Group Blog
 
All Blogs
 
ที่มาของคำว่า"สมัยพระเจ้าเหา"

พระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ เป็นพระราชวังที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช โปรดให้สร้างขึ้น ณ เมืองลพบุรี เมื่อประมาณ พ.ศ.2208-2209 มีข้อสันนิษฐานที่สำคัญ คือ ใน พ.ศ. 2207 เกิดกรณีพิพาทระหว่างฮอลันดากับไทย ฮอลันดาได้นำเรือมาปิดปากอ่าวไทยและบังคับให้ไทยทำสนธิสัญญาเสียเปรียบทางการค้าและเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต สมเด็จพระนารายณ์ทรงเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่ติดริมแม่น้ำใหญ่ ไม่ห่างจากทะเล และด้วยเหตุผลทางการเมืองภายในประเทศ พระองค์โปรดให้สร้างพระราชวังที่เมืองลพบุรี ใช้เป็นราชธานีที่สอง ด้วยสภาพภูมิประเทศที่ตั้งอยู่ไกลจากแม่น้ำใหญ่ มีป่า ภูเขา สัตว์ป่าชุกชุมทำให้ต้องอัธยาศัยในการเสด็จเข้าป่าล่าสัตว์ล้อมจับช้างในบริเวณป่าใกล้เมืองลพบุรี พระองค์จึงรู้สึกปลอดภัยเมื่อประทับอยู่ที่เมืองลพบุรี
พระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์มีพื้นที่ประมาณ 43 ไร่ ออกแบบโดยวิศวกรชาวฝรั่งเศส ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบไทยผสมตะวันตก สมเด็จพระนารายณ์ทรงโปรดประทับ ณ เมืองลพบุรีเกือบตลอดปี เฉพาะฤดูฝนเท่านั้น จึงเสด็จไปประทับอยู่ ณ กรุงศรีอยุธยา เมืองลพบุรีจึงเป็นศูนย์กลางความเจริญตลอดรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์
เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 2231 พระราชวังถูกทิ้งร้างจนกระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรด ฯ ให้ซ่อมแซมพระราชวังเดิมของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อ พ.ศ.2399 โปรดให้สร้างพระที่นั่งเพิ่มขึ้น และพระราชทานชื่อพระราชวังนี้ว่า "พระนารายณ์ราชนิเวศน์"
พระราชวังหันเข้าหาตัวเมือง ด้านหลังติดแม่น้ำลพบุรี กำแพงพระราชวังก่ออิฐถือปูน กำแพงชั้นนอกสูงใหญ่โดยรอบ มีใบเสมาเรียงรายบนสันกำแพงตลอด ตรงกึ่งกลางกำแพงมีป้อมปืนอยู่ 7 ป้อม ตรงฐานของป้อมปืนแต่ละป้อมเจาะเป็นช่องกลมเพื่อเสียบปืนใหญ่ กำแพงด้านในเจาะเป็นช่องสำหรับตามประทีป มีประตูทางเข้า 7 ประตู มีลักษณะโค้งแหลม ปัจจุบันเปิดให้เข้าได้เฉพาะประตูด้านหน้า ทางทิศตะวันออกเท่านั้น

