All Blog
โรคลิ้นหัวใจรั่ว
ที่มา'//www.health-protect.com

โรคลิ้นหัวใจรั่วเป็นอีกโรคหนึ่งที่ถือเป็นภัยเงียบสำหรับคนไทย ที่บอกเป็นภัยเงียบก็เพราะโรคนี้เป็นโรคที่ไม่แสดงอาการในระยะเริ่มแรก แต่จะเริ่มแสดงอาการเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น แต่อาการก็ไม่รุ่นแรง ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ไม่สามารถรักษาให้หายได้ตั้งแต่เนิน โรคลิ้นหัวใจรั่วเมื่อเกิดกับใครแล้วจะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง หรือรบกวนชีวิตประจำวันของคนๆนั้น เพราะเวลาจะทำอะไรก็จะรู้สึกเหนื่อยง่าย ไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพอย่างที่ควรจะเป็น

โรคลิ้นหัวใจรั่วจะแสดงอาการรุ่นแรงเมื่ออายุประมาณ 40 – 50 ปีขึ้นไป จนทำให้ผู้ป่วยเหนื่อยและอ่อนเพลียมากขึ้นเกือบๆจะทุกการเคลื่อนไหว ซึ่งบางรายก็อาจเสียชีวิตได้เนื่องจากการทำงานของหัวใจล้มเหลว

โรคลิ้นหัวใจรั่วมักมีสาเหตุจากความผิดปกติของเนื้อเยื่อลิ้นหัวใจมาแต่กำเนิดงผลให้ลิ้นหัวใจเสื่อมไวกว่าคนทั่วไป โรคลิ้นหัวใจรั่ว ที่พบบ่อยในคนไทยคือ ลิ้นหัวใจที่กั้นระหว่างห้องบนและห้องล่างด้านซ้าย

โดยโรค ลิ้นหัวใจรั่ว ที่เกิดจากความผิดปกติแต่กำเนิด มักไม่แสดงอาการในวัยเด็ก แต่จะเริ่มเหนื่อยง่าย ใจสั่น เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น โดยมีผลให้การออกกำลังกายได้น้อย ทำงานได้น้อยลง หรือแม้กระทั่งบางคนเพียงเดินขึ้นเดินขึ้นบันได 1-2 ชั้น ก็เหนื่อย นอนราบไม่ได้หายใจไม่ออก เป็นต้น

อาการของโรคลิ้นหัวใจรั่ว ไม่รุนแรง แต่เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป อาจยาวนานจนกระทั่ง 40 ปีผ่านไป จึงเริ่มแสดงอาการรุนแรง จากการที่ลิ้นหัวใจเสื่อมมากขึ้น จนทำให้ร่างกายเหนื่อย อ่อนเพลียง่ายกับทุกอิริยาบถการเคลื่อนไหว บางรายที่เป็นมากอาจเสียชีวิตเนื่องจากการทำงานของหัวใจล้มเหลว



การตรวจหาลิ้นหัวใจรั่ว

การตรวโรคลิ้นหัวใจรั่วที่ให้ผลแม่นยำและเป็นมาตรฐาน จะตรวจโดยการใช้คลื่นเสียงสะท้อนหรือเครื่องอัลตราซาวนด์ เรียกการตรวจชนิดนี้ว่า เอคโค่ (echocardiogram) ซึ่งต้องอาศัยเครื่องมือ และ ความชำนาญของแพทย์ในการทำ และแปลผลด้วย

โดยส่วนใหญ่การตรวจแบบใช้เครื่องอัลตราซาวนด์ สามารถใช้เวลาเพียง 30 นาทีก็สามารถรู้ผลการตรวจได้ว่าหัวมีความผิดปกติหรือไม่ และสภาพการทำงานเป็นอย่างไร เช่น ทิศทางการไหลเวียนของเลือด จังหวะการสูบฉีดเลือดของหัวใจเมื่อมีการหายใจเข้าออก การปิดเปิดของลิ้นหัวใจเมื่อเลือดสูบฉีดว่ามีการรั่ว หย่อนยาน หรือปูดขึ้นหรือไม่ ทั้งนี้แพทย์จะแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยด้วยว่าจะรักษาด้วยวิธีการใดถึงจะเหมาะสมกับอาการที่ผู้ป่วยเป็นอยู่
สาเหตุหลักๆของการเกิดลิ้นหัวใจรั่ว

1 มีความผิดปกติของลิ้นหัวใจที่เป็นมาแต่กำเนิด โดยอาจไม่มีอาการใดๆในวัยเด็กก็ได้ หรือตั้งแต่มารดาตั้งครรภ์

2 ลิ้นหัวใจเสื่อมตามอายุ เนื่องจากเป็นอวัยวะที่เคลื่อนไหวและรับแรงจากเลือดตลอดเวลา ดังนั้นจึงเกิดการเสื่อมขึ้น ลิ้นหัวใจ จะหนาตัวขึ้นและเริ่มมีหินปูน (calcium) เข้าไปสะสมในเนื้อเยื่อ ทำให้ปิดไม่สนิท

3 โรคหัวใจรูห์มาติค ซึ่งเริ่มต้นจากการติดเชื้อ Streptococus ในคอ ซึ่งพบบ่อยในเด็ก ร่างกายสร้างภูมิต้านทานขึ้นมา ต่อต้านหัวใจตนเอง เกิดการอักเสบของลิ้นหัวใจ ผลตามมาคือลิ้นหัวใจหนาตัวขึ้นมาก เกิดลิ้นหัวใจตีบและรั่ว โรคนี้ยังจัดเป็นปัญหา สาธารณสุขของประเทศอยู่ พบบ่อยๆ ในผู้ป่วยเศรษฐานะต่ำ หรืออยู่ในชุมชนแออัด

