A room to learn and talk
 
เส้นทางโยคะ

นับจากนี้ ข้อเขียนทั้งหมด จะเกิดขึ้นจากการเริ่มเข้าอบรม ครูโยคะ รุ่น  10 ของทางสถาบันโยคะวิชาการ ทั้งนี้ เราจะได้เรียนรู้จิต และ ความคิด ที่มองโยคะ แตกต่างจากช่วงต้นของผู้เขียนที่เริ่มฝึก ว่ามีความแตกต่างทางด้านความคิด และ มุมมองต่อโยคะ อย่างไร 



อะน่ะ มีแผนที่แล้ว ก็ต้องมองหาถนนที่จะเดินไป แล้วถนนโยคะเนี้ยมันเป็นยังไง มันจะแบบโลดโพนโจนทะยาน แหะเหินเดินอากาศ หรือว่าจะ นิ่งเงียบ วิเวกวังเวง กันแน่ ถ้ายังไม่แน่ใจ ลองมาดูกันว่า ครูกวี กล่าวเกี่ยวกับเส้นทางโยคะไว้ว่าอย่างไร

ครูขึ้นต้นมา ก็บอกเลยว่า เราต้องเข้าใจธรรมชาติของโยคะ แล้วธรรมชาติของโยคะมันเป็นอย่างไรล่ะครับเนี้ย

ธรรมชาติของโยคะ เป็นเรื่องของภายใน ภายในจิตภายในกาย เพราะว่าโยคะสอนให้เรารู้จักปฏิบัติ รับประสบการณ์ พร้อมกับประเมินผล นำมาปรับปรุง และสร้างองค์ความรู้ของตนเอง และสุดท้ายอันนี้ขอเพิ่มว่า นำไปแบ่งปัน

ย้อนกลับไปถึงหัวข้อว่าจะเรียนโยคะที่ไหน อุอุ ก็คงจะได้คำตอบกันแล้วสิน่ะว่า เราเรียนโยคะกับตัวเอง ก็ไม่อยากจะบอกว่าอย่าไปเลย พวก Studio ต่าง ๆ เพราะบางคน ก็ไม่สามารถทำใจ หรือ บังคับใจให้ตนเองฝึกที่บ้านได้ เพราะขาดความมั่นใจที่จะฝึกหัดด้วยตนเอง เพราะอาจจะคิดว่าเรายังไม่เก่งพอ น่าจะลองปรับความคิดเสียใหม่ว่า ในเมื่อเราเก่งเท่านี้ เราก็ฝึกเท่านี้ เมื่อเรามีความชำนาญมากขึ้น เราก็จะฝึกได้มากขึ้น ดังนั้นแล้วความสำเร็จในการฝึกโยคะจะมากจะน้อย ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ ศูนย์ฝึก ห้องฝึก ครูฝึก เสื่อโยคะ กล้ามเนื้อ หรือ ท่าทางต่าง ๆ แต่ขึ้นอยู่กับตัวเราเพียงแค่อย่างเดียวว่า เราพร้อมที่จะก้าวเดินบนถนนโยคะหรือไม่อย่างไร

สิ่งหนึ่งที่ตัวเองได้รับจากการฝึกโยคะ คือ ช่วยให้เราเปิดกว้างในการรับรู้ถึงตนเอง เพราะความพร้อม รู้จักร่างกายและลมหายใจของเราเอง เพราะเราเปิดใจรับรู้ถึงการเคลื่อนไหวของลมหายใจ และ อริยบท ต่าง ๆ ซึ่งเป็นการเสริมสร้างความละเอียดของใจให้รับรู้สิ่งต่าง ๆ จากภายในสู่ภายนอก ได้อย่างอ่อนโยน ละเอียด นุ่มนวลมากขึ้น ซึ่งเมื่อถึงที่สุดแล้ว ก็จะไปผสานเกลียวรัดเข้ากับการดำเนินชีวิตประจำวันของเราอย่างแยกไม่ออก คิดได้เองแต่ไม่รู้ว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไรจนกระทั่งมาอบรม

