A room to learn and talk
 
ค่ายกริยาโยคะ กับคนเคยคุ้นและรู้ใจ (1)

นับจากนี้ ข้อเขียนทั้งหมด จะเกิดขึ้นจากการเริ่มเข้าอบรม ครูโยคะ รุ่น  10 ของทางสถาบันโยคะวิชาการ ทั้งนี้ เราจะได้เรียนรู้จิต และ ความคิด ที่มองโยคะ แตกต่างจากช่วงต้นของผู้เขียนที่เริ่มฝึก ว่ามีความแตกต่างทางด้านความคิด และ มุมมองต่อโยคะ อย่างไร 


ฟังดูแล้วคงคิดว่าเราไปฝึกมารยาทในวิถีโยคะกัน เป็นวิถีแห่งความสุขภาพอ้อนน้อมถ่อมตน อันเป็นธรรมชาติของโยคะ หลาย ๆ คน คงจะคิดว่าเราไปฝึกการเคลื่อนไหวแบบนุ่มนวลสุภาพ คืบคลานกันตลอดระยะเวลาของค่าย ถ้าเข้าใจอย่างนั้นแล้วก็คงจะคิดผิดถนัด เพราะในค่ายปิดของคอร์สครูระยะยาว สถาบันโยคะวิชาการ เมื่อวันที่ 5-7 พฤศจิกายน 2553 นั้น คงจะไม่ใช่การฝึกมารยาทให้งามอย่างโยคะ แต่เป็นการฝึกที่พวกเราต้องทรหดอดทนแสนสาหัสยิ่งหนัก
เริ่มด้วยการสอบ ฮ่าฮ่า ที่สอบไปสลบไป ไม่ได้ทรมานน่ะ แต่โกรธตัวเองว่ารู้ทั้งรู้ว่าต้องอ่านจากไหน (ไม่บอกหรอก เด๊วรุ่นอื่นรู้) ก็ไม่ได้มีเวลาอ่าน เพราะมัวแต่เอาเวลาไปตัด VDO จนคืนสุดท้ายก่อนไปเข้าค่ายถึงได้อ่านหน่อยหนึ่ง ขอย้ำว่าการสอบเป็นเรื่องที่ดี ๆ มากมาก แต่ก็ไม่อยากสอบเท่าไหร่

หลังจากผ่านการสอบกันอย่างสะบักสะบอม เราก็เริ่มทำกิจกรรมกันด้วยการขยับขยายเส้นสาย ด้วยการออกกริยาอาการที่เราทำเป็นสิ่งแรกเมื่อเราตื่นนอนในเช้าวันนั้น เป็นกิจกรรมเตือนสติเล็ก ๆ ให้เราเรียกความสดชื่นกลับมาก่อนไปกินข้าวเที่ยง และหลังจากนั้น เราก็ไปทำกิจกรรมกันที่ศาลาริมน้ำแสนสบาย ในหัวข้อความอยาก โดยให้ทุกคนจับกลุ่ม แล้วบอกความอยากของตนเองให้เพื่อนในกลุ่มทราบ เมื่อรับทราบแล้ว เราก็มาเข้าแถวตอนเพื่อที่ คนที่หนึ่งจะต้องบอกคนที่สองว่ามีความอยากอะไร แล้วให้คนที่สองวิ่งไปเขียน เมื่อเขียนเสร็จคนที่สองก็จะบอกความอยากของตนเองกับคนที่สาม และคนที่สามก็วิ่งไปเขียนความอยาก แล้วก็ทำกันต่อไปเรื่อย จนกระทั่งหมดเวลา หลังจากนั้น ครูก็ค่อยมานั่งอ่าน ในหัวข้อของแต่ละคนว่ามีความอยากอะไรบ้าง กับมีบ้างหัวข้อที่ไม่มีคำว่าอยาก เพราะเมื่อเราอยาก หมายถึงเราจะยังไม่ทำ แต่ถ้าเราจะทำ เราจะไม่ใส่ความว่าอยาก ลองสังเกตุสิว่าเป็นอย่างนั้นจริงหรือเปล่า ทำไมเราถึงจะต้องแค่อยาก ทำไมเราถึงไม่ทำ เพราะถ้าเราปล่อยให้เพียงแค่อยาก เราก็จะไม่ได้ทำสักที