4 เกิดจากการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ ทำให้ลิ้นหัวใจอักเสบเป็นรู เชื้อโรคอาจมาจากช่องปาก เข็มฉีดยาที่ไม่สะอาด (ในผู้ติดยา เสพติด) การเจาะตามร่างกาย(เช่น เจาะลิ้น เจาะอวัยวะเพศ) เป็นต้น
อาการและการรักษา

การรักษาในช่วงที่ ลิ้นหัวใจรั่ว ไม่รุนแรงมาก แพทย์มักจะแนะนำให้ป้องกันการติดเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด เช่น การหลีกเลี่ยงทำฟันเมื่อมีแผลอักเสบในช่องปาก หรือควรบอกการเจาะตามร่างกายต่างๆ เช่น ผู้ที่ชอบเจาะลิ้น อวัยวะเพศ เป็นต้น

ลิ้นหัวใจรั่วอย่ามัวเฉยชา ต้องรีบพบแพทย์
admin | Jul 24, 2009 | 0 comments
โรคหัวใจอื่นเราเฝ้าระวังดูแลสุขภาพก็ลดเสี่ยงได้ ต่างจากโรคลิ้นหัวใจรั่ว ที่สาเหตุจากความผิดปกติของเนื้อเยื่อลิ้นหัวใจมาแต่กำเนิด

เรียนกันมาตั้งแต่ประถม รู้กันดีว่าหัวใจมีสี่ห้อง แต่ละห้องจะมีลิ้นหัวใจคล้ายกลีบดอกทิวลิปคอยหุบคอยบานทำหน้าที่เหมือนวาล์วน้ำอัตโนมัติเปิดปิดให้เลือดไหลผ่านจากห้องหนึ่งไปอีกห้องหนึ่งส่งไปให้ปอดฟอกออกซิเจนกลับมาไหลเวียนสู่ระบบโลหิตอีกครั้ง


ลิ้นหัวใจบางคนโชคร้าย ใช้งานไปนานวันเกิดอาการลักปิดลักเปิดทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ รบกวนชีวิตประจำวันทำอะไรนิดหน่อยก็เหนื่อย อาบน้ำยังเหนื่อยเลย ทางที่ดีควรไปให้แพทย์ตรวจอย่างละเอียด เล่าอาการให้หมดเปลือก พบเร็วรักษาเร็วไม่ต้องเสียเงินทองมากมาย

โรคหัวใจอื่นเราเฝ้าระวังดูแลสุขภาพ ออกกำลังกาย ไม่บริโภคอาหารเสี่ยงได้ ต่างจากโรคลิ้นหัวใจรั่วที่มักมีสาเหตุจากความผิดปกติของเนื้อเยื่อลิ้นหัวใจมาแต่กำเนิด ส่งผลให้ลิ้นหัวใจเสื่อมไวกว่าคนทั่วไป โรคลิ้นหัวใจรั่วที่พบบ่อยในคนไทยคือ ลิ้นหัวใจที่กั้นระหว่างห้องบนและห้องล่างด้านซ้าย

“โรคลิ้นหัวใจรั่วที่เกิดจากความผิดปกติแต่กำเนิด มักไม่แสดงอาการในวัยเด็ก แต่จะเริ่มเหนื่อยง่าย ใจสั่น เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น โดยมีผลให้การออกกำลังกายได้น้อย หรือบางคนเดินขึ้นบันได 1-2 ชั้น ก็เหนื่อย นอนราบไม่ได้หายใจไม่ออก เป็นต้น” นพ.วิสุทธิ์ วิเวกาภิรัต ผู้อำนวยการอายุรศาสตร์โรคหัวใจ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อธิบาย

การดำเนินอาการของโรคลิ้นหัวใจรั่วไม่รุนแรง แต่เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป อาจยาวนานจนกระทั่ง 40 ปีผ่านไป จึงเริ่มแสดงอาการรุนแรง จากการที่ลิ้นหัวใจเสื่อมมากขึ้น จนทำให้ร่างกายเหนื่อย อ่อนเพลียง่ายกับทุกอิริยาบถการเคลื่อนไหว บางรายที่เป็นมากอาจเสียชีวิตเนื่องจากการทำงานของหัวใจล้มเหลว

ปัจจัยที่ทำให้ลิ้นหัวใจเสื่อมไวที่อายุประมาณ 40-50 คือ การติดเชื้อที่ผิวของเนื้อเยื่อจากกระแสโลหิตนั่นเอง เช่น จากการทำฟัน ในขณะที่ช่องปากมีแผลอักเสบอยู่ ซึ่งภูมิต้านทานร่างกายที่ต่ำจะทำให้เกิดการติดเชื้อเข้าสู่แผลและกระแสเลือด และทำให้ลิ้นหัวใจติดเชื้อได้ด้วย

ผู้อำนวยการอายุรศาสตร์โรคหัวใจ บอกว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยยังไม่เคยมีการทำสถิติว่ามีคนไข้ที่ป่วยเป็นโรคลิ้นหัวใจรั่วมากน้อยแค่ไหน แต่จากสถิติการวิจัยของต่างประเทศพบว่า 5-10% ของประชากร สามารถเกิดโรคลิ้นหัวใจผิดปกติได้ เพราะเนื้อเยื่อของลิ้นหัวใจมีความผิดปกติแต่กำเนิดเป็นหลัก หรือเนื้อเยื่อลิ้นหัวใจเสื่อมเร็วกว่าปกติ โดยลักษณะความเสื่อมจะแสดงในรูปของสภาพหย่อน ยาว หรือลิ้นหัวใจหนากว่าคนปกติ

