟิก มัลติเมเดีย
นักศึกษาจะได้ศึกษาถึง การประยุกต์คณิตศาสตร์ไปใช้กับการออกแบบชิ้นงานที่มีรูปร่างต่างๆ ซึ่งศาสตร์ด้านนี้รู้จักในชื่อของ ซอฟต์แวร์ประเภทแคด/แคม รวมทั้งการนำคอมพิวเตอร์ไปจัดการกับภาพและเสียง


เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ทำงานที่ชาญฉลาด
นักศึกษาจะได้ศึกษาถึง วิธีการสร้างระบบสารสนเทศที่มีความชาญฉลาด หรือศาสตร์ที่ชื่อว่าปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งจะศึกษาเกี่ยวกับระบบสารสนเทศที่เลียนแบบมนุษย์ เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ ระบบวิเคราะห์ภาพ ระบบวิเคราะห์เสียง เป็นต้น


เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
นักศึกษาจะได้ศึกษาถึงระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร ระบบสารสนเทศด้านการบัญชี ระบบพาณิชย์อีเล็กทรอนิกส์ หรือ อีคอมเมิร์ซ และลักษณะการลงทุนด้านธุรกิจไอที

เทคโนโลยีสารสนเทศต่างกับวิทยาการคอมพิวเตอร์อย่างไร


คำถามที่ถูกถามบ่อยๆ ข้อหนึ่งก็คือ เทคโนโลยีสารสนเทศต่างกับวิทยาการคอมพิวเตอร์อย่างไร ที่จริงแล้วสองสาขานี้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมาก โดยวิทยาการคอมพิวเตอร์นั้นถือกำเนิดมาก่อนเทคโนโลยีสารสนเทศ และจะเน้นด้านทฤษฏีเป็นหลัก โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับ โครงสร้างของเครื่องคอมพิวเตอร์ หลักการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ การผลิตซอฟต์แวร์ที่มีขนาดใหญ่ให้มีประสิทธิภาพ การนำคอมพิวเตอร์มาใช้กับงานชั้นสูงที่มีความซับซ้อนมาก จุดเด่นของวิทยาการคอมพิวเตอร์คือ เน้นศึกษาวิธีการทำให้คอมพิวเตอร์มีสมรรถนะที่สูงขึ้น และศึกษาวิธีการผลิตซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพเพื่อใช้งานคอมพิวเตอร์ให้เกิดประโยชน์สูงที่สุด

สำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศหรือไอทีนั้น ได้ถูกกล่าวถึงกันมากในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมานี้เองหลังจากอินเตอร์เน็ตเป็นที่แพร่หลาย โดยเทคโนโลยีสารสนเทศจะเน้นการประยุกต์ใช้งานคอมพิวเตอร์ในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานด้านธุรกิจ งานด้านการสื่อสาร งานในสายการผลิต งานด้านบริการ เป็นต้น เทคโนโลยีสารสนเทศนั้นค่อนข้างเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว โดยจะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา จุดเด่นของเทคโนโลยีสารสนเทศคือ เน้นศึกษาวิธีการนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้งาน จัดการเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารหรือสารสนเทศ ซึ่งรวมไปถึงเทคโนโลยีระบบเคลื่อนที่ เช่น มือถือ และการจัดการธุรกิจและการลงทุนที่เกี่ยวกับสารสนเทศ


เรียนจบแล้วสามารถทำงานที่ไหนได้บ้าง


หลังจบสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ นักศึกษาสามารถทำงานหรือศึกษาต่อระดับสูงได้ทั้งที่เป็นด้านเทคนิคและด้านการบริหารจัดการ โดยถ้าผู้สำเร็จการศึกษาสนใจด้านการบริหารจัดการนั้น การเรียนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมีข้อได้เปรียบกว่าสาขาอื่นๆ คือ นักศึกษาจะมีความรู้ในเชิงเทคนิคที่แน่นพอ โดยเฉพาะ องค์กรเกือบทุกองค์กรในปัจจุบันใช้ระบบสารสนเทศในการบริหารจัดการ ดังนั้นนักศึกษาที่จบจะมีพื้นฐานที่ดีต่อการประกอบอาชีพในบริษัทหรือ องค์กรที่นำระบบสารสนเทศมาใช้ในการจัดการ การจัดการที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ นอกจากนี้นักศึกษาสามารถเลือกเรียนเพิ่มเติมด้านการบริหารจัดการทำให้สามารถทำงานด้านการให้คำแนะนำแก่บริษัทต่างๆ ได้ นักศึกษาที่จบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจะสามารถทำงานได้ทั้งด้านเทคนิคและด้านการบริหารจัดการดังนี้

1. งานด้านเทคนิคหรืองานผู้เชี่ยวชาญ

ผู้ออกแบบและวิเคราะห์ระบบสารสนเทศในบริษัทหรือองค์กรต่างๆ
ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ และบำรุงรักษาระบบสารสนเทศ
ผู้เขียนโปรแกรมประยุกต์หรือโปรแกรมระบบงาน หรือที่เรียกว่าโปรแกรมเมอร์
ผู้ออกแบบสร้างและบำรุงรักษาระบบฐานข้อมูลซึ่งเป็นระบบสารสนเทศพื้นฐานในทุกองค์กร
ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ผู้ออกแบบและโปรแกรมระบบสารสนเทศอัจฉริยะ
ผู้ออกแบบและโปรแกรมระบบกราฟิกหรืออะนิเมชั่น
2. งานด้านการบริหารจัดการหรืองานให้คำปรึกษา

ผู้ประสานงานในโครงการต่างๆที่เกี่ยวกับระบบสารสนเทศ
ผู้จัดการแผนก ส่วนหรือฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กร
ผู้ให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแก่องค์กรต่างๆ
ผู้ประกอบธุรกิจหรือนักลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
//www.siit.tu.ac.th/thai/it.html
-ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลา และระยะทาง โดยการใช้ระบบโทรศัพท์ และอื่นๆ
- ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาลของแต่ละวัน


โดย: นางสาวสุจิตรา มหาฤทธิ์ 51040305111 คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษธุรกิจ หมู่01จันทร์บ่าย IP: 172.29.85.15, 202.29.5.62 วันที่: 30 มิถุนายน 2552 เวลา:15:45:36 น.  

 
3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)
ตอบ
1. ช่วยให้สามารถเก็บสารสนเทศไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้ทุกครั้งอย่างสะดวก
2. ช่วยให้สามารถจัดระบบอัตโนมัติ เพื่อการจัดเก็บประมวลผล และเรียกใช้สารสนเทศูล

ที่มา //61.19.218.122/jukkrit/IT_FOR_Lift/technology2.htm


โดย: นางสาวจันทร์ธิมา หงสระคู 51040240101 หมู่ 1 (วันจันทร์บ่าย) IP: 222.123.8.89 วันที่: 30 มิถุนายน 2552 เวลา:17:03:47 น.  

 
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย


ปัจจุบันผูบริหารในการศึกษาไดนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชและมีบทบาทความสำคัญในการบริหารจัดการศึกษากันมากขึ้น อาทิ เชน

1. การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการตัดสินใจ การตัดสินใจที่ดีจะต้องรวดเร็วและไมผิดพลาด และการตัดสินใจที่รวดเร็วและไมผิดพลาดนั้นจําเป็น ต้องมี ข้อมูลสารสนเทศที่ เป็นปัจจุบันไมล้าสมัย มีจํานวนมากเพียงพอ และสามารถนํามาใชไดง่ายและรวดเร็ว ซึ่งเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยเรื่องนี้เป็นอย่างดี ระบบสารสนเทศที่ผูบริหารนํามาใชในการตัดสินใจมีดังนี้
1.1 ระบบสารสนเทศสําหรับผูบริหาร (Executive Systems) หรือ “EIS” ในบางครั้งอาจเรียกว่า “ระบบสนับสนุนผู้บริหาร” (Executive Support Systems) หรือ “ESS” ระบบ EISเป็นระบบที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นมาเพื่อจัดเตรียมสารสนเทศที่เหมาะสมในการตัดสินใจของผูบริหารระดับสูงช่วยให้ ผู้บริหารสามารถทําความเข้าใจ ปัญหาอย่างชัดเจน และสามารถตัดสินใจเลือกแนวทางแกปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
1.2 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support) หรือ DSS ระบบ DSS เป็นระบบที่ ออกแบบและพัฒนาขึ้นมาเพื่อใชสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง ระบบDSS จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจของผูบริหารแตจะไมทําการตัดสินใจแทนผู้บริหาร โดยประมวลผลและนําเสนอข้อมูล ที่สําคัญต่อการตัดสินใจ ตลอดจนประเมินทางเลือกที่เหมาะสมภายใตข้อจํากัดของแต่ละสถานการณ เพื่อใหผู้บริหารใช
สติปญญา เหตุผล ประสบการณ และความคิดสร้างสรรคของตนวิเคราะหและเปรียบเทียบทางเลือกใหสอดคล้องกับปัญหาหรือสถานการณนั้นๆ

2. การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการบริหารงานทางไกล มีการนําสื่อหลายๆอย่าง เช่น โทรศัพทมือถือ โทรสาร วิทยุ โทรทัศน คอมพิวเตอร และเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคม มาใชในการติดต่อการสื่อสารและการบริหารงานทางไกลไดสะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลาและค่าใช้จายเป็น อันมาก ถึงแมจะอยูไกลกันก็สามารถทํางานร่วมกัน ประชุมร่วมกันไดโดยใช Teleconference เป็นต้น

3. การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการบริหารสถานศึกษา ปัจจุบันสถานศึกษาหลายแห่ง พัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อใชในการบริหารงานด้านต่างๆ ทั้งการบริหารงานวิชาการ การบริหารกิจการนักเรียน การบริหารงานบุคลากร การบริหารงานธุรการ การเงิน พัสดุ ครุภัณฑ การบริหารงานอาคารสถานที่และการการบริหารงานชุมชน

4. การสร้างเครือข่ายข้อมูล (Network) ด้วยระบบสารสนเทศ เครือข่ายนี้จะช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยเป็นอันมาก ปัจจุบันมี โครงการเครือข่ายคอมพิวเตอรโรงเรียนมัธยม (Schoolnet) ซึ่งเป็นโครงการ
ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หนึ่งในหลายโครงการที่เกิดขึ้นตามพระราชดําริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี โดยศูนยเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกสคอมพิวเตอรแห่งชาติ ไดนําแนวพระราชดําริมาดําเนินการร่วมกับหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดกรมสามัญศึกษา(เดิม)

5. การนํานวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการจัดการศึกษา ในปัจจุบันผูบริหาร หน่วยงานทางการศึกษานํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการจัดการศึกษา เป็นประโยชนต่อการเรียนรูหลายอย่าง อาทิเช่น
5.1 อินเตอร์เน็ต (Internet) เพื่อใชในการศึกษาหาข้อมูล ข่าวสารทางวิชาการและอื่นๆ จากที่ต่าง ๆ เป็นการส่งเสริมการเรียนรูตลอดชีวิต
5.2 จดหมายอิเล็กทรอนิกส (Electronic Mail หรือ E-mail) เพื่อใชรับส่งข่าวสาร ข้อมูล รูปภาพ และส่งงานใหครูอาจารยตรวจ
5.3 การจัดทํา Website ของสถานศึกษา เพื่อการเผยแพรขาวสารของสถานศึกษา เป็นการประชาสัมพันธระหว่างสถานศึกษากับ ผู้ที่เกี่ยวของ และบุคคลทั่วไป
5.4 การใชโปรแกรม SPSS เพื่อการวิเคราะหข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชนต่อการทําวิจัยในชั้นเรียนของครูอาจารย การทําวิจัยสถานบันของฝ่ายบริหาร และอื่น ๆ
5.5 การทํา PowerPoint เพื่อใชในการเรียนการสอนของครูอาจารย และใชเสนอผลงานของ ผู้บริหารสถานศึกษา
5.6 คอมพิวเตอรช่วยสอน (Computer Assisted Instruction หรือ CAI) เพื่อช่วยใหผู้เรียนเรียนรูด้วยตนเองจากบทเรียนสําเร็จรูปในคอมพิวเตอร
5.7 การเรียนรูผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส (Electronic Learning) หรือที่เรียกกันว่า
E-Learning เป็นการเรียนทางไกลที่ผูเรียนสามารถโตตอบกับผู้สอนได โดยอาศัยเครือข่าย อินเตอร์เน็ต จึงช่วยใหเรียนรู้ไดโดยไม่มีข้อจํากัดของเวลา ระยะทาง และสถานที่ โดยผูเรียนจะสามารถเรียนรูไดตลอดเวลาจึงตอบสนองศักยภาพการเรียนรูของผู้เรียนไดเป็นอย่างดี
5.8 ห้องเรียนอัจฉริยะ (Electronic Classroom หรือ E-Classroom) เป็นการจัดระบบบริหารจัดการ
ห้องเรียน ที่ใชการเรียนการสอนแบบ on-line และ ปฏิสัมพันธ (interactive) สามารถควบคุมและและตรวจสอบกิจกรรมของนักเรียนไดโดยตรงจากเครื่องคอมพิวเตอรของครูแบบ real time
5.9 หนังสืออิเล็กทรอนิกส (E-book) และ หองสมุดอิเล็กทรอนิกส (E-Library) เพื่อเสริม การเรียนการสอน และใหบริการค้นคว้าหาความรูแกนักเรียน ครูอาจารย และประชาชน
5.10 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ “ICT” (Information and Communication Technologies) เพื่อพัฒนาการศึกษา ปัจจุบันประเทศไทยโดยกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายสําคัญที่จะนําเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช เพื่อพัฒนาการสื่อสารในทุกด้าน โดยเฉพาะการช่วยพัฒนาครูอาจารย การช่วยใหเด็กและเยาวชนไดเข้าถึงแหล่งความรูและไดเรียนอย่างทัดเทียมกัน ตลอดจนการพัฒนาระบบบริหารจัดการให้ ฉับไว มีประสิทธิภาพสูงสุด
ที่มา //74.125.155.132/search?q=cache:y775IpfDgygJ:www.sahavicha.com/%3Fname%3Dfaq%26file%3Dreadfaq%26id%3D290+%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87+%E0%B8%88%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A2&cd=31&hl=th&ct=clnk&gl=th


โดย: นาย กีรติ จันทร์ชมภู (พฤหัสบดี ค่ำ) IP: 172.29.6.84, 202.29.5.62 วันที่: 2 กรกฎาคม 2552 เวลา:18:06:26 น.  

 
3.2ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)

1. ทางด้านธุรกิจ
2. ทางด้านการสื่อสาร



โดย: นาย กีรติ จันทร์ชมภู (พฤหัสบดี ค่ำ) IP: 172.29.6.84, 202.29.5.62 วันที่: 2 กรกฎาคม 2552 เวลา:18:08:34 น.  

 
แบบฝึกหัด
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการศึกษา อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศช่วยการเรียนการสอน การวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตร การแนะแนวและบริการ การทดสอบวัดผล การพัฒนาบุคลากร
เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเป็นที่นิยมประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน อาทิ
1. ระบบสารสนเทศช่วยในการเรียนการสอน
2. การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม
3. การประชุมทางไกลระบบจอภาพ
4. ระบบฐานข้อมูลการศึกษา
5. ระบบสารสนเทศเอกสาร


ที่มา //www.csjoy.com/story/net/tne.htm



3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)

1. ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาลของแต่ละวัน
2. เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสารสนเทศ เช่น การคำนวณตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน การจัดเรียงลำดับสารสนเทศ ฯลฯ
3. ช่วยให้สามารถเก็บสารสนเทศไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้ทุกครั้งอย่างสะดวก
4. ช่วยให้สามารถจัดระบบอัตโนมัติ เพื่อการจัดเก็บประมวลผล และเรียกใช้สารสนเทศูล
5. ช่วยในการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น
6. ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลา และระยะทาง โดยการใช้ระบบโทรศัพท์ และอื่นๆ

ที่มา //61.19.218.122/jukkrit/IT_FOR_Lift/technology2.htm





โดย: นางสาวอังสุมารินทร์ ลุนนิมิตร (ม.15 ศ. เช้า ) IP: 172.29.6.8, 58.137.131.62 วันที่: 3 กรกฎาคม 2552 เวลา:8:43:00 น.  

 
.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
=เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology หรือ IT) ได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว และมีบทบาทสำคัญในด้านต่างๆ อย่างกว้างขวาง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การบริการสังคม สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านการศึกษา ซึ่งการมีบทบาทสำคัญนี้อาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอทีนั้นเปรียบเหมือนเครื่องจักรที่สามารถรองรับข้อมูลข่าวสารมาทำการประมวลผล และการแสดงผลตามที่ต้องการได้รวดเร็ว โดยอาศัยองค์ประกอบอื่นๆ ช่วยในการจัดการ ได้แก่ โปรแกรมปฏิบัติการ โปรแกรมชุดคำสั่งต่างๆ และที่สำคัญคือ ผู้ที่จะตัดสินใจหรือสั่งการให้ทำงานได้ถูกต้องตามเป้าหมาย ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ใช้ ผู้บริหาร หรือนักเทคโนโลยีสารสนเทศโดยตรง
รัฐบาลไทยในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญ เล็งเห็นประโยชน์และคุณค่าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยใน พ.ศ. 2535 ได้แต่งตั้ง "คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ" ขึ้น โดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและให้มีรองนายกรัฐมนตรี ที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธาน มีคณะกรรมการประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง และผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาครัฐบาลและเอกชน และได้มอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการฯ มีหน้าที่เสนอแนะนโยบายและแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศต่อคณะรัฐมนตรี ทั้งในเรื่องการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างบรรยากาศ ให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการดำเนินงานด้านต่างๆ
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จัดทำแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานของรัฐ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการและการดำเนินการตามแผนดังกล่าวโดยแบ่งเป็น 4 ช่วงได้แก่

1 : การมีการใช้คอมพิวเตอร์ในงานทั่วไป (พ.ศ. 2536-2538)
2 : การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (พ.ศ. 2536-2539)
3 : การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานด้านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (พ.ศ. 2537-2540)
4 : การใช้คอมพิวเตอร์เต็มรูปแบบ (พ.ศ. 2540 เป็นต้นไป)
การดำเนินการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษานั้น ดำเนินการมาก่อนหน้านี้อีก คือเริ่มดันในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) ซึ่งในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งได้เห็นความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งในด้านการเรียนการสอนโดยมีหลักสูตรการศึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และวิชาการที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคม มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยการบริหารงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการลงทะเบียนนักศึกษา สำหรับกระทรวงศึกษาธิการนั้น ได้จัดตั้งศูนย์สารสนเทศขึ้นในปี พ.ศ. 2522 ในสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ทางด้านทบวงมหาวิทยาลัย ได้จัดประชุมระดับภูมิภาคอาเซียน เรื่องการศึกษาและระบบสารสนเทศภายใต้โครงการพัฒนาการศึกษาอาเซียนในเดือนพฤศจิกายน 2523 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการพัฒนาการสารสนเทศทางการศึกษาของประเทศ
พ.ศ. 2526 ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานและปฏิบัติการของระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา (ศ.ส.ษ.) ขึ้น โดยความเห็นชอบของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศให้ก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดให้มีข้อมูลและสารสนเทศที่มีคุณภาพทันสมัย และสอดคล้องกับความต้องการ และเพื่อเป็นศูนย์กลางในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสารสนเทศทางการศึกษาที่จำเป็นต่อการกำหนดนโยบายการวางแผนการศึกษาและการพัฒนาการศึกษาของประเทศ นอกจากนั้นยังมีหน้าที่กำหนดนิยามที่จำเป็นต้องใช้ในระบบสารสนเทศทางการศึกษา กำหนดมาตรฐานในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำแนกข้อมูลและจัดกระทำข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ ที่สามารถนำไปใช้ได้ตามความต้องการ รวมทั้งการกำหนดขอบข่ายการประสานงานของระบบสารสนเทศทางการศึกษา ตลอดจนส่งเสริมและเผยแพร่วิชาการ และการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศทางการศึกษาของประเทศ
ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) ได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งแก่เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาการศึกษาของชาติ ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 มีแผนงานหลักเพื่อพัฒนาการศึกษาอยู่ 9 แผนงานหลัก แผนงานหลักที่ 9 เป็นแผนเรื่องการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษา ในแผนงานหลักที่ 9 การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษานั้นได้มีแนวคิดว่า สำหรับระบบการศึกษาก็ได้ตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลและสารสนเทศเช่นเดียวกันโดยหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้องได้สนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การจัดเก็บ การให้บริการและแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศที่ใช้ในการกำหนดนโยบาย การวางแผนพัฒนาการศึกษา การบริหารการศึกษา และการจัดการศึกษาให้เป็นระบบ ที่มีรูปแบบและมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการเรียนการสอนทุกระดับการศึกษา
อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษาของหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง มีลักษณะเป็นไปอย่างอิสระทำให้ขาดความเป็นเอกภาพ ประกอบกับขาดความพร้อมทั้งด้านงบประมาณ บุคลากร และอุปกรณ์ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่อเชื่อมระบบซอฟแวร์ เป็นต้น ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ อันได้แก่ ปัญหาการผลิตข้อมูลปฐมภูมิที่มีข้อมูลไม่ครบถ้วนตามที่ผู้ต้องการใช้ ปัญหาการจัดเก็บข้อมูลทุติยภูมิ ปัญหาการประสานงานเครือข่าย รวมทั้งปัญหาการดำเนินงานสารสนเทศ ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ส่งผลไปถึงการจัดการศึกษาที่ต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินงาน
จากปัญหาข้างต้น จึงจำเป็นจะต้องพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา โดยมีพื้นฐานอยู่บนหลักการพัฒนาร่วมกันระหว่างหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถประสานการดำเนินงาน และการนำทรัพยากรมาใช้ในการบริหารการวางแผนการจัดการศึกษา และการฝึกอบรมร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติเป็นหน่วยประสานงานกลางในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา

ที่มา
//www.csjoy.com/story/net/tne.htm





โดย: นางสาว อุไรวรรณ หาญศึก 52240210235 ม.1 (พิเษศ) IP: 58.147.39.40 วันที่: 3 กรกฎาคม 2552 เวลา:10:34:43 น.  

 
3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)
=ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากมีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก การเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลา
พัฒนาการของเทคโนโลยีทำให้ชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนไปมาก ลองย้อนไปในอดีตโลกมีกำเนินมาประมาณ 4600 ล้านปี เชื่อกันว่าพัฒนาการตามธรรมชาติทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตถือกำเนินบนโลกประมาณ 500 ล้านปีที่แล้ว ยุคไดโนเสาร์มีอายุอยู่ในช่วง 200 ล้านปี สิ่งมีชีวิตที่เป็นเผ่าพันธุ์มนุษย์ ค่อย ๆ พัฒนามา คาดคะเนว่าเมื่อห้าแสนปีที่แล้วมนุษย์สามารถส่งสัญญาณท่าทางสื่อสารระหว่างกันและพัฒนามาเป็นภาษา มนุษย์สามารถสร้างตัวหนังสือ และจารึกไว้ตามผนึกถ้ำ เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่ามนุษย์ต้องใช้เวลานานพอสมควรในการพัฒนาตัวหนังสือที่ใช้แทนภาษาพูด และจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่าฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 500 ถึง 800 ปีที่แล้ว เทคโนโลยีเริ่มเข้ามาช่วยในการพิมพ์ ทำให้การสื่อสารด้วยข้อความและภาษาเพิ่มขึ้นมาก เทคโนโลยีพัฒนามาจนถึงการสื่อสารกัน โดยส่งข้อความเป็นเสียงทางสายโทรศัพท์ได้ประมาณร้อยกว่าปีที่แล้ว และเมื่อประมาณห้าสิบปีที่แล้ว ก็มีการส่งภาพโทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ทำให้มีการใช้สารสนเทศในรูปแบบข่าวสารมากขึ้น ในปัจจุบันมีสถานที่วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ แ ละสื่อต่าง ๆ ที่ใช้ในการกระจ่ายข่าวสาร มีการแพร่ภาพทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อรายงานเหตุการณ์สด เห็นได้ชัดว่าเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทอย่างมาก บทบาทของการพัฒนาเทคโนโลยีรวดเร็วขึ้นเมื่อมีการพัฒนาอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ จะเห็นได้ว่าในช่วงสี่ห้าปีที่ผ่านมาจะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เข้าไปเกี่ยวข้องให้เห็นอยู่ตลอดเวลา

ที่มา//web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/network/it/index.html#sect1


โดย: นางสาว อุไรวรรณ หาญศึก 52240210235 ม.1 (พิเษศ) IP: 58.147.39.40 วันที่: 3 กรกฎาคม 2552 เวลา:10:44:00 น.  

 
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย

ตอบ
การให้การศึกษาแก่ผู้ใช้ หมายถึงการพัฒนาผู้ใช้ให้รู้จักและเข้าใจในเรื่องทรัพยากรสารสนเทศ แหล่งสารสนเทศ คู่มือช่วยการค้นคว้าและกลยุทธ์การสืบค้นสารสนเทศ เพื่อให้ผู้ใช้บริการมีความรู้ความสามารถและเกิดทักษะในการสืบค้นสารสนเทศ ที่ต้องการได้ด้วยตนเอง การให้การศึกษาแก่ผู้ใช้ทำได้โดยการแนะนำ การปฐมนิเทศ และการสอน ( มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2533 ) การให้การศึกษาแก้ผู้ใช้จึงเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้บริการเพราะทำให้มีความรู้ ความเข้าใจในทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด แหล่งสารสนเทศ คู่มือช่วยการ
ค้นคว้า วิธืการค้นหาทรัพยากรสารสนเทศจนสามารถค้นคว้าด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นยังเป็นการให้การศึกษาด้วยตนเองตลอดชีวิต ผู้ใช้สามารถที่จะค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองแม้ว่าจะจบการศึกษาแล้วก็ตาม เพราะทักษะเหล่านี้จะติดตัวไปช่วยในการเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิต


1. ระดับพื้นฐาน ได้แก่การแนะนำและปฐมนิเทศการใช้ห้องสมุด ( Orientation ) ซึ่งจะทำให้ผู้
ใช้บริการทราบว่าห้องสมุดมีทรัพยากรสารสนเทศอะไรบ้าง มีกี่ประเภท บริการที่จัดให้มีอะไรบ้าง แหล่งที่จะค้นหาอยู่ที่ไหน รวมทั้งให้รายละเอียดของทรัพยากรสารสนเทศโดยสังเขป การปฐมนิเทศห้องสมุดจะรวมถึงการนำชมห้องสมุด ( Library Tour )
2. การสอน ( Instruction ) เป็นการสอนในรายละเอียดเพื่อให้ผู้ใช้บริการทราบรายละเอียดของ
ทรัพยากรและบริการแต่ละประเภทโดยละเอียด สอนให้เห็นประโยชน์ของทรัพยากรแต่ละประเภท ความสำคัญของทรัพยากรแต่ละประเภทมีความสำคัญต่อการศึกษาค้นคว้าอย่างไร สอนเทคนิควิธีการค้น การสืบค้นด้วยระบบอัตโนมัติ และการนำเทคนิควิธีการค้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า

วิธีดำเนินการให้การศึกษาแก่ผู้ใช้
1. การปฐมนิเทศการใช้ห้องสมุด ( Orientation ) ดำเนินการดังนี้
1. การ ปฐมนิเทศในห้องประชุม ได้แก่การจัดปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ในหอประชุมก่อนเปิดภาคการศึกษา โดยกระทำไปพร้อมกับการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท พร้อมกับแจกคู่มือนักศึกษาซึ่งมีเรื่องบริการต่างๆ ของสำนักหอสมุดกลางอยู่ด้วย โดยผู้บริหารสำนักหอสมุดกลาง หรือบรรณารักษ์ผู้ได้รับมอบหมายจะไปร่วมบรรยายการใช้ห้องสมุดและบริการ ในขณะที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยหน่วยงานอื่นๆ บรรยายเรื่องเกี่ยวกับการเรียนการสอนในแต่ละคณะ ทั้งนี้รวมถึงการปฐมนิเทศทางโทรทัศน์ช่อง 11
2. การนำชมห้องสมุด ( Library Tour ) การนำชมห้องสมุดเป็นวิธีการพื้นฐานที่ห้องสมุดต่างๆ ปฏิบัติกันโดยทั่วไปแม้ว่าจะเป็นวิธีที่เสียเวลามากก็ตาม วิธีที่ปฏิบัติกันโดยทั่วไป คือ

2.1 การพาเดินชม ( Walk-through Tour ) โดยการที่นำนักศึกษาใหม่ หรือนักศึกษาที่มีความประสงค์จะเข้าร่วมโครงการ คณาจารย์ แขกที่มาเยี่ยมหรือขอเข้าศึกษาและดูงานห้องสมุด เป็นต้น เดินชมอาคารห้องสมุด ฝ่าย งานต่างๆ การจัดทรัพยากรสารสนเทศ การบริการต่างๆ พร้อมทั้งบรรยายโดยบรรณารักษ์ผู้ทำหน้าที่นำชม หรือบรรณารักษ์เจ้าของหน่วยงานนั้นๆ เพื่อให้ผู้ใช้ได้ทำความคุ้นเคยกับการดำเนินงานของฝ่าย งาน ต่างๆ บรรณารักษ์ฝ่ายงานต่างๆ วิธีนี้ต้องมีการจัดแบ่งกลุ่มถ้าจำนวนผู้ใช้มีมากเกินไป สำนักหอสมุดกลาง จะประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้บริการแจ้งความประสงค์ ที่คณะกรรมการประชาสัมพันธ์ สำนักหอสมุดกลางในระหว่างต้นปีการศึกษา และระหว่างจัดโครงการงานสัปดาห์ห้องสมุดประจำปี และจัดตามโอกาสที่มีผู้มาเยี่ยมชมห้องสมุด

2.2 การแนะนำให้ช่วยตัวเอง ( Self-guide Tour ) เป็นวิธีการที่บรรณารักษ์จะให้คำแนะนำเป็นรายบุคคล และให้ความรู้ตามความต้องการ โดยการให้ผู้ใช้บริการดูจากแผนผัง ( chart ) หรือแนะนำให้ว่าทรัพยากรสารสนเทศ และบริการต่างๆ ที่ต้องการอยู่ที่ไหน แล้วแนะนำให้ช่วยตัวเองต่อไปวิธีนี้จะไม่เสียเวลามากนัก และไม่มีเสียงดังรบกวนผู้ใช้บริการคนอื่นๆ

2.3 การนำชมด้วยอุปกรณ์โสตทัศน์ ( Audiovisual Tour ) เป็นวิธีการนำชมอาคารสถานที่ห้องสมุด การจัดทรัพยากรสารสนเทศ การบริการต่าง ๆ โดยใช้วีดิทัศน์ ซึ่งจะนำผู้ใช้เข้าห้องประชุมแล้วฉายวีดิทัศน์ให้ดู

2.4 การนำชมด้วยอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ( Presentation ) เป็นวิธีการนำชมโดยใช้อุปกรณ์
คอมพิวเตอร์ ซึ่งใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มานำเสนอรายละเอียดต่างๆ ทำให้เรียกร้องความสนใจของผู้ใช้บริการได้มาก เพราะมีการนำเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ เช่น กราฟิค เทคนิคต่างๆ ที่ซับซ้อนและทันสมัยมาช่วยในการนำเสนอ


2. การส อน ( Instruction ) เป็นการบรรยายให้รายละเอียดต่างๆ ของห้องสมุด ทรัพยากรสารสนเทศ การจัดเก็บ แหล่งที่จัดเก็บและให้บริการ บริการต่างๆ ของห้องสมุดที่จัดให้บริการ วิธีการค้นคว้าเพื่อประกอบการเรียน วิธีการสืบค้นสารสนเทศออนไลน์ วิธีการเขียนรายงาน บรรณานุกรม เป็นต้น วิธีการสอนมีดังนี้

1. การสอนในชั้นเรียน บรรณารักษ์ของห้องสมุดจะได้รับเชิญจากอาจารย์ผู้สอนวิชาต่างๆ ไปบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับห้องสมุดและบริการต่างๆ เพื่อนักศึกษาสามารถใช้ห้องสมุดได้เอง หรือค้นหาหนังสือได้ในระดับหนึ่ง รวมทั้งแนะนำให้สอบถามบรรณารักษ์ในกรณีที่ไม่สามารถค้นหาทรัพยากรที่ต้องการ ซึ่งวิธีนี้เป็นการติดต่อระหว่างอาจารย์กับบรรณารักษ์โดยตรง แล้วทำบันทึกขออนุญาตผู้อำนวยการสำนักหอสมุดกลาง

2. การใช้คู่มือการใช้ห้องสมุด การใช้หนังสือคู่มือการใช้ห้องสมุด เป็นการแนะนำให้ผู้ใช้ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับห้องสมุดและบริการ ผู้ใช้สามารถศึกษารายละเอียดต่างๆ ได้ด้วยตนเอง นับเป็นวิธีการสอนวิธีหนึ่ง

3. การจัดโปรแกรมการสอนหรือใช้คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน สำนักหอสมุดกลางดำเนินการดังนี้

โครงการ ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับผู้ใช้บริการห้องสมุด รุ่นที่ 1 เรื่อง การสืบค้นสารสนเทศระบบ OPAC / WebOPAC สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยจัดเป็นโครงการต่อเนื่อง เพื่อให้บริการทางวิชาการแก่นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยมีวัตถุประสงค์ให้นักศึกษา สามารถสืบค้นสารสนเทศระบบ OPAC / WebOPAC ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อพัฒนาการบริการ ของสำนักหอสมุดกลางให้สอดคล้องกับนโยบายการประกันคุณภาพตามระบบมาตรฐาน ISO 9002 ตามที่สำนักหอสมุดกลางได้รับการรับรอง

ผู้รับผิดชอบโครงการนี้ คือ งานส่งเสริมการบริการและเผยแพร่ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศห้องสมุด ฝ่ายบริการผู้อ่าน และคณะกรรมการ OPAC Module สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง

สำหรับการฝึกอบรม แบ่งออกเป็นกลุ่มๆ ละ 16 คนวันละ 1 กลุ่ม ( ปฏิบัติการเครื่องละ 2 คน ) เนื้อหาที่สอนคือการสืบค้นสารสนเทศระบบ OPAC / WebOPAC และมีการประเมินผลหลังการฝึกอบรม ส่วนวิธีการเข้ารับการฝึกอบรมนั้นให้นักศึกษาลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เข้า รับการฝึกอบรม ณ สถานที่ ที่จัดไว้ โครงการนี้เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม - มิถุนายน 2544 วิธีการฝึกอบรมเป็นการบรรยายและฝึกปฏิบัติ พร้อมแจกเอก

ที่มา:
//www.lib.ru.ac.th/article/useredu.html

3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)

ตอบ
1.ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาลของแต่ละวัน
2.ช่วยในการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ที่มา:
//61.19.218.122/jukkrit/IT_FOR_Lift/technology2.htm


โดย: นางสาวสมฤทัย ราชอินทร์ หมู่01 (พิเศษ) เรียนพฤหัสบดีค่ำ รหัสนักศึกษา 52240501127 IP: 125.26.180.14 วันที่: 3 กรกฎาคม 2552 เวลา:15:32:00 น.  

 
ข้อ 3.1บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษาบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา
เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาประกอบด้วย
1. เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้ปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มีระบบมัลติมีเดีย (Multimedia)* ระบบวิดีโออนนดีมานด์ (Video on Demand) วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ (Video Teleconference) และอินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น ระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้
2. เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษาในการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการดำเนินการ การติดตามและประเมินผลคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในเรื่องนี้
3. เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคลเกือบทุกวงการ ทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เขียน ผู้เรียนกับผู้เรียน เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสาร และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร เทเลคอนเฟอเรนส์ และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

ที่มา //school.obec.go.th/uts_s/webpages/computer/info_edu.htm

ข้อ 3.2 ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในงานด้านต่างๆ
1.ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System หรือ GIS)
เป็นระบบที่นำข้อมูลเชิงพื้นที่มาใช้ในการจัดทำแผนที่ โดยข้อมูลเชิงพื้นที่นั้นสามารถใช้ระบุรูปร่างและตำแหน่งของสิ่งที่ปรากฏบนผิวโลกได้ เมื่อนำข้อมูลนี้มาเชื่อมโยงกับข้อมูลที่อธิบายรายละเอียดของสิ่งเหล่านี้ ก็จะได้ข้อมูลและสารสนเทศที่มีประโยชน์ในการตัดสินใจ การวางแผน ตลอดจนการปฏิบัติงานต่างๆที่เกี่ยวเนื่องกับพื้นที่ เช่น การวางแผน โครงการพัฒนาชายฝั่ง เป็นต้น
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะในการคำนวณสูง อุปกรณ์ที่สามารถนำข้อมูลพื้นที่ หรือข้อมูลพิกัดเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ได้อย่างรวดเร็ว อุปกรณ์สำหรับการแสดงผลเป็นแผนที่ได้อย่างระเอียดและแม่นยำสูง ซอฟต์แวร์ที่สามารถจัดการกับข้อมูลภูมิศาสตร์ การวิเคราะห์ การจำลองเหตุการณ์ และแสดงผลข้อมูลเป็นภาพแผนที่ได้อย่างสะดวก

2. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction หรือ CAI)
การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อผลิตสื่อการสอน ที่รวมภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง ข้อความและข้อมูลไว้ด้วยกัน ทำให้ผู้ใช้ได้รับข้อมูลและข่าวสารในรูปแบบต่างๆได้อย่างครบถ้วน และน่าสนใจมากกว่าเห็นแต่ข้อความ ระบบ CAI จะถูกสร้างขึ้นโดยการใช้ซอฟต์แวร์ที่มีความสามารถในการสร้างภาพ และความสามารถทางด้านมัลติมิเดีย เช่น Authorware เป็นต้น

3. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ(Office Automation System:OAS)
หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ใช้บุคลากรน้อยที่สุด โดยอาศัยเครื่องมือแบบอัตโนมัติและระบบสื่อสารเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างเครื่องมือเหล่านั้นเข้าด้วยกัน OAS มีจุดมุ่งหมายให้เป็นระบบที่ไม่ใช้กระดาษ ส่งข่าวสารถึงกันด้วยข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange) แทน ซึ่งมีรูปแบบในการใช้งาน

ที่มา //www.nrru.ac.th/learning/science/sc_007/03/unit1/it2.html


โดย: นางสาว ปาริสา แคนหนอง 52040332140 หมู่ 15 ศุกร์ (เช้า) IP: 125.26.233.139 วันที่: 4 กรกฎาคม 2552 เวลา:0:49:15 น.  

 
ข้อ 3.1เทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษา จะเห็นได้ว่ารูปแบบการเรียนการสอนในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เดิมในท้องถิ่นที่ห่างไกลความเจริญ เด็ก ๆ แทบจะไม่มีโอกาสได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร จนกลายเป็นผู้ด้อยโอกาสทางสังคม แต่ในปัจจุบันเริ่มมีระบบการถ่ายทอดสัญญาณผ่านดาวเทียม ทำให้เด็กเหล่านี้ได้รับโอกาสเรียนรู้ ถึงแม้จะยังไม่แพร่หลายนักก็ตาม สำหรับเด็กในชุมชนที่มีโอกาสได้ใช้คอมพิวเตอร์ นอกจากการใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลแล้ว ก็ยังสามารถแสวงหาความรู้จากแหล่งความรู้ที่มีอยู่อย่างมากมาย โดยการเชื่อมต่อกับเครือข่ายผ่านระบบอินเตอร์เน็ตที่มีการเชื่อมโยงกันอยู่ทั่วโลก นอกเหนือไปจากความรู้ที่จะได้เรียนในห้องเรียนที่มีครูผู้สอนเป็นผู้ถ่ายทอดเท่านั้น นอกจากนี้ ผู้สอนและผู้เรียนยังสามารถติดต่อถึงกันได้อย่างไร้ขีดจำกัดของเวลา โดยผ่านระบบบริการอินเทอร์เน็ตได้อีกทางหนึ่งด้วย การเรียนการสอนในโรงเรียนมีการนำคอมพิวเตอร์และเครื่องมือประกอบช่วยในการเรียนรู้ เช่น วีดิทัศน์ เครื่องฉายภาพ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์ช่วยจัดการศึกษา จัดตารางสอน คำนวณระดับคะแนน จัดชั้นเรียน ทำรายงานเพื่อให้ผู้บริหารได้ทราบถึงปัญหาและการแก้ปัญหาในโรงเรียน
ที่มา //util.pbj.ac.th/ict4/docLearnM4.asp#unit1_1

ข้อ 3.2 ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศนี้ก็สามารถที่จะสรุปได้ดังต่อไปนี้ครับ
• ข้อแรกนี้นะครับก็คือทำให้สามารถจัดเก็บสารสนเทศ ไว้ในรูปแบบที่สามารถใช้งานได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
• ในข้อนี้นะครับก็คือจะทำให้สามารถจัดระบบข่าวสารไว้ได้จำนวนมากครับของแต่ละวัน
• ส่วนในข้อนี้นะครับก็คือ เพื่อให้สามารถจัดเก็บ และเรียกใช้สารสนเทศนั้นนะครับให้เป็นไปอย่างอัตโนมัติครับ
• ในข้อนี้นะครับก็คือ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสารสนเทศครับ ก็ตัวอย่างเช่น ในการคำนวณที่มีความซับซ้อน ยุ่งยาก ให้สามารถทำได้ง่ายขึ้นนั่นเองครับ
• ใช้ข้อนี้นะครับก็คือจะช่วยในการสื่อสารครับให้สามารถทำได้อย่างรวดเร็วสะดวก ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของระยะทางหรือเรื่องของเวลาครับ อย่างเช่น การใช้งานโทรศัพท์ เป็นต้นครับ
• ในข้อนี้นะครับก็คือ ทำให้เราสามารถเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ที่มา
//www.kingsolder.com/computer/it/default.asp#2


โดย: นางสาว อนุสรา แคนหนอง 52040332139 หมู่เรียน 15 ศุกร์ เช้า IP: 125.26.233.139 วันที่: 4 กรกฎาคม 2552 เวลา:1:12:41 น.  

 
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

ความสำคัญ

ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology หรือ IT) ได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว และมีบทบาทสำคัญในด้านต่างๆ อย่างกว้างขวาง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การบริการสังคม สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านการศึกษา ซึ่งการมีบทบาทสำคัญนี้อาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอทีนั้นเปรียบเหมือนเครื่องจักรที่สามารถรองรับข้อมูลข่าวสารมาทำการประมวลผล และการแสดงผลตามที่ต้องการได้รวดเร็ว โดยอาศัยองค์ประกอบอื่นๆ ช่วยในการจัดการ ได้แก่ โปรแกรมปฏิบัติการ โปรแกรมชุดคำสั่งต่างๆ และที่สำคัญคือ ผู้ที่จะตัดสินใจหรือสั่งการให้ทำงานได้ถูกต้องตามเป้าหมาย ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ใช้ ผู้บริหาร และผู้ชำนาญการ หรือนักเทคโนโลยีสารสนเทศโดยตรง
รัฐบาลไทยในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญ เล็งเห็นประโยชน์และคุณค่าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยใน พ.ศ. 2535 ได้แต่งตั้ง "คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ" ขึ้น โดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและให้มีรองนายกรัฐมนตรี ที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธาน มีคณะกรรมการประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง และผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาครัฐบาลและเอกชน และได้มอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการฯ มีหน้าที่เสนอแนะนโยบายและแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศต่อคณะรัฐมนตรี ทั้งในเรื่องการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างบรรยากาศ ให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการดำเนินงานด้านต่างๆ
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จัดทำแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานของรัฐ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการและการดำเนินการตามแผนดังกล่าวโดยแบ่งเป็น 4 ช่วงได้แก่

ช่วงที่ 1 : การมีการใช้คอมพิวเตอร์ในงานทั่วไป (พ.ศ. 2536-2538)
ช่วงที่ 2 : การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (พ.ศ. 2536-2539)
ช่วงที่ 3 : การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานด้านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (พ.ศ. 2537-2540)
ช่วงที่ 4 : การใช้คอมพิวเตอร์เต็มรูปแบบ (พ.ศ. 2540 เป็นต้นไป)

การดำเนินการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษานั้น ดำเนินการมาก่อนหน้านี้อีก คือเริ่มดันในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) ซึ่งในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งได้เห็นความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งในด้านการเรียนการสอนโดยมีหลักสูตรการศึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และวิชาการที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคม มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยการบริหารงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการลงทะเบียนนักศึกษา สำหรับกระทรวงศึกษาธิการนั้น ได้จัดตั้งศูนย์สารสนเทศขึ้นในปี พ.ศ. 2522 ในสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ทางด้านทบวงมหาวิทยาลัย ได้จัดประชุมระดับภูมิภาคอาเซียน เรื่องการศึกษาและระบบสารสนเทศภายใต้โครงการพัฒนาการศึกษาอาเซียนในเดือนพฤศจิกายน 2523 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการพัฒนาการสารสนเทศทางการศึกษาของประเทศ
พ.ศ. 2526 ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานและปฏิบัติการของระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา (ศ.ส.ษ.) ขึ้น โดยความเห็นชอบของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศให้ก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดให้มีข้อมูลและสารสนเทศที่มีคุณภาพทันสมัย และสอดคล้องกับความต้องการ และเพื่อเป็นศูนย์กลางในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสารสนเทศทางการศึกษาที่จำเป็นต่อการกำหนดนโยบายการวางแผนการศึกษาและการพัฒนาการศึกษาของประเทศ นอกจากนั้นยังมีหน้าที่กำหนดนิยามที่จำเป็นต้องใช้ในระบบสารสนเทศทางการศึกษา กำหนดมาตรฐานในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำแนกข้อมูลและจัดกระทำข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ ที่สามารถนำไปใช้ได้ตามความต้องการ รวมทั้งการกำหนดขอบข่ายการประสานงานของระบบสารสนเทศทางการศึกษา ตลอดจนส่งเสริมและเผยแพร่วิชาการ และการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศทางการศึกษาของประเทศ
ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) ได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งแก่เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาการศึกษาของชาติ ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 มีแผนงานหลักเพื่อพัฒนาการศึกษาอยู่ 9 แผนงานหลัก แผนงานหลักที่ 9 เป็นแผนเรื่องการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษา ในแผนงานหลักที่ 9 การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษานั้นได้มีแนวคิดว่า สำหรับ ระบบการศึกษาก็ได้ตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลและสารสนเทศเช่นเดียวกันโดย หน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้องได้สนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อการศึกษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การจัดเก็บ การให้บริการและแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศที่ใช้ในการกำหนดนโยบาย การวางแผนพัฒนาการศึกษา การบริหารการศึกษา และการจัดการศึกษาให้เป็นระบบ ที่มีรูปแบบและมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการเรียนการสอนทุกระดับการศึกษา
อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษาของหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง มีลักษณะเป็นไปอย่างอิสระทำให้ขาดความเป็นเอกภาพ ประกอบกับขาดความพร้อมทั้งด้านงบประมาณ บุคลากร และอุปกรณ์ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่อเชื่อมระบบซอฟแวร์ เป็นต้น ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ อันได้แก่ ปัญหาการผลิตข้อมูลปฐมภูมิที่มีข้อมูลไม่ครบถ้วนตามที่ผู้ต้องการใช้ ปัญหาการจัดเก็บข้อมูลทุติยภูมิ ปัญหาการประสานงานเครือข่าย รวมทั้งปัญหาการดำเนินงานสารสนเทศ ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ส่งผลไปถึงการจัดการศึกษาที่ต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินงาน
จากปัญหาข้างต้น จึงจำเป็นจะต้องพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา โดยมีพื้นฐานอยู่บนหลักการพัฒนาร่วมกันระหว่างหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถประสานการดำเนินงาน และการนำทรัพยากรมาใช้ในการบริหารการวางแผนการจัดการศึกษา และการฝึกอบรมร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติเป็นหน่วยประสานงานกลาง ในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา

3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)
ตอบ -
ชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบันเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ที่มีบทบาทเพิ่มขึ้น ใน พ.ศ. 2528 กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย ให้วิชาคอมพิวเตอร์เป็นวิชาเลือกของหมวดวิชาคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย 2 รายวิชา คือ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และการเขียนโปรแกรมภาษาเบสิก ต่อมา พ.ศ. 2532 และ พ.ศ. 2541 ก็เปลี่ยนแปลงและเพิ่มเติมหลักสูตรทางด้านคอมพิวเตอร์อีกหลายวิชา และจัดกลุ่มอยู่ในวิชาอาชีพสาขาคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันมีโรงเรียนมัธยมศึกษาหลายแห่งทั่วประเทศเปิดการเรียนการสอนทางด้าน คอมพิวเตอร์ขึ้น
อุตสาหกรรมทางด้านคอมพิวเตอร์เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ในระยะปีหรือสองปีข้างหน้า ยากที่จะคาดเดาว่า จะมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อะไรใหม่ขึ้นมาอีกบ้าง ทั้งนี้เพราะขีดความ สามารถของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันสูงมาก โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับไมโครคอมพิวเตอร์ (micro computer )
มีผู้กล่าวว่าการปฏิวัติครั้งที่สามกำลังจะเกิดขึ้น โดยสิ่งที่เกิดใหม่นี้ ได้แก่การพัฒนาการทางด้านความคิด การตัดสินใจ โดยอาศัยหลักการของคอมพิวเตอร์ ในอนาคตอันใกล้ผู้จัดการเพียงคนเดียวอาจทำงานทั้งหมดโดยอาศัยระบบ คอมพิวเตอร์ควบคุมทำการควบคุมหุ่นยนต์คอมพิวเตอร์ และให้หุ่นยนต์ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรอีกต่อหนึ่ง


โดย: นางสาวมาริษา ดวงกุลสา เรียนเช้าวันพฤหัสบดี หมู่8 52040305128 ภาษาอังกฤษธุรกิจ IP: 1.1.1.18, 202.29.5.62 วันที่: 9 กรกฎาคม 2552 เวลา:23:00:25 น.  

 
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

ความสำคัญ

ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology หรือ IT) ได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว และมีบทบาทสำคัญในด้านต่างๆ อย่างกว้างขวาง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การบริการสังคม สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านการศึกษา ซึ่งการมีบทบาทสำคัญนี้อาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอทีนั้นเปรียบเหมือนเครื่องจักรที่สามารถรองรับข้อมูลข่าวสารมาทำการ ประมวลผล และการแสดงผลตามที่ต้องการได้รวดเร็ว โดยอาศัยองค์ประกอบอื่นๆ ช่วยในการจัดการ ได้แก่ โปรแกรมปฏิบัติการ โปรแกรมชุดคำสั่งต่างๆ และที่สำคัญคือ ผู้ที่จะตัดสินใจหรือสั่งการให้ทำงานได้ถูกต้องตามเป้าหมาย ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ใช้ ผู้บริหาร และผู้ชำนาญการ หรือนักเทคโนโลยีสารสนเทศโดยตรง
รัฐบาลไทยในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญ เล็งเห็นประโยชน์และคุณค่าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยใน พ.ศ. 2535 ได้แต่งตั้ง "คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ" ขึ้น โดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ และให้มีรองนายกรัฐมนตรี ที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธาน มีคณะกรรมการประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง และผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาครัฐบาลและเอกชน และได้มอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการฯ มีหน้าที่เสนอแนะนโยบายและแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศต่อคณะรัฐมนตรี ทั้งในเรื่องการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างบรรยากาศ ให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการดำเนินงานด้านต่างๆ
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จัดทำแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานของรัฐ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการและการดำเนินการตามแผนดังกล่าวโดยแบ่ง เป็น 4 ช่วงได้แก่

ช่วงที่ 1 : การมีการใช้คอมพิวเตอร์ในงานทั่วไป (พ.ศ. 2536-2538)
ช่วงที่ 2 : การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (พ.ศ. 2536-2539)
ช่วงที่ 3 : การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานด้านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (พ.ศ. 2537-2540)
ช่วงที่ 4 : การใช้คอมพิวเตอร์เต็มรูปแบบ (พ.ศ. 2540 เป็นต้นไป)

การดำเนินการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษานั้น ดำเนินการมาก่อนหน้านี้อีก คือเริ่มดันในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) ซึ่งในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งได้เห็นความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งในด้านการเรียนการสอนโดยมีหลักสูตรการศึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และวิชาการที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคม มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยการบริหารงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการลงทะเบียนนักศึกษา สำหรับกระทรวงศึกษาธิการนั้น ได้จัดตั้งศูนย์สารสนเทศขึ้นในปี พ.ศ. 2522 ในสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ทางด้านทบวงมหาวิทยาลัย ได้จัดประชุมระดับภูมิภาคอาเซียน เรื่องการศึกษาและระบบสารสนเทศภายใต้โครงการพัฒนาการศึกษาอาเซียนในเดือน พฤศจิกายน 2523 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการพัฒนาการสารสนเทศทางการศึกษาของประเทศ
พ.ศ. 2526 ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานและปฏิบัติการของระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา (ศ.ส.ษ.) ขึ้น โดยความเห็นชอบของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศให้ก้าวหน้าอย่างมี ประสิทธิภาพ โดยจัดให้มีข้อมูลและสารสนเทศที่มีคุณภาพทันสมัย และสอดคล้องกับความต้องการ และเพื่อเป็นศูนย์กลางในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสารสนเทศทางการศึกษาที่จำเป็นต่อการกำหนดนโยบายการวางแผนการศึกษาและการ พัฒนาการศึกษาของประเทศ นอกจากนั้นยังมีหน้าที่กำหนดนิยามที่จำเป็นต้องใช้ในระบบสารสนเทศทางการ ศึกษา กำหนดมาตรฐานในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำแนกข้อมูลและจัดกระทำข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ ที่สามารถนำไปใช้ได้ตามความต้องการ รวมทั้งการกำหนดขอบข่ายการประสานงานของระบบสารสนเทศทางการศึกษา ตลอดจนส่งเสริมและเผยแพร่วิชาการ และการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศทางการศึกษาของประเทศ
ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) ได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งแก่เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาการศึกษาของ ชาติ ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 มีแผนงานหลักเพื่อพัฒนาการศึกษาอยู่ 9 แผนงานหลัก แผนงานหลักที่ 9 เป็นแผนเรื่องการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษา ในแผนงานหลักที่ 9 การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษานั้นได้มีแนวคิดว่า สำหรับ ระบบการศึกษาก็ได้ตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลและสารสนเทศเช่นเดียวกันโดย หน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้องได้สนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อการศึกษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การจัดเก็บ การให้บริการและแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศที่ใช้ในการกำหนดนโยบาย การวางแผนพัฒนาการศึกษา การบริหารการศึกษา และการจัดการศึกษาให้เป็นระบบ ที่มีรูปแบบและมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการเรียนการสอนทุกระดับการศึกษา
อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษาของหน่วยงานทางการศึกษาและที่ เกี่ยวข้อง มีลักษณะเป็นไปอย่างอิสระทำให้ขาดความเป็นเอกภาพ ประกอบกับขาดความพร้อมทั้งด้านงบประมาณ บุคลากร และอุปกรณ์ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่อเชื่อมระบบซอฟแวร์ เป็นต้น ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ อันได้แก่ ปัญหาการผลิตข้อมูลปฐมภูมิที่มีข้อมูลไม่ครบถ้วนตามที่ผู้ต้องการใช้ ปัญหาการจัดเก็บข้อมูลทุติยภูมิ ปัญหาการประสานงานเครือข่าย รวมทั้งปัญหาการดำเนินงานสารสนเทศ ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ส่งผลไปถึงการจัดการศึกษาที่ต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่อง มือสำคัญในการดำเนินงาน
จากปัญหาข้างต้น จึงจำเป็นจะต้องพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา โดยมีพื้นฐานอยู่บนหลักการพัฒนาร่วมกันระหว่างหน่วยงานทางการศึกษาและที่ เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถประสานการดำเนินงาน และการนำทรัพยากรมาใช้ในการบริหารการวางแผนการจัดการศึกษา และการฝึกอบรมร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติเป็นหน่วยประสานงานกลาง ในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา
//learners.in.th/blog/mooddang/256435

3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)
ตอบ -
ชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบันเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ที่มีบทบาทเพิ่มขึ้น ใน พ.ศ. 2528 กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย ให้วิชาคอมพิวเตอร์เป็นวิชาเลือกของหมวดวิชาคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย 2 รายวิชา คือ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และการเขียนโปรแกรมภาษาเบสิก ต่อมา พ.ศ. 2532 และ พ.ศ. 2541 ก็เปลี่ยนแปลงและเพิ่มเติมหลักสูตรทางด้านคอมพิวเตอร์อีกหลายวิชา และจัดกลุ่มอยู่ในวิชาอาชีพสาขาคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันมีโรงเรียนมัธยมศึกษาหลายแห่งทั่วประเทศเปิดการเรียนการสอนทางด้าน คอมพิวเตอร์ขึ้น
อุตสาหกรรมทางด้านคอมพิวเตอร์เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ในระยะปีหรือสองปีข้างหน้า ยากที่จะคาดเดาว่า จะมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อะไรใหม่ขึ้นมาอีกบ้าง ทั้งนี้เพราะขีดความ สามารถของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันสูงมาก โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับไมโครคอมพิวเตอร์ (micro computer )
มีผู้กล่าวว่าการปฏิวัติครั้งที่สามกำลังจะเกิดขึ้น โดยสิ่งที่เกิดใหม่นี้ ได้แก่การพัฒนาการทางด้านความคิด การตัดสินใจ โดยอาศัยหลักการของคอมพิวเตอร์ ในอนาคตอันใกล้ผู้จัดการเพียงคนเดียวอาจทำงานทั้งหมดโดยอาศัยระบบ คอมพิวเตอร์ควบคุมทำการควบคุมหุ่นยนต์คอมพิวเตอร์ และให้หุ่นยนต์ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรอีกต่อหนึ่ง
//210.246.188.53/trang1kmc/modules.php?name=News&file=article&sid=620


โดย: นางสาวมาริษา ดวงกุลสา เรียนเช้าวันพฤหัสบดี หมู่8 52040305128 ภาษาอังกฤษธุรกิจ IP: 1.1.1.18, 202.29.5.62 วันที่: 9 กรกฎาคม 2552 เวลา:23:06:29 น.  

 
3.1

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาหมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านกานศึกษา อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลฐานข้อมูล
การพัฒนาระบบ สารสนเทศช่วยการเรียนการสอน
การวางแผน และ การบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตร การแนะแนวและบริการ การทดสอบวัดผล
การพัฒนาบุคคลากร

ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology หรือ IT) ได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว และมีบทบาทสำคัญในด้านต่างๆ อย่างกว้างขวาง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การบริการสังคม สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านการศึกษา ซึ่งการมีบทบาทสำคัญนี้อาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอทีนั้นเปรียบเหมือนเครื่องจักรที่สามารถรองรับข้อมูลข่าวสารมาทำการ ประมวลผล และการแสดงผลตามที่ต้องการได้รวดเร็ว โดยอาศัยองค์ประกอบอื่นๆ ช่วยในการจัดการ ได้แก่ โปรแกรมปฏิบัติการ โปรแกรมชุดคำสั่งต่างๆ และที่สำคัญคือ ผู้ที่จะตัดสินใจหรือสั่งการให้ทำงานได้ถูกต้องตามเป้าหมาย ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ใช้ ผู้บริหาร และผู้ชำนาญการ หรือนักเทคโนโลยีสารสนเทศโดยตรง
รัฐบาลไทยในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญ เล็งเห็นประโยชน์และคุณค่าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยใน พ.ศ. 2535 ได้แต่งตั้ง "คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ" ขึ้น โดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ และให้มีรองนายกรัฐมนตรี ที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธาน มีคณะกรรมการประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง และผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาครัฐบาลและเอกชน และได้มอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการฯ มีหน้าที่เสนอแนะนโยบายและแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศต่อคณะรัฐมนตรี ทั้งในเรื่องการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างบรรยากาศ ให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการดำเนินงานด้านต่างๆ
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จัดทำแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานของรัฐ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการและการดำเนินการตามแผนดังกล่าวโดยแบ่ง เป็น 4 ช่วงได้แก่

ช่วงที่ 1 : การมีการใช้คอมพิวเตอร์ในงานทั่วไป (พ.ศ. 2536-2538)
ช่วงที่ 2 : การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (พ.ศ. 2536-2539)
ช่วงที่ 3 : การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานด้านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (พ.ศ. 2537-2540)
ช่วงที่ 4 : การใช้คอมพิวเตอร์เต็มรูปแบบ (พ.ศ. 2540 เป็นต้นไป)

3.2

เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเป็นที่นิยมประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน เช่น

1.ระบบสารสนเทศช่วยในการเรียนการสอน
2.การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม
3.การประชุมทางไกลระบบจอภาพ
4.ระบบฐานข้อมูลการศึกษา
5.ระบบสารสนเทศเอกสาร

ที่มา : //www.csjoy.com/story/net/tne.htm


โดย: นส.สุกัญญา มาสาซ้าย นศ.หมู่8 พฤหัสเช้า IP: 172.29.168.202, 58.137.131.62 วันที่: 10 กรกฎาคม 2552 เวลา:15:33:51 น.  

 
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา



ความสำคัญ

ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology หรือ IT) ได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว และมีบทบาทสำคัญในด้านต่างๆ อย่างกว้างขวาง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การบริการสังคม สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านการศึกษา ซึ่งการมีบทบาทสำคัญนี้อาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอทีนั้นเปรียบเหมือนเครื่องจักรที่สามารถรองรับข้อมูลข่าวสารมาทำการประมวลผล และการแสดงผลตามที่ต้องการได้รวดเร็ว โดยอาศัยองค์ประกอบอื่นๆ ช่วยในการจัดการ ได้แก่ โปรแกรมปฏิบัติการ โปรแกรมชุดคำสั่งต่างๆ และที่สำคัญคือ ผู้ที่จะตัดสินใจหรือสั่งการให้ทำงานได้ถูกต้องตามเป้าหมาย ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ใช้ ผู้บริหาร และผู้ชำนาญการ หรือนักเทคโนโลยีสารสนเทศโดยตรง






รัฐบาลไทยในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญ เล็งเห็นประโยชน์และคุณค่าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยใน พ.ศ. 2535 ได้แต่งตั้ง "คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ" ขึ้น โดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและให้มีรองนายกรัฐมนตรี ที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธาน มีคณะกรรมการประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง และผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาครัฐบาลและเอกชน และได้มอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ซึ่ง

เป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการฯ มีหน้าที่เสนอแนะนโยบายและแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศต่อคณะรัฐมนตรี ทั้งในเรื่องการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างบรรยากาศ ให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการดำเนินงานด้านต่างๆ

//learners.in.th/blog/mooddang/256435


3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)

ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาลของแต่ละวัน
2. เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสารสนเทศ เช่น การคำนวณตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน การจัดเรียงลำดับสารสนเทศ ฯลฯ
3. ช่วยให้สามารถเก็บสารสนเทศไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้ทุกครั้งอย่างสะดวก
4. ช่วยให้สามารถจัดระบบอัตโนมัติ เพื่อการจัดเก็บประมวลผล และเรียกใช้สารสนเทศูล
5. ช่วยในการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น
6. ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลา และระยะทาง โดยการใช้ระบบโทรศัพท์ และอื่นๆ

//61.19.218.122/jukkrit/IT_FOR_Lift/technology2.htm


โดย: นส.บลสิการ ดอนโสภา หมู่เรียน 15 ศุกร์ เช้า รหัส 52041151217 IP: 113.53.166.202 วันที่: 11 กรกฎาคม 2552 เวลา:11:52:59 น.  