หลังจากเรียนรู้เกี่ยวกับตนเองแล้ว เราก็มาเรียนรู้ กริยาโยคะกัน เริ่มด้วยการนั่งพับเพียบเรียบร้อย ค่อยกราบหมอบคลานอย่างช้า ๆ ก็ไม่ใช่อย่างนั้น กริยาโยคะคืออะไร ข้อนำข้อมูลจากเอกสาร ชีทประกอบครูโยคะ ของทางสถาบันโยคะวิชาการมาเล่าเลยแล้วกัน ว่า กริยาคือการทำความสะอาด การชำระล้าง แล้วชำระล้างอะไรล่ะ การชำระล้างแบ่งออกเป็น 6 ประเภทด้วยกันคือ
อันแรกที่เราเรียนกันตั้งแต่ในคลาสที่ มศว ได้แก่ เนติ Neti คือการชำระล้างโพรงจมูกด้วยน้ำโดยใช้กาค่อย ๆ เทน้ำเข้าไปทางรูจมูกให้ไปชำระล้างโพรงจมูก ซึ่งแต่ละคนก็จะมีความรู้สึกที่แตกต่างกันออกไป บ้างคนเวลาล้างแล้วก็ไม่มีความรู้สึกแสบจมูก แต่บ้างคนก็มีความรู้สึกแสบจมูก เพราะนั้นขึ้นอยู่กับสภาวะของร่างกายของแต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน การฟังความรู้สึกจากร่างกายของเรานั้นจะทำให้เราเข้าใจได้ง่ายขึ้นว่าร่างกายต้องการบอกอะไรเล่า หรือกำลังจะเตือนอะไรเรา
สำหรับในค่ายกริยานั้น เราได้ฝึกทำการล้างจมูกด้วยการใช้สายยางให้อาหารทางจมูกสำหรับเด็ก สอดเข้าไปทางจมูกและดึงออกทางปาก เพื่อทำการขัดล้างเมือกในโพรงจมูกด้วย ซึ่งบางคนทำสำเร็จทั้ง 2 รูจมูก แต่บางคนก็ทำได้แค่ข้างเดียว หรือบางคนทำไม่ได้เลย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายความพร้อมของร่างกาย ว่ารูจมูกเราตีบตันหรือไม่อย่างไร ประโยชน์ช่วยให้ระบบทางเดินหายใจสะอาด กำจัดน้ำมูกน้ำเมือกต่าง ๆ ภายในรูจมูก หายใจคล่องขึ้น

อันดับสอง คือ กปาลภาติ คือการใช้การเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อท้องใต้สะดือในการหายใจเข้าออกทางจมูกเหมือนพ่นลมแรงๆ เพื่อชำระล้างทางเดินระบบหายใจ ก่อนที่เราจะฝึกปราณายามะ เราควรจะล้างระบบทางเดินหายใจก่อนฝึกปราณายามะ และเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการตอบสนองของเนื้อเยื่อ ทำให้ระบบหลอดลมหายใจสะอาดจากสิ่งสกปรก เพราะเราใช้ลมพ่นแรงๆ เพื่อช่วยทำความสะอาดระบทางเดินหายใจ และปอดของเรา

