All Blog
อ่านจดหมายเปิดผนึกโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ผู้ช่วยตามหาความยุติธรรมให้คนเสือแดง
ความ 2 มาตรฐานในความยุติธรรมของบ้านเมือง ที่กลไกทางความยุติธรรม เป็นที่ปรากฏจนคนทั่วไปรู้สึกได้ว่า การปฏิบัติต่อพวกหนึ่งที่เป็นพวกของตัวนั้นทำยังไงก็ยังช่วยเหลือกันแบบชัดๆ ช่วยเหลือกันอย่างไม่อับอายหน้าด้านๆ ที่ไม่อับอายทั้งคนในประเทศ และคนนอกประเทศ

ฝ่ายที่กุมอำนาจตลอดจนผู้อยู่เบื้องหลังผู้กุมอำนาจ ที่ไม่มีความอับอายอะไรอีกแล้วขอให้ฉันทำเพื่อพวกฉันคนของฉัน ไม่แคร์ต่อสายตาของชาวโลกใดๆทั้งสิ้น

เมื่อความเป็นธรรมในประเทศหาไม่ได้ แต่ในโลกนี้ยังพอจะหาได้ ซึ่งอย่างน้อยก็เป็นการประกาศให้ชาวโลกได้รู้ถึงความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นเมืองไทย


กลุ่มคนเสื้อแดง จึงต้องพึ่งคนที่จะช่วยหาความยุติธรรมในโลกนี้

โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม คนที่เสื้อแดงมีความหวัง


อ่านจดหมายเปิดผนึกของโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัมที่มีถึงคนเสื้อแดง

เรียน สหายที่รักทุกท่าน

ตั้งแต่การแถลงข่าวของผมที่ประเทศญี่ปุ่น
ได้มีการถกเถียงอภิปรายคำร้องศาลอาญาระหว่างประเทศเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง
หลายคนกล่าวหาว่า เหตุผลที่ผมยื่นคำร้องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ
เพราะผมจงใจทำลายประเทศไทย บ้างก็หาว่าผมต้องการเอาใจนายจ้าง
หรือไม่ก็หาว่าผมเห็นแก่เงิน

ผมยื่นคำร้องดังกล่าวด้วยเหตุผลหลายประการ
ประการแรก คือ ผมเป็นคนหนึ่งที่อยู่ในเหตุการณ์น่าสะพรึงกลัวที่เกิดขึ้น
ในกรุงเทพเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา จึงตั้งใจที่จะบันทึกเหตุการณ์นองเลือดดังกล่าว
โดยผมเชื่อว่าในหลายปีที่ผ่านมาการบันทึกรายละเอียดของความอยุติธรรม
จะช่วยหยุดยั้งความอยุติธรรมในที่สุด ในการทำงานของผมในรัสเซีย
ผมต้องสูญเสียกลุ่มเพื่อนและทนดูคนทำผิดลอยนวล
ซึ่งในความจริงแล้ว มันยากสำหรับผมที่จะมองดูคนทำผิดลอยนวล
เมื่อก่อน ผมเข้าใจว่าการยื่นคำร้องนี้เป็นเรื่องยากมาก
เพราะศาลอาญาระหว่างประเทศมักเลือกรับคดีที่มีคนตายเป็นจำนวนหลายล้านคน

แต่หลังจากที่ศาลอาญาระหว่างประเทศตัดสินใจรับคดีของเคนย่า
เมื่อเดือนมีนาคมที่แล้ว ทำให้เราพอมีหวัง

เพราะคดีของเคนย่าไม่ใช่เหตุการณ์สงคราม
แต่เป็นเรื่องความวุ่นวายที่เกิดจากความรุนแรงหลังการเลือกตั้ง
มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 1200 ราย
และระยะเวลาของเหตุการณ์กินเวลานานเป็นอาทิตย์ไม่ใช่เป็นเดือน
และผู้พิพากษาที่ตัดสินคดีนี้ยังได้เดินทางเยือนมากรุงเทพเมื่อไม่นานมานี้ด้วย