ในที่นี้การที่จะเดินทางบนถนนโยคะให้ประสบความสำเร็จได้นั้น ยังต้องมีการจัดการความรู้ใน 2 รูปแบบด้วยกัน คือ แก่นความรู้ (Explicit Knowledge) หรือความรู้ที่เห็นได้อย่างชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น ตำราโยคะ เอกสารโยคะ หนังสือกายวิภาค และอื่น ที่เราสามารถศึกษาได้ ส่วนที่ 2 คือ เกร็ดความรู้ (Tacit Knowledge) ซึ่งเป็นภูมิความรู้ของแต่ละบุคคลที่เกิดจากการนำแก่นความรู้นั้นมาปฏิบัติ ง่าย ๆ ก็คือ ทุกคนฝึกโยคะท่าเดียวกันจากครู ครูแบ่งปันแก่นความรู้ถึงแนวทางฝึกโยคะว่าท่านี้ควรจะเริ่มจาก1 2 3 4 อย่างไร แต่เคล็ดลับต่าง ๆ ในการเข้าท่าให้ถูกต้องเช่น ต้องขมิบก้นเขม็วพุง หรือ ถ้าไม่สามารถฝึกท่านี้ได้ตามที่บอก จะมีแนวทางฝึก ๆ อื่นที่จะช่วยให้ฝึกได้ เพื่อให้ถึงเป้าหมายเดียวกัน นั้นคือ เกร็ดความรู้ เพราะฉะนั้นในหนึ่งองค์ความรู้ เราจะเห็นได้ว่า จะมีสิ่งที่จับต้องได้จากการเรียนการสอน คือ แก่นความรู้ แต่อีกหนึ่งอย่างที่จับต้องไม่ได้คือ เกร็ดความรู้ เพราะในบ้างครั้ง ในส่วนของเกร็ดความรู้นั้น ไม่ได้มีการถ่ายทอดออกมาอย่างชัดเจนเพราะความรู้นี้เกิดขึ้นในแต่ละตัวบุคคลที่ไม่เหมือนกัน แต่ต้องอาศัยจากการแบ่งปันกันเพื่อให้เข้าถึงเกร็ดความรู้นั้น ๆ

นอกจากการจัดการทางด้านความรู้แล้ว เรายังจำเป็นที่จะต้องมีแนวทางในการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน หรือที่เรียกว่า Knowledge Vision (KV) เพราะการมีเป้าหมายที่ชัดเจน จะทำให้เราเข้าใจถึงสิ่งกำลังจะทำ ยกตัวอย่างเช่น วัตถุประสงค์ที่มาเรียนรู้โยคะ เพื่อการประสานใจและกายเป็นหนึ่งเดียว นี้คือ เป้าหมายที่ชัดเจน

และเมื่อมีเป้าหมายที่ชัดเจนแล้ว จึงจะเกิดการส่งต่อ หรือ แบ่งปัน แนวทางการเดินทางไปให้ถึงเป้าหมาย ด้วยการจัดการ Knowledge Sharing (KS) เพราะว่าการเดินทางไปให้ถึงเป้าหมายที่ชัดเจนนั้น แต่ละคนย่อมมีวิธีการแนวทางในการฝึกท่าโยะที่แตกต่างกันออกไป การนำความรู้มาแบ่งปันกันจะช่วยให้แต่ละคนเกิดความคิด และ จินตนาการมากขึ้น ซึ่งทำให้เกิดความแปลกใหม่ สีสัน และ ความสุขในการลองทำ เพื่อเกิดการค้นพบเป้าหมายในที่สุด

เมื่อได้ข้อมูลต่าง ๆ มากมาย ก็จะถึงกระบวนการการจัดเก็บ Knowledge Asset (KA) ซึ่งประกอบด้วยการเก็บข้อมูลดิบในเบื้องต้น ซึ่งคือ เกร็ดความรู้ (Tacit Knowledge) และนำมาวิเคราะห์ให้กลายเป็นแก่นความรู้ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในรูปนามธรรม หรือ จับต้องได้ การคิดแบบนี้ไม่ต่างจากการคิดงานใน Agency ที่ เมื่อได้รับโจทย์จาก ลูกค้า ผู้คิดงานจะเริ่มจากการให้โยนความคิด ต่าง ๆ เข้ามา โดยไม่มีข้อจำกัด เพื่อไม่ให้จำกัดแนวทางความคิด เพื่อให้เกิดจินตนาการ และ ความสุขที่จะคิด หลังจากนั้นจึงนำความคิดต่าง ๆ มาย่อย วิเคราะห์ถึงความเหมาะสม เงินทุน ความเป็นไปได้ ก่อนที่จะกลั่นออกมาเป็นแก่นความรู้ (Explicit Knowledge) หรือ ผลสรุปทางความคิด

