A room to learn and talk
 
จิตวิทยาสำคัญอย่างไรต่อโยคะ

ท่ามกลางกระแสแห่งความนิยมโยคะในโลกยุคปัจจุบัน จะพบว่ามีการฝึกโยคะกันหลากหลายรูปแบบและหลากหลายสำนัก ก่อให้เกิดคำถามว่า อะไรคือโยคะที่แท้จริง อะไรเป็นโยคะแบบปลอมๆ จิตวิทยาซึ่งเป็นศาสตร์สมัย ใหม่ที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกจึงเข้ามาบทบาทสำคัญในเรื่องดังกล่าว เพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานในการแยกแยะและให้ความกระจ่างแก่คนทั่วไป  เช่น เรามักจะได้ยินคำถามว่า โยคะร้อนใช่โยคะหรือไม่ หรือหากในอนาคต อาจมีโยคะแบบใดก็ตาม เกิดขึ้นในส่วนต่างๆของโลก เช่น โยคะแบบเกาหลี  อัฟริกาใต้ นิวซีแลนด์ เป็นโยคะที่แท้จริงหรือไม่  หากเรายึดตำราดั้งเดิมเป็นแนวทาง และใช้จิตวิทยามาศึกษาควบคู่กันไป ก็จะขจัดข้อสงสัยดังกล่าวได้   หลักเกณฑ์ที่ใช้พิจารณา มีอยู่ 2 ประการ คือ
1. วิธีการหรือคำสอนและทิศทาง
2. ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ทั้ง 2 ประการนี้ต้องเป็นไปตามที่ระบุไว้ในตำรำโบราณหรือตรงตามประเพณีที่สืบทอดมา ยกตัวอย่างเช่น
1. การเปล่งเสียง โอม เป็นโยคะหรือไม่ เราจะทราบได้อย่างไร ในคัมภีร์ศรีมัท ภควัต มหาปุราณ เล่มที่11 บทที่ 14 โศลกที่ 32-35  ระบุเรื่องนี้ไว้ โดยมีรายละเอียด3 ประการคือ
1. เกิดแรงสั่นสะเทือนบริเวณหัวใจ (Heart region vibration)
2. เสียงที่ค่อยๆ สอบเบาลง (Tapering sound)
3. ประหนึ่งใยบางเบาของก้านบัว (Like lotus stalk pipe)

ดังนั้นวิธีการเปล่งเสียงโอม ต้องใช้โทนเสียงต่ำ จึงจะเกิดแรงสั่นสะเทือนบริเวณหัวใจและจะทำให้ทอดเสียงยาวค่อยๆจางหายไป เหมือนใยบัวได้ง่ายกว่าการใช้โทนเสียงสูง เป็นต้น

2. ท่าศพ มีระบุไว้ในหฐปฎีปิกะ โศลกแรก กล่าวถึงวิธีการคือ ให้นอนลงประดุจดังศพ โศลกที่สองเป็น ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นมี 2 ประการคือ ความเหนื่อยล้าหมดไปเและจิตมีความผ่องใส  เมื่อวิเคราะห์ท่าศพผ่านคำจารึกจากคัมภีร์โบราณ จะช่วยให้เราเข้าใจเป้าหมายที่แท้จริงของท่าศพ นั่นคือ มิใช่แค่การขจัดความเหนื่อยล้าทางกายเท่านั้น แต่เป็นการผ่อนคลายชำระล้างในระดับจิตใจ จิตของมนุษย์ มี 3 ระดับ คือ มนัส อหังการ์ และพุทธิ หากเราฝึกท่าศพ จะมีการพัฒนาระดับของความมีสติ (Awareness) มากขึ้นเรื่อยๆ คือเมี่อเริ่มฝึกใหม่ๆ จะมีสติรับรู้ร่างกายทีละส่วน จนเมื่อมีความชำนาญขึ้นจะเกิดการขยายผลครอบคลุมทั้ง 3 ระดับของจิต นำไปสู่ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมในคราวเดียวกัน ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของท่าศพ

คำอธิบายทางจิตวิทยาคือ ขณะที่อยู่ในท่าศพ จะเกิดมีสภาวะ 2 ประการเกิดขึ้น ค้นพบ (Detect) และ ปล่อยวาง (Reject )  เป็นการใช้สติตรวจพบสิ่งที่สะสมและหยั่งรากลึกอยู่ในรูปของความเก็บกด ความเศร้าหมอง ความกลัว ความปรารถนา แรงจูงใจต่างๆ ซึ่งจะปรากฏขึ้นในพื้นจิต  จากนั้นจึงปฎิเสธหรือละวางสิ่งเหล่านี้ โดยปราศจากอารมณ์ในเชิงลบ ค้นพบแล้วขับออกด้วยอาการปล่อยวาง ไม่ยึดถือไว้ ไม่ตัดสิน ไม่มีอคติใดๆ  ซึ่งจะนำไปสู่การผ่อนคลายอันซับซ้อนละเอียดอ่อน  ที่เรียกว่า จิตวิชาญ (Citta – Vishranti ) จิตจะถูกชำระล้างให้มีความบริสุทธิ์ผ่องใส การผ่อนคลายซึ่งคู่ขนานไปกับการตื่นรู้ของจิตนี้ ( Parallel Vigilance) จะไม่เกิดขึ้น  หากเราฝึกโยคะแบบการออกกำลังกาย  สภาวะนี้เป็นความโดดเด่นประการสำคัญของท่าศพ ที่ระบุไว้ในคัมภีร์โบราณ ซึ่งสามารถพัฒนาไปสู่ ธารณะ และ ฌาน ได้ในที่สุด
3. ตราตากะ   เป็นการฝึกเพ่งจ้องเปลวเทียน หรือหัวแม่มือ ด้วยความผ่อนคลาย เป็นการชำระล้างดวงตาและจิตใจ  ดวงตาเป็นช่องทางที่สำคัญต่อการเปิดรับข้อมูลเข้าสู่สมองและจิต  คนส่วนใหญ่มีแนวโน้มว่าจะตอบสนองต่อข้อมูลหรือสิ่งเร้ามากเกินไป  ดังนั้นการควบคุมดวงตาจึงเท่ากับเป็นการจัดสมดุลของระบบประสาทเสียใหม่เพื่อ ให้รับและตอบสนองต่อสิ่งเร้าแต่เพียงพอดี