กรณีของเคนย่าทำให้คำร้องของเรามีโอกาสในระดับหนึ่ง
แต่ข้อเท็จจริงคือประเทศไทยไม่ได้ลงนามในศาลอาญาระหว่างประเทศ
ตอนที่ผมคุยกับกลุ่มคนไทยและมีคนหนึ่งถามผมว่าจะช่วยอะไรมากไหม
หากนายมาร์คเป็นคนอังกฤษ ปัจจุบันประเด็นดังกล่าวกลายเป็นประเด็นที่ทุกคนพูดถึง
ณ วันนี้ นายมาร์ค อภิสิทธิ์ล้มเหลวที่จะแสดงเอกสารว่าเขาได้สละสัญชาติอังกฤษแล้ว
เป็นการย้ำว่าประเด็นที่นายมาร์คเป็นและยังคงถือสัญชาติอังกฤษอยู่นั้นเป็นเรื่องจริ​ง
ดังนั้นเขาจึงตกอยู่ในเขตอำนาจพิจารณาของศาลอาญาระหว่างประเทศ

อย่างไรก็ตาม แม้เราจะยกเรื่องเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ
และประเด็นการรับพิจารณาคดีเหตุการณ์ในประเทศไทย
แต่โอกาสที่ศาลอาญาระหว่างประเทศจะรับพิจารณาคดียังคงมีน้อย
แต่หาก หากศาลไม่รับฟ้อง เราสามารถแสดงหลักฐานเพิ่มเติม
และยื่นคำร้องได้ใหม่ได้อีกครั้ง และนั้นเป็นสิ่งที่เราจะทำอย่างแน่นอน

ไม่ว่าศาลอาญาระหว่างประเทศจะรับหรือไม่รับพิจารณาคดีก็ตาม
เราจะเดินหน้าหาหนทางจะทำให้ประเพณีการละเว้นโทษสิ้นสุดลง
เพื่อนำความเป็นมาให้แก่เหยื่อความรุนแรงของรัฐ ประเทศไทยจะสงบสุขได้
ก็ต่อเมื่อเมื่อเกิดหลักนิติรัฐ ไม่ว่าวิธีการที่จะได้มา
ซึ่งหลักนิติรัฐจะยากและเจ็บปวดแค่ไหนก็ตาม
เพราะหากมีการละเว้นโทษแก่เจ้าหน้ารัฐ
ในนามของการ “ปรองดองสมานฉันท์” และ “การให้อภัย” แล้ว
ย่อมเป็นเครื่องยืนยันโศกนาถกรรมแบบเดิมจะเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า
ความสงบสุขและความสมานฉันท์ในประเทศไทยจะเกิดขึ้นได้
ก็ต่อเมื่อมีการพูดความจริงเท่านั้น

ประการที่สองคือ ผมเป็นตัวแทนของแกนนำเสื้อแดงทั้ง 19คน
ที่ถูกคุมขังในข้อหาก่อการร้ายในขณะนี้
พวกเขาเป็นผู้บริสุทธิ์และไม่ได้กระทำกระทำผิดตามข้อกล่าวที่ไร้สาระดังกล่าว
พวกเขาถูกลิดรอนสิทธิในการพิจารณาคดีในศาล
และเพื่อที่จะรักษาชีวิตของพวกเขา
จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะบันทึกว่าใครคือผู้ก่อการร้ายที่แท้จริง
ผู้ก่อการร้ายที่แท้จริงคือบุคคลที่สั่งฆ่าพลเรือนอย่างเลือดเย็น
และเรารู้ว่าพวกเขาเป็นใครและอยู่ที่ไหน