มาตรฐานการวินิจฉัยโรคลิ้นหัวใจรั่วคือ การใช้คลื่นเสียงสะท้อน หรือเครื่องอัลตราซาวนด์ ใช้เวลาตรวจเพียง 30 นาทีก็สามารถรู้ผลการวินิจฉัยได้แล้วว่า หัวใจมีความผิดปกติอย่างที่สงสัยหรือไม่ และสภาพการทำงานของหัวใจปัจจุบันเป็นอย่างไร ด้วยค่าบริการตรวจประมาณ 2,500-4,000 บาทต่อคน

การวินิจฉัย แพทย์จะดูการทำงานของหัวใจทุกอย่าง เช่น ทิศทางการไหลเวียนของเลือด จังหวะการสูบฉีดเลือดของหัวใจเมื่อมีการหายใจเข้าออก การปิดเปิดของลิ้นหัวใจเมื่อเลือดสูบฉีดว่ามีการรั่ว หย่อนยาน หรือปูดขึ้นหรือไม่ เพื่อแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

การรักษาในช่วงที่ลิ้นหัวใจรั่วไม่รุนแรงมาก แพทย์จะแนะนำวิธีการป้องกันการติดเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด เช่น การหลีกเลี่ยงทำฟันเมื่อมีแผลอักเสบในช่องปาก หรือควรบอกแพทย์ก่อนที่จะรับการรักษาหากจำเป็นจริง เป็นต้น

สำหรับผู้ป่วยรายที่ลิ้นหัวใจรั่วมากจนกระทั่งกล้ามเนื้อที่พยุงการปิดเปิดลิ้นหัวใจเกิดการหย่อนยาน ปูด หรือหนา ต้องขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยแพทย์ ว่าสมควรได้รับการผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจที่เกิดการชำรุดหรือไม่

“การผ่าตัดซ่อมแซมสำหรับโรงพยาบาลเอกชนจะมีราคาสูงประมาณ 4-5 แสนบาทต่อครั้ง โดยรวมทั้งค่ารักษาพยาบาลและค่าบริการหลังการผ่าตัดเบ็ดเสร็จ โดยผลการรักษาในบางรายอาจดำรงชีวิตอย่างเป็นปกติได้ตลอดชีวิต และบางรายก็อาจมีการซ่อมแซมซ้ำก็ได้”ผู้อำนวยการอายุรศาสตร์โรคหัวใจ กล่าว

ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดซ่อมแซมบางราย หากเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตกตัว หรือไตวายซึ่งพบได้น้อย แพทย์ก็จะแนะนำให้เปลี่ยนลิ้นหัวใจทันที

การรักษาสำหรับผู้ป่วยที่ลิ้นหัวใจเสื่อม หรือเสียมาก แพทย์จะแนะนำให้เปลี่ยนลิ้นหัวใจ ซึ่งมีให้เลือกทั้งแบบจากธรรมชาติที่ได้จากเนื้อเยื่อของหัวใจวัว หรือเนื้อเยื่อหัวใจหมู และลิ้นหัวใจเทียมจากสารสังเคราะห์

วิธีการรักษาดังกล่าวจะมีราคาค่ารักษาอยู่ที่ 5-6 แสนเป็นอย่างต่ำ และสามารถรักษาให้กับผู้ป่วยทุกเพศทุกวัย และผลการรักษาจะได้ผลดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับการตอบสนองของร่างกายคนไข้ต่อลิ้นหัวใจใหม่ด้วย การรักษาด้วยวิธีนี้คนไข้จะต้องกินยาป้องกันไม่ให้ลิ่มเลือดเกาะกับเนื้อเยื่อลิ้นเทียมไปตลอด

นพ.วิสุทธิ์ บอกอีกว่า แม้โรคลิ้นหัวใจรั่วจะพบในผู้ใหญ่วัย 40-50 ได้มาก แต่เด็กแรกเกิดบางรายก็เป็นได้เหมือนกัน มักมีสาเหตุจากความผิดปกติตั้งแต่แม่ตั้งครรภ์ เช่น พัฒนาเด็กที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งการพยากรณ์โรคทำได้ยาก เพราะเนื้อเยื่อของเด็กยังไม่แข็งแรง ทำให้การรักษายาก และโอกาสในการรอดชีวิตน้อยไปด้วย




Create Date : 11 พฤษภาคม 2554
Last Update : 11 พฤษภาคม 2554 11:42:30 น.
Counter : 3538 Pageviews.

