ลิขิตฟ้า หรือ จะสู้มานะคน

chon_pro
Location :
สมุทรปราการ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 12 คน [?]




ผมแค่อยากเขียน บันทึกเกี่ยวกับข้อมูลการทำงานของผมต่างๆ เพื่อเก็บเอาไว้ใช้ดูเวลาที่ผมหลงลืม และเพื่อเป็นประโยชน์ กับน้องๆๆๆ ทั้งหลาย
loaocat

Stat Counter :
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add chon_pro's blog to your web]
Links
 

 

ตารางการผลิตหลัก Master Production Schedule ( MPS )

ตารางการผลิตหลัก Master Production Schedule ( MPS )


เป็นตารางซึ่งกำหนดเฉพาะว่าอะไรควรทำ และควรทำเมื่อไร หมายถึง รายการแสดงปริมาณและเวลาของความต้องการสินค้าสำเร็จรูป ดังนั้นตารางการผลิตหลักจึงเป็นแผนกำหนดระยะเวลาซึ่เป็นคุณสมบัติเฉพาะของสินค้าและปริมาณการผลิตแต่ละประเภท

ตารางการผลิตหลัก MPS เป็นตารางที่กำหนดปริมาณและรูปแบบของสินค้าว่าจะผลิตด้วยวิธีการแบบใดเมื่อไร และที่ไหน จำนวนที่จะทำการผลิตวันต่อไป สัปดาห์ต่อไป หรือเดือนต่อไป ตลอดจนปริมาณแรงงานและสินค้าคงเหลือที่จะต้องใช้ ตารางการผลิตหลัก MPS จะต้องสอดคล้องกับแผนการผลิต โดยแผนการผลิตจะเป็นตัวกำหนดปริมาณปัจจัยนำออก อย่างคร่าวๆ เช่น ตระกูลผลิตภัณฑ์ ชั่วโมงการทำงานมาตรฐาน จำนวนเงิน และปริมาณปัจจัยนำเข้า เช่น แผนการเงิน ความต้องการของลูกค้า ความสามารถทางวิศวกรรม จำนวนแรงงานที่มีอยู่ การเปลี่ยนแปลงของระดับสินค้าคงเหลือ และการดำเนินงานของผู้จำหน่ายปัจจัยการผลิต


ตารางการผลิตหลัก MPS จะบอกว่าต้องใช้สิ่งใดจึงจะสามารถตอบสนองความต้องการและทำให้เป็นไปตามแผนการผลิตได้ ดังนั้นข้อมูลในตารางจะกำหนดว่าต้องผลิตอะไรและผลิตเมื่อไร ซึ่งแตกต่างไปจากการวางแผนการผลิตรวม เพราะแผนการผลิตรวมเป็นการวางแผนทุกกิจกรรมการผลิต รวมทั้งการใช้ทรัพยากรในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องทุกอย่าง ดังนั้นการวางแผนการผลิตรวมจะหมายถึงปริมาณรวมทั้งหมดของงานผลิต ได้แก้ ตระกูลผลิตภัณฑ์ ส่วยตารางการผลิตหลัก MPS จะอยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์เฉพาะ เท่านั้น



ตารางการผลิตหลักอาจอยู่ในลักษณะของ การผลิตตามคำสั่งซื้อของลูกค้า ( Make to order ) การประกอบชิ้นส่วนเพื่อเก็บไว้ในคลังสินค้า ( Assemble to stock ) การผลิตสินค้าสำเร็จรูปเพื่อเก็บไว้ในคลังสินค้า ( Make to Stock )




 

Create Date : 15 ธันวาคม 2552    
Last Update : 15 ธันวาคม 2552 12:01:11 น.
Counter : 21554 Pageviews.  