 
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบข้อ 3.1
บทบาทและความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการบริหารจัดการศึกษา

“ เทคโนโลยีสารสนเทศ ” (Information Technology) หรือเรียกกันย่อ ๆ ว่า“ IT ” หมายถึงเทคโนโลยีที่นํามาใชในการจัดเก็บขอมูล (Data) และประมวลผลขอมูลใหเกิดผลลัพธเปนสารสนเทศ (Information) เพื่อนําไปใชประโยชน

ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อมูลดิบที่เก็บรวบรวมมาจากที่ต่าง ๆ ซึ่งยังนําไปใชงานไมได
เช่น การสํารวจความคิดเห็น ความคิดเห็นที่ไดยังถือวาเปนขอมูลดิบ

สารสนเทศ (Information) หมายถึง ผลลัพธจากการประมวลผลขอมูลดิบซึ่งสามารถนําไปใชประโยชน เพื่อประกอบการทํางาน หรือเพิ่มประกอบการตัดสินใจของผูบริหาร เชน นําข้อมูล ความคิดเห็นแตละขอมาหาความถี่ เป็นค่าร้อยละเพื่อเปรียบเทียบดูว่า ข้อคิดเห็นขอใดมีผูเลือกมากนอย เป็นร้อยละเท่าไร ค่ารอยละดัง
กล่าว ก็จัดเป็นสารสนเทศ เป็นต้น

การจัดเก็บข้อมูลและการจัดการข้อมูล ต้องการความถูกตองและรวดเร็วสูง จึงจําเปนตองนําเทคโนโลยีคอมพิวเตอรเขามาช่วย และ เมื่อตองการใหผูที่อยูหางไกลกันสามารถใชประโยชนจากสารสนเทศดังกลาว ก็จําเปนตองนําเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมเขามาชวยอีกทางหนึ่งดวย
ในวงการบริหารงานตางๆ โดยเฉพาะในวงการบริหารงานธุรกิจ ซึ่งมีการแขงขันกันสูง ไดนําเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการบริหารกันเปนอันมากเพื่อใหการบริหารมีประสิทธิภาพสูง ประหยัดสุดและไดประสิทธิผลสูงสุด
ผู้บริหารยุคใหมทุกระดับจึงนํานวัตกรรมเทคโนโลยีมาใชกันอยางแพรหลาย เชน ผู้บริหารระดับสูงในองค์การ จะนําสารสนเทศที่แสดงภาพรวมของการดําเนินงาน ความสัมพันธระหวางองคการและสิ่งแวดลอม สรุปปญหาและแนวทางแก้ไข มาใชเพื่อประกอบการแก้ปญหา และการตัดสินใจกําหนดกลยุทธขององคการ สวนผูบริหารระดับกลางจะนําสารสนเทศ ที่ ประมวลงานประจําป มาใชจัดแผนงบประมาณ และกําหนดแผนการดําเนินงานของหนวยงาน สําหรับ ผู้บริหารงานระดับต้นจะใชเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยในการควบคุมการปฏิบัติงาน เป็นต้น
ปัจจุบันผูบริหารในการศึกษาไดนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชและมีบทบาทความสำคัญในการบริหารจัดการศึกษากันมากขึ้น อาทิ เชน

1. การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการตัดสินใจ การตัดสินใจที่ดีจะต้องรวดเร็วและไมผิดพลาด และการตัดสินใจที่รวดเร็วและไมผิดพลาดนั้นจําเป็น ต้องมี ข้อมูลสารสนเทศที่ เป็นปัจจุบันไมล้าสมัย มีจํานวนมากเพียงพอ และสามารถนํามาใชไดง่ายและรวดเร็ว ซึ่งเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยเรื่องนี้เป็นอย่างดี ระบบสารสนเทศที่ผูบริหารนํามาใชในการตัดสินใจมีดังนี้
1.1 ระบบสารสนเทศสําหรับผูบริหาร (Executive Systems) หรือ “EIS” ในบางครั้งอาจเรียกว่า “ระบบสนับสนุนผู้บริหาร” (Executive Support Systems) หรือ “ESS” ระบบ EISเป็นระบบที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นมาเพื่อจัดเตรียมสารสนเทศที่เหมาะสมในการตัดสินใจของผูบริหารระดับสูงช่วยให้ ผู้บริหารสามารถทําความเข้าใจ ปัญหาอย่างชัดเจน และสามารถตัดสินใจเลือกแนวทางแกปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
1.2 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support) หรือ DSS ระบบ DSS เป็นระบบที่ ออกแบบและพัฒนาขึ้นมาเพื่อใชสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง ระบบDSS จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจของผูบริหารแตจะไมทําการตัดสินใจแทนผู้บริหาร โดยประมวลผลและนําเสนอข้อมูล ที่สําคัญต่อการตัดสินใจ ตลอดจนประเมินทางเลือกที่เหมาะสมภายใตข้อจํากัดของแต่ละสถานการณ เพื่อใหผู้บริหารใช
สติปญญา เหตุผล ประสบการณ และความคิดสร้างสรรคของตนวิเคราะหและเปรียบเทียบทางเลือกใหสอดคล้องกับปัญหาหรือสถานการณนั้นๆ

2. การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการบริหารงานทางไกล มีการนําสื่อหลายๆอย่าง เช่น โทรศัพทมือถือ โทรสาร วิทยุ โทรทัศน คอมพิวเตอร และเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคม มาใชในการติดต่อการสื่อสารและการบริหารงานทางไกลไดสะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลาและค่าใช้จายเป็น อันมาก ถึงแมจะอยูไกลกันก็สามารถทํางานร่วมกัน ประชุมร่วมกันไดโดยใช Teleconference เป็นต้น

3. การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการบริหารสถานศึกษา ปัจจุบันสถานศึกษาหลายแห่ง พัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อใชในการบริหารงานด้านต่างๆ ทั้งการบริหารงานวิชาการ การบริหารกิจการนักเรียน การบริหารงานบุคลากร การบริหารงานธุรการ การเงิน พัสดุ ครุภัณฑ การบริหารงานอาคารสถานที่และการการบริหารงานชุมชน

4. การสร้างเครือข่ายข้อมูล (Network) ด้วยระบบสารสนเทศ เครือข่ายนี้จะช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยเป็นอันมาก ปัจจุบันมี โครงการเครือข่ายคอมพิวเตอรโรงเรียนมัธยม (Schoolnet) ซึ่งเป็นโครงการ
ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หนึ่งในหลายโครงการที่เกิดขึ้นตามพระราชดําริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี โดยศูนยเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกสคอมพิวเตอรแห่งชาติ ไดนําแนวพระราชดําริมาดําเนินการร่วมกับหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดกรมสามัญศึกษา(เดิม)

5. การนํานวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการจัดการศึกษา ในปัจจุบันผูบริหาร หน่วยงานทางการศึกษานํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการจัดการศึกษา เป็นประโยชนต่อการเรียนรูหลายอย่าง อาทิเช่น
5.1 อินเตอร์เน็ต (Internet) เพื่อใชในการศึกษาหาข้อมูล ข่าวสารทางวิชาการและอื่นๆ จากที่ต่าง ๆ เป็นการส่งเสริมการเรียนรูตลอดชีวิต
5.2 จดหมายอิเล็กทรอนิกส (Electronic Mail หรือ E-mail) เพื่อใชรับส่งข่าวสาร ข้อมูล รูปภาพ และส่งงานใหครูอาจารยตรวจ
5.3 การจัดทํา Website ของสถานศึกษา เพื่อการเผยแพรขาวสารของสถานศึกษา เป็นการประชาสัมพันธระหว่างสถานศึกษากับ ผู้ที่เกี่ยวของ และบุคคลทั่วไป
5.4 การใชโปรแกรม SPSS เพื่อการวิเคราะหข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชนต่อการทําวิจัยในชั้นเรียนของครูอาจารย การทําวิจัยสถานบันของฝ่ายบริหาร และอื่น ๆ
5.5 การทํา PowerPoint เพื่อใชในการเรียนการสอนของครูอาจารย และใชเสนอผลงานของ ผู้บริหารสถานศึกษา
5.6 คอมพิวเตอรช่วยสอน (Computer Assisted Instruction หรือ CAI) เพื่อช่วยใหผู้เรียนเรียนรูด้วยตนเองจากบทเรียนสําเร็จรูปในคอมพิวเตอร
5.7 การเรียนรูผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส (Electronic Learning) หรือที่เรียกกันว่า
E-Learning เป็นการเรียนทางไกลที่ผูเรียนสามารถโตตอบกับผู้สอนได โดยอาศัยเครือข่าย อินเตอร์เน็ต จึงช่วยใหเรียนรู้ไดโดยไม่มีข้อจํากัดของเวลา ระยะทาง และสถานที่ โดยผูเรียนจะสามารถเรียนรูไดตลอดเวลาจึงตอบสนองศักยภาพการเรียนรูของผู้เรียนไดเป็นอย่างดี
5.8 ห้องเรียนอัจฉริยะ (Electronic Classroom หรือ E-Classroom) เป็นการจัดระบบบริหารจัดการ
ห้องเรียน ที่ใชการเรียนการสอนแบบ on-line และ ปฏิสัมพันธ (interactive) สามารถควบคุมและและตรวจสอบกิจกรรมของนักเรียนไดโดยตรงจากเครื่องคอมพิวเตอรของครูแบบ real time
5.9 หนังสืออิเล็กทรอนิกส (E-book) และ หองสมุดอิเล็กทรอนิกส (E-Library) เพื่อเสริม การเรียนการสอน และใหบริการค้นคว้าหาความรูแกนักเรียน ครูอาจารย และประชาชน
5.10 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ “ICT” (Information and Communication Technologies) เพื่อพัฒนาการศึกษา ปัจจุบันประเทศไทยโดยกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายสําคัญที่จะนําเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช เพื่อพัฒนาการสื่อสารในทุกด้าน โดยเฉพาะการช่วยพัฒนาครูอาจารย การช่วยใหเด็กและเยาวชนไดเข้าถึงแหล่งความรูและไดเรียนอย่างทัดเทียมกัน ตลอดจนการพัฒนาระบบบริหารจัดการให้ ฉับไว มีประสิทธิภาพสูงสุด

ดังนั้น นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ก็เข้ามามีบทบาทมากขึ้น โนเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุคของการปฎิรูปการศึกษา ผู้บริหารการศึกษายุคใหมต่างก็นํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชประโยชนใน การบริหารจัดการศึกษา เพื่อใหประสบผลสําเร็จในการพัฒนาคุณภาพผูเรียนไดอย่างมีประสิทธิภาพสูง

(อ้างอิง จากเอกสารชุดวิชา การจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ : สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ 2546. เผยแพรโดย ดร.ไพฑูรย ศรีฟ้า //www.paitoon-srifa.com/moodle )

ที่มา//www.sahavicha.com/?name=faq&file=readfaq&id=290


โดย: นายบดินทร์ แก้วมีศรี หมู่ 01(พิเศษ) 52240210214 สาธารณสุขศาสตร์ IP: 113.53.166.202 วันที่: 11 กรกฎาคม 2552 เวลา:12:59:12 น.  

 
3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)
ตอบข้อ 3.2

ชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบันเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ที่มีบทบาทเพิ่มขึ้น ใน พ.ศ. 2528 กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย ให้วิชาคอมพิวเตอร์เป็นวิชาเลือกของหมวดวิชาคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย 2 รายวิชา คือ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และการเขียนโปรแกรมภาษาเบสิก ต่อมา พ.ศ. 2532 และ พ.ศ. 2541 ก็เปลี่ยนแปลงและเพิ่มเติมหลักสูตรทางด้านคอมพิวเตอร์อีกหลายวิชา และจัดกลุ่มอยู่ในวิชาอาชีพสาขาคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันมีโรงเรียนมัธยมศึกษาหลายแห่งทั่วประเทศเปิดการเรียนการสอนทางด้านคอมพิวเตอร์ขึ้นมีความจำเป็นเพียงไรที่จะต้องให้เยาวชนไทยเรียนรู้คอมพิวเตอร์ เมื่อมีวิชาพื้นฐานอื่น ๆ มากมายที่ต้องจะเรียน เหตุผลสำคัญสำหรับตอบคำถามนี้ คือปัจจุบันความเป็นอยู่ของมนุษย์ในสังคม มีความเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ข้อมูลมากขึ้น ตั้งแต่เช้าตรู่ นักเรียนอาจถูกปลุกด้วยเสียงนาฬิกาอิเล็กทรอนิกส์แบบดิจิทัล และเริ่มวันใหม่ด้วยการฟังวิทยุที่ส่งกระจายเสียงทั่วประเทศพร้อมกัน รับประทานอาหารเช้าที่ปรุงจากเครื่องครัวที่ควบคุมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เสร็จแล้วรีบมาโรงเรียน ก้าวเข้าลิฟต์ที่ควบคุมการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ ติดต่อกับเพื่อนด้วยโทรศัพท์มือถือ คิดเลขด้วยเครื่องคิดเลขทันสมัย เรียนพิมพ์เอกสารด้วยโปรแกรมประมวลคำ ตกเย็นกลับบ้านดูทีวีแล้วเข้านอนกิจวัตรในชีวิตประจำวันของมนุษย์เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีมากขึ้น จนดูเหมือนว่าเทคโนโลยีเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งของมนุษย์ ซึ่งทำให้มนุษย์ได้รับความสะดวกสบายและประสบความสำเร็จในงานด้านต่าง ๆ เช่น เทคโนโลยีทางด้านอวกาศ ทางด้านการผลิต ทางด้านอุตสาหกรรม และทางด้านพาณิชยกรรม

อุตสาหกรรมทางด้านคอมพิวเตอร์เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ในระยะปีหรือสองปีข้างหน้า ยากที่จะคาดเดาว่า จะมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อะไรใหม่ขึ้นมาอีกบ้าง ทั้งนี้เพราะขีดความ สามารถของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันสูงมาก โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับไมโครคอมพิวเตอร์ (micro computer )

ที่มา//210.246.188.53/trang1kmc/modules.php?name=News&file=article&sid=620


โดย: นายบดินทร์ แก้วมีศรี หมู่ 01(พิเศษ) 52240210214 สาธารณสุขศาสตร์ IP: 113.53.166.202 วันที่: 11 กรกฎาคม 2552 เวลา:13:12:07 น.  

 
1. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
ความสำคัญ
ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology หรือ IT) ได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว และมีบทบาทสำคัญในด้านต่างๆ อย่างกว้างขวาง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การบริการสังคม สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านการศึกษา ซึ่งการมีบทบาทสำคัญนี้อาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอทีนั้นเปรียบเหมือนเครื่องจักรที่สามารถรองรับข้อมูลข่าวสารมาทำการประมวลผล และการแสดงผลตามที่ต้องการได้รวดเร็ว โดยอาศัยองค์ประกอบอื่นๆ ช่วยในการจัดการ ได้แก่ โปรแกรมปฏิบัติการ โปรแกรมชุดคำสั่งต่างๆ และที่สำคัญคือ ผู้ที่จะตัดสินใจหรือสั่งการให้ทำงานได้ถูกต้องตามเป้าหมาย ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ใช้ ผู้บริหาร และผู้ชำนาญการ หรือนักเทคโนโลยีสารสนเทศโดยตรง
รัฐบาลไทยในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญ เล็งเห็นประโยชน์และคุณค่าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยใน พ.ศ. 2535 ได้แต่งตั้ง "คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ" ขึ้น โดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและให้มีรองนายกรัฐมนตรี ที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธาน มีคณะกรรมการประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง และผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาครัฐบาลและเอกชน และได้มอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการฯ มีหน้าที่เสนอแนะนโยบายและแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศต่อคณะรัฐมนตรี ทั้งในเรื่องการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างบรรยากาศ ให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการดำเนินงานด้านต่างๆ
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จัดทำแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานของรัฐ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการและการดำเนินการตามแผนดังกล่าวโดยแบ่งเป็น 4 ช่วงได้แก่
ช่วงที่ 1 : การมีการใช้คอมพิวเตอร์ในงานทั่วไป (พ.ศ. 2536-2538)
ช่วงที่ 2 : การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (พ.ศ. 2536-2539)
ช่วงที่ 3 : การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานด้านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (พ.ศ. 2537-2540)
ช่วงที่ 4 : การใช้คอมพิวเตอร์เต็มรูปแบบ (พ.ศ. 2540 เป็นต้นไป)
การดำเนินการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษานั้น ดำเนินการมาก่อนหน้านี้อีก คือเริ่มดันในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) ซึ่งในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งได้เห็นความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งในด้านการเรียนการสอนโดยมีหลักสูตรการศึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และวิชาการที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคม มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยการบริหารงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการลงทะเบียนนักศึกษา สำหรับกระทรวงศึกษาธิการนั้น ได้จัดตั้งศูนย์สารสนเทศขึ้นในปี พ.ศ. 2522 ในสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ทางด้านทบวงมหาวิทยาลัย ได้จัดประชุมระดับภูมิภาคอาเซียน เรื่องการศึกษาและระบบสารสนเทศภายใต้โครงการพัฒนาการศึกษาอาเซียนในเดือนพฤศจิกายน 2523 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการพัฒนาการสารสนเทศทางการศึกษาของประเทศ
พ.ศ. 2526 ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานและปฏิบัติการของระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา (ศ.ส.ษ.) ขึ้น โดยความเห็นชอบของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศให้ก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดให้มีข้อมูลและสารสนเทศที่มีคุณภาพทันสมัย และสอดคล้องกับความต้องการ และเพื่อเป็นศูนย์กลางในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสารสนเทศทางการศึกษาที่จำเป็นต่อการกำหนดนโยบายการวางแผนการศึกษาและการพัฒนาการศึกษาของประเทศ นอกจากนั้นยังมีหน้าที่กำหนดนิยามที่จำเป็นต้องใช้ในระบบสารสนเทศทางการศึกษา กำหนดมาตรฐานในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำแนกข้อมูลและจัดกระทำข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ ที่สามารถนำไปใช้ได้ตามความต้องการ รวมทั้งการกำหนดขอบข่ายการประสานงานของระบบสารสนเทศทางการศึกษา ตลอดจนส่งเสริมและเผยแพร่วิชาการ และการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศทางการศึกษาของประเทศ
ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) ได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งแก่เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาการศึกษาของชาติ ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 มีแผนงานหลักเพื่อพัฒนาการศึกษาอยู่ 9 แผนงานหลัก แผนงานหลักที่ 9 เป็นแผนเรื่องการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษา ในแผนงานหลักที่ 9 การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษานั้นได้มีแนวคิดว่า สำหรับระบบการศึกษาก็ได้ตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลและสารสนเทศเช่นเดียวกันโดยหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้องได้สนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การจัดเก็บ การให้บริการและแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศที่ใช้ในการกำหนดนโยบาย การวางแผนพัฒนาการศึกษา การบริหารการศึกษา และการจัดการศึกษาให้เป็นระบบ ที่มีรูปแบบและมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการเรียนการสอนทุกระดับการศึกษา
อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษาของหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง มีลักษณะเป็นไปอย่างอิสระทำให้ขาดความเป็นเอกภาพ ประกอบกับขาดความพร้อมทั้งด้านงบประมาณ บุคลากร และอุปกรณ์ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่อเชื่อมระบบซอฟแวร์ เป็นต้น ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ อันได้แก่ ปัญหาการผลิตข้อมูลปฐมภูมิที่มีข้อมูลไม่ครบถ้วนตามที่ผู้ต้องการใช้ ปัญหาการจัดเก็บข้อมูลทุติยภูมิ ปัญหาการประสานงานเครือข่าย รวมทั้งปัญหาการดำเนินงานสารสนเทศ ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ส่งผลไปถึงการจัดการศึกษาที่ต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินงาน
จากปัญหาข้างต้น จึงจำเป็นจะต้องพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา โดยมีพื้นฐานอยู่บนหลักการพัฒนาร่วมกันระหว่างหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถประสานการดำเนินงาน และการนำทรัพยากรมาใช้ในการบริหารการวางแผนการจัดการศึกษา และการฝึกอบรมร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติเป็นหน่วยประสานงานกลาง ในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา
//learners.in.th/blog/mooddang/256435


2. ความก้าวหน้าด้านการแพทย์ยุคไอซีที

ความสามารถของเทคโนโลยีเครือข่าย ช่วยให้โรงพยาบาลสามารถทำการผ่าตัดจากระยะไกล (telerobotic operation) เพื่อให้บริการด้านสาธารณะสุข เข้าถึงทุกท้องถิ่นในประเทศ จากการที่ประเทศแคนาดา ได้ทำการผ่านตัดจากระยะไกลแบบข้ามประเทศ ภายใต้โครงการสาธารณะสุขทางไกล (telemedicine) ได้เป็นผลสำเร็จเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ซึ่งได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพ ของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการแพทย์ ที่ก้าวหน้าที่สุดในปัจจุบัน โดยมีเทคโนโลยีด้านเครือข่ายและเทคโนโลยีด้านหุ่นยนต์ (Robotics) ที่นำมาผสมผสานกัน เพื่อบริการด้านการแพทย์ที่มีคุณภาพแก่ประชาชนในการผ่าตัดนั้นความเที่ยงตรงและความนิ่งของศัลยแพทย์นั้น นับเป็นหัวใจสำคัญในการทำการผ่าตัดผู้ป่วย แต่ในปัจจุบันนี้ ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านการแพทย์ ที่ได้ใช้เทคโนโลยีเครือข่ายประกอบกับหุ่นยนต์ เข้ามาเพื่อที่จะช่วยให้แพทย์ทำงานได้สะดวกยิ่งขึ้น
//learners.in.th/blog/nancycy/137155
Home
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการดำเนินธุรกิจ
Posted June 14th, 2007 by webmaster
in BusinessInformation System
ผู้บริหารต้องคำนึงถึงความสอดคล้องระหว่างการดำเนินธุรกิจ เทคโนโลยี และการตัดสินใจที่ต้องกระทำอย่างสอดคล้องกัน ปัจจุบันผู้บริหารต้องประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศและ การตัดสินใจทางธุรกิจขององค์การอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดวิสัยทัศน์และสร้างโอกาสในการประยุกต์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์การ ผู้บริหารต้องสามารถจัดการกับเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถแบ่งเป็นขั้นตอนดังต่อไปนี้

1.กำหนดกลยุทธ์องค์การที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
2.กำหนดแผนงานสารสนเทศระดับองค์การและการดำเนินงาน กำหนดโครงสร้างหน่วยงานสารสนเทศ
3.พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสารสนเทศขององค์การ (information system infrastructure) เช่น อุปกรณ์ ชุดคำสั่ง ระบบสื่อสารและจัดการข้อมูล ระบบสำนักงานอัตโนมัติ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการกำหนดศักยภาพ และความยืดหยุ่นในการปรับตัวของงานสารสนเทศในองค์การ
4.กำหนดรายละเอียดการดำเนินงานภายในองค์การ พร้อมทั้งพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีความพร้อมต่อการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดแก่องค์การ
ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ
ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ (business information systems) เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนให้การดำเนินงานของธุรกิจให้ดำเนินการอย่างเป็นระบบ โดยถูกออกแบบและพัฒนาให้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ทางธุรกิจ ตลอดจนช่วยส่งเสริมให้ทั้งองค์การ สามารถประสานงานและใช้ข้อมูลร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในระดับปฏิบัติงานและระดับบริหาร โดยเราสามารถจำแนกระบบสารสนเทศตามหน้าที่ทางธุรกิจตามหน้าที่ดังต่อไปนี้

1.ระบบสารสนเทศด้านการบัญชี (accounting information system)
2.ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (financial information system)
3.ระบบสารสนเทศด้านการตลาด (marketing information system)
4.ระบบสารสนเทศด้านการผลิตและการดำเนินงาน (production and operations information system)
5.ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคล (human resource information system)
//mfatix.com/home/node/21


โดย: นางสาวอรนิดา วรินทรา ม. 15 ศ. เช้า IP: 114.128.20.220 วันที่: 12 กรกฎาคม 2552 เวลา:13:12:03 น.  

 
1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
การพัฒนาระบบการเรียนการสอนโดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ทำให้รูปแบบการเรียนการสอนเปลี่ยนไป ช่วยอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ช่วยทำให้ขยายเวลาเรียนได้ทั้ง 24 ชั่วโมง ขยายสถานที่เรียนเป็นที่ใดก็ได้ ขยายขอบเขตเนื้อหาไม่มีจำกัด ขยายการเรียนการสอนได้ตามความต้องการของผู้เรียน” (รศ.ยืน ภู่วรวรรณ และผศ.สมชาย นำประเสริฐชัย.2546,26)

โดยสรุปแล้วการเรียนการสอนในโรงเรียนมีการนำคอมพิวเตอร์และเครื่องมือประกอบช่วยในการเรียนรู้ เช่น วีดิทัศน์ เครื่องฉายภาพ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ Computer Aided-Instruction (CAI) Multimedia (CD-ROM) มีการจัดตั้งเครือข่ายเพื่อการศึกษาหลายเครือข่าย เช่น เครือข่ายไทยสาร เครือข่าย School Net เป็นต้น รวมทั้งใช้คอมพิวเตอร์ในงานบริหารของโรงเรียน เช่นจัดทำประวัตินักเรียน ประวัติครูอาจารย์ จัดตารางสอน คำนวณระดับคะแนน จัดชั้นเรียน ทำรายงานเพื่อให้ผู้บริหารได้ทราบถึงปัญหาและการแก้ไขปัญหาในโรงเรียน

2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)

1.ใช้ในการค้นหาข้อมูลที่เราไม่รู้และทำสื่อเผื่อแพร่งานนิทัศการณ์

2.ช่วยจัดระบบห้องสมุด

ที่มา//www.school.net.th/library/create-web/10000/generality/10000-12784.html


โดย: นางสาววิภายี กลางหล้า ม. 15 ศุกร์เช้า IP: 192.168.1.102, 125.26.167.254 วันที่: 13 กรกฎาคม 2552 เวลา:14:39:01 น.  

 
1.1 เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
การพัฒนาระบบการเรียนการสอนโดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ทำให้รูปแบบการเรียนการสอนเปลี่ยนไป ช่วยอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ช่วยทำให้ขยายเวลาเรียนได้ทั้ง 24 ชั่วโมง ขยายสถานที่เรียนเป็นที่ใดก็ได้ ขยายขอบเขตเนื้อหาไม่มีจำกัด ขยายการเรียนการสอนได้ตามความต้องการของผู้เรียน” (รศ.ยืน ภู่วรวรรณ และผศ.สมชาย นำประเสริฐชัย.2546,26)

โดยสรุปแล้วการเรียนการสอนในโรงเรียนมีการนำคอมพิวเตอร์และเครื่องมือประกอบช่วยในการเรียนรู้ เช่น วีดิทัศน์ เครื่องฉายภาพ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ Computer Aided-Instruction (CAI) Multimedia (CD-ROM) มีการจัดตั้งเครือข่ายเพื่อการศึกษาหลายเครือข่าย เช่น เครือข่ายไทยสาร เครือข่าย School Net เป็นต้น รวมทั้งใช้คอมพิวเตอร์ในงานบริหารของโรงเรียน เช่นจัดทำประวัตินักเรียน ประวัติครูอาจารย์ จัดตารางสอน คำนวณระดับคะแนน จัดชั้นเรียน ทำรายงานเพื่อให้ผู้บริหารได้ทราบถึงปัญหาและการแก้ไขปัญหาในโรงเรียน

2.2 ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)

1.ใช้ในการค้นหาข้อมูลที่เราไม่รู้และทำสื่อเผื่อแพร่งานนิทัศการณ์

2.ช่วยจัดระบบห้องสมุด

ที่มา//www.school.net.th/library/create-web/10000/generality/10000-12784.html

2.2


โดย: นางสาว ธัญธิตา แก้วมีศรี ม. 15 ศุกร์เช้า 52041151239 IP: 192.168.1.104, 125.26.167.254 วันที่: 13 กรกฎาคม 2552 เวลา:14:44:02 น.  

 
แบบฝึกหัด
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย

ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากมีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก การเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลา
พัฒนาการของเทคโนโลยีทำให้ชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนไปมาก ลองย้อนไปในอดีตโลกมีกำเนินมาประมาณ 4600 ล้านปี เชื่อกันว่าพัฒนาการตามธรรมชาติทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตถือกำเนินบนโลกประมาณ 500 ล้านปีที่แล้ว ยุคไดโนเสาร์มีอายุอยู่ในช่วง 200 ล้านปี สิ่งมีชีวิตที่เป็นเผ่าพันธุ์มนุษย์ ค่อย ๆ พัฒนามา คาดคะเนว่าเมื่อห้าแสนปีที่แล้วมนุษย์สามารถส่งสัญญาณท่าทางสื่อสารระหว่างกันและพัฒนามาเป็นภาษา มนุษย์สามารถสร้างตัวหนังสือ และจารึกไว้ตามผนึกถ้ำ เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่ามนุษย์ต้องใช้เวลานานพอสมควรในการพัฒนาตัวหนังสือที่ใช้แทนภาษาพูด และจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่าฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 500 ถึง 800 ปีที่แล้ว เทคโนโลยีเริ่มเข้ามาช่วยในการพิมพ์ ทำให้การสื่อสารด้วยข้อความและภาษาเพิ่มขึ้นมาก เทคโนโลยีพัฒนามาจนถึงการสื่อสารกัน โดยส่งข้อความเป็นเสียงทางสายโทรศัพท์ได้ประมาณร้อยกว่าปีที่แล้ว และเมื่อประมาณห้าสิบปีที่แล้ว ก็มีการส่งภาพโทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ทำให้มีการใช้สารสนเทศในรูปแบบข่าวสารมากขึ้น ในปัจจุบันมีสถานที่วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ แ ละสื่อต่าง ๆ ที่ใช้ในการกระจ่ายข่าวสาร มีการแพร่ภาพทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อรายงานเหตุการณ์สด เห็นได้ชัดว่าเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทอย่างมาก บทบาทของการพัฒนาเทคโนโลยีรวดเร็วขึ้นเมื่อมีการพัฒนาอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ จะเห็นได้ว่าในช่วงสี่ห้าปีที่ผ่านมาจะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เข้าไปเกี่ยวข้องให้เห็นอยู่ตลอดเวลา

ที่มา //web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/network/it/index.html




โดย: นางสาว สุทธิดา ยาโย 52240210217 วัน พฤหัสฯค่ำ หมู่ 1 IP: 119.42.82.8 วันที่: 15 กรกฎาคม 2552 เวลา:15:07:18 น.  

 
3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)

1. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประกอบด้วยผลิตภัณฑ์หลักที่มากไปกว่า
โทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ เช่น แฟกซ์, อินเทอร์เน็ต, อีเมล์ ทำให้สารสนเทศเผยแพร่หรือ
กระจายออกไปในที่ต่าง ๆ ได้สะดวก
2. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีผลให้การใช้งานด้านต่าง ๆ มีราคาถูกลง

ที่มา //star.itdestination.com/resources/tech/showtech.php?00007


โดย: นางสาว สุทธิดา ยาโย 52240210217 วัน พฤหัสฯค่ำ หมู่ 1 IP: 119.42.82.8 วันที่: 15 กรกฎาคม 2552 เวลา:15:12:46 น.  

 
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ บทบาทและความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการบริหารจัดการศึกษา

“ เทคโนโลยีสารสนเทศ ” (Information Technology) หรือเรียกกันย่อ ๆ ว่า“ IT ” หมายถึงเทคโนโลยีที่นํามาใชในการจัดเก็บขอมูล (Data) และประมวลผลขอมูลใหเกิดผลลัพธเปนสารสนเทศ (Information) เพื่อนําไปใชประโยชน

ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อมูลดิบที่เก็บรวบรวมมาจากที่ต่าง ๆ ซึ่งยังนําไปใชงานไมได
เช่น การสํารวจความคิดเห็น ความคิดเห็นที่ไดยังถือวาเปนขอมูลดิบ

สารสนเทศ (Information) หมายถึง ผลลัพธจากการประมวลผลขอมูลดิบซึ่งสามารถนําไปใชประโยชน เพื่อประกอบการทํางาน หรือเพิ่มประกอบการตัดสินใจของผูบริหาร เชน นําข้อมูล ความคิดเห็นแตละขอมาหาความถี่ เป็นค่าร้อยละเพื่อเปรียบเทียบดูว่า ข้อคิดเห็นขอใดมีผูเลือกมากนอย เป็นร้อยละเท่าไร ค่ารอยละดัง
กล่าว ก็จัดเป็นสารสนเทศ เป็นต้น

การจัดเก็บข้อมูลและการจัดการข้อมูล ต้องการความถูกตองและรวดเร็วสูง จึงจําเปนตองนําเทคโนโลยีคอมพิวเตอรเขามาช่วย และ เมื่อตองการใหผูที่อยูหางไกลกันสามารถใชประโยชนจากสารสนเทศดังกลาว ก็จําเปนตองนําเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมเขามาชวยอีกทางหนึ่งดวย
ในวงการบริหารงานตางๆ โดยเฉพาะในวงการบริหารงานธุรกิจ ซึ่งมีการแขงขันกันสูง ไดนําเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการบริหารกันเปนอันมากเพื่อใหการบริหารมีประสิทธิภาพสูง ประหยัดสุดและไดประสิทธิผลสูงสุด
ผู้บริหารยุคใหมทุกระดับจึงนํานวัตกรรมเทคโนโลยีมาใชกันอยางแพรหลาย เชน ผู้บริหารระดับสูงในองค์การ จะนําสารสนเทศที่แสดงภาพรวมของการดําเนินงาน ความสัมพันธระหวางองคการและสิ่งแวดลอม สรุปปญหาและแนวทางแก้ไข มาใชเพื่อประกอบการแก้ปญหา และการตัดสินใจกําหนดกลยุทธขององคการ สวนผูบริหารระดับกลางจะนําสารสนเทศ ที่ ประมวลงานประจําป มาใชจัดแผนงบประมาณ และกําหนดแผนการดําเนินงานของหนวยงาน สําหรับ ผู้บริหารงานระดับต้นจะใชเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยในการควบคุมการปฏิบัติงาน เป็นต้น
ปัจจุบันผูบริหารในการศึกษาไดนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชและมีบทบาทความสำคัญในการบริหารจัดการศึกษากันมากขึ้น อาทิ เชน

1. การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการตัดสินใจ การตัดสินใจที่ดีจะต้องรวดเร็วและไมผิดพลาด และการตัดสินใจที่รวดเร็วและไมผิดพลาดนั้นจําเป็น ต้องมี ข้อมูลสารสนเทศที่ เป็นปัจจุบันไมล้าสมัย มีจํานวนมากเพียงพอ และสามารถนํามาใชไดง่ายและรวดเร็ว ซึ่งเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยเรื่องนี้เป็นอย่างดี ระบบสารสนเทศที่ผูบริหารนํามาใชในการตัดสินใจมีดังนี้
1.1 ระบบสารสนเทศสําหรับผูบริหาร (Executive Systems) หรือ “EIS” ในบางครั้งอาจเรียกว่า “ระบบสนับสนุนผู้บริหาร” (Executive Support Systems) หรือ “ESS” ระบบ EISเป็นระบบที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นมาเพื่อจัดเตรียมสารสนเทศที่เหมาะสมในการตัดสินใจของผูบริหารระดับสูงช่วยให้ ผู้บริหารสามารถทําความเข้าใจ ปัญหาอย่างชัดเจน และสามารถตัดสินใจเลือกแนวทางแกปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
1.2 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support) หรือ DSS ระบบ DSS เป็นระบบที่ ออกแบบและพัฒนาขึ้นมาเพื่อใชสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง ระบบDSS จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจของผูบริหารแตจะไมทําการตัดสินใจแทนผู้บริหาร โดยประมวลผลและนําเสนอข้อมูล ที่สําคัญต่อการตัดสินใจ ตลอดจนประเมินทางเลือกที่เหมาะสมภายใตข้อจํากัดของแต่ละสถานการณ เพื่อใหผู้บริหารใช
สติปญญา เหตุผล ประสบการณ และความคิดสร้างสรรคของตนวิเคราะหและเปรียบเทียบทางเลือกใหสอดคล้องกับปัญหาหรือสถานการณนั้นๆ

2. การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการบริหารงานทางไกล มีการนําสื่อหลายๆอย่าง เช่น โทรศัพทมือถือ โทรสาร วิทยุ โทรทัศน คอมพิวเตอร และเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคม มาใชในการติดต่อการสื่อสารและการบริหารงานทางไกลไดสะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลาและค่าใช้จายเป็น อันมาก ถึงแมจะอยูไกลกันก็สามารถทํางานร่วมกัน ประชุมร่วมกันไดโดยใช Teleconference เป็นต้น

3. การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการบริหารสถานศึกษา ปัจจุบันสถานศึกษาหลายแห่ง พัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อใชในการบริหารงานด้านต่างๆ ทั้งการบริหารงานวิชาการ การบริหารกิจการนักเรียน การบริหารงานบุคลากร การบริหารงานธุรการ การเงิน พัสดุ ครุภัณฑ การบริหารงานอาคารสถานที่และการการบริหารงานชุมชน

4. การสร้างเครือข่ายข้อมูล (Network) ด้วยระบบสารสนเทศ เครือข่ายนี้จะช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยเป็นอันมาก ปัจจุบันมี โครงการเครือข่ายคอมพิวเตอรโรงเรียนมัธยม (Schoolnet) ซึ่งเป็นโครงการ
ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หนึ่งในหลายโครงการที่เกิดขึ้นตามพระราชดําริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี โดยศูนยเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกสคอมพิวเตอรแห่งชาติ ไดนําแนวพระราชดําริมาดําเนินการร่วมกับหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดกรมสามัญศึกษา(เดิม)

5. การนํานวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการจัดการศึกษา ในปัจจุบันผูบริหาร หน่วยงานทางการศึกษานํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการจัดการศึกษา เป็นประโยชนต่อการเรียนรูหลายอย่าง อาทิเช่น
5.1 อินเตอร์เน็ต (Internet) เพื่อใชในการศึกษาหาข้อมูล ข่าวสารทางวิชาการและอื่นๆ จากที่ต่าง ๆ เป็นการส่งเสริมการเรียนรูตลอดชีวิต
5.2 จดหมายอิเล็กทรอนิกส (Electronic Mail หรือ E-mail) เพื่อใชรับส่งข่าวสาร ข้อมูล รูปภาพ และส่งงานใหครูอาจารยตรวจ
5.3 การจัดทํา Website ของสถานศึกษา เพื่อการเผยแพรขาวสารของสถานศึกษา เป็นการประชาสัมพันธระหว่างสถานศึกษากับ ผู้ที่เกี่ยวของ และบุคคลทั่วไป
5.4 การใชโปรแกรม SPSS เพื่อการวิเคราะหข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชนต่อการทําวิจัยในชั้นเรียนของครูอาจารย การทําวิจัยสถานบันของฝ่ายบริหาร และอื่น ๆ
5.5 การทํา PowerPoint เพื่อใชในการเรียนการสอนของครูอาจารย และใชเสนอผลงานของ ผู้บริหารสถานศึกษา
5.6 คอมพิวเตอรช่วยสอน (Computer Assisted Instruction หรือ CAI) เพื่อช่วยใหผู้เรียนเรียนรูด้วยตนเองจากบทเรียนสําเร็จรูปในคอมพิวเตอร
5.7 การเรียนรูผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส (Electronic Learning) หรือที่เรียกกันว่า
E-Learning เป็นการเรียนทางไกลที่ผูเรียนสามารถโตตอบกับผู้สอนได โดยอาศัยเครือข่าย อินเตอร์เน็ต จึงช่วยใหเรียนรู้ไดโดยไม่มีข้อจํากัดของเวลา ระยะทาง และสถานที่ โดยผูเรียนจะสามารถเรียนรูไดตลอดเวลาจึงตอบสนองศักยภาพการเรียนรูของผู้เรียนไดเป็นอย่างดี
5.8 ห้องเรียนอัจฉริยะ (Electronic Classroom หรือ E-Classroom) เป็นการจัดระบบบริหารจัดการ
ห้องเรียน ที่ใชการเรียนการสอนแบบ on-line และ ปฏิสัมพันธ (interactive) สามารถควบคุมและและตรวจสอบกิจกรรมของนักเรียนไดโดยตรงจากเครื่องคอมพิวเตอรของครูแบบ real time
5.9 หนังสืออิเล็กทรอนิกส (E-book) และ หองสมุดอิเล็กทรอนิกส (E-Library) เพื่อเสริม การเรียนการสอน และใหบริการค้นคว้าหาความรูแกนักเรียน ครูอาจารย และประชาชน
5.10 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ “ICT” (Information and Communication Technologies) เพื่อพัฒนาการศึกษา ปัจจุบันประเทศไทยโดยกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายสําคัญที่จะนําเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช เพื่อพัฒนาการสื่อสารในทุกด้าน โดยเฉพาะการช่วยพัฒนาครูอาจารย การช่วยใหเด็กและเยาวชนไดเข้าถึงแหล่งความรูและไดเรียนอย่างทัดเทียมกัน ตลอดจนการพัฒนาระบบบริหารจัดการให้ ฉับไว มีประสิทธิภาพสูงสุด

ดังนั้น นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ก็เข้ามามีบทบาทมากขึ้น โนเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุคของการปฎิรูปการศึกษา ผู้บริหารการศึกษายุคใหมต่างก็นํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชประโยชนใน การบริหารจัดการศึกษา เพื่อใหประสบผลสําเร็จในการพัฒนาคุณภาพผูเรียนไดอย่างมีประสิทธิภาพสูง

(อ้างอิง จากเอกสารชุดวิชา การจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ : สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ 2546. เผยแพรโดย ดร.ไพฑูรย ศรีฟ้า //www.paitoon-srifa.com/moodle )

ที่มา//www.sahavicha.com/?name=faq&file=readfaq&id=290





โดย: โดยน.ส อังคณา สุทธิแพทย์52240210209 หมู่01(พิเศษ)พฤ.ค่ำสาขา สาธารสุขศาสตร์ IP: 119.42.82.8 วันที่: 15 กรกฎาคม 2552 เวลา:15:43:43 น.  

 
3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)
ตอบ 1. ช่วยในการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลา และระยะทาง โดยการใช้ระบบโทรศัพท์ และอื่นๆ

ที่มา//61.19.218.122/jukkrit/IT_FOR_Lift/technology2.htm






โดย: โดยน.ส อังคณา สุทธิแพทย์52240210209หมู่01(พิเศษ)พฤ.ค่ำสาขา สาธารสุขศาสตร์ IP: 119.42.82.8 วันที่: 15 กรกฎาคม 2552 เวลา:16:02:11 น.  

 
การพัฒนาระบบการเรียนการสอนโดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ทำให้รูปแบบการเรียนการสอนเปลี่ยนไป ช่วยอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ช่วยทำให้ขยายเวลาเรียนได้ทั้ง 24 ชั่วโมง ขยายสถานที่เรียนเป็นที่ใดก็ได้ ขยายขอบเขตเนื้อหาไม่มีจำกัด ขยายการเรียนการสอนได้ตามความต้องการของผู้เรียน” (รศ.ยืน ภู่วรวรรณ และผศ.สมชาย นำประเสริฐชัย.2546,26)

โดยสรุปแล้วการเรียนการสอนในโรงเรียนมีการนำคอมพิวเตอร์และเครื่องมือประกอบช่วยในการเรียนรู้ เช่น วีดิทัศน์ เครื่องฉายภาพ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ Computer Aided-Instruction (CAI) Multimedia (CD-ROM) มีการจัดตั้งเครือข่ายเพื่อการศึกษาหลายเครือข่าย เช่น เครือข่ายไทยสาร เครือข่าย School Net เป็นต้น รวมทั้งใช้คอมพิวเตอร์ในงานบริหารของโรงเรียน เช่นจัดทำประวัตินักเรียน ประวัติครูอาจารย์ จัดตารางสอน คำนวณระดับคะแนน จัดชั้นเรียน ทำรายงานเพื่อให้ผู้บริหารได้ทราบถึงปัญหาและการแก้ไขปัญหาในโรงเรียน

2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)

1.ใช้ในการค้นหาข้อมูลที่เราไม่รู้และทำสื่อเผื่อแพร่งานนิทัศการณ์

2.ช่วยจัดระบบห้องสมุด

ที่มา//www.school.net.th/library/create-web/10000/generality/10000-12784.html
1 ช่วยในด้านการประกอบธุรกิจส่วนตัวเช่นเปิดร้านinternet
2 สามารถช่วยในการติดต่อสื่อสารกันทางไกลได้อย่างรวดเร็วและสะดวก


โดย: นาย โชคชัย เชื้อมแก้ว ม.15 ศุกร์เช้า IP: 124.157.149.104 วันที่: 18 กรกฎาคม 2552 เวลา:12:39:17 น.  

 
ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากมีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก การเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลา

1.การสื่อสารทาไกลผ่านดาวเทียม
2.การรู้ข่าวจากโทรศัพท์มือถือ


โดย: นายนนทนันท์ ดวงพิมพ์ ม.15 ศ. เช้า IP: 124.157.149.104 วันที่: 18 กรกฎาคม 2552 เวลา:12:46:57 น.  

 
3.1) “ เทคโนโลยีสารสนเทศ ” (Information Technology) หรือเรียกกันย่อ ๆ ว่า“ IT ” หมายถึงเทคโนโลยีที่นํามาใชในการจัดเก็บขอมูล (Data) และประมวลผลขอมูลใหเกิดผลลัพธเปนสารสนเทศ (Information) เพื่อนําไปใชประโยชน

ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อมูลดิบที่เก็บรวบรวมมาจากที่ต่าง ๆ ซึ่งยังนําไปใชงานไมได
เช่น การสํารวจความคิดเห็น ความคิดเห็นที่ไดยังถือวาเปนขอมูลดิบ

สารสนเทศ (Information) หมายถึง ผลลัพธจากการประมวลผลขอมูลดิบซึ่งสามารถนําไปใชประโยชน เพื่อประกอบการทํางาน หรือเพิ่มประกอบการตัดสินใจของผูบริหาร เชน นําข้อมูล ความคิดเห็นแตละขอมาหาความถี่ เป็นค่าร้อยละเพื่อเปรียบเทียบดูว่า ข้อคิดเห็นขอใดมีผูเลือกมากนอย เป็นร้อยละเท่าไร ค่ารอยละดัง
กล่าว ก็จัดเป็นสารสนเทศ เป็นต้น

การจัดเก็บข้อมูลและการจัดการข้อมูล ต้องการความถูกตองและรวดเร็วสูง จึงจําเปนตองนําเทคโนโลยีคอมพิวเตอรเขามาช่วย และ เมื่อตองการใหผูที่อยูหางไกลกันสามารถใชประโยชนจากสารสนเทศดังกลาว ก็จําเปนตองนําเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมเขามาชวยอีกทางหนึ่งดวย
ในวงการบริหารงานตางๆ โดยเฉพาะในวงการบริหารงานธุรกิจ ซึ่งมีการแขงขันกันสูง ไดนําเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการบริหารกันเปนอันมากเพื่อใหการบริหารมีประสิทธิภาพสูง ประหยัดสุดและไดประสิทธิผลสูงสุด
//www.sahavicha.com/?name=faq&file=readfaq&id=290


โดย: น.ส. วิไลวรรณ พงค์พันธ์ ม.29 พุธเช้า 52040501303 IP: 124.157.145.197 วันที่: 22 กรกฎาคม 2552 เวลา:18:26:05 น.  

 
3.2) -ช่วยในการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น
-ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลา และระยะทาง โดยการใช้ระบบโทรศัพท์ และอื่นๆ
//61.19.218.122/jukkrit/IT_FOR_Lift/technology2.htm


โดย: น.ส. วิไลวรรณ พงค์พันธ์ ม.29 พุธเช้า 52040501303 IP: 124.157.145.197 วันที่: 22 กรกฎาคม 2552 เวลา:18:41:59 น.  

 
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
-การพัฒนาระบบการเรียนการสอนโดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ทำให้รูปแบบการเรียนการสอนเปลี่ยนไป ช่วยอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ช่วยทำให้ขยายเวลาเรียนได้ทั้ง 24 ชั่วโมง ขยายสถานที่เรียนเป็นที่ใดก็ได้ ขยายขอบเขตเนื้อหาไม่มีจำกัด ขยายการเรียนการสอนได้ตามความต้องการของผู้เรียน” (รศ.ยืน ภู่วรวรรณ และผศ.สมชาย นำประเสริฐชัย.2546,26)

โดยสรุปแล้วการเรียนการสอนในโรงเรียนมีการนำคอมพิวเตอร์และเครื่องมือประกอบช่วยในการเรียนรู้ เช่น วีดิทัศน์ เครื่องฉายภาพ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ Computer Aided-Instruction (CAI) Multimedia (CD-ROM) มีการจัดตั้งเครือข่ายเพื่อการศึกษาหลายเครือข่าย เช่น เครือข่ายไทยสาร เครือข่าย School Net เป็นต้น รวมทั้งใช้คอมพิวเตอร์ในงานบริหารของโรงเรียน เช่นจัดทำประวัตินักเรียน ประวัติครูอาจารย์ จัดตารางสอน คำนวณระดับคะแนน จัดชั้นเรียน ทำรายงานเพื่อให้ผู้บริหารได้ทราบถึงปัญหาและการแก้ไขปัญหาในโรงเรียน


3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)

1.ใช้ในการค้นหาข้อมูลที่เราไม่รู้และทำสื่อเผื่อแพร่งานนิทัศการณ์

2.ช่วยจัดระบบห้องสมุด

ที่มา//www.school.net.th/library/create-web/10000/generality/10000-12784.html


โดย: นายอดิศักดิ์ รักวิชา ม.1(พิเศษ) พฤ.ค่ำ 52240427132 IP: 172.29.5.133, 202.29.5.62 วันที่: 23 กรกฎาคม 2552 เวลา:17:22:35 น.  

 
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
-การพัฒนาระบบการเรียนการสอนโดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ทำให้รูปแบบการเรียนการสอนเปลี่ยนไป ช่วยอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ช่วยทำให้ขยายเวลาเรียนได้ทั้ง 24 ชั่วโมง ขยายสถานที่เรียนเป็นที่ใดก็ได้ ขยายขอบเขตเนื้อหาไม่มีจำกัด ขยายการเรียนการสอนได้ตามความต้องการของผู้เรียน” (รศ.ยืน ภู่วรวรรณ และผศ.สมชาย นำประเสริฐชัย.2546,26)

โดยสรุปแล้วการเรียนการสอนในโรงเรียนมีการนำคอมพิวเตอร์และเครื่องมือประกอบช่วยในการเรียนรู้ เช่น วีดิทัศน์ เครื่องฉายภาพ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ Computer Aided-Instruction (CAI) Multimedia (CD-ROM) มีการจัดตั้งเครือข่ายเพื่อการศึกษาหลายเครือข่าย เช่น เครือข่ายไทยสาร เครือข่าย School Net เป็นต้น รวมทั้งใช้คอมพิวเตอร์ในงานบริหารของโรงเรียน เช่นจัดทำประวัตินักเรียน ประวัติครูอาจารย์ จัดตารางสอน คำนวณระดับคะแนน จัดชั้นเรียน ทำรายงานเพื่อให้ผู้บริหารได้ทราบถึงปัญหาและการแก้ไขปัญหาในโรงเรียน


3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)

-ช่วยในการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น
-ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลา และระยะทาง โดยการใช้ระบบโทรศัพท์ และอื่นๆ
//61.19.218.122/jukkrit/IT_FOR_Lift/technology2.htm


โดย: นายนิรัช วิจิตรกุล ม.1(พิเศษ) พฤ.ค่ำ 52240427117 IP: 117.47.10.111 วันที่: 24 กรกฎาคม 2552 เวลา:4:06:06 น.  

 
1.เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หรือเรียกกันย่อ ๆ ว่า“ IT ” หมายถึงเทคโนโลยีที่นํามาใชในการจัดเก็บขอมูล (Data) และประมวลผลขอมูลใหเกิดผลลัพธเปนสารสนเทศ (Information) เพื่อนําไปใชประโยชน

ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อมูลดิบที่เก็บรวบรวมมาจากที่ต่าง ๆ ซึ่งยังนําไปใชงานไมได
เช่น การสํารวจความคิดเห็น ความคิดเห็นที่ไดยังถือวาเปนขอมูลดิบ

สารสนเทศ (Information) หมายถึง ผลลัพธจากการประมวลผลขอมูลดิบซึ่งสามารถนําไปใชประโยชน เพื่อประกอบการทํางาน หรือเพิ่มประกอบการตัดสินใจของผูบริหาร เชน นําข้อมูล ความคิดเห็นแตละขอมาหาความถี่ เป็นค่าร้อยละเพื่อเปรียบเทียบดูว่า ข้อคิดเห็นขอใดมีผูเลือกมากนอย เป็นร้อยละเท่าไร ค่ารอยละดัง
กล่าว ก็จัดเป็นสารสนเทศ เป็นต้น

การจัดเก็บข้อมูลและการจัดการข้อมูล ต้องการความถูกตองและรวดเร็วสูง จึงจําเปนตองนําเทคโนโลยีคอมพิวเตอรเขามาช่วย และ เมื่อตองการใหผูที่อยูหางไกลกันสามารถใชประโยชนจากสารสนเทศดังกลาว ก็จําเปนตองนําเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมเขามาชวยอีกทางหนึ่งดวย
ในวงการบริหารงานตางๆ โดยเฉพาะในวงการบริหารงานธุรกิจ ซึ่งมีการแขงขันกันสูง ไดนําเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการบริหารกันเปนอันมากเพื่อให การบริหารมีประสิทธิภาพสูง ประหยัดสุดและไดประสิทธิผลสูงสุด
ที่มา
//www.sahavicha.com/?name=faq&file=readfaq&id=290

2.ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)
ตอบ1. ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาลของแต่ละวัน 2. เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสารสนเทศ เช่น การคำนวณตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน
ที่มา
//www.google.co.th/search?hl=th&q



โดย: นาย สุระทิน ใจใส หมู่ 15 รหัส 52041151202 IP: 1.1.1.63, 58.137.131.62 วันที่: 26 กรกฎาคม 2552 เวลา:15:49:56 น.  

 
1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
การพัฒนาระบบการเรียนการสอนโดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ทำให้รูปแบบการเรียนการสอนเปลี่ยนไป ช่วยอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ช่วยทำให้ขยายเวลาเรียนได้ทั้ง 24 ชั่วโมง ขยายสถานที่เรียนเป็นที่ใดก็ได้ ขยายขอบเขตเนื้อหาไม่มีจำกัด ขยายการเรียนการสอนได้ตามความต้องการของผู้เรียน” (รศ.ยืน ภู่วรวรรณ และผศ.สมชาย นำประเสริฐชัย.2546,26)

โดยสรุปแล้วการเรียนการสอนในโรงเรียนมีการนำคอมพิวเตอร์และเครื่องมือประกอบช่วยในการเรียนรู้ เช่น วีดิทัศน์ เครื่องฉายภาพ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ Computer Aided-Instruction (CAI) Multimedia (CD-ROM) มีการจัดตั้งเครือข่ายเพื่อการศึกษาหลายเครือข่าย เช่น เครือข่ายไทยสาร เครือข่าย School Net เป็นต้น รวมทั้งใช้คอมพิวเตอร์ในงานบริหารของโรงเรียน เช่นจัดทำประวัตินักเรียน ประวัติครูอาจารย์ จัดตารางสอน คำนวณระดับคะแนน จัดชั้นเรียน ทำรายงานเพื่อให้ผู้บริหารได้ทราบถึงปัญหาและการแก้ไขปัญหาในโรงเรียน

2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)

1.ใช้ในการค้นหาข้อมูลที่เราไม่รู้และทำสื่อเผื่อแพร่งานนิทัศการณ์

2.ช่วยจัดระบบห้องสมุด


โดย: น.ส วนิดา ปัตตานี เช้าวันศุกร์ หมู่15 IP: 172.29.5.133, 202.29.5.62 วันที่: 26 กรกฎาคม 2552 เวลา:16:05:27 น.  

 
ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยี2ตัวอย่าง 1)เทคโนโลยี และจะมีบทบาทอย่างสำคัญในการสร้างปัญหาแก่มนุษย์ในยุคเทคโนโลยีต่อไป*
สภาวการณ์นี้ ถ้าจะพูดในเชิงอุปมา ก็เหมือนกับว่า มนุษย์ยุคปัจจุบันนี้ก้าวหน้ามากถึงขั้นมีของใช้ของเทวดา
แต่ตัว มนุษย์เองก็ยังคงเป็นมนุษย์คนเดิม ที่ไม่ได้พัฒนายังมิได้ยกระดับคุณภาพของตนขึ้นไปให้เท่าทันเทวดา
เมื่อมาใช้ของสำหรับ เทวดา ก็เลยก่อปัญหาทำให้เกิดโทษมากกว่าคุณ(แต่ตามคัมภีร์ท่านบอกว่า เทวดานั้นมีสิ่ง
บำรุงบำเรออำนวย ความสะดวก สบายมาก เลยหลงเพลิดเพลินกลับมีสติน้อยกว่ามนุษย์ลงไปอีก มนุษย์อาจจะ
เดินตามรอยเทวดาในแง่นี้ก็เป็นได้)

2)ส่วนอีกเทคโนโลยีที่กำลังจะเป็นที่นิยมคือการใช้เครื่อง PDA ที่มี GPS เป็นอุปกรณ์ในงานด้านประกันภัย ซึ่งก็มีทั้งการใช้ในการติดตามพนักงานเคลมว่าตอนนี้พนักงานเคลมไปถึงตำแหน่งที่เกิดเหตุแล้วหรือยัง หรืออยู่ ณ ที่ใดในตอนนี้ หรือเอาไว้สำหรับ Call Center ตรวจสอบว่าพนักงานเคลมคนใดอยู่ใกล้จุดเกิดเหตุที่สุด เพื่อที่จะได้ไปถึงที่จุดเกิดเหตุได้เร็วที่สุด อีกทั้งเครื่อง PDA เองก็ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ส่งข้อมูลกลับบริษัทประกันหรือข้อข้อมูลลูกค้าหรือข้อมูลกรมธรรม์ได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย



โดย: น.ส วนิดา ปัตตานี เช้าวันศุกร์ หมู่15 IP: 172.29.5.133, 202.29.5.62 วันที่: 26 กรกฎาคม 2552 เวลา:16:18:07 น.  

 
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา



ความสำคัญ

ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology หรือ IT) ได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว และมีบทบาทสำคัญในด้านต่างๆ อย่างกว้างขวาง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การบริการสังคม สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านการศึกษา ซึ่งการมีบทบาทสำคัญนี้อาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอทีนั้นเปรียบเหมือนเครื่องจักรที่สามารถรองรับข้อมูลข่าวสารมาทำการประมวลผล และการแสดงผลตามที่ต้องการได้รวดเร็ว โดยอาศัยองค์ประกอบอื่นๆ ช่วยในการจัดการ ได้แก่ โปรแกรมปฏิบัติการ โปรแกรมชุดคำสั่งต่างๆ และที่สำคัญคือ ผู้ที่จะตัดสินใจหรือสั่งการให้ทำงานได้ถูกต้องตามเป้าหมาย ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ใช้ ผู้บริหาร และผู้ชำนาญการ หรือนักเทคโนโลยีสารสนเทศโดยตรง






รัฐบาลไทยในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญ เล็งเห็นประโยชน์และคุณค่าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยใน พ.ศ. 2535 ได้แต่งตั้ง "คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ" ขึ้น โดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและให้มีรองนายกรัฐมนตรี ที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธาน มีคณะกรรมการประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง และผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาครัฐบาลและเอกชน และได้มอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการฯ มีหน้าที่เสนอแนะนโยบายและแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศต่อคณะรัฐมนตรี ทั้งในเรื่องการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างบรรยากาศ ให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการดำเนินงานด้านต่างๆ
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จัดทำแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานของรัฐ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการและการดำเนินการตามแผนดังกล่าวโดยแบ่งเป็น 4 ช่วงได้แก่

ช่วงที่ 1 : การมีการใช้คอมพิวเตอร์ในงานทั่วไป (พ.ศ. 2536-2538)
ช่วงที่ 2 : การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (พ.ศ. 2536-2539)
ช่วงที่ 3 : การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานด้านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (พ.ศ. 2537-2540)
ช่วงที่ 4 : การใช้คอมพิวเตอร์เต็มรูปแบบ (พ.ศ. 2540 เป็นต้นไป)


การดำเนินการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษานั้น ดำเนินการมาก่อนหน้านี้อีก คือเริ่มดันในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) ซึ่งในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งได้เห็นความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งในด้านการเรียนการสอนโดยมีหลักสูตรการศึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และวิชาการที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคม มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยการบริหารงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการลงทะเบียนนักศึกษา สำหรับกระทรวงศึกษาธิการนั้น ได้จัดตั้งศูนย์สารสนเทศขึ้นในปี พ.ศ. 2522 ในสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ทางด้านทบวงมหาวิทยาลัย ได้จัดประชุมระดับภูมิภาคอาเซียน เรื่องการศึกษาและระบบสารสนเทศภายใต้โครงการพัฒนาการศึกษาอาเซียนในเดือนพฤศจิกายน 2523 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการพัฒนาการสารสนเทศทางการศึกษาของประเทศ
พ.ศ. 2526 ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานและปฏิบัติการของระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา (ศ.ส.ษ.) ขึ้น โดยความเห็นชอบของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศให้ก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดให้มีข้อมูลและสารสนเทศที่มีคุณภาพทันสมัย และสอดคล้องกับความต้องการ และเพื่อเป็นศูนย์กลางในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสารสนเทศทางการศึกษาที่จำเป็นต่อการกำหนดนโยบายการวางแผนการศึกษาและการพัฒนาการศึกษาของประเทศ นอกจากนั้นยังมีหน้าที่กำหนดนิยามที่จำเป็นต้องใช้ในระบบสารสนเทศทางการศึกษา กำหนดมาตรฐานในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำแนกข้อมูลและจัดกระทำข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ ที่สามารถนำไปใช้ได้ตามความต้องการ รวมทั้งการกำหนดขอบข่ายการประสานงานของระบบสารสนเทศทางการศึกษา ตลอดจนส่งเสริมและเผยแพร่วิชาการ และการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศทางการศึกษาของประเทศ
ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) ได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งแก่เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาการศึกษาของชาติ ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 มีแผนงานหลักเพื่อพัฒนาการศึกษาอยู่ 9 แผนงานหลัก แผนงานหลักที่ 9 เป็นแผนเรื่องการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษา ในแผนงานหลักที่ 9 การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษานั้นได้มีแนวคิดว่า สำหรับระบบการศึกษาก็ได้ตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลและสารสนเทศเช่นเดียวกันโดยหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้องได้สนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การจัดเก็บ การให้บริการและแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศที่ใช้ในการกำหนดนโยบาย การวางแผนพัฒนาการศึกษา การบริหารการศึกษา และการจัดการศึกษาให้เป็นระบบ ที่มีรูปแบบและมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการเรียนการสอนทุกระดับการศึกษา
อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษาของหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง มีลักษณะเป็นไปอย่างอิสระทำให้ขาดความเป็นเอกภาพ ประกอบกับขาดความพร้อมทั้งด้านงบประมาณ บุคลากร และอุปกรณ์ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่อเชื่อมระบบซอฟแวร์ เป็นต้น ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ อันได้แก่ ปัญหาการผลิตข้อมูลปฐมภูมิที่มีข้อมูลไม่ครบถ้วนตามที่ผู้ต้องการใช้ ปัญหาการจัดเก็บข้อมูลทุติยภูมิ ปัญหาการประสานงานเครือข่าย รวมทั้งปัญหาการดำเนินงานสารสนเทศ ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ส่งผลไปถึงการจัดการศึกษาที่ต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินงาน
จากปัญหาข้างต้น จึงจำเป็นจะต้องพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา โดยมีพื้นฐานอยู่บนหลักการพัฒนาร่วมกันระหว่างหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถประสานการดำเนินงาน และการนำทรัพยากรมาใช้ในการบริหารการวางแผนการจัดการศึกษา และการฝึกอบรมร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติเป็นหน่วยประสานงานกลาง ในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา
ที่มา..//learners.in.th/blog/mooddang/256435
ตัวอย่างทางการแพทย์ การศึกษา


โดย: จรัสพงษ์ ด้วงสดี หมู่ที่29 IP: 172.29.5.133, 58.137.131.62 วันที่: 29 กรกฎาคม 2552 เวลา:9:44:05 น.  