จะเห็นว่าเมื่อเริ่มต้น เรามาฝึกโยคะด้วยแก่นความรู้ดั่งเดิม แล้วเกิดเกร็ดความรู้ของแต่ละคน แต่หลังจากนั้น เราจะนำเกร็ดความรู้ที่ได้มาแบ่งปันกัน ทำให้เกิด แก่นความรู้ใหม่ ๆ ขึ้นมา แล้วเมื่อมีคนนำแก่นความรู้ที่เกิดขึ้นใหม่ ไปปฏิบัติ ก็จะเกิดเกร็ดความรู้ ที่นำไปสู่แก่นความรู้ อีก ฮ่าฮ่า งงล่ะสิ นึกถึง Infinity ซึ่งมันคือการพัฒนาที่ไม่รู้จบไง

กลับมาที่โยคะ จะไม่บอกว่าโยคะเป็นของทันสมัย แต่จะบอกว่าโยคะคือ ปัจจุบัน มาโดยตลอด เพราะปรัชญาโยคะสามารถนำมาปรับใช้กับชีวิตจริงได้ทุกเมื่อ เพราะตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา การฝึกโยคะทำให้เกิดการฝึกในแนวทางใหม่ ๆ เกิดขึ้น จนอาจจะลืมแนวทางดั่งเดิมไปบ้าง แต่นี้ก็คือสิ่งที่ห้ามไม่ได้เพราะบนถนนสายโยคะ คือ ปัจจุบัน ตามความต้องการของมนุษย์ในแต่ละยุคสมัย โยคะจึงไม่เคยตายไปจากมนุษย์แต่จะยังคงอยู่เพื่อการแสวงหาที่ไม่สิ้นสุด เพราะคนหลายคนต้องการเดินบนถนนแห่งโยคะเพื่อการค้นหา ค้นพบ เกิดจินตนาการ และนำมาปรับใช้กับชิวิตประจำวันได้จริง

ข้อเขียนนี้ ผู้เขียน ๆ ขึ้นเพื่อเป็นการแบ่งปันความรู้ในวิถีโยคะแบบดั่งเดิม หากท่านเห็นว่ามีประโยชน์กรุณาช่วยกันแบ่งปันต่อไปทาง ออนไลน์ แต่กรุณาอย่าดัดแปลง หรือ กรุณาอย่านำไปลงในสื่ออื่น ๆ แต่อย่างใด  ขอบคุณครับ




Create Date : 10 ตุลาคม 2553
Last Update : 10 ตุลาคม 2553 7:28:46 น. 2 comments
Counter : 1052 Pageviews.  
 
 
 
 
ธรรมชาติบำบัด ปรับสมดุล(ร้อน-เย็น) แบบสุขภาพดีวิถีพุทธ คือการดูแลตัวเองที่ดีที่สุด
 
 

โดย: nuyect วันที่: 12 ตุลาคม 2553 เวลา:19:09:42 น.  

 
 
 
ขอบคุณครับที่มาแบ่งปันกันครับ
 
 

โดย: Beautybig วันที่: 13 ตุลาคม 2553 เวลา:0:20:21 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

Beautybig
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 16 คน [?]




สวัสดีครับ ไม่ค่อยได้เข้ามาใน Blog เท่าไหร่ แต่สามารถติดตามกันได้ที่

http://www.krityoga.com

หรือ https://www.facebook.com/ThaiYogaInstituteAlumni/
โยคะสารัตถะ เล่มเดือนมีนาคม มารู้จักโยคะจากผู้เรียนที่ สวนโมก สวนรถไฟ กรุงเทพกัน
New Comments
[Add Beautybig's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com