1 comment
บัญญัติ 10 ประการสำหรับผู้ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
ที่มา //www.swu.ac.th

พื่อให้การออกกำลังกายได้ผลดีเต็มที่และไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ผู้ที่ต้องการใช้การออกกำลังกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพ พึงยึดข้อปฏิบัติ 10 ข้อดังนี้
1.การประมาณตน
สภาพร่างกายและความเหมาะสมกับกีฬาชนิดต่าง ๆ ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน แม้ในคนคนเดียวกันในช่วงเวลาหนึ่งกับอีกช่วงเวลาหนึ่งก็แตกต่างกันได้ การจะได้ประโยชน์จากการออกกำลังกายมีกฎตายตัวว่าจะต้องเป็นไปตามความเหมาะสมกับสภาพร่างกาย หากการออก กำลังกายเบาเกินไปก็ได้ผลน้อยหรือไม่ได้ผล แต่หากออกกำลังกายหนักเกินไปนอกจากไม่ได้ผลแล้วยังเป็นอันตรายแก่สุขภาพอย่างยิ่งด้วย ข้อสังเกตที่สำคัญว่าการออกกำลังกายหนักเกินไปหรือไม่ ให้สังเกตจากความเหนื่อยคือ หากออกกำลังกายถึงขั้นเหนื่อยแล้วยังสามารถทำต่อไปได้ด้วยความหนักเท่าเดิมโดยไม่เหนื่อยเพิ่มขึ้น และเมื่อพักแล้วไม่เกิน 10 นาทีก็รู้สึกหายเหนื่อยแม้จะมีความอ่อนเพลียอยู่บ้าง แต่ในวันรุ่งขึ้นก็หายอ่อนเพลียกลับสดชื่นเช่นเดิมหรือมากกว่า แสดงว่าการออกกำลังกายนั้นไม่หนักเกินไป แต่ถ้ารู้สึกเหนึ่อยแล้วฝืนต่อไปกลับเหนื่อยมากขึ้นจนหอบ แม้พักแล้วเป็นชั่วโมงก็ยังไม่หายเหนื่อย และในวันรุ่งขึ้นก็ยังอ่อนเพลียอยู่ แสดงว่าการออกกำลังกายนั้นหนักเกินไป การออกกำลังกายครั้งใหม่จะต้องรอให้ร่างกายกลับสู่สภาพเดิมก่อนแล้วค่อยเริ่มด้วยความหนักที่น้อยกว่าเดิม จึงจะเป็นการปฏิบัติที่เพิ่มพูนประสิทธิภาพ

2.การแต่งกาย
มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งในด้านการเคลื่อนไหว ความอดทน และจิตวิทยาการออกกำลังกายและการเล่นกีฬาแต่ละอย่างย่อมมีเครื่องแต่งกายที่เหมาะสมทั้งเสื้อ กางเกง และรองเท้า (ภาพประกอบ 6.7) เสื้อผ้าที่รุ่มร่าม รองเท้าที่ไม่เหมาะกับเท้าหรือสภาพสนาม ย่อมทำให้การเคลื่อนไหวไม่คล่องตัวเท่าที่ควรและยังเป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุ ในด้านความอดทน ต้องคำนึงถึงการระบายความร้อนออกจากร่างกายเป็นสำคัญ เพราะในระหว่างที่ออกกำลังกาย ร่างกายจะมีความร้อนเกิดขึ้นมาก หากระบายออกไม่ทัน ความร้อนที่สะสมขึ้นจะเป็นตัวจำกัดการออกกำลังกายต่อไปและทำอันตรายต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ในกรณีที่เสื้อผ้ามิดชิดเกินไปหรือเสื้อผ้าทำด้วยวัสดุสังเคราะห์ที่มีคุณสมบัติในการซับเหงื่อได้น้อย จะทำให้การระบายความร้อนออกจาก ร่างกายเป็นไปด้วยความลำบากยิ่งขึ้น
เรื่องที่ปฏิบัติผิดกันอยู่เสมอคือ การใช้ชุดวอร์มโดยพร่ำเพรื่อ จุดประสงค์หลักในการใส่ชุดวอร์มคือ ทำให้ร่างกายอบอุ่นเร็ว (Warm up) เมื่อความอบอุ่นของร่างกายสูงเพียงพอแล้ว การทำงานของ ร่างกายจะได้สมรรถภาพสูงสุด แต่ถ้าอบอุ่น (ร้อน) เกินไปสมรรถภาพทางกายจะกลับลดลง สำหรับสภาพอากาศในประเทศไทย การใช้ชุดวอร์มเกือบจะไม่มีความจำเป็นเลย เพราะอากาศร้อนอยู่แล้ว ถ้าจะใช้ก็ไม่ควรจะใช้ในระหว่างการฝึกซ้อมหรือออกกำลังที่ใช้ความอดทน ปกติควรใช้เสื้อผ้าสีอ่อน

3.เลือกเวลาและดินฟ้าอากาศ
ทุกคนควรกำหนดเวลาฝึกซ้อมที่แน่นอนไว้ แต่ควรเป็นเวลาเดียวกันทุกวัน เพราะมีผลต่อการปรับตัวของร่างกาย การฝึกซ้อมตามความสะดวกโดยไม่มีการกำหนดเวลาแน่นอนและการฝึกในสภาพอากาศร้อนจะทำให้เหนื่อยเร็วและได้ปริมาณน้อยกว่าในอากาศเย็น จึงไม่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการฝึกความอดทน การเลือกอากาศอาจทำได้ยากหรือทำไม่ได้ แต่การเลือกเวลาทุกคนทำได้ โดยเฉพาะเวลาเช้าตรู่และตอนเย็นอุณหภูมิต่ำกว่ากลางวัน จึงเหมาะสำหรับการออกกำลังกายเพื่อความอดทน ส่วนการฝึกด้านแรงกล้ามเนื้อและความเร็วระยะสั้น ๆ อาจทำในอากาศร้อนได้อย่างไรก็ตามในการฝึกซ้อมเพื่อแข่งขัน จะต้องคำนึงถึงเวลาที่ใช้แข่งขันด้วย แต่ไม่จำเป็นต้องฝึกซ้อมในเวลานั้นทุกครั้งไป