 
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
บทบาทและความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการบริหารจัดการศึกษา

“ เทคโนโลยีสารสนเทศ ” (Information Technology) หรือเรียกกันย่อ ๆ ว่า“ IT ” หมายถึงเทคโนโลยีที่นํามาใชในการจัดเก็บขอมูล (Data) และประมวลผลขอมูลใหเกิดผลลัพธเปนสารสนเทศ (Information) เพื่อนําไปใชประโยชน

ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อมูลดิบที่เก็บรวบรวมมาจากที่ต่าง ๆ ซึ่งยังนําไปใชงานไมได
เช่น การสํารวจความคิดเห็น ความคิดเห็นที่ไดยังถือวาเปนขอมูลดิบ

สารสนเทศ (Information) หมายถึง ผลลัพธจากการประมวลผลขอมูลดิบซึ่งสามารถนําไปใชประโยชน เพื่อประกอบการทํางาน หรือเพิ่มประกอบการตัดสินใจของผูบริหาร เชน นําข้อมูล ความคิดเห็นแตละขอมาหาความถี่ เป็นค่าร้อยละเพื่อเปรียบเทียบดูว่า ข้อคิดเห็นขอใดมีผูเลือกมากนอย เป็นร้อยละเท่าไร ค่ารอยละดัง
กล่าว ก็จัดเป็นสารสนเทศ เป็นต้น

การจัดเก็บข้อมูลและการจัดการข้อมูล ต้องการความถูกตองและรวดเร็วสูง จึงจําเปนตองนําเทคโนโลยีคอมพิวเตอรเขามาช่วย และ เมื่อตองการใหผูที่อยูหางไกลกันสามารถใชประโยชนจากสารสนเทศดังกลาว ก็จําเปนตองนําเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมเขามาชวยอีกทางหนึ่งดวย
ในวงการบริหารงานตางๆ โดยเฉพาะในวงการบริหารงานธุรกิจ ซึ่งมีการแขงขันกันสูง ไดนําเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการบริหารกันเปนอันมากเพื่อใหการบริหารมีประสิทธิภาพสูง ประหยัดสุดและไดประสิทธิผลสูงสุด
ผู้บริหารยุคใหมทุกระดับจึงนํานวัตกรรมเทคโนโลยีมาใชกันอยางแพรหลาย เชน ผู้บริหารระดับสูงในองค์การ จะนําสารสนเทศที่แสดงภาพรวมของการดําเนินงาน ความสัมพันธระหวางองคการและสิ่งแวดลอม สรุปปญหาและแนวทางแก้ไข มาใชเพื่อประกอบการแก้ปญหา และการตัดสินใจกําหนดกลยุทธขององคการ สวนผูบริหารระดับกลางจะนําสารสนเทศ ที่ ประมวลงานประจําป มาใชจัดแผนงบประมาณ และกําหนดแผนการดําเนินงานของหนวยงาน สําหรับ ผู้บริหารงานระดับต้นจะใชเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยในการควบคุมการปฏิบัติงาน เป็นต้น
ปัจจุบันผูบริหารในการศึกษาไดนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชและมีบทบาทความสำคัญในการบริหารจัดการศึกษากันมากขึ้น อาทิ เชน

1. การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการตัดสินใจ การตัดสินใจที่ดีจะต้องรวดเร็วและไมผิดพลาด และการตัดสินใจที่รวดเร็วและไมผิดพลาดนั้นจําเป็น ต้องมี ข้อมูลสารสนเทศที่ เป็นปัจจุบันไมล้าสมัย มีจํานวนมากเพียงพอ และสามารถนํามาใชไดง่ายและรวดเร็ว ซึ่งเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยเรื่องนี้เป็นอย่างดี ระบบสารสนเทศที่ผูบริหารนํามาใชในการตัดสินใจมีดังนี้
1.1 ระบบสารสนเทศสําหรับผูบริหาร (Executive Systems) หรือ “EIS” ในบางครั้งอาจเรียกว่า “ระบบสนับสนุนผู้บริหาร” (Executive Support Systems) หรือ “ESS” ระบบ EISเป็นระบบที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นมาเพื่อจัดเตรียมสารสนเทศที่เหมาะสมในการตัดสินใจของผูบริหารระดับสูงช่วยให้ ผู้บริหารสามารถทําความเข้าใจ ปัญหาอย่างชัดเจน และสามารถตัดสินใจเลือกแนวทางแกปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
1.2 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support) หรือ DSS ระบบ DSS เป็นระบบที่ ออกแบบและพัฒนาขึ้นมาเพื่อใชสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง ระบบDSS จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจของผูบริหารแตจะไมทําการตัดสินใจแทนผู้บริหาร โดยประมวลผลและนําเสนอข้อมูล ที่สําคัญต่อการตัดสินใจ ตลอดจนประเมินทางเลือกที่เหมาะสมภายใตข้อจํากัดของแต่ละสถานการณ เพื่อใหผู้บริหารใช
สติปญญา เหตุผล ประสบการณ และความคิดสร้างสรรคของตนวิเคราะหและเปรียบเทียบทางเลือกใหสอดคล้องกับปัญหาหรือสถานการณนั้นๆ

2. การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการบริหารงานทางไกล มีการนําสื่อหลายๆอย่าง เช่น โทรศัพทมือถือ โทรสาร วิทยุ โทรทัศน คอมพิวเตอร และเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคม มาใชในการติดต่อการสื่อสารและการบริหารงานทางไกลไดสะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลาและค่าใช้จายเป็น อันมาก ถึงแมจะอยูไกลกันก็สามารถทํางานร่วมกัน ประชุมร่วมกันไดโดยใช Teleconference เป็นต้น

3. การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการบริหารสถานศึกษา ปัจจุบันสถานศึกษาหลายแห่ง พัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อใชในการบริหารงานด้านต่างๆ ทั้งการบริหารงานวิชาการ การบริหารกิจการนักเรียน การบริหารงานบุคลากร การบริหารงานธุรการ การเงิน พัสดุ ครุภัณฑ การบริหารงานอาคารสถานที่และการการบริหารงานชุมชน

4. การสร้างเครือข่ายข้อมูล (Network) ด้วยระบบสารสนเทศ เครือข่ายนี้จะช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยเป็นอันมาก ปัจจุบันมี โครงการเครือข่ายคอมพิวเตอรโรงเรียนมัธยม (Schoolnet) ซึ่งเป็นโครงการ
ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หนึ่งในหลายโครงการที่เกิดขึ้นตามพระราชดําริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี โดยศูนยเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกสคอมพิวเตอรแห่งชาติ ไดนําแนวพระราชดําริมาดําเนินการร่วมกับหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดกรมสามัญศึกษา(เดิม)

5. การนํานวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการจัดการศึกษา ในปัจจุบันผูบริหาร หน่วยงานทางการศึกษานํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการจัดการศึกษา เป็นประโยชนต่อการเรียนรูหลายอย่าง อาทิเช่น
5.1 อินเตอร์เน็ต (Internet) เพื่อใชในการศึกษาหาข้อมูล ข่าวสารทางวิชาการและอื่นๆ จากที่ต่าง ๆ เป็นการส่งเสริมการเรียนรูตลอดชีวิต
5.2 จดหมายอิเล็กทรอนิกส (Electronic Mail หรือ E-mail) เพื่อใชรับส่งข่าวสาร ข้อมูล รูปภาพ และส่งงานใหครูอาจารยตรวจ
5.3 การจัดทํา Website ของสถานศึกษา เพื่อการเผยแพรขาวสารของสถานศึกษา เป็นการประชาสัมพันธระหว่างสถานศึกษากับ ผู้ที่เกี่ยวของ และบุคคลทั่วไป
5.4 การใชโปรแกรม SPSS เพื่อการวิเคราะหข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชนต่อการทําวิจัยในชั้นเรียนของครูอาจารย การทําวิจัยสถานบันของฝ่ายบริหาร และอื่น ๆ
5.5 การทํา PowerPoint เพื่อใชในการเรียนการสอนของครูอาจารย และใชเสนอผลงานของ ผู้บริหารสถานศึกษา
5.6 คอมพิวเตอรช่วยสอน (Computer Assisted Instruction หรือ CAI) เพื่อช่วยใหผู้เรียนเรียนรูด้วยตนเองจากบทเรียนสําเร็จรูปในคอมพิวเตอร
5.7 การเรียนรูผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส (Electronic Learning) หรือที่เรียกกันว่า
E-Learning เป็นการเรียนทางไกลที่ผูเรียนสามารถโตตอบกับผู้สอนได โดยอาศัยเครือข่าย อินเตอร์เน็ต จึงช่วยใหเรียนรู้ไดโดยไม่มีข้อจํากัดของเวลา ระยะทาง และสถานที่ โดยผูเรียนจะสามารถเรียนรูไดตลอดเวลาจึงตอบสนองศักยภาพการเรียนรูของผู้เรียนไดเป็นอย่างดี
5.8 ห้องเรียนอัจฉริยะ (Electronic Classroom หรือ E-Classroom) เป็นการจัดระบบบริหารจัดการ
ห้องเรียน ที่ใชการเรียนการสอนแบบ on-line และ ปฏิสัมพันธ (interactive) สามารถควบคุมและและตรวจสอบกิจกรรมของนักเรียนไดโดยตรงจากเครื่องคอมพิวเตอรของครูแบบ real time
5.9 หนังสืออิเล็กทรอนิกส (E-book) และ หองสมุดอิเล็กทรอนิกส (E-Library) เพื่อเสริม การเรียนการสอน และใหบริการค้นคว้าหาความรูแกนักเรียน ครูอาจารย และประชาชน
5.10 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ “ICT” (Information and Communication Technologies) เพื่อพัฒนาการศึกษา ปัจจุบันประเทศไทยโดยกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายสําคัญที่จะนําเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช เพื่อพัฒนาการสื่อสารในทุกด้าน โดยเฉพาะการช่วยพัฒนาครูอาจารย การช่วยใหเด็กและเยาวชนไดเข้าถึงแหล่งความรูและไดเรียนอย่างทัดเทียมกัน ตลอดจนการพัฒนาระบบบริหารจัดการให้ ฉับไว มีประสิทธิภาพสูงสุด

ดังนั้น นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ก็เข้ามามีบทบาทมากขึ้น โนเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุคของการปฎิรูปการศึกษา ผู้บริหารการศึกษายุคใหมต่างก็นํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชประโยชนใน การบริหารจัดการศึกษา เพื่อใหประสบผลสําเร็จในการพัฒนาคุณภาพผูเรียนไดอย่างมีประสิทธิภาพสูง

//www.sahavicha.com/?name=faq&file=readfaq&id=290


โดย: น.ส ผกาพรรณ หงษ์ทอง หมู่1 จันทร์-บ่าย IP: 124.157.146.74 วันที่: 29 กรกฎาคม 2552 เวลา:19:20:00 น.  

 
3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยี่สารสนเทศมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ เป็นอย่างมาก ตัวอย่างเช่น
1. การศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยในด้านการค้นคว้าศึกษาแหล่งข้อมูล ทำให้การศึกษาง่ายขึ้นและไร้ขีดจำกัด ผู้เรียนมีความสะดวกในการค้นคว้าวิจัย


2. การดำรงชีวิตประจำวัน ทำให้มีความสะดวกคล่องตัวและรวดเร็วในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน สามารถทำงานได้หลายอย่างในเวลาเดียวกันได้หรือทำงานใช้เวลาน้อยลง


3. การดำเนินธุรกิจ ทำให้มีการแข่งขันระหว่างธุรกิจมากขึ้น ทำให้ต้องมีการพัฒนาองค์กรเพื่อให้ทันกับข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเวลา
อันส่งผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง

4. อัตราการขยายตัวทุก ๆ ด้านที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะมีการติดต่อสื่อสารที่เจริญก้าวหน้าทันสมัย รวดเร็วถูกต้องและ ทำให้
เป็นโลกที่ไร้พรหรมแดน

5. ระบบการทำงานมีคอมพิวเตอร์มาใช้ซื่อสามารถทำงานได้มากขึ้น งานบางอย่างมนุษย์ทำไม่ได ้ก็ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยทำงานแทนซึ่งได้ผลถูกต้องรวดเร็ว

ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ต้องประกอบด้วย




//a.1asphost.com/chalin623/drinking48/information1/techno1_1.htm


โดย: น.ส ผกาพรรณ หงษ์ทอง หมู่1 จันทร์-บ่าย IP: 124.157.146.74 วันที่: 29 กรกฎาคม 2552 เวลา:19:21:34 น.  

 
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย

เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาประกอบด้วย
1. เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้ปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มีระบบมัลติมีเดีย (Multimedia)* ระบบวิดีโออนนดีมานด์ (Video on Demand) วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ (Video Teleconference) และอินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น ระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้
2. เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษาในการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการดำเนินการ การติดตามและประเมินผลคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในเรื่องนี้
3. เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคลเกือบทุกวงการ ทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เขียน ผู้เรียนกับผู้เรียน เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสาร และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร เทเลคอนเฟอเรนส์ และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น


3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)
1. ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาลของแต่ละวัน
2. เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสารสนเทศ เช่น การคำนวณตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน การจัดเรียงลำดับสารสนเทศ ฯลฯ
3. ช่วยให้สามารถเก็บสารสนเทศไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้ทุกครั้งอย่างสะดวก
4. ช่วยให้สามารถจัดระบบอัตโนมัติ เพื่อการจัดเก็บประมวลผล และเรียกใช้สารสนเทศูล
5. ช่วยในการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น
6. ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลา และระยะทาง โดยการใช้ระบบโทรศัพท์ และอื่นๆ


ที่มา
//61.19.218.122/jukkrit/IT_FOR_Lift/technology2.htm
//www.sahavicha.com/?name=faq&file=readfaq&id=290





โดย: นายวิทวัฒน์ พากุล 52040255102 ม.29 เช้า IP: 192.168.1.108, 113.53.175.235 วันที่: 30 กรกฎาคม 2552 เวลา:18:39:34 น.  

 
2.1
1. ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาลของแต่ละวัน
2. เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสารสนเทศ เช่น การคำนวณตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน การจัดเรียงลำดับสารสนเทศ ฯลฯ


ที่มา//61.19.218.122/jukkrit/IT_FOR_Lift/technology2.htm


โดย: นางสาวประทุมพร ปากเจริญ พุธเช้า หมู่ที่29 บช.บ IP: 125.26.171.25 วันที่: 31 กรกฎาคม 2552 เวลา:17:53:08 น.  

 
3.2
1)ช่วยในการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น

2)ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลา และระยะทาง โดยการใช้ระบบโทรศัพท์ และอื่นๆ

ที่มา //61.19.218.122/jukkrit/IT_FOR_Lift/technology2.htm


โดย: นางสาวประทุมพร ปากเจริญ พุธเช้า หมู่ที่ 29 บช.บ. IP: 125.26.171.25 วันที่: 31 กรกฎาคม 2552 เวลา:17:54:45 น.  

 
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย

เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาประกอบด้วย
1. เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้ปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มีระบบมัลติมีเดีย (Multimedia)* ระบบวิดีโออนนดีมานด์ (Video on Demand) วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ (Video Teleconference) และอินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น ระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้
2. เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษาในการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการดำเนินการ การติดตามและประเมินผลคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในเรื่องนี้
3. เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคลเกือบทุกวงการ ทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เขียน ผู้เรียนกับผู้เรียน เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสาร และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร เทเลคอนเฟอเรนส์ และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)
1.การดำเนินธุรกิจ ทำให้มีการแข่งขันระหว่างธุรกิจมากขึ้น ทำให้ต้องมีการพัฒนาองค์กรเพื่อให้ทันกับข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเวลา
อันส่งผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง
2.ระบบการทำงานมีคอมพิวเตอร์มาใช้ซื่อสามารถทำงานได้มากขึ้น งานบางอย่างมนุษย์ทำไม่ได ้ก็ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยทำงานแทนซึ่งได้ผลถูกต้องรวดเร็ว
3.การศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยในด้านการค้นคว้าศึกษาแหล่งข้อมูล ทำให้การศึกษาง่ายขึ้นและไร้ขีดจำกัด ผู้เรียนมีความสะดวกในการค้นคว้าวิจัย
ที่มา
//61.19.218.122/jukkrit/IT_FOR_Lift/technology2.htm
//www.sahavicha.com/?name=faq&file=readfaq&id=290




โดย: นายอรรคพล วิทิยา เทคโนผลิตพืชอังคารเช้าหมู่22 IP: 125.26.167.27 วันที่: 1 สิงหาคม 2552 เวลา:19:12:29 น.  

 
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
เทคโนโลยีมีความสำคัญมากต่อการพัฒนาการศึกษา ความรู้ ความสามารถและทักษะความชำนาญในด้านต่างๆ ทั้งนักเรียนนักศึกษา บุคลากรในหน่วยงานเอกชนหน่วยงานราชการและประชาชนทั่วไปเช่น การศึกษาทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ สื่อการศึกษา แหล่งสารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า เป็นต้น

3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)
1.พัฒนาความทันสมัยก้าวหน้าต่อเทคโนโลยีสารสนเทศ
2.สามารถปกป้องประเทศของเราได้ เนื่องจากเราสามารถค้นหาข้อมูลทางเทคโนโลยีสารสาเทศได้ ทำให้เราได้ความรู้ที่ทันสมัยอยูเรื่อยๆ


โดย: นางสาวนฤมล ภูหนองโอง รหัส 52040264108 สาขาการจัการอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยี (พุธเช้า) ม.29 IP: 125.26.178.52 วันที่: 2 สิงหาคม 2552 เวลา:15:59:52 น.  

 
ข้อ 1. การนํานวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการจัดการศึกษา ในปัจจุบันผูบริหาร หน่วยงานทางการศึกษานํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการจัดการศึกษา เป็นประโยชนต่อการเรียนรูหลายอย่าง อาทิเช่น
1 อินเตอร์เน็ต (Internet) เพื่อใชในการศึกษาหาข้อมูล ข่าวสารทางวิชาการและอื่นๆ จากที่ต่าง ๆ เป็นการส่งเสริมการเรียนรูตลอดชีวิต
2 จดหมายอิเล็กทรอนิกส (Electronic Mail หรือ E-mail) เพื่อใชรับส่งข่าวสาร ข้อมูล รูปภาพ และส่งงานใหครูอาจารยตรวจ
3 การจัดทํา Website ของสถานศึกษา เพื่อการเผยแพรขาวสารของสถานศึกษา เป็นการประชาสัมพันธระหว่างสถานศึกษากับ ผู้ที่เกี่ยวของ และบุคคลทั่วไป
4 การใชโปรแกรม SPSS เพื่อการวิเคราะหข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชนต่อการทําวิจัยในชั้นเรียนของครูอาจารย การทําวิจัยสถานบันของฝ่ายบริหาร และอื่น ๆ
5 การทํา PowerPoint เพื่อใชในการเรียนการสอนของครูอาจารย และใชเสนอผลงานของ ผู้บริหารสถานศึกษา
6 คอมพิวเตอรช่วยสอน (Computer Assisted Instruction หรือ CAI) เพื่อช่วยใหผู้เรียนเรียนรูด้วยตนเองจากบทเรียนสําเร็จรูปในคอมพิวเตอร
7 การเรียนรูผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส (Electronic Learning) หรือที่เรียกกันว่า
E-Learning เป็นการเรียนทางไกลที่ผูเรียนสามารถโตตอบกับผู้สอนได โดยอาศัยเครือข่าย อินเตอร์เน็ต จึงช่วยใหเรียนรู้ไดโดยไม่มีข้อจํากัดของเวลา ระยะทาง และสถานที่ โดยผูเรียนจะสามารถเรียนรูไดตลอดเวลาจึงตอบสนองศักยภาพการเรียนรูของผู้เรียนไดเป็นอย่างดี
8 ห้องเรียนอัจฉริยะ (Electronic Classroom หรือ E-Classroom) เป็นการจัดระบบบริหารจัดการ
ห้องเรียน ที่ใชการเรียนการสอนแบบ on-line และ ปฏิสัมพันธ (interactive) สามารถควบคุมและและตรวจสอบกิจกรรมของนักเรียนไดโดยตรงจากเครื่องคอมพิวเตอรของครูแบบ real time
9 หนังสืออิเล็กทรอนิกส (E-book) และ หองสมุดอิเล็กทรอนิกส (E-Library) เพื่อเสริม การเรียนการสอน และใหบริการค้นคว้าหาความรูแกนักเรียน ครูอาจารย และประชาชน
10 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ “ICT” (Information and Communication Technologies) เพื่อพัฒนาการศึกษา ปัจจุบันประเทศไทยโดยกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายสําคัญที่จะนําเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช เพื่อพัฒนาการสื่อสารในทุกด้าน โดยเฉพาะการช่วยพัฒนาครูอาจารย การช่วยใหเด็กและเยาวชนไดเข้าถึงแหล่งความรูและไดเรียนอย่างทัดเทียมกัน ตลอดจนการพัฒนาระบบบริหารจัดการให้ ฉับไว มีประสิทธิภาพสูงสุด

ข้อ 2.
1) การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการตัดสินใจ
2) การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการบริหารงานทางไกล

//www.sahavicha.com/?name=faq&file=readfaq&id=290


โดย: นายอภิชาติ อินทรีย์ รหัส 52040265709 (หมู่ 22 อ.เช้า) IP: 117.47.12.96 วันที่: 4 สิงหาคม 2552 เวลา:13:26:00 น.  

 
ข้อ 2. ตอบ 1) ติดตามข่าวสารได้ตรงตามที่ต้องการ
2) ได้อัพเดทตัวเองให้ทันต่อโลกยุคใหม่

ที่มา สมองผมเอง ... ^^


โดย: ธวัชชัย นิวาสธนชัย 52040001162 (พุธ เช้า) IP: 124.157.146.209 วันที่: 4 สิงหาคม 2552 เวลา:14:28:04 น.  

 
สามารถอธิบายความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านต่าง ๆ ของผู้คนไว้หลายประการดังต่อไปนี้

ประการที่หนึ่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ

ประการที่สอง เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลก ที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกผูกพันกับทุกประเทศ ความเชื่อมโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคมโลกาภิวัฒน์

ประการที่สาม เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพัน มีการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น หน่วยธุรกิจมีขนาดเล็กลง และเชื่อมโยงกันกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่าย การดำเนินธุรกิจมีการแข่งขันกันในด้านความเร็ว โดยอาศัยการใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวสนับสนุน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว

ประการที่สี่ เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีแบบสุนทรียสัมผัส และสามารถตอบสนองตามความต้องการการใช้เทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ที่เลือกได้เอง

ประการที่ห้า เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา

ประการที่หก เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการวางแผนการดำเนินการระยะยาวขึ้น อีกทั้งยังทำให้วิถีการตัดสินใจ หรือเลือกทางเลือกได้ละเอียดขึ้น

กล่าวโดยสรุปแล้ว เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทที่สำคัญในทุกวงการ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลกด้านความเป็นอยู่ สังคม เศรษฐกิจ การศึกษา การแพทย์ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การเมือง ตลอดจนการวิจัยและการพัฒนาต่าง ๆ

ที่มา //www.kmitl.ac.th/agritech/nutthakorn/04093009_2204/isweb/Lesson%2022.htm

ข้อสอง ตอบ

1. ทำให้ตัวเองเป็นคนที่กระตือรือร้นมากขึ้น เพื่อต้องการข่าวสารประจำวัน
2. ทำให้รู้จักโลกมากขึ้น เช่น ได้รู้จัก พีระมิด อีหยิบ ฯลฯ


โดย: นาย เติมศักดิ์ พงษ์มา 52040001153 (พุธ เข้า) IP: 124.157.146.209 วันที่: 4 สิงหาคม 2552 เวลา:14:33:04 น.  

 
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ เทคโนโลยีสารสนเทศที่ปัจจุบันนี้นิยมนำมาใช้ใน การจัดการเรียน การสอน ได้แก่
1. Computer Assisted Information (CAI) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยระบบนี้จะใช้ในรูปแบบ OffLine โดยมากจะจัดสร้างในรูปแบบของ CD-ROM
2. Web-Based Instruction (WBI) การจัดการศึกษาในรูปแบบ Web Knowledge Based On Line เป็นการจัดสภาวการณ์การเรียนการสอน ในรูปแบบ On Line
ปัจจัยที่ทำให้เกิดความล้มเหลวในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ ในสังคม จากสังคมที่เรามีความต้องการใน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มอย่างมากมายนี้ ในบางครั้งก็ทำให้ผู้ใช้เกิดความ เสียหายอย่างใหญ่หลวงได้ หากการ ใช้นั้นเกิดขึ้นโดยไม่ได้อยู่บนรากฐานของความเข้าใจและความสมเหตุสมผล ในการใช้ อาทิเช่น ในทุกวันคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ทางเทคโนโลยีสารสนเทศได้พัฒนาตลอดเวลา ในขณะที่ในสังคม เมืองมีการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ อยู่ตลอดเวลา ได้สัมผัสทุกกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศทางด้าน การคมนาคม ทางด้านการสื่อสารที่เห็น ได้อย่างชัดเจน แต่ในขณะเดียวกันทางสังคมชนบท กลับมีวิถีชีวิตอยู่กับสังคม การเกษตร และสภาพแวดล้อมที่ล้าหลัง กว่าสังคมเมืองอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้นการพัฒนาในด้านการศึกษาของทั้งสอง กลุ่มสังคม จึงมีความแตกต่างอย่างมาก ไม่สามารถที่จะใช้มาตรฐานการศึกษาในรูปแบบเดียวกันได้ ช่องว่างระหว่าง สังคมเมืองกับสังคมชนบทจึงกว้างขึ้น อย่างเห็นได้ชัด ปัจจุบันในหลายๆ หน่วยงานจึงมีการรับบริจาคอุปกรณ ์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับ สังคมชนบท หรือนักเรียนที่ด้อยโอกาส แต่ปัญหาต่างๆ ไม่ๆได้หมดไป กลับเป็นไปในทางตรงกันข้าม เพราะปัญหาต่างๆ กลับเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ไม่สาสามรถใช้งานได้ ตกรุ่น เสียจน เกินกว่าที่จะซ่อมบำรุงเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ได้ และที่ ี่สำคัญคือบุคลากรที่อยู่ในท้องถิ่นไม่มีความรู้ความสามารถในการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศจึงเท่ากับว่าส่งสิ่งของไปให้ ้เพื่อเป็นภาระกว่าเดิม เป็นต้น

ที่มา: //www.thaigoodview.com/node/25246

3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน
ตอบ 1. การศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยในด้านการค้นคว้าศึกษาแหล่งข้อมูล ทำให้การศึกษาง่ายขึ้นและไร้ขีดจำกัด ผู้เรียนมีความสะดวกในการค้นคว้าวิจัย
2. การดำรงชีวิตประจำวัน ทำให้มีความสะดวกคล่องตัวและรวดเร็วในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน สามารถทำงานได้หลายอย่างในเวลาเดียวกันได้หรือทำงานใช้เวลาน้อยลง
3. การดำเนินธุรกิจ ทำให้มีการแข่งขันระหว่างธุรกิจมากขึ้น ทำให้ต้องมีการพัฒนาองค์กรเพื่อให้ทันกับข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเวลา
อันส่งผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง
4. อัตราการขยายตัวทุก ๆ ด้านที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะมีการติดต่อสื่อสารที่เจริญก้าวหน้าทันสมัย รวดเร็วถูกต้องและ ทำให้
เป็นโลกที่ไร้พรหรมแดน
5. ระบบการทำงานมีคอมพิวเตอร์มาใช้ซื่อสามารถทำงานได้มากขึ้น งานบางอย่างมนุษย์ทำไม่ได ้ก็ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยทำงานแทนซึ่งได้ผลถูกต้องรวดเร็ว

ที่มา:
www.a.1asphost.com/chalin623/drinking48/.../techno1_1.htm


โดย: นางสาวสุภาพร รัตนา 50240210102 วท.บ.สาธารณสุขศาสตร์ (เรียน พฤ-ค่ำ เวลา 17.00-21.00 น.) IP: 114.128.22.96 วันที่: 5 สิงหาคม 2552 เวลา:11:28:14 น.  

 
ตรวจ (ครั้งที่ 1)


โดย: อ.น้ำผึ้ง (neaup ) วันที่: 6 สิงหาคม 2552 เวลา:17:14:08 น.  

 
เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษา
เทคโนโลยีสารสนเทศมีได้เข้ามามีบทบาทอย่างกว้างขวางในทุกวงการ นับตั้งแต่ทางด้านธุรกิจ อุตสาหกรรม การวิจัยค้นคว้า ไปจนถึงเรื่องของการเมืองการศึกษา ในด้านการศึกษานั้นได้มีผู้นำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอนมาเป็นเวลานานแล้ว ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคอมพิวเตอร์มีบทบาทหลายประการ ทั้งนี้มีได้ความพยายามคิดหาวิธีที่จะสร้างศักยภาพด้านต่างๆ ให้กับคอมพิวเตอร์ โดยนักวิจัยบางคนเน้นในด้านการทำให้คอมพิวเตอร์คิดหาเหตุผลเองได้ และแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนได้เอง นักวิจัยบางกลุ่มก็เน้นในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ทางการสอน โดยการนำบทเรียนมาบรรจุไว้ในคอมพิวเตอร์ แล้วนำบทเรียนนั้นมาแสดงแก่ผู้เรียน ซึ่งเป็นการพัฒนาการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย และในที่นี้ได้แบ่งเป็นประเด็นไว้ 6 ประเด็น คือ
1. การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีหลายรูปแบบเช่น Drill and Practice, Linear Program , Branching Program, Simulation, Game, Multimedia, Intelligence CAI
2. การศึกษาทางไกล ซึ่งจัดได้หลายรูปแบบ เช่น การใช้วิทยุ โทรทัศน์ การสื่อสารโดยใช้ระบบแพร่ภาพผ่านดาวเทียม (Direct to Home : DTH) หรือระบบการแระชุมทางไกล (Video Teleconference)
3. เครือข่ายการศึกษา ซึ่งเป็นการนำเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาใช้ ซึ่งมีบริการในหลายรูปแบบ เช่น Electronic Mail , File Transfer Protocol, Telnet , World Wide Web เป็นต้น เครื่องข่ายคอมพิวเตอร์จะสามารถให้ผู้เรียนได้เข้าถึงแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่มีจำนวนมากมายที่เชือมโยงในเครื่อข่ายทั่วโลก
4. การใช้งานในห้องสมุด เป็นการประยุกต์ใช้ในการสืบค้นข้อมูลหนังสือ วารสาร หรือบทคัดย่อวิทยานิพนธ์ ผลงานการวิจัย
5. การใช้งานในห้องปฏิบัติการ ซึ่งเป็นเรื่องใหม่และที่น่าสนใจมาก เช่น การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการจำลองสถานการณ์ (Simulation)
6. การใช้ในงานประจำและงานบริหาร เป็นการปะยุกต์ใช้ในสำนักงานเพื่อช่วยในการบริหาร จัดการ ทำให้เกิดความคล่องตัว รวดเร็วและแม่นยำ การตัดสินใจในการดำเนินการต่างๆ ย่อมเกิดประสิทธิภาพสูงสุด


สรุป เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศมีคุณสมบัติเฉพาะตัวหลายประการ ดังนั้นนโยบายการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อการศึกษาจึงต้อง คำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ที่สำคัญต่อการวางแผนที่ดี อาทิเช่น การจัดการกับปัญหาคอมพิวเตอร์ที่เปลี่ยนแปลงทุกปี การจัดลำดับความเร่งด่วนและความสำคัญ (priority) ของการฝึกอบรม และการลงทุนในอุปกรณ์ ความคุ้มทุน การพัฒนาซอฟต์แวร์เฉพาะด้าน เป็นต้น

- เป็นการเรียนรู้อีกด้าน
- เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง


//gotoknow.org/blog/nana01/211332



โดย: นายนารายณื แก้วภักดี ม.15 ศ. เช้า IP: 124.157.129.16 วันที่: 10 สิงหาคม 2552 เวลา:17:52:07 น.  

 
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology หรือ IT) ได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว และมีบทบาทสำคัญในด้านต่างๆ อย่างกว้างขวาง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การบริการสังคม สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านการศึกษา ซึ่งการมีบทบาทสำคัญนี้อาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอทีนั้นเปรียบเหมือนเครื่องจักรที่สามารถรองรับข้อมูลข่าวสารมาทำการประมวลผล และการแสดงผลตามที่ต้องการได้รวดเร็ว โดยอาศัยองค์ประกอบอื่นๆ ช่วยในการจัดการ ได้แก่ โปรแกรมปฏิบัติการ โปรแกรมชุดคำสั่งต่างๆ และที่สำคัญคือ ผู้ที่จะตัดสินใจหรือสั่งการให้ทำงานได้ถูกต้องตามเป้าหมาย ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ใช้ ผู้บริหาร และผู้ชำนาญการ หรือนักเทคโนโลยีสารสนเทศโดยตรง






รัฐบาลไทยในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญ เล็งเห็นประโยชน์และคุณค่าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยใน พ.ศ. 2535 ได้แต่งตั้ง "คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ" ขึ้น โดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและให้มีรองนายกรัฐมนตรี ที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธาน มีคณะกรรมการประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง และผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาครัฐบาลและเอกชน และได้มอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการฯ มีหน้าที่เสนอแนะนโยบายและแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศต่อคณะรัฐมนตรี ทั้งในเรื่องการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างบรรยากาศ ให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการดำเนินงานด้านต่างๆ
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จัดทำแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานของรัฐ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการและการดำเนินการตามแผนดังกล่าวโดยแบ่งเป็น 4 ช่วงได้แก่

ช่วงที่ 1 : การมีการใช้คอมพิวเตอร์ในงานทั่วไป (พ.ศ. 2536-2538)
ช่วงที่ 2 : การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (พ.ศ. 2536-2539)
ช่วงที่ 3 : การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานด้านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (พ.ศ. 2537-2540)
ช่วงที่ 4 : การใช้คอมพิวเตอร์เต็มรูปแบบ (พ.ศ. 2540 เป็นต้นไป)


การดำเนินการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษานั้น ดำเนินการมาก่อนหน้านี้อีก คือเริ่มดันในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) ซึ่งในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งได้เห็นความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งในด้านการเรียนการสอนโดยมีหลักสูตรการศึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และวิชาการที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคม มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยการบริหารงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการลงทะเบียนนักศึกษา สำหรับกระทรวงศึกษาธิการนั้น ได้จัดตั้งศูนย์สารสนเทศขึ้นในปี พ.ศ. 2522 ในสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ทางด้านทบวงมหาวิทยาลัย ได้จัดประชุมระดับภูมิภาคอาเซียน เรื่องการศึกษาและระบบสารสนเทศภายใต้โครงการพัฒนาการศึกษาอาเซียนในเดือนพฤศจิกายน 2523 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการพัฒนาการสารสนเทศทางการศึกษาของประเทศ
พ.ศ. 2526 ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานและปฏิบัติการของระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา (ศ.ส.ษ.) ขึ้น โดยความเห็นชอบของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศให้ก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดให้มีข้อมูลและสารสนเทศที่มีคุณภาพทันสมัย และสอดคล้องกับความต้องการ และเพื่อเป็นศูนย์กลางในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสารสนเทศทางการศึกษาที่จำเป็นต่อการกำหนดนโยบายการวางแผนการศึกษาและการพัฒนาการศึกษาของประเทศ นอกจากนั้นยังมีหน้าที่กำหนดนิยามที่จำเป็นต้องใช้ในระบบสารสนเทศทางการศึกษา กำหนดมาตรฐานในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำแนกข้อมูลและจัดกระทำข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ ที่สามารถนำไปใช้ได้ตามความต้องการ รวมทั้งการกำหนดขอบข่ายการประสานงานของระบบสารสนเทศทางการศึกษา ตลอดจนส่งเสริมและเผยแพร่วิชาการ และการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศทางการศึกษาของประเทศ
ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) ได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งแก่เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาการศึกษาของชาติ ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 มีแผนงานหลักเพื่อพัฒนาการศึกษาอยู่ 9 แผนงานหลัก แผนงานหลักที่ 9 เป็นแผนเรื่องการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษา ในแผนงานหลักที่ 9 การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษานั้นได้มีแนวคิดว่า สำหรับระบบการศึกษาก็ได้ตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลและสารสนเทศเช่นเดียวกันโดยหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้องได้สนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การจัดเก็บ การให้บริการและแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศที่ใช้ในการกำหนดนโยบาย การวางแผนพัฒนาการศึกษา การบริหารการศึกษา และการจัดการศึกษาให้เป็นระบบ ที่มีรูปแบบและมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการเรียนการสอนทุกระดับการศึกษา
อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษาของหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง มีลักษณะเป็นไปอย่างอิสระทำให้ขาดความเป็นเอกภาพ ประกอบกับขาดความพร้อมทั้งด้านงบประมาณ บุคลากร และอุปกรณ์ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่อเชื่อมระบบซอฟแวร์ เป็นต้น ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ อันได้แก่ ปัญหาการผลิตข้อมูลปฐมภูมิที่มีข้อมูลไม่ครบถ้วนตามที่ผู้ต้องการใช้ ปัญหาการจัดเก็บข้อมูลทุติยภูมิ ปัญหาการประสานงานเครือข่าย รวมทั้งปัญหาการดำเนินงานสารสนเทศ ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ส่งผลไปถึงการจัดการศึกษาที่ต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินงาน
จากปัญหาข้างต้น จึงจำเป็นจะต้องพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา โดยมีพื้นฐานอยู่บนหลักการพัฒนาร่วมกันระหว่างหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถประสานการดำเนินงาน และการนำทรัพยากรมาใช้ในการบริหารการวางแผนการจัดการศึกษา และการฝึกอบรมร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติเป็นหน่วยประสานงานกลาง ในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา

//learners.in.th/blog/mooddang/256435

.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)

-เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ในการประกอบการทางด้านเศรษฐกิจ การค้า และการอุตสาหกรรม จำเป็นต้องหาวิธีในการเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารเข้ามาช่วยทำให้เกิดระบบอัตโนมัติ เราสามารถฝากถอนเงินสดผ่านเครื่องเอทีเอ็มได้ตลอดเวลา ธนาคารสามารถให้บริการได้ดีขึ้น ทำให้การบริการโดยรวมมีประสิทธิภาพ ในระบบการจัดการทุกแห่งต้องใช้ข้อมูลเพื่อการดำเนินการและการตัดสินใจ ระบบธุรกิจจึงใช้เครื่องมือเหล่านี้ช่วยในการทำงาน เช่น ใช้ในระบบจัดเก็บเงินสด จองตั๋วเครื่องบิน เป็นต้น

§ เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย เมื่อมีการพัฒนาระบบข้อมูล และการใช้ข้อมูลได้ดี การบริการต่าง ๆ จึงเน้นรูปแบบการบริการแบบกระจาย ผู้ใช้สามารถสั่งซื้อสินค้าจากที่บ้าน สามารถสอบถามข้อมุลผ่านทางโทรศัพท์ นิสิตนักศึกษาบางมหาวิทยาลัยสามารถใช้คอมพิวเตอร์สอบถามผลสอบจากที่บ้านได้

//www.tlcthai.com/webboard/view_topic.php?table_id=1&cate_id=4&post_id=57162




โดย: น.ส.นงนุช นาเจริญ หมู่22 อังคารเช้า IP: 124.157.147.193 วันที่: 11 สิงหาคม 2552 เวลา:19:17:20 น.  

 
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย

การศึกษานี้มีความหมาย เพื่อศึกษาสภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสถานศึกษา
ด้านการกระจายโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศเพื่อการศึกษา ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนาเทศและการสื่อสาร
เพื่อพัฒนาผู้เรียน ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนาเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการและให้บริการทาง
การศึกษา และด้านผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านใช้เทคโนโลยีสารสนาเทศและการสื่อสาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา
เป็นนักเรียน ครู-อาจารย์และผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 13,121 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และคำถามปลายเปิด
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาพบว่า
1. ด้านการกระจายโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศเพื่อการศึกษา พบว่า
1.1 ห้องมีอปกรณ์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในสถานศึกษาส่วนใหญ่อยู่ที่ห้องปฎิบัติการคอมพิวเตอร์
ห้องเรียน สำนักงาน ห้องพักครู ห้องสมุด ห้องอื่น ๆตามลำดับ
1.2 อุปกรณ์เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของสถานศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในสภาพใช้การไดและส่วนใหญ่
ใช้เพื่อการเรียนการสอนมากกว่าการบริหารจัดการ
2. ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาผู้เรียน พบว่า
2.1 สถานศึกษาส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาผู้เรียนในวิชาคอมพิวเตอร์ ภาษาอังกฤษ
วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา ภาษาไทย ศิลปศึกษา และดนตรีนาฎศิลป์ ตามลำดับ
2.2 นักเรยีนมีความคิดเห็นว่าได้ใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง
2.3 ครู-อาจารย์ มีความคิดเห็นว่าได้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย
3. ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการและให้บริการทางการศึกษา พบว่า
ครู-อาจารย์ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช ้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการและใหบริการทาง
การศึกษามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
4. ด้านการผลิตและพัฒนาบุคลากรด้าน การใช ้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พบว่า
ครู-อาจารย์ ส่วนใหญ่เคยอบรมในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมาคิดเป็นร้อยละ 56.30 และไม่เคยผ่านการอบรมในระยะเวลา 3 ปีที่ผา่นมา
คิดเป็นร้อยละ 43.7
ข้อเสนอแนะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสถานศึกษา
1. ด้านการกระจายโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการศึกษา
1.1 ควรมีการจัดสรรเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ครบทุกโรงเรียน และควรวางโครงสร้างเครือข่ายโทรศัพท์ให้เข้าถึงทุกโรงเรียน
1.2 สำรวจอุปกรสื่อสารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีอยู่ให้มีการตรวจซ่อม up-gtade บำรุงรักษา โดยประสานขอรับการสับสนุน
จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลหรือวิทยาลัยเทคนิคต่าง ๆ แล้วนำมาใช้ในการเรียนการสอนให้มากและเกิดประโยชน์สูงสุด
1.3 กำหนดเป้าหมายจำนวนเครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศ ระยะเวลาและการได้มาอย่างชัดเจน รวมทั้งการใช้ การบำรุงรักษา
2. ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการเรียนรู้
ควรมีการส่งเสริมในด้านความรู้ความสามารถและทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีการสื่อสารให้กับครูอาจารย์
เพื่อให้เกิดทักษะ มีความรู้ความชำนาญในด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
3.ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการ
3.1 ควรส่งเสริมการจัดสร้างระบบสารสนเทศ จัดทำรูปแบบสารสนเทศ ส่งเสริมเทคนิกวิธีการใช้ข้อมูลสารสนเทศในการประยุกต์ใช้ข้อมูล
ในการแก้ไขปัญหาและปรับปรุงข้อมูลให้เหมาะสมกับสภาพการบริหารงานเพื่อสอดคล้องกับความต้องการการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
3.2 ประสานกับสถานประกอบการ และภาคเอกชนที่มีศักยภาพให้การสนับสนุนการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ การใช้ Internet,e-mail ฯลฯ
แก่นัเรียน นักศึกษาได้ตามโอกาสอันเหมาะสม
3.3 สนับสนุนส่งเสริมการแก้ปัญหาและพัฒนาโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคเอกชนในรูปองค์คณะบุคคล
3.4 การบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมโดยองค์คณะบุคคล เช่น คณะกรรมการสถานศึกษา คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศ
เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
3.5 มีการประเมินผล รายงานผลและประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินการอย่างสม่ำเสมอ
3.6 รวมกลุ่มสถานศึกษา เพื่อเป็นเครือข่ายในการพึ่งพาช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และคิดค้นเทคโนโลยีสานสนเทศอื่น ๆ
3.7 ประสานกับสถาบันอุดมศึกษาที่ใกล้เคียงขอรับการสนับสนุนในการเป็นพี่เลี้ยงด้านวิชาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
เพื่อพัฒนาครู-อาจารย์และนักเรียน
3.8 กำหนดแผนการจัดกิจกรรมการเข้าร่วมจัดงานแสดงผลงานความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของสถานศึกษาในโอกาสต่าง ๆ
3.9 ผู้บริหารสถานศึกษาต้องพัฒนาตนเองให้มีขีดความรู้ ความสามารถสูงในระดับชำนาญการ เพื่อให้สามารถสาธิตเกี่ยวกับเทคโนโลยี
สารสนเทศ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. ด้านการผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านการใชเทคโนโลยีสารสนเทศ
4.1 ควรมีการผลิตบุคลากรด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เพิ่มมากขึ้น
4.2 เชิญอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล หรือวิทยาลัยเทคนิคต่าง ๆ มาเป็นวิทยากร
4.3 การสนับสนุนส่งเสริมครู-อาจารย์ ให้เข้ารับการอบรมเทคโนโลยีสานสนเทศทุกคนอย่างต่อเนื่องและสร้างขวัญกำลังใจ
ในกระบวนการหลากหลาย

บทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากมีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก การเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลา


พัฒนาการของเทคโนโลยีทำให้ชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนไปมาก ลองย้อนไปในอดีตโลกมีกำเนินมาประมาณ 4600 ล้านปี เชื่อกันว่าพัฒนาการตามธรรมชาติทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตถือกำเนินบนโลกประมาณ 500 ล้านปีที่แล้ว ยุคไดโนเสาร์มีอายุอยู่ในช่วง 200 ล้านปี สิ่งมีชีวิตที่เป็นเผ่าพันธุ์มนุษย์ ค่อย ๆ พัฒนามา คาดคะเนว่าเมื่อห้าแสนปีที่แล้วมนุษย์สามารถส่งสัญญาณท่าทางสื่อสารระหว่างกันและพัฒนามาเป็นภาษา มนุษย์สามารถสร้างตัวหนังสือ และจารึกไว้ตามผนึกถ้ำ เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่ามนุษย์ต้องใช้เวลานานพอสมควรในการพัฒนาตัวหนังสือที่ใช้แทนภาษาพูด และจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่าฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 500 ถึง 800 ปีที่แล้ว เทคโนโลยีเริ่มเข้ามาช่วยในการพิมพ์ ทำให้การสื่อสารด้วยข้อความและภาษาเพิ่มขึ้นมาก เทคโนโลยีพัฒนามาจนถึงการสื่อสารกัน โดยส่งข้อความเป็นเสียงทางสายโทรศัพท์ได้ประมาณร้อยกว่าปีที่แล้ว และเมื่อประมาณห้าสิบปีที่แล้ว ก็มีการส่งภาพโทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ทำให้มีการใช้สารสนเทศในรูปแบบข่าวสารมากขึ้น ในปัจจุบันมีสถานที่วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ แ ละสื่อต่าง ๆ ที่ใช้ในการกระจ่ายข่าวสาร มีการแพร่ภาพทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อรายงานเหตุการณ์สด เห็นได้ชัดว่าเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทอย่างมาก บทบาทของการพัฒนาเทคโนโลยีรวดเร็วขึ้นเมื่อมีการพัฒนาอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ จะเห็นได้ว่าในช่วงสี่ห้าปีที่ผ่านมาจะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เข้าไปเกี่ยวข้องให้เห็นอยู่ตลอดเวลา


Permalink : //www.oknation.net/blog/Pakamat


โดย: น.ส. ศิราณี ผิววงษ์ 52040258102 หมู่ 22 (อังคารเช้า ) IP: 124.157.147.193 วันที่: 11 สิงหาคม 2552 เวลา:19:45:40 น.  

 
3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)


§ เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่จำเป็น สำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่าง ๆ ปัจจุบันทุกหน่วยงานต่างพัฒนาระบบรวบรวมจัดเก็บข้อมูลเพื่อใข้ในองค์การประเทศไทยมีระบบทะเบียนราษฎร์ที่จัดทำด้วยระบบ ระบบเวชระเบียนในโรงพยาบาล ระบบการจัดเก็บข้อมูลภาษี ในองค์การทุกระดับเห็นความสำคัญที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้

§ เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องกับคนทุกระดับ พัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ดังจะเห็นได้จาก การพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ การใช้ตารางคำนวณ และใช้อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมแบบต่าง ๆ เป็นต้น

//www.tlcthai.com/webboard/view_topic.php?table_id=1&cate_id=4&post_id=57162


โดย: น.ส. ศิราณี ผิววงษ์ 52040258102 หมู่ 22 (อังคารเช้า) IP: 124.157.147.193 วันที่: 11 สิงหาคม 2552 เวลา:19:53:25 น.  

 
3.1 เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาประกอบด้วย
1. เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้ปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มีระบบมัลติมีเดีย (Multimedia)* ระบบวิดีโออนนดีมานด์ (Video on Demand) วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ (Video Teleconference) และอินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น ระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้
2. เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษาในการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการดำเนินการ การติดตามและประเมินผลคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในเรื่องนี้
3. เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคลเกือบทุกวงการ ทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เขียน ผู้เรียนกับผู้เรียน เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสาร และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร เทเลคอนเฟอเรนส์ และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
www.sahavicha.com/?name=faq&file=readfaq&id...
3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)
ตอบ. 1. ช่วยในการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลา และระยะทาง โดยการใช้ระบบโทรศัพท์ และอื่นๆ
การดำรงชีวิตประจำวัน ทำให้มีความสะดวกคล่องตัวและรวดเร็วในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน สามารถทำงานได้หลายอย่างในเวลาเดียวกันได้หรือทำงานใช้เวลาน้อยลง


3. การดำเนินธุรกิจ ทำให้มีการแข่งขันระหว่างธุรกิจมากขึ้น ทำให้ต้องมีการพัฒนาองค์กรเพื่อให้ทันกับข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเวลา
อันส่งผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง

4. อัตราการขยายตัวทุก ๆ ด้านที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะมีการติดต่อสื่อสารที่เจริญก้าวหน้าทันสมัย รวดเร็วถูกต้องและ ทำให้
เป็นโลกที่ไร้พรหรมแดน

5. ระบบการทำงานมีคอมพิวเตอร์มาใช้ซื่อสามารถทำงานได้มากขึ้น งานบางอย่างมนุษย์ทำไม่ได ้ก็ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยทำงานแทนซึ่งได้ผลถูกต้องรวดเร็ว

ที่มา: //www.thaigoodview.com/node/29939


โดย: 52040263105 ชื่อ น.ส.อรวรรณ ไชยยงค์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร หมู่ 22 (อังคารเช้า) IP: 1.1.1.211, 58.147.7.66 วันที่: 15 สิงหาคม 2552 เวลา:11:08:31 น.  

 
3.1ด้านการกระจายโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศเพื่อการศึกษา ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนาเทศและการสื่อสาร
เพื่อพัฒนาผู้เรียน ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนาเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการและให้บริการทาง
การศึกษา และด้านผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านใช้เทคโนโลยีสารสนาเทศและการสื่อสาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา
เป็นนักเรียน ครู-อาจารย์และผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 13,121 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และคำถามปลายเปิด
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ที่มา//www.thaigoodview.com/node/29939

3.2ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาลของแต่ละวัน
2. เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสารสนเทศ เช่น การคำนวณตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน การจัดเรียงลำดับสารสนเทศ ฯลฯ
3. ช่วยให้สามารถเก็บสารสนเทศไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้ทุกครั้งอย่างสะดวก
4. ช่วยให้สามารถจัดระบบอัตโนมัติ เพื่อการจัดเก็บประมวลผล และเรียกใช้สารสนเทศูล
5. ช่วยในการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น
6. ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลา และระยะทาง โดยการใช้ระบบโทรศัพท์ และอื่นๆ

ที่มา//61.19.218.122/jukkrit/IT_FOR_Lift/technology2.htm
โดยน.สอภิญญา อุ้ยปะโค 52041278104 ม.15 ศ.เช้า


โดย: อภิญญา อุ้ยปะโค IP: 124.157.148.58 วันที่: 16 สิงหาคม 2552 เวลา:15:50:29 น.  

 
1. ตอบ ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology หรือ IT) ได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว และมีบทบาทสำคัญในด้านต่างๆ อย่างกว้างขวาง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การบริการสังคม สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านการศึกษา ซึ่งการมีบทบาทสำคัญนี้อาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอทีนั้นเปรียบเหมือนเครื่องจักรที่สามารถรองรับข้อมูลข่าวสารมาทำการประมวลผล และการแสดงผลตามที่ต้องการได้รวดเร็ว โดยอาศัยองค์ประกอบอื่นๆ ช่วยในการจัดการ ได้แก่ โปรแกรมปฏิบัติการ โปรแกรมชุดคำสั่งต่างๆ และที่สำคัญคือ ผู้ที่จะตัดสินใจหรือสั่งการให้ทำงานได้ถูกต้องตามเป้าหมาย ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ใช้ ผู้บริหาร และผู้ชำนาญการ หรือนักเทคโนโลยีสารสนเทศโดยตรง
รัฐบาลไทยในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญ เล็งเห็นประโยชน์และคุณค่าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยใน พ.ศ. 2535 ได้แต่งตั้ง "คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ" ขึ้น โดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและให้มีรองนายกรัฐมนตรี ที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธาน มีคณะกรรมการประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง และผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาครัฐบาลและเอกชน และได้มอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการฯ มีหน้าที่เสนอแนะนโยบายและแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศต่อคณะรัฐมนตรี ทั้งในเรื่องการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างบรรยากาศ ให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการดำเนินงานด้านต่างๆ
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จัดทำแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานของรัฐ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการและการดำเนินการตามแผนดังกล่าวโดยแบ่งเป็น 4 ช่วงได้แก่

ช่วงที่ 1 : การมีการใช้คอมพิวเตอร์ในงานทั่วไป (พ.ศ. 2536-2538)
ช่วงที่ 2 : การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (พ.ศ. 2536-2539)
ช่วงที่ 3 : การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานด้านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (พ.ศ. 2537-2540)
ช่วงที่ 4 : การใช้คอมพิวเตอร์เต็มรูปแบบ (พ.ศ. 2540 เป็นต้นไป)


การดำเนินการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษานั้น ดำเนินการมาก่อนหน้านี้อีก คือเริ่มดันในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) ซึ่งในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งได้เห็นความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งในด้านการเรียนการสอนโดยมีหลักสูตรการศึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และวิชาการที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคม มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยการบริหารงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการลงทะเบียนนักศึกษา สำหรับกระทรวงศึกษาธิการนั้น ได้จัดตั้งศูนย์สารสนเทศขึ้นในปี พ.ศ. 2522 ในสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ทางด้านทบวงมหาวิทยาลัย ได้จัดประชุมระดับภูมิภาคอาเซียน เรื่องการศึกษาและระบบสารสนเทศภายใต้โครงการพัฒนาการศึกษาอาเซียนในเดือนพฤศจิกายน 2523 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการพัฒนาการสารสนเทศทางการศึกษาของประเทศ
พ.ศ. 2526 ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานและปฏิบัติการของระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา (ศ.ส.ษ.) ขึ้น โดยความเห็นชอบของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศให้ก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดให้มีข้อมูลและสารสนเทศที่มีคุณภาพทันสมัย และสอดคล้องกับความต้องการ และเพื่อเป็นศูนย์กลางในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสารสนเทศทางการศึกษาที่จำเป็นต่อการกำหนดนโยบายการวางแผนการศึกษาและการพัฒนาการศึกษาของประเทศ นอกจากนั้นยังมีหน้าที่กำหนดนิยามที่จำเป็นต้องใช้ในระบบสารสนเทศทางการศึกษา กำหนดมาตรฐานในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำแนกข้อมูลและจัดกระทำข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ ที่สามารถนำไปใช้ได้ตามความต้องการ รวมทั้งการกำหนดขอบข่ายการประสานงานของระบบสารสนเทศทางการศึกษา ตลอดจนส่งเสริมและเผยแพร่วิชาการ และการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศทางการศึกษาของประเทศ
ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) ได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งแก่เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาการศึกษาของชาติ ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 มีแผนงานหลักเพื่อพัฒนาการศึกษาอยู่ 9 แผนงานหลัก แผนงานหลักที่ 9 เป็นแผนเรื่องการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษา ในแผนงานหลักที่ 9 การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษานั้นได้มีแนวคิดว่า สำหรับระบบการศึกษาก็ได้ตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลและสารสนเทศเช่นเดียวกันโดยหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้องได้สนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การจัดเก็บ การให้บริการและแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศที่ใช้ในการกำหนดนโยบาย การวางแผนพัฒนาการศึกษา การบริหารการศึกษา และการจัดการศึกษาให้เป็นระบบ ที่มีรูปแบบและมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการเรียนการสอนทุกระดับการศึกษา
อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษาของหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง มีลักษณะเป็นไปอย่างอิสระทำให้ขาดความเป็นเอกภาพ ประกอบกับขาดความพร้อมทั้งด้านงบประมาณ บุคลากร และอุปกรณ์ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่อเชื่อมระบบซอฟแวร์ เป็นต้น ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ อันได้แก่ ปัญหาการผลิตข้อมูลปฐมภูมิที่มีข้อมูลไม่ครบถ้วนตามที่ผู้ต้องการใช้ ปัญหาการจัดเก็บข้อมูลทุติยภูมิ ปัญหาการประสานงานเครือข่าย รวมทั้งปัญหาการดำเนินงานสารสนเทศ ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ส่งผลไปถึงการจัดการศึกษาที่ต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินงาน
จากปัญหาข้างต้น จึงจำเป็นจะต้องพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา โดยมีพื้นฐานอยู่บนหลักการพัฒนาร่วมกันระหว่างหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถประสานการดำเนินงาน และการนำทรัพยากรมาใช้ในการบริหารการวางแผนการจัดการศึกษา และการฝึกอบรมร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติเป็นหน่วยประสานงานกลาง ในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา

ที่มา //learners.in.th/blog/mooddang/256435

2.ตอบ ชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบันเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ที่มีบทบาทเพิ่มขึ้น ใน พ.ศ. 2528 กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย ให้วิชาคอมพิวเตอร์เป็นวิชาเลือกของหมวดวิชาคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย 2 รายวิชา คือ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และการเขียนโปรแกรมภาษาเบสิก ต่อมา พ.ศ. 2532 และ พ.ศ. 2541 ก็เปลี่ยนแปลงและเพิ่มเติมหลักสูตรทางด้านคอมพิวเตอร์อีกหลายวิชา และจัดกลุ่มอยู่ในวิชาอาชีพสาขาคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันมีโรงเรียนมัธยมศึกษาหลายแห่งทั่วประเทศเปิดการเรียนการสอนทางด้านคอมพิวเตอร์ขึ้นมีความจำเป็นเพียงไรที่จะต้องให้เยาวชนไทยเรียนรู้คอมพิวเตอร์ เมื่อมีวิชาพื้นฐานอื่น ๆ มากมายที่ต้องจะเรียน เหตุผลสำคัญสำหรับตอบคำถามนี้ คือปัจจุบันความเป็นอยู่ของมนุษย์ในสังคม มีความเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ข้อมูลมากขึ้น ตั้งแต่เช้าตรู่ นักเรียนอาจถูกปลุกด้วยเสียงนาฬิกาอิเล็กทรอนิกส์แบบดิจิทัล และเริ่มวันใหม่ด้วยการฟังวิทยุที่ส่งกระจายเสียงทั่วประเทศพร้อมกัน รับประทานอาหารเช้าที่ปรุงจากเครื่องครัวที่ควบคุมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เสร็จแล้วรีบมาโรงเรียน ก้าวเข้าลิฟต์ที่ควบคุมการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ ติดต่อกับเพื่อนด้วยโทรศัพท์มือถือ คิดเลขด้วยเครื่องคิดเลขทันสมัย เรียนพิมพ์เอกสารด้วยโปรแกรมประมวลคำ ตกเย็นกลับบ้านดูทีวีแล้วเข้านอนกิจวัตรในชีวิตประจำวันของมนุษย์เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีมากขึ้น จนดูเหมือนว่าเทคโนโลยีเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งของมนุษย์ ซึ่งทำให้มนุษย์ได้รับความสะดวกสบายและประสบความสำเร็จในงานด้านต่าง ๆ เช่น เทคโนโลยีทางด้านอวกาศ ทางด้านการผลิต ทางด้านอุตสาหกรรม และทางด้านพาณิชยกรรม

อุตสาหกรรมทางด้านคอมพิวเตอร์เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ในระยะปีหรือสองปีข้างหน้า ยากที่จะคาดเดาว่า จะมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อะไรใหม่ขึ้นมาอีกบ้าง ทั้งนี้เพราะขีดความ สามารถของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันสูงมาก โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับไมโครคอมพิวเตอร์ (micro computer )

ที่มา//210.246.188.53/trang1kmc/modules.php?name=News&file=article&sid=620





โดย: นางสาวคนึงนิจ ผิวบาง หมู่ที่22 รหัส52040263139 เรียนวันอังคารตอนเช้า IP: 124.157.148.178 วันที่: 17 สิงหาคม 2552 เวลา:19:06:15 น.  

 
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยี่สารสนเทศมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ เป็นอย่างมาก ตัวอย่างเช่น
1. การศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยในด้านการค้นคว้าศึกษาแหล่งข้อมูล ทำให้การศึกษาง่ายขึ้นและ
ไร้ขีดจำกัด ผู้เรียนมีความสะดวกในการค้นคว้าวิจัย
2. การดำรงชีวิตประจำวัน ทำให้มีความสะดวกคล่องตัวและรวดเร็วในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นใน

ชีวิตประจำวัน สามารถทำงานได้หลายอย่างในเวลาเดียวกันได้หรือทำงานใช้เวลาน้อยลง
3. การดำเนินธุรกิจ ทำให้มีการแข่งขันระหว่างธุรกิจมากขึ้น ทำให้ต้องมีการพัฒนาองค์กรเพื่อให้ทันกับข้อมูล
ข่าวสารอยู่ตลอดเวลา อันส่งผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง
4. อัตราการขยายตัวทุก ๆ ด้านที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะมีการติดต่อสื่อสารที่เจริญก้าวหน้าทันสมัย รวดเร็ว
ถูกต้องและทำให้เป็นโลกที่ไร้พรมแดน
5. ระบบการทำงานมีคอมพิวเตอร์มาใช้ซื่อสามารถทำงานได้มากขึ้น งานบางอย่างมนุษย์ทำไม่ได้ก็ใช้
คอมพิวเตอร์ช่วยทำงานแทนซึ่งได้ผลถูกต้องรวดเร็ว
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ต้องประกอบด้วย
1. ฮาร์ดแวร์ Hardware
2. ซอฟต์แวร์ Software
3. อุปกรณ์ที่ใช้ในการให้บริการข้อมูลและติดต่อสื่อสาร
พื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วยส่วนประกอบ ดังนี้
1. องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ ได้แก่
1. ฮาร์ดแวร์ Hardware
2. ซอฟต์แวร์ Software
3. ข้อมูล Data
4. บุคลากร People
2. โปรแกรมเมอร์ นักวิเคราะห์ระบบและผู้ใช้งาน Programmer,System Analyst และ User
เป็นบุคคลที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในงานคอมพิวเตอร์ โปรแกรมเมอร์มีหน้าที่เขียนโปรแกรมตามที่นักวิเคราะห์ได้ออกแบบไว้ ส่วนผู้ใช้จะเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลต่อทิศทางในการพัฒนาเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์มากที่สุด
3. หน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยแสดงผลและหน่วยเก็บข้อมูล
หน่วยรับข้อมูล ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์
หน่วยประมวลผล ทำหน้าที่ประมวลผลและควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด
หน่วยแสดงผล ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากการประมวลผลข้อมูล
หน่วยเก็บข้อมูล ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่รอการประมวลผล และเก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลในระหว่างที่รอส่งไปยังหน่วยแสดงผล
4. การจัดการข้อมูล ซึ่งหมายถึงแฟ้มข้อมูล
5. การประมวลผล ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน
1. การรวมบรวมข้อมูล
2. การประมวลผล
3. การดูแลรักษา
เทคโนโลยีสารสนเทศรูปแบบต่าง ๆ
1. เทคโนโลยีระบบสารสนเทศ เป็นระบบการจัดการสารสนเทศที่ทำหน้าที่ไม่ว่าจะเป็นการบันทึก การแก้ไข การทำรายงาน งานบัญชี งานลงทะเบียน ระบบสารสนเทศจะช่วยให้องค์กรมีความสะดวกรวดเร็วในการทำงานและยังช่วยเป็นข้อมูลในการตัดสินใจด้วย
2. เทคโนโลยีระบบเครือข่าย เป็นระบบเทคโนโลยีที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน มีประโยชน์ ดังนี้
1. สามารถติดต่อถึงกันได้ด้วยจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)
2. จัดเก็บข้อมูลไว้รวมในที่เดียวกัน ผู้อยู่ห่างไกลก็สามารถดึงข้อมูลนั้นไปใช้ได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทาง
3. องค์กรประหยัดค่าใช้จ่ายงบประมาณด้านอุปกรณ์ เพราะระบบเครื่อข่ายสามารถใช้อุปกรณ์ร่วมกันได้
4. สามารถทำงานร่วมกันได้หรือทำงานโดยใช้เอกสารชุดเดียวกัน
3. เทคโนโลยีสำนักงานอัตโนมัติ เป็นระบบการทำงานที่ใช้ระบบการเืชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สำนักงาน ซึ่งมีผลทำให้
1. พนักงานสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E - mail)
2. สามารถบันทึกแฟ้มเอกสารหรืองานพิมพ์เก็บไว้ และสามารถนำมาแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ง่าย
3. การออกแบบงานต่าง ๆ ทำได้ง่ายสะดวกรวดเร็วและใช้งานได้ง่าย
4. มีระบบฝากข้อความเสียง (Voice Mail)
5. การประชุมทางไกล (Vedio Teleconference)
4. เทคโนโลยีช่วยสอน CAI ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โรงเรียนและสถานศึกษาก็เริ่มมีการพัฒนาโปรแกรมบทเรียนสำเร็จรูปขึ้นมาใช้ และมีผลดีกับนักเรียนที่จะได้สื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัยและมีความน่าสนใจมากขึ้น
การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. การนำมาประยุกต์ใช้งาน จะต้องคำนึงถึงผลที่จะได้รับและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาด้วย
2. การวางแผนที่ดี เพื่อเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เหมาะสมกับงานและเพื่อประโยชน์สูงสุดที่ควรจะได้รับ
3. มาตรฐานการใช้งาน ควรจะมีเจ้าหน้าที่ควบคุมดูแล ไม่ปล่อยปละละเลยหรือใช้ในทางที่ผิด
4. การลงทุน ควรคำนึงถึงงบประมาณและผลประโยชน์ที่ได้รับด้วย หากประโยชน์ที่ได้ไม่คุ้มค่าแก่การลงทุนก็ควรที่จะปรับแผนการเสียใหม่
5. การจัดการข้อมูล ต้องระมัดระวังไม่ให้ข้อมูลซ้ำซ้อน ควรมีการแบ่งปันข้อมูลเพื่อให้การทำงานร่วมกันมีการติดต่อสร้างความสัมพันธ์กัน
6. การรักษาความปลอดภัยของระบบ การใช้เทคโนโลยีร่วมกัน ต้องมีการดูแลให้สิทธิแก่ผู้ใช้ภายในขอบเขตของแต่ละคน
ข้อที่2.
1.เพื่อใช้ในการจัดเก็บข้อมูลที่มากๆให้เป็นระบบเเละค้นหาได้ง่าย
2.เพื่อให้เราจัดระบบชีวิตประจำวันของเราให้เป็นระบบ
ที่มา //learnersin.th/blog/wasana/2510/259724


โดย: นางสาว นฤมล หมู่หาญ 52040263122 หมู่22 อังคารเช้า IP: 1.1.1.182, 58.147.7.66 วันที่: 20 สิงหาคม 2552 เวลา:18:58:01 น.  

 
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

ความสำคัญ

ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology หรือ IT) ได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว และมีบทบาทสำคัญในด้านต่างๆ อย่างกว้างขวาง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การบริการสังคม สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านการศึกษา ซึ่งการมีบทบาทสำคัญนี้อาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอทีนั้นเปรียบเหมือนเครื่องจักรที่สามารถรองรับข้อมูลข่าวสารมาทำการประมวลผล และการแสดงผลตามที่ต้องการได้รวดเร็ว โดยอาศัยองค์ประกอบอื่นๆ ช่วยในการจัดการ ได้แก่ โปรแกรมปฏิบัติการ โปรแกรมชุดคำสั่งต่างๆ และที่สำคัญคือ ผู้ที่จะตัดสินใจหรือสั่งการให้ทำงานได้ถูกต้องตามเป้าหมาย ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ใช้ ผู้บริหาร และผู้ชำนาญการ หรือนักเทคโนโลยีสารสนเทศโดยตรง









รัฐบาลไทยในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญ เล็งเห็นประโยชน์และคุณค่าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยใน พ.ศ. 2535 ได้แต่งตั้ง "คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ" ขึ้น โดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและให้มีรองนายกรัฐมนตรี ที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธาน มีคณะกรรมการประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง และผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาครัฐบาลและเอกชน และได้มอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการฯ มีหน้าที่เสนอแนะนโยบายและแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศต่อคณะรัฐมนตรี ทั้งในเรื่องการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างบรรยากาศ ให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการดำเนินงานด้านต่างๆ
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จัดทำแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานของรัฐ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการและการดำเนินการตามแผนดังกล่าวโดยแบ่งเป็น 4 ช่วงได้แก่

ช่วงที่ 1 : การมีการใช้คอมพิวเตอร์ในงานทั่วไป (พ.ศ. 2536-2538)
ช่วงที่ 2 : การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (พ.ศ. 2536-2539)
ช่วงที่ 3 : การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานด้านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (พ.ศ. 2537-2540)
ช่วงที่ 4 : การใช้คอมพิวเตอร์เต็มรูปแบบ (พ.ศ. 2540 เป็นต้นไป)

การดำเนินการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษานั้น ดำเนินการมาก่อนหน้านี้อีก คือเริ่มดันในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) ซึ่งในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งได้เห็นความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งในด้านการเรียนการสอนโดยมีหลักสูตรการศึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และวิชาการที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคม มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยการบริหารงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการลงทะเบียนนักศึกษา สำหรับกระทรวงศึกษาธิการนั้น ได้จัดตั้งศูนย์สารสนเทศขึ้นในปี พ.ศ. 2522 ในสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ทางด้านทบวงมหาวิทยาลัย ได้จัดประชุมระดับภูมิภาคอาเซียน เรื่องการศึกษาและระบบสารสนเทศภายใต้โครงการพัฒนาการศึกษาอาเซียนในเดือนพฤศจิกายน 2523 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการพัฒนาการสารสนเทศทางการศึกษาของประเทศ
พ.ศ. 2526 ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานและปฏิบัติการของระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา (ศ.ส.ษ.) ขึ้น โดยความเห็นชอบของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศให้ก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดให้มีข้อมูลและสารสนเทศที่มีคุณภาพทันสมัย และสอดคล้องกับความต้องการ และเพื่อเป็นศูนย์กลางในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสารสนเทศทางการศึกษาที่จำเป็นต่อการกำหนดนโยบายการวางแผนการศึกษาและการพัฒนาการศึกษาของประเทศ นอกจากนั้นยังมีหน้าที่กำหนดนิยามที่จำเป็นต้องใช้ในระบบสารสนเทศทางการศึกษา กำหนดมาตรฐานในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำแนกข้อมูลและจัดกระทำข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ ที่สามารถนำไปใช้ได้ตามความต้องการ รวมทั้งการกำหนดขอบข่ายการประสานงานของระบบสารสนเทศทางการศึกษา ตลอดจนส่งเสริมและเผยแพร่วิชาการ และการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศทางการศึกษาของประเทศ
ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) ได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งแก่เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาการศึกษาของชาติ ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 มีแผนงานหลักเพื่อพัฒนาการศึกษาอยู่ 9 แผนงานหลัก แผนงานหลักที่ 9 เป็นแผนเรื่องการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษา ในแผนงานหลักที่ 9 การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษานั้นได้มีแนวคิดว่า สำหรับ ระบบการศึกษาก็ได้ตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลและสารสนเทศเช่นเดียวกันโดย หน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้องได้สนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อการศึกษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การจัดเก็บ การให้บริการและแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศที่ใช้ในการกำหนดนโยบาย การวางแผนพัฒนาการศึกษา การบริหารการศึกษา และการจัดการศึกษาให้เป็นระบบ ที่มีรูปแบบและมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการเรียนการสอนทุกระดับการศึกษา
อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษาของหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง มีลักษณะเป็นไปอย่างอิสระทำให้ขาดความเป็นเอกภาพ ประกอบกับขาดความพร้อมทั้งด้านงบประมาณ บุคลากร และอุปกรณ์ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่อเชื่อมระบบซอฟแวร์ เป็นต้น ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ อันได้แก่ ปัญหาการผลิตข้อมูลปฐมภูมิที่มีข้อมูลไม่ครบถ้วนตามที่ผู้ต้องการใช้ ปัญหาการจัดเก็บข้อมูลทุติยภูมิ ปัญหาการประสานงานเครือข่าย รวมทั้งปัญหาการดำเนินงานสารสนเทศ ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ส่งผลไปถึงการจัดการศึกษาที่ต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินงาน
จากปัญหาข้างต้น จึงจำเป็นจะต้องพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา โดยมีพื้นฐานอยู่บนหลักการพัฒนาร่วมกันระหว่างหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถประสานการดำเนินงาน และการนำทรัพยากรมาใช้ในการบริหารการวางแผนการจัดการศึกษา และการฝึกอบรมร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติเป็นหน่วยประสานงานกลาง ในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา

ที่มา //learners.in.th/blog/mooddang/256435

3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)

1)ช่วยในการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น

2)ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลา และระยะทาง โดยการใช้ระบบโทรศัพท์ และอื่นๆ

ที่มา //61.19.218.122/jukkrit/IT_FOR_Lift/technology2.htm



โดย: นางสาวสุจิตรา อินทสร้อย 52040258139 หมู่22 อังคารเช้า IP: 125.26.165.199 วันที่: 21 สิงหาคม 2552 เวลา:21:26:37 น.  