ประการที่สามคือ เราจัดทำเวปไซต์ว่าด้วยเรื่องความรับผิด
//www.thaiaccountability.org/
ทั้งนี้เพื่อจะย้ำให้เห็นถึงประเพณีการละเว้นโทษ
ไม่นานมานี้ ผมเดินทางไปยังกรุงเจนีวาเพื่อเป็นที่ปรึกษากฎหมาย
เกี่ยวกับคดีที่ดร.วิบูลย์ แช่มชื้นยื่นต่อสหพันธ์รัฐสภาสากล (Inter-Parliamentary Union)
ดร.วิบูลย์ทำงานอย่างดีในการนำเสนอให้เห็นถึงการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ในการลิดรอนสิทธิทางการเมืองของนักการเมืองทั้ง 215 คน เป็นเวลา 5ปี
และการสั่งยุบพรรคการด้วยการใช้หลักความรับผิดร่วมตามมาตรา 237
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยปี 2550
ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยรัฐบาลทหาร
ผมรู้สึกยินดีที่จะประกาศว่า ในวันศุกร์ที่ผ่านมา
รัฐบาลไทยได้รับแจ้งจากสหพันธ์รัฐสภาสากลว่า
ทางสหพันธ์รัฐสภาสากลจะเข้ามาสอบสวนกรณีที่ดร.วิบูลย์ได้ร้องเรียนไป

ประการที่สี่ ในอาทิตย์นี้ เราจะเริ่มดำเนินการขับพรรคประชาธิปัตย์
ออกจากสหพันธรัฐพรรคการเมืองเสรีนิยม
ไม่ใช่เพียงแค่เพราะพรรคประชาธิปัตย์สั่งปิดเวปไซต์
หรือผลักเรือของผู้ลี้ภัยโรฮิงย่าออกไปยังน่านน้ำสากล
แต่ยังเป็นเพราะพวกเขาพยายามปกปิดอาชญากรรมต่อมนุษยชาติอีกด้วย
การกระทำเหล่านี้ถือเป็นการต่อต้านคนไทยหรือไม่
คำตอบคือไม่ใช่
แต่เป็นการกระทำที่ต่อต้านนายมาร์ค ประยุทธ์ และประเพณีการละเว้นโทษ
ผู้นำทางการเมืองทุกคนต่อสู้เพื่อให้คงประเพณีนี้
โดยใช้กระแสชาตินิยมเป็นเครื่องมือ ยุทธศาสตร์นี้
ถือเป็นยุทธศาสตร์ที่รู้จักกันทั่วไป มีชื่อว่ายุทธศาสตร์ห่อหุ้มตนเองด้วยธงชาติ
หรือบางประเทศใช้สงครามเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากปัญหาทางการเมืองที่แท้จริง
ดูตัวอย่างจากภาพยนตร์ที่ชื่อว่า wag the dog ซึ่งนำแสดงโดยดัสติน ฮอฟแมน
ผมเชื่อว่าเราน่าจะส่งวิดีโอการปะทะที่ชายแดนเมื่อสัปดาห์ที่แล้วไปให้เขาดู
ส่วนเรื่องการโจมตีผมด้วยเรื่องส่วนตัวนั้น เป็นเรื่องจริง
เพราะผมได้รับค่าจ้างจากการทำงานนี้
คำถามคือ จำเป็นไหมที่ผมจะต้องหาเงินจากการทำงานให้คนเสื้อแดงและทักษิณ
ด้วยความเคารพ ผมเลือกงานนี้เพราะนอกจากจะได้รับเงินค่าจ้างแล้ว
ผมยังเชื่อในอุดมการณ์ของคนเสื้อแดง นายมาร์ครู้ดีว่าเงินไม่ใช่สิ่งจูงใจผม
เพราะผมทำงานให้กับดร.ฉีซูนจวน ผู้นำพรรคประชาธิปไตยในสิงคโปร์
พรรคการเมืองน้องของพรรคนายมาร์คเป็นเวลา 5ปี ผมทำงานนี้เพื่อประชาธิปไตย
และไม่ได้รับค่าจ้างใดๆ นายมาร์คและหนังสือพิมพ์บางกอกโพสรู้ดี
แต่พวกเขาเลือกที่จะเพิกเฉยกับข้อมูลนี้ เพราะพวกเขามุ่งที่จะโจมตีผมด้วยเรื่องส่วนตัว
และเลี่ยงที่จะกล่าวถึงเนื้อหางานที่ผมทำในนามของพวกท่าน
เพราะพวกเขาไม่สามารถโจมตีเนื้อหางานผมได้ เป็นเวลาหลายเดือน
ที่เราจัดทำเอกสารหลายร้อยหน้า
และรวบรวมหลักฐานที่ต่อต้านการกระทำของรัฐบาลในสมุดปกขาว
คำร้องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศสองฉบับ คำร้องต่อสหพันธ์รัฐสภาสากล
คำร้องต่อสหพันธรัฐพรรคการเมืองเสรีนิยม และบทความหลายบทความในบล็อกของเรา
จนถึงทุกวันนี้
รัฐบาลหรือกลุ่มอำมาตย์ล้มเหลวที่จะโต้แย้งข้อเท็จจริงที่อยู่ในเอกสารเหล่านี้