พระที่นั่งและตึกที่สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

1. พระที่นั่งจันทรพิศาล เป็นพระที่นั่งซึ่งตรงกับบันทึกชาวฝรั่งเศสว่า เป็นหอประชุมองคมนตรี เป็นสถาปัตยกรรมแบบไทยแท้ มีลักษณะคล้ายโบสถ์หรือวิหารด้านหน้ามีมุขเด็จ เพื่อเสด็จออกให้ข้าราชการเข้าเฝ้าตรงชาลาหน้าพระลาน เมื่อพระราชวังถูกทิ้งร้าง เครื่องบนพระที่นั่งปรักหักพัง เหลือแต่ผนัง ได้รับการซ่อมแซมให้สมบูรณ์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
2. พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท เป็นพระที่นั่งท้องพระโรงทรงสูง มียอดแหลมทรงมณฑป ตรงกลางท้องพระโรงมีสีหบัญชรเป็นที่เสด็จออกเพื่อทรงมีพระราชปฏิสันถารกับผู้เข้าเฝ้า ฝาผนังประดับด้วยกระจกเงาซึ่งนำมาจากประเทศฝรั่งเศส ประตูและหน้าต่างท้องพระโรงซึ่งอยู่ทางด้านหน้าทำเป็นโค้งแหลม ส่วนตัวมณฑปที่อยู่ด้านหลังทำประตูหน้าต่างเป็นซุ้มแบบไทย คือซุ้มเรือนแก้วฐานสิงห์ ผนังพระด้านนอกพระที่นั่งตรงมณฑปชั้นล่าง เจาะเป็นช่องโค้งแหลมไว้สำหรับตามประทีปในเวลากลางคืน
3. พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ เป็นที่ประทับส่วนพระองค์ของสมเด็จพระนารายณ์ บันทึกของชาวฝรั่งเศสกล่าวว่าพระที่นั่งองค์นี้ตั้งอยู่ในพระราชอุทยานที่ร่มรื่น ทรงปลูกพรรณไม้ต่างๆ ด้วยพระองค์เอง หลังคาพระที่นั่งมุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลือง ที่มุมทั้งสี่มีสระน้ำขนาดใหญ่ 4 สระ ใช้เป็นที่สรงสนานของพระเจ้าแผ่นดิน สมเด็จพระนารายณ์สวรรคต ณ พระที่นั่งองค์นี้ เมื่อ พ.ศ. 2231 ปัจจุบันเหลือเพียงแต่ฐานรากเท่านั้น
4. ตึกเลี้ยงรับแขกเมือง บันทึกของชาวฝรั่งเศสกล่าวว่า ตึกหลังนี้อยู่กลางอุทยานเป็นตึกชั้นเดียวขนาดกระทัดรัด รอบตึกมีคูน้ำล้อมรอบสามด้านเป็นรูปตัวยู U ภายในคูน้ำมีน้ำพุพุ่งเรียงรายราว 20 แห่ง สมเด็จพระนารายณ์ได้พระราชทานเลี้ยงแก่คณะทูตจากฝรั่งเศส ณ สถานที่แห่งนี้ ใน พ.ศ. 2228 และพ.ศ. 2230
5. ตึกพระเจ้าเหา ตึกหลังนี้แสดงให้เห็นลักษณะสถาปัตยกรรม สมัยสมเด็จพระนารายณ์ชัดเจนมาก ภายในตึกมีฐานชุกชีปรากฏให้เห็นอยู่บันทึกของชาวฝรั่งเศสระบุว่าเป็นวัด ตึกหลังนี้อาจเป็นหอพระประจำพระราชวังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปชื่อว่า "พระเจ้าเหา" ประตูหน้าต่างทำเป็นซุ้มเรือนแก้วฐานสิงห์ ผนังด้านสกัดสูงยันอกไก่ ตรงจั่วเจาะเป็นช่องโค้งแหลม มีกำแพงแก้วเจาะเป็นช่องสำหรับวางตะเกียงล้อมรอบตึก
6. สิบสองท้องพระคลัง (พระคลังศุภรัตน์ ) เป็นอาคารชั้นเดียวที่ตั้งอยู่ระหว่างถังเก็บน้ำประปาและตึกเลี้ยงรับแขกเมือง สร้างขึ้นเป็นเรือนยาวสองแถวเรียงชิดติดกันอย่างมีระเบียบ เครื่องบนเป็นไม้มุงกระเบื้องกาบ ประตูและหน้าต่างเป็นแบโค้งแหลม อาคารข่อนค้างทึบ มีถนนผ่ากลางจำนวน 12 ห้องเข้าใจว่าเป็นคลังเก็บสินค้าเก็บสิ่งของเพื่อใช้ในราชการ
