A room to learn and talk
 
 

โยคะสารัตถะ เดือน พฤศจิกายน 2555 เรียนรู้ร่วมกัน




 

Create Date : 04 พฤศจิกายน 2555   
Last Update : 4 พฤศจิกายน 2555 11:32:20 น.   
Counter : 1181 Pageviews.  


Yoga Based Knowledge:โยคะวิชาการ

ครูฮิโรชิ ได้กรุณาสรุปไว้ให้เห็นภาพของ โยคะวิชาการ ว่าจริงแล้วโยคะประกอบด้วยอะไร และมีแนวทางการปฏิบัติอย่างไร 


ต้องการข้อมูลสามารถติดต่อ //www.thaiyogainstitute.com เพื่อขอทราบข้อมูลเหล่านี้ได้ 




 

Create Date : 04 พฤศจิกายน 2555   
Last Update : 4 พฤศจิกายน 2555 11:17:50 น.   
Counter : 774 Pageviews.  


โยคะสารัตถะ เดือน ตุลาคม 2555 เมื่อโยคะเป็นปัจเจก




 

Create Date : 23 ตุลาคม 2555   
Last Update : 23 ตุลาคม 2555 20:25:23 น.   
Counter : 961 Pageviews.  


กายภาพการนั่ง แบบไหนถึงจะถูก



สวัสดีครับ เรื่องนี้เริ่มจาก ครู X ถามถึงความเห็นเกี่ยวกับงาน
วิจัยชิ้นนี้ //news.bbc.co.uk/2/hi/health/6187080.stm

ก็เลยลองถามเพื่อน ให้ช่วยแบ่งปันความเห็น ซึ่งเป็นว่ามีประโยชน์อย่างยิ่ง จึงขอนำมาลงไว้เป็นการแบ่งปันความคิดเห็น หากท่านใดมีความคิดเห็นเพิ่มเติม พูดคุยกันได้เลยน่ะครับ

ครูเจี๊ยบให้ความเห็นไว้อย่างน่าสนใจว่า

คิดว่านั่งหลังตรง ไม่ได้แปลว่าจะมีแรงกดที่หมอนรองกระดูกมากกว่าเสมอไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่พัฒนาmuscle tone ของกล้ามเนื้อลึกแนวกระดูกหลัง เช่น ฝึกโยคะประจำ จะมีการปรับสมดุลในท่านั่งตรงได้ดีขึ้น จริงอยู่ที่ว่าแรงโน้มถ่วงจะทำให้น้ำหนักของร่างกายรวมทั้งกระดูกหลังเอง กดทิ้งลงในแนวดิ่ง

แต่กล้ามเนื้อลึก(เน้น ว่า muscle tone ต้องถูกฝึกมาบ้างแล้ว)ที่อยู่ตามแนวหลังนี่แหละ ที่จะเป็นตัวช่วย ยก ยืด ประคองระยะห่างของกระดูกแต่ละข้อเอาไว้ ไม่ให้กดบีบลงมาทับกัน อาจจะมีการทับแนวเส้นประสาทบางส่วน แล้วส่งผลเป็นความรู้สึกไม่สบายหลัง ปวด หนัก ตื้อ จนบาดเจ็บถึงหมอนรองกระดูกตามมา ทดลองนั่งหลังตรงๆดู แบบที่1) ปล่อยให้น้ำหนักตกดิ่งลงตรงๆ ผ่านแนวหลังแล้วถ่ายผ่านกระดูกนั่งลงไป ลองหลับตาสังเกตความรู้สึกแนวหลังดู แบบที่ 2) นั่งหลังตรง แต่ใช้ความรู้สึกส่งไปลึกๆ แล้วยืดหลังขึ้นเบาๆ เหมือนเราถ่างระยะแต่ละข้อกระดูกออกนิดๆ แล้วประคองไว้(แหม่ๆ....อันนี้ยากจะบอกจากภายนอกนะ ว่าต่างกันยังไง) รักษาสมดุลโดยไม่เกร็ง หลับตาเทสต์ดู แล้วระหว่างนั้น ลองปล่อยความรู้สึกที่ยกประคองนั้นออก ปล่อยกระดูกหลังทิ้งตัวลงมา เพื่อเปรียบเทียบความรู้สึกในแรงกดทับ

การปรับสมดุลของกาย นอกเหนือจากการปรับท่าทางภายนอกแล้ว คิดว่ายังมีปัจจัย"การจัดปรับในระดับ(กล้าเนื้อ)ลึก" เข้ามาเป็นตัวแปรสำคัญ ในการสร้างสมดุลที่แท้จริง ไม่ว่าเราจะอยู่ในท่าไหนๆ ถ้าเราฟังร่างกายได้ละเอียดๆ ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสที่เราจะปรับแก้ สร้างสมดุลให้ให้เกิดความสบายกาย-ใจได้มากขึ้น