เมื่อไม่นานมานี้
มีการพูดคุยถึงเรื่องการปฏิรูปและ “ปรองดองสมานฉันท์” บ่อยครั้งในประเทศไทย
ในฐานะนักกฎหมายที่มีประสบการณ์ในหลายประเทศที่ระบบนิติรัฐอ่อนแอ
ผมขอเสนอแนะแนวทางการปฏิรูปที่อาจช่วยนำพาประเทศไทยไปสู่ความสงบสุข
และความเป็นประชาธิปไตยอย่างยั่งยืน

สิ่งสำคัญอย่างแรกที่จะสร้างความ“ปรองดองสมานฉันท์” คือ
อำนาจของพลเรือนต้องเข้มแข็งเหนืออำนาจของกลุ่มทหารและอำมาตย์
โดยการปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้

ก) กองกำลังติดอาวุธต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของพลเรือน
ข) เสริมสร้างและพัฒนาประชาธิปไตย และสถาบันของรัฐ และ
ค) ขยายช่องทางในการมีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตย

รัฐธรรมนูญในประเทศไทยทุกฉบับให้อำนาจสูงสุดแก่ประชาชน
แต่ในทางปฎิบัติแทบจะไม่เคยเกิดขึ้นเลย
อำนาจสูงสดจะเป็นของประชาชนอย่างแท้จริงเมื่อ

ก) ปฏิรูปหรือปรับปรุงให้องค์กรรัฐบาลทั้งสามองค์กรมีความทันสมัย
ข) องค์ดังกล่าวมีความเป็นอิสระและแยกออกจากกัน และ
ค) ปลดอำนาจและอิทธิพลของกองทัพ ข้าราชการ
และผลประโยชน์ทางการเงินออกจากองค์กรทั้งสาม

องค์กรของรัฐทั้งสามต้องทำหน้าที่เพื่อจะการันตีว่า
ประชาชนไทยจะมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี มีเสรีภาพ ได้รับความเป็นธรรม มีความปลอดภัย
และมีสิทธิในการพัฒนาความเป็นปัจเจกชนของพวกเขา
และแนวความคิดนี้จะเกิดขึ้นได้
ก็ต่อเมื่อจะต้องมีการยกเลิกหลักการปกป้องอำนาจและอภิสิทธิ์ของคนกลุ่มน้อย

ประการแรก อำนาจในการตรากฎหมายจะต้องเป็นของรัฐสภา
และสภาทั้งสองจะต้องประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง
จากประชาชนทุกที่และเป็นการลงคะแนนเลือกตั้งลับ
รัฐสภาต้องนำเสนอความต้องการที่หลากหลายในสังคมไทย
อาทิ ความต้องการจะต้องมีสอดคล้อง ไม่ใช่มาจากความรู้สึกจอมปลอมของ
คำว่า “ความเป็นหนึ่งเดียว” ที่ถูกบังคับใช้จากเบื้องบน
แต่ควรจะมาจากการแข่งขันทางความหลากหลาย การถกเถียงที่มีเนื้อหาโครงสร้าง
และการประนีประนอม