Material Resource Planning : MRP

การวางแผนการจัดสรรวัตถุดิบ
(Material Resource Planning : MRP)
ความหมายอย่างสั้น
การวางแผนการจัดสรรวัตถุดิบ คืออะไร?
การวางแผนการจัดสรรวัตถุดิบ (Material Resource Planning : MRP) เป็นเทคนิคการวางแผนและการจัดหาวัสดุชนิดต่างๆที่มีความต้องการใช้ในการผลิต โดยระบบการวางแผนการ จัดสรรวัตถุดิบ จะมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการวางแผนควบคุมแผนการสั่งซื้อ การส่งมอบสินค้า สินค้าคงคลัง รวมทั้งวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต และชิ้นส่วนที่อยู่ระหว่างขั้นตอนการผลิต
ความสำคัญของเรื่อง
ประโยชน์ของการวางแผนการจัดสรรวัตถุดิบ
ปัจจุบันโรงงานได้นำการวางแผนการจัดสรรวัตถุดิบ (MRP) มาใช้ในการจัดการวัตถุดิบเป็นจำนวนมาก ในอดีตการวางแผนการจัดสรรวัตถุดิบ (MRP) ได้รับการยอมรับ และได้ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมประกอบรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุตสาหกรรมอื่นๆที่ เกี่ยวข้องกับการประกอบชิ้นส่วนเป็นหลัก แต่ปัจจุบันการวางแผนการจัดสรรวัตถุดิบ (MRP) ได้ถูกนำมาใช้ในวงกว้างขึ้น โดยไม่ได้เน้นที่อุตสาหกรรมการประกอบชิ้นส่วนอีกต่อไป โดยไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมยา อาหาร เคมี หรือผ้า ก็ได้มีการนำการวางแผนการจัดสรรวัตถุดิบ (MRP) มาใช้ในการจัดการควบคุมวัตถุดิบอย่างกว้างขวาง
ความหมายอย่างละเอียด
การทำงานของการวางแผนการจัดสรรวัตถุดิบ
การวางแผนการจัดสรรวัตถุดิบ (MRP)ทำงานโดยใช้ข้อมูล 3 ชุด คือ
1. แผนการผลิตหลัก ซึ่งแสดงปริมาณของสินค้าสำเร็จรูปที่ต้องการ ตลอดระยะเวลาที่วางแผน
2. รายการวัสดุ ซึ่งใช้สำหรับแตกรายการสินค้าสำเร็จรูปในแผนการผลิตหลักให้เป็นชิ้นส่วนและส่วนประกอบย่อย
3. บันทึกสถานภาพของสินค้าคงคลัง ซึ่งจะระบุจำนวนชิ้นส่วน ส่วนประกอบย่อย และปริมาณสินค้าสำเร็จรูปในคลัง รวมถึงปริมาณชิ้นส่วนที่อยู่ในขั้นตอนการ


สั่งซื้อ เวลาที่จะต้องใช้ตั้งแต่การสั่งซื้อจนถึงวันส่งของ และจำนวนสต๊อกกันชนที่เผื่อไว้กรณีที่ของมาช้ากว่ากำหนด

การทำงานจะเริ่มขึ้น เมื่อเรากำหนดปริมาณสินค้าที่ต้องการเข้าไปในแผนการผลิต หลังจากนั้นข้อมูลจะถูกนำไปวิเคราะห์เปรียบเทียบเพื่อดูว่าเรามีความจำเป็นที่จะต้องใช้ชิ้นส่วน หรือวัตถุดิบชนิดใดบ้าง จากนั้นก็จะมาพิจารณาว่าเรามีความจำเป็นต้องสั่งของเพิ่มหรือไม่ จำนวน เท่าใด และเราต้องทำการสั่งอย่างช้าที่สุดวันไหน เพื่อจะได้มีของมาใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง
ข้อพิจารณาในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
การพัฒนาของการวางแผนการจัดสรรวัตถุดิบ
ปัจจุบันการวางแผนจัดสรรวัตถุดิบได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และนิยมมองว่าเป็น ส่วนหนึ่งในการวางแผนการผลิต และได้มีการพัฒนาโดยทำการรวมการขาย การจัดซื้อ การเงิน การผลิตเข้าด้วยกัน และเรียกว่าการวางแผนจัดสรรทรัพยากรในองค์กร (Enterprise Resource Planning : ERP) โดยยึดหลักการวางแผนเพื่อให้องค์กรโดยรวมมีประสิทธิภาพมากที่สุด แทนที่จะเป็นด้านการผลิตด้านเดียวเท่านั้น








 

Create Date : 02 ธันวาคม 2552    
Last Update : 8 ธันวาคม 2552 20:37:59 น.
Counter : 1386 Pageviews.  

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.