 
1. ในการใช้เทคโนโลยีในสมัยนี้ มีมากมายหลากหลายเป็นอย่างมาก ไม่ว่าเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีโทรคมนาคม และเทคโนโลยีอื่นๆ เป็นการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเพิ่ม ประสิทธิภาพการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยกำหนดมาตรการ เช่น การลดหย่อนภาษีเพื่อส่งเสริมให้ ทุกองค์กร หน่วยงาน ชุมชน และสื่อต่าง ๆ ร่วมผนึกพลังสร้างสรรค์กระบวนการเรียนรู้ให้เกิด องค์ความรู้ที่มีประโยชน์ โดยเผยแพร่ข่าวสาร ข้อมูล และความรู้ของตนอย่างเป็นระบบ เข้าใจง่าย โดยใช้สื่อและรูปแบบวิธีการที่หลากหลายสามารถตอบสนองความต้องการการเรียนรู้ของประชาชน และกระตุ้นให้เกิดบรรยากาศที่ทำให้เกิดความกระหายและสนุกที่จะได้เรียนรู้เรื่องต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ และมีการเชื่อมโยงระหว่างแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดโครงข่ายการบริการการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตรูปแบบในการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันนี้ สามารถแบ่งออกได้เป็น - การจัดการศึกษาภายในระบบ เป็นการศึกษาตามปกติ ที่มีการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาทั่วๆ ไป ดังนั้นการจัดการศึกษาแบบนี้ มีการใช้เทคโนโลยีตามความเหมาะสม ตามสภาพของสถานศึกษา หรือตามวิสัยทัศน์ของผู้บริหารว่า จะให้ความสำคัญกับระบบสารสนเทศ เทคโนโลยี มากน้อยแค่ไหน ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีของสถานศึกษาภายในระบบจึงค่อนข้างที่หลากหลาย แล้วสภาพพื้นที่ ความพร้อม และปัจจัยทางด้านทรัพยากรอื่นๆ - การจัดการศึกษานอกระบบ เป็นการจัดการศึกษาไม่อยู่ในระบบการศึกษาปกติ เช่น การจัดการศึกษาของการศึกษานอกโรงเรียน การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยเปิดต่างๆ ที่นักศึกษามีอิสระในการเรียนรู้ ภายใต้มาตรฐานที่กำหนดไว้ ดังนั้นการใช้เทคโนโลยี การใช้ระบบสารสนเทศ จึงมีความจำเป็นมากว่าการศึกษาภายในระบบ แต่มีข้อแม้ในเรื่องต่างๆ คือ ความรับผิดชอบ และความสนใจของผู้เรียนจะต้องมากกว่าระบบปกติทั่วๆ ไป บางครั้งเทคโนโลยี สารสนเทศ มีความทันสมัยมาก แต่นักศึกษาไม่สนใจ ไม่ให้ความสำคัญ หรือแม้แต่ไม่สามารถเข้าถึงได้ เนื่องจากไม่มีความรู้ การจัดการศึกษานอกระบบจึงมีความจำเป็น และมีความสำคัญมากๆ สำหรับนักศึกษาที่มีความรับผิดชอบ และมีความสนใจเท่านั้น - การจัดการการศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาหาความรู้ตามความสนใจในรูปแบบต่างๆ เช่น การศึกษาหลักสูตรระยะสั้นต่างๆ การศึกษาตามอาชีพที่มีความสนใจ ฯลฯ ซึ่งการศึกษาแบบนี้ สามารถเข้าถึงได้จากบุคคล ทั้งที่จากองค์กรของรัฐ หรือจากหน่วยงานเอกชน ที่มีความพร้อมและให้ความรู้ได้ ผู้เรียนสามารถเลือกที่จะเรียน และเลือกที่ประกอบอาชีพตามความต้องการของตนเองได้ จึงเป็นอิสระจากการเรียนรู้ภายในระบบ การจัดการศึกษาแบบนี้ระบบเทคโนโลยี สารสนเทศ ก็นับว่ามีความจำเป็นและสำคัญ สำหรับการค้นหาข้อมูลเบื้องต้น เพื่อที่จะเรียนรู้และศึกษาต่อไป การศึกษา กับการใช้เทคโนโลยีเป็นของคู่กัน ถ้าหากว่าผู้ใช้มีจิตสำนึกที่ดี ก็สามารถใช้ในทางที่สร้างสรรค์ ได้ แต่ถ้าหากว่าใช้ในการทำลายซึ่งกันและกัน ก็มีแต่ความเสียหาย ดังนั้นผู้ใช้จึงควรมีการแยะแยก ให้เทคโนโลยีสามารถใช้กับการศึกษาให้เกิดประโยชน์ที่สุด แล้วความสำเร็จก็เป็นของผู้เรียน

2.ตัวอย่างของเทคโนโลยี
นาโนเทคโนโลยี (อังกฤษ: Nanotechnology) คือ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดการ การสร้างหรือการวิเคราะห์ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องจักรหรือผลิตภัณฑ์ที่มีขนาดเล็กมาก ๆ ในระดับนาโนเมตร(ประมาณ 1-100 นาโนเมตร) รวมถึงการออกแบบหรือการประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อใช้สร้างหรือวิเคราะห์วัสดุในระดับที่เล็กมากๆ เช่น การจัดอะตอมและโมเลกุลในตำแหน่งที่ต้องการได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ส่งผลให้โครงสร้างของวัสดุหรืออุปกรณ์มีคุณสมบัติพิเศษขึ้นไม่ว่าทางด้านฟิสิกส์ เคมี หรือชีวภาพ และสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้




โดย: นายวรวัฒน์ ศรีใจ 52040332110 พฤหัส เช้า หมู่ 08 IP: 58.137.131.62 วันที่: 27 สิงหาคม 2552 เวลา:17:37:27 น.  

 
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology หรือ IT) ได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว และมีบทบาทสำคัญในด้านต่างๆ อย่างกว้างขวาง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การบริการสังคม สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านการศึกษา ซึ่งการมีบทบาทสำคัญนี้อาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอทีนั้นเปรียบเหมือนเครื่องจักรที่สามารถรองรับข้อมูลข่าวสารมาทำการประมวลผล และการแสดงผลตามที่ต้องการได้รวดเร็ว โดยอาศัยองค์ประกอบอื่นๆ ช่วยในการจัดการ ได้แก่ โปรแกรมปฏิบัติการ โปรแกรมชุดคำสั่งต่างๆ และที่สำคัญคือ ผู้ที่จะตัดสินใจหรือสั่งการให้ทำงานได้ถูกต้องตามเป้าหมาย ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ใช้ ผู้บริหาร และผู้ชำนาญการ หรือนักเทคโนโลยีสารสนเทศโดยตรง






รัฐบาลไทยในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญ เล็งเห็นประโยชน์และคุณค่าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยใน พ.ศ. 2535 ได้แต่งตั้ง "คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ" ขึ้น โดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและให้มีรองนายกรัฐมนตรี ที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธาน มีคณะกรรมการประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง และผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาครัฐบาลและเอกชน และได้มอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการฯ มีหน้าที่เสนอแนะนโยบายและแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศต่อคณะรัฐมนตรี ทั้งในเรื่องการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างบรรยากาศ ให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการดำเนินงานด้านต่างๆ
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จัดทำแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานของรัฐ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการและการดำเนินการตามแผนดังกล่าวโดยแบ่งเป็น 4 ช่วงได้แก่

ช่วงที่ 1 : การมีการใช้คอมพิวเตอร์ในงานทั่วไป (พ.ศ. 2536-2538)
ช่วงที่ 2 : การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (พ.ศ. 2536-2539)
ช่วงที่ 3 : การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานด้านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (พ.ศ. 2537-2540)
ช่วงที่ 4 : การใช้คอมพิวเตอร์เต็มรูปแบบ (พ.ศ. 2540 เป็นต้นไป)


การดำเนินการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษานั้น ดำเนินการมาก่อนหน้านี้อีก คือเริ่มดันในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) ซึ่งในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งได้เห็นความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งในด้านการเรียนการสอนโดยมีหลักสูตรการศึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และวิชาการที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคม มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยการบริหารงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการลงทะเบียนนักศึกษา สำหรับกระทรวงศึกษาธิการนั้น ได้จัดตั้งศูนย์สารสนเทศขึ้นในปี พ.ศ. 2522 ในสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ทางด้านทบวงมหาวิทยาลัย ได้จัดประชุมระดับภูมิภาคอาเซียน เรื่องการศึกษาและระบบสารสนเทศภายใต้โครงการพัฒนาการศึกษาอาเซียนในเดือนพฤศจิกายน 2523 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการพัฒนาการสารสนเทศทางการศึกษาของประเทศ
พ.ศ. 2526 ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานและปฏิบัติการของระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา (ศ.ส.ษ.) ขึ้น โดยความเห็นชอบของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศให้ก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดให้มีข้อมูลและสารสนเทศที่มีคุณภาพทันสมัย และสอดคล้องกับความต้องการ และเพื่อเป็นศูนย์กลางในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสารสนเทศทางการศึกษาที่จำเป็นต่อการกำหนดนโยบายการวางแผนการศึกษาและการพัฒนาการศึกษาของประเทศ นอกจากนั้นยังมีหน้าที่กำหนดนิยามที่จำเป็นต้องใช้ในระบบสารสนเทศทางการศึกษา กำหนดมาตรฐานในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำแนกข้อมูลและจัดกระทำข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ ที่สามารถนำไปใช้ได้ตามความต้องการ รวมทั้งการกำหนดขอบข่ายการประสานงานของระบบสารสนเทศทางการศึกษา ตลอดจนส่งเสริมและเผยแพร่วิชาการ และการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศทางการศึกษาของประเทศ
ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) ได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งแก่เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาการศึกษาของชาติ ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 มีแผนงานหลักเพื่อพัฒนาการศึกษาอยู่ 9 แผนงานหลัก แผนงานหลักที่ 9 เป็นแผนเรื่องการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษา ในแผนงานหลักที่ 9 การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษานั้นได้มีแนวคิดว่า สำหรับระบบการศึกษาก็ได้ตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลและสารสนเทศเช่นเดียวกันโดยหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้องได้สนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การจัดเก็บ การให้บริการและแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศที่ใช้ในการกำหนดนโยบาย การวางแผนพัฒนาการศึกษา การบริหารการศึกษา และการจัดการศึกษาให้เป็นระบบ ที่มีรูปแบบและมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการเรียนการสอนทุกระดับการศึกษา

ที่มา : //learners.in.th/blog/mooddang/256435


3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)
ตอบ 1.ใช้ในการสื่อสารระหว่างบุคคลได้
2.ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลา และระยะทาง โดยการใช้ระบบโทรศัพท์ และอื่นๆ



โดย: นางสาวกฤติยา เหล่าผักสาร 52040263134 หมู่ 22 อังคารเช้า คณะเทคโนโลยี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร IP: 124.157.145.109 วันที่: 28 สิงหาคม 2552 เวลา:17:40:28 น.  

 
1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
การพัฒนาระบบการเรียนการสอนโดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ทำให้รูปแบบการเรียนการสอนเปลี่ยนไป ช่วยอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ช่วยทำให้ขยายเวลาเรียนได้ทั้ง 24 ชั่วโมง ขยายสถานที่เรียนเป็นที่ใดก็ได้ ขยายขอบเขตเนื้อหาไม่มีจำกัด ขยายการเรียนการสอนได้ตามความต้องการของผู้เรียน” (รศ.ยืน ภู่วรวรรณ และผศ.สมชาย นำประเสริฐชัย.2546,26)

โดยสรุปแล้วการเรียนการสอนในโรงเรียนมีการนำคอมพิวเตอร์และเครื่องมือประกอบช่วยในการเรียนรู้ เช่น วีดิทัศน์ เครื่องฉายภาพ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ Computer Aided-Instruction (CAI) Multimedia (CD-ROM) มีการจัดตั้งเครือข่ายเพื่อการศึกษาหลายเครือข่าย เช่น เครือข่ายไทยสาร เครือข่าย School Net เป็นต้น รวมทั้งใช้คอมพิวเตอร์ในงานบริหารของโรงเรียน เช่นจัดทำประวัตินักเรียน ประวัติครูอาจารย์ จัดตารางสอน คำนวณระดับคะแนน จัดชั้นเรียน ทำรายงานเพื่อให้ผู้บริหารได้ทราบถึงปัญหาและการแก้ไขปัญหาในโรงเรียน

2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)

1.ใช้ในการค้นหาข้อมูลที่เราไม่รู้และทำสื่อเผื่อแพร่งานนิทัศการณ์

2.ช่วยจัดระบบห้องสมุด

ที่มา//www.school.net.th/library/create-web/10000/generality/10000-12784.html


โดย: นายอัศวิน บัวน้ำอ้อม 51241151118 รูปแบบพิเศษหมู่ 5 วันเสาร์บ่ายโมง IP: 172.29.5.133, 58.137.131.62 วันที่: 29 สิงหาคม 2552 เวลา:13:46:21 น.  

 
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)

1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
การพัฒนาระบบการเรียนการสอนโดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ทำให้รูปแบบการเรียนการสอนเปลี่ยนไป ช่วยอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ช่วยทำให้ขยายเวลาเรียนได้ทั้ง 24 ชั่วโมง ขยายสถานที่เรียนเป็นที่ใดก็ได้ ขยายขอบเขตเนื้อหาไม่มีจำกัด ขยายการเรียนการสอนได้ตามความต้องการของผู้เรียน” (รศ.ยืน ภู่วรวรรณ และผศ.สมชาย นำประเสริฐชัย.2546,26)

โดยสรุปแล้วการเรียนการสอนในโรงเรียนมีการนำคอมพิวเตอร์และเครื่องมือประกอบช่วยในการเรียนรู้ เช่น วีดิทัศน์ เครื่องฉายภาพ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ Computer Aided-Instruction (CAI) Multimedia (CD-ROM) มีการจัดตั้งเครือข่ายเพื่อการศึกษาหลายเครือข่าย เช่น เครือข่ายไทยสาร เครือข่าย School Net เป็นต้น รวมทั้งใช้คอมพิวเตอร์ในงานบริหารของโรงเรียน เช่นจัดทำประวัตินักเรียน ประวัติครูอาจารย์ จัดตารางสอน คำนวณระดับคะแนน จัดชั้นเรียน ทำรายงานเพื่อให้ผู้บริหารได้ทราบถึงปัญหาและการแก้ไขปัญหาในโรงเรียน

2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)

1.ใช้ในการค้นหาข้อมูลที่เราไม่รู้และทำสื่อเผื่อแพร่งานนิทัศการณ์

2.ช่วยจัดระบบห้องสมุด

ที่มา//www.school.net.th/library/create-web/10000/generality/10000-12784.html



โดย: ส.ต.ต.หญิงพิพิทย์ชยานันต์ สีลาเวช 51241151133 รูปแบบพิเศษ เสาร์ บ่าย IP: 172.29.5.133, 202.29.5.62 วันที่: 29 สิงหาคม 2552 เวลา:14:15:10 น.  

 
1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ในปัจจุบันผูบริหาร หน่วยงานทางการศึกษานํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการจัดการศึกษา เป็นประโยชนต่อการเรียนรูหลายอย่าง อาทิเช่น
5.1 อินเตอร์เน็ต (Internet) เพื่อใชในการศึกษาหาข้อมูล ข่าวสารทางวิชาการและอื่นๆ จากที่ต่าง ๆ เป็นการส่งเสริมการเรียนรูตลอดชีวิต
5.2 จดหมายอิเล็กทรอนิกส (Electronic Mail หรือ E-mail) เพื่อใชรับส่งข่าวสาร ข้อมูล รูปภาพ และส่งงานใหครูอาจารยตรวจ
5.3 การจัดทํา Website ของสถานศึกษา เพื่อการเผยแพรขาวสารของสถานศึกษา เป็นการประชาสัมพันธระหว่างสถานศึกษากับ ผู้ที่เกี่ยวของ และบุคคลทั่วไป
5.4 การใชโปรแกรม SPSS เพื่อการวิเคราะหข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชนต่อการทําวิจัยในชั้นเรียนของครูอาจารย การทําวิจัยสถานบันของฝ่ายบริหาร และอื่น ๆ
5.5 การทํา PowerPoint เพื่อใชในการเรียนการสอนของครูอาจารย และใชเสนอผลงานของ ผู้บริหารสถานศึกษา
5.6 คอมพิวเตอรช่วยสอน (Computer Assisted Instruction หรือ CAI) เพื่อช่วยใหผู้เรียนเรียนรูด้วยตนเองจากบทเรียนสําเร็จรูปในคอมพิวเตอร
5.7 การเรียนรูผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส (Electronic Learning) หรือที่เรียกกันว่า
E-Learning เป็นการเรียนทางไกลที่ผูเรียนสามารถโตตอบกับผู้สอนได โดยอาศัยเครือข่าย อินเตอร์เน็ต จึงช่วยใหเรียนรู้ไดโดยไม่มีข้อจํากัดของเวลา ระยะทาง และสถานที่ โดยผูเรียนจะสามารถเรียนรูไดตลอดเวลาจึงตอบสนองศักยภาพการเรียนรูของผู้เรียนไดเป็นอย่างดี
5.8 ห้องเรียนอัจฉริยะ (Electronic Classroom หรือ E-Classroom) เป็นการจัดระบบบริหารจัดการ
ห้องเรียน ที่ใชการเรียนการสอนแบบ on-line และ ปฏิสัมพันธ (interactive) สามารถควบคุมและและตรวจสอบกิจกรรมของนักเรียนไดโดยตรงจากเครื่องคอมพิวเตอรของครูแบบ real time
5.9 หนังสืออิเล็กทรอนิกส (E-book) และ หองสมุดอิเล็กทรอนิกส (E-Library) เพื่อเสริม การเรียนการสอน และใหบริการค้นคว้าหาความรูแกนักเรียน ครูอาจารย และประชาชน
5.10 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ “ICT” (Information and Communication Technologies) เพื่อพัฒนาการศึกษา ปัจจุบันประเทศไทยโดยกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายสําคัญที่จะนําเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช เพื่อพัฒนาการสื่อสารในทุกด้าน โดยเฉพาะการช่วยพัฒนาครูอาจารย การช่วยใหเด็กและเยาวชนไดเข้าถึงแหล่งความรูและไดเรียนอย่างทัดเทียมกัน ตลอดจนการพัฒนาระบบบริหารจัดการให้ ฉับไว มีประสิทธิภาพสูงสุด

ดังนั้น นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ก็เข้ามามีบทบาทมากขึ้น โนเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุคของการปฎิรูปการศึกษา ผู้บริหารการศึกษายุคใหมต่างก็นํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชประโยชนใน การบริหารจัดการศึกษา เพื่อใหประสบผลสําเร็จในการพัฒนาคุณภาพผูเรียนไดอย่างมีประสิทธิภาพสูง

//www.sahavicha.com/?name=faq&file=readfaq&id=290


โดย: นางสาวสุกัญญา แก้วคูณเมือง รหัส 51241151122 (เรียนเสาร์บ่ายโมง) IP: 172.29.5.133, 58.137.131.62 วันที่: 29 สิงหาคม 2552 เวลา:14:26:22 น.  

 
2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)


ตอย..1.การดำรงชีวิตประจำวัน ทำให้มีความสะดวกคล่องตัวและรวดเร็วในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน สามารถทำงานได้หลายอย่างในเวลาเดียวกันได้หรือทำงานใช้เวลาน้อยลง


2.การดำเนินธุรกิจ ทำให้มีการแข่งขันระหว่างธุรกิจมากขึ้น ทำให้ต้องมีการพัฒนาองค์กรเพื่อให้ทันกับข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเวลา
อันส่งผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง



โดย: นางสาวสุกัญญา แก้วคูณเมือง รหัส 51241151122 (เรียนเสาร์บ่ายโมง) IP: 172.29.5.133, 58.137.131.62 วันที่: 29 สิงหาคม 2552 เวลา:14:31:00 น.  

 
1. ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology หรือ IT) ได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว และมีบทบาทสำคัญในด้านต่างๆ อย่างกว้างขวาง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การบริการสังคม สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านการศึกษา ซึ่งการมีบทบาทสำคัญนี้อาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอทีนั้นเปรียบเหมือนเครื่องจักรที่สามารถรองรับข้อมูลข่าวสารมาทำการประมวลผล และการแสดงผลตามที่ต้องการได้รวดเร็ว โดยอาศัยองค์ประกอบอื่นๆ ช่วยในการจัดการ ได้แก่ โปรแกรมปฏิบัติการ โปรแกรมชุดคำสั่งต่างๆ และที่สำคัญคือ ผู้ที่จะตัดสินใจหรือสั่งการให้ทำงานได้ถูกต้องตามเป้าหมาย ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ใช้ ผู้บริหาร และผู้ชำนาญการ หรือนักเทคโนโลยีสารสนเทศโดยตรง






รัฐบาลไทยในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญ เล็งเห็นประโยชน์และคุณค่าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยใน พ.ศ. 2535 ได้แต่งตั้ง "คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ" ขึ้น โดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและให้มีรองนายกรัฐมนตรี ที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธาน มีคณะกรรมการประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง และผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาครัฐบาลและเอกชน และได้มอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการฯ มีหน้าที่เสนอแนะนโยบายและแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศต่อคณะรัฐมนตรี ทั้งในเรื่องการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างบรรยากาศ ให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการดำเนินงานด้านต่างๆ
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จัดทำแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานของรัฐ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการและการดำเนินการตามแผนดังกล่าวโดยแบ่งเป็น 4 ช่วงได้แก่

ช่วงที่ 1 : การมีการใช้คอมพิวเตอร์ในงานทั่วไป (พ.ศ. 2536-2538)
ช่วงที่ 2 : การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (พ.ศ. 2536-2539)
ช่วงที่ 3 : การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานด้านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (พ.ศ. 2537-2540)
ช่วงที่ 4 : การใช้คอมพิวเตอร์เต็มรูปแบบ (พ.ศ. 2540 เป็นต้นไป)


การดำเนินการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษานั้น ดำเนินการมาก่อนหน้านี้อีก คือเริ่มดันในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) ซึ่งในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งได้เห็นความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งในด้านการเรียนการสอนโดยมีหลักสูตรการศึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และวิชาการที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคม มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยการบริหารงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการลงทะเบียนนักศึกษา สำหรับกระทรวงศึกษาธิการนั้น ได้จัดตั้งศูนย์สารสนเทศขึ้นในปี พ.ศ. 2522 ในสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ทางด้านทบวงมหาวิทยาลัย ได้จัดประชุมระดับภูมิภาคอาเซียน เรื่องการศึกษาและระบบสารสนเทศภายใต้โครงการพัฒนาการศึกษาอาเซียนในเดือนพฤศจิกายน 2523 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการพัฒนาการสารสนเทศทางการศึกษาของประเทศ
พ.ศ. 2526 ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานและปฏิบัติการของระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา (ศ.ส.ษ.) ขึ้น โดยความเห็นชอบของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศให้ก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดให้มีข้อมูลและสารสนเทศที่มีคุณภาพทันสมัย และสอดคล้องกับความต้องการ และเพื่อเป็นศูนย์กลางในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสารสนเทศทางการศึกษาที่จำเป็นต่อการกำหนดนโยบายการวางแผนการศึกษาและการพัฒนาการศึกษาของประเทศ นอกจากนั้นยังมีหน้าที่กำหนดนิยามที่จำเป็นต้องใช้ในระบบสารสนเทศทางการศึกษา กำหนดมาตรฐานในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำแนกข้อมูลและจัดกระทำข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ ที่สามารถนำไปใช้ได้ตามความต้องการ รวมทั้งการกำหนดขอบข่ายการประสานงานของระบบสารสนเทศทางการศึกษา ตลอดจนส่งเสริมและเผยแพร่วิชาการ และการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศทางการศึกษาของประเทศ
ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) ได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งแก่เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาการศึกษาของชาติ ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 มีแผนงานหลักเพื่อพัฒนาการศึกษาอยู่ 9 แผนงานหลัก แผนงานหลักที่ 9 เป็นแผนเรื่องการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษา ในแผนงานหลักที่ 9 การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษานั้นได้มีแนวคิดว่า สำหรับระบบการศึกษาก็ได้ตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลและสารสนเทศเช่นเดียวกันโดยหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้องได้สนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การจัดเก็บ การให้บริการและแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศที่ใช้ในการกำหนดนโยบาย การวางแผนพัฒนาการศึกษา การบริหารการศึกษา และการจัดการศึกษาให้เป็นระบบ ที่มีรูปแบบและมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการเรียนการสอนทุกระดับการศึกษา
อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษาของหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง มีลักษณะเป็นไปอย่างอิสระทำให้ขาดความเป็นเอกภาพ ประกอบกับขาดความพร้อมทั้งด้านงบประมาณ บุคลากร และอุปกรณ์ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่อเชื่อมระบบซอฟแวร์ เป็นต้น ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ อันได้แก่ ปัญหาการผลิตข้อมูลปฐมภูมิที่มีข้อมูลไม่ครบถ้วนตามที่ผู้ต้องการใช้ ปัญหาการจัดเก็บข้อมูลทุติยภูมิ ปัญหาการประสานงานเครือข่าย รวมทั้งปัญหาการดำเนินงานสารสนเทศ ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ส่งผลไปถึงการจัดการศึกษาที่ต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินงาน
จากปัญหาข้างต้น จึงจำเป็นจะต้องพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา โดยมีพื้นฐานอยู่บนหลักการพัฒนาร่วมกันระหว่างหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถประสานการดำเนินงาน และการนำทรัพยากรมาใช้ในการบริหารการวางแผนการจัดการศึกษา และการฝึกอบรมร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติเป็นหน่วยประสานงานกลาง ในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา

ที่มา //learners.in.th/blog/mooddang/256435

2. 1. ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาลของแต่ละวัน
2. เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสารสนเทศ เช่น การคำนวณตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน การจัดเรียงลำดับสารสนเทศ ฯลฯ


ที่มา//61.19.218.122/jukkrit/IT_FOR_Lift/technology2.htm
ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)

1)ช่วยในการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น

2)ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลา และระยะทาง โดยการใช้ระบบโทรศัพท์ และอื่นๆ

ที่มา //61.19.218.122/jukkrit/IT_FOR_Lift/technology2.htm







โดย: จ.ส.ต.หญิงพรรณสุภา ชิตเกษร 51241151125 เสาร์บ่าย IP: 172.29.5.133, 58.137.131.62 วันที่: 29 สิงหาคม 2552 เวลา:15:19:12 น.  

 
3. ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ

1. ด้านการพัฒนาการเมืองการปกครองของประเทศ
2. ด้านสังคม
3. ด้านการคมนาคม
4. ด้านการพัฒนาสาธารณสุข
5. ด้านวงการธุรกิจ
6. ด้านการศึกษา
7. ด้านการบริการสารสนเทศ
8. ด้านวงการบันเทิง
ฯลฯ


แบบฝึกหัด
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)


ที่มา //learners.in.th/blog/mooddang/256435




โดย: นาย ปิยะ ศรีกุลวงศ์ เสาร์บ่าย 51241151204 IP: 202.29.5.62 วันที่: 30 สิงหาคม 2552 เวลา:17:43:00 น.  

 
ตอบข้อ. 3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย

ตอบ ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology หรือ IT) ได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว และมีบทบาทสำคัญในด้านต่างๆ อย่างกว้างขวาง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การบริการสังคม สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านการศึกษา ซึ่งการมีบทบาทสำคัญนี้อาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอทีนั้นเปรียบเหมือนเครื่องจักรที่สามารถรองรับข้อมูลข่าวสารมาทำการประมวลผล และการแสดงผลตามที่ต้องการได้รวดเร็ว โดยอาศัยองค์ประกอบอื่นๆ ช่วยในการจัดการ ได้แก่ โปรแกรมปฏิบัติการ โปรแกรมชุดคำสั่งต่างๆ และที่สำคัญคือ ผู้ที่จะตัดสินใจหรือสั่งการให้ทำงานได้ถูกต้องตามเป้าหมาย ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ใช้ ผู้บริหาร และผู้ชำนาญการ หรือนักเทคโนโลยีสารสนเทศโดยตรง


รัฐบาลไทยในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญ เล็งเห็นประโยชน์และคุณค่าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยใน พ.ศ. 2535 ได้แต่งตั้ง "คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ" ขึ้น โดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและให้มีรองนายกรัฐมนตรี ที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธาน มีคณะกรรมการประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง และผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาครัฐบาลและเอกชน และได้มอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการฯ มีหน้าที่เสนอแนะนโยบายและแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศต่อคณะรัฐมนตรี ทั้งในเรื่องการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างบรรยากาศ ให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการดำเนินงานด้านต่างๆ
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จัดทำแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานของรัฐ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการและการดำเนินการตามแผนดังกล่าวโดยแบ่งเป็น 4 ช่วงได้แก่

ช่วงที่ 1 : การมีการใช้คอมพิวเตอร์ในงานทั่วไป (พ.ศ. 2536-2538)
ช่วงที่ 2 : การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (พ.ศ. 2536-2539)
ช่วงที่ 3 : การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานด้านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (พ.ศ. 2537-2540)
ช่วงที่ 4 : การใช้คอมพิวเตอร์เต็มรูปแบบ (พ.ศ. 2540 เป็นต้นไป)

ที่มา...
//learners.in.th/blog/mooddang/256435


ตอบข้อ. 3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)

- 1.มีความสะดวกสบายในการใช้ชีวิติประวัน
- 2.มีความรวดเร๊วทันใจ ในยุคปัจจุบันของการเร่งรีบ

ที่มา...
//gotoknow.org/blog/matanand/32383




โดย: นางสาว จุรีพร โคตรชมภู รหัส 52040332125 พฤหัส เช้า หมู่ 08 IP: 172.29.5.133, 58.137.131.62 วันที่: 31 สิงหาคม 2552 เวลา:16:36:12 น.  

 
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ ด้านการบริการสารสนเทศ ไดแกการบริการขอมูลดานการบริหารและงานวิจัยของ
สถาบันฯ ประกอบดวยขอมูลทั่วไปที่เกี่ยวของกับการบริหารงานของ
สถาบันฯ ขอมูลโครงการวิจัย ขอมูลผลงานของสถาบันฯ และขอมูลกลุมงานวิจัย
3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)
ตอบ 1. ด้านการคมนาคม
2. ด้านการพัฒนาสาธารณสุข


โดย: นางฉวีวรรณ แสงเลิศ 51241151132 รูปแบบพิเศษ รปศ. เรียนเวลา บ่ายโมงวันเสาร์ IP: 117.47.14.74 วันที่: 1 กันยายน 2552 เวลา:19:10:34 น.  

 
การเปลี่ยนแปลงสังคมความเป็นอยู่ของมนุษย์เป็นไปอย่างรวดเร็ว กล่าวกันว่าได้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงในลักษณะที่เรียกว่า การปฏิวัติมาแล้วสองครั้ง ครั้งแรกเกิดจากการที่มนุษย์รู้จักใช้ระบบ
ชลประทานเพื่อการเพาะปลูก สังคมความเป็นอยู่ของมนุษย์จึงเปลี่ยนจากการเร่ร่อนมาเป็นการตั้งหลัก
แหล่งเพื่อทำการเกษตร ต่อมาเมื่อประมาณร้อยกว่าปีที่แล้ว ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 หลังจากที่เจมส์
วัตต์ประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำ มนุษย์รู้จักนำเอาเครื่องจักรมาช่วยในอุตสาหกรรมการผลิตและช่วยใน
การสร้างยานพาหนะเพื่องานคมนาคมขนส่ง ผลที่ตามมาทำให้เกิดการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม สังคม
ความเป็นอยู่ของมนุษย์จึงเปลี่ยนจากสังคมเกษตรมาเป็นสังคมเมือง และเกิดรวมกันเป็นเมือง
อุตสาหกรรมต่าง ๆhttps://www.bloggang.com/viewblog.php?id=numpuang&date=27-03-2009&group=7&gblog=4


โดย: ชื่อนางสาววิจิตรา สร้อยคำ52040280145หมู่ที่8เรียนพฤหัสเช้า IP: 172.29.5.133, 58.137.131.62 วันที่: 3 กันยายน 2552 เวลา:11:13:29 น.  

 
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยี่สารสนเทศมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ เป็นอย่างมาก ตัวอย่างเช่น
1. การศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยในด้านการค้นคว้าศึกษาแหล่งข้อมูล ทำให้การศึกษาง่ายขึ้นและไร้ขีดจำกัด ผู้เรียนมีความสะดวกในการค้นคว้าวิจัย


2. การดำรงชีวิตประจำวัน ทำให้มีความสะดวกคล่องตัวและรวดเร็วในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน สามารถทำงานได้หลายอย่างในเวลาเดียวกันได้หรือทำงานใช้เวลาน้อยลง


3. การดำเนินธุรกิจ ทำให้มีการแข่งขันระหว่างธุรกิจมากขึ้น ทำให้ต้องมีการพัฒนาองค์กรเพื่อให้ทันกับข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเวลา
อันส่งผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง

4. อัตราการขยายตัวทุก ๆ ด้านที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะมีการติดต่อสื่อสารที่เจริญก้าวหน้าทันสมัย รวดเร็วถูกต้องและ ทำให้
เป็นโลกที่ไร้พรหรมแดน

5. ระบบการทำงานมีคอมพิวเตอร์มาใช้ซื่อสามารถทำงานได้มากขึ้น งานบางอย่างมนุษย์ทำไม่ได ้ก็ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยทำงานแทนซึ่งได้ผลถูกต้องรวดเร็ว

ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ต้องประกอบด้วย
1. ฮาร์ดแวร์ Hardware
2. ซอฟต์แวร์ Software
3. อุปกรณ์ที่ใช้ในการให้บริการข้อมูลและติดต่อสื่อสาร

พื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วยส่วนประกอบ ดังนี้
1. องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ ได้แก่
1. ฮาร์ดแวร์ Hardware
2. ซอฟต์แวร์ Software
3. ข้อมูล Data
4. บุคลากร People
2. โปรแกรมเมอร์ นักวิเคราะห์ระบบและผู้ใช้งาน Programmer,System Analyst และ User เป็นบุคคลที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในงานคอมพิวเตอร์
โปรแกรมเมอร์มีหน้าที่เขียนโปรแกรมตามที่นักวิเคราะห์ได้ออกแบบไว้ ส่วนผู้ใช้จะเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลต่อทิศทางในการพัฒนาเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์มากที่สุด
3. หน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยแสดงผลและหน่วยเก็บข้อมูล
หน่วยรับข้อมูล ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์
หน่วยประมวลผล ทำหน้าที่ประมวลผลและควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด
หน่วยแสดงผล ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากการประมวลผลข้อมูล
หน่วยเก็บข้อมูล ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่รอการประมวลผล และเก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลในระหว่างที่รอส่งไปยังหน่วย
แสดงผล
4. การจัดการข้อมูล ซึ่งหมายถึงแฟ้มข้อมูล
5. การประมวลผล ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน
1. การรวมบรวมข้อมูล
2. การประมวลผล
3. การดูแลรักษา

เทคโนโลยีสารสนเทศรูปแบบต่าง ๆ
1. เทคโนโลยีระบบสารสนเทศ เป็นระบบการจัดการสารสนเทศที่ทำหน้าที่ไม่ว่าจะเป็นการบันทึก การแก้ไข การทำรายงาน งานบัญชี งาน
ลงทะเบียน ระบบสารสนเทศจะช่วยให้องค์กรมีความสะดวกรวดเร็วในการทำงานและยังช่วยเป็นข้อมูํลในการตัดสินใจด้วย
2. เทคโนโลยีระบบเครือข่าย เป็นระบบเทคโนโลยีที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน มีประโยชน์ ดังนี้
1. สามารถติดต่อถึงกันได้ด้วยจดหมายอิเลคทอรนิกส์ (E-mail)
2. จัดเก็บข้อมูลไว้รวมในที่เดียวกัน ผู้อยู่ห่างไกลก็สามารถดึงข้อมูลนั้นไปใช้ได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทาง
3. องค์กรประหยัดค่าใช้จ่ายงบประมาณด้านอุปกรณ์ เพราะระบบเครื่อข่ายสามารถใช้อุปกรณ์ร่วมกันได้
4. สามารถทำงานร่วมกันได้หรือทำงานโดยใช้เอกสารชุดเดียวกัน
3. เทคโนโลยีสำนักงานอัตโนมัติ เป็นระบบการทำงานที่ใช้ระบบการเืชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สำนักงาน ซึ่งมีผลทำให้
1. พนักงานสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ทางจดหมายอิเลคทรอนิกส์ (E - mail)
2. สามารถบันทึกแฟ้มเอกสารหรืองานพิมพ์เก็บไว้ และสามารถนำมาแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ง่าย
3. การออกแบบงานต่าง ๆ ทำได้ง่ายสะดวกรวดเร็วและใช้งานได้ง่าย
4. มีระบบฝากข้อความเสียง (Voice Mail)
5. การประชุมทางไกล (Vedio Teleconference)
4. เทคโนโลยีช่วนสอน CAI ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โรงเรียนและสถานศึกษาก็เริ่มมีการพัฒนาโปรแกรมบทเรียนสำเร็จรูปขึ้นมาใช้
และมีผลดีกับนักเรียนที่จะได้สื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัยและมีความน่าสนใจมากขึ้น

การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. การนำมาประยุกต์ใช้งาน จะต้องคำนึงถึงผลที่จะได้รับและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาด้วย
2. การวางแผนที่ดี เพื่อเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เหมาะสมกับงานและเพื่อประโยชน์สูงสุดที่ควรจะได้รับ
3. มาตรฐานการใช้งาน ควรจะมีเจ้าหน้าที่ควมคุมดูแล ไม่ปล่อยปละละเลยหรือใช้ในทางที่ผิด
4. การลงทุน ควรคำนึงถึงงบประมาณและผลประโยชน์ที่ได้รับด้วย หากประโยชน์ที่ได้ไม่คุ้มค่าแก่การลงทุนก็ควรที่จะปรับแผนการเสียใหม่
5. การจัดการข้อมูล ต้องระมัดระวังไม่ให้ข้อมูลซ้ำซ้อน ควรมีการแบ่งปันข้อมูํลเพื่อให้การทำงานร่วมกัน มีการติดต่อสร้างความสัมพันธ์กัน
6. การรักษาความปลอดภัยของระบบ การใช้เทคโนโลยีร่วมกัน ต้องมีการดูแลให้สิทธิแก่ผู้ใช้ภายในขอบเขตของแต่ละคน

//a.1asphost.com/chalin623/drinking48/information1/techno1_1.htm


โดย: นางสาวชรัญดา สีปุ้ม รหัส 52040280121 หมู่8 เรียน พฤหัสเช้า IP: 172.29.5.133, 202.29.5.62 วันที่: 3 กันยายน 2552 เวลา:11:20:20 น.  

 
1.เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไร
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยี่สารสนเทศมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ เป็นอย่างมาก ตัวอย่างเช่น
1. การศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยในด้านการค้นคว้าศึกษาแหล่งข้อมูล ทำให้การศึกษาง่ายขึ้นและไร้ขีดจำกัด ผู้เรียนมีความสะดวกในการค้นคว้าวิจัย

ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. ผลกระทบต่อการศึกษา การนำเทคโนโลยีหรือสื่อการเรียนมาใช้มากเกินไปจะเกิดปัญหาที่ชัดเจน คือ
- ครู กับนักเรียนขาดความสัมพันธ์และความใกล้ชิด ทำให้ความสำคัญของโรงเรียนและครูน้อยลง
- นักเรียนที่มีฐานะยากจนไม่สามารถเรียนโดยใช้สื่อเหล่านี้ได้ ทำให้เกิดการเสียโอกาสทางการศึกษาและทางสังคมที่แตกต่างกัน


2.
1. ด้านความบันเทิง
2.ด้านการพัฒนาชุมชน

ที่มา
//a.1asphost.com/chalin623/drinking48/information1/techno1.htm


โดย: ชื่อกิ่งแก้ว เชื้อบุญมา 52040281114 (ม. 8) พฤฯเช้า IP: 172.29.5.133, 202.29.5.62 วันที่: 3 กันยายน 2552 เวลา:11:32:54 น.  

 
ข้อ1.เทคโนโลยีสารสนเทศ มีบทบาทต่อสถาบันการศึกษามาก เป็นสิ่งที่เข้ามามีบทบาทที่ส่งเสริมการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาระบบสนับสนุนและจัดการ การเรียนการสอน ช่วยในการเอื้ออำนวยต่องานวิชาการทั้งในแง่งานวิจัย เทคโนโลยีสารสนเทศจึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นที่ทุกสถาบันการศึกษาได้ลงทุน และเริ่ม หามาใช้กันอย่างจริงจัง //www.sahavicha.com/?name=faq&file=readfaq&id=290
ข้อ2.1.เพื่อใช้ในการจัดเก็บข้อมูลที่มากๆให้เป็นระบบเเละค้นหาได้ง่ายมา//web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/network/it/index.html#sect1
2.มีความสะดวกสบายในการใช้ชีวิติประวัน


โดย: ชื่อนางสาววิจิตรา สร้อยคำ52040280145หมู่ที่8เรียนพฤหัสเช้า IP: 172.29.5.133, 202.29.5.62 วันที่: 3 กันยายน 2552 เวลา:11:43:58 น.  

 

ความสำคัญ

ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology หรือ IT) ได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว และมีบทบาทสำคัญในด้านต่างๆ อย่างกว้างขวาง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การบริการสังคม สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านการศึกษา ซึ่งการมีบทบาทสำคัญนี้อาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอทีนั้นเปรียบเหมือนเครื่องจักรที่สามารถรองรับข้อมูลข่าวสารมาทำการประมวลผล และการแสดงผลตามที่ต้องการได้รวดเร็ว โดยอาศัยองค์ประกอบอื่นๆ ช่วยในการจัดการ ได้แก่ โปรแกรมปฏิบัติการ โปรแกรมชุดคำสั่งต่างๆ และที่สำคัญคือ ผู้ที่จะตัดสินใจหรือสั่งการให้ทำงานได้ถูกต้องตามเป้าหมาย ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ใช้ ผู้บริหาร และผู้ชำนาญการ หรือนักเทคโนโลยีสารสนเทศโดยตรง






รัฐบาลไทยในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญ เล็งเห็นประโยชน์และคุณค่าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยใน พ.ศ. 2535 ได้แต่งตั้ง "คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ" ขึ้น โดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและให้มีรองนายกรัฐมนตรี ที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธาน มีคณะกรรมการประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง และผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาครัฐบาลและเอกชน และได้มอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการฯ มีหน้าที่เสนอแนะนโยบายและแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศต่อคณะรัฐมนตรี ทั้งในเรื่องการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างบรรยากาศ ให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการดำเนินงานด้านต่างๆ
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จัดทำแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานของรัฐ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการและการดำเนินการตามแผนดังกล่าวโดยแบ่งเป็น 4 ช่วงได้แก่

ช่วงที่ 1 : การมีการใช้คอมพิวเตอร์ในงานทั่วไป (พ.ศ. 2536-2538)
ช่วงที่ 2 : การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (พ.ศ. 2536-2539)
ช่วงที่ 3 : การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานด้านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (พ.ศ. 2537-2540)
ช่วงที่ 4 : การใช้คอมพิวเตอร์เต็มรูปแบบ (พ.ศ. 2540 เป็นต้นไป)


การดำเนินการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษานั้น ดำเนินการมาก่อนหน้านี้อีก คือเริ่มดันในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) ซึ่งในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งได้เห็นความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งในด้านการเรียนการสอนโดยมีหลักสูตรการศึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และวิชาการที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคม มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยการบริหารงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการลงทะเบียนนักศึกษา สำหรับกระทรวงศึกษาธิการนั้น ได้จัดตั้งศูนย์สารสนเทศขึ้นในปี พ.ศ. 2522 ในสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ทางด้านทบวงมหาวิทยาลัย ได้จัดประชุมระดับภูมิภาคอาเซียน เรื่องการศึกษาและระบบสารสนเทศภายใต้โครงการพัฒนาการศึกษาอาเซียนในเดือนพฤศจิกายน 2523 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการพัฒนาการสารสนเทศทางการศึกษาของประเทศ
พ.ศ. 2526 ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานและปฏิบัติการของระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา (ศ.ส.ษ.) ขึ้น โดยความเห็นชอบของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศให้ก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดให้มีข้อมูลและสารสนเทศที่มีคุณภาพทันสมัย และสอดคล้องกับความต้องการ และเพื่อเป็นศูนย์กลางในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสารสนเทศทางการศึกษาที่จำเป็นต่อการกำหนดนโยบายการวางแผนการศึกษาและการพัฒนาการศึกษาของประเทศ นอกจากนั้นยังมีหน้าที่กำหนดนิยามที่จำเป็นต้องใช้ในระบบสารสนเทศทางการศึกษา กำหนดมาตรฐานในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำแนกข้อมูลและจัดกระทำข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ ที่สามารถนำไปใช้ได้ตามความต้องการ รวมทั้งการกำหนดขอบข่ายการประสานงานของระบบสารสนเทศทางการศึกษา ตลอดจนส่งเสริมและเผยแพร่วิชาการ และการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศทางการศึกษาของประเทศ
ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) ได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งแก่เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาการศึกษาของชาติ ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 มีแผนงานหลักเพื่อพัฒนาการศึกษาอยู่ 9 แผนงานหลัก แผนงานหลักที่ 9 เป็นแผนเรื่องการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษา ในแผนงานหลักที่ 9 การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษานั้นได้มีแนวคิดว่า สำหรับระบบการศึกษาก็ได้ตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลและสารสนเทศเช่นเดียวกันโดยหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้องได้สนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การจัดเก็บ การให้บริการและแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศที่ใช้ในการกำหนดนโยบาย การวางแผนพัฒนาการศึกษา การบริหารการศึกษา และการจัดการศึกษาให้เป็นระบบ ที่มีรูปแบบและมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการเรียนการสอนทุกระดับการศึกษา
อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษาของหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง มีลักษณะเป็นไปอย่างอิสระทำให้ขาดความเป็นเอกภาพ ประกอบกับขาดความพร้อมทั้งด้านงบประมาณ บุคลากร และอุปกรณ์ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่อเชื่อมระบบซอฟแวร์ เป็นต้น ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ อันได้แก่ ปัญหาการผลิตข้อมูลปฐมภูมิที่มีข้อมูลไม่ครบถ้วนตามที่ผู้ต้องการใช้ ปัญหาการจัดเก็บข้อมูลทุติยภูมิ ปัญหาการประสานงานเครือข่าย รวมทั้งปัญหาการดำเนินงานสารสนเทศ ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ส่งผลไปถึงการจัดการศึกษาที่ต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินงาน
จากปัญหาข้างต้น จึงจำเป็นจะต้องพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา โดยมีพื้นฐานอยู่บนหลักการพัฒนาร่วมกันระหว่างหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถประสานการดำเนินงาน และการนำทรัพยากรมาใช้ในการบริหารการวางแผนการจัดการศึกษา และการฝึกอบรมร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติเป็นหน่วยประสานงานกลาง ในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา
//learners.in.th/blog/mooddang/256435
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยี่สารสนเทศมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ เป็นอย่างมาก ตัวอย่างเช่น
1. การศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยในด้านการค้นคว้าศึกษาแหล่งข้อมูล ทำให้การศึกษาง่ายขึ้นและไร้ขีดจำกัด ผู้เรียนมีความสะดวกในการค้นคว้าวิจัย


2. การดำรงชีวิตประจำวัน ทำให้มีความสะดวกคล่องตัวและรวดเร็วในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน สามารถทำงานได้หลายอย่างในเวลาเดียวกันได้หรือทำงานใช้เวลาน้อยลง


3. การดำเนินธุรกิจ ทำให้มีการแข่งขันระหว่างธุรกิจมากขึ้น ทำให้ต้องมีการพัฒนาองค์กรเพื่อให้ทันกับข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเวลา
อันส่งผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง

4. อัตราการขยายตัวทุก ๆ ด้านที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะมีการติดต่อสื่อสารที่เจริญก้าวหน้าทันสมัย รวดเร็วถูกต้องและ ทำให้
เป็นโลกที่ไร้พรหรมแดน

5. ระบบการทำงานมีคอมพิวเตอร์มาใช้ซื่อสามารถทำงานได้มากขึ้น งานบางอย่างมนุษย์ทำไม่ได ้ก็ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยทำงานแทนซึ่งได้ผลถูกต้องรวดเร็ว

ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ต้องประกอบด้วย
1. ฮาร์ดแวร์ Hardware
2. ซอฟต์แวร์ Software
3. อุปกรณ์ที่ใช้ในการให้บริการข้อมูลและติดต่อสื่อสาร

พื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วยส่วนประกอบ ดังนี้
1. องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ ได้แก่
1. ฮาร์ดแวร์ Hardware
2. ซอฟต์แวร์ Software
3. ข้อมูล Data
4. บุคลากร People
2. โปรแกรมเมอร์ นักวิเคราะห์ระบบและผู้ใช้งาน Programmer,System Analyst และ User เป็นบุคคลที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในงานคอมพิวเตอร์
โปรแกรมเมอร์มีหน้าที่เขียนโปรแกรมตามที่นักวิเคราะห์ได้ออกแบบไว้ ส่วนผู้ใช้จะเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลต่อทิศทางในการพัฒนาเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์มากที่สุด
3. หน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยแสดงผลและหน่วยเก็บข้อมูล
หน่วยรับข้อมูล ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์
หน่วยประมวลผล ทำหน้าที่ประมวลผลและควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด
หน่วยแสดงผล ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากการประมวลผลข้อมูล
หน่วยเก็บข้อมูล ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่รอการประมวลผล และเก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลในระหว่างที่รอส่งไปยังหน่วย
แสดงผล
4. การจัดการข้อมูล ซึ่งหมายถึงแฟ้มข้อมูล
5. การประมวลผล ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน
1. การรวมบรวมข้อมูล
2. การประมวลผล
3. การดูแลรักษา

เทคโนโลยีสารสนเทศรูปแบบต่าง ๆ
1. เทคโนโลยีระบบสารสนเทศ เป็นระบบการจัดการสารสนเทศที่ทำหน้าที่ไม่ว่าจะเป็นการบันทึก การแก้ไข การทำรายงาน งานบัญชี งาน
ลงทะเบียน ระบบสารสนเทศจะช่วยให้องค์กรมีความสะดวกรวดเร็วในการทำงานและยังช่วยเป็นข้อมูํลในการตัดสินใจด้วย
2. เทคโนโลยีระบบเครือข่าย เป็นระบบเทคโนโลยีที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน มีประโยชน์ ดังนี้
1. สามารถติดต่อถึงกันได้ด้วยจดหมายอิเลคทอรนิกส์ (E-mail)
2. จัดเก็บข้อมูลไว้รวมในที่เดียวกัน ผู้อยู่ห่างไกลก็สามารถดึงข้อมูลนั้นไปใช้ได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทาง
3. องค์กรประหยัดค่าใช้จ่ายงบประมาณด้านอุปกรณ์ เพราะระบบเครื่อข่ายสามารถใช้อุปกรณ์ร่วมกันได้
4. สามารถทำงานร่วมกันได้หรือทำงานโดยใช้เอกสารชุดเดียวกัน
3. เทคโนโลยีสำนักงานอัตโนมัติ เป็นระบบการทำงานที่ใช้ระบบการเืชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สำนักงาน ซึ่งมีผลทำให้
1. พนักงานสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ทางจดหมายอิเลคทรอนิกส์ (E - mail)
2. สามารถบันทึกแฟ้มเอกสารหรืองานพิมพ์เก็บไว้ และสามารถนำมาแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ง่าย
3. การออกแบบงานต่าง ๆ ทำได้ง่ายสะดวกรวดเร็วและใช้งานได้ง่าย
4. มีระบบฝากข้อความเสียง (Voice Mail)
5. การประชุมทางไกล (Vedio Teleconference)
4. เทคโนโลยีช่วนสอน CAI ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โรงเรียนและสถานศึกษาก็เริ่มมีการพัฒนาโปรแกรมบทเรียนสำเร็จรูปขึ้นมาใช้
และมีผลดีกับนักเรียนที่จะได้สื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัยและมีความน่าสนใจมากขึ้น

การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. การนำมาประยุกต์ใช้งาน จะต้องคำนึงถึงผลที่จะได้รับและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาด้วย
2. การวางแผนที่ดี เพื่อเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เหมาะสมกับงานและเพื่อประโยชน์สูงสุดที่ควรจะได้รับ
3. มาตรฐานการใช้งาน ควรจะมีเจ้าหน้าที่ควมคุมดูแล ไม่ปล่อยปละละเลยหรือใช้ในทางที่ผิด
4. การลงทุน ควรคำนึงถึงงบประมาณและผลประโยชน์ที่ได้รับด้วย หากประโยชน์ที่ได้ไม่คุ้มค่าแก่การลงทุนก็ควรที่จะปรับแผนการเสียใหม่
5. การจัดการข้อมูล ต้องระมัดระวังไม่ให้ข้อมูลซ้ำซ้อน ควรมีการแบ่งปันข้อมูํลเพื่อให้การทำงานร่วมกัน มีการติดต่อสร้างความสัมพันธ์กัน
6. การรักษาความปลอดภัยของระบบ การใช้เทคโนโลยีร่วมกัน ต้องมีการดูแลให้สิทธิแก่ผู้ใช้ภายในขอบเขตของแต่ละคน


//a.1asphost.com/chalin623/drinking48/information1/techno1_1.htm


โดย: นางสาวชรัญดา สีปุ้ม รหัส 52040280121 หมู่8 เรียน พฤหัสเช้า IP: 172.29.5.133, 202.29.5.62 วันที่: 3 กันยายน 2552 เวลา:11:53:46 น.  

 



3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย

ความสำคัญของเทคโนโลยีด้านการศึกษา
การนำเอาเทคโนโลยีการศึกษามาใช้นั้น ส่วนใหญ่นำมาใช้ในการแก้ปัญหา ในด้านการศึกษาก็เช่นเดียวกัน เพราะปัญหาทางด้านการศึกษามากมาย เช่น - ปัญหาผู้สอน - ปัญหาผู้เรียน - ปัญหาด้านเนื้อหา - ปัญหาด้านเวลา ปัญหาเรื่องระยะทางนอกจากนั้นการนำเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ในการเรียนการสอนก็เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนการสอนและเพิ่มประสิทธิผลทางการศึกษาอีกด้วยคณะกรรมการด้านเทคโนโลยีการศึกษา
ได้สรุปความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษาดังนี้
1 เทคโนโลยีการศึกษาทำให้การเรียนการสอน มีความหมายมากขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้กว้างขวาง เรียนได้เร็วขึ้น ทำให้ผู้สอนมีเวลาให้ผู้เรียนมากขึ้น
2 เทคโนโลยีการศึกษาสามารถตอบสนองความแตกต่างของผู้เรียน ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความสามารถของผู้เรียน การเรียนการสอนจะเป็นการตอบสนองความสนใจและความต้องการของแต่ละบุคคลได้ดี
3 เทคโนโลยีการศึกษาทำให้การจัดการศึกษา ตั้งบนรากฐานของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ทำให้การจัดการศึกษาเป็นระบบและเป็นขั้นตอน
4 เทคโนโลยีการศึกษาช่วยให้การศึกษามีพลังมากขึ้น การนำเทคโนโลยีด้านสื่อเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่จะทำให้การศึกษามีพลัง
5 เทคโนโลยีการศึกษาทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวาง และได้พบกับสภาพความจริงในชีวิตมากที่สุด
6 เทคโนโลยีการศึกษาทำให้เปิดโอกาสทางการศึกษาทั้งๆ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
บทบาทของเทคโนโลยีการศึกษาในการเรียนการสอนจึงมีอยู่ 4 บทบาท ดังนี้
1. บทบาทด้านการจัดการ
2. บทบาทด้านการพัฒนา
3. บทบาทด้านทรัพยากร
4. บทบาทด้านผู้เรียน

องค์ประกอบต่างๆ ทั้งหลายนั้น ประกอบด้วย

1 การจัดการทางการศึกษา (Educational Management Functions)

เป็นหน้าที่ที่มีจุดมุ่งหมาย เพื่อควบคุมหรือกำกับการพัฒนาการศึกษา/การสอน หรือการจัดการทางการศึกษา/การสอน (การวิจัย การออกแบบ การผลิต การประเมนผล การให้ความช่วยเหลือการใช้) เพื่อเป็นหลักประกันประสิทธิผลการปฏิบัติงาน ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประการใหญ่ ๆ คือ
1.1 การจัดการหรือบริหารด้านหน่วยงานหรือองค์การ (Organization Management) เพื่อให้ดำเนินงานตามวิธีระบบและบรรลุวัตถุประสงค์ จะเกี่ยวข้องกับงานสำคัญ ๆ ดังนี้คือ
1.1.1 การกำหนดจุดมุ่งหมายและนโยบาย เกี่ยวกับบทบาท วัตถุประสงค์ การเรียนการสอน ผู้เรียน ทรัพยากรการเรียน ฯลฯ จะต้องให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกันการให้การสนับสนุน จะต้องมีการวางแผน การจัดหาข้อมูล ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกในการพิจารณาและตัดสินใจ
1.1.2 การจัดบริการที่มีประสิทธิภาพ
1.1.3 การสร้างความประสานสัมพันธ์ ให้มีการร่วมมือในการปฏิบัติงานของทุกฝ่าย ตลอดจนวิธีการเผยแพร่ข่าวสาร และการติดต่อสื่อสารเพื่อให้การปฏิบัติงานดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยและสำเร็จตามวัตถุประสงค์
1.2 การจัดหรือบริหารงานด้านบุคคล (Personal Management) เป็นการจัดงานทางด้านการจัดบุคลากรให้เหมาะสมตามหน้าที่การงาน และความสามารถเฉพาะงาน เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ อันได้แก่การคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานทั้งการบรรจุใหม่ หรือการว่าจ้าง การฝึกอบรมหรือพัฒนากำลังคน การนิเทศงาน การบำรุงขวัญการทำงาน สวัสดิการ และ การประเมินผลการประกอบกิจการของบุคลากร

2. การพัฒนาทางการศึกษา (Educational Development)

เป็นหน้าที่ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการวิเคราะห์ปัญหา การคิดค้น การปรับใช้ และการประเมินผล ข้อแก้ไขปัญหา ทรัพยาการเรียน ด้วยการวิจัย (Researci-tneory) การออกแบบ (Desing) การผลิต (Production) การประเมินผล (Evaluation) การใช้ (Utilizsiton) ทั้งหมดนี้ต่างก็มีวิธีการดำเนินการที่มีส่วนสัมพันธ์กับทรัพยากรการเรียน เช่น ในด้านการวิจัยนั้น เราก็วิจัยทรัพยากรการเรียนนั่นเอง ซึ่งก็ได้แก่การวิจัย ข่าวสารข้อมูล บุคลากร วัสดุ เครื่องมือ เทคนิค และอาคารสถานที่ ดังนี้เป็นต้น นอกจากนี้ เนื่องจากว่าเทคโนโลยีการศึกษามีส่วนในการพัฒนา และเอื้ออำนวยต่อกระบวนการสอนต่าง
ในระบบการสอน จึงจะต้องมีกิจกรรมที่สัมพันธ์กับการพัฒนาระบบการสอนและระบบการศึกษาด้วย
1. การวิจัย ในการพัฒนาทรัพยากรการเรียนเป็นการสำรวจศึกษาค้นคว้า และทดสอบเกี่ยวกับความรู้ ทฤษฎี (ทฤษฎี และระเบียบวิธีวิจัย) ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการและการพัฒนาทรัพยากรการเรียน องค์ประกอบระบบการสอนและผู้เรียน การวิจัยเป็นการพัฒนาโครงสร้างของความรู้ ซึ่งจะเป็นพื้นฐาน การตัดสินใจในการดำเนินการผลของการวิจัยคือ ได้ความรู้ ซึ่งจะนำไปใช้ ศึกษาค้นคว้าข้อมูล อ่านข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สังเคราะห์ข้อมูล ทดสอบข้อมูล วิเคราะห์และทดสอบผลลัพธ์ที่ได้
2. การออกแบบ เป็นการแปลความหมาย ความรู้ในหลักการทฤษฎีออกมาในรายละเอียด เฉพาะสำหรับเกี่ยวกับทรัพยาการเรียน หรือองค์ประกอบระบบการสอน ผลลัพธ์ของการออกแบบได้แก่รายละเอียดเฉพาะสำหรับผลิตผลของทรัพยากรการเรียน/องค์ประกอบระบบการสอนในเรื่องเกี่ยวกับ รูปแบบหรือแหล่ง หรือทรัพยากรกิจกรรมที่ใช้ในการดำเนินการ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนวัตถุประสงค์ ศึกษาลักษณะผู้เรียน วิเคราะห์งาน กำหนดเงื่อนไขการเรียนกำหนดสภาวการเรียน กำหนดรายละเอียดทรัพยากรการเรียน หรือองค์ประกอบระบบการสอน
3. การผลิต มีวัตถุประสงค์เพื่อแปลความหมาย ข้อกำหนดรายละเอียดสำหรับ ทรัพยาการการเรียน/องค์ประกอบระบบการสอนให้เป็นแบบลักษณะเฉพาะ หรือเป็นรายการที่จะปฏิบัติได้ ผลลัพธ์ที่ได้คือ ผลิตผลลักษณะเฉพาะในรูปแบบ ข้อทดสอบ แบบจำลอง กิจกรรมที่ดำเนินงาน ได้แก่ การใช้เครื่องมือสำหรับการผลิต การเขียนแบบ การร่างแบบ การเขียนเรื่องหรือเค้าโครง สร้างแบบจำลอง
4 การประเมินผล มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดประเมินผลการดำเนินงานของทรัพยากรการเรียน/องค์ประกอบระบบการสอน และเพื่อพัฒนาแบบจำลองที่ใช้ทดสอบ ผลลัพธ์ที่ได้ การประเมินผลการออกแบบ ประสิทธิผลของทรัพยากรการเรียน

3 ทรัพยากรการเรียน (Learning Resources)

ทรัพยากรการเรียน ได้แก่ ทรัพยากรทุกชนิด ซึ่งผู้เรียนสามารถใช้แบบเชิงเดี่ยว หรือแบบผสม แบบไม่เป็นทางการ เพื่อเอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ทรัพยากรการเรียนรู้ ได้แก่ข้อมูลสนเทศ/ข่าวสาร บุคคล วัสดุ เครื่องมือ เทคนิค และอาคารสถานที่
1 ข้อมูลสนเทศ/ข่าวสาร (Message) คือ ข้อสนเทศที่ถ่ายทอดโดยองค์ประกอบอื่น ๆ ในรูปแบบของความจริง ความหมาย และข้อมูล
2 บุคคล (People) ทำหน้าที่เก็บและถ่ายทอดข้อสนเทศและข่าวสาร เป็นคณะบุคคลที่ปฏิบัติงานในหน่วยงาน ได้แก่ ครู นักการศึกษา
3 ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเตรียมงาน ปรับปรุง ผลิต ดำเนินการประเมินผลและพัฒนา เพื่อให้การเรียนการสอนประสบผลสำเร็จ
4 วัสดุ(Material) ได้แก่ สิ่งของ เป็นต้น
5. เครื่องมือ (Devices) เครื่องมืออุปกรณ์ที่เป็นตัวถ่ายทอดข่าวสารที่บรรจุหรือบันทึกไว้ในวัสดุ (นิยมเรียกว่า Hardware) ส่วนมากจะเป็นเครื่องกลไก ไฟฟ้า และอิเลคทรอนิค บางอย่างก็ไม่จำเป็นจะต้องเป็นเครื่องกลไกที่ใช้ไฟฟ้า หรือเครื่องอิเลคทรอนิค ได้แก่ เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายสไลด์ เครื่องบันทึกเสียง เครื่องบันทึกภาพ เครื่องฉายภาพทึบแสง กล้องถ่ายรูป-ถ่ายภาพยนตร์-โทรทัศน์ เครื่องพิมพ์ และอ่านไมโครฟิล์ม/ไมโครพิช กระดานดำ ป้ายนิเทศ
6. เทคนิค (Techniques)เป็นกลวิธีในการถ่ายทอดข่าวสารหรือเสนอเนื้อหาวิชา-ความรู้ให้แก่ผู้เรียน ได้แก่
ก เทคนิคทั่วไป (Gerneral Technique) ได้แก่ เทคนิคการสอนแบบต่างๆ เช่น การสาธิต การสังเกต การอภิปราย การแสดงนาฎการ การบรรยาย การสาธิต การฝึกปฏิบัติการเรียน แบบแก้ปัญหา หรือแบบค้นพบและแบบสอบสวน และสืบสวน การเรียนการสอนแบบโปรแกรม สถานการจำลอง เกมต่างๆ การเรียนการสอนแบบโครงการ ฯลฯ
ข เทคนิคการใช้ทรัพยากร (Resource-based Techniques) ได้แก่ การศึกษานอกสถานที่ การใช้ทรัพยากรชุมชน การจัดห้องเรียน
ค เทคนิคการใช้วัสดุและเครื่องมือ (Material/devices-based Techniques) เป็นเทคนิคของการใช้วัสดุและเครื่องมือในการจัดการศึกษา และการเรียนการสอนเช่น ใช้โสตทัศนูปกรณ์ในการเรียนการสอนใช้บทเรียนแบบโปรแกรมตลอดจน เทคนิคการเสนอเนื้อหาวิชาด้วยวิธีการใช้เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ด้วยวิธีการเสนอที่ดีเช่น ใช้วิธีบังภาพบางส่วนที่ยังไม่ใช้ก่อนเมื่อใช้จึงเปิดส่วนนั้นออกมา หรือเทคนิคการใช้สื่อประสมเพื่อให้ผู้เรียนได้ความคิดรวบยอดที่กระจ่างจากตัวอย่าง หรือการแสดงด้วยสื่อหลายชนิด
ง เทคนิคการใช้บุคคล (People-based Technique) ได้แก่ เทคนิคในการจัดบุคคลให้เหมาะสมกับงาน เช่น การสอนเป็นคณะ เทคนิคกลุ่มสัมพันธ์ หรือพลวัตรของกลุ่ม การสอนแบบซ่อมเสริม ตัวต่อตัว หรือการสัมมนา ฯลฯ เป็นต้น

4. ผู้เรียน (Learner)

จุดหมายปลายทางรวมของเทคโนโลยีการศึกษาอยู่ที่ผู้เรียนและความต้องการของผู้เรียน จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องเข้าใจลักษณะของผู้เรียนซึ่งแตกต่างไปตามลักษณะ ความแตกต่างระหว่างบุคคลของแต่ละคน อันจะทำให้เราสามารถที่จะออกแบบระบบการเรียนการสอนตลอดจนสื่อการเรียนการสอนสนองวัตถุประสงค์การเรียนการสอนตลอดจนสื่อการเรียนการสอนสนองวัตถุประสงค์การเรียนการสอน หรือสนองวัตถุประสงค์ผู้เรียน ได้ให้บรรลุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีสิ่งที่จะต้องเข้าใจในตัวผู้เรียนหลายประการ เช่น เกี่ยวกับอายุ เพศ ระดับไอคิว ประสบการณ์เดิมในด้านความรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติ จัดทำเมื่อปี พ.ศ. 2546 โดย ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน ได้รับการสนับสนุนโดยสำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัย Copyright 2003 by Ministry of University Affairs and Department of Educational Technology, Kasertsart University.