ประการที่สอง หนึ่งในความอ่อนแอของโครงสร้างหลักของรัฐไทยคือ
ความผิดพลาดและการเลือกปฏิบัติของกระบวนการยุติธรรม
การปฏิบัติที่โบราณคร่ำครึ
กระบวนการพิจารณาคดีที่ล่าช้า ขาดความทันสมัยในการบริหารจัดการสำนักงาน
และไม่มีการตรวจสอบการโกงกิน
และความไร้ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
นอกจากนี้ องค์กรยังเต็มไปด้วยการแทรกแซงทางการเมือง
ความสองมาตรฐานในการดำเนินคดี รวมถึงคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญ
การปฏิรูปและปรับปรุงองค์กรยุติธรรมให้ทันสมัย
ควรจะเริ่มจากการหยุดยั้งการปกปิดประเพณีการละเว้นโทษ
และการโกงกินอย่างเป็นระบบ รวมถึง
การันตีความยติธรรมธรรมและเท่าเทียมภายใต้กฎหมาย

ประการที่สาม ฝ่ายบริหารต้องนิยามคำว่า “ความมั่นคง ใหม่”
กองทัพควรมีหน้าที่ปกป้องภัยอันตรายจากภายนอกเท่านั้น
ส่วนหน้าที่ในการป้องกันภัยต่อพลเรือนและความมั่นคงภายใน
ควรเป็นเรื่องของตำรวจ ความมั่นคงของประชาชนและรัฐไม่อาจเกิดขึ้นได้
จากการลิดรอนสิทธิทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของพลเรือน
ความไม่เท่าเทียมทางสังคมและเศรษฐกิจ ความยากจน
การเลือกปฏิบัติทางการเมืองและสังคม
และการโกงกินต่างหากที่เป็นปัจจัยเสี่ยงและภัยโดยตรงต่อระบอบประชาธิปไตย
ความสงบสุขทางสังคม และหลักการประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ

การที่จะการันตีประชาชนว่าจะมีความปลอดภัยทางเศรษฐกิจสังคม
และส่งเสริมศักยภาพชุมนุมและปัจเจกชน
ประเทศไทยตรากฎหมายสิทธิทางสังคมและวัฒนธรรม
– เช่น สิทธิที่จะได้รับการศึกษา
สิทธิในการมีที่อยู่อาศัย
สิทธิในการรักษาพยาบาล
สิทธิในการได้รับค่าจ้างอย่างเป็นธรรมในการทำงานอย่างเป็นธรรม
สิทธิในการได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรม
สิทธิในการพักผ่อนหย่อนใจ
สิทธิในการสร้างและเข้าร่วมสหภาพแรงงาน
และสิทธิที่จะได้รับความมั่นคงในชีวิตเมื่อว่างงาน เจ็บป่วย พิการ เป็นหม้าย ชราภาพ
หรือไม่สามารถดำเนินชีวิตได้ปกติในสถานการณ์ที่เขาไม่สามารถควบคุมได้
ตามคำประการสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
ระบุว่า“มารดาและเด็ก” จะต้องได้รับความดูแลเป็นพิเศษ
สตรีจะต้องได้รับสิทธิที่หลากหลายในการมีบุตร

รัฐบาลจะต้องทำทุกอย่างภายใต้อำนาจที่ตนมีเพื่อจะการันตีประสิทธิภาพของสิทธิเหล่านี​้
และสมาชิกทุกคนในสังคมให้มีสิทธิเท่าเทียม
ไม่ว่าจะเขาจะมีเพศ เชื้อชาติ หรือภาษาวัฒนธรรมใดก็ตาม
สรุปคือ จะต้องมีการก่อตั้งรัฐสวัสดิการเพื่อเอื้อให้ประชาชนไทย
ได้มีสิทธิทางสังคมและเศรษฐกิจ
โดยใช้รายได้จากการเก็บภาษีก้าวหน้า ซึ่งคนรวยต้องจ่ายมากที่สุด