อย่างที่สามที่เราฝึกกันในค่ายกริยาคือ การทำความสะอาดตา ด้วยน้ำตา แล้วเราจะเอาน้ำตามาล้างตาได้อย่างไร กรรมวิธีนี้ต้องทำตอนกลางคืน ยามดึกสงัด และ ไร้ซึ่งแสงอื่นใดมารบกวน ซึ่งอาจจะทำยากหน่อยถ้าอยู่ในกรุงเทพ เพราะว่าสภาพความือในกรุงเทพนั้น ไม่ได้มืดสนิท เพราะเราจะต้องนั่งอยู่ในห้องที่มืดสนิท มีเพียงแสงจากเปลวเทียน 1 เล่มให้เรามองจ้องไว้ เป็นจังหวะ 1 นาที 2 นาที และ 3 นาที โดยไม่กระพริบตา ขอย้ำว่าห้ามกระพริบตาจริง ๆ อันนี้ขอบอกว่า เพื่อนบางคนน้ำตาไหลอย่างมากมาย แต่ผู้เขียน ไม่ไหลเลย มีแต่เอ้อ ๆ อยู่ตรงขอบตา แต่คนที่ไหลมากมาย บอกว่ารู้สึกสบาย โล่งตา แล้วเบาตา

การทำ เธาติ ด้วยน้ำ คือดื่มน้ำอย่างต่อเนื่อง เป็นจำนวน 1.5 ถึง 2 ลิตร ดื่มไปจนรู้สึกท้องบวม แล้วค่อย ๆ ใช้นิ้วกดไปที่โคนลิ้น เพื่อให้อ้วกเอาน้ำออกมา ต้องอ้วกออกน้ำออกมาให้หมด การที่เรากินน้ำเข้าไปมากขนาดนั้น เพื่อเป็นนำน้ำเข้าไปชำระล้างระบบกะเพาะและระบบทางเดินอาหารภายในร่างกาย โดยน้ำจะไปผสมกับกรดในกะเพาะ เพื่อลดความเป็นกรดลง ทำให้ไม่กัดระบบทางเดินอาหารตอนที่เราอ้วกออกมา เมื่ออ้วกแล้ว หลายคนอาจจะมีความรู้สึกที่แตกต่างกัน บางคนรู้สึก สบาย บ้างคนรู้สืกเหนื่อย แต่ที่ทุกคนเป็น คือจะรู้สึกง่วงนอนมาก เพราะเมื่อเราอ้วกระบบประสาทของเราถูกบังคับให้ทำย้อนกับความรู้สึกอัตโนมัติ ดังนั้นแล้วเราจะมีความเพลียเป็นอย่างมาก

การทำกริยาที่กล่าวมา ไม่ควรหัดด้วยตัวเอง ควรจะเรียนจากครูผู้มีความรู้ เพื่อจะได้รับประโยชน์ และ ทราบถึงข้อห้ามต่าง ๆ ในการฝึกปฏิบัติ

สำหรับในส่วนกิจกรรมนั้น ก็มีเรื่องหลากหลายมากมายให้เราได้ใช้สมองในการคิดกัน เริ่มจาก
การภาวนา ซึ่งนำโดยครูดล ด้วยการเปิดคำถามเรื่องการภาวนา ว่า เราเชื่อในการภาวนากันหรือไม่ หรือใครมีประสพการณ์ในการภาวนามาบ้างมากน้อยแค่ไหน และการภาวนาช่วยอะไรเราได้บ้าง ตลอดจนทำไมเราถึงต้องภาวนา สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัด คือ การภาวนาเป็นเรื่องสากล ทุกศาสนามีการภาวนา เพราะการภาวนาช่วยส่งผลดีต่อให้เราเกิดความเชื่อมั่นในความคิดและตั้งมั่นใจจิตของเรา ทำให้ส่งผลต่อการกระทำของเราเองโดยอันโตมัติ บางครั้งการภาวนาของเราเองจะช่วยทำให้เรามองปัญหาและเข้าใจถึงแนวทางการแก้ไขได้เองโดยอัตโนมัติ ดังนั้นการภาวนาไม่ใช่เรื่องอภินิหาร แต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้จริงจากข้างในตัวเราเอง