เวลาทำงานอยู่ที่ออฟฟิศ เจี๊ยบเองนั่งท่าเอนๆแบบรูปที่ 3 ที่ เค้าขีด เครื่องหมายถูกอ่ะ หลังอาจจะรู้สบายขึ้นบ้างนะแต่จุดที่ทำให้รู้สึกแย่อ่ะ และรู้สึกว่า มันไม่เวิร์ค คือ ตำแหน่งคอ เพราะมันต้องฝืนตั้งขึ้นมาให้มอง คอมที่ตั้งอยู่ระดับโต๊ะ เมื่อยบ่าไหล่ไปหมด แล้วการจัดปรับร่างกาย เมื่อหลังอยู่ในแนวเฉียงๆ เพื่อแก้ปัญหาเรื่องแรงโน้มถ่วงเนี่ย มันจัดการได้ยากกว่า เมื่อหลังอยู่ในแนวตรง เพราะน้ำหนักจะทิ้งตัวลง ที่จุด ข้อต่อ หลายๆจุด หลายองศา(ทั้งแรงดิ่ง และ แรงแนวเฉียง) แต่ถ้าเรานั่งหลังตรง การปรับชดเชยเรื่องแรงตกแนวดิ่งทิศทางเดียว มันจะแก้ได้ง่ายกว่า

และครูสวยมาเสริมให้แง่คิด ดีดีว่า

ร่างกายอยู่ในท่าไหนนานๆ ก็มีปัญหาทั้งนั้น เพียงแต่ผู้ฝึกฝนจะรู้ว่าร่างกายจะสบาย ณ จุดไหน และนิ่งอยู่ในจุดนั้นได้นานกว่า คนทั่วไป โดยเฉพาะผู้ที่ทำงาน office นั่งเก้าอี้ จะไม่รู้ถึงสิ่งนี้ และผู้ที่ฝึกจนเข้าใจร่างกายของตนเองแล้วจะไม่ลังเลสงสัยในการสงสัญญานของร่างกายตนเอง.....ส่วนตัวก็นั่ง ยืน เดิน นอน มาแล้วทุกท่าก่อนฝึกจะมีปัญหามากมาย หลังฝึกร่างกายสบายขึ้นค่ะ


ขอบคุณที่แบ่งปัน และ อ่านมาด้วยกันถึงตรงนี้ครับ




 

Create Date : 20 ตุลาคม 2555   
Last Update : 20 ตุลาคม 2555 21:38:22 น.   
Counter : 1180 Pageviews.  


อะไรคือ ซาเทียร์ และช่างเหมือนกับโยคะอย่างไร

มีโอกาสไปอบรมเรื่อง ซาเทียร์ แล้วพบว่า(ส่วนตัวน่ะครับ)ช่างคล้ายคลึงกับโยคะ และ พุทธ อย่างมากมาย เลยขอแบ่งปันหลักการของซาเทียร์มาให้เพื่อนได้อ่านกันครับ

และต้องขอบคุณคณะอาจารย์และทางเสมสิขาลัย ที่ถอดบทเรียนนี้ออกมาน่ะครับ

เป้าหมายหลักของซาเทียร์ คือ

๑. ช่วยคนให้เป็นคนมากขึ้น : เราต้องเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ว่า...

• คนเราผิดพลาดได้… เช่นเป็นนักเรียนสอบตก หรือทำธุรกิจพลาดไป จะเป็นทุกข์เพราะยอมรับความผิดพลาดไม่ได้ และตั้งคำถามว่าทำไม ที่ไม่มีคำตอบ หรือยอมรับความจริงนั้นไม่ได้ คำตอบที่ตอบคำถามว่าทำไมต้องเป็นฉัน ทางเลือกคำตอบคือ ทำไมจะเป็นฉันไม่ได้ และไม่ลงโทษตัวเอง คือให้อภัยตัวเองได้

• รักได้ เกลียดได้ โกรธได้… ยอมรับว่าคนเรามีอารมณ์ได้ บางทีเราโกรธได้ หงุดหงิดได้ มันเป็นธรรมชาติของคน มนุษย์เรามักไม่ชอบอารมณ์ด้านลบ เราจะตีความว่าไม่ดี เกิดจากการเรียนรู้ของเรา ทำให้เราไม่ชอบตัวเอง เริ่มเป็นศัตรูตัวเราเอง และรับตัวเองไม่ได้ จริงๆแล้วอารมณ์เป็นเรื่องของธรรมชาติ ไม่ว่าอารมณ์ลบหรือบวกก็มีประโยชน์ เหมือนผลส้ม ถ้าเราไม่มีอารมณ์เราจะแห้งผาก เหมือนส้มไม่มีน้ำ แห้งผาก