ในกรณีของของความมั่นคงส่วนรวม
จะต้องมีการสร้างความสมดุลระหว่างสิทธิส่วนรวม
เพื่อสร้างความมั่นคงต่อสิทธิพลเรือนและสิทธิทางการเมืองของพลเรือน
กล่าวคือพรบ. ความมั่นคงภายใน ปี 2551จะต้องถูกยกเลิกและร่างใหม่
ต้องมีกาปฎิรูปพรบ.ฉุกเฉินปี 2548 อย่างครอบคลุม
ตามหลักสนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเรือนและสิทธิทางการเมือง
ซึ่งจำกัดการลิดรอนสิทธิตามรัฐธรรมนูญต่อเมื่อมีภัยคุกคามชีวิตของประชาชนส่วนรวมเท่​านั้น
จะต้องมีการร่างข้อกำหนดใหม่เพื่อไม่ให้กองทัพมีโอกาสใช้ปืนยิงประชาชนอีก
และต้องมีการปรับปรุงสำนักงานตำรวจให้ทันสมัย
และเป็นกองกำลังมืออาชีพ มีการฝึกอย่างเหมาะสมในการควบคุมฝูงชน
โดยมีมาตรฐานทางสิทธิมนุษยชน
และได้รับการเคารพจากประชาชนที่พวกเขามีหน้าที่ “ปกป้องและรับใช้”

การสร้างความเข้มแข็งให้กับอำนาจพลเรือนนั้น
จะต้องมีการเพิ่มความสามารถของพลเรือนในการมีส่วนร่วมทางสังคม
โดยเพิ่มโอกาสการมีส่วนร่วมของพลเรือน
และสร้างความสามารถในการมีส่วนร่วมตามระบอบประชาธิปไตย
ไม่ว่าเขาจะมาจากพื้นฐานทางเศรษฐกิจ หรือสถานะทางสังคมแบบไหนก็ตาม

การให้ประชาชนไทยได้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่
และได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างทั่วถึงทุกมุมเกี่ยวกับสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม
เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ และยังต้องมีการยกเลิกการจำกัดเสรีภาพในการพูดที่มีอยู่ตอนนี้ทั้งหมด

นอกจากนี้การปฏิรูปที่เน้นย้ำให้ประชาชนมีส่วนร่วม
ต้องมีการปฏิรูประบบการศึกษาอย่างครอบคลุม อาทิ
เป้าหมายแรกไม่ควรจะเน้นแนวคิดความเป็นหนึ่งเดียว
แต่ควรจะเน้นการพัฒนาความสามารถ ความเป็นปัจเจกชน
และความมีประสิทธิภาพทางการเมืองของพลเรือน

การทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น จะต้องมีการปฏิรูปโดยการกระจายอำนาจรัฐ
เพื่อที่ทำให้อำนาจรัฐสร้างประโยชน์แก่ประชาชนให้มากที่สุด
และสิ่งนี้จะช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและประชาชนให้ดีขึ้น
ไม่เพียงแต่องค์กรรัฐในระดับจังหวัดและเทศมนมนตรีเท่านั้นที่ควรจะมีอำนาจอย่างเต็มท​ี่
แต่ผู้ว่าราชการจังหวัดไม่ควรจะถูกแต่งตั้งจากกระทรวงกลาโหมอีกต่อไป
แต่ควรจะมาจาการเลือกตั้งโดยประชาชนที่พวกเขาต้องรับใช้