3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)
1. เป็นสิ่งที่อำนวยความรู้ในทางเทคโนโลยี
2. ให้ความสะดวกสบายในการใช้งานทางเทคโนโลยีในการสื่อสาร การศึกษา

ที่มา
จาก Domain of Education Technology จะเห็นได้ว่าแนวโน้มของเทคโนโลยีทางการศึกษา คือ การจัดระเบียบ (organizing) และการบูรณาการ (integrating) องค์ประกอบต่างๆ ทั้งหลายที่จะเอื้ออำนวยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล หรือกล่าวได้ว่า เป็นการเอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้
//thongam10.blogspot.com/2008/02/2.html


โดย: นางสาวเกษร อัครฮาด รหัสนักศึกษา 52040003135 หมู่ 29 เรียนพุธเช้า IP: 202.29.5.62 วันที่: 7 กันยายน 2552 เวลา:17:55:52 น.  

 
3.1
เทคโนโลยีสารสนเทศ คือเทคโนโลยีในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานจัดการกับข้อมูล ข่าวสาร หรือที่เรียกว่าสารสนเทศ ศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นศาสตร์ที่ใหม่มาก และมีความสำคัญมากในสังคมปัจจุบัน และถือเป็นหนึ่งในสามศาสตร์หลัก (เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีนาโน เทคโนโลยีชีวภาพ) ที่ถูกกล่าวว่าจะมีผลต่อสังคมในอนาคตมากที่สุด โดยปัจจุบัน มีผู้กล่าวถึง เทคโนโลยีสารสนเทศกันอย่างกว้างขวาง โดยเราจะรู้จักกันทั่วไปในชื่อสั้นๆ ว่า ไอที (IT) รัฐบาลไทยเองก็เล็งเห็นความสำคัญด้านนี้มาก จึงมีการจัดตั้งกระทรวงใหม่ที่เกี่ยวกับงานทางด้านนี้ขึ้น ชื่อกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือเรียกย่อๆ ว่า กระทรวงไอซีที
เทคโนโลยีสารสนเทศนั้นมีลักษณะเด่น คือ มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมาก เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ทันสมัยเกิดขึ้นมาเรื่อยๆ ทุกวัน เช่น เราจะเห็นว่ามีการใช้อินเตอร์เน็ตกันอย่างแพร่หลาย มีการส่งอีเมล์ มีการท่องเว็บต่างๆ มีการส่งข้อมูลผ่านเว็บ มีการเล่นเกมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ต นอกจากอินเตอร์เน็ตแล้ว ยังมีเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวกับมือถือ เช่น มีการส่งข้อมูลผ่านทางมือถือ มีการดาวโหลดข้อมูลต่างๆ รวมทั้งเพลงผ่านมือถือ มีการสืบค้นข้อมูลหรือเล่นเกมผ่านมือถือ เป็นต้น ในทางอุตสาหกรรมก็มีการนำระบบสารสนเทศเข้าไปช่วยเพิ่มผลผลิตในโรงงาน ช่วยควบคุมดูแลเครื่องจักรเพื่อผลิตสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้กระบวนการผลิตเป็นแบบอัตโนมัติ นอกจากนี้มีการนำสารสนเทศไปใช้ในงานด้านธุรกิจเพื่อทำให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพ โดยสามารถดูข้อมูลต่างๆ ได้ทันทีทั้งข้อมูลที่เป็นรายละเอียดและข้อมูลสรุป และช่วยในการสนับสนุนการตัดสิน บริษัทที่ทันสมัยทุกบริษัทต้องมีระบบสารสนเทศภายในองค์กร ในยุคต่อไป คอมพิวเตอร์จะมีขนาดเล็กลง มีความเร็วสูงขึ้น และมีหน่วยความจำมากขึ้น และที่สำคัญ ราคาของคอมพิวเตอร์จะถูกลงมาก ดังนั้นคอมพิวเตอร์จะเข้ามามีบทบาทในสังคมของเรามากขึ้น โดยเราจะเรียกสังคมนี้ว่าสังคมยูบิคิวตัส (Ubiquitous) คือคอมพิวเตอร์อยู่ทุกหนทุกแห่ง ดังนั้นการจัดการข้อมูลสารสนเทศที่เกิดจากคอมพิวเตอร์เหล่านี้ จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก นอกจากนี้การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศภายในบริษัทก็เป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง จะเห็นได้ว่าบริษัทหรือองค์กรใหญ่จำเป็นต้องมีหน่วยงานด้านการจัดการระบบสารสนเทศ ปัจจุบันในโลกของธุรกิจ มีธุรกิจที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศมากมาย ซึ่ง นักธุรกิจที่ร่ำรวยที่สุดก็คือ นักธุรกิจด้านไอที ซึ่งความจริงนี้แสดงให้เห็นว่า ไอทีได้เป็นศาสตร์ที่รับความสนใจและมีความสำคัญมากในสังคมปัจจุบันและต่อไปในอนาคต

เทคโนโลยีสารสนเทศเรียนเกี่ยวกับอะไร

ในสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ จะศึกษาด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับการนำคอมพิวเตอร์ไปจัดการกับข้อมูลข่าวสาร ทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ โดยจัดเป็นหมวดหมู่ได้ดังนี้คือ
1.เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมและซอฟต์แวร์
นักศึกษาจะได้ศึกษาถึง วิธีการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาต่างๆ ที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน ซึ่งภาษาที่ศึกษาหลักๆ ได้แก่ ภาษาซี ภาษาจาวา ภาษาพีเฮชพี และภาษาเอส คิวแอล เป็นต้น นอกจากนี้ยังศึกษาถึงหลักการเขียนโปรแกรมหรืออัลกอริธึม และศึกษาว่ามีโครงสร้างข้อมูลอะไรบ้างที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม รวมทั้งศึกษาว่า ภาษาที่ใช้ในการโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีกี่ประเภท แต่ละประเภทมีลักษณะเฉพาะอย่างไร แตกต่างกันอย่างไร และศึกษาวิธีการแปลงภาษาระดับสูงที่มนุษย์เข้าใจ ไปเป็นภาษาเครื่องที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ รวมทั้งศึกษาวิธีการเขียนออกแบบระบบ

2.เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับโครงสร้างของคอมพิวเตอร์และการควบคุมคอมพิวเตอร์
นักศึกษาจะได้ศึกษาว่า คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยวงจรไฟฟ้าแบบดิจิตอลอย่างไร และศึกษาว่าคอมพิวเตอร์มีโครงสร้างหรือสถาปัตยกรรมเป็นแบบใด และศึกษาว่านอกจากฮาร์ดแวร์แล้วคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีโปรแกรมพื้นฐาน ไว้ติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่า ระบบปฏิบัติการหรือโอเอส รวมทั้งศึกษาวงจรคอมพิวเตอร์เฉพาะงาน ที่เรียกว่าไมโครโปรเซสเซอร์ และการนำไมโครโปรเซสเซอร์ไปประยุกต์ใช้งานต่างๆ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยและเป็นที่กล่าวถึงกันอยู่ในปัจจุบันก็คือ ระบบสมองกลฝังตัวซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ที่ฝังตัวอยู่ในอุปกรณ์ต่างๆ เช่น รถยนต์ โทรทัศน์ วิทยุ ตู้เย็น และเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ เป็นต้น


3.เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสาร
นักศึกษาจะได้ศึกษาถึง พื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล โครงสร้างและโปรโตคอลของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ค) การนำคอมพิวเตอร์มาเชื่อมโยงกันเพื่อใช้งานร่วมกัน รวมทั้งศึกษาถึง การนำคอมพิวเตอร์ไปให้บริการต่างๆ ทางอินเตอร์เน็ต และเทคโนโลยีสารสนเทศบนเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา เช่น มือถือ เครื่องปาล์ม เป็นต้น


4.เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ในงานด้านกราฟิก มัลติเมเดีย
นักศึกษาจะได้ศึกษาถึง การประยุกต์คณิตศาสตร์ไปใช้กับการออกแบบชิ้นงานที่มีรูปร่างต่างๆ ซึ่งศาสตร์ด้านนี้รู้จักในชื่อของ ซอฟต์แวร์ประเภทแคด/แคม รวมทั้งการนำคอมพิวเตอร์ไปจัดการกับภาพและเสียง


5.เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ทำงานที่ชาญฉลาด
นักศึกษาจะได้ศึกษาถึง วิธีการสร้างระบบสารสนเทศที่มีความชาญฉลาด หรือศาสตร์ที่ชื่อว่าปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งจะศึกษาเกี่ยวกับระบบสารสนเทศที่เลียนแบบมนุษย์ เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ ระบบวิเคราะห์ภาพ ระบบวิเคราะห์เสียง เป็นต้น


6.เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
นักศึกษาจะได้ศึกษาถึงระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร ระบบสารสนเทศด้านการบัญชี ระบบพาณิชย์อีเล็กทรอนิกส์ หรือ อีคอมเมิร์ซ และลักษณะการลงทุนด้านธุรกิจไอที

เทคโนโลยีสารสนเทศต่างกับวิทยาการคอมพิวเตอร์อย่างไร

คำถามที่ถูกถามบ่อยๆ ข้อหนึ่งก็คือ เทคโนโลยีสารสนเทศต่างกับวิทยาการคอมพิวเตอร์อย่างไร ที่จริงแล้วสองสาขานี้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมาก โดยวิทยาการคอมพิวเตอร์นั้นถือกำเนิดมาก่อนเทคโนโลยีสารสนเทศ และจะเน้นด้านทฤษฏีเป็นหลัก โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับ โครงสร้างของเครื่องคอมพิวเตอร์ หลักการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ การผลิตซอฟต์แวร์ที่มีขนาดใหญ่ให้มีประสิทธิภาพ การนำคอมพิวเตอร์มาใช้กับงานชั้นสูงที่มีความซับซ้อนมาก จุดเด่นของวิทยาการคอมพิวเตอร์คือ เน้นศึกษาวิธีการทำให้คอมพิวเตอร์มีสมรรถนะที่สูงขึ้น และศึกษาวิธีการผลิตซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพเพื่อใช้งานคอมพิวเตอร์ให้เกิดประโยชน์สูงที่สุด

สำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศหรือไอทีนั้น ได้ถูกกล่าวถึงกันมากในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมานี้เองหลังจากอินเตอร์เน็ตเป็นที่แพร่หลาย โดยเทคโนโลยีสารสนเทศจะเน้นการประยุกต์ใช้งานคอมพิวเตอร์ในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานด้านธุรกิจ งานด้านการสื่อสาร งานในสายการผลิต งานด้านบริการ เป็นต้น เทคโนโลยีสารสนเทศนั้นค่อนข้างเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว โดยจะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา จุดเด่นของเทคโนโลยีสารสนเทศคือ เน้นศึกษาวิธีการนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้งาน จัดการเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารหรือสารสนเทศ ซึ่งรวมไปถึงเทคโนโลยีระบบเคลื่อนที่ เช่น มือถือ และการจัดการธุรกิจและการลงทุนที่เกี่ยวกับสารสนเทศ

เรียนจบแล้วสามารถทำงานที่ไหนได้บ้าง

หลังจบสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ นักศึกษาสามารถทำงานหรือศึกษาต่อระดับสูงได้ทั้งที่เป็นด้านเทคนิคและด้าน การบริหารจัดการ โดยถ้าผู้สำเร็จการศึกษาสนใจด้านการบริหารจัดการนั้น การเรียนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมีข้อได้เปรียบกว่าสาขาอื่นๆ คือ นักศึกษาจะมีความรู้ในเชิงเทคนิคที่แน่นพอ โดยเฉพาะ องค์กรเกือบทุกองค์กรในปัจจุบันใช้ระบบสารสนเทศในการบริหารจัดการ ดังนั้นนักศึกษาที่จบจะมีพื้นฐานที่ดีต่อการประกอบอาชีพในบริษัทหรือ องค์กรที่นำระบบสารสนเทศมาใช้ในการจัดการ การจัดการที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ นอกจากนี้นักศึกษาสามารถเลือกเรียนเพิ่มเติมด้านการบริหารจัดการทำให้สามารถ ทำงานด้านการให้คำแนะนำแก่บริษัทต่างๆ ได้ นักศึกษาที่จบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจะสามารถทำงานได้ทั้งด้านเทคนิคและด้าน การบริหารจัดการดังนี้

1. งานด้านเทคนิคหรืองานผู้เชี่ยวชาญ

ผู้ออกแบบและวิเคราะห์ระบบสารสนเทศในบริษัทหรือองค์กรต่างๆ
ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ และบำรุงรักษาระบบสารสนเทศ
ผู้เขียนโปรแกรมประยุกต์หรือโปรแกรมระบบงาน หรือที่เรียกว่าโปรแกรมเมอร์
ผู้ออกแบบสร้างและบำรุงรักษาระบบฐานข้อมูลซึ่งเป็นระบบสารสนเทศพื้นฐานในทุกองค์กร
ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ผู้ออกแบบและโปรแกรมระบบสารสนเทศอัจฉริยะ
ผู้ออกแบบและโปรแกรมระบบกราฟิกหรืออะนิเมชั่น
2. งานด้านการบริหารจัดการหรืองานให้คำปรึกษา

ผู้ประสานงานในโครงการต่างๆที่เกี่ยวกับระบบสารสนเทศ
ผู้จัดการแผนก ส่วนหรือฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กร
ผู้ให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแก่องค์กรต่างๆ
ผู้ประกอบธุรกิจหรือนักลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

เรียนจบแล้วสามารถทำงานที่ไหนได้บ้าง

จบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแล้ว เราสามารถทำงานได้ในทุกองค์กรที่มีคอมพิวเตอร์หรือระบบสารสนเทศอยู่ ซึ่งในปัจจุบันเกือบทุกองค์กรไม่ว่าที่เป็นของรัฐหรือเอกชน จะมีระบบสารสนเทศใช้งานอยู่แล้ว จึงทำให้ผู้จบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นที่ต้องการมาก อย่างไรก็ตามการทำงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กรมีสองประเภท คือ การทำงานในองค์กรหรือธุรกิจที่เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นแกนหลัก และ การทำงานในองค์กรหรือธุรกิจที่เทคโนโลยีสารสนเทศไม่ใช่แกนหลัก

ธุรกิจที่มีเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นแกนหลักได้แก่ ธุรกิจผลิตซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขาย ธุรกิจบริการด้านข้อมูลข่าวสาร ธุรกิจด้านการให้บริการระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบอินเตอร์เน็ตหรือระบบเครือข่ายมือถือ ธุรกิจให้บริการด้านพาณิชย์อีเล็กทรอนิกส์หรืออีคอมเมิร์ซ ธุรกิจให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือที่เรียกว่าธุรกิจคอนซัลแตนต์

ธุรกิจที่เทคโนโลยีสารสนเทศไม่ได้เป็นแกนหลัก ได้แก่

ธุรกิจผลิตสินค้าหรือโรงงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจด้านการเกษตร ด้านอาหาร ด้านรถยนต์ ด้านน้ำมัน ด้านไฟฟ้าและพลังงาน ด้านสินค้าอีเล็กทรอนิกส์ ด้านผลิตเครื่องจักรกล ด้านผลิตภาพยนตร์ เป็นต้น
ธุรกิจเชิงบริการ ได้แก่ ด้านการธนาคาร ด้านบัญชี ด้านขนส่ง ด้านโรงภาพยนตร์ ด้านค้าปลีกหรือร้านค้าซูเปอร์มาร์เก็ต เป็นต้น

เรียนต่อด้านไหนได้บ้าง

จบสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศแล้ว สามารถไปศึกษาต่อได้ทั้งทางด้านเทคนิค และด้านการบริหารจัดการหรือด้านธุรกิจ ทางด้านเทคนิค ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถไปศึกษาต่อได้ทั้งที่เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ คอมพิวเตอร์โดยตรง เช่น ด้านระบบฐานข้อมูลในองค์กร ด้านเน็ตเวิร์ค ด้านความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์ ด้านระบบคอมพิวเตอร์อัจฉริยะหรือปัญญาประดิษฐ์ และที่นำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ในงานสาขาอื่น เช่น ด้านสื่อสารมวลชน ด้านมัลติเมเดีย ด้านอะนิเมชั่น ด้านสารสนเทศเพื่อการแพทย์ ด้านสารสนเทศชีววิทยา ด้านการสร้างแบบจำลองเพื่อวิเคราะห์ทางเคมีและฟิสิกส์ เป็นต้น

ส่วนด้านการบริหารจัดการหรือด้านธุรกิจนั้น ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถศึกษาต่อด้านการบริหารจัดการหรือเอ็มบีเอ ด้านการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการลงทุนเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านระบบสารสนเทศเพื่อบริหารงานบัญชี ด้านระบบสารสนเทศเพื่องานบุคคล ด้านระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร ด้านการประเมินและวิเคราะห์ความเสี่ยงของธุรกิจ เป็นต้น

3.2
-ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาลของ
-ใช้ในการค้นหาข้อมูลที่เราไม่รู้และทำสื่อเผื่อแพร่งานนิทัศการณ์


ที่มา : guru.google.co.th/guru/thread?tid=2bb9905a601d1220...





โดย: ณัฐวุฒิ ไชยเสนา หมู่22 IP: 172.29.5.133, 202.29.5.62 วันที่: 8 กันยายน 2552 เวลา:9:41:25 น.  

 
1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาประกอบด้วย
1. เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้ปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มีระบบมัลติมีเดีย (Multimedia)* ระบบวิดีโออนนดีมานด์ (Video on Demand) วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ (Video Teleconference) และอินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น ระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้
2. เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษาในการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการดำเนินการ การติดตามและประเมินผลคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในเรื่องนี้
3. เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคลเกือบทุกวงการ ทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เขียน ผู้เรียนกับผู้เรียน เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสาร และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร เทเลคอนเฟอเรนส์ และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

ที่มา //school.obec.go.th/uts_s/webpages/computer/info_edu.htm



โดย: นางสาวปวีณา พุทธกุล รหัส 52040263115 เรียนวันอังคาร หมู่ที่22 IP: 172.29.5.133, 58.147.7.66 วันที่: 8 กันยายน 2552 เวลา:9:58:39 น.  

 
3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยี่สารสนเทศมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ เป็นอย่างมาก ตัวอย่างเช่น
1. การศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยในด้านการค้นคว้าศึกษาแหล่งข้อมูล ทำให้การศึกษาง่ายขึ้นและไร้ขีดจำกัด ผู้เรียนมีความสะดวกในการค้นคว้าวิจัย


2. การดำรงชีวิตประจำวัน ทำให้มีความสะดวกคล่องตัวและรวดเร็วในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน สามารถทำงานได้หลายอย่างในเวลาเดียวกันได้หรือทำงานใช้เวลาน้อยลง


3. การดำเนินธุรกิจ ทำให้มีการแข่งขันระหว่างธุรกิจมากขึ้น ทำให้ต้องมีการพัฒนาองค์กรเพื่อให้ทันกับข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเวลา
อันส่งผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง

4. อัตราการขยายตัวทุก ๆ ด้านที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะมีการติดต่อสื่อสารที่เจริญก้าวหน้าทันสมัย รวดเร็วถูกต้องและ ทำให้
เป็นโลกที่ไร้พรหรมแดน

5. ระบบการทำงานมีคอมพิวเตอร์มาใช้ซื่อสามารถทำงานได้มากขึ้น งานบางอย่างมนุษย์ทำไม่ได ้ก็ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยทำงานแทนซึ่งได้ผลถูกต้องรวดเร็ว

ที่มา //a.1asphost.com/chalin623/drinking48/information1/techno1_1.htm


โดย: นางสาวปวีณา พุทธกุล รหัส 52040263115 เรียนวันอังคาร หมู่ที่22 IP: 172.29.5.133, 58.147.7.66 วันที่: 8 กันยายน 2552 เวลา:10:00:58 น.  

 
ตอบแบบฝึกหัดที่3.
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ข้อที่1 เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา
เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาประกอบด้วย
1. เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้ปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มีระบบมัลติมีเดีย (Multimedia)* ระบบวิดีโออนนดีมานด์ (Video on Demand) วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ (Video Teleconference) และอินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น ระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้
2. เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษาในการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการดำเนินการ การติดตามและประเมินผลคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในเรื่องนี้
3. เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคลเกือบทุกวงการ ทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เขียน ผู้เรียนกับผู้เรียน เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสาร และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร เทเลคอนเฟอเรนส์ และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

ข้อที่2 ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน
1. ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการสืบค้นข้อมูลต่างๆ
2. ช่วยเพิ่มขีดความรู้ความสามารถให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น

ที่มา //www.thaigoodview.com/node/25310


โดย: น.สชไมพร ตะโคตร พุธ (เช้า) หมู่29 52040422103 IP: 172.29.5.133, 58.147.7.66 วันที่: 8 กันยายน 2552 เวลา:11:13:22 น.  

 
แบบฝึกหัด
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)


3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการศึกษา อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศช่วยการเรียนการสอน การวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตร การแนะแนวและบริการ การทดสอบวัดผล การพัฒนาบุคลากร
เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเป็นที่นิยมประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน อาทิ
1. ระบบสารสนเทศช่วยในการเรียนการสอน
2. การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม
3. การประชุมทางไกลระบบจอภาพ
4. ระบบฐานข้อมูลการศึกษา
5. ระบบสารสนเทศเอกสาร
ที่มา://www.csjoy.com/story/net/tne.htm
3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)
1.ด้านเศรษฐกิจ 2. ด้านอุตสาหกรรม







โดย: นายวัชระพงศ์ โคตรชมภู 51040901205 คณะมนษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชานิติศาสตร์ หมู่01 จันทร์บ่าย IP: 172.29.5.133, 58.137.131.62 วันที่: 11 กันยายน 2552 เวลา:13:43:56 น.  

 
ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)
1.การดำรงชีวิตประจำวัน ทำให้มีความสะดวกคล่องตัวและรวดเร็วในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน สามารถทำงานได้หลายอย่างในเวลาเดียวกันได้หรือทำงานใช้เวลาน้อยลง

2.เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสารสนเทศ เช่น การคำนวณตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน การจัดเรียงลำดับสารสนเทศ ฯลฯ



โดย: นายจักรกริช โพธิวงษ์ หม่15 ศุกร์เช้า IP: 192.168.1.119, 124.157.150.148 วันที่: 13 กันยายน 2552 เวลา:23:33:23 น.  

 
ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)
1.ด้านการทหาร
2.ด้านไฟฟ้า


โดย: นายจักรกริช โพธิวงษ์ หม่15 ศุกร์เช้า IP: 192.168.1.119, 124.157.150.148 วันที่: 13 กันยายน 2552 เวลา:23:39:18 น.  

 
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย


ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อการศึกษา

1. เทคโนโลยีสารสนเทศลดความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษา ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญในการตอบสนองนโยบายการศึกษาที่เป็น “การศึกษาเพื่อประชาชนทุกคน” (Education for All) อันจะเป็นการสร้างความเท่าเทียมทางสังคม (Social Equity) โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเท่าเทียมทางด้านการศึกษา ตัวอย่างที่สำคัญคือ ผลของการติดตั้งจานดาวเทียมที่มีต่อโรงเรียนห่างไกลในชนบท ที่ด้อยโอกาสให้มี “โอกาส” เท่าเทียมกับโรงเรียนในท้องถิ่นที่เจริญกว่าอย่างน้อยในรูปแบบที่เป็น ไปได้ในเชิงกายภาพ รวมทั้งผลของการที่นักเรียนในชนบทมีโอกาสเข้าถึงแหล่งข้อมูลของ โลกหรืออีกนัยหนึ่ง “ห้องสมุดโลก” ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือการที่เทคโนโลยีสารสนเทศเป็น เครื่องมือที่ช่วยให้คนพิการ สามารถมีโอกาสรับการศึกษาในสิ่งแวดล้อมของคนปกติ และยังเปิดโอกาสให้คนพิการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้และ เพื่อการประกอบอาชีพอีกด้วย เป็นต้น

2. เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา ได้ในรูปแบบต่างๆ เช่น การที่นักเรียนที่เรียนรู้ได้ช้า สามารถใช้เวลาเพิ่มเติมกับบทเรียนด้วยสื่อซีดีรอมเพื่อตามให้ทัน เพื่อนนักเรียน ในขณะที่นักเรียนที่รับข้อมูลได้ปกติ สามารถเพิ่มศักยภาพในการ “เรียนรู้ด้วยตนเอง” (independent learning) ได้มากขึ้นจากความหลากหลายของเนื้อหาในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ผลจากเทคโนโลยีสารสนเทศยังก่อให้เกิดนวัตกรรมทาง การศึกษาใหม่ๆ เช่น วิธีการ “Constructionism” ของศาสตราจารย์ Seymour Papert ที่ใช้หลักการที่ว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเด็กๆ มีความใส่ใจ (engagement) กับการสร้างสิ่งที่มีความหมาย อันเป็นที่มาของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ LEGO Logo ซึ่งผสมผสานความน่าสนใจในของเด็กเล่นกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ส่งเสริมให้เด็กสร้าง (build) และควบคุม (control) สิ่งก่อสร้างนั้นซึ่งเป็นผลให้เกิด “ความรู้” ในตัวของเด็กได้ ทั้งนี้โดยการจัดสิ่งแวดล้อมที่ดีที่คำนึงถึงโอกาสของเด็กในการเลือก (choice) ความหลากหลาย (diversity) และความเป็นมิตร (congeniality) นอกจากนี้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งในระดับท้องถิ่นหรือระดับโลก อย่างระบบ World Wide Web ในอินเทอร์เน็ตยังเปิดโอกาสให้นักเรียน นักศึกษา สามารถพัฒนาคุณภาพของการเรียนรู้จากฐานข้อมูลที่หลากหลาย และกว้างขวางอย่างที่ระบบ ฐานข้อมูลหรือห้องสมุดเดิมไม่สามารถรองรับได้

3. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยในการจัดการและบริหารการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากใช้อย่างถูกต้องเป็นระบบและมีความต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นการจัดทำระบบ MIS, EIS, Decision Support System (DSS) เข้ามาช่วยจัดระบบฐานข้อมูลการศึกษา หรือการจัดให้มีเครือข่ายบริหาร on-line ที่ทำให้มีระบบการปรับปรุง (update) ข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ที่นอกจากจะช่วยลดงานกระดาษแล้ว ยังทำให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการวางแผนและจัดการ ทางการศึกษาอีกด้วย นอกจากนี้ยังสามารถใช้เทคโนโลยีประเภทอื่นๆ เช่น อินเทอร์เน็ตเพื่อประโยชน์ในงานด้านประชาสัมพันธ์ของสถาบันการศึกษา การสื่อสารระหว่าง ผู้บริหารและบุคลากรในส่วนต่างๆ ขององค์กรและภายนอกองค์กร



ที่มา //learners.in.th/blog/chalinee/138102


โดย: น.ส. นาริณี อินทร์ดี IP: 125.26.160.68 วันที่: 14 กันยายน 2552 เวลา:22:22:22 น.  

 
3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)


1. ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาลของแต่ละวัน

2. เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสารสนเทศ เช่น การคำนวณตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน การจัดเรียงลำดับสารสนเทศ ฯลฯ


//61.19.218.122/jukkrit/IT_FOR_Lift/technology2.htm


โดย: น.ส. นาริณี อินทร์ดี IP: 125.26.160.68 วันที่: 14 กันยายน 2552 เวลา:22:30:33 น.  

 
แบบฝึกหัด
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อการศึกษา

1. เทคโนโลยีสารสนเทศลดความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษา ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญในการตอบสนองนโยบายการศึกษาที่เป็น “การศึกษาเพื่อประชาชนทุกคน” (Education for All) อันจะเป็นการสร้างความเท่าเทียมทางสังคม (Social Equity) โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเท่าเทียมทางด้านการศึกษา ตัวอย่างที่สำคัญคือ ผลของการติดตั้งจานดาวเทียมที่มีต่อโรงเรียนห่างไกลในชนบท ที่ด้อยโอกาสให้มี “โอกาส” เท่าเทียมกับโรงเรียนในท้องถิ่นที่เจริญกว่าอย่างน้อยในรูปแบบที่เป็น ไปได้ในเชิงกายภาพ รวมทั้งผลของการที่นักเรียนในชนบทมีโอกาสเข้าถึงแหล่งข้อมูลของ โลกหรืออีกนัยหนึ่ง “ห้องสมุดโลก” ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือการที่เทคโนโลยีสารสนเทศเป็น เครื่องมือที่ช่วยให้คนพิการ สามารถมีโอกาสรับการศึกษาในสิ่งแวดล้อมของคนปกติ และยังเปิดโอกาสให้คนพิการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้และ เพื่อการประกอบอาชีพอีกด้วย เป็นต้น

2. เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา ได้ในรูปแบบต่างๆ เช่น การที่นักเรียนที่เรียนรู้ได้ช้า สามารถใช้เวลาเพิ่มเติมกับบทเรียนด้วยสื่อซีดีรอมเพื่อตามให้ทัน เพื่อนนักเรียน ในขณะที่นักเรียนที่รับข้อมูลได้ปกติ สามารถเพิ่มศักยภาพในการ “เรียนรู้ด้วยตนเอง” (independent learning) ได้มากขึ้นจากความหลากหลายของเนื้อหาในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ผลจากเทคโนโลยีสารสนเทศยังก่อให้เกิดนวัตกรรมทาง การศึกษาใหม่ๆ เช่น วิธีการ “Constructionism” ของศาสตราจารย์ Seymour Papert ที่ใช้หลักการที่ว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเด็กๆ มีความใส่ใจ (engagement) กับการสร้างสิ่งที่มีความหมาย อันเป็นที่มาของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ LEGO Logo ซึ่งผสมผสานความน่าสนใจในของเด็กเล่นกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ส่งเสริมให้เด็กสร้าง (build) และควบคุม (control) สิ่งก่อสร้างนั้นซึ่งเป็นผลให้เกิด “ความรู้” ในตัวของเด็กได้ ทั้งนี้โดยการจัดสิ่งแวดล้อมที่ดีที่คำนึงถึงโอกาสของเด็กในการเลือก (choice) ความหลากหลาย (diversity) และความเป็นมิตร (congeniality) นอกจากนี้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งในระดับท้องถิ่นหรือระดับโลก อย่างระบบ World Wide Web ในอินเทอร์เน็ตยังเปิดโอกาสให้นักเรียน นักศึกษา สามารถพัฒนาคุณภาพของการเรียนรู้จากฐานข้อมูลที่หลากหลาย และกว้างขวางอย่างที่ระบบ ฐานข้อมูลหรือห้องสมุดเดิมไม่สามารถรองรับได้

3. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยในการจัดการและบริหารการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากใช้อย่างถูกต้องเป็นระบบและมีความต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นการจัดทำระบบ MIS, EIS, Decision Support System (DSS) เข้ามาช่วยจัดระบบฐานข้อมูลการศึกษา หรือการจัดให้มีเครือข่ายบริหาร on-line ที่ทำให้มีระบบการปรับปรุง (update) ข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ที่นอกจากจะช่วยลดงานกระดาษแล้ว ยังทำให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการวางแผนและจัดการ ทางการศึกษาอีกด้วย นอกจากนี้ยังสามารถใช้เทคโนโลยีประเภทอื่นๆ เช่น อินเทอร์เน็ตเพื่อประโยชน์ในงานด้านประชาสัมพันธ์ของสถาบันการศึกษา การสื่อสารระหว่าง ผู้บริหารและบุคลากรในส่วนต่างๆ ขององค์กรและภายนอกองค์กร
ที่มา //learners.in.th/blog/chalinee/138102

3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)
ตอบ
1. ช่วยในการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลา และระยะทาง โดยการใช้ระบบโทรศัพท์ และอื่นๆ
ที่มา //61.19.218.122/jukkrit/IT_FOR_Lift/technology2.htm


โดย: นางสาว ศิริพร คกล้า 51040901250 สาขา นิติศาสตร์ หมู่ 01 (จันทร์-บ่าย) IP: 222.123.14.135 วันที่: 15 กันยายน 2552 เวลา:11:46:02 น.  

 
แบบฝึกหัด
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาประกอบด้วย

1. เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้ปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มีระบบมัลติมีเดีย (Multimedia)* ระบบวิดีโอออนดีมานด์ (Video on Demand) วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ (Video Teleconference) และอินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น ระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้

2. เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษาในการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการดำเนินการ การติดตามและประเมินผลคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในเรื่องนี้

3. เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคลเกือบทุกวงการ ทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เขียน ผู้เรียนกับผู้เรียน เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสาร และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร เทเลคอนเฟอเรนส์ และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ของมนุษย์เป็นอย่างมาก การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องมาจากศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศในการขจัดข้อจำกัดของกาลเวลา และระยะทาง ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลเกิดได้ในทุกเวลา และทุกสถานที่ ซึ่งจากวิวัฒนาการนี้เองได้ก่อให้เกิดรูปแบบการจัดการศึกษาแบบใหม่ที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา

การประยุกต์ใช้ ICT เพื่อการบริหารการศึกษา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เป็นกฎหมายว่าด้วยการศึกษาของชาติฉบับแรกของประเทศ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2542 เป็นต้นมา มีสาระสำคัญที่ใช้เป็นหลักในการปฏิรูปการศึกษาของชาติทั้งในส่วนที่เป็นความมุ่งหมาย หลักการของการจัดการศึกษา สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา ระบบการศึกษา แนวทางจัดการศึกษาการบริหารและจัดการศึกษา มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา ครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาทรัพยากร และการลงทุนเพื่อการศึกษา และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (กระทรวงศึกษาธิการ.2542) สำหรับการกำหนดรูปแบบของการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ

1. การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่มีแน่นอนในจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของ การศึกษา การวัดและประเมินผล รวมทั้งมีการกำหนดเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน

2. การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยึดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดผลและประเมินผล รวมทั้งเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม

3. การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง ตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อมและโอกาสโดยสามารถศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม สื่อหรือแหล่งความรู้อื่นๆ จากรูปแบบของการจัดการศึกษาทั้ง 3 รูปแบบดังกล่าวได้สะท้อนความตื่นตัวที่จะปฏิรูปการศึกษาโดยยึดหลักการศึกษาตลอดชีวิตที่เน้นให้ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้วางเป้าหมายในการสร้างให้คนไทยเป็นคนเก่ง คนดี มีความสุข เป็นทรัพยากรบุคคลที่สามารถพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าได้อย่างยั่งยืน (รุ่ง แก้วแดง, 2543 : 18) นอกจากนั้นสาระในหมวด 9 ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ยังได้กำหนดถึงบทบาทหน้าที่ของรัฐเกี่ยวกับการจัดการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โดยกำหนดขอบเขตครอบคลุมไปถึงการจัดการโครงสร้างพื้นฐานการพัฒนาบุคลากร การจัดตั้งกองทุนและหน่วยงานกลางเพื่อวางนโยบายและบริหารงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา จะเห็นได้ว่าการจัดการศึกษาในยุคของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้เปลี่ยนแปลงกระบวนการเรียนรู้และความต้องการในการศึกษาในอนาคต สื่อและอุปกรณ์การศึกษารูปแบบใหม่เข้ามาแทนที่สื่อแบบเก่า มีแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่หลากหลาย จะเป็นสิ่งที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมทางการศึกษาแบบใหม่ การปฏิรูปการศึกษาจะเป็นการปรับปรุงโครงสร้างทั้งระบบใหม่ โดยเฉพาะการบริหารและการจัดการศึกษา ซึ่งจากเดิมโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบ เปลี่ยนมาเป็นสังคมและชุมชนร่วมกันรับผิดชอบต่อการจัดการศึกษามากยิ่งขึ้น ฉะนั้นการจัดการศึกษาไม่ว่าจะเป็นในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย จะเชื่อมโยงและเข้าหากันมากขึ้น การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยให้การจัดการเรียนการสอนผสมผสานกันและเอื้อประโยชน์ในทุกกลุ่มเป้าหมาย การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้สอดคล้องกับยุคปฏิรูปการศึกษาตามระบบการศึกษา ทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย จะส่งผลดีอย่างไรนั้น ผู้เขียนขอประมวลเป็นภาพรวม ดังนี้

1. การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดกิจกรรมและพัฒนาการเรียนการ

สอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญนั้นจะทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ โดยฝึกการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล เพื่อนำความรู้และองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นไปใช้ในการพัฒนาตนเองและสังคมได้

2. การจัดระบบเครือข่ายการเรียนรู้ที่ให้มีแหล่งความรู้ที่หลากหลาย สำหรับการค้นคว้าหาความรู้ทุก ๆ ด้านที่ผู้เรียนต้องการและเหมาะสมกับผู้เรียน เช่น สื่อมวลชนทุกแขนงเครือข่ายสารสนเทศ ทรัพยากรท้องถิ่น ชุมชน ภูมิปัญญาชาวบ้านและหน่วยงานต่าง ๆ จะทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้พัฒนาตนเอง และพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างกว้างขวาง

3. การปรับกระบวนการเรียนการสอน โดยเน้นให้ครูเป็นเพียงผู้อำนวยความสะดวกและชี้แนะให้ผู้เรียนทำการศึกษาค้นคว้าคิดและตัดสินใจด้วยตนเอง โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและระบบเครือข่ายการเรียนรู้เป็นเครื่องมือ ขณะเดียวกันครูต้องเป็นต้นแบบด้านคุณธรรม และจริยธรรมด้วย ซึ่งต้องปลูกฝังทั้งในชั่วโมงเรียนและกิจกรรมการฝึกปฏิบัติ

4. ส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยโดยการประสานกับชุมชนและท้องถิ่นในการพัฒนาการเรียนการสอนตามอัธยาศัยเน้นการค้นคว้าและทักษะการสืบค้นสารสนเทศ ให้ผู้เรียนใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการสื่อสารข้อมูลทางไกลผ่านระบบเครือข่ายได้ รวมทั้งประเมินผลจากการนำมาใช้มากกว่าการจดจำเนื้อหา
ที่มา//gotoknow.org/blog/vilasinee7/245051




3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)
ตอบ เครื่องซักผ้า
เครื่องดูดฝุ่น






โดย: นางสาวกิตติยาพร คนดี(51040901202)สาขานิติศาสตร์ จันทร์บ่าย หมู่1 IP: 124.157.149.128 วันที่: 15 กันยายน 2552 เวลา:17:59:32 น.  

 

3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย

คำตอบคือ.......

บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศในโลกปัจจุบัน ในอนาคตอันใกล้นี้ คอมพิวเตอร์คงเข้ามาสู่ชีวิตประจำวันของเราไม่มากก็น้อย ไม่ว่าเราจะอยากรู้จักโดยตรง หรือไม่ก็ตาม เช่น การซื้อสินค้า ตามตลาด ปัจจุบันนี้ร้านค้าเกือบทุกร้านจะนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในการทอนเงิน โดยเครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้นจะอยู่ในรูปของ เครื่องคิดเลข เครื่องทอนเงิน หรือแม้แต่เครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง ความรวดเร็วและความแม่นยำ ของระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ ช่วยให้ระบบงานคล่องตัวและรวดเร็ว เช่น การเก็บ คงคลังสินค้า เมื่อมีการนำสินค้าเข้ามาเก็บ การนำสินค้าออกจำหน่าย สินค้าคงเหลือ สินค้าเสียหาย เป็นต้น นอกจาก นี้เรายังสามารถที่จะเก็บข้อมูลได้ว่า สินค้า ล็อทนี้ นำไปจำหน่ายที่ใด ขายแล้วได้กำไรมากน้อยแค่ไหน และที่สำคัญ เมื่อเราต้องการเรียกดูข้อมูลของสินค้าเราสามารถที่จะทำได้อย่างง่าย เช่น เรียกดูข้อมูล โดยเรียงตามรายการสินค้า เรียกดูตามจำนวนของสินค้า เรียนดูตามราคาสินค้า ซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ทันที โดยการกรอกข้อมูลพียงครั้งเดียว ซึ่งต่างจากการเก็บข้อมูลด้วย กระดาษ ที่จะไม่สามารถเรียกดูสินค้าโดยแบ่งเป็นหมวดหมู่ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ทางด้านการศึกษา การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ทางด้านการศึกษาถือได้ว่าเป็นเรื่องสำคัญ ในระดับประเทศ เนื่องจากปัจจุบันได้ก้าวเข้าสู่ยุค ดิจิตอล ที่ทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องอาศัยคอมพิวเตอร์ในการเข้ามามีส่วนร่วมแทบทั้งสิ้น การศึกษาในปัจจุบันจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สอดคล้องกับความเจริญก้าวหน้าของ เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง อยู่ตลอดเวลา เดิมในท้องถิ่นที่ห่างไกลความเจริญ เด็ก ๆ แทบจะไม่มีโอกาสได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร จนกลายเป็น ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม แต่ในปัจจุบันเริ่มมีระบบการถ่ายทอดสัญญาณผ่านดาวเทียมทำให้เด็กเหล่านี้ได้รับโอกาสเรียนรู้ ถึงแม้จะยังไม่แพร่หลายนักก็ตาม สำหรับเด็กในชุมชนที่มีโอกาสได้ใช้คอมพิวเตอร์นอกจากการใช้คอมพิวเตอร์ ส่วนบุคคลแล้ว ก็ยังสามารถแสวงหาความรู้จากแหล่งความรู้ที่มีอยู่อย่างมากมาย โดยการเชื่อมต่อกับเครือข่ายผ่าน ระบบอินเตอร์เน็ตที่มีการเชื่อมโยงกันอยู่ทั่วโลก นอกเหนือไปจากความรู้ที่จะได้เรียนในห้องเรียนที่มีครูผู้สอน เป็นผู้ ถ่ายทอดเท่านั้น นอกจากนี้ ผู้สอนและผู้เรียนยังสามารถติดต่อถึงกันได้อย่างไร้ขีดจำกัดของเวลา โดยผ่านระบบ อิเล็กทรอนิค เมล (e-mail) ได้อีกทางหนึ่งด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่ปัจจุบันนี้นิยมนำมาใช้ใน การจัดการเรียน การสอน ได้แก่

1. Computer Assisted Information (CAI) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยระบบนี้จะใช้ในรูปแบบ OffLine โดยมากจะจัดสร้างในรูปแบบของ CD-ROM

2. Web-Based Instruction (WBI) การจัดการศึกษาในรูปแบบ Web Knowledge Based On Line เป็นการจัดสภาวการณ์การเรียนการสอน ในรูปแบบ On Line
ปัจจัยที่ทำให้เกิดความล้มเหลวในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ ในสังคม จากสังคมที่เรามีความต้องการใน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มอย่างมากมายนี้ ในบางครั้งก็ทำให้ผู้ใช้เกิดความ เสียหายอย่างใหญ่หลวงได้ หากการ ใช้นั้นเกิดขึ้นโดยไม่ได้อยู่บนรากฐานของความเข้าใจและความสมเหตุสมผล ในการใช้ อาทิเช่น ในทุกวันคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ทางเทคโนโลยีสารสนเทศได้พัฒนาตลอดเวลา ในขณะที่ในสังคม เมืองมีการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ อยู่ตลอดเวลา ได้สัมผัสทุกกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศทางด้าน การคมนาคม ทางด้านการสื่อสารที่เห็น ได้อย่างชัดเจน แต่ในขณะเดียวกันทางสังคมชนบท กลับมีวิถีชีวิตอยู่กับสังคม การเกษตร และสภาพแวดล้อมที่ล้าหลัง กว่าสังคมเมืองอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้นการพัฒนาในด้านการศึกษาของทั้งสอง กลุ่มสังคม จึงมีความแตกต่างอย่างมาก ไม่สามารถที่จะใช้มาตรฐานการศึกษาในรูปแบบเดียวกันได้ ช่องว่างระหว่าง สังคมเมืองกับสังคมชนบทจึงกว้างขึ้น อย่างเห็นได้ชัด ปัจจุบันในหลายๆ หน่วยงานจึงมีการรับบริจาคอุปกรณ ์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับ สังคมชนบท หรือนักเรียนที่ด้อยโอกาส แต่ปัญหาต่างๆ ไม่ๆได้หมดไป กลับเป็นไปในทางตรงกันข้าม เพราะปัญหาต่างๆ กลับเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ไม่สาสามรถใช้งานได้ ตกรุ่น เสียจน เกินกว่าที่จะซ่อมบำรุงเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ได้ และที่ ี่สำคัญคือบุคลากรที่อยู่ในท้องถิ่นไม่มีความรู้ความสามารถในการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศจึงเท่ากับว่าส่งสิ่งของไปให้ ้เพื่อเป็นภาระกว่าเดิม เป็นต้น

ที่มา....
//www.thaigoodview.com/node/25246




โดย: นาวสาวกาญจนา อุปวันดี (หมู่01 วันจันทร์บ่าย) IP: 113.53.164.173 วันที่: 15 กันยายน 2552 เวลา:21:40:00 น.  

 

3.1
เทคโนโลยีสารสนเทศ คือเทคโนโลยีในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานจัดการกับข้อมูล ข่าวสาร หรือที่เรียกว่าสารสนเทศ ศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นศาสตร์ที่ใหม่มาก และมีความสำคัญมากในสังคมปัจจุบัน และถือเป็นหนึ่งในสามศาสตร์หลัก (เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีนาโน เทคโนโลยีชีวภาพ) ที่ถูกกล่าวว่าจะมีผลต่อสังคมในอนาคตมากที่สุด โดยปัจจุบัน มีผู้กล่าวถึง เทคโนโลยีสารสนเทศกันอย่างกว้างขวาง โดยเราจะรู้จักกันทั่วไปในชื่อสั้นๆ ว่า ไอที (IT) รัฐบาลไทยเองก็เล็งเห็นความสำคัญด้านนี้มาก จึงมีการจัดตั้งกระทรวงใหม่ที่เกี่ยวกับงานทางด้านนี้ขึ้น ชื่อกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือเรียกย่อๆ ว่า กระทรวงไอซีที
เทคโนโลยีสารสนเทศนั้นมีลักษณะเด่น คือ มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมาก เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ทันสมัยเกิดขึ้นมาเรื่อยๆ ทุกวัน เช่น เราจะเห็นว่ามีการใช้อินเตอร์เน็ตกันอย่างแพร่หลาย มีการส่งอีเมล์ มีการท่องเว็บต่างๆ มีการส่งข้อมูลผ่านเว็บ มีการเล่นเกมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ต นอกจากอินเตอร์เน็ตแล้ว ยังมีเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวกับมือถือ เช่น มีการส่งข้อมูลผ่านทางมือถือ มีการดาวโหลดข้อมูลต่างๆ รวมทั้งเพลงผ่านมือถือ มีการสืบค้นข้อมูลหรือเล่นเกมผ่านมือถือ เป็นต้น ในทางอุตสาหกรรมก็มีการนำระบบสารสนเทศเข้าไปช่วยเพิ่มผลผลิตในโรงงาน ช่วยควบคุมดูแลเครื่องจักรเพื่อผลิตสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้กระบวนการผลิตเป็นแบบอัตโนมัติ นอกจากนี้มีการนำสารสนเทศไปใช้ในงานด้านธุรกิจเพื่อทำให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพ โดยสามารถดูข้อมูลต่างๆ ได้ทันทีทั้งข้อมูลที่เป็นรายละเอียดและข้อมูลสรุป และช่วยในการสนับสนุนการตัดสิน บริษัทที่ทันสมัยทุกบริษัทต้องมีระบบสารสนเทศภายในองค์กร ในยุคต่อไป คอมพิวเตอร์จะมีขนาดเล็กลง มีความเร็วสูงขึ้น และมีหน่วยความจำมากขึ้น และที่สำคัญ ราคาของคอมพิวเตอร์จะถูกลงมาก ดังนั้นคอมพิวเตอร์จะเข้ามามีบทบาทในสังคมของเรามากขึ้น โดยเราจะเรียกสังคมนี้ว่าสังคมยูบิคิวตัส (Ubiquitous) คือคอมพิวเตอร์อยู่ทุกหนทุกแห่ง ดังนั้นการจัดการข้อมูลสารสนเทศที่เกิดจากคอมพิวเตอร์เหล่านี้ จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก นอกจากนี้การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศภายในบริษัทก็เป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง จะเห็นได้ว่าบริษัทหรือองค์กรใหญ่จำเป็นต้องมีหน่วยงานด้านการจัดการระบบสารสนเทศ ปัจจุบันในโลกของธุรกิจ มีธุรกิจที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศมากมาย ซึ่ง นักธุรกิจที่ร่ำรวยที่สุดก็คือ นักธุรกิจด้านไอที ซึ่งความจริงนี้แสดงให้เห็นว่า ไอทีได้เป็นศาสตร์ที่รับความสนใจและมีความสำคัญมากในสังคมปัจจุบันและต่อไปในอนาคต

เทคโนโลยีสารสนเทศเรียนเกี่ยวกับอะไร

ในสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ จะศึกษาด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับการนำคอมพิวเตอร์ไปจัดการกับข้อมูลข่าวสาร ทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ โดยจัดเป็นหมวดหมู่ได้ดังนี้คือ
1.เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมและซอฟต์แวร์
นักศึกษาจะได้ศึกษาถึง วิธีการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาต่างๆ ที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน ซึ่งภาษาที่ศึกษาหลักๆ ได้แก่ ภาษาซี ภาษาจาวา ภาษาพีเฮชพี และภาษาเอส คิวแอล เป็นต้น นอกจากนี้ยังศึกษาถึงหลักการเขียนโปรแกรมหรืออัลกอริธึม และศึกษาว่ามีโครงสร้างข้อมูลอะไรบ้างที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม รวมทั้งศึกษาว่า ภาษาที่ใช้ในการโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีกี่ประเภท แต่ละประเภทมีลักษณะเฉพาะอย่างไร แตกต่างกันอย่างไร และศึกษาวิธีการแปลงภาษาระดับสูงที่มนุษย์เข้าใจ ไปเป็นภาษาเครื่องที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ รวมทั้งศึกษาวิธีการเขียนออกแบบระบบ

2.เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับโครงสร้างของคอมพิวเตอร์และการควบคุมคอมพิวเตอร์
นักศึกษาจะได้ศึกษาว่า คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยวงจรไฟฟ้าแบบดิจิตอลอย่างไร และศึกษาว่าคอมพิวเตอร์มีโครงสร้างหรือสถาปัตยกรรมเป็นแบบใด และศึกษาว่านอกจากฮาร์ดแวร์แล้วคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีโปรแกรมพื้นฐาน ไว้ติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่า ระบบปฏิบัติการหรือโอเอส รวมทั้งศึกษาวงจรคอมพิวเตอร์เฉพาะงาน ที่เรียกว่าไมโครโปรเซสเซอร์ และการนำไมโครโปรเซสเซอร์ไปประยุกต์ใช้งานต่างๆ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยและเป็นที่กล่าวถึงกันอยู่ในปัจจุบันก็คือ ระบบสมองกลฝังตัวซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ที่ฝังตัวอยู่ในอุปกรณ์ต่างๆ เช่น รถยนต์ โทรทัศน์ วิทยุ ตู้เย็น และเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ เป็นต้น


3.เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสาร
นักศึกษาจะได้ศึกษาถึง พื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล โครงสร้างและโปรโตคอลของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ค) การนำคอมพิวเตอร์มาเชื่อมโยงกันเพื่อใช้งานร่วมกัน รวมทั้งศึกษาถึง การนำคอมพิวเตอร์ไปให้บริการต่างๆ ทางอินเตอร์เน็ต และเทคโนโลยีสารสนเทศบนเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา เช่น มือถือ เครื่องปาล์ม เป็นต้น


4.เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ในงานด้านกราฟิก มัลติเมเดีย
นักศึกษาจะได้ศึกษาถึง การประยุกต์คณิตศาสตร์ไปใช้กับการออกแบบชิ้นงานที่มีรูปร่างต่างๆ ซึ่งศาสตร์ด้านนี้รู้จักในชื่อของ ซอฟต์แวร์ประเภทแคด/แคม รวมทั้งการนำคอมพิวเตอร์ไปจัดการกับภาพและเสียง


5.เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ทำงานที่ชาญฉลาด
นักศึกษาจะได้ศึกษาถึง วิธีการสร้างระบบสารสนเทศที่มีความชาญฉลาด หรือศาสตร์ที่ชื่อว่าปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งจะศึกษาเกี่ยวกับระบบสารสนเทศที่เลียนแบบมนุษย์ เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ ระบบวิเคราะห์ภาพ ระบบวิเคราะห์เสียง เป็นต้น


6.เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
นักศึกษาจะได้ศึกษาถึงระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร ระบบสารสนเทศด้านการบัญชี ระบบพาณิชย์อีเล็กทรอนิกส์ หรือ อีคอมเมิร์ซ และลักษณะการลงทุนด้านธุรกิจไอที

เทคโนโลยีสารสนเทศต่างกับวิทยาการคอมพิวเตอร์อย่างไร

คำถามที่ถูกถามบ่อยๆ ข้อหนึ่งก็คือ เทคโนโลยีสารสนเทศต่างกับวิทยาการคอมพิวเตอร์อย่างไร ที่จริงแล้วสองสาขานี้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมาก โดยวิทยาการคอมพิวเตอร์นั้นถือกำเนิดมาก่อนเทคโนโลยีสารสนเทศ และจะเน้นด้านทฤษฏีเป็นหลัก โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับ โครงสร้างของเครื่องคอมพิวเตอร์ หลักการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ การผลิตซอฟต์แวร์ที่มีขนาดใหญ่ให้มีประสิทธิภาพ การนำคอมพิวเตอร์มาใช้กับงานชั้นสูงที่มีความซับซ้อนมาก จุดเด่นของวิทยาการคอมพิวเตอร์คือ เน้นศึกษาวิธีการทำให้คอมพิวเตอร์มีสมรรถนะที่สูงขึ้น และศึกษาวิธีการผลิตซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพเพื่อใช้งานคอมพิวเตอร์ให้เกิดประโยชน์สูงที่สุด

สำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศหรือไอทีนั้น ได้ถูกกล่าวถึงกันมากในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมานี้เองหลังจากอินเตอร์เน็ตเป็นที่แพร่หลาย โดยเทคโนโลยีสารสนเทศจะเน้นการประยุกต์ใช้งานคอมพิวเตอร์ในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานด้านธุรกิจ งานด้านการสื่อสาร งานในสายการผลิต งานด้านบริการ เป็นต้น เทคโนโลยีสารสนเทศนั้นค่อนข้างเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว โดยจะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา จุดเด่นของเทคโนโลยีสารสนเทศคือ เน้นศึกษาวิธีการนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้งาน จัดการเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารหรือสารสนเทศ ซึ่งรวมไปถึงเทคโนโลยีระบบเคลื่อนที่ เช่น มือถือ และการจัดการธุรกิจและการลงทุนที่เกี่ยวกับสารสนเทศ

เรียนจบแล้วสามารถทำงานที่ไหนได้บ้าง

หลังจบสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ นักศึกษาสามารถทำงานหรือศึกษาต่อระดับสูงได้ทั้งที่เป็นด้านเทคนิคและด้าน การบริหารจัดการ โดยถ้าผู้สำเร็จการศึกษาสนใจด้านการบริหารจัดการนั้น การเรียนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมีข้อได้เปรียบกว่าสาขาอื่นๆ คือ นักศึกษาจะมีความรู้ในเชิงเทคนิคที่แน่นพอ โดยเฉพาะ องค์กรเกือบทุกองค์กรในปัจจุบันใช้ระบบสารสนเทศในการบริหารจัดการ ดังนั้นนักศึกษาที่จบจะมีพื้นฐานที่ดีต่อการประกอบอาชีพในบริษัทหรือ องค์กรที่นำระบบสารสนเทศมาใช้ในการจัดการ การจัดการที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ นอกจากนี้นักศึกษาสามารถเลือกเรียนเพิ่มเติมด้านการบริหารจัดการทำให้สามารถ ทำงานด้านการให้คำแนะนำแก่บริษัทต่างๆ ได้ นักศึกษาที่จบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจะสามารถทำงานได้ทั้งด้านเทคนิคและด้าน การบริหารจัดการดังนี้

1. งานด้านเทคนิคหรืองานผู้เชี่ยวชาญ

ผู้ออกแบบและวิเคราะห์ระบบสารสนเทศในบริษัทหรือองค์กรต่างๆ
ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ และบำรุงรักษาระบบสารสนเทศ
ผู้เขียนโปรแกรมประยุกต์หรือโปรแกรมระบบงาน หรือที่เรียกว่าโปรแกรมเมอร์
ผู้ออกแบบสร้างและบำรุงรักษาระบบฐานข้อมูลซึ่งเป็นระบบสารสนเทศพื้นฐานในทุกองค์กร
ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ผู้ออกแบบและโปรแกรมระบบสารสนเทศอัจฉริยะ
ผู้ออกแบบและโปรแกรมระบบกราฟิกหรืออะนิเมชั่น
2. งานด้านการบริหารจัดการหรืองานให้คำปรึกษา

ผู้ประสานงานในโครงการต่างๆที่เกี่ยวกับระบบสารสนเทศ
ผู้จัดการแผนก ส่วนหรือฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กร
ผู้ให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแก่องค์กรต่างๆ
ผู้ประกอบธุรกิจหรือนักลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

เรียนจบแล้วสามารถทำงานที่ไหนได้บ้าง

จบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแล้ว เราสามารถทำงานได้ในทุกองค์กรที่มีคอมพิวเตอร์หรือระบบสารสนเทศอยู่ ซึ่งในปัจจุบันเกือบทุกองค์กรไม่ว่าที่เป็นของรัฐหรือเอกชน จะมีระบบสารสนเทศใช้งานอยู่แล้ว จึงทำให้ผู้จบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นที่ต้องการมาก อย่างไรก็ตามการทำงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กรมีสองประเภท คือ การทำงานในองค์กรหรือธุรกิจที่เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นแกนหลัก และ การทำงานในองค์กรหรือธุรกิจที่เทคโนโลยีสารสนเทศไม่ใช่แกนหลัก

ธุรกิจที่มีเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นแกนหลักได้แก่ ธุรกิจผลิตซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขาย ธุรกิจบริการด้านข้อมูลข่าวสาร ธุรกิจด้านการให้บริการระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบอินเตอร์เน็ตหรือระบบเครือข่ายมือถือ ธุรกิจให้บริการด้านพาณิชย์อีเล็กทรอนิกส์หรืออีคอมเมิร์ซ ธุรกิจให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือที่เรียกว่าธุรกิจคอนซัลแตนต์

ธุรกิจที่เทคโนโลยีสารสนเทศไม่ได้เป็นแกนหลัก ได้แก่

ธุรกิจผลิตสินค้าหรือโรงงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจด้านการเกษตร ด้านอาหาร ด้านรถยนต์ ด้านน้ำมัน ด้านไฟฟ้าและพลังงาน ด้านสินค้าอีเล็กทรอนิกส์ ด้านผลิตเครื่องจักรกล ด้านผลิตภาพยนตร์ เป็นต้น
ธุรกิจเชิงบริการ ได้แก่ ด้านการธนาคาร ด้านบัญชี ด้านขนส่ง ด้านโรงภาพยนตร์ ด้านค้าปลีกหรือร้านค้าซูเปอร์มาร์เก็ต เป็นต้น

เรียนต่อด้านไหนได้บ้าง

จบสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศแล้ว สามารถไปศึกษาต่อได้ทั้งทางด้านเทคนิค และด้านการบริหารจัดการหรือด้านธุรกิจ ทางด้านเทคนิค ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถไปศึกษาต่อได้ทั้งที่เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ คอมพิวเตอร์โดยตรง เช่น ด้านระบบฐานข้อมูลในองค์กร ด้านเน็ตเวิร์ค ด้านความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์ ด้านระบบคอมพิวเตอร์อัจฉริยะหรือปัญญาประดิษฐ์ และที่นำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ในงานสาขาอื่น เช่น ด้านสื่อสารมวลชน ด้านมัลติเมเดีย ด้านอะนิเมชั่น ด้านสารสนเทศเพื่อการแพทย์ ด้านสารสนเทศชีววิทยา ด้านการสร้างแบบจำลองเพื่อวิเคราะห์ทางเคมีและฟิสิกส์ เป็นต้น

ส่วนด้านการบริหารจัดการหรือด้านธุรกิจนั้น ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถศึกษาต่อด้านการบริหารจัดการหรือเอ็มบีเอ ด้านการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการลงทุนเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านระบบสารสนเทศเพื่อบริหารงานบัญชี ด้านระบบสารสนเทศเพื่องานบุคคล ด้านระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร ด้านการประเมินและวิเคราะห์ความเสี่ยงของธุรกิจ เป็นต้น

3.2
-ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาลของ
-ใช้ในการค้นหาข้อมูลที่เราไม่รู้และทำสื่อเผื่อแพร่งานนิทัศการณ์


ที่มา : guru.google.co.th/guru/thread?tid=2bb9905a601d1220...


โดย: นางสาวประสิทธิ์พร เพ็งสอน(หมู่01 วันจันทร์บ่าย) IP: 113.53.164.173 วันที่: 15 กันยายน 2552 เวลา:21:41:45 น.  

 
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย

ตอบ ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology หรือ IT) ได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว และมีบทบาทสำคัญในด้านต่างๆ อย่างกว้างขวาง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การบริการสังคม สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านการศึกษา ซึ่งการมีบทบาทสำคัญนี้อาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอทีนั้นเปรียบเหมือนเครื่องจักรที่สามารถรองรับข้อมูลข่าวสารมาทำการประมวลผล และการแสดงผลตามที่ต้องการได้รวดเร็ว โดยอาศัยองค์ประกอบอื่นๆ ช่วยในการจัดการ ได้แก่ โปรแกรมปฏิบัติการ โปรแกรมชุดคำสั่งต่างๆ และที่สำคัญคือ ผู้ที่จะตัดสินใจหรือสั่งการให้ทำงานได้ถูกต้องตามเป้าหมาย ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ใช้ ผู้บริหาร และผู้ชำนาญการ หรือนักเทคโนโลยีสารสนเทศโดยตรง


รัฐบาลไทยในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญ เล็งเห็นประโยชน์และคุณค่าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยใน พ.ศ. 2535 ได้แต่งตั้ง "คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ" ขึ้น โดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและให้มีรองนายกรัฐมนตรี ที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธาน มีคณะกรรมการประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง และผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาครัฐบาลและเอกชน และได้มอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการฯ มีหน้าที่เสนอแนะนโยบายและแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศต่อคณะรัฐมนตรี ทั้งในเรื่องการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างบรรยากาศ ให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการดำเนินงานด้านต่างๆ
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จัดทำแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานของรัฐ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการและการดำเนินการตามแผนดังกล่าวโดยแบ่งเป็น 4 ช่วงได้แก่

ช่วงที่ 1 : การมีการใช้คอมพิวเตอร์ในงานทั่วไป (พ.ศ. 2536-2538)
ช่วงที่ 2 : การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (พ.ศ. 2536-2539)
ช่วงที่ 3 : การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานด้านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (พ.ศ. 2537-2540)
ช่วงที่ 4 : การใช้คอมพิวเตอร์เต็มรูปแบบ (พ.ศ. 2540 เป็นต้นไป)

ที่มา...
//learners.in.th/blog/mooddang/256435


ตอบข้อ. 3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)

- 1.มีความสะดวกสบายในการใช้ชีวิติประวัน
- 2.มีความรวดเร๊วทันใจ ในยุคปัจจุบันของการเร่งรีบ

ที่มา...
//gotoknow.org/blog/matanand/32383


โดย: นางสาวปิยนุช แสงจันทร์(หมู่01 วันจันทร์บ่าย) IP: 113.53.164.173 วันที่: 15 กันยายน 2552 เวลา:21:43:39 น.  