4.สภาพของกระเพาะอาหาร
ในเวลาอิ่มจัดกระเพาะอาหารซึ่งอยู่ใต้กะบังลมจะเป็นตัวทำให้การขยายของปอดเป็นไปไม่ได้ดีเท่าที่ควร เพราะกะบังลมไม่อาจหดตัวต่ำลงได้มาก ในขณะเดียวกันในระบบไหลเวียนเลือดก็จะต้องแบ่งเลือดส่วนหนึ่งไปใชัในการย่อยและดูดซึมอาหาร ทำให้เลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อลดน้อยลง จึงเป็นผลเสียต่อการออกกำลังกาย ยิ่งกว่านั้นในกีฬาที่มีการกระทบกระแทก กระเพาะอาหารที่เต็มแน่นจะแตกได้ง่ายกว่ากระเพาะอาหารที่ว่าง หลักทั่วไปจึงให้งดอาหารหนักก่อนออกกำลังกาย 3 ชั่วโมง อย่างไรก็ตามกีฬาที่ใช้ความอดทนเป็นชั่วโมง ๆ เช่น วิ่งมาราธอนและจักรยานทางไกล ร่างกายต้องใช้พลังงานมาก การให้ท้องว่างอยู่นานอาจทำให้พลังงานสำรองหมดไป ดังนั้นก่อนการแข่งขันและระหว่างการแข่งขันอาจเติมอาหารที่ย่อยง่ายในปริมาณไม่ถึงอิ่มได้เป็นระยะ ๆ

5.การดื่มน้ำ
น้ำไม่ใช่อาหารแต่มีความจำเป็นมากในการออกกำลังกาย เพราะถ้าร่างกายสูญเสียน้ำไปมากถึงระดับหนึ่งสมรรถภาพจะลดต่ำลง เนื่องจากการระบายความร้อนออกจากร่างกายขัดข้องและถ้าเสียน้ำมากต่อไปก็จะเป็นอันตรายต่อร่างกาย จากการทดลองทั้งในห้องปฏิบัติการและในสนามเกี่ยวกับสมรรถภาพทางกายในสภาพที่ขาดน้ำและไม่ขาดน้ำ ได้ข้อสรุปกันว่า การขาดน้ำทำให้สมรรถ-ภาพทางกายลดลง การให้น้ำชดเชยส่วนที่ขาดทำให้สมรรถภาพทางกายไม่ลดลง น้ำสำรองนี้มีปริมาณ 2 % ของน้ำหนักตัว (เช่น คนที่น้ำหนัก 50 กก. มีน้ำสำรองสำหรับเสียได้ 1 กก.) ดังนั้นการเล่นกีฬาใด ๆ ก็ตามที่มีการเสียน้ำไม่เกินกว่า 2 % ของน้ำหนักตัว และก่อนการแข่งขันร่างกายอยู่ในสภาพที่ไม่ขาดดุลน้ำหรือในระหว่างเล่นไม่เกิดความกระหาย ผู้เล่นไม่จำเป็นต้องเติมน้ำในระหว่างนั้น
ในอากาศร้อน การเล่นกีฬาชั่วโมงหนึ่งอาจทำให้ร่างกายเสียน้ำถึง 2 ลิตรหรือกว่านั้น ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการชดเชย ความกระหายเป็นสิ่งบ่งบอกอย่างหนึ่งว่าร่างกายกำลังขาดน้ำ ถ้าไม่สามารถคำนวณได้แน่นอนว่าจะดื่มน้ำในครั้งเดียวเป็นปริมาณเท่าใดจึงหมดความกระหาย จะต้องค่อย ๆ เฉลี่ยปริมาณออกไป ในการทดลองของสถาบันกีฬาเวชศาสตร์แห่งเบอร์ลินพบว่า การให้น้ำชดเชยในปริมาณเท่ากับที่จะสูญเสียในการออกกำลังจะทำให้สมรรถภาพทางกายดีที่สุด แต่จะต้องแบ่งการชดเชยออกไปเป็นจำนวน 25 % ใน 1 ชั่วโมง ก่อนการเล่นอีก 75 % เฉลี่ยไปตามระยะเวลาการออกกำลังกาย

6.ความเจ็บป่วย
ความเจ็บป่วยทุกชนิดทำให้สมรรถภาพทางกายลดลง และร่างกายต้องการการพักผ่อน การออกกำลังกายที่เคยทำอยู่ย่อมเป็นการเกินกว่าที่สภาพร่างกายจะรับได้และอาจทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างการเป็นไข้ซึ่งร่างกายมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติและหัวใจต้องทำงานมากกว่าปกติเพื่อระบายความร้อน เมื่อไปออกกำลังกายเข้าอีก การระบายความร้อนและหัวใจจึงต้องทำงานหนักอย่างยิ่ง แม้แต่งานเบา ๆ ก็อาจเป็นงานหนักได้ นอกจากนั้นหากเป็นไข้ที่เกิดจาก เชื้อโรค การไหลเวียนเลือดที่เพิ่มขึ้นจากการออกกำลังกายอาจทำให้เชื้อโรคแพร่กระจายไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และทำให้เกิดอักเสบทั่วร่างกายหรือในอวัยวะที่สำคัญ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต การเป็นหวัด แพ้อากาศ ถ้าไม่มีอาการอื่นร่วม เช่น ไข้ เจ็บคอ ไอ อ่อนเพลียก็สามารถฝึกซ้อมและออกกำลังกายได้ตามปกติ