แล้วก็มาถึงพรมวิเศษ เพียงกระดาษแผ่นเล็กว่า A4 แต่สามารถนำไปสู่ความหมายของคำว่า เสียสละ ได้อย่างชัดเจน เพียงเริ่มต้นให้ทุกคนล้อมวงแล้ว ให้เริ่มกล่าวขอบคุณเพื่อน ๆ หรือ กล่าวขอโทษเพื่อน ๆ คนใดคนหนึ่ง หรือ หลายคนพร้อมกัน ได้ เมื่อเรากล่าวของคุณใคร เช่น กล่าวขอบคุณพี่อ้อม พี่อ้อมจะก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว เพื่อให้ใกล้พรมวิเศษมากขึ้น แต่ถ้าเรากล่าวขอโทษใคร คนที่เราได้รับการกล่าวขอโทษจะได้ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว ในขณะที่เราต้องก้าวถอยหลังไปหนึ่งก้าว ทำไมเราต้องการถอยหลัง เพื่อเป็นการหัดลดอัตตาในตัวเองยอมรับว่าเราได้ทำผิดอย่างอ้อนน้อม การกล่าวขอโทษเป็นการกล่าวที่ยากเพราะเราจะต้องพร้อมที่กล่าวจากใจจริง เพื่อให้เรารู้สึกขอโทษในความผิดนั้นอย่างเป็นสุขจากภายใน

แล้วเกี่ยวอะไรกับคำว่า เสียสละ เพราะการขอบคุณในแต่ละครั้งนั้น เป็นการขอบคุณที่บุคคล ๆ หนึ่งได้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ด้วยการไม่ได้มุ่งหวังผลตอบแทน ด้วยการให้อย่างเต็มใจ และด้วยการกระทำของเขา จึงส่งผลให้คนอื่น ๆ ระลึกถึงได้ด้วยความเต็มใจที่จะขอบคุณ ซึ่งเป็นผลของการกระทำที่อยู่ในคำอธิบายของหล่วงปู่ฤษีลิงดำ ที่เคยอธิบายคำว่า เสียสละไว้ว่าเป็นหนทางสู่นิพพาน โดยการแยกคำ ๆ นี้ออกมาเป็นสามคำด้วยกันคือ เสีย เราต้องยอมเสียไป สละ เราก็ยังต้องยอมสละ แต่ถ้า ละ นั้นหมายถึงเราเต็มใจให้ด้วยการปราศจากการต้องการการตอบแทน ให้ด้วยใจบริสุทธิ์

พรมวิเศษสอนให้เรารู้ว่า การให้เป็นการให้ด้วยความรักปราศจากหวังซึ่งผลตอบแทน ดังนั้นแล้วพรมวิเศษคือการเปิดใจให้เข้าใจของคำว่าให้ได้อย่างชัดเจนมากขึ้น

ขอจบภาคแรกก่อนน่ะ แล้วจะมาต่อภาคสองไว้ให้อ่านเป็นที่ระลึก เพราะภาคสองเนี้ย มันเด็ดจริง ๆ




ข้อเขียนนี้ เป็นลิขสิทธิ์ของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ผู้เขียน ๆ ขึ้นเพื่อเป็นการแบ่งปันความรู้ในวิถีโยคะแบบดั่งเดิม หากท่านเห็นว่ามีประโยชน์กรุณาช่วยกันแบ่งปันต่อไปทาง ออนไลน์ แต่กรุณาอย่าดัดแปลง หรือ กรุณาอย่านำไปลงในสื่ออื่น ๆ แต่อย่างใด  ขอบคุณครับ


Create Date : 26 พฤศจิกายน 2553
Last Update : 26 พฤศจิกายน 2553 9:52:30 น. 0 comments
Counter : 1752 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

Beautybig
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 16 คน [?]




สวัสดีครับ ไม่ค่อยได้เข้ามาใน Blog เท่าไหร่ แต่สามารถติดตามกันได้ที่

http://www.krityoga.com

หรือ https://www.facebook.com/ThaiYogaInstituteAlumni/
โยคะสารัตถะ เล่มเดือนมีนาคม มารู้จักโยคะจากผู้เรียนที่ สวนโมก สวนรถไฟ กรุงเทพกัน
New Comments
[Add Beautybig's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com