 
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

ความสำคัญ

ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology หรือ IT) ได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว และมีบทบาทสำคัญในด้านต่างๆ อย่างกว้างขวาง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การบริการสังคม สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านการศึกษา ซึ่งการมีบทบาทสำคัญนี้อาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอทีนั้นเปรียบเหมือนเครื่องจักรที่สามารถรองรับข้อมูลข่าวสารมาทำการประมวลผล และการแสดงผลตามที่ต้องการได้รวดเร็ว โดยอาศัยองค์ประกอบอื่นๆ ช่วยในการจัดการ ได้แก่ โปรแกรมปฏิบัติการ โปรแกรมชุดคำสั่งต่างๆ และที่สำคัญคือ ผู้ที่จะตัดสินใจหรือสั่งการให้ทำงานได้ถูกต้องตามเป้าหมาย ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ใช้ ผู้บริหาร และผู้ชำนาญการ หรือนักเทคโนโลยีสารสนเทศโดยตรง









รัฐบาลไทยในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญ เล็งเห็นประโยชน์และคุณค่าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยใน พ.ศ. 2535 ได้แต่งตั้ง "คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ" ขึ้น โดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและให้มีรองนายกรัฐมนตรี ที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธาน มีคณะกรรมการประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง และผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาครัฐบาลและเอกชน และได้มอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการฯ มีหน้าที่เสนอแนะนโยบายและแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศต่อคณะรัฐมนตรี ทั้งในเรื่องการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างบรรยากาศ ให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการดำเนินงานด้านต่างๆ
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จัดทำแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานของรัฐ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการและการดำเนินการตามแผนดังกล่าวโดยแบ่งเป็น 4 ช่วงได้แก่

ช่วงที่ 1 : การมีการใช้คอมพิวเตอร์ในงานทั่วไป (พ.ศ. 2536-2538)
ช่วงที่ 2 : การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (พ.ศ. 2536-2539)
ช่วงที่ 3 : การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานด้านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (พ.ศ. 2537-2540)
ช่วงที่ 4 : การใช้คอมพิวเตอร์เต็มรูปแบบ (พ.ศ. 2540 เป็นต้นไป)

การดำเนินการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษานั้น ดำเนินการมาก่อนหน้านี้อีก คือเริ่มดันในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) ซึ่งในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งได้เห็นความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งในด้านการเรียนการสอนโดยมีหลักสูตรการศึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และวิชาการที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคม มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยการบริหารงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการลงทะเบียนนักศึกษา สำหรับกระทรวงศึกษาธิการนั้น ได้จัดตั้งศูนย์สารสนเทศขึ้นในปี พ.ศ. 2522 ในสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ทางด้านทบวงมหาวิทยาลัย ได้จัดประชุมระดับภูมิภาคอาเซียน เรื่องการศึกษาและระบบสารสนเทศภายใต้โครงการพัฒนาการศึกษาอาเซียนในเดือนพฤศจิกายน 2523 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการพัฒนาการสารสนเทศทางการศึกษาของประเทศ
พ.ศ. 2526 ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานและปฏิบัติการของระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา (ศ.ส.ษ.) ขึ้น โดยความเห็นชอบของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศให้ก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดให้มีข้อมูลและสารสนเทศที่มีคุณภาพทันสมัย และสอดคล้องกับความต้องการ และเพื่อเป็นศูนย์กลางในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสารสนเทศทางการศึกษาที่จำเป็นต่อการกำหนดนโยบายการวางแผนการศึกษาและการพัฒนาการศึกษาของประเทศ นอกจากนั้นยังมีหน้าที่กำหนดนิยามที่จำเป็นต้องใช้ในระบบสารสนเทศทางการศึกษา กำหนดมาตรฐานในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำแนกข้อมูลและจัดกระทำข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ ที่สามารถนำไปใช้ได้ตามความต้องการ รวมทั้งการกำหนดขอบข่ายการประสานงานของระบบสารสนเทศทางการศึกษา ตลอดจนส่งเสริมและเผยแพร่วิชาการ และการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศทางการศึกษาของประเทศ
ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) ได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งแก่เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาการศึกษาของชาติ ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 มีแผนงานหลักเพื่อพัฒนาการศึกษาอยู่ 9 แผนงานหลัก แผนงานหลักที่ 9 เป็นแผนเรื่องการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษา ในแผนงานหลักที่ 9 การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษานั้นได้มีแนวคิดว่า สำหรับ ระบบการศึกษาก็ได้ตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลและสารสนเทศเช่นเดียวกันโดย หน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้องได้สนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อการศึกษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การจัดเก็บ การให้บริการและแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศที่ใช้ในการกำหนดนโยบาย การวางแผนพัฒนาการศึกษา การบริหารการศึกษา และการจัดการศึกษาให้เป็นระบบ ที่มีรูปแบบและมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการเรียนการสอนทุกระดับการศึกษา
อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษาของหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง มีลักษณะเป็นไปอย่างอิสระทำให้ขาดความเป็นเอกภาพ ประกอบกับขาดความพร้อมทั้งด้านงบประมาณ บุคลากร และอุปกรณ์ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่อเชื่อมระบบซอฟแวร์ เป็นต้น ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ อันได้แก่ ปัญหาการผลิตข้อมูลปฐมภูมิที่มีข้อมูลไม่ครบถ้วนตามที่ผู้ต้องการใช้ ปัญหาการจัดเก็บข้อมูลทุติยภูมิ ปัญหาการประสานงานเครือข่าย รวมทั้งปัญหาการดำเนินงานสารสนเทศ ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ส่งผลไปถึงการจัดการศึกษาที่ต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินงาน
จากปัญหาข้างต้น จึงจำเป็นจะต้องพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา โดยมีพื้นฐานอยู่บนหลักการพัฒนาร่วมกันระหว่างหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถประสานการดำเนินงาน และการนำทรัพยากรมาใช้ในการบริหารการวางแผนการจัดการศึกษา และการฝึกอบรมร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติเป็นหน่วยประสานงานกลาง ในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา

ที่มา //learners.in.th/blog/mooddang/256435

3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)

1)ช่วยในการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น

2)ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลา และระยะทาง โดยการใช้ระบบโทรศัพท์ และอื่นๆ

ที่มา //61.19.218.122/jukkrit/IT_FOR_Lift/technology2.htm




โดย: น.ส.สุวรรณี ระวะใจ หมู่ที่ 22 อังคารเช้า IP: 125.26.176.80 วันที่: 16 กันยายน 2552 เวลา:18:47:19 น.  

 
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย

เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาประกอบด้วย
1. เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้ปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มีระบบมัลติมีเดีย (Multimedia)* ระบบวิดีโออนนดีมานด์ (Video on Demand) วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ (Video Teleconference) และอินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น ระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้
2. เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษาในการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการดำเนินการ การติดตามและประเมินผลคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในเรื่องนี้
3. เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคลเกือบทุกวงการ ทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เขียน ผู้เรียนกับผู้เรียน เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสาร และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร เทเลคอนเฟอเรนส์ และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)
1.การดำเนินธุรกิจ ทำให้มีการแข่งขันระหว่างธุรกิจมากขึ้น ทำให้ต้องมีการพัฒนาองค์กรเพื่อให้ทันกับข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเวลา
อันส่งผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง
2.ระบบการทำงานมีคอมพิวเตอร์มาใช้ซื่อสามารถทำงานได้มากขึ้น งานบางอย่างมนุษย์ทำไม่ได ้ก็ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยทำงานแทนซึ่งได้ผลถูกต้องรวดเร็ว
3.การศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยในด้านการค้นคว้าศึกษาแหล่งข้อมูล ทำให้การศึกษาง่ายขึ้นและไร้ขีดจำกัด ผู้เรียนมีความสะดวกในการค้นคว้าวิจัย
ที่มา
//61.19.218.122/jukkrit/IT_FOR_Lift/technology2.htm
//www.sahavicha.com/?name=faq&file=readfaq&id=290


โดย: วิทูร ภูนามูล (จันทร์บ่าย) IP: 117.47.9.192 วันที่: 17 กันยายน 2552 เวลา:14:49:51 น.  

 
1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
การพัฒนาระบบการเรียนการสอนโดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ทำให้รูปแบบการเรียนการสอนเปลี่ยนไป ช่วยอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ช่วยทำให้ขยายเวลาเรียนได้ทั้ง 24 ชั่วโมง ขยายสถานที่เรียนเป็นที่ใดก็ได้ ขยายขอบเขตเนื้อหาไม่มีจำกัด ขยายการเรียนการสอนได้ตามความต้องการของผู้เรียน” (รศ.ยืน ภู่วรวรรณ และผศ.สมชาย นำประเสริฐชัย.2546,26)

โดยสรุปแล้วการเรียนการสอนในโรงเรียนมีการนำคอมพิวเตอร์และเครื่องมือประกอบช่วยในการเรียนรู้ เช่น วีดิทัศน์ เครื่องฉายภาพ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ Computer Aided-Instruction (CAI) Multimedia (CD-ROM) มีการจัดตั้งเครือข่ายเพื่อการศึกษาหลายเครือข่าย เช่น เครือข่ายไทยสาร เครือข่าย School Net เป็นต้น รวมทั้งใช้คอมพิวเตอร์ในงานบริหารของโรงเรียน เช่นจัดทำประวัตินักเรียน ประวัติครูอาจารย์ จัดตารางสอน คำนวณระดับคะแนน จัดชั้นเรียน ทำรายงานเพื่อให้ผู้บริหารได้ทราบถึงปัญหาและการแก้ไขปัญหาในโรงเรียน

2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)

1.ใช้ในการค้นหาข้อมูลที่เราไม่รู้และทำสื่อเผื่อแพร่งานนิทัศการณ์

2.ช่วยจัดระบบห้องสมุด

ที่มา//www.school.net.th/library/create-web/10000/generality/10000-12784.html


โดย: วิทูร ภูนามูล (จันทร์บ่าย) IP: 117.47.9.192 วันที่: 17 กันยายน 2552 เวลา:14:50:49 น.  

 
แบบฝึกหัด
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)

3.1เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาประกอบด้วย
1. เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้ปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มีระบบมัลติมีเดีย (Multimedia)* ระบบวิดีโออนนดีมานด์ (Video on Demand) วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ (Video Teleconference) และอินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น ระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้
2. เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษาในการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการดำเนินการ การติดตามและประเมินผลคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในเรื่องนี้
3. เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคลเกือบทุกวงการ ทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เขียน ผู้เรียนกับผู้เรียน เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสาร และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร เทเลคอนเฟอเรนส์ และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

ที่มา //school.obec.go.th/uts_s/webpages/computer/info_edu.htm

3.2 1. Computer Assisted Information (CAI) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยระบบนี้จะใช้ในรูปแบบ OffLine โดยมากจะจัดสร้างในรูปแบบของ CD-ROM
2.) การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการบริหารงานทางไกล

//www.sahavicha.com/?name=faq&file=readfaq&id=290








โดย: น.ส.จิตราภรณ์ ภุเกตุ หมู่ 8 พฤหัสเช้า IP: 58.137.131.62 วันที่: 17 กันยายน 2552 เวลา:16:22:04 น.  

 
การนํานวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการจัดการศึกษา ในปัจจุบันผูบริหาร หน่วยงานทางการศึกษานํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการจัดการศึกษา เป็นประโยชนต่อการเรียนรูหลายอย่าง อาทิเช่น
อินเตอร์เน็ต (Internet) เพื่อใชในการศึกษาหาข้อมูล ข่าวสารทางวิชาการและอื่นๆ จากที่ต่าง ๆ เป็นการส่งเสริมการเรียนรูตลอดชีวิต
จดหมายอิเล็กทรอนิกส (Electronic Mail หรือ E-mail) เพื่อใชรับส่งข่าวสาร ข้อมูล รูปภาพ และส่งงานใหครูอาจารยตรวจ
การจัดทํา Website ของสถานศึกษา เพื่อการเผยแพรขาวสารของสถานศึกษา เป็นการประชาสัมพันธระหว่างสถานศึกษากับ ผู้ที่เกี่ยวของ และบุคคลทั่วไป
การใชโปรแกรม SPSS เพื่อการวิเคราะหข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชนต่อการทําวิจัยในชั้นเรียนของครูอาจารย การทําวิจัยสถานบันของฝ่ายบริหาร และอื่น ๆ
การทํา PowerPoint เพื่อใชในการเรียนการสอนของครูอาจารย และใชเสนอผลงานของ ผู้บริหารสถานศึกษา
คอมพิวเตอรช่วยสอน (Computer Assisted Instruction หรือ CAI) เพื่อช่วยใหผู้เรียนเรียนรูด้วยตนเองจากบทเรียนสําเร็จรูปในคอมพิวเตอร
การเรียนรูผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส (Electronic Learning) หรือที่เรียกกันว่า
E-Learning เป็นการเรียนทางไกลที่ผูเรียนสามารถโตตอบกับผู้สอนได โดยอาศัยเครือข่าย อินเตอร์เน็ต จึงช่วยใหเรียนรู้ไดโดยไม่มีข้อจํากัดของเวลา ระยะทาง และสถานที่ โดยผูเรียนจะสามารถเรียนรูไดตลอดเวลาจึงตอบสนองศักยภาพการเรียนรูของผู้เรียนไดเป็นอย่างดี
ห้องเรียนอัจฉริยะ (Electronic Classroom หรือ E-Classroom) เป็นการจัดระบบบริหารจัดการ
ห้องเรียน ที่ใชการเรียนการสอนแบบ on-line และ ปฏิสัมพันธ (interactive) สามารถควบคุมและและตรวจสอบกิจกรรมของนักเรียนไดโดยตรงจากเครื่องคอมพิวเตอรของครูแบบ real time
หนังสืออิเล็กทรอนิกส (E-book) และ หองสมุดอิเล็กทรอนิกส (E-Library) เพื่อเสริม การเรียนการสอน และใหบริการค้นคว้าหาความรูแกนักเรียน ครูอาจารย และประชาชน
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ “ICT” (Information and Communication Technologies) เพื่อพัฒนาการศึกษา ปัจจุบันประเทศไทยโดยกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายสําคัญที่จะนําเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช เพื่อพัฒนาการสื่อสารในทุกด้าน โดยเฉพาะการช่วยพัฒนาครูอาจารย การช่วยใหเด็กและเยาวชนไดเข้าถึงแหล่งความรูและไดเรียนอย่างทัดเทียมกัน ตลอดจนการพัฒนาระบบบริหารจัดการให้ ฉับไว มีประสิทธิภาพสูงสุด

ดังนั้น นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ก็เข้ามามีบทบาทมากขึ้น โนเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุคของการปฎิรูปการศึกษา ผู้บริหารการศึกษายุคใหมต่างก็นํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชประโยชนใน การบริหารจัดการศึกษา เพื่อใหประสบผลสําเร็จในการพัฒนาคุณภาพผูเรียนไดอย่างมีประสิทธิภาพสูง

(อ้างอิง จากเอกสารชุดวิชา การจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ : สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ 2546. เผยแพรโดย ดร.ไพฑูรย ศรีฟ้า //www.paitoon-srifa.com/moodle )



โดย: นายสุพจน์ ยางขัน หมู่ 8 พฤหัสเช้า IP: 58.137.131.62 วันที่: 19 กันยายน 2552 เวลา:13:02:29 น.  

 
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
การนํานวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการจัดการศึกษา ในปัจจุบันผูบริหาร หน่วยงานทางการศึกษานํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการจัดการศึกษา เป็นประโยชนต่อการเรียนรูหลายอย่าง อาทิเช่น
อินเตอร์เน็ต (Internet) เพื่อใชในการศึกษาหาข้อมูล ข่าวสารทางวิชาการและอื่นๆ จากที่ต่าง ๆ เป็นการส่งเสริมการเรียนรูตลอดชีวิต
จดหมายอิเล็กทรอนิกส (Electronic Mail หรือ E-mail) เพื่อใชรับส่งข่าวสาร ข้อมูล รูปภาพ และส่งงานใหครูอาจารยตรวจ
การจัดทํา Website ของสถานศึกษา เพื่อการเผยแพรขาวสารของสถานศึกษา เป็นการประชาสัมพันธระหว่างสถานศึกษากับ ผู้ที่เกี่ยวของ และบุคคลทั่วไป
การใชโปรแกรม SPSS เพื่อการวิเคราะหข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชนต่อการทําวิจัยในชั้นเรียนของครูอาจารย การทําวิจัยสถานบันของฝ่ายบริหาร และอื่น ๆ
การทํา PowerPoint เพื่อใชในการเรียนการสอนของครูอาจารย และใชเสนอผลงานของ ผู้บริหารสถานศึกษา
คอมพิวเตอรช่วยสอน (Computer Assisted Instruction หรือ CAI) เพื่อช่วยใหผู้เรียนเรียนรูด้วยตนเองจากบทเรียนสําเร็จรูปในคอมพิวเตอร
การเรียนรูผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส (Electronic Learning) หรือที่เรียกกันว่า
E-Learning เป็นการเรียนทางไกลที่ผูเรียนสามารถโตตอบกับผู้สอนได โดยอาศัยเครือข่าย อินเตอร์เน็ต จึงช่วยใหเรียนรู้ไดโดยไม่มีข้อจํากัดของเวลา ระยะทาง และสถานที่ โดยผูเรียนจะสามารถเรียนรูไดตลอดเวลาจึงตอบสนองศักยภาพการเรียนรูของผู้เรียนไดเป็นอย่างดี
ห้องเรียนอัจฉริยะ (Electronic Classroom หรือ E-Classroom) เป็นการจัดระบบบริหารจัดการ
ห้องเรียน ที่ใชการเรียนการสอนแบบ on-line และ ปฏิสัมพันธ (interactive) สามารถควบคุมและและตรวจสอบกิจกรรมของนักเรียนไดโดยตรงจากเครื่องคอมพิวเตอรของครูแบบ real time
หนังสืออิเล็กทรอนิกส (E-book) และ หองสมุดอิเล็กทรอนิกส (E-Library) เพื่อเสริม การเรียนการสอน และใหบริการค้นคว้าหาความรูแกนักเรียน ครูอาจารย และประชาชน
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ “ICT” (Information and Communication Technologies) เพื่อพัฒนาการศึกษา ปัจจุบันประเทศไทยโดยกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายสําคัญที่จะนําเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช เพื่อพัฒนาการสื่อสารในทุกด้าน โดยเฉพาะการช่วยพัฒนาครูอาจารย การช่วยใหเด็กและเยาวชนไดเข้าถึงแหล่งความรูและไดเรียนอย่างทัดเทียมกัน ตลอดจนการพัฒนาระบบบริหารจัดการให้ ฉับไว มีประสิทธิภาพสูงสุด

ดังนั้น นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ก็เข้ามามีบทบาทมากขึ้น โนเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุคของการปฎิรูปการศึกษา ผู้บริหารการศึกษายุคใหมต่างก็นํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชประโยชนใน การบริหารจัดการศึกษา เพื่อใหประสบผลสําเร็จในการพัฒนาคุณภาพผูเรียนไดอย่างมีประสิทธิภาพสูง

(อ้างอิง จากเอกสารชุดวิชา การจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ : สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ 2546. เผยแพรโดย ดร.ไพฑูรย ศรีฟ้า //www.paitoon-srifa.com/moodle )



3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)

1 ด้านการบริหารประเทศ
2 ด้านกีฬา


โดย: นายสุพจน์ ยางขัน หมู่ 8 พฤหัสเช้า IP: 58.137.131.62 วันที่: 19 กันยายน 2552 เวลา:13:09:35 น.  

 
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย


ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology หรือ IT) ได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว และมีบทบาทสำคัญในด้านต่างๆ อย่างกว้างขวาง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การบริการสังคม สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านการศึกษา ซึ่งการมีบทบาทสำคัญนี้อาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอทีนั้นเปรียบเหมือนเครื่องจักรที่สามารถรองรับข้อมูลข่าวสารมาทำการประมวลผล และการแสดงผลตามที่ต้องการได้รวดเร็ว โดยอาศัยองค์ประกอบอื่นๆ ช่วยในการจัดการ ได้แก่ โปรแกรมปฏิบัติการ โปรแกรมชุดคำสั่งต่างๆ และที่สำคัญคือ ผู้ที่จะตัดสินใจหรือสั่งการให้ทำงานได้ถูกต้องตามเป้าหมาย ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ใช้ ผู้บริหาร และผู้ชำนาญการ หรือนักเทคโนโลยีสารสนเทศโดยตรง


โดย: ส.ท.ยศกร ศิริคติพจน์ 51241151228 หมู่ที่5 เสาร์ บ่าย IP: 172.29.5.133, 58.147.7.66 วันที่: 19 กันยายน 2552 เวลา:14:56:05 น.  

 
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
-การพัฒนาระบบการเรียนการสอนโดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ทำให้รูปแบบการเรียนการสอนเปลี่ยนไป ช่วยอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ช่วยทำให้ขยายเวลาเรียนได้ทั้ง 24 ชั่วโมง ขยายสถานที่เรียนเป็นที่ใดก็ได้ ขยายขอบเขตเนื้อหาไม่มีจำกัด ขยายการเรียนการสอนได้ตามความต้องการของผู้เรียน” (รศ.ยืน ภู่วรวรรณ และผศ.สมชาย นำประเสริฐชัย.2546,26)

โดยสรุปแล้วการเรียนการสอนในโรงเรียนมีการนำคอมพิวเตอร์และเครื่องมือประกอบช่วยในการเรียนรู้ เช่น วีดิทัศน์ เครื่องฉายภาพ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ Computer Aided-Instruction (CAI) Multimedia (CD-ROM) มีการจัดตั้งเครือข่ายเพื่อการศึกษาหลายเครือข่าย เช่น เครือข่ายไทยสาร เครือข่าย School Net เป็นต้น รวมทั้งใช้คอมพิวเตอร์ในงานบริหารของโรงเรียน เช่นจัดทำประวัตินักเรียน ประวัติครูอาจารย์ จัดตารางสอน คำนวณระดับคะแนน จัดชั้นเรียน ทำรายงานเพื่อให้ผู้บริหารได้ทราบถึงปัญหาและการแก้ไขปัญหาในโรงเรียน


3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)

-ช่วยในการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น
-ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลา และระยะทาง โดยการใช้ระบบโทรศัพท์ และอื่นๆ
//61.19.218.122/jukkrit/IT_FOR_Lift/technology2.htm

นาย พิษณุ มีที คบ.ทัศนศิลป์ หมู่ 11 1/52 จันทร์/บ่าย 51100103115


โดย: นาย พิษณุ มีที คบ.ทัศนศิลป์ หมู่ 11 1/52 จันทร์/บ่าย 51100103115 IP: 192.168.1.124, 124.157.149.201 วันที่: 20 กันยายน 2552 เวลา:11:35:05 น.  

 
1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ..... ช่วยในการตัดสินใจ การตัดสินใจที่ดีจะต้องรวดเร็วและไมผิดพลาด และการตัดสินใจที่รวดเร็วและไมผิดพลาดนั้นจําเป็น ต้องมี ข้อมูลสารสนเทศที่ เป็นปัจจุบันไมล้าสมัย มีจํานวนมากเพียงพอ และสามารถนํามาใชไดง่ายและรวดเร็ว ซึ่งเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยเรื่องนี้เป็นอย่างดี

... เทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการบริหารงานทางไกล มีการนําสื่อหลายๆอย่าง เช่น โทรศัพทมือถือ โทรสาร วิทยุ โทรทัศน คอมพิวเตอร และเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคม มาใชในการติดต่อการสื่อสารและการบริหารงานทางไกลไดสะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลาและค่าใช้จายเป็น อันมาก ถึงแมจะอยูไกลกันก็สามารถทํางานร่วมกัน ประชุมร่วมกันไดโดยใช Teleconference เป็นต้น
------------------------------------------------------------

2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)
ตอบ.....



1. การดำรงชีวิตประจำวัน ทำให้มีความสะดวกคล่องตัวและรวดเร็วในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน สามารถทำงานได้หลายอย่างในเวลาเดียวกันได้หรือทำงานใช้เวลาน้อยลง


2. อัตราการขยายตัวทุก ๆ ด้านที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะมีการติดต่อสื่อสารที่เจริญก้าวหน้าทันสมัย รวดเร็วถูกต้องและ ทำให้
เป็นโลกที่ไร้พรหรมแดน



โดย: น.ส.จิรัชยา เอื้อวรรณกิจ 52040421145 หมู่ 29 IP: 117.47.234.48 วันที่: 21 กันยายน 2552 เวลา:20:17:36 น.  

 
1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาประกอบด้วย
1. เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้ปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มีระบบมัลติมีเดีย (Multimedia)* ระบบวิดีโออนนดีมานด์ (Video on Demand) วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ (Video Teleconference) และอินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น ระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้
2. เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษาในการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการดำเนินการ การติดตามและประเมินผลคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในเรื่องนี้
3. เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคลเกือบทุกวงการ ทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เขียน ผู้เรียนกับผู้เรียน เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสาร และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร เทเลคอนเฟอเรนส์ และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น


โดย: นาย จิติวรรษ์ คอยตาม พฤหัสบดี เช้า IP: 124.157.139.207 วันที่: 22 กันยายน 2552 เวลา:0:55:33 น.  

 
3. ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ

1. ด้าน สังคมและ การพัฒนาการเมืองการปกครองของประเทศ

2. ด้านการสื่อสารต่างๆ และการศึกษา


โดย: นายจิติวรรษ์ คอยตาม พฤหัสบดี เช้า IP: 124.157.139.207 วันที่: 22 กันยายน 2552 เวลา:1:02:59 น.  

 
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย


ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology หรือ IT) ได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว และมีบทบาทสำคัญในด้านต่างๆ อย่างกว้างขวาง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การบริการสังคม สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านการศึกษา ซึ่งการมีบทบาทสำคัญนี้อาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอทีนั้นเปรียบเหมือนเครื่องจักรที่สามารถรองรับข้อมูลข่าวสารมาทำการประมวลผล และการแสดงผลตามที่ต้องการได้รวดเร็ว โดยอาศัยองค์ประกอบอื่นๆ ช่วยในการจัดการ ได้แก่ โปรแกรมปฏิบัติการ โปรแกรมชุดคำสั่งต่างๆ และที่สำคัญคือ ผู้ที่จะตัดสินใจหรือสั่งการให้ทำงานได้ถูกต้องตามเป้าหมาย ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ใช้ ผู้บริหาร และผู้ชำนาญการ หรือนักเทคโนโลยีสารสนเทศโดยตรง






รัฐบาลไทยในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญ เล็งเห็นประโยชน์และคุณค่าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยใน พ.ศ. 2535 ได้แต่งตั้ง "คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ" ขึ้น โดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและให้มีรองนายกรัฐมนตรี ที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธาน มีคณะกรรมการประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง และผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาครัฐบาลและเอกชน และได้มอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการฯ มีหน้าที่เสนอแนะนโยบายและแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศต่อคณะรัฐมนตรี ทั้งในเรื่องการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างบรรยากาศ ให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการดำเนินงานด้านต่างๆ
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จัดทำแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานของรัฐ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการและการดำเนินการตามแผนดังกล่าวโดยแบ่งเป็น 4 ช่วงได้แก่

ช่วงที่ 1 : การมีการใช้คอมพิวเตอร์ในงานทั่วไป (พ.ศ. 2536-2538)
ช่วงที่ 2 : การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (พ.ศ. 2536-2539)
ช่วงที่ 3 : การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานด้านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (พ.ศ. 2537-2540)
ช่วงที่ 4 : การใช้คอมพิวเตอร์เต็มรูปแบบ (พ.ศ. 2540 เป็นต้นไป)


โดย: นาย จิติวรรษ์ คอ หมู่ 8. 1/52 พฤหัสบดี เช้า IP: 124.157.139.207 วันที่: 22 กันยายน 2552 เวลา:2:02:45 น.  

 
3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)

1. ด้าน สังคมและการพัฒนาประเทศ
2. ด้านการเป็นสื่อในการหาข้อมูลใหม่ๆ



โดย: นาย จิติวรรษ์ คอยตาม หมู่ 8. 1/52 พฤหัสบดี เช้า IP: 124.157.139.207 วันที่: 22 กันยายน 2552 เวลา:2:12:13 น.  

 
1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
การพัฒนาระบบการเรียนการสอนโดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ทำให้รูปแบบการเรียนการสอนเปลี่ยนไป ช่วยอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ช่วยทำให้ขยายเวลาเรียนได้ทั้ง 24 ชั่วโมง ขยายสถานที่เรียนเป็นที่ใดก็ได้ ขยายขอบเขตเนื้อหาไม่มีจำกัด ขยายการเรียนการสอนได้ตามความต้องการของผู้เรียน” (รศ.ยืน ภู่วรวรรณ และผศ.สมชาย นำประเสริฐชัย.2546,26)

โดยสรุปแล้วการเรียนการสอนในโรงเรียนมีการนำคอมพิวเตอร์และเครื่องมือประกอบช่วยในการเรียนรู้ เช่น วีดิทัศน์ เครื่องฉายภาพ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ Computer Aided-Instruction (CAI) Multimedia (CD-ROM) มีการจัดตั้งเครือข่ายเพื่อการศึกษาหลายเครือข่าย เช่น เครือข่ายไทยสาร เครือข่าย School Net เป็นต้น รวมทั้งใช้คอมพิวเตอร์ในงานบริหารของโรงเรียน เช่นจัดทำประวัตินักเรียน ประวัติครูอาจารย์ จัดตารางสอน คำนวณระดับคะแนน จัดชั้นเรียน ทำรายงานเพื่อให้ผู้บริหารได้ทราบถึงปัญหาและการแก้ไขปัญหาในโรงเรียน
2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)
2.1ด้านการพัฒนาสังคม การปกครอง
2.2ด้านการคมนาคม


โดย: นางสาวสุขชฎา อินทปัญญา หมู่ 22 รหัส 52040427216 IP: 192.168.1.112, 124.157.129.6 วันที่: 23 กันยายน 2552 เวลา:17:47:59 น.  

 
แบบฝึกหัด
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบการนํานวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการจัดการศึกษา ในปัจจุบันผูบริหาร หน่วยงานทางการศึกษานํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการจัดการศึกษา เป็นประโยชนต่อการเรียนรูหลายอย่าง อาทิเช่น
อินเตอร์เน็ต (Internet) เพื่อใชในการศึกษาหาข้อมูล ข่าวสารทางวิชาการและอื่นๆ จากที่ต่าง ๆ เป็นการส่งเสริมการเรียนรูตลอดชีวิต
จดหมายอิเล็กทรอนิกส (Electronic Mail หรือ E-mail) เพื่อใชรับส่งข่าวสาร ข้อมูล รูปภาพ และส่งงานใหครูอาจารยตรวจ
การจัดทํา Website ของสถานศึกษา เพื่อการเผยแพรขาวสารของสถานศึกษา เป็นการประชาสัมพันธระหว่างสถานศึกษากับ ผู้ที่เกี่ยวของ และบุคคลทั่วไป
การใชโปรแกรม SPSS เพื่อการวิเคราะหข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชนต่อการทําวิจัยในชั้นเรียนของครูอาจารย การทําวิจัยสถานบันของฝ่ายบริหาร และอื่น ๆ
การทํา PowerPoint เพื่อใชในการเรียนการสอนของครูอาจารย และใชเสนอผลงานของ ผู้บริหารสถานศึกษา
คอมพิวเตอรช่วยสอน (Computer Assisted Instruction หรือ CAI) เพื่อช่วยใหผู้เรียนเรียนรูด้วยตนเองจากบทเรียนสําเร็จรูปในคอมพิวเตอร
การเรียนรูผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส (Electronic Learning) หรือที่เรียกกันว่า
E-Learning เป็นการเรียนทางไกลที่ผูเรียนสามารถโตตอบกับผู้สอนได โดยอาศัยเครือข่าย อินเตอร์เน็ต จึงช่วยใหเรียนรู้ไดโดยไม่มีข้อจํากัดของเวลา ระยะทาง และสถานที่ โดยผูเรียนจะสามารถเรียนรูไดตลอดเวลาจึงตอบสนองศักยภาพการเรียนรูของผู้เรียนไดเป็นอย่างดี
ห้องเรียนอัจฉริยะ (Electronic Classroom หรือ E-Classroom) เป็นการจัดระบบบริหารจัดการ
ห้องเรียน ที่ใชการเรียนการสอนแบบ on-line และ ปฏิสัมพันธ (interactive) สามารถควบคุมและและตรวจสอบกิจกรรมของนักเรียนไดโดยตรงจากเครื่องคอมพิวเตอรของครูแบบ real time
หนังสืออิเล็กทรอนิกส (E-book) และ หองสมุดอิเล็กทรอนิกส (E-Library) เพื่อเสริม การเรียนการสอน และใหบริการค้นคว้าหาความรูแกนักเรียน ครูอาจารย และประชาชน
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ “ICT” (Information and Communication Technologies) เพื่อพัฒนาการศึกษา ปัจจุบันประเทศไทยโดยกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายสําคัญที่จะนําเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช เพื่อพัฒนาการสื่อสารในทุกด้าน โดยเฉพาะการช่วยพัฒนาครูอาจารย การช่วยใหเด็กและเยาวชนไดเข้าถึงแหล่งความรูและไดเรียนอย่างทัดเทียมกัน ตลอดจนการพัฒนาระบบบริหารจัดการให้ ฉับไว มีประสิทธิภาพสูงสุด

ดังนั้น นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ก็เข้ามามีบทบาทมากขึ้น โนเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุคของการปฎิรูปการศึกษา ผู้บริหารการศึกษายุคใหมต่างก็นํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชประโยชนใน การบริหารจัดการศึกษา เพื่อใหประสบผลสําเร็จในการพัฒนาคุณภาพผูเรียนไดอย่างมีประสิทธิภาพสูง

(อ้างอิง จากเอกสารชุดวิชา การจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ : สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ 2546. เผยแพรโดย ดร.ไพฑูรย ศรีฟ้า //www.paitoon-srifa.com/moodle )

3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)
ตอบ 1. ด้านการคมนาคม
2. ด้านการพัฒนาสาธารณสุข






โดย: นางสาวหนึ่งฤทัย มังคละแสน คณะมนุษศษสตร์และสังคมศาสตร์ สาขานิติศาสตร์หมู่01 จ.บ่าย IP: 124.157.147.100 วันที่: 23 กันยายน 2552 เวลา:18:52:29 น.  

 
. ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology หรือ IT) ได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว และมีบทบาทสำคัญในด้านต่างๆ อย่างกว้างขวาง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การบริการสังคม สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านการศึกษา ซึ่งการมีบทบาทสำคัญนี้อาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอทีนั้นเปรียบเหมือนเครื่องจักรที่สามารถรองรับข้อมูลข่าวสารมาทำการประมวลผล และการแสดงผลตามที่ต้องการได้รวดเร็ว โดยอาศัยองค์ประกอบอื่นๆ ช่วยในการจัดการ ได้แก่ โปรแกรมปฏิบัติการ โปรแกรมชุดคำสั่งต่างๆ และที่สำคัญคือ ผู้ที่จะตัดสินใจหรือสั่งการให้ทำงานได้ถูกต้องตามเป้าหมาย ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ใช้ ผู้บริหาร และผู้ชำนาญการ หรือนักเทคโนโลยีสารสนเทศโดยตรง






รัฐบาลไทยในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญ เล็งเห็นประโยชน์และคุณค่าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยใน พ.ศ. 2535 ได้แต่งตั้ง "คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ" ขึ้น โดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและให้มีรองนายกรัฐมนตรี ที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธาน มีคณะกรรมการประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง และผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาครัฐบาลและเอกชน และได้มอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการฯ มีหน้าที่เสนอแนะนโยบายและแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศต่อคณะรัฐมนตรี ทั้งในเรื่องการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างบรรยากาศ ให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการดำเนินงานด้านต่างๆ
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จัดทำแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานของรัฐ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการและการดำเนินการตามแผนดังกล่าวโดยแบ่งเป็น 4 ช่วงได้แก่

ช่วงที่ 1 : การมีการใช้คอมพิวเตอร์ในงานทั่วไป (พ.ศ. 2536-2538)
ช่วงที่ 2 : การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (พ.ศ. 2536-2539)
ช่วงที่ 3 : การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานด้านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (พ.ศ. 2537-2540)
ช่วงที่ 4 : การใช้คอมพิวเตอร์เต็มรูปแบบ (พ.ศ. 2540 เป็นต้นไป)


การดำเนินการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษานั้น ดำเนินการมาก่อนหน้านี้อีก คือเริ่มดันในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) ซึ่งในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งได้เห็นความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งในด้านการเรียนการสอนโดยมีหลักสูตรการศึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และวิชาการที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคม มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยการบริหารงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการลงทะเบียนนักศึกษา สำหรับกระทรวงศึกษาธิการนั้น ได้จัดตั้งศูนย์สารสนเทศขึ้นในปี พ.ศ. 2522 ในสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ทางด้านทบวงมหาวิทยาลัย ได้จัดประชุมระดับภูมิภาคอาเซียน เรื่องการศึกษาและระบบสารสนเทศภายใต้โครงการพัฒนาการศึกษาอาเซียนในเดือนพฤศจิกายน 2523 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการพัฒนาการสารสนเทศทางการศึกษาของประเทศ
พ.ศ. 2526 ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานและปฏิบัติการของระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา (ศ.ส.ษ.) ขึ้น โดยความเห็นชอบของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศให้ก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดให้มีข้อมูลและสารสนเทศที่มีคุณภาพทันสมัย และสอดคล้องกับความต้องการ และเพื่อเป็นศูนย์กลางในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสารสนเทศทางการศึกษาที่จำเป็นต่อการกำหนดนโยบายการวางแผนการศึกษาและการพัฒนาการศึกษาของประเทศ นอกจากนั้นยังมีหน้าที่กำหนดนิยามที่จำเป็นต้องใช้ในระบบสารสนเทศทางการศึกษา กำหนดมาตรฐานในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำแนกข้อมูลและจัดกระทำข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ ที่สามารถนำไปใช้ได้ตามความต้องการ รวมทั้งการกำหนดขอบข่ายการประสานงานของระบบสารสนเทศทางการศึกษา ตลอดจนส่งเสริมและเผยแพร่วิชาการ และการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศทางการศึกษาของประเทศ
ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) ได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งแก่เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาการศึกษาของชาติ ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 มีแผนงานหลักเพื่อพัฒนาการศึกษาอยู่ 9 แผนงานหลัก แผนงานหลักที่ 9 เป็นแผนเรื่องการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษา ในแผนงานหลักที่ 9 การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษานั้นได้มีแนวคิดว่า สำหรับระบบการศึกษาก็ได้ตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลและสารสนเทศเช่นเดียวกันโดยหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้องได้สนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การจัดเก็บ การให้บริการและแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศที่ใช้ในการกำหนดนโยบาย การวางแผนพัฒนาการศึกษา การบริหารการศึกษา และการจัดการศึกษาให้เป็นระบบ ที่มีรูปแบบและมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการเรียนการสอนทุกระดับการศึกษา
อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษาของหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง มีลักษณะเป็นไปอย่างอิสระทำให้ขาดความเป็นเอกภาพ ประกอบกับขาดความพร้อมทั้งด้านงบประมาณ บุคลากร และอุปกรณ์ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่อเชื่อมระบบซอฟแวร์ เป็นต้น ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ อันได้แก่ ปัญหาการผลิตข้อมูลปฐมภูมิที่มีข้อมูลไม่ครบถ้วนตามที่ผู้ต้องการใช้ ปัญหาการจัดเก็บข้อมูลทุติยภูมิ ปัญหาการประสานงานเครือข่าย รวมทั้งปัญหาการดำเนินงานสารสนเทศ ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ส่งผลไปถึงการจัดการศึกษาที่ต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินงาน
จากปัญหาข้างต้น จึงจำเป็นจะต้องพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา โดยมีพื้นฐานอยู่บนหลักการพัฒนาร่วมกันระหว่างหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถประสานการดำเนินงาน และการนำทรัพยากรมาใช้ในการบริหารการวางแผนการจัดการศึกษา และการฝึกอบรมร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติเป็นหน่วยประสานงานกลาง ในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา

ที่มา //learners.in.th/blog/mooddang/256435

2. 1. ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาลของแต่ละวัน
2. เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสารสนเทศ เช่น การคำนวณตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน การจัดเรียงลำดับสารสนเทศ ฯลฯ


ที่มา//61.19.218.122/jukkrit/IT_FOR_Lift/technology2.htm




โดย: ส.อ.ชาคร ทานินนท์ หมู่ 05 5124151208 IP: 125.26.164.16 วันที่: 24 กันยายน 2552 เวลา:11:16:54 น.  

 
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

ความสำคัญ

ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology หรือ IT) ได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว และมีบทบาทสำคัญในด้านต่างๆ อย่างกว้างขวาง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การบริการสังคม สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านการศึกษา ซึ่งการมีบทบาทสำคัญนี้อาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอทีนั้นเปรียบเหมือนเครื่องจักรที่สามารถรองรับข้อมูลข่าวสารมาทำการประมวลผล และการแสดงผลตามที่ต้องการได้รวดเร็ว โดยอาศัยองค์ประกอบอื่นๆ ช่วยในการจัดการ ได้แก่ โปรแกรมปฏิบัติการ โปรแกรมชุดคำสั่งต่างๆ และที่สำคัญคือ ผู้ที่จะตัดสินใจหรือสั่งการให้ทำงานได้ถูกต้องตามเป้าหมาย ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ใช้ ผู้บริหาร และผู้ชำนาญการ หรือนักเทคโนโลยีสารสนเทศโดยตรง









รัฐบาลไทยในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญ เล็งเห็นประโยชน์และคุณค่าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยใน พ.ศ. 2535 ได้แต่งตั้ง "คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ" ขึ้น โดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและให้มีรองนายกรัฐมนตรี ที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธาน มีคณะกรรมการประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง และผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาครัฐบาลและเอกชน และได้มอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการฯ มีหน้าที่เสนอแนะนโยบายและแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศต่อคณะรัฐมนตรี ทั้งในเรื่องการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างบรรยากาศ ให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการดำเนินงานด้านต่างๆ
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จัดทำแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานของรัฐ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการและการดำเนินการตามแผนดังกล่าวโดยแบ่งเป็น 4 ช่วงได้แก่

ช่วงที่ 1 : การมีการใช้คอมพิวเตอร์ในงานทั่วไป (พ.ศ. 2536-2538)
ช่วงที่ 2 : การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (พ.ศ. 2536-2539)
ช่วงที่ 3 : การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานด้านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (พ.ศ. 2537-2540)
ช่วงที่ 4 : การใช้คอมพิวเตอร์เต็มรูปแบบ (พ.ศ. 2540 เป็นต้นไป)

การดำเนินการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษานั้น ดำเนินการมาก่อนหน้านี้อีก คือเริ่มดันในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) ซึ่งในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งได้เห็นความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งในด้านการเรียนการสอนโดยมีหลักสูตรการศึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และวิชาการที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคม มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยการบริหารงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการลงทะเบียนนักศึกษา สำหรับกระทรวงศึกษาธิการนั้น ได้จัดตั้งศูนย์สารสนเทศขึ้นในปี พ.ศ. 2522 ในสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ทางด้านทบวงมหาวิทยาลัย ได้จัดประชุมระดับภูมิภาคอาเซียน เรื่องการศึกษาและระบบสารสนเทศภายใต้โครงการพัฒนาการศึกษาอาเซียนในเดือนพฤศจิกายน 2523 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการพัฒนาการสารสนเทศทางการศึกษาของประเทศ
พ.ศ. 2526 ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานและปฏิบัติการของระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา (ศ.ส.ษ.) ขึ้น โดยความเห็นชอบของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศให้ก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดให้มีข้อมูลและสารสนเทศที่มีคุณภาพทันสมัย และสอดคล้องกับความต้องการ และเพื่อเป็นศูนย์กลางในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสารสนเทศทางการศึกษาที่จำเป็นต่อการกำหนดนโยบายการวางแผนการศึกษาและการพัฒนาการศึกษาของประเทศ นอกจากนั้นยังมีหน้าที่กำหนดนิยามที่จำเป็นต้องใช้ในระบบสารสนเทศทางการศึกษา กำหนดมาตรฐานในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำแนกข้อมูลและจัดกระทำข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ ที่สามารถนำไปใช้ได้ตามความต้องการ รวมทั้งการกำหนดขอบข่ายการประสานงานของระบบสารสนเทศทางการศึกษา ตลอดจนส่งเสริมและเผยแพร่วิชาการ และการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศทางการศึกษาของประเทศ
ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) ได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งแก่เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาการศึกษาของชาติ ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 มีแผนงานหลักเพื่อพัฒนาการศึกษาอยู่ 9 แผนงานหลัก แผนงานหลักที่ 9 เป็นแผนเรื่องการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษา ในแผนงานหลักที่ 9 การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษานั้นได้มีแนวคิดว่า สำหรับ ระบบการศึกษาก็ได้ตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลและสารสนเทศเช่นเดียวกันโดย หน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้องได้สนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อการศึกษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การจัดเก็บ การให้บริการและแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศที่ใช้ในการกำหนดนโยบาย การวางแผนพัฒนาการศึกษา การบริหารการศึกษา และการจัดการศึกษาให้เป็นระบบ ที่มีรูปแบบและมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการเรียนการสอนทุกระดับการศึกษา
อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษาของหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง มีลักษณะเป็นไปอย่างอิสระทำให้ขาดความเป็นเอกภาพ ประกอบกับขาดความพร้อมทั้งด้านงบประมาณ บุคลากร และอุปกรณ์ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่อเชื่อมระบบซอฟแวร์ เป็นต้น ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ อันได้แก่ ปัญหาการผลิตข้อมูลปฐมภูมิที่มีข้อมูลไม่ครบถ้วนตามที่ผู้ต้องการใช้ ปัญหาการจัดเก็บข้อมูลทุติยภูมิ ปัญหาการประสานงานเครือข่าย รวมทั้งปัญหาการดำเนินงานสารสนเทศ ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ส่งผลไปถึงการจัดการศึกษาที่ต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินงาน
จากปัญหาข้างต้น จึงจำเป็นจะต้องพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา โดยมีพื้นฐานอยู่บนหลักการพัฒนาร่วมกันระหว่างหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถประสานการดำเนินงาน และการนำทรัพยากรมาใช้ในการบริหารการวางแผนการจัดการศึกษา และการฝึกอบรมร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติเป็นหน่วยประสานงานกลาง ในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา

ที่มา //learners.in.th/blog/mooddang/256435

3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)

1)ช่วยในการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น

2)ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลา และระยะทาง โดยการใช้ระบบโทรศัพท์ และอื่นๆ

ที่มา //61.19.218.122/jukkrit/IT_FOR_Lift/technology2.htm



โดย: พ.อ.อ.ปิยะ หอมชื่น 51241151144 IP: 125.26.164.16 วันที่: 24 กันยายน 2552 เวลา:11:17:22 น.  

 
1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
การพัฒนาระบบการเรียนการสอนโดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ทำให้รูปแบบการเรียนการสอนเปลี่ยนไป ช่วยอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ช่วยทำให้ขยายเวลาเรียนได้ทั้ง 24 ชั่วโมง ขยายสถานที่เรียนเป็นที่ใดก็ได้ ขยายขอบเขตเนื้อหาไม่มีจำกัด ขยายการเรียนการสอนได้ตามความต้องการของผู้เรียน” (รศ.ยืน ภู่วรวรรณ และผศ.สมชาย นำประเสริฐชัย.2546,26)

โดยสรุปแล้วการเรียนการสอนในโรงเรียนมีการนำคอมพิวเตอร์และเครื่องมือประกอบช่วยในการเรียนรู้ เช่น วีดิทัศน์ เครื่องฉายภาพ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ Computer Aided-Instruction (CAI) Multimedia (CD-ROM) มีการจัดตั้งเครือข่ายเพื่อการศึกษาหลายเครือข่าย เช่น เครือข่ายไทยสาร เครือข่าย School Net เป็นต้น รวมทั้งใช้คอมพิวเตอร์ในงานบริหารของโรงเรียน เช่นจัดทำประวัตินักเรียน ประวัติครูอาจารย์ จัดตารางสอน คำนวณระดับคะแนน จัดชั้นเรียน ทำรายงานเพื่อให้ผู้บริหารได้ทราบถึงปัญหาและการแก้ไขปัญหาในโรงเรียน

2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)

1.ใช้ในการค้นหาข้อมูลที่เราไม่รู้และทำสื่อเผื่อแพร่งานนิทัศการณ์

2.ช่วยจัดระบบห้องสมุด

ที่มา//www.school.net.th/library/create-web/10000/generality/10000-12784.html



โดย: นายสันทัด คูหานา หมู่ 05 51241151229 IP: 125.26.164.16 วันที่: 24 กันยายน 2552 เวลา:11:18:52 น.  

 
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ การนํานวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการจัดการศึกษา ในปัจจุบันผูบริหาร หน่วยงานทางการศึกษานํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการจัดการศึกษา เป็นประโยชนต่อการเรียนรูหลายอย่าง อาทิเช่น
อินเตอร์เน็ต (Internet) เพื่อใชในการศึกษาหาข้อมูล ข่าวสารทางวิชาการและอื่นๆ จากที่ต่าง ๆ เป็นการส่งเสริมการเรียนรูตลอดชีวิต
จดหมายอิเล็กทรอนิกส (Electronic Mail หรือ E-mail) เพื่อใชรับส่งข่าวสาร ข้อมูล รูปภาพ และส่งงานใหครูอาจารยตรวจ
การจัดทํา Website ของสถานศึกษา เพื่อการเผยแพรขาวสารของสถานศึกษา เป็นการประชาสัมพันธระหว่างสถานศึกษากับ ผู้ที่เกี่ยวของ และบุคคลทั่วไป
การใชโปรแกรม SPSS เพื่อการวิเคราะหข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชนต่อการทําวิจัยในชั้นเรียนของครูอาจารย การทําวิจัยสถานบันของฝ่ายบริหาร และอื่น ๆ
การทํา PowerPoint เพื่อใชในการเรียนการสอนของครูอาจารย และใชเสนอผลงานของ ผู้บริหารสถานศึกษา
คอมพิวเตอรช่วยสอน (Computer Assisted Instruction หรือ CAI) เพื่อช่วยใหผู้เรียนเรียนรูด้วยตนเองจากบทเรียนสําเร็จรูปในคอมพิวเตอร
การเรียนรูผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส (Electronic Learning) หรือที่เรียกกันว่า
E-Learning เป็นการเรียนทางไกลที่ผูเรียนสามารถโตตอบกับผู้สอนได โดยอาศัยเครือข่าย อินเตอร์เน็ต จึงช่วยใหเรียนรู้ไดโดยไม่มีข้อจํากัดของเวลา ระยะทาง และสถานที่ โดยผูเรียนจะสามารถเรียนรูไดตลอดเวลาจึงตอบสนองศักยภาพการเรียนรูของผู้เรียนไดเป็นอย่างดี
ห้องเรียนอัจฉริยะ (Electronic Classroom หรือ E-Classroom) เป็นการจัดระบบบริหารจัดการ
ห้องเรียน ที่ใชการเรียนการสอนแบบ on-line และ ปฏิสัมพันธ (interactive) สามารถควบคุมและและตรวจสอบกิจกรรมของนักเรียนไดโดยตรงจากเครื่องคอมพิวเตอรของครูแบบ real time
หนังสืออิเล็กทรอนิกส (E-book) และ หองสมุดอิเล็กทรอนิกส (E-Library) เพื่อเสริม การเรียนการสอน และใหบริการค้นคว้าหาความรูแกนักเรียน ครูอาจารย และประชาชน
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ “ICT” (Information and Communication Technologies) เพื่อพัฒนาการศึกษา ปัจจุบันประเทศไทยโดยกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายสําคัญที่จะนําเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช เพื่อพัฒนาการสื่อสารในทุกด้าน โดยเฉพาะการช่วยพัฒนาครูอาจารย การช่วยใหเด็กและเยาวชนไดเข้าถึงแหล่งความรูและไดเรียนอย่างทัดเทียมกัน ตลอดจนการพัฒนาระบบบริหารจัดการให้ ฉับไว มีประสิทธิภาพสูงสุด

ดังนั้น นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ก็เข้ามามีบทบาทมากขึ้น โนเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุคของการปฎิรูปการศึกษา ผู้บริหารการศึกษายุคใหมต่างก็นํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชประโยชนใน การบริหารจัดการศึกษา เพื่อใหประสบผลสําเร็จในการพัฒนาคุณภาพผูเรียนไดอย่างมีประสิทธิภาพสูง

(อ้างอิง จากเอกสารชุดวิชา การจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ : สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ 2546. เผยแพรโดย ดร.ไพฑูรย ศรีฟ้า //www.paitoon-srifa.com/moodle )


3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน

ตอบ
1. ช่วยในการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลา และระยะทาง โดยการใช้ระบบโทรศัพท์ และอื่นๆ
ที่มา //61.19.218.122/jukkrit/IT_FOR_Lift/technology2.htm



นายศราวุฒิ ทดกลาง หมู่ 22 (อ.เช้า)


โดย: นายศราวุฒิ ทดกลาง IP: 58.147.7.66 วันที่: 24 กันยายน 2552 เวลา:15:06:26 น.  

 
ข้อที่ 1

ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากมีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก การเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลา
พัฒนาการของเทคโนโลยีทำให้ชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนไปมาก ลองย้อนไปในอดีตโลกมีกำเนินมาประมาณ 4600 ล้านปี เชื่อกันว่าพัฒนาการตามธรรมชาติทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตถือกำเนินบนโลกประมาณ 500 ล้านปีที่แล้ว ยุคไดโนเสาร์มีอายุอยู่ในช่วง 200 ล้านปี สิ่งมีชีวิตที่เป็นเผ่าพันธุ์มนุษย์ ค่อย ๆ พัฒนามา คาดคะเนว่าเมื่อห้าแสนปีที่แล้วมนุษย์สามารถส่งสัญญาณท่าทางสื่อสารระหว่างกันและพัฒนามาเป็นภาษา มนุษย์สามารถสร้างตัวหนังสือ และจารึกไว้ตามผนึกถ้ำ เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่ามนุษย์ต้องใช้เวลานานพอสมควรในการพัฒนาตัวหนังสือที่ใช้แทนภาษาพูด และจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่าฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 500 ถึง 800 ปีที่แล้ว เทคโนโลยีเริ่มเข้ามาช่วยในการพิมพ์ ทำให้การสื่อสารด้วยข้อความและภาษาเพิ่มขึ้นมาก เทคโนโลยีพัฒนามาจนถึงการสื่อสารกัน โดยส่งข้อความเป็นเสียงทางสายโทรศัพท์ได้ประมาณร้อยกว่าปีที่แล้ว และเมื่อประมาณห้าสิบปีที่แล้ว ก็มีการส่งภาพโทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ทำให้มีการใช้สารสนเทศในรูปแบบข่าวสารมากขึ้น ในปัจจุบันมีสถานที่วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ แ ละสื่อต่าง ๆ ที่ใช้ในการกระจ่ายข่าวสาร มีการแพร่ภาพทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อรายงานเหตุการณ์สด เห็นได้ชัดว่าเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทอย่างมาก บทบาทของการพัฒนาเทคโนโลยีรวดเร็วขึ้นเมื่อมีการพัฒนาอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ จะเห็นได้ว่าในช่วงสี่ห้าปีที่ผ่านมาจะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เข้าไปเกี่ยวข้องให้เห็นอยู่ตลอดเวลา

ที่มา //web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/network

ข้อที่ 2
1 เมื่อตื่นนอนเราอาจได้ยินเสียงจากวิทยุ

2โทรศัพท์สื่อสารกับเพื่อน ดูรายการทีวี วีดีโอ


ที่มา //web.ku.ac.th/schoolnet


โดย: นายพงษ์ระวี รีชัยวิจิตรกุล ม.22 อังคารเช้า IP: 192.168.1.109, 124.157.139.216 วันที่: 24 กันยายน 2552 เวลา:16:31:47 น.  

 
ข้อที่ 1
ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากมีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก การเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลา
พัฒนาการของเทคโนโลยีทำให้ชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนไปมาก ลองย้อนไปในอดีตโลกมีกำเนินมาประมาณ 4600 ล้านปี เชื่อกันว่าพัฒนาการตามธรรมชาติทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตถือกำเนินบนโลกประมาณ 500 ล้านปีที่แล้ว ยุคไดโนเสาร์มีอายุอยู่ในช่วง 200 ล้านปี สิ่งมีชีวิตที่เป็นเผ่าพันธุ์มนุษย์ ค่อย ๆ พัฒนามา คาดคะเนว่าเมื่อห้าแสนปีที่แล้วมนุษย์สามารถส่งสัญญาณท่าทางสื่อสารระหว่างกันและพัฒนามาเป็นภาษา มนุษย์สามารถสร้างตัวหนังสือ และจารึกไว้ตามผนึกถ้ำ เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่ามนุษย์ต้องใช้เวลานานพอสมควรในการพัฒนาตัวหนังสือที่ใช้แทนภาษาพูด และจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่าฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 500 ถึง 800 ปีที่แล้ว เทคโนโลยีเริ่มเข้ามาช่วยในการพิมพ์ ทำให้การสื่อสารด้วยข้อความและภาษาเพิ่มขึ้นมาก เทคโนโลยีพัฒนามาจนถึงการสื่อสารกัน โดยส่งข้อความเป็นเสียงทางสายโทรศัพท์ได้ประมาณร้อยกว่าปีที่แล้ว และเมื่อประมาณห้าสิบปีที่แล้ว ก็มีการส่งภาพโทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ทำให้มีการใช้สารสนเทศในรูปแบบข่าวสารมากขึ้น ในปัจจุบันมีสถานที่วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ แ ละสื่อต่าง ๆ ที่ใช้ในการกระจ่ายข่าวสาร มีการแพร่ภาพทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อรายงานเหตุการณ์สด เห็นได้ชัดว่าเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทอย่างมาก บทบาทของการพัฒนาเทคโนโลยีรวดเร็วขึ้นเมื่อมีการพัฒนาอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ จะเห็นได้ว่าในช่วงสี่ห้าปีที่ผ่านมาจะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เข้าไปเกี่ยวข้องให้เห็นอยู่ตลอดเวลา

ที่มา //web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/network/it/index.html

ข้อที่ 2
1 เมื่อตื่นนอนเราอาจได้ยินเสียงจากวิทยุ ซึ่งกระจายเสียงข่าวสารหรือเพลงไปทั่ว
2โทรศัพท์สื่อสารกับเพื่อน ดูรายการทีวี วีดีโอ


ที่มา //web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/network/it/index.html






โดย: นายชัยวัฒน์ ศรีอุต หมู่ 22 อังคาร (เช้า) IP: 192.168.1.108, 124.157.139.216 วันที่: 24 กันยายน 2552 เวลา:16:40:03 น.  

 
ข้อที่ 1
ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากมีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก การเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลา
พัฒนาการของเทคโนโลยีทำให้ชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนไปมาก ลองย้อนไปในอดีตโลกมีกำเนินมาประมาณ 4600 ล้านปี เชื่อกันว่าพัฒนาการตามธรรมชาติทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตถือกำเนินบนโลกประมาณ 500 ล้านปีที่แล้ว ยุคไดโนเสาร์มีอายุอยู่ในช่วง 200 ล้านปี สิ่งมีชีวิตที่เป็นเผ่าพันธุ์มนุษย์ ค่อย ๆ พัฒนามา คาดคะเนว่าเมื่อห้าแสนปีที่แล้วมนุษย์สามารถส่งสัญญาณท่าทางสื่อสารระหว่างกันและพัฒนามาเป็นภาษา มนุษย์สามารถสร้างตัวหนังสือ และจารึกไว้ตามผนึกถ้ำ เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่ามนุษย์ต้องใช้เวลานานพอสมควรในการพัฒนาตัวหนังสือที่ใช้แทนภาษาพูด และจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่าฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 500 ถึง 800 ปีที่แล้ว เทคโนโลยีเริ่มเข้ามาช่วยในการพิมพ์ ทำให้การสื่อสารด้วยข้อความและภาษาเพิ่มขึ้นมาก เทคโนโลยีพัฒนามาจนถึงการสื่อสารกัน โดยส่งข้อความเป็นเสียงทางสายโทรศัพท์ได้ประมาณร้อยกว่าปีที่แล้ว และเมื่อประมาณห้าสิบปีที่แล้ว ก็มีการส่งภาพโทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ทำให้มีการใช้สารสนเทศในรูปแบบข่าวสารมากขึ้น ในปัจจุบันมีสถานที่วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ แ ละสื่อต่าง ๆ ที่ใช้ในการกระจ่ายข่าวสาร มีการแพร่ภาพทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อรายงานเหตุการณ์สด เห็นได้ชัดว่าเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทอย่างมาก บทบาทของการพัฒนาเทคโนโลยีรวดเร็วขึ้นเมื่อมีการพัฒนาอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ จะเห็นได้ว่าในช่วงสี่ห้าปีที่ผ่านมาจะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เข้าไปเกี่ยวข้องให้เห็นอยู่ตลอดเวลา

ที่มา //web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/network/it/index.html

ข้อที่ 2
1 เราได้พูดคุยโทรศัพย์กับคนที่เราคิดถึงเมื่อไม่เจอหน้ากันนานๆ

2เราได้ยินเสียงจากรถที่ร่อนเร่ขายของทั่วไป

ที่มา //web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/network/it/index.html






โดย: นายชัยวัฒน์ ศรีอุต หมู่ 22 อังคาร (เช้า) IP: 192.168.1.108, 124.157.139.216 วันที่: 24 กันยายน 2552 เวลา:16:45:47 น.  

 
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย

การพัฒนาระบบการเรียนการสอนโดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ทำให้รูปแบบการเรียนการสอนเปลี่ยนไป ช่วยอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ช่วยทำให้ขยายเวลาเรียนได้ทั้ง 24 ชั่วโมง ขยายสถานที่เรียนเป็นที่ใดก็ได้ ขยายขอบเขตเนื้อหาไม่มีจำกัด ขยายการเรียนการสอนได้ตามความต้องการของผู้เรียน” (รศ.ยืน ภู่วรวรรณ และผศ.สมชาย นำประเสริฐชัย.2546,26)

โดยสรุปแล้วการเรียนการสอนในโรงเรียนมีการนำคอมพิวเตอร์และเครื่องมือประกอบช่วยในการเรียนรู้ เช่น วีดิทัศน์ เครื่องฉายภาพ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ Computer Aided-Instruction (CAI) Multimedia (CD-ROM) มีการจัดตั้งเครือข่ายเพื่อการศึกษาหลายเครือข่าย เช่น เครือข่ายไทยสาร เครือข่าย School Net เป็นต้น รวมทั้งใช้คอมพิวเตอร์ในงานบริหารของโรงเรียน เช่นจัดทำประวัตินักเรียน ประวัติครูอาจารย์ จัดตารางสอน คำนวณระดับคะแนน จัดชั้นเรียน ทำรายงานเพื่อให้ผู้บริหารได้ทราบถึงปัญหาและการแก้ไขปัญหาในโรงเรียน

2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)

1.ช่วยจัดระบบบันชีได้ง่าย
2.ช่วยจัดระบบห้องสมุด


โดย: นาย เกรียงไกร สลับศรี หมู่1 จ.บ่าย IP: 192.168.10.106, 117.47.12.205 วันที่: 26 กันยายน 2552 เวลา:18:15:20 น.  

 
3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)

1.ด้านการกีฬา
2.ด้านการเงิน



โดย: นาย เกรียงไกร สลับศรี หมู่1 จ.บ่าย IP: 192.168.10.106, 117.47.12.205 วันที่: 26 กันยายน 2552 เวลา:18:17:24 น.  

 
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย

ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากมีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก การเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลา
พัฒนาการของเทคโนโลยีทำให้ชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนไปมาก ลองย้อนไปในอดีตโลกมีกำเนินมาประมาณ 4600 ล้านปี เชื่อกันว่าพัฒนาการตามธรรมชาติทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตถือกำเนินบนโลกประมาณ 500 ล้านปีที่แล้ว ยุคไดโนเสาร์มีอายุอยู่ในช่วง 200 ล้านปี สิ่งมีชีวิตที่เป็นเผ่าพันธุ์มนุษย์ ค่อย ๆ พัฒนามา คาดคะเนว่าเมื่อห้าแสนปีที่แล้วมนุษย์สามารถส่งสัญญาณท่าทางสื่อสารระหว่างกันและพัฒนามาเป็นภาษา มนุษย์สามารถสร้างตัวหนังสือ และจารึกไว้ตามผนึกถ้ำ เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่ามนุษย์ต้องใช้เวลานานพอสมควรในการพัฒนาตัวหนังสือที่ใช้แทนภาษาพูด และจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่าฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 500 ถึง 800 ปีที่แล้ว เทคโนโลยีเริ่มเข้ามาช่วยในการพิมพ์ ทำให้การสื่อสารด้วยข้อความและภาษาเพิ่มขึ้นมาก เทคโนโลยีพัฒนามาจนถึงการสื่อสารกัน โดยส่งข้อความเป็นเสียงทางสายโทรศัพท์ได้ประมาณร้อยกว่าปีที่แล้ว และเมื่อประมาณห้าสิบปีที่แล้ว ก็มีการส่งภาพโทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ทำให้มีการใช้สารสนเทศในรูปแบบข่าวสารมากขึ้น ในปัจจุบันมีสถานที่วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ แ ละสื่อต่าง ๆ ที่ใช้ในการกระจ่ายข่าวสาร มีการแพร่ภาพทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อรายงานเหตุการณ์สด เห็นได้ชัดว่าเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทอย่างมาก บทบาทของการพัฒนาเทคโนโลยีรวดเร็วขึ้นเมื่อมีการพัฒนาอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ จะเห็นได้ว่าในช่วงสี่ห้าปีที่ผ่านมาจะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เข้าไปเกี่ยวข้องให้เห็นอยู่ตลอดเวลา

ที่มา //web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/network/it/index.html


3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)

ตอบ
1.ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาลของแต่ละวัน
2.ช่วยในการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ที่มา:
//61.19.218.122/jukkrit/IT_FOR_Lift/technology2.htm








โดย: เบญจมาศ โคตรเพชร หมู่ 08 รหัส 52040332107 IP: 172.29.5.133, 58.147.7.66 วันที่: 27 กันยายน 2552 เวลา:13:14:31 น.  