7.ความเจ็บป่วยระหว่างการออกกำลังกาย
เป็นที่แน่นอนว่าระหว่างการออกกำลังกายใด ๆ ก็ตามโอกาสจะเกิดอุบัติเหตุมีได้มากกว่าการอยู่เฉย ๆ ยิ่งเป็นการเล่นกีฬาที่มีการปะทะกันด้วยแล้ว โอกาสเกิดอุบัติเหตุยิ่งมีมากขึ้น แม้จะเป็นการออกกำลังกายคนเดียว ถ้าหากมีการเปลี่ยนสถานที่ ปริมาณและความหนักของการออกกำลังกาย ก็อาจมีอุบัติเหตุหรือความเจ็บป่วยเกิดขึ้นได้ ความรู้สึก ไม่สบาย อึดอัด การบังคับเคลื่อนไหวไม่ได้ เป็นสัญญาณที่แสดงว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น ถ้าฝืนออกกำลังกายต่อไปโอกาสที่จะเจ็บป่วยจนถึงขั้นร้ายแรงย่อมมากขึ้นตามลำดับ ดังนั้นเมื่อเกิดความเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุขึ้นในระหว่างการออกกำลังกายควรหยุดพักผ่อน ความเจ็บป่วยเล็กน้อยบางครั้งเมื่อพักชั่วครู่ก็หายไปเป็นปกติ อาจเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายต่อไปได้ แต่ถ้าออกกำลังกายต่อไปแล้วอาการเดิมกลับเป็นมากขึ้นก็ต้องหยุด ข้อนี้สำคัญมากสำหรับผู้เล่นกีฬา หรือผู้ออกกำลังกายที่อายุเกิน 55 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะอาการหายใจขัด จุกแน่น เจ็บบริเวณหน้าอก ซึ่งอาจเป็นอาการของการขาดเลือดหล่อเลี้ยงหัวใจการฝืนต่อไปอาจทำให้หัวใจวายและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

8.ด้านจิตใจ
ในระหว่างการฝึกซ้อมและการออกกำลังกาย จำเป็นต้องทำจิตใจให้ปลอดโปร่งคิดถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการฝึกซ้อมหรือออกกำลังกาย ตั้งใจปฏิบัติตามท่าทาง เทคนิคต่าง ๆ และคิด แก้ไขการปฏิบัติที่ผิด จะต้องพยายามขจัดเรื่องที่รบกวนจิตใจอื่น ๆ ในระหว่างนั้นออกไป หากขจัดไม่ได้จริง ๆ ก็ไม่ควรฝึกซ้อมหรือออกกำลังกายต่อไป เพราะทำให้เสียสมาธิและเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย (ตามหลักทางจิตวิทยา การออกกำลังกายมีผลต่อจิตใจในการช่วยลดความเครียดอยู่แล้ว)

9.ความสม่ำเสมอ
ผลเพิ่มของสมรรถภาพต่าง ๆ นอกจากจะขึ้นอยู่กับปริมาณความหนักเบาของการฝึกซ้อมหรือออกกำลังกายแล้ว ยังขึ้นอยู่กับความสม่ำเสมอด้วย ดังนั้น การฝึกซ้อมเพื่อแข่งขัน หรือเพื่อสุขภาพก็ตาม ต้องพยายามรักษาความสม่ำเสมอไว้ การฝึกหนักติดต่อกัน 1 เดือนแล้วหยุดไป 2 สัปดาห์แล้วจะมาเริ่มใหม่ จะเริ่มเท่ากับการฝึกครั้งสุดท้ายไม่ได้ จะต้องลดความหนักให้ต่ำกว่าครั้ง สุดท้ายที่ฝึกอยู่แล้วจึงค่อย ๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการเสียเวลามาก ข้อนี้นักกีฬาของไทยเป็นอยู่เสมอเมื่อหยุดแข่งขันก็หยุดฝึกซ้อมและต้องตั้งต้นกันใหม่เมื่อจะเริ่มแข่งขันอีก โอกาสที่จะเพิ่มสมรรถภาพให้สูงกว่าเดิมจึงไม่มี

10.การพักผ่อน
หลังการฝึกซ้อมหรือออกกำลังกาย ร่างกายเสียพลังงานสำรองไปมาก จำเป็นต้องมีการชดเชย รวมทั้งต้องซ่อมแซมส่วนสึกหรอและสร้างเสริมให้แข็งแรงยิ่งขึ้น กระบวนการเหล่านี้จะเกิดขึ้นในระหว่างการพักผ่อนหลังจากฝึกซ้อมหรือการออกกำลังกายอย่างหนัก จึงจำเป็นต้องพักผ่อนให้เพียงพอ ข้อสังเกตง่าย ๆ คือก่อนการออกกำลังกายครั้งต่อไป ร่างกายจะต้องสดชื่นอยู่ในสภาพเดิมหรือดีกว่าเดิม การออกกำลังกายวันต่อไปจึงจะทำได้มากขึ้นเป็นลำดับ

ข้อปฏิบัติ 10 ประการนี้ อาจจะไม่มีรายละเอียดมากพอหรือไม่ครบถ้วน แต่ถ้าผู้ออกกำลังกายนำไปปฏิบัติได้ ก็จะช่วยให้การฝึกซ้อมหรือการออกกำลังกายได้ผลดียิ่งขึ้น และลดอันตรายที่อาจจะ เกิดขึ้นให้น้อยลงด้วย



Create Date : 31 มีนาคม 2554
Last Update : 31 มีนาคม 2554 13:39:45 น.
Counter : 1133 Pageviews.

