จิตคือธาตุรู้ หรือวิญญาณธาตุ ไม่ใช่วิญญาณขันธ์

♥ จิตคือธาตุรู้ หรือวิญญาณธาตุ ไม่ใช่วิญญาณขันธ์

หลักธรรมในพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธองค์ทรงสอนนั้น
ไม่มีอะไรที่นอกเหนือไปจาก "จิต" กับ "อารมณ์" สองอย่างนี้เท่านั้น

จิต คือ ผู้รู้อารมณ์ คือ ธาตุรู้ คือ วิญญาณธาตุ (ไม่ใช่วิญญาณขันธ์)
อารมณ์ คือ สิ่งที่ถูกจิตรู้ เกิดจากธาตุ ๔ (ดิน น้ำ ลม ไฟ)

อารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส ธัมมารมณ์ แบ่งเป็น ๒ ชั้น
-อารมณ์ชั้นนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส
-อารมณ์ชั้นใน คือ ธัมมารมณ์

จิต เข้ามาอาศัยใน รูปร่างกาย (รูปขันธ์)

รูปขันธ์ มีช่องทางรับอารมณ์ ๕ ช่อง คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย
รับอารมณ์ชั้นนอก (รูป เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส) เป็นคู่เรียงตามลำดับ
ทำให้เกิดอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์ขึ้น คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

และเกิดอารมณ์ชั้นใน (ธัมมารมณ์) จากอดีตอารมณ์ คือ สัญญา ความจำได้หมายรู้
ซึ่งก็ทำให้เกิดอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์ คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เช่นกัน
ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเกิดขึ้นที่จิตตลอดเวลาทีละอารมณ์ ตลอดชีวิต

เวทนาขันธ์ พอใจ ไม่พอใจ เฉยๆ ต่ออารมณ์
สัญญาขันธ์ จดจำอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
สังขารขันธ์ นึกคิดถึงอารมณ์ คิดดี คิดไม่ดี คิดไม่ใช่ดีไม่ใช่ชั่ว
วิญญาณขันธ์ การรับรู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

วิญญาณขันธ์ แบ่งเป็น ๖ ชนิด ตามช่องทางที่อารมณ์เข้ามา คือ
วิญญาณทางตา วิญญาณทางหู วิญญาณทางจมูก
วิญญาณทางลิ้น วิญญาณทางกาย วิญญาณทางใจ

วิญญาณขันธ์ แบ่งเป็น ๒ ชนิด อาศัยกับไม่อาศัยทวารทั้ง ๕ คือ
-สสังขาริกวิญญาณ การรับรู้อารมณ์ (รูป เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส) ของจิต
โดยอาศัยทวารทั้ง ๕ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย) ได้แก่ วิญญาณทางตา หู จมูก ลิ้น กาย
-อสังขาริกวิญญาณ การรับรู้อารมณ์ (ธัมมารมณ์) ของจิต
โดยมิต้องอาศัยทวารทั้ง ๕ (ใจ) ได้แก่ วิญญาณทางใจ

สรุปลงเป็น ขันธ์ ๕ คือ รูปขันธ์ ๑ (รูป) นามขันธ์ ๔ (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)
หรือเรียกว่า อารมณ์ และ อาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์
เกิดขึ้นที่จิต และดับไปจากจิต ตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน

เหตุเพราะจิตมีธรรมชาติตกไปในอารมณ์ และปรุงแต่งไปตามอารมณ์ดังกล่าวข้างต้น
ทำให้เกิด ขันธ์ ๕ ขึ้นที่จิต เกิดๆ ดับๆ ตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน ตลอดชีวิต

พระพุทธองค์จึงทรงสอนให้ปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘
ให้จิตมีสติระลึกรู้อยู่ที่ฐานที่ตั้งสติอย่างต่อเนื่อง(สติปัฏฐาน ๔)


อารมณ์ใดๆ (รูป เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส ธัมมารมณ์)
ก็จะไม่สามารถแทรกเข้ามาที่จิตได้

เมื่ออารมณ์แทรกเข้ามาไม่ได้
ก็ไม่เกิดอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)ตามมา

จิตก็อยู่ส่วนจิต อารมณ์ก็อยู่ส่วนอารมณ์
ถึงอารมณ์ใดๆ จะไม่เที่ยง จะเกิดขึ้น ตั้งอยู่ หรือดับไป
อารมณ์นั้นก็สักแต่เป็นอารมณ์ แต่ไม่ใช่อารมณ์ของจิตดวงนี้ของผู้ปฏิบัติ


ยินดีในธรรมทุกๆท่านครับ







Create Date : 09 กันยายน 2553
Last Update : 9 กันยายน 2553 9:05:40 น. 5 comments
Counter : 2753 Pageviews.  

 
แวะมาทักทายค่ะ


โดย: ปลาน้ำใส วันที่: 9 กันยายน 2553 เวลา:10:33:23 น.  

 
สวัสดีครับ
................
เข้าอ่านสารธรรมตอนเที่ยงๆครับ


โดย: panwat วันที่: 9 กันยายน 2553 เวลา:12:44:22 น.  

 
ทักทาย...สวัสดีหลังเลิกงานครับ

รูปสวย น่ารัก glitter emoticon //www.yenta4.com


โดย: panwat วันที่: 9 กันยายน 2553 เวลา:17:30:42 น.  

 
สวัสดีค่ะแวะมาทักทายค่ะเมื่อวานตอนเย็นได้ฝึกจิตด้วยค่ะรู้สึกดีมากๆๆค่ะ


โดย: ปลาน้ำใส วันที่: 10 กันยายน 2553 เวลา:10:41:00 น.  

 


*~*~*~*..แวะมาทักทายจ๊ะ..ขอให้มีความสุข สดใส..หัวใจเบิกบาน..*~*~*~*

..HappY BrightDaY..


โดย: *~ต้นกล้า...ของหัวใจ~* วันที่: 16 กันยายน 2553 เวลา:18:45:00 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หนูเล็กนิดเดียว
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




พระพุทธศาสนา
มีหลักการที่ตั้งอยู่บนเหตุ-ผล

อริยสัจ ๔
ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค


เหตุ-จิตชอบแส่ส่ายออกไปหาเรื่อง
(สมุทัย)
ผล-ทุกข์โหมกระหน่ำทับถมจิตใจ
(ทุกข์)

เหตุ-ปฏิบัติสัมมาสมาธิตามหลักมรรค ๘
ให้จิตระลึกรู้อยู่ที่ฐานที่ตั้งสติ
ไม่แส่ส่ายออกไปหาเรื่อง

(มรรค)
ผล-จิตสงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหว
ทุกข์ไม่โหมกระหน่ำทับถมจิตใจ

(นิโรธ)

เหตุ-รู้อยู่ที่เรื่อง (สมุทัย)
ผล-เป็นทุกข์ (ทุกข์)

เหตุ-รู้อยู่ที่รู้ (มรรค)
ผล-ไม่ทุกข์ (นิโรธ)



ธรรมบรรยาย โดย อ.ไชยทรง จันทรอารีย์


[Add หนูเล็กนิดเดียว's blog to your web]