ในทุกเทคนิคของโยคะ เป็นการประหยัดพลังงาน  ฝึกร่างกายให้ใช้พลังงานน้อยที่สุด แต่เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด เช่น การทำสมาธิ ซึ่งใช้พลังงานน้อยมากแต่มีประโยชน์มากมาย การฝึกโยคะมี  4 สภาวะ คือ
1 วิตารกะ (Vitarka) ตั้งคำถาม หรือลังเล สงสัย ต่อต้าน
2 วิจาระ (Vichara) พิจารณาอย่างรอบคอบ
3 อนันทะ (Saananda) เกิดความยินดี เป็นสุข พอใจ
4 อาสมิสตะ (Asmita) เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติหรือจักรวาล
ใน ทางจิตวิทยานั้น ใช้สภาวะที่1-3 เป็นการบำบัดรักษา เช่น ช่วยขจัดการนอนไม่หลับ ขจัดความวิตกกังวล  คลายความเครียด ช่วยให้ระบบประสาทเป็นปกติ เป็นต้น  สภาวะที่ 1-3 นั้น สามารถเรียนรู้หรือสอนกันได้ เป็น “โยคะทางกาย” ( Material Yoga) ส่วนสภาวะที่ 4 นั้น ต้องเรียนรู้ค้นพบด้วยตัวเอง ไม่อาจสอนกันได้ เป็น
โยคะทางจิตวิญญาณ ( Spiritual Yoga)

4. Yoga Citta Vritti Nirodtha เป็นโศลกสำคัญที่สุดซึ่งระบุไว้ในปตัญชลีโยคะสูตร บทที่ 1.2  กล่าวว่า โยคะเป็นไปเพื่อดับการปรุงแต่งของจิต แต่เมื่อนำจิตวิทยามาศึกษาประโยคนี้ เราจะพบข้อโต้แย้งว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะดับการปรุงแต่งของจิตทั้ง 5 ประการอย่างสิ้นเชิงคือ
1  นิทรา/Nidra/Sleep/นอนหลับ
2  สมฤดี/Smrti/Memory/ความจำ
3  ประมาณะ/Pramana/Right knowledge/ความรู้ที่ถูกต้อง
4  วิปารยายะ/Viparayaya/Wrong knowledge      ความรู้ที่ไม่ถูกต้อง
5  วิกัลปะ/Vikalpa/Imagine/จินตนาการ

ดังนั้นในแง่จิตวิทยา จึงอธิบายว่า ให้มีการปรุงแต่งของจิตเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น และปรับการปรุงแต่งนั้นให้มีความพอดี เช่น ไม่นอนมากเกินไป ไม่จำมากเกินไป คิดเฉพาะเท่าที่จำเป็น เป็นต้น หรืออาจกล่าวได้ว่า ในมิติด้านจิตวิทยา โยคะคือการฝึกควบคุมอารมณ์ขั้นพื้นฐาน กายกรรม และวจีกรรม ซึ่งจะนำความสงบสุขมาสู่ชีวิตของเรา

หมายเหตุผู้ถอดความ: ในการถอดคำบรรยายซึ่งเป็นการพูดและมีการพาดพิงเชื่อมโยงและอธิบายรายละเอียด ข้ามไปมานั้น เมื่อจะแปรเนื้อความเป็นภาษาเขียนที่เข้าใจได้กระชับชัดเจนนั้น จำเป็นต้องมีการเรียบเรียง วางลำดับประโยคใหม่ เพิ่มเติมข้อความ และตัดคำถามบางส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องออกไปบ้าง  โดยพยายามคงเนื้อหาให้ใกล้เคียงมากที่สุด มีแผ่นซีดีที่บันทึกการบรรยายให้ขอยืมไปฟังได้ที่ห้องสมุดสารัตถะค่ะ

บรรยายโดย
Dr. R.S. Bhogal  ครูใหญ่ และ ผู้บรรยายวิชา Yoga and Mental Health
แห่ง โรงเรียนอบรมครู สถาบันไกวัลยธรรม เมืองโลนาฟลา ประเทศอินเดีย
ซึ่งเดินทางมาเมืองไทยเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2549
แปลเป็นไทยโดย ครูกรพินท์ ลิขิตกิจสมบูรณ์

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ สถาบันโยคะวิชาการ





Create Date : 02 พฤษภาคม 2556
Last Update : 2 พฤษภาคม 2556 23:57:15 น. 0 comments
Counter : 1042 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

Beautybig
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 16 คน [?]




สวัสดีครับ ไม่ค่อยได้เข้ามาใน Blog เท่าไหร่ แต่สามารถติดตามกันได้ที่

http://www.krityoga.com

หรือ https://www.facebook.com/ThaiYogaInstituteAlumni/
โยคะสารัตถะ เล่มเดือนมีนาคม มารู้จักโยคะจากผู้เรียนที่ สวนโมก สวนรถไฟ กรุงเทพกัน
New Comments
[Add Beautybig's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com