• ไม่ต้องดีบริบูรณ์… คำว่าสมบูรณ์แบบ(perfect) ไม่เคยมีบนโลกนี้, “Perfection is a diesese.”
(“จริงๆ มันไม่มี ‘ที่สุด’ หรอก... จริงๆ มันต้องตามด้วยคำว่า ‘ทำดีที่สุดในเรื่องสำคัญๆ’ ไม่ใช่ว่าต้องทำทุกเรื่องหรอก ทำให้เราฝืนธรรมชาติเปล่าๆ เหนื่อยเปล่าๆ เราต้องรู้จักเลือกว่าอะไรสำคัญ…” Satir) คนเรามักเชื่อว่าการทำได้สมบูรณ์แบบ จะทำให้ตัวเรามีคุณค่า เราเลยต้องพยายามทำให้ได้ เลยทำให้เราเกิดทุกข์

• เป็นธรรมดา-ธรรมชาติมากขึ้น… คนมักจะอยากทำอะไรที่มันยิ่งใหญ่เกินไป อยากเก่งกว่า ดีกว่าคนอื่น สิ่งเหล่านี้ทำให้เรามีความสุขยากมาก เพราะที่จริงแล้วคนเราก็มีชีวิตธรรมดา จึงจะเป็นปกติ

๒. ช่วยพัฒนาความเป็นคนของเราให้เต็มที่ (fully human) :

• เปลี่ยนแปลงได้... เราอยากให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เราก็ต้องเปลี่ยนแปลง, เราเลือกเกิดไม่ได้ แต่เราเลือกสิ่งที่เราจะเป็นได้ เลือกที่จะเปลี่ยนแปลงได้

• เราเติบโตได้... จิตใจที่ไม่เป็นสุข ก็จงมีความสุขมากขึ้น จิตใจของเราสามารถพัฒนาเติบโตได้ตลอดเวลา

• เราเลือกได้... เลือกกระทำได้ทุกขณะของชีวิต สิ่งที่เราบอกว่าเลือกไม่ได้ นั่นหมายความว่า เราเลือกที่จะไม่เลือก มีความเชื่อเรื่องการเกิดของมนุษย์ได้บอกว่า การเกิดครั้งที่ ๑ คือช่วงปฏิสนธิ การเกิดครั้งที่ ๒ คือช่วงที่ฝังตัวอยู่ในท้องแม่ และการเกิดครั้งที่ ๓ คือเราได้เลือกเองว่าจะเกิดเป็นคนอย่างไร และเป็นคนเลือกเองว่าเราเลือกที่จะมีชีวิตอยู่ เลือกให้เหมาะกับเรา อิสรภาพสูงสุดคือการได้เลือกสิ่งที่เหมาะกับเราในเวลานั้น

• อย่าพยายามเป็นอะไรที่นอกจากเป็น ‘ตัวเรา’... เรามัวแต่ใช้ชีวิตที่เป็นอย่างคนอื่น ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ อย่าอยากเป็นอย่างที่เราอยากเป็น อย่าไปขัดธรรมชาติ ตัวอย่าง วัวกินน้ำค้างเพราะอยากเสียงเพราะเหมือนจิ้งหรีด
‘เป็น’ อย่างที่เราเป็น… จะทำให้ชีวิตนั้นง่ายขึ้น และเรามีความสุขได้ง่ายขึ้น

• มองเห็น “คุณค่า”ของตนเอง... ทุกคนเมื่อเกิดมาก็ได้คุณค่าของความเป็นคนมาโดยธรรมชาติแล้ว

• “ค้นหา”ตัวเองให้พบ... “Who are you” ก็เป็นสิ่งที่ข้างในเป็น หรือเป็นตัวตนที่แท้จริงของเราค้นหาขุมพลัง/สมบัติที่มีอยู่ในตัวเรา

• “ความพิเศษ”ในตัวเรา... สิ่งที่มีอยู่ในตัวเราเป็นของแท้ อย่าไปอยากเป็นคนอื่น ซึ่งมันคือของปลอม





 

Create Date : 23 กันยายน 2555   
Last Update : 23 กันยายน 2555 11:27:52 น.   
Counter : 5031 Pageviews.  


1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  

Beautybig
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 16 คน [?]




สวัสดีครับ ไม่ค่อยได้เข้ามาใน Blog เท่าไหร่ แต่สามารถติดตามกันได้ที่

http://www.krityoga.com

หรือ https://www.facebook.com/ThaiYogaInstituteAlumni/
โยคะสารัตถะ เล่มเดือนมีนาคม มารู้จักโยคะจากผู้เรียนที่ สวนโมก สวนรถไฟ กรุงเทพกัน
New Comments
[Add Beautybig's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com