7. ถังเก็บน้ำ ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ชาวฝรั่งเศสและชาวอิตาลีได้ช่วยกันสร้างระบบระบายน้ำ ด้วยท่อดินเผาเพื่อลำเลียงน้ำจากห้วยซับเหล็ก ซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่อยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองลพบุรี มาใช้ในพระราชวังและในเมืองลพบุรี ถังเก็บน้ำในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ คงทำไว้เพื่อกักน้ำไว้จ่ายในพระที่นั่งและตึกต่าง ๆ ในพระราชวัง
8. โรงช้างหลวง ตั้งเรียงรายเป็นแถวชิดริมกำแพง เขตพระราชฐานชั้นนอกด้านในสุด โรงช้างส่วนใหญ่ปรักหักพังเหลือแต่ฐาน ปรากฏให้เห็นประมาณ 10 โรง ช้างซึ่งยืนโรงในพระราชวัง คงเป็นช้างหลวงหรือช้างสำคัญ สำหรับใช้เป็นพาหนะของสมเด็จพระนารายณ์ เจ้านายหรือขุนนางสำคัญพระที่นั่งและตึกที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
9. หมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฎ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างพระที่นั่งองค์นี้ใน พ.ศ.2405 ในพระราชวังเดิมของสมเด็จพระนารายณ์ ณ เมืองลพบุรี ประกอบด้วยพระที่นั่งต่าง ๆ ดังนี้ คือ มุขด้านซ้ายมือ พระที่นั่งอักษรศาสตราคม เป็นที่ทรงพระอักษร มุขด้านขวาคือ พระที่นั่งไชยศาสตรากร เป็นที่เก็บอาวุธ พระที่นั่งองค์ขวางตรงกลางคือ พระที่นั่งวิสุทธิวินิจฉัย ใช้เป็นท้องพระโรงเสด็จออกว่าราชการ ด้านหลังสุดเป็นอาคารสูง 3 ชั้น คือพระที่นั่งพิมานมงกุฎ เป็นที่ประทับส่วนพระองค์
10. หมู่ตึกพระประเทียบ ตั้งอยู่บริเวณหลังพระที่นั่งพิมานมงกุฎ อยู่ในเขตพระราชฐานชั้นกลาง เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนสูง 2 ชั้น เรียงรายอยู่ 8 หลัง สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่พักของข้าราชการฝ่ายในผู้ตามเสด็จ
11. ทิมหรือที่พักของทหารรักษาการณ์ เป็นศาลาโถง อยู่ข้างประตูทางข้าเขตพระราชฐานชั้นกลางทั้งสองด้าน ใช้เป็นที่พักของทหารรักษาการณ์ในเขตพระราชวัง


Create Date : 26 สิงหาคม 2548
Last Update : 30 พฤศจิกายน 2548 10:11:36 น. 4 comments
Counter : 944 Pageviews.

 
เข้ามาดู



//
พระเจ้าเหา


โดย: กรุณาใช้บริการช่องถัดไป วันที่: 21 พฤศจิกายน 2548 เวลา:22:18:44 น.  

 
มีเนื้อหาไม่เพียงพอ


โดย: ศิริวรรณ IP: 125.24.75.171 วันที่: 19 มกราคม 2552 เวลา:18:13:41 น.  

 
5555555555555555555555


โดย: 48456 IP: 125.24.75.171 วันที่: 19 มกราคม 2552 เวลา:18:14:18 น.  

 
ไม่ฮาเรยสาดดดด





ควE


โดย: ควE IP: 192.168.3.5, 203.172.181.222 วันที่: 2 กรกฎาคม 2552 เวลา:9:24:55 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

*~~nOnGtEErAk~~*
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add *~~nOnGtEErAk~~*'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.