0 comment
ขั้นตอนการปฏิบัติตัวรับมือแผ่นดินไหว


ที่มา //www.cm108.com/bbb/41028.html

ก่อนการเกิดแผ่นดินไหว
ควรมีไฟฉายพร้อมถ่านไฟฉาย และกระเป๋ายาเตรียมไว้ในบ้าน และให้ทุกคนทราบว่าอยู่ที่ไหน
ศึกษาการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
ควรมีเครื่องมือดับเพลิงไว้ในบ้าน เช่น เครื่องดับเพลิง ถุงทราย เป็นต้น
ควรทราบตำแหน่งของวาล์วปิดน้ำ วาล์วปิดก๊าซ สะพานไฟฟ้า สำหรับตัดกระแสไฟฟ้า
อย่าวางสิ่งของหนักบนชั้น หรือหิ้งสูง ๆ เมื่อแผ่นดินไหวอาจตกลงมาเป็นอันตรายได้
ผูกเครื่องใช้หนัก ๆ ให้แน่นกับพื้นผนังบ้าน
ควรมีการวางแผนเรื่องจุดนัดหมาย ในกรณีที่ต้องพลัดพรากจากกันเพื่อมารวมกันอีกครั้งในภายหลัง
สร้างอาคารบ้านเรือนให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว

ระหว่างเกิดแผ่นดินไหว
อย่าตื่นตกใจ พยายามควบคุมสติอยู่อย่างสงบ ถ้าท่านอยู่ในบ้านก็ให้อยู่ในบ้าน ถ้าท่านอยู่นอกบ้านก็ให้อยู่นอกบ้าน เพราะส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บเพราะวิ่งเข้าออกจากบ้าน
ถ้าอยู่ในบ้านให้ยืนหรือหมอบอยู่ในส่วนของบ้านที่มีโครงสร้างแข็ง แรง ที่สามารถรับน้ำหนัก ได้มาก และให้อยู่ห่างจากประตู ระเบียง และหน้าต่าง
หากอยู่ในอาคารสูง ควรตั้งสติให้มั่น และรีบออกจากอาคารโดยเร็ว หนีให้ห่างจากสิ่งที่จะล้มทับได้
ถ้าอยู่ในที่โล่งแจ้งให้อยู่ห่างจากเสาไฟฟ้าและสิ่งห้อยแขวนต่าง ๆ ที่ปลอดภัยภายนอกคือที่โล่งแจ้ง
อย่าใช้ เทียน ไม้ขีดไฟ หรือสิ่งที่ทำให้เกิดเปลวหรือประกายไฟ เพราะอาจมีแก๊สรั่วอยู่บริเวณนั้น
ถ้าท่านกำลังขับรถให้หยุดรถและอยู่ภายในรถ จนกระทั่งการสั่นสะเทือนจะหยุด
ห้ามใช้ลิฟท์โดยเด็ดขาดขณะเกิดแผ่นดินไหว
หากอยู่ชายหาดให้อยู่ห่างจากชายฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาฝั่ง

หลังเกิดแผ่นดินไหว
ควรตรวจตัวเองและคนข้างเคียงว่าได้รับบาดเจ็บหรือไม่ ให้ทำการปฐมพยาบาลขั้นต้นก่อน
ควรรีบออกจากอาคารที่เสียหายทันที เพราะหากเกิดแผ่นดินไหวตามมาอาคารอาจพังทลายได้
ใส่รองเท้าหุ้มส้นเสมอ เพราะอาจมีเศษแก้ว หรือวัสดุแหลมคมอื่น ๆ และสิ่งหักพังแทง
ตรวจสายไฟ ท่อน้ำ ท่อแก๊ส ถ้าแก๊สรั่วให้ปิดวาล์วถังแก๊ส ยกสะพานไฟ อย่าจุดไม้ขีดไฟ หรือก่อไฟจนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มีแก๊สรั่ว
ตรวจสอบว่า แก๊สรั่ว ด้วยการดมกลิ่นเท่านั้น ถ้าได้กลิ่นให้เปิดประตูหน้าต่างทุกบาน
ให้ออกจากบริเวณที่สายไฟขาด และวัสดุสายไฟพาดถึง
เปิดวิทยุฟังคำแนะนำฉุกเฉิน อย่าใช้โทรศัพท์ นอกจากจำเป็นจริง ๆ
สำรวจดูความเสียหายของท่อส้วม และท่อน้ำทิ้งก่อนใช้
อย่าเป็นไทยมุงหรือเข้าไปในเขตที่มีความเสียหายสูง หรืออาคาร
อย่าแพร่ข่าวลือ



Create Date : 25 มีนาคม 2554
Last Update : 25 มีนาคม 2554 8:44:51 น.
Counter : 959 Pageviews.