 
แบบฝึกหัดที่ 3

3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย

ตอบ

พัฒนาการทางการศึกษาของประเทศไทยจะเห็นได้ว่าอาศัยความก้าวหน้าทางด้านการสื่อสาร เป็นส่วนประกอบสำคัญในการพัฒนาการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียนมาตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทางไกล ปัจจุบันมีการพัฒนา การด้านการสื่อสารหลายๆ อย่าง โดยมีความคิดว่าจะไม่ขึ้นอยู่กับสื่อสารใด สื่อสารหนึ่งเท่านั้น เพราะจะทำให้ใช้ประโยชน์ไม่ได้เต็มที่ ต้องใช้การสื่อสารหลายๆ รูปแบบที่เรียกว่า "การใช้สื่อสารแบบประสม"

เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษา ดังนี้
1. เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีส่วนช่วยเรื่องการเรียนรู้ ปัจจุบันมีเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ หลายด้าน มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสาร เช่น การค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้ใน World Wide Web เป็นต้น
2. เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา โดยเฉพาะการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผน การดำเนินการ การติดตามและประเมินผลซึ่งอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญ
3. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการสื่อสารระหว่างบุคคล ในเกือบทุกวงการทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยสื่อสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคล เช่น การสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน โดยใช้องค์ประกอบที่สำคัญช่วยสนับสนุนให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เทเลคอมเฟอเรนซ์ เป็นต้น

3.2ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)

ตอบ
-ช่วยให้เราเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้นและทำให้เราจัดระบบ ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน ระบบข่าวสาร หรือแม้กระทั่งระบบชีวิตของเราเอง

-ประหยัดเวลาในการทำสิ่งต่างๆในชีวิตประจำวัน









โดย: ปรีชา กลมเกลียว หมู่8 พฤหัสบดีเช้า รหัส 52040901222 IP: 124.157.139.201 วันที่: 27 กันยายน 2552 เวลา:14:54:34 น.  

 
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
-การพัฒนาระบบการเรียนการสอนโดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ทำให้รูปแบบการเรียนการสอนเปลี่ยนไป ช่วยอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ช่วยทำให้ขยายเวลาเรียนได้ทั้ง 24 ชั่วโมง ขยายสถานที่เรียนเป็นที่ใดก็ได้ ขยายขอบเขตเนื้อหาไม่มีจำกัด ขยายการเรียนการสอนได้ตามความต้องการของผู้เรียน” (รศ.ยืน ภู่วรวรรณ และผศ.สมชาย นำประเสริฐชัย.2546,26)

โดยสรุปแล้วการเรียนการสอนในโรงเรียนมีการนำคอมพิวเตอร์และเครื่องมือประกอบช่วยในการเรียนรู้ เช่น วีดิทัศน์ เครื่องฉายภาพ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ Computer Aided-Instruction (CAI) Multimedia (CD-ROM) มีการจัดตั้งเครือข่ายเพื่อการศึกษาหลายเครือข่าย เช่น เครือข่ายไทยสาร เครือข่าย School Net เป็นต้น รวมทั้งใช้คอมพิวเตอร์ในงานบริหารของโรงเรียน เช่นจัดทำประวัตินักเรียน ประวัติครูอาจารย์ จัดตารางสอน คำนวณระดับคะแนน จัดชั้นเรียน ทำรายงานเพื่อให้ผู้บริหารได้ทราบถึงปัญหาและการแก้ไขปัญหาในโรงเรียน


3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)

1.ใช้ในการค้นหาข้อมูลที่เราไม่รู้และทำสื่อเผื่อแพร่งานนิทัศการณ์

2.ช่วยจัดระบบห้องสมุด

ที่มา//www.school.net.th/library/create-web/10000/generality/10000-12784.html


นายเจริญชัย ผ่ามดิน หมู่ 22 (อ.เช้า)


โดย: นายเจริญชัย ผ่ามดิน IP: 58.137.131.62 วันที่: 28 กันยายน 2552 เวลา:10:19:22 น.  

 
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
-บทบาทและความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการบริหารจัดการศึกษา

“ เทคโนโลยีสารสนเทศ ” (Information Technology) หรือเรียกกันย่อ ๆ ว่า“ IT ” หมายถึงเทคโนโลยีที่นํามาใชในการจัดเก็บขอมูล (Data) และประมวลผลขอมูลใหเกิดผลลัพธเปนสารสนเทศ (Information) เพื่อนําไปใชประโยชน

ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อมูลดิบที่เก็บรวบรวมมาจากที่ต่าง ๆ ซึ่งยังนําไปใชงานไมได
เช่น การสํารวจความคิดเห็น ความคิดเห็นที่ไดยังถือวาเปนขอมูลดิบ

สารสนเทศ (Information) หมายถึง ผลลัพธจากการประมวลผลขอมูลดิบซึ่งสามารถนําไปใชประโยชน เพื่อประกอบการทํางาน หรือเพิ่มประกอบการตัดสินใจของผูบริหาร เชน นําข้อมูล ความคิดเห็นแตละขอมาหาความถี่ เป็นค่าร้อยละเพื่อเปรียบเทียบดูว่า ข้อคิดเห็นขอใดมีผูเลือกมากนอย เป็นร้อยละเท่าไร ค่ารอยละดัง
กล่าว ก็จัดเป็นสารสนเทศ เป็นต้น

การจัดเก็บข้อมูลและการจัดการข้อมูล ต้องการความถูกตองและรวดเร็วสูง จึงจําเปนตองนําเทคโนโลยีคอมพิวเตอรเขามาช่วย และ เมื่อตองการใหผูที่อยูหางไกลกันสามารถใชประโยชนจากสารสนเทศดังกลาว ก็จําเปนตองนําเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมเขามาชวยอีกทางหนึ่งดวย
ในวงการบริหารงานตางๆ โดยเฉพาะในวงการบริหารงานธุรกิจ ซึ่งมีการแขงขันกันสูง ไดนําเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการบริหารกันเปนอันมากเพื่อใหการบริหารมีประสิทธิภาพสูง ประหยัดสุดและไดประสิทธิผลสูงสุด
ผู้บริหารยุคใหมทุกระดับจึงนํานวัตกรรมเทคโนโลยีมาใชกันอยางแพรหลาย เชน ผู้บริหารระดับสูงในองค์การ จะนําสารสนเทศที่แสดงภาพรวมของการดําเนินงาน ความสัมพันธระหวางองคการและสิ่งแวดลอม สรุปปญหาและแนวทางแก้ไข มาใชเพื่อประกอบการแก้ปญหา และการตัดสินใจกําหนดกลยุทธขององคการ สวนผูบริหารระดับกลางจะนําสารสนเทศ ที่ ประมวลงานประจําป มาใชจัดแผนงบประมาณ และกําหนดแผนการดําเนินงานของหนวยงาน สําหรับ ผู้บริหารงานระดับต้นจะใชเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยในการควบคุมการปฏิบัติงาน เป็นต้น
ปัจจุบันผูบริหารในการศึกษาไดนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชและมีบทบาทความสำคัญในการบริหารจัดการศึกษากันมากขึ้น อาทิ เชน

1. การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการตัดสินใจ การตัดสินใจที่ดีจะต้องรวดเร็วและไมผิดพลาด และการตัดสินใจที่รวดเร็วและไมผิดพลาดนั้นจําเป็น ต้องมี ข้อมูลสารสนเทศที่ เป็นปัจจุบันไมล้าสมัย มีจํานวนมากเพียงพอ และสามารถนํามาใชไดง่ายและรวดเร็ว ซึ่งเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยเรื่องนี้เป็นอย่างดี ระบบสารสนเทศที่ผูบริหารนํามาใชในการตัดสินใจมีดังนี้
1.1 ระบบสารสนเทศสําหรับผูบริหาร (Executive Systems) หรือ “EIS” ในบางครั้งอาจเรียกว่า “ระบบสนับสนุนผู้บริหาร” (Executive Support Systems) หรือ “ESS” ระบบ EISเป็นระบบที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นมาเพื่อจัดเตรียมสารสนเทศที่เหมาะสมในการตัดสินใจของผูบริหารระดับสูงช่วยให้ ผู้บริหารสามารถทําความเข้าใจ ปัญหาอย่างชัดเจน และสามารถตัดสินใจเลือกแนวทางแกปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
1.2 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support) หรือ DSS ระบบ DSS เป็นระบบที่ ออกแบบและพัฒนาขึ้นมาเพื่อใชสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง ระบบDSS จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจของผูบริหารแตจะไมทําการตัดสินใจแทนผู้บริหาร โดยประมวลผลและนําเสนอข้อมูล ที่สําคัญต่อการตัดสินใจ ตลอดจนประเมินทางเลือกที่เหมาะสมภายใตข้อจํากัดของแต่ละสถานการณ เพื่อใหผู้บริหารใช
สติปญญา เหตุผล ประสบการณ และความคิดสร้างสรรคของตนวิเคราะหและเปรียบเทียบทางเลือกใหสอดคล้องกับปัญหาหรือสถานการณนั้นๆ

2. การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการบริหารงานทางไกล มีการนําสื่อหลายๆอย่าง เช่น โทรศัพทมือถือ โทรสาร วิทยุ โทรทัศน คอมพิวเตอร และเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคม มาใชในการติดต่อการสื่อสารและการบริหารงานทางไกลไดสะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลาและค่าใช้จายเป็น อันมาก ถึงแมจะอยูไกลกันก็สามารถทํางานร่วมกัน ประชุมร่วมกันไดโดยใช Teleconference เป็นต้น

3. การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการบริหารสถานศึกษา ปัจจุบันสถานศึกษาหลายแห่ง พัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อใชในการบริหารงานด้านต่างๆ ทั้งการบริหารงานวิชาการ การบริหารกิจการนักเรียน การบริหารงานบุคลากร การบริหารงานธุรการ การเงิน พัสดุ ครุภัณฑ การบริหารงานอาคารสถานที่และการการบริหารงานชุมชน

4. การสร้างเครือข่ายข้อมูล (Network) ด้วยระบบสารสนเทศ เครือข่ายนี้จะช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยเป็นอันมาก ปัจจุบันมี โครงการเครือข่ายคอมพิวเตอรโรงเรียนมัธยม (Schoolnet) ซึ่งเป็นโครงการ
ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หนึ่งในหลายโครงการที่เกิดขึ้นตามพระราชดําริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี โดยศูนยเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกสคอมพิวเตอรแห่งชาติ ไดนําแนวพระราชดําริมาดําเนินการร่วมกับหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดกรมสามัญศึกษา(เดิม)

5. การนํานวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการจัดการศึกษา ในปัจจุบันผูบริหาร หน่วยงานทางการศึกษานํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการจัดการศึกษา เป็นประโยชนต่อการเรียนรูหลายอย่าง อาทิเช่น
5.1 อินเตอร์เน็ต (Internet) เพื่อใชในการศึกษาหาข้อมูล ข่าวสารทางวิชาการและอื่นๆ จากที่ต่าง ๆ เป็นการส่งเสริมการเรียนรูตลอดชีวิต
5.2 จดหมายอิเล็กทรอนิกส (Electronic Mail หรือ E-mail) เพื่อใชรับส่งข่าวสาร ข้อมูล รูปภาพ และส่งงานใหครูอาจารยตรวจ
5.3 การจัดทํา Website ของสถานศึกษา เพื่อการเผยแพรขาวสารของสถานศึกษา เป็นการประชาสัมพันธระหว่างสถานศึกษากับ ผู้ที่เกี่ยวของ และบุคคลทั่วไป
5.4 การใชโปรแกรม SPSS เพื่อการวิเคราะหข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชนต่อการทําวิจัยในชั้นเรียนของครูอาจารย การทําวิจัยสถานบันของฝ่ายบริหาร และอื่น ๆ
5.5 การทํา PowerPoint เพื่อใชในการเรียนการสอนของครูอาจารย และใชเสนอผลงานของ ผู้บริหารสถานศึกษา
5.6 คอมพิวเตอรช่วยสอน (Computer Assisted Instruction หรือ CAI) เพื่อช่วยใหผู้เรียนเรียนรูด้วยตนเองจากบทเรียนสําเร็จรูปในคอมพิวเตอร
5.7 การเรียนรูผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส (Electronic Learning) หรือที่เรียกกันว่า
E-Learning เป็นการเรียนทางไกลที่ผูเรียนสามารถโตตอบกับผู้สอนได โดยอาศัยเครือข่าย อินเตอร์เน็ต จึงช่วยใหเรียนรู้ไดโดยไม่มีข้อจํากัดของเวลา ระยะทาง และสถานที่ โดยผูเรียนจะสามารถเรียนรูไดตลอดเวลาจึงตอบสนองศักยภาพการเรียนรูของผู้เรียนไดเป็นอย่างดี
5.8 ห้องเรียนอัจฉริยะ (Electronic Classroom หรือ E-Classroom) เป็นการจัดระบบบริหารจัดการ
ห้องเรียน ที่ใชการเรียนการสอนแบบ on-line และ ปฏิสัมพันธ (interactive) สามารถควบคุมและและตรวจสอบกิจกรรมของนักเรียนไดโดยตรงจากเครื่องคอมพิวเตอรของครูแบบ real time
5.9 หนังสืออิเล็กทรอนิกส (E-book) และ หองสมุดอิเล็กทรอนิกส (E-Library) เพื่อเสริม การเรียนการสอน และใหบริการค้นคว้าหาความรูแกนักเรียน ครูอาจารย และประชาชน
5.10 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ “ICT” (Information and Communication Technologies) เพื่อพัฒนาการศึกษา ปัจจุบันประเทศไทยโดยกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายสําคัญที่จะนําเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช เพื่อพัฒนาการสื่อสารในทุกด้าน โดยเฉพาะการช่วยพัฒนาครูอาจารย การช่วยใหเด็กและเยาวชนไดเข้าถึงแหล่งความรูและไดเรียนอย่างทัดเทียมกัน ตลอดจนการพัฒนาระบบบริหารจัดการให้ ฉับไว มีประสิทธิภาพสูงสุด

ดังนั้น นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ก็เข้ามามีบทบาทมากขึ้น โนเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุคของการปฎิรูปการศึกษา ผู้บริหารการศึกษายุคใหมต่างก็นํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชประโยชนใน การบริหารจัดการศึกษา เพื่อใหประสบผลสําเร็จในการพัฒนาคุณภาพผูเรียนไดอย่างมีประสิทธิภาพสูง

www.paitoon-srifa.com/moodle


โดย: นางสาววันวิสาข์ ศรีทอง หมู่ 1เรียนจันทร์บ่าย IP: 119.42.110.112 วันที่: 28 กันยายน 2552 เวลา:17:11:43 น.  

 
3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)
-1. ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาลของแต่ละวัน
2. เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสารสนเทศ เช่น การคำนวณตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน การจัดเรียงลำดับสารสนเทศ ฯลฯ
3. ช่วยให้สามารถเก็บสารสนเทศไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้ทุกครั้งอย่างสะดวก
4. ช่วยให้สามารถจัดระบบอัตโนมัติ เพื่อการจัดเก็บประมวลผล และเรียกใช้สารสนเทศูล
5. ช่วยในการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น
6. ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลา และระยะทาง โดยการใช้ระบบโทรศัพท์ และอื่นๆ
/jukkrit/IT_FOR_Lift/technology2.htm


โดย: นางสาววันวิสาข์ ศรีทอง หมู่ 1เรียนจันทร์บ่าย IP: 119.42.110.112 วันที่: 28 กันยายน 2552 เวลา:17:16:20 น.  

 
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ
E-Learning หมายถึง การเรียนผ่านทางสื่ออิเลคทรอนิกส์ซึ่งใช้การ นำเสนอเนื้อหาทางคอมพิวเตอร์ในรูปของสื่อมัลติมีเดียได้แก่ ข้อความอิเลคทรอนิกส์ ภาพนิ่ง ภาพกราฟิก วิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติฯลฯ
หมายถึงการศึกษาที่เรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เนตโดยผู้เรียนรู้จะเรียนรู้ ด้วยตัวเอง ารเรียนรู้จะเป็นไปตามปัจจัยภายใต้ทฤษฎีแห่งการเรียนรู้สองประการคือ เรียนตามความรู้ความสามารถของผู้เรียนเอง และ การตอบสนองใน ความแตกต่างระหว่างบุคคล(เวลาที่แต่ละบุคคลใช้ในการเรียนรู้) การเรียนจะกระทำผ่านสื่อบนเครือข่ายอินเตอร์เนต โดยผู้สอนจะนำเสนอข้อมูลความรู้ให้ผู้เรียนได้ทำการศึกษาผ่านบริการ World Wide Web หรือเวปไซด์ โดยอาจให้มีปฏิสัมพันธ์ (สนทนา โต้ตอบ ส่งข่าวสาร) ระหว่างกัน จะที่มีการ เรียนรู้ ในสามรูปแบบคือ ผู้สอนกับ ผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียนอีกคนหนึ่ง หรือผู้เรียนหนึ่งคนกับกลุ่มของผู้เรียน ปฏิสัมพันธ์นี้สามารถ กระทำ ผ่านเครื่องมือ
ข้อจำกัดของการเรียนรูปแบบนี้คือ ผู้เรียนต้องมีเครื่องมือที่ทันสมัยที่ใช้ในการเรียนเช่นคอมพิวเตอร์ และต้องมีผู้ที่สร้างสื่อ เนื้อหาการเรียนที่ใช้ในการเรียน เมื่อมีปัญหาในการเรียน การสอบถามปัญหาต่างๆทำได้ช้า
ที่มา
//gotoknow.org/blog/nammatoom/283735


โดย: นางสาวปัทมาวดี ไชยลา หมู่เรียนที่ 1 เรียนบ่ายวันจันทร์ IP: 119.42.110.112 วันที่: 28 กันยายน 2552 เวลา:17:35:17 น.  

 
3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)
ตอบ ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการแก้ปัญหา Y 2 K
1.1.1 ก.ล.ตเปิดเผยคะแนนของบริษัทในสังกัดที่ผ่านการประเมินแก้ปัญหาY2Kเพื่อให้ลูกค้ามี
ความมั่นใจเลือกใช้บริการ
แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า
ก.ล.ต. กำหนดให้บริษัทในสังกัดซึ่งประกอบด้วย บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บริษัท
หลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ดำเนินการแก้ปัญหา Y2K ให้เสร็จสิ้นภายในเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งทุก
บริษัทได้แก้ไขเสร็จสิ้นตามมาตรฐานของ ก.ล.ต. แล้ว 100 % อย่างไรก็ตาม เพื่อป้องกันปัญหาที่คาดไม่
ถึง และลูกค้าสามารถเลือกใช้บริการบริษัทเพื่อลดความเสี่ยงหรือผลเสียหายที่จะเกิดขึ้น ก.ล.ต.จึงเปิด
เผยคะแนนของบริษัทต่าง ๆ ที่ผ่านการประเมินของ ก.ล.ต. แล้ว ทั้งนี้เกณฑ์บังคับทุกบริษัทต้องได้
คะแนนเต็ม 100 คะแนน และเกณฑ์เสริม ซึ่งแสดงถึงความพร้อมของบริษัทขึ้นกับวิจารณญาณของผู้
ตรวจ คะแนนที่ปรากฏจะเป็นข้อมูลที่ลูกค้าใช้ในการตัดสินใจเลือกใช้บริการ (กรุงเทพธุรกิจ 22/07/42)
ที่มา //ttmp.trf.or.th/copy_11/part2/science/ttmph30.htm
ตอบ ยุคสมัยของดนตรีไทย จากอดีตกาลถึงอินเตอร์เน็ต ไพศาล อินทวงศ์
คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดนตรีเป็นศิลปะที่มวลมนุษย์ยกย่องว่าเป็นยอดแห่งศิลปะทั้งมวลเรียกว่าเป็นศิลปะทิพย์( The Divine art ) ซึ่งใช้กระแสเสียงที่เกิดจากการบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีหรือด้วยการขับร้องเป็นสื่อ ทำให้ผู้ที่ได้รับฟังเกิดอารมณ์สอดคล้องต้องกันไปกับเสียงเพลงนั้นๆได้
ความหมายของดนตรีและเสียง
ดนตรีเป็นพลังงานในรูปของคลื่นเสียงที่ไม่สามารถจับต้องและมองเห็นได้ ต้องอาศัยโสตประสาทเป็นตัวรับรู้และเมื่อดนตรีเป็นพลังงาน จิตมนุษย์จึงสามารถรับรู้และรู้สึกได้โดยไม่ต้องแปลเสียงที่ได้ยินนั้น เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุผ่านตัวกลาง คืออากาศ เป็นคลื่นเสียงของดนตรีในสองลักษณะคือ ความดัง และความสูงต่ำของเสียงนั่นเองคลื่นเสียงของดนตรีที่โสตประสาทมนุษย์รับรู้ได้นั้น ก่อให้เกิดอารมณ์และความรู้สึกกับผู้ฟังใน 2 ประการคือ ถ้าหากเป็นเสียงที่มีลักษณะประสานกันอย่างกลมกลืนราบเรียบ และเป็นจังหวะที่สม่ำเสมอมีความนุ่มนวลจะทำให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลายและสบายแต่ถ้าเป็นเสียงที่มีความกระแทกกระทั้นมีเสียงที่เป็นเชิงซ้อนและเสียงดังบ้าง เสียงเบาบ้างจะทำให้ผู้รับฟังรู้สึกถูกกดดันและอึดอัด ก็จะกลายเป็นความเครียดตามมาอีกด้วยความเป็นศิลปะทิพย์ของดนตรีดังกล่าวแล้ว ย่อมทำให้รู้สึกว่า ดนตรีนั้นมีสิ่งที่ดีๆให้เราได้ศึกษาเรียนรู้เป็นอย่างมากทีเดียว อาจกล่าวได้ว่าเสียงของดนตรีทั้งเครื่องดีด เครื่องสี เครื่องตี และเครื่องเป่านั้น ย่อมมีเสียงสูง – ต่ำ ต่างๆกัน ถึงแม้ว่าเครื่องดนตรีสามารถมีเสียงต่างๆมากมายอย่างไรก็ตามตามหลักดุริยางคศาสตร์ถือว่าเสียงดนตรีมีเสียงเรียงเป็นลำดับต่างกันอยู่ 7 เสียงเท่านั้น เสียงที่เกิน 7 ออกไปถือเป็นเสียงซึ่งซ้ำกับเสียงภายใน 7 เสียงนั่นเอง แต่มีระดับเสียงสูงหรือเสียงต่ำกว่ากันเป็นช่วงคู่ 8 – 15 – 22 ฯลฯ เป็นลำดับกันไปเท่านั้น ซึ่งหากพินิจพิจารณาฟังให้ดีแล้วจะพบว่าเป็นเสียงที่ซ้ำกันนั่นเองสำหรับเสียงของดนตรีไทย ( ไม่นับเครื่องประกอบจังหวะเช่น ฉิ่ง และ โทน – รำมะนา กลองชนิดต่างๆ ) ก็มีเสียงไล่กันไปตั้งแต่เสียงต่ำไปหาเสียงสูงเป็นการเรียงเสียงที่มีความถี่ห่างเท่าๆกันทุกๆขั้น เสียงที่ 8 ก็จะมีเสียงเท่ากับเสียงที่ 1
มนุษย์เรานั้นมีโสตประสาทรับความรู้สึกอยู่ 5 อย่าง สำหรับประสาทที่รับฟังเรียกว่า “ โสตประสาท ” หรือ หู ซึ่งจะสังเกตได้ว่า โสตประสาทของแต่ละคนจะรับฟังสิ่งต่างๆได้ไม่เท่ากัน บางคนมีโสตประสาทไวสามารถที่จะรับฟังและบอกระดับเสียงที่ได้ยินมาได้อย่างถูกต้องไม่ผิดเพี้ยนแต่อย่างใดเลย บุคคลเช่นนี้ต้องถือว่ามี Sense of absolute pitch อย่างไรก็ตามก็ยังมีบางคนที่ฟังดนตรีไม่เป็นเอาเสียเลย คือ ไม่สามารถบอกได้ว่า เสียงอย่างไรคือเสียงสูง เสียงอย่างไรคือเสียงต่ำบุคคลที่กล่าวถึงนี้ เป็นบุคคลประเภทที่เรียกว่า Musical idiot หรือ “ โง่ทึบในการดนตรี ” หรือการหนวกเสียงดนตรี ( Tone deaf ) ก็ยังมีอยู่มากมายในสังคมเรานี้
สุนทรภู่ กวีเอกของไทยเราได้สดุดี “ การดนตรี ” ไว้ในเรื่องพระอภัยมณีว่า
อันดนตรีมีคุณทุกอย่างไป ย่อมใช้ได้ดังจินดาค่าบุริน
ถึงมนุษย์ครุธฑา เทวาราช จัตุบาท กลางป่า พนาสิน
แม้นปี่เราเป่าไป ให้ได้ยิน ก็สุดสิ้น สิ่งโมโห ที่โกรธา
ให้ใจอ่อนนอนหลับหมดสติ อันลัทธิ ดนตรี ดีหนักหนา
ซึ่งสงสัยไม่สิ้น ในวิญญาณ์ จงนิทรา เถิดจะเป่า ให้เจ้าฟัง
ที่มา
//www.openbase.in.th/node/3491



โดย: นางสาวปัทมาวดี ไชยลา หมู่เรียนที่ 1 เรียนบ่ายวันจันทร์ IP: 119.42.110.112 วันที่: 28 กันยายน 2552 เวลา:17:52:24 น.  

 
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
เพื่อที่จะให้เข้าใจความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา เราคงจะต้องทำความเข้าใจกับคำต่างๆ ที่ประกอบเป็นคำนี้ อันได้แก่ เทคโนโลยี สาร และสนเทศ
เทคโนโลยีมีความหมายถึง การประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ต่องานปฏิบัติทั้งหลาย เพื่อให้งานนั้นมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
สารสนเทศ อ่านว่า สาระ-สน-เทศสาร หรือ สาระ เป็นคำประกอบหน้าคำ แปลว่า สำคัญ สนเทศ หมายถึง คำสั่ง ข่าวสาร ใบบอก
สารสนเทศ จึงหมายถึงข่าวสารที่สำคัญ เป็นระบบข่าวสารที่กำหนดขึ้น และจัดทำขึ้นภายในองค์การต่างๆ ตามความต้องการของเจ้าของหรือผู้บริหารองค์การนั้นๆ
สารสนเทศ ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Information
สำหรับคำว่า Information นั้น พจนานุกรมเวบสเตอร์ ให้ความหมายไว้ว่า ความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าสารสนเทศ เป็นความรู้และข่าวสารที่สำคัญที่มีลักษณะพิเศษ ทั้งในด้านการได้มาและประโยชน์ในการนำไปใช้ปฏิบัติ จึงได้มีการประมวลความหมายของสารสนเทศไว้ใกล้เคียงกัน ดังนี้
สารสนเทศ หมายถึงข้อมูลทั้งด้านปริมาณและด้านคุณภาพที่ประมวลจัดหมวดหมู่ เปรียบเทียบ และวิเคราะห์แล้วสามารถนำมาใช้ได้ หรือนำมาประกอบการพิจารณาได้สะดวกกว่าและง่ายกว่า
สารสนเทศ คือข้อมูลที่ได้รับการประมวลให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายต่อผู้รับ และมีทั้งคุณค่าอันแท้จริง หรือที่คาดการณ์ว่าจะมีสำหรับการดำเนินงานหรือการตัดสินใจในปัจจุบันและอนาคต
สารสนเทศ หมายถึง ข่าวสารที่ได้จากการนำข้อมูลดิบมาคำนวณทางสถิติ หรือประมวลผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งข่าวสารที่ได้ออกมานั้นจะอยู่ในรูปที่สามารถนำมาใช้งานได้ทันที
หากพิจารณาจากความหมายของสารสนเทศที่กล่าวมาแล้วนี้ จะเห็นว่าสารสนเทศมีคุณลักษณะที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คือ
1. เป็นข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว
2. เป็นรูปแบบที่มีประโยชน์ นำไปใช้งานได้
3. มีคุณค่าสำหรับใช้ในการดำเนินงานและการตัดสินใจ
เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ ประมวลผล และเผยแพร่สารสนเทศ ซึ่งได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสาร และเทคโนโลยีคมนาคม
เทคโนโลยีสารสนเทศ ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Information Technology หรือ IT
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการศึกษา อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศช่วยการเรียนการสอน การวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตร การแนะแนวและบริการ การทดสอบวัดผล การพัฒนาบุคลากร
เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเป็นที่นิยมประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน อาทิ
1. ระบบสารสนเทศช่วยในการเรียนการสอน
2. การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม
3. การประชุมทางไกลระบบจอภาพ
4. ระบบฐานข้อมูลการศึกษา
5. ระบบสารสนเทศเอกสาร
ความสำคัญ
ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology หรือ IT) ได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว และมีบทบาทสำคัญในด้านต่างๆ อย่างกว้างขวาง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การบริการสังคม สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านการศึกษา ซึ่งการมีบทบาทสำคัญนี้อาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอทีนั้นเปรียบเหมือนเครื่องจักรที่สามารถรองรับข้อมูลข่าวสารมาทำการประมวลผล และการแสดงผลตามที่ต้องการได้รวดเร็ว โดยอาศัยองค์ประกอบอื่นๆ ช่วยในการจัดการ ได้แก่ โปรแกรมปฏิบัติการ โปรแกรมชุดคำสั่งต่างๆ และที่สำคัญคือ ผู้ที่จะตัดสินใจหรือสั่งการให้ทำงานได้ถูกต้องตามเป้าหมาย ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ใช้ ผู้บริหาร และผู้ชำนาญการ หรือนักเทคโนโลยีสารสนเทศโดยตรง
รัฐบาลไทยในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญ เล็งเห็นประโยชน์และคุณค่าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยใน พ.ศ. 2535 ได้แต่งตั้ง "คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ" ขึ้น โดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและให้มีรองนายกรัฐมนตรี ที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธาน มีคณะกรรมการประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง และผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาครัฐบาลและเอกชน และได้มอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการฯ มีหน้าที่เสนอแนะนโยบายและแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศต่อคณะรัฐมนตรี ทั้งในเรื่องการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างบรรยากาศ ให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการดำเนินงานด้านต่างๆ
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จัดทำแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานของรัฐ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการและการดำเนินการตามแผนดังกล่าวโดยแบ่งเป็น 4 ช่วงได้แก่
ช่วงที่ 1 : การมีการใช้คอมพิวเตอร์ในงานทั่วไป (พ.ศ. 2536-2538)
ช่วงที่ 2 : การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (พ.ศ. 2536-2539)
ช่วงที่ 3 : การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานด้านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (พ.ศ. 2537-2540)
ช่วงที่ 4 : การใช้คอมพิวเตอร์เต็มรูปแบบ (พ.ศ. 2540 เป็นต้นไป)
การดำเนินการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษานั้น ดำเนินการมาก่อนหน้านี้อีก คือเริ่มดันในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) ซึ่งในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งได้เห็นความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งในด้านการเรียนการสอนโดยมีหลักสูตรการศึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และวิชาการที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคม มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยการบริหารงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการลงทะเบียนนักศึกษา สำหรับกระทรวงศึกษาธิการนั้น ได้จัดตั้งศูนย์สารสนเทศขึ้นในปี พ.ศ. 2522 ในสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ทางด้านทบวงมหาวิทยาลัย ได้จัดประชุมระดับภูมิภาคอาเซียน เรื่องการศึกษาและระบบสารสนเทศภายใต้โครงการพัฒนาการศึกษาอาเซียนในเดือนพฤศจิกายน 2523 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการพัฒนาการสารสนเทศทางการศึกษาของประเทศ
พ.ศ. 2526 ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานและปฏิบัติการของระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา (ศ.ส.ษ.) ขึ้น โดยความเห็นชอบของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศให้ก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดให้มีข้อมูลและสารสนเทศที่มีคุณภาพทันสมัย และสอดคล้องกับความต้องการ และเพื่อเป็นศูนย์กลางในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสารสนเทศทางการศึกษาที่จำเป็นต่อการกำหนดนโยบายการวางแผนการศึกษาและการพัฒนาการศึกษาของประเทศ นอกจากนั้นยังมีหน้าที่กำหนดนิยามที่จำเป็นต้องใช้ในระบบสารสนเทศทางการศึกษา กำหนดมาตรฐานในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำแนกข้อมูลและจัดกระทำข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ ที่สามารถนำไปใช้ได้ตามความต้องการ รวมทั้งการกำหนดขอบข่ายการประสานงานของระบบสารสนเทศทางการศึกษา ตลอดจนส่งเสริมและเผยแพร่วิชาการ และการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศทางการศึกษาของประเทศ
ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) ได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งแก่เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาการศึกษาของชาติ ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 มีแผนงานหลักเพื่อพัฒนาการศึกษาอยู่ 9 แผนงานหลัก แผนงานหลักที่ 9 เป็นแผนเรื่องการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษา ในแผนงานหลักที่ 9 การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษานั้นได้มีแนวคิดว่า สำหรับระบบการศึกษาก็ได้ตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลและสารสนเทศเช่นเดียวกันโดยหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้องได้สนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การจัดเก็บ การให้บริการและแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศที่ใช้ในการกำหนดนโยบาย การวางแผนพัฒนาการศึกษา การบริหารการศึกษา และการจัดการศึกษาให้เป็นระบบ ที่มีรูปแบบและมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการเรียนการสอนทุกระดับการศึกษา
อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษาของหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง มีลักษณะเป็นไปอย่างอิสระทำให้ขาดความเป็นเอกภาพ ประกอบกับขาดความพร้อมทั้งด้านงบประมาณ บุคลากร และอุปกรณ์ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่อเชื่อมระบบซอฟแวร์ เป็นต้น ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ อันได้แก่ ปัญหาการผลิตข้อมูลปฐมภูมิที่มีข้อมูลไม่ครบถ้วนตามที่ผู้ต้องการใช้ ปัญหาการจัดเก็บข้อมูลทุติยภูมิ ปัญหาการประสานงานเครือข่าย รวมทั้งปัญหาการดำเนินงานสารสนเทศ ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ส่งผลไปถึงการจัดการศึกษาที่ต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินงาน
จากปัญหาข้างต้น จึงจำเป็นจะต้องพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา โดยมีพื้นฐานอยู่บนหลักการพัฒนาร่วมกันระหว่างหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถประสานการดำเนินงาน และการนำทรัพยากรมาใช้ในการบริหารการวางแผนการจัดการศึกษา และการฝึกอบรมร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติเป็นหน่วยประสานงานกลาง ในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา
ความเป็นมา
ประเทศไทยได้เริ่มใช้ระบบคอมพิวเตอร์มาเป็นเวลานานกว่า 30 ปีแล้ว เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2506 เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกเป็นเครื่อง IBM 1401 ติดตั้งที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ เพื่อจัดทำสถิติและสัมมโนประชากร ต่อมา พ.ศ. 2527 รัฐบาลได้แต่งตั้ง "คณะกรรมการคอมพิวเตอร์แห่งชาติ" ขึ้นเพื่อทำหน้าที่ในการพิจารณาอนุมัติการจัดหาคอมพิวเตอร์ของส่วนราชการ พ.ศ. 2534 รัฐบาลได้ยุบคณะกรรมการคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เพื่อให้หน่วยราชการต่างๆ มีความคล่องตัวในการจัดหาคอมพิวเตอร์ เพราะคอมพิวเตอร์มีราคาถูกลง และนิยมใช้แพร่หลายขึ้น
พ.ศ. 2535 มีการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มีการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ จากนั้นคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติได้แต่งตั้งอนุกรรมการด้านต่างๆ 7 ด้านได้แก่ การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ การค้าระหว่างประเทศ การวางแผนพัฒนาเทคโนโลยีสาร-สนเทศ การวางแผนพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานของรัฐ การพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ และการส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) รัฐบาลได้เห็นความสำคัญของการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสาร และเทคโนโลยีคมนาคม เข้ามาใช้ในการจัด การพัฒนา และเผยแพร่สารสนเทศให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านต่างๆ โดยเฉพาะในด้านการศึกษา ภายใต้การประสานงานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ การดำเนินการด้านนี้กล่าวโดยสรุปได้ ดังนี้
1. พ.ศ. 2522 กระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งศูนย์สารสนเทศขึ้น ได้นำระบบ Mainframe มาใช้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2527 และขยายเครือข่าย On-line ไปยังกรมต่างๆ ในสังกัด 14 กรม รวมทั้งการเชื่อมโยงกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ นอกจากนี้ยังได้จัดหาอุปกรณ์ไมโครคอมพิวเตอร์ให้หน่วยงานศึกษาธิการในระดับเขตการศึกษา ระดับจังหวัด และระดับอำเภอ สำหรับการพัฒนาระบบสารสนเทศมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการบริหารและการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
2. ศูนย์สารสนเทศทบวงมหาวิทยาลัย มีระบบคอมพิวเตอร์ทั้งระดับ Mainframe และ Mini Computer และไมโครคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการพัฒนาระบบสารสนเทศ สำหรับการวางแผนและการบริหารกิจกรรมในทบวงมหาวิทยาลัย
3. สถาบันอุดมศึกษาส่วนใหญ่ มีความก้าวหน้าในการนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการบริหารการเรียนการสอน การทะเบียน การวิจัย และประเมินผล รวมทั้งการเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างสถาบันต่างๆ เช่น เครือข่าย Internet ไทยสาร CUNET และ PULINET
4. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ มีศูนย์สารสนเทศทางการศึกษา รับผิดชอบในการวางแผนและพัฒนาระบบสารสนเทศ โดยการเชื่อมโยงเครือข่ายกับหน่วยงานต่างๆ
ในขณะนี้ได้มีการเชื่อมโยงเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาแล้วได้มีการเชื่อมโยงเครือข่ายสารสนเทศของกระทรวงศึกษาธิการ เครือข่ายสารสนเทศทบวงมหาวิทยาลัย เครือข่ายสารสนเทศสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย เครือข่ายสารสนเทศสาธารณะ อันได้แก่ เครือข่ายสื่อสารผ่านดาวเทียมทั้งหลาย และเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ทำให้มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษามีกว้างขวางขึ้น
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ ได้ทดลองดำเนินการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศโรงเรียนเมื่อ พ.ศ. 2538 โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้โรงเรียนทั้งในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัดได้มีและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาและการเรียนรู้ เพื่อที่จะได้ยกระดับการศึกษาของเยาวชนไทย และส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยตนเองจากแหล่งความรู้ที่มีอยู่ทั่วโลก โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือ การดำเนินงานมีโครงการย่อย 3 โครงการ
1. โครงการอินเตอร์เน็ตมัธยม โดยเน้นการติดตั้งระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้โรงเรียนสามารถเข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้
2. โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาของโรงเรียนในชนบท เน้นการจัดหาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เบื้องต้นให้แก่โรงเรียน เพื่อใช้ในการพิมพ์และคำนวณอย่างง่าย ผู้รับผิดชอบโครงการได้แก่ คณะกรรมการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับกรมสามัญศึกษาและบริษัทที่สนับสนุนโครงการ
3. โครงการจัดตั้งตู้หนังสือเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นการจัดสร้างตู้หนังสือที่รวบรวมหนังสือเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศที่อ่านได้ทั่วไปเพื่อให้ครูและนักเรียนได้ใช้ศึกษาค้นคว้า
นอกจากนี้แล้วยังสามารถทำเพื่อการประชาสัมพันธ์ การประชาสัมพันธ์มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรโดยการประชาสัมพันธ์นั้นถือเป็นหน้าตาขององค์กรที่จะสร้างความประทับใจแรกพบของกลุ่มประชาชนเป้าหมาย ในปัจจุบันทุกหน่วยงานล้วนแล้วแต่ให้ความสำคัญกับงานประชาสัมพันธ์ ได้พยายามหาเทคนิควิธีต่างๆ เพื่อสร้างสรรค์งานประชาสัมพันธ์ให้มีประสิทธิภาพ สื่อประชาสัมพันธ์ทางอินเตอร์เน็ตจึงเป็นสื่อสำคัญที่นำมาใช้ในการประชาสัมพันธ์ทางการศึกษา
การสร้างงานประชาสัมพันธ์นั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรหรือสถาบันผู้ที่ทำหน้าที่ในการนำงานประชาสัมพันธ์สื่อสายตาประชาชน ข่าวสารในการประชาสัมพันธ์ได้แก่เนื้อหาสาระที่จะส่งไปยังกลุ่มเป้าหมาย สื่อในการประชาสัมพันธ์ ทำหน้าที่นำข่าวสารผ่านสื่อหรือช่องทางไปยังกลุ่มเป้าหมายในการประชาสัมพันธ์นั้นๆ เพื่อให้ได้รับเนื้อหาสาระจากสื่อในการประชาสัมพันธ์ สิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญคือการเลือกสื่อในการประชาสัมพันธ์ สื่อในการประชาสัมพันธ์นั้นจะต้องมีความเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้กว้างไกล มีความน่าสนใจในตัวของสื่อเอง โดยสื่อที่จำกล่าวถึงนี้คือ การนำสื่ออินเตอร์เน็ตมาใช้ในประโยชน์ในการประชาสัมพันธ์ทางการการศึกษา
//www.csjoy.com/story/net/tne.htm


โดย: น.ส.จิราภรณ์ ศุกรักษ์(หมู่15 ศุกร์ เช้า) IP: 192.168.100.12 IP: 222.123.58.158 วันที่: 30 กันยายน 2552 เวลา:12:17:26 น.  

 
3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ในการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศนี้นะครับก็สามารถ นำไปใช้งานได้หลากหลายนะครับใช้งานได้ต่างๆ มากมายครับ ซึ่งผมจะขอยกตัวอย่างดังต่อไปนี้นะครับ

• การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานสำนักงาน ครับ ในการใช้งานในสำนักงานนี้นะครับก็ใช้ได้หลากหลายมากนะครับก็อย่างเช่น ใช้ในการจัดเตรียมเอกสาร การใช้ในการกระจายเอกสาร เป็นการกระจายสารสนเทศไปยังผู้ใช้ ณ จุดต่างๆ ใช้ในการจัดเก็บและการสืบค้นเอกสาร การจัดเตรียมสารสนเทศในลักษณะภาพหรือลักษณะเสียง เหล่านี้เป็นต้นครับ
• ในข้อสองนี้นะครับก็ได้แก่ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านอุตสาหกรรม ครับ ก็ตัวอย่างเช่น การใช้ในการออกแบบ ใช้ในการควบคุมการผลิต เหล่านี้เป็นต้นครับ
• การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในด้านการเงิน นี่นะครับก็ได้แก่ การใช้ ATM ในการอำนวยความสะดวกในการ ฝาน ถอน หรือการโอนเงิน เช่นนี้เป็นต้นครับ ส่วนในด้านพาณิชย์นั้นนะครับ ก็ได้แก่การใช้รหัสแท่งในการคำนวณราคาสินค้า เช่นนี้เป็นต้นนะครับ
• ในข้อที่สี่นี้นะครับก็จะเป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสารนะครับ ก็ได้แก่ การให้บริการโทรศัพท์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ การสื่อสารผ่านดาวเทียม เหล่านี้เป็นต้นครับ
• การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการงานด้านสาธารณสุข นะครับ ก็ได้แก่ใช้ในการคิดเงิน หรือในการบันทึกข้อมูลของผู้ป่วย ใช้ในการวิจัยหรือวินิจฉัยโรค เป็นต้น
• ส่วนในข้อนี้นะครับก็คือการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาและการฝึกอบรม นี่นะครับ ก็มีมากมายหลายรูปแบบทีเดียวเชียวนะครับ ก็ตัวอย่างเช่น การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการสอน ใช้ในการศึกษาทางไกล ใช้ในระบบเครือข่ายการศึกษา ใช้ในการงานห้องสมุด และการใช้ในห้องปฏิบัติการนี่เองครับ

//www.kingsolder.com/computer/it/it.asp


โดย: น.ส.จิราภรณ์ ศุกรักษ์(หมู่15 ศุกร์ เช้า) IP: 222.123.58.158 วันที่: 30 กันยายน 2552 เวลา:12:25:22 น.  

 
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

ความสำคัญ

ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology หรือ IT) ได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว และมีบทบาทสำคัญในด้านต่างๆ อย่างกว้างขวาง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การบริการสังคม สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านการศึกษา ซึ่งการมีบทบาทสำคัญนี้อาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอทีนั้นเปรียบเหมือนเครื่องจักรที่สามารถรองรับข้อมูลข่าวสารมาทำการ ประมวลผล และการแสดงผลตามที่ต้องการได้รวดเร็ว โดยอาศัยองค์ประกอบอื่นๆ ช่วยในการจัดการ ได้แก่ โปรแกรมปฏิบัติการ โปรแกรมชุดคำสั่งต่างๆ และที่สำคัญคือ ผู้ที่จะตัดสินใจหรือสั่งการให้ทำงานได้ถูกต้องตามเป้าหมาย ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ใช้ ผู้บริหาร และผู้ชำนาญการ หรือนักเทคโนโลยีสารสนเทศโดยตรง
รัฐบาลไทยในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญ เล็งเห็นประโยชน์และคุณค่าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยใน พ.ศ. 2535 ได้แต่งตั้ง "คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ" ขึ้น โดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ และให้มีรองนายกรัฐมนตรี ที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธาน มีคณะกรรมการประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง และผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาครัฐบาลและเอกชน และได้มอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการฯ มีหน้าที่เสนอแนะนโยบายและแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศต่อคณะรัฐมนตรี ทั้งในเรื่องการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างบรรยากาศ ให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการดำเนินงานด้านต่างๆ
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จัดทำแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานของรัฐ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการและการดำเนินการตามแผนดังกล่าวโดยแบ่ง เป็น 4 ช่วงได้แก่

ช่วงที่ 1 : การมีการใช้คอมพิวเตอร์ในงานทั่วไป (พ.ศ. 2536-2538)
ช่วงที่ 2 : การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (พ.ศ. 2536-2539)
ช่วงที่ 3 : การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานด้านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (พ.ศ. 2537-2540)
ช่วงที่ 4 : การใช้คอมพิวเตอร์เต็มรูปแบบ (พ.ศ. 2540 เป็นต้นไป)

การดำเนินการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษานั้น ดำเนินการมาก่อนหน้านี้อีก คือเริ่มดันในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) ซึ่งในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งได้เห็นความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งในด้านการเรียนการสอนโดยมีหลักสูตรการศึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และวิชาการที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคม มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยการบริหารงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการลงทะเบียนนักศึกษา สำหรับกระทรวงศึกษาธิการนั้น ได้จัดตั้งศูนย์สารสนเทศขึ้นในปี พ.ศ. 2522 ในสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ทางด้านทบวงมหาวิทยาลัย ได้จัดประชุมระดับภูมิภาคอาเซียน เรื่องการศึกษาและระบบสารสนเทศภายใต้โครงการพัฒนาการศึกษาอาเซียนในเดือน พฤศจิกายน 2523 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการพัฒนาการสารสนเทศทางการศึกษาของประเทศ
พ.ศ. 2526 ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานและปฏิบัติการของระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา (ศ.ส.ษ.) ขึ้น โดยความเห็นชอบของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศให้ก้าวหน้าอย่างมี ประสิทธิภาพ โดยจัดให้มีข้อมูลและสารสนเทศที่มีคุณภาพทันสมัย และสอดคล้องกับความต้องการ และเพื่อเป็นศูนย์กลางในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสารสนเทศทางการศึกษาที่จำเป็นต่อการกำหนดนโยบายการวางแผนการศึกษาและการ พัฒนาการศึกษาของประเทศ นอกจากนั้นยังมีหน้าที่กำหนดนิยามที่จำเป็นต้องใช้ในระบบสารสนเทศทางการ ศึกษา กำหนดมาตรฐานในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำแนกข้อมูลและจัดกระทำข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ ที่สามารถนำไปใช้ได้ตามความต้องการ รวมทั้งการกำหนดขอบข่ายการประสานงานของระบบสารสนเทศทางการศึกษา ตลอดจนส่งเสริมและเผยแพร่วิชาการ และการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศทางการศึกษาของประเทศ
ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) ได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งแก่เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาการศึกษาของ ชาติ ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 มีแผนงานหลักเพื่อพัฒนาการศึกษาอยู่ 9 แผนงานหลัก แผนงานหลักที่ 9 เป็นแผนเรื่องการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษา ในแผนงานหลักที่ 9 การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษานั้นได้มีแนวคิดว่า สำหรับ ระบบการศึกษาก็ได้ตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลและสารสนเทศเช่นเดียวกันโดย หน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้องได้สนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อการศึกษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การจัดเก็บ การให้บริการและแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศที่ใช้ในการกำหนดนโยบาย การวางแผนพัฒนาการศึกษา การบริหารการศึกษา และการจัดการศึกษาให้เป็นระบบ ที่มีรูปแบบและมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการเรียนการสอนทุกระดับการศึกษา
อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษาของหน่วยงานทางการศึกษาและที่ เกี่ยวข้อง มีลักษณะเป็นไปอย่างอิสระทำให้ขาดความเป็นเอกภาพ ประกอบกับขาดความพร้อมทั้งด้านงบประมาณ บุคลากร และอุปกรณ์ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่อเชื่อมระบบซอฟแวร์ เป็นต้น ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ อันได้แก่ ปัญหาการผลิตข้อมูลปฐมภูมิที่มีข้อมูลไม่ครบถ้วนตามที่ผู้ต้องการใช้ ปัญหาการจัดเก็บข้อมูลทุติยภูมิ ปัญหาการประสานงานเครือข่าย รวมทั้งปัญหาการดำเนินงานสารสนเทศ ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ส่งผลไปถึงการจัดการศึกษาที่ต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่อง มือสำคัญในการดำเนินงาน
จากปัญหาข้างต้น จึงจำเป็นจะต้องพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา โดยมีพื้นฐานอยู่บนหลักการพัฒนาร่วมกันระหว่างหน่วยงานทางการศึกษาและที่ เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถประสานการดำเนินงาน และการนำทรัพยากรมาใช้ในการบริหารการวางแผนการจัดการศึกษา และการฝึกอบรมร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติเป็นหน่วยประสานงานกลาง ในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา
//learners.in.th/blog/mooddang/256435

3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)
ตอบ -
ชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบันเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ที่มีบทบาทเพิ่มขึ้น ใน พ.ศ. 2528 กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย ให้วิชาคอมพิวเตอร์เป็นวิชาเลือกของหมวดวิชาคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย 2 รายวิชา คือ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และการเขียนโปรแกรมภาษาเบสิก ต่อมา พ.ศ. 2532 และ พ.ศ. 2541 ก็เปลี่ยนแปลงและเพิ่มเติมหลักสูตรทางด้านคอมพิวเตอร์อีกหลายวิชา และจัดกลุ่มอยู่ในวิชาอาชีพสาขาคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันมีโรงเรียนมัธยมศึกษาหลายแห่งทั่วประเทศเปิดการเรียนการสอนทางด้าน คอมพิวเตอร์ขึ้น
อุตสาหกรรมทางด้านคอมพิวเตอร์เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ในระยะปีหรือสองปีข้างหน้า ยากที่จะคาดเดาว่า จะมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อะไรใหม่ขึ้นมาอีกบ้าง ทั้งนี้เพราะขีดความ สามารถของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันสูงมาก โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับไมโครคอมพิวเตอร์ (micro computer )
มีผู้กล่าวว่าการปฏิวัติครั้งที่สามกำลังจะเกิดขึ้น โดยสิ่งที่เกิดใหม่นี้ ได้แก่การพัฒนาการทางด้านความคิด การตัดสินใจ โดยอาศัยหลักการของคอมพิวเตอร์ ในอนาคตอันใกล้ผู้จัดการเพียงคนเดียวอาจทำงานทั้งหมดโดยอาศัยระบบ คอมพิวเตอร์ควบคุมทำการควบคุมหุ่นยนต์คอมพิวเตอร์ และให้หุ่นยนต์ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรอีกต่อหนึ่ง
//210.246.188.53/trang1kmc/modules.php?name=News&file=article&sid=620



นาย ณัฐพงศ์ มันทะลา หมู่22



โดย: นาย ณัฐพงศ์ มันทะลา IP: 124.157.129.36 วันที่: 30 กันยายน 2552 เวลา:18:30:47 น.  

 
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
-บทบาทและความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการบริหารจัดการศึกษา

“ เทคโนโลยีสารสนเทศ ” (Information Technology) หรือเรียกกันย่อ ๆ ว่า“ IT ” หมายถึงเทคโนโลยีที่นํามาใชในการจัดเก็บขอมูล (Data) และประมวลผลขอมูลใหเกิดผลลัพธเปนสารสนเทศ (Information) เพื่อนําไปใชประโยชน

ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อมูลดิบที่เก็บรวบรวมมาจากที่ต่าง ๆ ซึ่งยังนําไปใชงานไมได
เช่น การสํารวจความคิดเห็น ความคิดเห็นที่ไดยังถือวาเปนขอมูลดิบ

สารสนเทศ (Information) หมายถึง ผลลัพธจากการประมวลผลขอมูลดิบซึ่งสามารถนําไปใชประโยชน เพื่อประกอบการทํางาน หรือเพิ่มประกอบการตัดสินใจของผูบริหาร เชน นําข้อมูล ความคิดเห็นแตละขอมาหาความถี่ เป็นค่าร้อยละเพื่อเปรียบเทียบดูว่า ข้อคิดเห็นขอใดมีผูเลือกมากนอย เป็นร้อยละเท่าไร ค่ารอยละดัง
กล่าว ก็จัดเป็นสารสนเทศ เป็นต้น

การจัดเก็บข้อมูลและการจัดการข้อมูล ต้องการความถูกตองและรวดเร็วสูง จึงจําเปนตองนําเทคโนโลยีคอมพิวเตอรเขามาช่วย และ เมื่อตองการใหผูที่อยูหางไกลกันสามารถใชประโยชนจากสารสนเทศดังกลาว ก็จําเปนตองนําเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมเขามาชวยอีกทางหนึ่งดวย
ในวงการบริหารงานตางๆ โดยเฉพาะในวงการบริหารงานธุรกิจ ซึ่งมีการแขงขันกันสูง ไดนําเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการบริหารกันเปนอันมากเพื่อใหการบริหารมีประสิทธิภาพสูง ประหยัดสุดและไดประสิทธิผลสูงสุด
ผู้บริหารยุคใหมทุกระดับจึงนํานวัตกรรมเทคโนโลยีมาใชกันอยางแพรหลาย เชน ผู้บริหารระดับสูงในองค์การ จะนําสารสนเทศที่แสดงภาพรวมของการดําเนินงาน ความสัมพันธระหวางองคการและสิ่งแวดลอม สรุปปญหาและแนวทางแก้ไข มาใชเพื่อประกอบการแก้ปญหา และการตัดสินใจกําหนดกลยุทธขององคการ สวนผูบริหารระดับกลางจะนําสารสนเทศ ที่ ประมวลงานประจําป มาใชจัดแผนงบประมาณ และกําหนดแผนการดําเนินงานของหนวยงาน สําหรับ ผู้บริหารงานระดับต้นจะใชเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยในการควบคุมการปฏิบัติงาน เป็นต้น
ปัจจุบันผูบริหารในการศึกษาไดนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชและมีบทบาทความสำคัญในการบริหารจัดการศึกษากันมากขึ้น อาทิ เชน

1. การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการตัดสินใจ การตัดสินใจที่ดีจะต้องรวดเร็วและไมผิดพลาด และการตัดสินใจที่รวดเร็วและไมผิดพลาดนั้นจําเป็น ต้องมี ข้อมูลสารสนเทศที่ เป็นปัจจุบันไมล้าสมัย มีจํานวนมากเพียงพอ และสามารถนํามาใชไดง่ายและรวดเร็ว ซึ่งเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยเรื่องนี้เป็นอย่างดี ระบบสารสนเทศที่ผูบริหารนํามาใชในการตัดสินใจมีดังนี้
1.1 ระบบสารสนเทศสําหรับผูบริหาร (Executive Systems) หรือ “EIS” ในบางครั้งอาจเรียกว่า “ระบบสนับสนุนผู้บริหาร” (Executive Support Systems) หรือ “ESS” ระบบ EISเป็นระบบที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นมาเพื่อจัดเตรียมสารสนเทศที่เหมาะสมในการตัดสินใจของผูบริหารระดับสูงช่วยให้ ผู้บริหารสามารถทําความเข้าใจ ปัญหาอย่างชัดเจน และสามารถตัดสินใจเลือกแนวทางแกปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
1.2 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support) หรือ DSS ระบบ DSS เป็นระบบที่ ออกแบบและพัฒนาขึ้นมาเพื่อใชสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง ระบบDSS จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจของผูบริหารแตจะไมทําการตัดสินใจแทนผู้บริหาร โดยประมวลผลและนําเสนอข้อมูล ที่สําคัญต่อการตัดสินใจ ตลอดจนประเมินทางเลือกที่เหมาะสมภายใตข้อจํากัดของแต่ละสถานการณ เพื่อใหผู้บริหารใช
สติปญญา เหตุผล ประสบการณ และความคิดสร้างสรรคของตนวิเคราะหและเปรียบเทียบทางเลือกใหสอดคล้องกับปัญหาหรือสถานการณนั้นๆ

2. การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการบริหารงานทางไกล มีการนําสื่อหลายๆอย่าง เช่น โทรศัพทมือถือ โทรสาร วิทยุ โทรทัศน คอมพิวเตอร และเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคม มาใชในการติดต่อการสื่อสารและการบริหารงานทางไกลไดสะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลาและค่าใช้จายเป็น อันมาก ถึงแมจะอยูไกลกันก็สามารถทํางานร่วมกัน ประชุมร่วมกันไดโดยใช Teleconference เป็นต้น

3. การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการบริหารสถานศึกษา ปัจจุบันสถานศึกษาหลายแห่ง พัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อใชในการบริหารงานด้านต่างๆ ทั้งการบริหารงานวิชาการ การบริหารกิจการนักเรียน การบริหารงานบุคลากร การบริหารงานธุรการ การเงิน พัสดุ ครุภัณฑ การบริหารงานอาคารสถานที่และการการบริหารงานชุมชน

4. การสร้างเครือข่ายข้อมูล (Network) ด้วยระบบสารสนเทศ เครือข่ายนี้จะช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยเป็นอันมาก ปัจจุบันมี โครงการเครือข่ายคอมพิวเตอรโรงเรียนมัธยม (Schoolnet) ซึ่งเป็นโครงการ
ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หนึ่งในหลายโครงการที่เกิดขึ้นตามพระราชดําริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี โดยศูนยเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกสคอมพิวเตอรแห่งชาติ ไดนําแนวพระราชดําริมาดําเนินการร่วมกับหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดกรมสามัญศึกษา(เดิม)

5. การนํานวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการจัดการศึกษา ในปัจจุบันผูบริหาร หน่วยงานทางการศึกษานํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการจัดการศึกษา เป็นประโยชนต่อการเรียนรูหลายอย่าง อาทิเช่น
5.1 อินเตอร์เน็ต (Internet) เพื่อใชในการศึกษาหาข้อมูล ข่าวสารทางวิชาการและอื่นๆ จากที่ต่าง ๆ เป็นการส่งเสริมการเรียนรูตลอดชีวิต
5.2 จดหมายอิเล็กทรอนิกส (Electronic Mail หรือ E-mail) เพื่อใชรับส่งข่าวสาร ข้อมูล รูปภาพ และส่งงานใหครูอาจารยตรวจ
5.3 การจัดทํา Website ของสถานศึกษา เพื่อการเผยแพรขาวสารของสถานศึกษา เป็นการประชาสัมพันธระหว่างสถานศึกษากับ ผู้ที่เกี่ยวของ และบุคคลทั่วไป
5.4 การใชโปรแกรม SPSS เพื่อการวิเคราะหข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชนต่อการทําวิจัยในชั้นเรียนของครูอาจารย การทําวิจัยสถานบันของฝ่ายบริหาร และอื่น ๆ
5.5 การทํา PowerPoint เพื่อใชในการเรียนการสอนของครูอาจารย และใชเสนอผลงานของ ผู้บริหารสถานศึกษา
5.6 คอมพิวเตอรช่วยสอน (Computer Assisted Instruction หรือ CAI) เพื่อช่วยใหผู้เรียนเรียนรูด้วยตนเองจากบทเรียนสําเร็จรูปในคอมพิวเตอร
5.7 การเรียนรูผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส (Electronic Learning) หรือที่เรียกกันว่า
E-Learning เป็นการเรียนทางไกลที่ผูเรียนสามารถโตตอบกับผู้สอนได โดยอาศัยเครือข่าย อินเตอร์เน็ต จึงช่วยใหเรียนรู้ไดโดยไม่มีข้อจํากัดของเวลา ระยะทาง และสถานที่ โดยผูเรียนจะสามารถเรียนรูไดตลอดเวลาจึงตอบสนองศักยภาพการเรียนรูของผู้เรียนไดเป็นอย่างดี
5.8 ห้องเรียนอัจฉริยะ (Electronic Classroom หรือ E-Classroom) เป็นการจัดระบบบริหารจัดการ
ห้องเรียน ที่ใชการเรียนการสอนแบบ on-line และ ปฏิสัมพันธ (interactive) สามารถควบคุมและและตรวจสอบกิจกรรมของนักเรียนไดโดยตรงจากเครื่องคอมพิวเตอรของครูแบบ real time
5.9 หนังสืออิเล็กทรอนิกส (E-book) และ หองสมุดอิเล็กทรอนิกส (E-Library) เพื่อเสริม การเรียนการสอน และใหบริการค้นคว้าหาความรูแกนักเรียน ครูอาจารย และประชาชน
5.10 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ “ICT” (Information and Communication Technologies) เพื่อพัฒนาการศึกษา ปัจจุบันประเทศไทยโดยกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายสําคัญที่จะนําเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช เพื่อพัฒนาการสื่อสารในทุกด้าน โดยเฉพาะการช่วยพัฒนาครูอาจารย การช่วยใหเด็กและเยาวชนไดเข้าถึงแหล่งความรูและไดเรียนอย่างทัดเทียมกัน ตลอดจนการพัฒนาระบบบริหารจัดการให้ ฉับไว มีประสิทธิภาพสูงสุด

ดังนั้น นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ก็เข้ามามีบทบาทมากขึ้น โนเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุคของการปฎิรูปการศึกษา ผู้บริหารการศึกษายุคใหมต่างก็นํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชประโยชนใน การบริหารจัดการศึกษา เพื่อใหประสบผลสําเร็จในการพัฒนาคุณภาพผูเรียนไดอย่างมีประสิทธิภาพสูง

www.paitoon-srifa.com/moodle

3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยี่สารสนเทศมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ เป็นอย่างมาก ตัวอย่างเช่น
1. การศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยในด้านการค้นคว้าศึกษาแหล่งข้อมูล ทำให้การศึกษาง่ายขึ้นและไร้ขีดจำกัด ผู้เรียนมีความสะดวกในการค้นคว้าวิจัย


2. การดำรงชีวิตประจำวัน ทำให้มีความสะดวกคล่องตัวและรวดเร็วในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน สามารถทำงานได้หลายอย่างในเวลาเดียวกันได้หรือทำงานใช้เวลาน้อยลง


3. การดำเนินธุรกิจ ทำให้มีการแข่งขันระหว่างธุรกิจมากขึ้น ทำให้ต้องมีการพัฒนาองค์กรเพื่อให้ทันกับข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเวลา
อันส่งผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง

4. อัตราการขยายตัวทุก ๆ ด้านที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะมีการติดต่อสื่อสารที่เจริญก้าวหน้าทันสมัย รวดเร็วถูกต้องและ ทำให้
เป็นโลกที่ไร้พรหรมแดน

5. ระบบการทำงานมีคอมพิวเตอร์มาใช้ซื่อสามารถทำงานได้มากขึ้น งานบางอย่างมนุษย์ทำไม่ได ้ก็ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยทำงานแทนซึ่งได้ผลถูกต้องรวดเร็ว

ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ต้องประกอบด้วย

//a.1asphost.com/chalin623/drinking48/information1/techno1_1.htm







โดย: นางสาวกฤตยา อินทร์กอ หมู่ 22 IP: 118.174.22.110 วันที่: 4 ตุลาคม 2552 เวลา:0:29:55 น.  