ท้ายที่สุดแล้ว ความสงบสุขที่ถาวรเกิดจากรากฐานของความยุติธรรม—
“การรับผิดและความยุติธรรม จะเพื่อปกป้องและป้องกันสิทธิ และหยุดยั้ง
และเตรียมพร้อมไม่ให้เกิดการกระทำผิดอีก” องค์กรสหประชาชาติกล่าวไว้ในหลักปฏิบัติว่า
ด้วยการละเว้นโทษ และนอกจาจะจัดตั้งสิทธิในการรับรู้ส่วนบุคคล ของสังคม
และ สิทธิในการรู้ข้อมูลของผู้ถูกกระทำแล้ว ยังพูดมีการถึงเรื่อง
สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรม ซึ่งรัฐจะต้องการันตีว่า
“บุคคลที่มีส่วนรับผิดในอาชญากรรมรุนแรงภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ
จะถูกดำเนินคดี พิจารณาคดี และลงโทษ”

ประเทศไทยไม่ต่างจากประเทศอื่นๆ
การจัดการกับอดีตและการดำเนินการให้เกิดความเป็นธรรมต่อเหยื่อการทำร้ายอย่างเป็นระบ​บ
เป็นพื้นฐานเดียวจะจะสร้างอนาคตที่เจริญรุ่งเรืองและสงบสุขให้กับสังคม
ควรจะมีการตั้ง “คณะกรรมมาการค้นหาความจริงและปรองดองสมานฉันท์” อย่างแท้จริง
เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการสมานฉันท์ปรองดอง โดยอาจใช้รูปแบบของประเทศแอฟริกาใต้
จุดมุ่งหมายของคณะกรรมการไม่ควรจะตรวจสอบแต่เหตุการณ์ความรุนแรงล่าสุด
แต่ควรตรวจสอบเหตุการณ์ฆ่าหมู่ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ในปี 2516 1519 และ 2535 ด้วย

เราไม่ควรปล่อยให้พวกอำมาตย์ลอยนวลจากอาชญากรรมสังหารประชาชนอีกครั้ง
เราต้องช่วยกันหยุดยั้งประเพณีการละเว้นโทษ
เราจะต้องไม่ให้ประยุทธ์และกองทัพควบคุมอนาคตประเทศไทย
อนาคตอยู่ในกำมือของพวกท่าน

ผมอยากกล่าวอีกครั้งว่า ผมรู้สึกเป็นเกียรติมากแค่ไหนทีได้เป็นตัวแทนเสื้อแดง
ผมรู้สึกท่วมท้นในศรัทธาที่พวกคุณมีต่อหลักนิติรัฐที่จะช่วยปรับปรุงระบบกฎหมาย
ความจริงใจของพวกคุณที่ต้องการจะสร้างความปรองดองและเป็นธรรม
มันช่างต่างจากการที่กองทัพและรัฐบาลพยายามจะทำลายการเคลื่อนไหวนี้
และกำจัดแกนนำของพวกท่านโดยกล่าวหาว่าเป็นการกระทำที่รุนแรงของผู้ก่อการร้าย

มุมมองที่สำคัญของคำร้องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศคือ
มันเป็นสิ่งที่พิสูจน์ว่าเราหยิบยกแผนการของรัฐบาลอัปยศ
ที่ต้องการลอบสังหารแกนนำของพวกท่าน
และพยายามปกปิดหลักฐานเพื่อไม่ให้อภิสิทธิ์และกองทัพต้องรับผิดขึ้นมาพดถึง
และวิธีการหนึ่งที่จะโจมตีประเพณีการละเว้นโทษคือ
การรณรงค์เขียนจดหมายถึงสถานทูตสหรัฐว่า “We Count TOO”
เพราะรัฐบาลสหรัฐไม่สามารถสนับสนุนผู้ชุมนุมที่จัตุรัสทาฮีร์
แต่ยังคงสนับสนุนรัฐบาลทหารฆาตกรในไทยได้

//robertamsterdam.com/thai/?p=703


//www.internetfreedom.us/thread-13211.html




Create Date : 13 กุมภาพันธ์ 2554
Last Update : 13 กุมภาพันธ์ 2554 19:46:37 น.
Counter : 386 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

50youngnum
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



  •  Bloggang.com