 
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
-บทบาทและความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการบริหารจัดการศึกษา

“ เทคโนโลยีสารสนเทศ ” (Information Technology) หรือเรียกกันย่อ ๆ ว่า“ IT ” หมายถึงเทคโนโลยีที่นํามาใชในการจัดเก็บขอมูล (Data) และประมวลผลขอมูลใหเกิดผลลัพธเปนสารสนเทศ (Information) เพื่อนําไปใชประโยชน

ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อมูลดิบที่เก็บรวบรวมมาจากที่ต่าง ๆ ซึ่งยังนําไปใชงานไมได
เช่น การสํารวจความคิดเห็น ความคิดเห็นที่ไดยังถือวาเปนขอมูลดิบ

สารสนเทศ (Information) หมายถึง ผลลัพธจากการประมวลผลขอมูลดิบซึ่งสามารถนําไปใชประโยชน เพื่อประกอบการทํางาน หรือเพิ่มประกอบการตัดสินใจของผูบริหาร เชน นําข้อมูล ความคิดเห็นแตละขอมาหาความถี่ เป็นค่าร้อยละเพื่อเปรียบเทียบดูว่า ข้อคิดเห็นขอใดมีผูเลือกมากนอย เป็นร้อยละเท่าไร ค่ารอยละดัง
กล่าว ก็จัดเป็นสารสนเทศ เป็นต้น

การจัดเก็บข้อมูลและการจัดการข้อมูล ต้องการความถูกตองและรวดเร็วสูง จึงจําเปนตองนําเทคโนโลยีคอมพิวเตอรเขามาช่วย และ เมื่อตองการใหผูที่อยูหางไกลกันสามารถใชประโยชนจากสารสนเทศดังกลาว ก็จําเปนตองนําเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมเขามาชวยอีกทางหนึ่งดวย
ในวงการบริหารงานตางๆ โดยเฉพาะในวงการบริหารงานธุรกิจ ซึ่งมีการแขงขันกันสูง ไดนําเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการบริหารกันเปนอันมากเพื่อใหการบริหารมีประสิทธิภาพสูง ประหยัดสุดและไดประสิทธิผลสูงสุด
ผู้บริหารยุคใหมทุกระดับจึงนํานวัตกรรมเทคโนโลยีมาใชกันอยางแพรหลาย เชน ผู้บริหารระดับสูงในองค์การ จะนําสารสนเทศที่แสดงภาพรวมของการดําเนินงาน ความสัมพันธระหวางองคการและสิ่งแวดลอม สรุปปญหาและแนวทางแก้ไข มาใชเพื่อประกอบการแก้ปญหา และการตัดสินใจกําหนดกลยุทธขององคการ สวนผูบริหารระดับกลางจะนําสารสนเทศ ที่ ประมวลงานประจําป มาใชจัดแผนงบประมาณ และกําหนดแผนการดําเนินงานของหนวยงาน สําหรับ ผู้บริหารงานระดับต้นจะใชเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยในการควบคุมการปฏิบัติงาน เป็นต้น
ปัจจุบันผูบริหารในการศึกษาไดนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชและมีบทบาทความสำคัญในการบริหารจัดการศึกษากันมากขึ้น อาทิ เชน

1. การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการตัดสินใจ การตัดสินใจที่ดีจะต้องรวดเร็วและไมผิดพลาด และการตัดสินใจที่รวดเร็วและไมผิดพลาดนั้นจําเป็น ต้องมี ข้อมูลสารสนเทศที่ เป็นปัจจุบันไมล้าสมัย มีจํานวนมากเพียงพอ และสามารถนํามาใชไดง่ายและรวดเร็ว ซึ่งเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยเรื่องนี้เป็นอย่างดี ระบบสารสนเทศที่ผูบริหารนํามาใชในการตัดสินใจมีดังนี้
1.1 ระบบสารสนเทศสําหรับผูบริหาร (Executive Systems) หรือ “EIS” ในบางครั้งอาจเรียกว่า “ระบบสนับสนุนผู้บริหาร” (Executive Support Systems) หรือ “ESS” ระบบ EISเป็นระบบที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นมาเพื่อจัดเตรียมสารสนเทศที่เหมาะสมในการตัดสินใจของผูบริหารระดับสูงช่วยให้ ผู้บริหารสามารถทําความเข้าใจ ปัญหาอย่างชัดเจน และสามารถตัดสินใจเลือกแนวทางแกปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
1.2 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support) หรือ DSS ระบบ DSS เป็นระบบที่ ออกแบบและพัฒนาขึ้นมาเพื่อใชสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง ระบบDSS จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจของผูบริหารแตจะไมทําการตัดสินใจแทนผู้บริหาร โดยประมวลผลและนําเสนอข้อมูล ที่สําคัญต่อการตัดสินใจ ตลอดจนประเมินทางเลือกที่เหมาะสมภายใตข้อจํากัดของแต่ละสถานการณ เพื่อใหผู้บริหารใช
สติปญญา เหตุผล ประสบการณ และความคิดสร้างสรรคของตนวิเคราะหและเปรียบเทียบทางเลือกใหสอดคล้องกับปัญหาหรือสถานการณนั้นๆ

2. การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการบริหารงานทางไกล มีการนําสื่อหลายๆอย่าง เช่น โทรศัพทมือถือ โทรสาร วิทยุ โทรทัศน คอมพิวเตอร และเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคม มาใชในการติดต่อการสื่อสารและการบริหารงานทางไกลไดสะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลาและค่าใช้จายเป็น อันมาก ถึงแมจะอยูไกลกันก็สามารถทํางานร่วมกัน ประชุมร่วมกันไดโดยใช Teleconference เป็นต้น

3. การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการบริหารสถานศึกษา ปัจจุบันสถานศึกษาหลายแห่ง พัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อใชในการบริหารงานด้านต่างๆ ทั้งการบริหารงานวิชาการ การบริหารกิจการนักเรียน การบริหารงานบุคลากร การบริหารงานธุรการ การเงิน พัสดุ ครุภัณฑ การบริหารงานอาคารสถานที่และการการบริหารงานชุมชน

4. การสร้างเครือข่ายข้อมูล (Network) ด้วยระบบสารสนเทศ เครือข่ายนี้จะช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยเป็นอันมาก ปัจจุบันมี โครงการเครือข่ายคอมพิวเตอรโรงเรียนมัธยม (Schoolnet) ซึ่งเป็นโครงการ
ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หนึ่งในหลายโครงการที่เกิดขึ้นตามพระราชดําริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี โดยศูนยเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกสคอมพิวเตอรแห่งชาติ ไดนําแนวพระราชดําริมาดําเนินการร่วมกับหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดกรมสามัญศึกษา(เดิม)

5. การนํานวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการจัดการศึกษา ในปัจจุบันผูบริหาร หน่วยงานทางการศึกษานํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการจัดการศึกษา เป็นประโยชนต่อการเรียนรูหลายอย่าง อาทิเช่น
5.1 อินเตอร์เน็ต (Internet) เพื่อใชในการศึกษาหาข้อมูล ข่าวสารทางวิชาการและอื่นๆ จากที่ต่าง ๆ เป็นการส่งเสริมการเรียนรูตลอดชีวิต
5.2 จดหมายอิเล็กทรอนิกส (Electronic Mail หรือ E-mail) เพื่อใชรับส่งข่าวสาร ข้อมูล รูปภาพ และส่งงานใหครูอาจารยตรวจ
5.3 การจัดทํา Website ของสถานศึกษา เพื่อการเผยแพรขาวสารของสถานศึกษา เป็นการประชาสัมพันธระหว่างสถานศึกษากับ ผู้ที่เกี่ยวของ และบุคคลทั่วไป
5.4 การใชโปรแกรม SPSS เพื่อการวิเคราะหข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชนต่อการทําวิจัยในชั้นเรียนของครูอาจารย การทําวิจัยสถานบันของฝ่ายบริหาร และอื่น ๆ
5.5 การทํา PowerPoint เพื่อใชในการเรียนการสอนของครูอาจารย และใชเสนอผลงานของ ผู้บริหารสถานศึกษา
5.6 คอมพิวเตอรช่วยสอน (Computer Assisted Instruction หรือ CAI) เพื่อช่วยใหผู้เรียนเรียนรูด้วยตนเองจากบทเรียนสําเร็จรูปในคอมพิวเตอร
5.7 การเรียนรูผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส (Electronic Learning) หรือที่เรียกกันว่า
E-Learning เป็นการเรียนทางไกลที่ผูเรียนสามารถโตตอบกับผู้สอนได โดยอาศัยเครือข่าย อินเตอร์เน็ต จึงช่วยใหเรียนรู้ไดโดยไม่มีข้อจํากัดของเวลา ระยะทาง และสถานที่ โดยผูเรียนจะสามารถเรียนรูไดตลอดเวลาจึงตอบสนองศักยภาพการเรียนรูของผู้เรียนไดเป็นอย่างดี
5.8 ห้องเรียนอัจฉริยะ (Electronic Classroom หรือ E-Classroom) เป็นการจัดระบบบริหารจัดการ
ห้องเรียน ที่ใชการเรียนการสอนแบบ on-line และ ปฏิสัมพันธ (interactive) สามารถควบคุมและและตรวจสอบกิจกรรมของนักเรียนไดโดยตรงจากเครื่องคอมพิวเตอรของครูแบบ real time
5.9 หนังสืออิเล็กทรอนิกส (E-book) และ หองสมุดอิเล็กทรอนิกส (E-Library) เพื่อเสริม การเรียนการสอน และใหบริการค้นคว้าหาความรูแกนักเรียน ครูอาจารย และประชาชน
5.10 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ “ICT” (Information and Communication Technologies) เพื่อพัฒนาการศึกษา ปัจจุบันประเทศไทยโดยกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายสําคัญที่จะนําเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช เพื่อพัฒนาการสื่อสารในทุกด้าน โดยเฉพาะการช่วยพัฒนาครูอาจารย การช่วยใหเด็กและเยาวชนไดเข้าถึงแหล่งความรูและไดเรียนอย่างทัดเทียมกัน ตลอดจนการพัฒนาระบบบริหารจัดการให้ ฉับไว มีประสิทธิภาพสูงสุด

ดังนั้น นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ก็เข้ามามีบทบาทมากขึ้น โนเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุคของการปฎิรูปการศึกษา ผู้บริหารการศึกษายุคใหมต่างก็นํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชประโยชนใน การบริหารจัดการศึกษา เพื่อใหประสบผลสําเร็จในการพัฒนาคุณภาพผูเรียนไดอย่างมีประสิทธิภาพสูง

www.paitoon-srifa.com/moodle

3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยี่สารสนเทศมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ เป็นอย่างมาก ตัวอย่างเช่น
1. การศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยในด้านการค้นคว้าศึกษาแหล่งข้อมูล ทำให้การศึกษาง่ายขึ้นและไร้ขีดจำกัด ผู้เรียนมีความสะดวกในการค้นคว้าวิจัย


2. การดำรงชีวิตประจำวัน ทำให้มีความสะดวกคล่องตัวและรวดเร็วในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน สามารถทำงานได้หลายอย่างในเวลาเดียวกันได้หรือทำงานใช้เวลาน้อยลง


3. การดำเนินธุรกิจ ทำให้มีการแข่งขันระหว่างธุรกิจมากขึ้น ทำให้ต้องมีการพัฒนาองค์กรเพื่อให้ทันกับข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเวลา
อันส่งผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง

4. อัตราการขยายตัวทุก ๆ ด้านที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะมีการติดต่อสื่อสารที่เจริญก้าวหน้าทันสมัย รวดเร็วถูกต้องและ ทำให้
เป็นโลกที่ไร้พรหรมแดน

5. ระบบการทำงานมีคอมพิวเตอร์มาใช้ซื่อสามารถทำงานได้มากขึ้น งานบางอย่างมนุษย์ทำไม่ได ้ก็ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยทำงานแทนซึ่งได้ผลถูกต้องรวดเร็ว

ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ต้องประกอบด้วย

//a.1asphost.com/chalin623/drinking48/information1/techno1_1.htm







โดย: นางสาวกฤตยา อินทร์กอ หมู่ 22 IP: 118.174.22.110 วันที่: 4 ตุลาคม 2552 เวลา:0:30:49 น.  

 
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
-บทบาทและความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการบริหารจัดการศึกษา

“ เทคโนโลยีสารสนเทศ ” (Information Technology) หรือเรียกกันย่อ ๆ ว่า“ IT ” หมายถึงเทคโนโลยีที่นํามาใชในการจัดเก็บขอมูล (Data) และประมวลผลขอมูลใหเกิดผลลัพธเปนสารสนเทศ (Information) เพื่อนําไปใชประโยชน

ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อมูลดิบที่เก็บรวบรวมมาจากที่ต่าง ๆ ซึ่งยังนําไปใชงานไมได
เช่น การสํารวจความคิดเห็น ความคิดเห็นที่ไดยังถือวาเปนขอมูลดิบ

สารสนเทศ (Information) หมายถึง ผลลัพธจากการประมวลผลขอมูลดิบซึ่งสามารถนําไปใชประโยชน เพื่อประกอบการทํางาน หรือเพิ่มประกอบการตัดสินใจของผูบริหาร เชน นําข้อมูล ความคิดเห็นแตละขอมาหาความถี่ เป็นค่าร้อยละเพื่อเปรียบเทียบดูว่า ข้อคิดเห็นขอใดมีผูเลือกมากนอย เป็นร้อยละเท่าไร ค่ารอยละดัง
กล่าว ก็จัดเป็นสารสนเทศ เป็นต้น

การจัดเก็บข้อมูลและการจัดการข้อมูล ต้องการความถูกตองและรวดเร็วสูง จึงจําเปนตองนําเทคโนโลยีคอมพิวเตอรเขามาช่วย และ เมื่อตองการใหผูที่อยูหางไกลกันสามารถใชประโยชนจากสารสนเทศดังกลาว ก็จําเปนตองนําเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมเขามาชวยอีกทางหนึ่งดวย
ในวงการบริหารงานตางๆ โดยเฉพาะในวงการบริหารงานธุรกิจ ซึ่งมีการแขงขันกันสูง ไดนําเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการบริหารกันเปนอันมากเพื่อใหการบริหารมีประสิทธิภาพสูง ประหยัดสุดและไดประสิทธิผลสูงสุด
ผู้บริหารยุคใหมทุกระดับจึงนํานวัตกรรมเทคโนโลยีมาใชกันอยางแพรหลาย เชน ผู้บริหารระดับสูงในองค์การ จะนําสารสนเทศที่แสดงภาพรวมของการดําเนินงาน ความสัมพันธระหวางองคการและสิ่งแวดลอม สรุปปญหาและแนวทางแก้ไข มาใชเพื่อประกอบการแก้ปญหา และการตัดสินใจกําหนดกลยุทธขององคการ สวนผูบริหารระดับกลางจะนําสารสนเทศ ที่ ประมวลงานประจําป มาใชจัดแผนงบประมาณ และกําหนดแผนการดําเนินงานของหนวยงาน สําหรับ ผู้บริหารงานระดับต้นจะใชเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยในการควบคุมการปฏิบัติงาน เป็นต้น
ปัจจุบันผูบริหารในการศึกษาไดนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชและมีบทบาทความสำคัญในการบริหารจัดการศึกษากันมากขึ้น อาทิ เชน

1. การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการตัดสินใจ การตัดสินใจที่ดีจะต้องรวดเร็วและไมผิดพลาด และการตัดสินใจที่รวดเร็วและไมผิดพลาดนั้นจําเป็น ต้องมี ข้อมูลสารสนเทศที่ เป็นปัจจุบันไมล้าสมัย มีจํานวนมากเพียงพอ และสามารถนํามาใชไดง่ายและรวดเร็ว ซึ่งเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยเรื่องนี้เป็นอย่างดี ระบบสารสนเทศที่ผูบริหารนํามาใชในการตัดสินใจมีดังนี้
1.1 ระบบสารสนเทศสําหรับผูบริหาร (Executive Systems) หรือ “EIS” ในบางครั้งอาจเรียกว่า “ระบบสนับสนุนผู้บริหาร” (Executive Support Systems) หรือ “ESS” ระบบ EISเป็นระบบที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นมาเพื่อจัดเตรียมสารสนเทศที่เหมาะสมในการตัดสินใจของผูบริหารระดับสูงช่วยให้ ผู้บริหารสามารถทําความเข้าใจ ปัญหาอย่างชัดเจน และสามารถตัดสินใจเลือกแนวทางแกปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
1.2 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support) หรือ DSS ระบบ DSS เป็นระบบที่ ออกแบบและพัฒนาขึ้นมาเพื่อใชสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง ระบบDSS จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจของผูบริหารแตจะไมทําการตัดสินใจแทนผู้บริหาร โดยประมวลผลและนําเสนอข้อมูล ที่สําคัญต่อการตัดสินใจ ตลอดจนประเมินทางเลือกที่เหมาะสมภายใตข้อจํากัดของแต่ละสถานการณ เพื่อใหผู้บริหารใช
สติปญญา เหตุผล ประสบการณ และความคิดสร้างสรรคของตนวิเคราะหและเปรียบเทียบทางเลือกใหสอดคล้องกับปัญหาหรือสถานการณนั้นๆ

2. การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการบริหารงานทางไกล มีการนําสื่อหลายๆอย่าง เช่น โทรศัพทมือถือ โทรสาร วิทยุ โทรทัศน คอมพิวเตอร และเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคม มาใชในการติดต่อการสื่อสารและการบริหารงานทางไกลไดสะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลาและค่าใช้จายเป็น อันมาก ถึงแมจะอยูไกลกันก็สามารถทํางานร่วมกัน ประชุมร่วมกันไดโดยใช Teleconference เป็นต้น

3. การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการบริหารสถานศึกษา ปัจจุบันสถานศึกษาหลายแห่ง พัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อใชในการบริหารงานด้านต่างๆ ทั้งการบริหารงานวิชาการ การบริหารกิจการนักเรียน การบริหารงานบุคลากร การบริหารงานธุรการ การเงิน พัสดุ ครุภัณฑ การบริหารงานอาคารสถานที่และการการบริหารงานชุมชน

4. การสร้างเครือข่ายข้อมูล (Network) ด้วยระบบสารสนเทศ เครือข่ายนี้จะช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยเป็นอันมาก ปัจจุบันมี โครงการเครือข่ายคอมพิวเตอรโรงเรียนมัธยม (Schoolnet) ซึ่งเป็นโครงการ
ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หนึ่งในหลายโครงการที่เกิดขึ้นตามพระราชดําริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี โดยศูนยเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกสคอมพิวเตอรแห่งชาติ ไดนําแนวพระราชดําริมาดําเนินการร่วมกับหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดกรมสามัญศึกษา(เดิม)

5. การนํานวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการจัดการศึกษา ในปัจจุบันผูบริหาร หน่วยงานทางการศึกษานํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการจัดการศึกษา เป็นประโยชนต่อการเรียนรูหลายอย่าง อาทิเช่น
5.1 อินเตอร์เน็ต (Internet) เพื่อใชในการศึกษาหาข้อมูล ข่าวสารทางวิชาการและอื่นๆ จากที่ต่าง ๆ เป็นการส่งเสริมการเรียนรูตลอดชีวิต
5.2 จดหมายอิเล็กทรอนิกส (Electronic Mail หรือ E-mail) เพื่อใชรับส่งข่าวสาร ข้อมูล รูปภาพ และส่งงานใหครูอาจารยตรวจ
5.3 การจัดทํา Website ของสถานศึกษา เพื่อการเผยแพรขาวสารของสถานศึกษา เป็นการประชาสัมพันธระหว่างสถานศึกษากับ ผู้ที่เกี่ยวของ และบุคคลทั่วไป
5.4 การใชโปรแกรม SPSS เพื่อการวิเคราะหข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชนต่อการทําวิจัยในชั้นเรียนของครูอาจารย การทําวิจัยสถานบันของฝ่ายบริหาร และอื่น ๆ
5.5 การทํา PowerPoint เพื่อใชในการเรียนการสอนของครูอาจารย และใชเสนอผลงานของ ผู้บริหารสถานศึกษา
5.6 คอมพิวเตอรช่วยสอน (Computer Assisted Instruction หรือ CAI) เพื่อช่วยใหผู้เรียนเรียนรูด้วยตนเองจากบทเรียนสําเร็จรูปในคอมพิวเตอร
5.7 การเรียนรูผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส (Electronic Learning) หรือที่เรียกกันว่า
E-Learning เป็นการเรียนทางไกลที่ผูเรียนสามารถโตตอบกับผู้สอนได โดยอาศัยเครือข่าย อินเตอร์เน็ต จึงช่วยใหเรียนรู้ไดโดยไม่มีข้อจํากัดของเวลา ระยะทาง และสถานที่ โดยผูเรียนจะสามารถเรียนรูไดตลอดเวลาจึงตอบสนองศักยภาพการเรียนรูของผู้เรียนไดเป็นอย่างดี
5.8 ห้องเรียนอัจฉริยะ (Electronic Classroom หรือ E-Classroom) เป็นการจัดระบบบริหารจัดการ
ห้องเรียน ที่ใชการเรียนการสอนแบบ on-line และ ปฏิสัมพันธ (interactive) สามารถควบคุมและและตรวจสอบกิจกรรมของนักเรียนไดโดยตรงจากเครื่องคอมพิวเตอรของครูแบบ real time
5.9 หนังสืออิเล็กทรอนิกส (E-book) และ หองสมุดอิเล็กทรอนิกส (E-Library) เพื่อเสริม การเรียนการสอน และใหบริการค้นคว้าหาความรูแกนักเรียน ครูอาจารย และประชาชน
5.10 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ “ICT” (Information and Communication Technologies) เพื่อพัฒนาการศึกษา ปัจจุบันประเทศไทยโดยกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายสําคัญที่จะนําเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช เพื่อพัฒนาการสื่อสารในทุกด้าน โดยเฉพาะการช่วยพัฒนาครูอาจารย การช่วยใหเด็กและเยาวชนไดเข้าถึงแหล่งความรูและไดเรียนอย่างทัดเทียมกัน ตลอดจนการพัฒนาระบบบริหารจัดการให้ ฉับไว มีประสิทธิภาพสูงสุด

ดังนั้น นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ก็เข้ามามีบทบาทมากขึ้น โนเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุคของการปฎิรูปการศึกษา ผู้บริหารการศึกษายุคใหมต่างก็นํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชประโยชนใน การบริหารจัดการศึกษา เพื่อใหประสบผลสําเร็จในการพัฒนาคุณภาพผูเรียนไดอย่างมีประสิทธิภาพสูง

www.paitoon-srifa.com/moodle

3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยี่สารสนเทศมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ เป็นอย่างมาก ตัวอย่างเช่น
1. การศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยในด้านการค้นคว้าศึกษาแหล่งข้อมูล ทำให้การศึกษาง่ายขึ้นและไร้ขีดจำกัด ผู้เรียนมีความสะดวกในการค้นคว้าวิจัย


2. การดำรงชีวิตประจำวัน ทำให้มีความสะดวกคล่องตัวและรวดเร็วในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน สามารถทำงานได้หลายอย่างในเวลาเดียวกันได้หรือทำงานใช้เวลาน้อยลง


3. การดำเนินธุรกิจ ทำให้มีการแข่งขันระหว่างธุรกิจมากขึ้น ทำให้ต้องมีการพัฒนาองค์กรเพื่อให้ทันกับข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเวลา
อันส่งผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง

4. อัตราการขยายตัวทุก ๆ ด้านที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะมีการติดต่อสื่อสารที่เจริญก้าวหน้าทันสมัย รวดเร็วถูกต้องและ ทำให้
เป็นโลกที่ไร้พรหรมแดน

5. ระบบการทำงานมีคอมพิวเตอร์มาใช้ซื่อสามารถทำงานได้มากขึ้น งานบางอย่างมนุษย์ทำไม่ได ้ก็ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยทำงานแทนซึ่งได้ผลถูกต้องรวดเร็ว

ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ต้องประกอบด้วย

//a.1asphost.com/chalin623/drinking48/information1/techno1_1.htm







โดย: นางสาวกฤตยา อินทร์กอ หมู่ 22 IP: 118.174.22.110 วันที่: 4 ตุลาคม 2552 เวลา:0:32:47 น.  

 
องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ มี 5 ประการคือ
1. Hardware
2. Software
3. People
4. Data/Information
5. Procedure

1. Hardware คือ ลักษณะทางกายภาพของคอมพิวเตอร์ คืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็น 5 ส่วน คือ
1.1 Input Unit หน่วยรับข้อมูล เช่น แป้นพิมพ์, เมาส์, ปากกาแสง, ไมโครโฟน, เครื่องสแกนเนอร์, เครื่องอ่านรหัสแท่ง ฯลฯ
1.2 CPU : Central Processing Unit ทำหน้าที่ประมวลผลหลังจากที่ได้รับข้อมูลแล้ว แบ่งเป็น 3 ส่วนหลักคือ
- หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic Logic Unit : ALU) มีหน้าที่ในการคำนวณและเปรียบเทียบตรรกะในการคำนวณ
- หน่วยควบคุม (Control Unit : CU) มีหน้าที่ควบคุมการรับ - ส่ง คำสั่งและข้อมูลเพื่อประสานงานกับหน่วยต่าง ๆ
- หน่วยความจำหลัก (Main Memory) มีหน้าที่จัดเตรียมที่พักในการเก็บข้อมูลแบบชั่วคราว มี 2 ชนิด คือ

ROM : Read Only Memory
หน่วยความจำหลักที่ไม่ลบเลือน (ไฟดับข้อมูลไม่หาย)

RAM : Random Access Memory
หน่วยความจำหลักแบบลบเลือน (ไฟดับ ข้อมูลหาย)

1.3 Output Unit หน่วยแสดงผล เช่น จอภาพ, อุปกรณ์ฉายแสง, ลำโพง, เครื่องพิมพ์
1.4 Secondary Storage หน่วยเก็บสำรองข้อมูล มี 2 แบบ คือ
- หน่วยความจำสำรองที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง (Direct Access Storage Devices) สามารถเข้าไปกระทำกับข้อมูลที่เก็บในอุปกรณ์ชนิดนั้นโดยตรง ได้แก่ จานแม่เหล็ก (Harddisk, Floppy disk), จานแสง (CD-ROM, DVD, WORM Disk, Rewriteable Optical Disk) , Flash Memory
- หน่วยความจำสำรองที่สามารถเข้าถึงข้อมูลแบบเรียงลำดับ (Sequential Access Storage Devices) เก็บข้อมูลแบบเรียงลำดับกันไปตั้งแต่แรกจนถึงตำแหน่งสุดท้าย ได้แก่ เทปแม่เหล็ก และ เทปรีล

2. Software หมายถึง ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่สั่งการให้คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ทำงานตามความต้องการ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
2.1 System Software ซอฟต์แวรระบบ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
2..1.1 Operating System: OS ซอฟต์แวรระบบปฏิบัติการทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่ต่อพ่วงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้แก่ UNIX, LINUK, MS-DOS, WINDOWS
2.1.2 Utilities Program โปรแกรมอรรถประโยชน์ ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งาน เช่น Disk Defragmenter, Disk Cleanup ,Backup
2.1.3 โปรแกรมแปลภาษา มี 3 ชนิด

- Assembler
แปลภาษาแอสแซมบลีซึ่งเป็นภาษาระดับต่ำให้เป็นภาษาเครื่อง
- Compiler
แปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง โดยใช้หลักการแปลทั้งโปรแกรม
- Interpreter
แปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง โดยใช้หลักการแปลทีละคำสั่ง

2.2 Application Software โปรแกรมประยุกต์หรือโปรแกรมสำเร็จรูป เช่น SPSS, Photoshop, Microsoft Office, PowerDVD, MSN ฯลฯ

3. People บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ได้แก่ ผู้บริหารงานคอมพิวเตอร์, นักออกแบบระบบ, นักวิเคราะห์ระบบ, นักเขียนโปรแกรม, นักบำรุงรักษาโปรแกรม, พนักงานคีย์ข้อมูล ฯลฯ

4. Data/Information ข้อมูลและสารสนเทศ

5. Procedure กระบวนการทำงาน เช่น วิธีการเปิด-ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์, วิธีการคัดลอกและวางข้อมูล , วิธีการจัดรูปแบบตัวอักษร ฯลฯ



โดย: ภรานุภาพ แสนทอง IP: 61.19.119.253 วันที่: 10 ตุลาคม 2552 เวลา:10:26:40 น.  

 
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย

การนํานวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการจัดการศึกษา ในปัจจุบันผูบริหาร หน่วยงานทางการศึกษานํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการจัดการศึกษา เป็นประโยชนต่อการเรียนรูหลายอย่าง อาทิเช่น
5.1 อินเตอร์เน็ต (Internet) เพื่อใชในการศึกษาหาข้อมูล ข่าวสารทางวิชาการและอื่นๆ จากที่ต่าง ๆ เป็นการส่งเสริมการเรียนรูตลอดชีวิต
5.2 จดหมายอิเล็กทรอนิกส (Electronic Mail หรือ E-mail) เพื่อใชรับส่งข่าวสาร ข้อมูล รูปภาพ และส่งงานใหครูอาจารยตรวจ
5.3 การจัดทํา Website ของสถานศึกษา เพื่อการเผยแพรขาวสารของสถานศึกษา เป็นการประชาสัมพันธระหว่างสถานศึกษากับ ผู้ที่เกี่ยวของ และบุคคลทั่วไป
5.4 การใชโปรแกรม SPSS เพื่อการวิเคราะหข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชนต่อการทําวิจัยในชั้นเรียนของครูอาจารย การทําวิจัยสถานบันของฝ่ายบริหาร และอื่น ๆ
5.5 การทํา PowerPoint เพื่อใชในการเรียนการสอนของครูอาจารย และใชเสนอผลงานของ ผู้บริหารสถานศึกษา
5.6 คอมพิวเตอรช่วยสอน (Computer Assisted Instruction หรือ CAI) เพื่อช่วยใหผู้เรียนเรียนรูด้วยตนเองจากบทเรียนสําเร็จรูปในคอมพิวเตอร
5.7 การเรียนรูผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส (Electronic Learning) หรือที่เรียกกันว่า
E-Learning เป็นการเรียนทางไกลที่ผูเรียนสามารถโตตอบกับผู้สอนได โดยอาศัยเครือข่าย อินเตอร์เน็ต จึงช่วยใหเรียนรู้ไดโดยไม่มีข้อจํากัดของเวลา ระยะทาง และสถานที่ โดยผูเรียนจะสามารถเรียนรูไดตลอดเวลาจึงตอบสนองศักยภาพการเรียนรูของผู้เรียนไดเป็นอย่างดี
5.8 ห้องเรียนอัจฉริยะ (Electronic Classroom หรือ E-Classroom) เป็นการจัดระบบบริหารจัดการ
ห้องเรียน ที่ใชการเรียนการสอนแบบ on-line และ ปฏิสัมพันธ (interactive) สามารถควบคุมและและตรวจสอบกิจกรรมของนักเรียนไดโดยตรงจากเครื่องคอมพิวเตอรของครูแบบ real time
5.9 หนังสืออิเล็กทรอนิกส (E-book) และ หองสมุดอิเล็กทรอนิกส (E-Library) เพื่อเสริม การเรียนการสอน และใหบริการค้นคว้าหาความรูแกนักเรียน ครูอาจารย และประชาชน
5.10 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ “ICT” (Information and Communication Technologies) เพื่อพัฒนาการศึกษา ปัจจุบันประเทศไทยโดยกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายสําคัญที่จะนําเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช เพื่อพัฒนาการสื่อสารในทุกด้าน โดยเฉพาะการช่วยพัฒนาครูอาจารย การช่วยใหเด็กและเยาวชนไดเข้าถึงแหล่งความรูและไดเรียนอย่างทัดเทียมกัน ตลอดจนการพัฒนาระบบบริหารจัดการให้ ฉับไว มีประสิทธิภาพสูงสุด

ดังนั้น นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ก็เข้ามามีบทบาทมากขึ้น โนเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุคของการปฎิรูปการศึกษา ผู้บริหารการศึกษายุคใหมต่างก็นํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชประโยชนใน การบริหารจัดการศึกษา เพื่อใหประสบผลสําเร็จในการพัฒนาคุณภาพผูเรียนไดอย่างมีประสิทธิภาพสูง

(ที่มา: //www.paitoon-srifa.com/moodle )

3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)


1. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
2. เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย
3. เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่จำเป็น สำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่าง ๆ
4. เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องกับคนทุกระดับ

ที่มา thaimisc.pukpik.com/freewebboard/php/vreply.php?user=smo_it










โดย: น.ส.นิชานัน กองหล้า รหัส52040263118 หมู่เรียนที่31 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกการอาหาร (พฤหัส บ่าย) IP: 172.29.5.133, 202.29.5.62 วันที่: 19 พฤศจิกายน 2552 เวลา:18:36:16 น.  

 
นส.เพ็ญนภา เจริญทรง
49240428132 ม.05
ส.13.00-16.00 น.

3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

ความสำคัญ

ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology หรือ IT) ได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว และมีบทบาทสำคัญในด้านต่างๆ อย่างกว้างขวาง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การบริการสังคม สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านการศึกษา ซึ่งการมีบทบาทสำคัญนี้อาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอทีนั้นเปรียบเหมือนเครื่องจักรที่สามารถรองรับข้อมูลข่าวสารมาทำการประมวลผล และการแสดงผลตามที่ต้องการได้รวดเร็ว โดยอาศัยองค์ประกอบอื่นๆ ช่วยในการจัดการ ได้แก่ โปรแกรมปฏิบัติการ โปรแกรมชุดคำสั่งต่างๆ และที่สำคัญคือ ผู้ที่จะตัดสินใจหรือสั่งการให้ทำงานได้ถูกต้องตามเป้าหมาย ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ใช้ ผู้บริหาร และผู้ชำนาญการ หรือนักเทคโนโลยีสารสนเทศโดยตรง









รัฐบาลไทยในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญ เล็งเห็นประโยชน์และคุณค่าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยใน พ.ศ. 2535 ได้แต่งตั้ง "คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ" ขึ้น โดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและให้มีรองนายกรัฐมนตรี ที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธาน มีคณะกรรมการประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง และผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาครัฐบาลและเอกชน และได้มอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการฯ มีหน้าที่เสนอแนะนโยบายและแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศต่อคณะรัฐมนตรี ทั้งในเรื่องการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างบรรยากาศ ให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการดำเนินงานด้านต่างๆ
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จัดทำแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานของรัฐ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการและการดำเนินการตามแผนดังกล่าวโดยแบ่งเป็น 4 ช่วงได้แก่

ช่วงที่ 1 : การมีการใช้คอมพิวเตอร์ในงานทั่วไป (พ.ศ. 2536-2538)
ช่วงที่ 2 : การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (พ.ศ. 2536-2539)
ช่วงที่ 3 : การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานด้านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (พ.ศ. 2537-2540)
ช่วงที่ 4 : การใช้คอมพิวเตอร์เต็มรูปแบบ (พ.ศ. 2540 เป็นต้นไป)

การดำเนินการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษานั้น ดำเนินการมาก่อนหน้านี้อีก คือเริ่มดันในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) ซึ่งในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งได้เห็นความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งในด้านการเรียนการสอนโดยมีหลักสูตรการศึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และวิชาการที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคม มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยการบริหารงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการลงทะเบียนนักศึกษา สำหรับกระทรวงศึกษาธิการนั้น ได้จัดตั้งศูนย์สารสนเทศขึ้นในปี พ.ศ. 2522 ในสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ทางด้านทบวงมหาวิทยาลัย ได้จัดประชุมระดับภูมิภาคอาเซียน เรื่องการศึกษาและระบบสารสนเทศภายใต้โครงการพัฒนาการศึกษาอาเซียนในเดือนพฤศจิกายน 2523 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการพัฒนาการสารสนเทศทางการศึกษาของประเทศ
พ.ศ. 2526 ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานและปฏิบัติการของระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา (ศ.ส.ษ.) ขึ้น โดยความเห็นชอบของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศให้ก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดให้มีข้อมูลและสารสนเทศที่มีคุณภาพทันสมัย และสอดคล้องกับความต้องการ และเพื่อเป็นศูนย์กลางในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสารสนเทศทางการศึกษาที่จำเป็นต่อการกำหนดนโยบายการวางแผนการศึกษาและการพัฒนาการศึกษาของประเทศ นอกจากนั้นยังมีหน้าที่กำหนดนิยามที่จำเป็นต้องใช้ในระบบสารสนเทศทางการศึกษา กำหนดมาตรฐานในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำแนกข้อมูลและจัดกระทำข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ ที่สามารถนำไปใช้ได้ตามความต้องการ รวมทั้งการกำหนดขอบข่ายการประสานงานของระบบสารสนเทศทางการศึกษา ตลอดจนส่งเสริมและเผยแพร่วิชาการ และการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศทางการศึกษาของประเทศ
ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) ได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งแก่เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาการศึกษาของชาติ ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 มีแผนงานหลักเพื่อพัฒนาการศึกษาอยู่ 9 แผนงานหลัก แผนงานหลักที่ 9 เป็นแผนเรื่องการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษา ในแผนงานหลักที่ 9 การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษานั้นได้มีแนวคิดว่า สำหรับ ระบบการศึกษาก็ได้ตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลและสารสนเทศเช่นเดียวกันโดย หน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้องได้สนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อการศึกษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การจัดเก็บ การให้บริการและแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศที่ใช้ในการกำหนดนโยบาย การวางแผนพัฒนาการศึกษา การบริหารการศึกษา และการจัดการศึกษาให้เป็นระบบ ที่มีรูปแบบและมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการเรียนการสอนทุกระดับการศึกษา
อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษาของหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง มีลักษณะเป็นไปอย่างอิสระทำให้ขาดความเป็นเอกภาพ ประกอบกับขาดความพร้อมทั้งด้านงบประมาณ บุคลากร และอุปกรณ์ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่อเชื่อมระบบซอฟแวร์ เป็นต้น ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ อันได้แก่ ปัญหาการผลิตข้อมูลปฐมภูมิที่มีข้อมูลไม่ครบถ้วนตามที่ผู้ต้องการใช้ ปัญหาการจัดเก็บข้อมูลทุติยภูมิ ปัญหาการประสานงานเครือข่าย รวมทั้งปัญหาการดำเนินงานสารสนเทศ ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ส่งผลไปถึงการจัดการศึกษาที่ต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินงาน
จากปัญหาข้างต้น จึงจำเป็นจะต้องพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา โดยมีพื้นฐานอยู่บนหลักการพัฒนาร่วมกันระหว่างหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถประสานการดำเนินงาน และการนำทรัพยากรมาใช้ในการบริหารการวางแผนการจัดการศึกษา และการฝึกอบรมร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติเป็นหน่วยประสานงานกลาง ในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา

ที่มา //learners.in.th/blog/mooddang/256435

3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)

1)ช่วยในการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น

2)ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลา และระยะทาง โดยการใช้ระบบโทรศัพท์ และอื่นๆ

ที่มา //61.19.218.122/jukkrit/IT_FOR_Lift/technology2.htm


โดย: นส.เพ็ญนภา เจริญทรง IP: 192.168.0.109, 180.183.67.230 วันที่: 6 ธันวาคม 2552 เวลา:14:07:54 น.  

 
แบบฝึกหัด
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ

การนํานวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการจัดการศึกษา ในปัจจุบันผูบริหาร หน่วยงานทางการศึกษานํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการจัดการศึกษา เป็นประโยชนต่อการเรียนรูหลายอย่าง อาทิเช่น
1 อินเตอร์เน็ต (Internet) เพื่อใชในการศึกษาหาข้อมูล ข่าวสารทางวิชาการและอื่นๆ จากที่ต่าง ๆ เป็นการส่งเสริมการเรียนรูตลอดชีวิต
2 จดหมายอิเล็กทรอนิกส (Electronic Mail หรือ E-mail) เพื่อใชรับส่งข่าวสาร ข้อมูล รูปภาพ และส่งงานใหครูอาจารยตรวจ
3 การจัดทํา Website ของสถานศึกษา เพื่อการเผยแพรขาวสารของสถานศึกษา เป็นการประชาสัมพันธระหว่างสถานศึกษากับ ผู้ที่เกี่ยวของ และบุคคลทั่วไป
4 การใชโปรแกรม SPSS เพื่อการวิเคราะหข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชนต่อการทําวิจัยในชั้นเรียนของครูอาจารย การทําวิจัยสถานบันของฝ่ายบริหาร และอื่น ๆ
5 การทํา PowerPoint เพื่อใชในการเรียนการสอนของครูอาจารย และใชเสนอผลงานของ ผู้บริหารสถานศึกษา
6 คอมพิวเตอรช่วยสอน (Computer Assisted Instruction หรือ CAI) เพื่อช่วยใหผู้เรียนเรียนรูด้วยตนเองจากบทเรียนสําเร็จรูปในคอมพิวเตอร
7 การเรียนรูผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส (Electronic Learning) หรือที่เรียกกันว่า
E-Learning เป็นการเรียนทางไกลที่ผูเรียนสามารถโตตอบกับผู้สอนได โดยอาศัยเครือข่าย อินเตอร์เน็ต จึงช่วยใหเรียนรู้ไดโดยไม่มีข้อจํากัดของเวลา ระยะทาง และสถานที่ โดยผูเรียนจะสามารถเรียนรูไดตลอดเวลาจึงตอบสนองศักยภาพการเรียนรูของผู้เรียนไดเป็นอย่างดี
8 ห้องเรียนอัจฉริยะ (Electronic Classroom หรือ E-Classroom) เป็นการจัดระบบบริหารจัดการ
ห้องเรียน ที่ใชการเรียนการสอนแบบ on-line และ ปฏิสัมพันธ (interactive) สามารถควบคุมและและตรวจสอบกิจกรรมของนักเรียนไดโดยตรงจากเครื่องคอมพิวเตอรของครูแบบ real time
9 หนังสืออิเล็กทรอนิกส (E-book) และ หองสมุดอิเล็กทรอนิกส (E-Library) เพื่อเสริม การเรียนการสอน และใหบริการค้นคว้าหาความรูแกนักเรียน ครูอาจารย และประชาชน
10 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ “ICT” (Information and Communication Technologies) เพื่อพัฒนาการศึกษา ปัจจุบันประเทศไทยโดยกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายสําคัญที่จะนําเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช เพื่อพัฒนาการสื่อสารในทุกด้าน โดยเฉพาะการช่วยพัฒนาครูอาจารย การช่วยใหเด็กและเยาวชนไดเข้าถึงแหล่งความรูและไดเรียนอย่างทัดเทียมกัน ตลอดจนการพัฒนาระบบบริหารจัดการให้ ฉับไว มีประสิทธิภาพสูงสุด

ดังนั้น นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ก็เข้ามามีบทบาทมากขึ้น โนเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุคของการปฎิรูปการศึกษา ผู้บริหารการศึกษายุคใหมต่างก็นํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชประโยชนใน การบริหารจัดการศึกษา เพื่อใหประสบผลสําเร็จในการพัฒนาคุณภาพผูเรียนไดอย่างมีประสิทธิภาพสูง


3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)
ตอบ

1. การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการตัดสินใจ การตัดสินใจที่ดีจะต้องรวดเร็วและไมผิดพลาด และการตัดสินใจที่รวดเร็วและไมผิดพลาดนั้นจําเป็น ต้องมี ข้อมูลสารสนเทศที่ เป็นปัจจุบันไมล้าสมัย มีจํานวนมากเพียงพอ และสามารถนํามาใชไดง่ายและรวดเร็ว ซึ่งเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยเรื่องนี้เป็นอย่างดี ระบบสารสนเทศที่ผูบริหารนํามาใชในการตัดสินใจมีดังนี้
1.1 ระบบสารสนเทศสําหรับผูบริหาร (Executive Systems) หรือ “EIS” ในบางครั้งอาจเรียกว่า “ระบบสนับสนุนผู้บริหาร” (Executive Support Systems) หรือ “ESS” ระบบ EISเป็นระบบที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นมาเพื่อจัดเตรียมสารสนเทศที่เหมาะสมในการตัดสินใจของผูบริหารระดับสูงช่วยให้ ผู้บริหารสามารถทําความเข้าใจ ปัญหาอย่างชัดเจน และสามารถตัดสินใจเลือกแนวทางแกปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
1.2 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support) หรือ DSS ระบบ DSS เป็นระบบที่ ออกแบบและพัฒนาขึ้นมาเพื่อใชสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง ระบบDSS จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจของผูบริหารแตจะไมทําการตัดสินใจแทนผู้บริหาร โดยประมวลผลและนําเสนอข้อมูล ที่สําคัญต่อการตัดสินใจ ตลอดจนประเมินทางเลือกที่เหมาะสมภายใตข้อจํากัดของแต่ละสถานการณ เพื่อใหผู้บริหารใช
สติปญญา เหตุผล ประสบการณ และความคิดสร้างสรรคของตนวิเคราะหและเปรียบเทียบทางเลือกใหสอดคล้องกับปัญหาหรือสถานการณนั้นๆ

2. การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการบริหารงานทางไกล มีการนําสื่อหลายๆอย่าง เช่น โทรศัพทมือถือ โทรสาร วิทยุ โทรทัศน คอมพิวเตอร และเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคม มาใชในการติดต่อการสื่อสารและการบริหารงานทางไกลไดสะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลาและค่าใช้จายเป็น อันมาก ถึงแมจะอยูไกลกันก็สามารถทํางานร่วมกัน ประชุมร่วมกันไดโดยใช Teleconference เป็นต้น




โดย: นายธีรยุทธ วันทอง คบ.ภาษาอักฤษ รหัส 52100102145 หมู่ 08 พฤหัสเช้า IP: 202.29.5.240 วันที่: 26 ธันวาคม 2552 เวลา:16:41:07 น.  

 
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา
เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาประกอบด้วย
1. เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้ปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มีระบบมัลติมีเดีย (Multimedia)* ระบบวิดีโออนนดีมานด์ (Video on Demand) วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ (Video Teleconference) และอินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น ระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้
2. เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษาในการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการดำเนินการ การติดตามและประเมินผลคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในเรื่องนี้
3. เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคลเกือบทุกวงการ ทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เขียน ผู้เรียนกับผู้เรียน เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสาร และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร เทเลคอนเฟอเรนส์ และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น


3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)

ตอบ
1.ประยุกต์ใช้ในงานสาธารณสุขและการแพทย์
เทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการนำมาใช้ในการพัฒนา ด้านสาธารณสุขอย่างกว้างขวาง และทำให้งานด้าน สาธารณสุขเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้ปรับระบบการบริหารงาน และนำเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ในงานต่างๆ ดังนี้
- ด้านการลงทะเบียนผู้ป่วย ตั้งแต่เริ่มทำบัตร จ่ายยา เก็บเงิน
- การสนับสนุนการรักษาพยาบาล โดยการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาล ต่างๆ เข้าด้วยกัน สามารถสร้างเครือข่ายข้อมูลทางการแพทย์ แลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้ป่วย
- สามารถให้คำปรึกษาทางไกล โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชำนาญ เทคโนโลยีสารสนเทศ จะช่วยให้แพทย์สามารถเห็นหน้า หรือท่าทางของผู้ป่วยได้ ช่วยให้ส่งข้อมูลที่เป็นเอกสาร หรือภาพเพื่อประกอบการพิจารณาของแพทย์ได้
- เทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยในการ ให้ความรู้แก่ประชาชนของแพทย์ หรือหน่วยงานสาธารณสุขต่างๆ เป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว ได้ผลขึ้น โดยสามารถใช้สื่อต่างๆ เช่นภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวมีเสียงและอื่นๆ เป็นต้น
- เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยให้ผู้บริหารสามารถกำหนดนโยบาย และติดตามกำกับการดำเนินงานตามนโยบายได้ดียิ่งขึ้น โดยอาศัยข้อมูลที่ถูกต้องฉับไว และข้อมูลที่จำป็น ทั้งนี้อาจใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวเก็บข้อมูลต่างๆ ทำให้การบริหารเป็นไปได้ด้วยความรวดเร็ว ถูกต้องมากยิ่งขึ้น
- ในด้านการให้ความรู้หรือการเรียน การสอนทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะดาวเทียม จะช่วยให้การเรียนการสอนทางไกล ทางด้านการแพทย์และสาธารณะสุข เป็นไปได้มากขึ้นประชาชนสามารถเรียนรู้พร้อมกันได้ทั่วประเทศและ ยังสามารถโต้ตอบหรือถามคำถามได้ด้วย

2.ประยุกต์ใช้ในงานด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม
เทคโนโลยีของการสื่อสารและโทรคมนาคมในปัจจุบันก้าวไกลไปมาก มีบริการมากมายที่ทันสมัยและตอบรับกับการนำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจ ตัวอย่างการใช้โทรศัพท์ในปัจจุบันนี้ก็มิไดมีไว้เพียงสำหรับคุยสนทนาเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แต่มันสามารถช่วยงานได้มากขึ้น โดยอ้างอิงข้อมูลและการเปิดให้บริการของบริษัท มีติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียมทั้งภาพและเสียง มีโทรศัพท์มือถือรุ่นต่าง ๆ ออกมามากมาย พัฒนาทั้งหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน เช่นเทเลคอม เอเชีย คอร์ปอร์เรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้วางแผนการก่อสร้าง และติดตั้งขยายบริการโทรศัพท์พื้นฐาน 2.6 ล้านเลขหมาย ครอบคลุมพื้นที่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล รวมถึงการซ่อมบำรุงรักษาเป็นระยะเวลา 25 ปี และเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการในปัจจุบัน


โดย: **** นายสุรศักดิ์ พฤคณา 52100102101 คบ.อังกฤษ หมุ่8 พฤหัสบดี เช้า IP: 61.19.118.250 วันที่: 26 ธันวาคม 2552 เวลา:18:36:33 น.  

 
แบบฝึกหัด
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ

การนํานวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการจัดการศึกษา ในปัจจุบันผูบริหาร หน่วยงานทางการศึกษานํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการจัดการศึกษา เป็นประโยชนต่อการเรียนรูหลายอย่าง อาทิเช่น
1 อินเตอร์เน็ต (Internet) เพื่อใชในการศึกษาหาข้อมูล ข่าวสารทางวิชาการและอื่นๆ จากที่ต่าง ๆ เป็นการส่งเสริมการเรียนรูตลอดชีวิต
2 จดหมายอิเล็กทรอนิกส (Electronic Mail หรือ E-mail) เพื่อใชรับส่งข่าวสาร ข้อมูล รูปภาพ และส่งงานใหครูอาจารยตรวจ
3 การจัดทํา Website ของสถานศึกษา เพื่อการเผยแพรขาวสารของสถานศึกษา เป็นการประชาสัมพันธระหว่างสถานศึกษากับ ผู้ที่เกี่ยวของ และบุคคลทั่วไป
4 การใชโปรแกรม SPSS เพื่อการวิเคราะหข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชนต่อการทําวิจัยในชั้นเรียนของครูอาจารย การทําวิจัยสถานบันของฝ่ายบริหาร และอื่น ๆ
5 การทํา PowerPoint เพื่อใชในการเรียนการสอนของครูอาจารย และใชเสนอผลงานของ ผู้บริหารสถานศึกษา
6 คอมพิวเตอรช่วยสอน (Computer Assisted Instruction หรือ CAI) เพื่อช่วยใหผู้เรียนเรียนรูด้วยตนเองจากบทเรียนสําเร็จรูปในคอมพิวเตอร
7 การเรียนรูผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส (Electronic Learning) หรือที่เรียกกันว่า
E-Learning เป็นการเรียนทางไกลที่ผูเรียนสามารถโตตอบกับผู้สอนได โดยอาศัยเครือข่าย อินเตอร์เน็ต จึงช่วยใหเรียนรู้ไดโดยไม่มีข้อจํากัดของเวลา ระยะทาง และสถานที่ โดยผูเรียนจะสามารถเรียนรูไดตลอดเวลาจึงตอบสนองศักยภาพการเรียนรูของผู้เรียนไดเป็นอย่างดี
8 ห้องเรียนอัจฉริยะ (Electronic Classroom หรือ E-Classroom) เป็นการจัดระบบบริหารจัดการ
ห้องเรียน ที่ใชการเรียนการสอนแบบ on-line และ ปฏิสัมพันธ (interactive) สามารถควบคุมและและตรวจสอบกิจกรรมของนักเรียนไดโดยตรงจากเครื่องคอมพิวเตอรของครูแบบ real time
9 หนังสืออิเล็กทรอนิกส (E-book) และ หองสมุดอิเล็กทรอนิกส (E-Library) เพื่อเสริม การเรียนการสอน และใหบริการค้นคว้าหาความรูแกนักเรียน ครูอาจารย และประชาชน
10 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ “ICT” (Information and Communication Technologies) เพื่อพัฒนาการศึกษา ปัจจุบันประเทศไทยโดยกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายสําคัญที่จะนําเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช เพื่อพัฒนาการสื่อสารในทุกด้าน โดยเฉพาะการช่วยพัฒนาครูอาจารย การช่วยใหเด็กและเยาวชนไดเข้าถึงแหล่งความรูและไดเรียนอย่างทัดเทียมกัน ตลอดจนการพัฒนาระบบบริหารจัดการให้ ฉับไว มีประสิทธิภาพสูงสุด

ดังนั้น นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ก็เข้ามามีบทบาทมากขึ้น โนเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุคของการปฎิรูปการศึกษา ผู้บริหารการศึกษายุคใหมต่างก็นํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชประโยชนใน การบริหารจัดการศึกษา เพื่อใหประสบผลสําเร็จในการพัฒนาคุณภาพผูเรียนไดอย่างมีประสิทธิภาพสูง


3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)
ตอบ

1. การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการตัดสินใจ การตัดสินใจที่ดีจะต้องรวดเร็วและไมผิดพลาด และการตัดสินใจที่รวดเร็วและไมผิดพลาดนั้นจําเป็น ต้องมี ข้อมูลสารสนเทศที่ เป็นปัจจุบันไมล้าสมัย มีจํานวนมากเพียงพอ และสามารถนํามาใชไดง่ายและรวดเร็ว ซึ่งเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยเรื่องนี้เป็นอย่างดี ระบบสารสนเทศที่ผูบริหารนํามาใชในการตัดสินใจมีดังนี้
1.1 ระบบสารสนเทศสําหรับผูบริหาร (Executive Systems) หรือ “EIS” ในบางครั้งอาจเรียกว่า “ระบบสนับสนุนผู้บริหาร” (Executive Support Systems) หรือ “ESS” ระบบ EISเป็นระบบที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นมาเพื่อจัดเตรียมสารสนเทศที่เหมาะสมในการตัดสินใจของผูบริหารระดับสูงช่วยให้ ผู้บริหารสามารถทําความเข้าใจ ปัญหาอย่างชัดเจน และสามารถตัดสินใจเลือกแนวทางแกปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
1.2 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support) หรือ DSS ระบบ DSS เป็นระบบที่ ออกแบบและพัฒนาขึ้นมาเพื่อใชสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง ระบบDSS จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจของผูบริหารแตจะไมทําการตัดสินใจแทนผู้บริหาร โดยประมวลผลและนําเสนอข้อมูล ที่สําคัญต่อการตัดสินใจ ตลอดจนประเมินทางเลือกที่เหมาะสมภายใตข้อจํากัดของแต่ละสถานการณ เพื่อใหผู้บริหารใช
สติปญญา เหตุผล ประสบการณ และความคิดสร้างสรรคของตนวิเคราะหและเปรียบเทียบทางเลือกใหสอดคล้องกับปัญหาหรือสถานการณนั้นๆ

2. การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการบริหารงานทางไกล มีการนําสื่อหลายๆอย่าง เช่น โทรศัพทมือถือ โทรสาร วิทยุ โทรทัศน คอมพิวเตอร และเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคม มาใชในการติดต่อการสื่อสารและการบริหารงานทางไกลไดสะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลาและค่าใช้จายเป็น อันมาก ถึงแมจะอยูไกลกันก็สามารถทํางานร่วมกัน ประชุมร่วมกันไดโดยใช Teleconference เป็นต้น


โดย: นายวัชระ ทาสะโก 52100102105 คบ.ภาษาอังกฤษ หมู่ 8 พฤหัสบดี เช้า IP: 1.1.1.81, 202.29.5.243 วันที่: 27 ธันวาคม 2552 เวลา:20:32:19 น.  

 
3.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย

ตอบ

เทคโนโลยีสารสนเทศ ” (Information Technology) หรือเรียกกันย่อ ๆ ว่า“ IT ” หมายถึงเทคโนโลยีที่นํามาใชในการจัดเก็บขอมูล (Data) และประมวลผลขอมูลใหเกิดผลลัพธเปนสารสนเทศ (Information) เพื่อนําไปใชประโยชน

ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อมูลดิบที่เก็บรวบรวมมาจากที่ต่าง ๆ ซึ่งยังนําไปใชงานไมได
เช่น การสํารวจความคิดเห็น ความคิดเห็นที่ไดยังถือวาเปนขอมูลดิบ

สารสนเทศ (Information) หมายถึง ผลลัพธจากการประมวลผลขอมูลดิบซึ่งสามารถนําไปใชประโยชน เพื่อประกอบการทํางาน หรือเพิ่มประกอบการตัดสินใจของผูบริหาร เชน นําข้อมูล ความคิดเห็นแตละขอมาหาความถี่ เป็นค่าร้อยละเพื่อเปรียบเทียบดูว่า ข้อคิดเห็นขอใดมีผูเลือกมากนอย เป็นร้อยละเท่าไร ค่ารอยละดัง
กล่าว ก็จัดเป็นสารสนเทศ เป็นต้น

การจัดเก็บข้อมูลและการจัดการข้อมูล ต้องการความถูกตองและรวดเร็วสูง จึงจําเปนตองนําเทคโนโลยีคอมพิวเตอรเขามาช่วย และ เมื่อตองการใหผูที่อยูหางไกลกันสามารถใชประโยชนจากสารสนเทศดังกลาว ก็จําเปนตองนําเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมเขามาชวยอีกทางหนึ่งดวย
ในวงการบริหารงานตางๆ โดยเฉพาะในวงการบริหารงานธุรกิจ ซึ่งมีการแขงขันกันสูง ไดนําเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการบริหารกันเปนอันมากเพื่อใหการบริหารมีประสิทธิภาพสูง ประหยัดสุดและไดประสิทธิผลสูงสุด
ผู้บริหารยุคใหมทุกระดับจึงนํานวัตกรรมเทคโนโลยีมาใชกันอยางแพรหลาย เชน ผู้บริหารระดับสูงในองค์การ จะนําสารสนเทศที่แสดงภาพรวมของการดําเนินงาน ความสัมพันธระหวางองคการและสิ่งแวดลอม สรุปปญหาและแนวทางแก้ไข มาใชเพื่อประกอบการแก้ปญหา และการตัดสินใจกําหนดกลยุทธขององคการ สวนผูบริหารระดับกลางจะนําสารสนเทศ ที่ ประมวลงานประจําป มาใชจัดแผนงบประมาณ และกําหนดแผนการดําเนินงานของหนวยงาน สําหรับ ผู้บริหารงานระดับต้นจะใชเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยในการควบคุมการปฏิบัติงาน เป็นต้น
ปัจจุบันผูบริหารในการศึกษาไดนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชและมีบทบาทความสำคัญในการบริหารจัดการศึกษากันมากขึ้น อาทิ เชน

1. การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการตัดสินใจ การตัดสินใจที่ดีจะต้องรวดเร็วและไมผิดพลาด และการตัดสินใจที่รวดเร็วและไมผิดพลาดนั้นจําเป็น ต้องมี ข้อมูลสารสนเทศที่ เป็นปัจจุบันไมล้าสมัย มีจํานวนมากเพียงพอ และสามารถนํามาใชไดง่ายและรวดเร็ว ซึ่งเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยเรื่องนี้เป็นอย่างดี ระบบสารสนเทศที่ผูบริหารนํามาใชในการตัดสินใจมีดังนี้
1.1 ระบบสารสนเทศสําหรับผูบริหาร (Executive Systems) หรือ “EIS” ในบางครั้งอาจเรียกว่า “ระบบสนับสนุนผู้บริหาร” (Executive Support Systems) หรือ “ESS” ระบบ EISเป็นระบบที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นมาเพื่อจัดเตรียมสารสนเทศที่เหมาะสมในการตัดสินใจของผูบริหารระดับสูงช่วยให้ ผู้บริหารสามารถทําความเข้าใจ ปัญหาอย่างชัดเจน และสามารถตัดสินใจเลือกแนวทางแกปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
1.2 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support) หรือ DSS ระบบ DSS เป็นระบบที่ ออกแบบและพัฒนาขึ้นมาเพื่อใชสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง ระบบDSS จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจของผูบริหารแตจะไมทําการตัดสินใจแทนผู้บริหาร โดยประมวลผลและนําเสนอข้อมูล ที่สําคัญต่อการตัดสินใจ ตลอดจนประเมินทางเลือกที่เหมาะสมภายใตข้อจํากัดของแต่ละสถานการณ เพื่อใหผู้บริหารใช
สติปญญา เหตุผล ประสบการณ และความคิดสร้างสรรคของตนวิเคราะหและเปรียบเทียบทางเลือกใหสอดคล้องกับปัญหาหรือสถานการณนั้นๆ

2. การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการบริหารงานทางไกล มีการนําสื่อหลายๆอย่าง เช่น โทรศัพทมือถือ โทรสาร วิทยุ โทรทัศน คอมพิวเตอร และเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคม มาใชในการติดต่อการสื่อสารและการบริหารงานทางไกลไดสะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลาและค่าใช้จายเป็น อันมาก ถึงแมจะอยูไกลกันก็สามารถทํางานร่วมกัน ประชุมร่วมกันไดโดยใช Teleconference เป็นต้น

3. การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการบริหารสถานศึกษา ปัจจุบันสถานศึกษาหลายแห่ง พัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อใชในการบริหารงานด้านต่างๆ ทั้งการบริหารงานวิชาการ การบริหารกิจการนักเรียน การบริหารงานบุคลากร การบริหารงานธุรการ การเงิน พัสดุ ครุภัณฑ การบริหารงานอาคารสถานที่และการการบริหารงานชุมชน

4. การสร้างเครือข่ายข้อมูล (Network) ด้วยระบบสารสนเทศ เครือข่ายนี้จะช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยเป็นอันมาก ปัจจุบันมี โครงการเครือข่ายคอมพิวเตอรโรงเรียนมัธยม (Schoolnet) ซึ่งเป็นโครงการ
ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หนึ่งในหลายโครงการที่เกิดขึ้นตามพระราชดําริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี โดยศูนยเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกสคอมพิวเตอรแห่งชาติ ไดนําแนวพระราชดําริมาดําเนินการร่วมกับหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดกรมสามัญศึกษา(เดิม)

5. การนํานวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการจัดการศึกษา ในปัจจุบันผูบริหาร หน่วยงานทางการศึกษานํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการจัดการศึกษา เป็นประโยชนต่อการเรียนรูหลายอย่าง อาทิเช่น
5.1 อินเตอร์เน็ต (Internet) เพื่อใชในการศึกษาหาข้อมูล ข่าวสารทางวิชาการและอื่นๆ จากที่ต่าง ๆ เป็นการส่งเสริมการเรียนรูตลอดชีวิต
5.2 จดหมายอิเล็กทรอนิกส (Electronic Mail หรือ E-mail) เพื่อใชรับส่งข่าวสาร ข้อมูล รูปภาพ และส่งงานใหครูอาจารยตรวจ
5.3 การจัดทํา Website ของสถานศึกษา เพื่อการเผยแพรขาวสารของสถานศึกษา เป็นการประชาสัมพันธระหว่างสถานศึกษากับ ผู้ที่เกี่ยวของ และบุคคลทั่วไป
5.4 การใชโปรแกรม SPSS เพื่อการวิเคราะหข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชนต่อการทําวิจัยในชั้นเรียนของครูอาจารย การทําวิจัยสถานบันของฝ่ายบริหาร และอื่น ๆ
5.5 การทํา PowerPoint เพื่อใชในการเรียนการสอนของครูอาจารย และใชเสนอผลงานของ ผู้บริหารสถานศึกษา
5.6 คอมพิวเตอรช่วยสอน (Computer Assisted Instruction หรือ CAI) เพื่อช่วยใหผู้เรียนเรียนรูด้วยตนเองจากบทเรียนสําเร็จรูปในคอมพิวเตอร
5.7 การเรียนรูผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส (Electronic Learning) หรือที่เรียกกันว่า
E-Learning เป็นการเรียนทางไกลที่ผูเรียนสามารถโตตอบกับผู้สอนได โดยอาศัยเครือข่าย อินเตอร์เน็ต จึงช่วยใหเรียนรู้ไดโดยไม่มีข้อจํากัดของเวลา ระยะทาง และสถานที่ โดยผูเรียนจะสามารถเรียนรูไดตลอดเวลาจึงตอบสนองศักยภาพการเรียนรูของผู้เรียนไดเป็นอย่างดี
5.8 ห้องเรียนอัจฉริยะ (Electronic Classroom หรือ E-Classroom) เป็นการจัดระบบบริหารจัดการ
ห้องเรียน ที่ใชการเรียนการสอนแบบ on-line และ ปฏิสัมพันธ (interactive) สามารถควบคุมและและตรวจสอบกิจกรรมของนักเรียนไดโดยตรงจากเครื่องคอมพิวเตอรของครูแบบ real time
5.9 หนังสืออิเล็กทรอนิกส (E-book) และ หองสมุดอิเล็กทรอนิกส (E-Library) เพื่อเสริม การเรียนการสอน และใหบริการค้นคว้าหาความรูแกนักเรียน ครูอาจารย และประชาชน
5.10 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ “ICT” (Information and Communication Technologies) เพื่อพัฒนาการศึกษา ปัจจุบันประเทศไทยโดยกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายสําคัญที่จะนําเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช เพื่อพัฒนาการสื่อสารในทุกด้าน โดยเฉพาะการช่วยพัฒนาครูอาจารย การช่วยใหเด็กและเยาวชนไดเข้าถึงแหล่งความรูและไดเรียนอย่างทัดเทียมกัน ตลอดจนการพัฒนาระบบบริหารจัดการให้ ฉับไว มีประสิทธิภาพสูงสุด

ดังนั้น นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ก็เข้ามามีบทบาทมากขึ้น โนเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุคของการปฎิรูปการศึกษา ผู้บริหารการศึกษายุคใหมต่างก็นํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชประโยชนใน การบริหารจัดการศึกษา เพื่อใหประสบผลสําเร็จในการพัฒนาคุณภาพผูเรียนไดอย่างมีประสิทธิภาพสูง




3.2. ยกตัวอย่างความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ คนละ 2 ด้าน (ห้ามซ้ำกัน)

ตอบ

-ด้านความมั่นคงของชาติ
-ด้านลิขสิทธ์การถ่ายทอดสดหรือสื่อบันเทิงต่างๆ





โดย: นาย นุกุลกิจ ลีทุม 52100102146 คบ.อังกฤษ หมู่ที่ 8 พฤหัสบดี เช้า IP: 172.29.5.133, 202.29.5.244 วันที่: 17 มกราคม 2553 เวลา:14:49:03 น.  

 
ดี................................................แต่ยาวเกินไป


โดย: ทอม IP: 182.93.186.89 วันที่: 5 กันยายน 2554 เวลา:12:03:32 น.  

 
กาก


โดย: ก IP: 125.25.74.178 วันที่: 19 พฤษภาคม 2556 เวลา:17:01:45 น.  

 
space herbal incense [url= https://forums.dieviete.lv/profils/127605/forum/ ] https://forums.dieviete.lv/profils/127605/forum/ [/url] impotence herbal remedies


โดย: BrandonLah IP: 51.210.176.129 วันที่: 3 เมษายน 2567 เวลา:11:15:43 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 
 

neaup
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 35 คน [?]




มาเรียนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้กันนะคะ
[Add neaup's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com