1 comment
มะขามป้อม
//www.vcharkarn.com/varticle/41194

มะขามป้อม เป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่เปี่ยมไปด้วยสรรพคุณมากมายมีผลิตภัณฑ์หลายชนิด นำสรรพคุณของมะขามป้อมไปใช้ทั้งเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับรับประทาน และผลิตภัณฑ์สำหรับเสริมความงามประเภทเครื่องสำอางสำหรับสาวๆ ที่รักความสวยงาม

ในอินเดียเชื่อว่าการรับประทานมะขาม ป้อมเป็นประจำจะช่วยบำรุงสายตา บำรุงผิว และบำรุงผม ส่วนคนไทยนอกจากจะใช้มะขามป้อมเป็นยาแก้หวัด แก้ไอ ละลายเสมหะแล้ว ยังใช้บำรุงผิวช่วยให้ผิวหน้าขาวแก้ฝ้า โดยการนำมะขามป้อมมาฝนกับฝาละมีแล้วเอาน้ำที่ได้มาทาฝ้า ใช้บำรุงผมโดยทอดมะขามป้อมกับน้ำมันมะพร้าว แล้วเอาน้ำมันมาหมักผมช่วยให้ผมนุ่มลื่น จัดทรงง่าย ป้องกันผมหงอก

จากการวิจัยในปัจจุบันพบว่า มะขามป้อมมีฤทธิ์ต้านไข้หวัดทั้งในหลอดทดลองและมนุษย์ ในผลของมะขามป้องมีสารโปรไซยานินที่มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับวิตามินซี แต่ทนความร้อนไม่ถูกออกซิไดซ์ง่าย จึงมีความคงตัวสูงซึ่งเป็นข้อดีกว่าวิตามินซีทั่วไป มะขามป้อมมีฤทธิ์ในการป้องกันการเกิดมะเร็ง โดยการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ทำงานได้ดีขึ้น

ในสหรัฐอเมริกามีการจดสิทธิบัตรเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ใช้มะขามป้อม เป็นส่วนประกอบใช้สำหรับป้องกันและรักษาภาวะของโรคเอดส์ ไข้หวัดใหญ่ วัณโรค ตับแข็งและภาวะภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ ซึ่งในผลิตภัณฑ์นี้ประกอบไปด้วย Phyllanthus nururi, บอระเพ็ด มะขามป้อม สมอพิเภกและสมอไทย นอกจากนั้น มะขามป้อมยังมีฤทธิ์ในการลดคอเลสเตอรอล และความดันโลหิตสูงได้อีกด้วย

สรรพคุณมะขามป้อมตามตำรับยาไทยสามารถแก้หวัด ผลมะขามป้อมมีสรรพคุณแก้หวัด แก้ไอได้ดี เป็นที่รู้กันในทุกประเทศที่มีมะขามป้อม จนปัจจุบันมีสิทธิบัตรที่จดในประเทศสหรัฐอเมริกาของตำรับยาที่มีส่วนผสมของ มะขามป้อมอยู่ ระบุสรรพคุณในการแก้หวัด แก้ไข้ ซึ่งอาจเนื่องมาจากวิตามินซีหรือสารในกลุ่มแทนนิน อาการเป็นหวัด ไอ เจ็บคอ ปากคอแห้ง ให้ใช้ผลสด 15-30 ผล คั้นเอาน้ำมาจากผล หรือต้มทั้งผลแล้วดื่ม แทนน้ำเป็นครั้งคราว

ตามตำราไทยเชื่อว่าของที่มีรสเปรี้ยวทุกชนิดช่วยละลายเสมหะและหมอยา พื้นบ้านเชื่อว่ารสเปรี้ยวที่ละลายเสมหะและบำรุงเสียงได้ดีที่สุดคือมะขามป้อม ปัจจุบันมีการศึกษาพบว่าในมะขามป้อมมีสารที่ละลายน้ำได้มีฤทธิ์ละลายเสมหะ และที่โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร มีการพัฒนายาแก้ไอมะขามป้อมขึ้นทะเบียนยาเป็นยาแผนโบราณเป็นที่นิยมของทั้ง ผู้ใช้ยาและแพทย์ โดยตำรับยาทำได้ง่ายๆ เพียงแต่นำมะขามป้อมแห้งมาต้มแล้วแต่งรส มะขามป้อมที่จะนำมากินแก้ไอ เจ็บคอ ควรเลือกลูกที่แก่จัดผิวออกเหลือง

เมื่อมีอาการเป็นหวัด ไอ ให้นำมะขามป้อมสดมาเคี้ยวอมกับเกลือทุกครั้งที่มีการไอถ้าไม่ไอแต่ยังมีไข้ อยู่ก็ควรอมมะขามป้อมเพื่อให้ชุ่มคอและขับเสมหะ เป็นการป้องกันการไอได้ด้วยการละลายเสมหะ แก้การกระหายน้ำ ใช้ผลแก่จัดมีรสขม อมเปรี้ยว อมฝาด เมื่อกินแล้วจะรู้สึกชุ่มคอ ใช้สำหรับช่วยละลายเสมหะ กระตุ้นให้เกิดน้ำลาย จึงช่วยแก้การกระหายน้ำได้ดี หรือใช้ผลแห้งประมาณ 6-10 กรัม ถ้าใช้ผลสดประมาณ 10 กรัม ต้มกับน้ำดื่ม หรือคั้นเอาน้ำสำหรับดื่ม ขับเสมหะ หรือช่วยระบายของเสียให้ใช้ผลสด 5-15 ผล ต้มหรือคั้นน้ำมาดื่ม

มะขามป้อมมีรสเปรี้ยว ฝาด ขม เช่นเดียวกับสมอไทย จึงสามารถแก้โรคต่างๆ ได้มากเช่นเดียวกันสมอไทย ตำรายาอินเดียยกย่องมะขามป้อมไว้มากว่า เป็นผลไม้บำรุงร่างกายที่ดีมาก ตำราบางเล่มถึงกับกล่าวว่า ถ้าคนอินเดียไม่มองข้ามมะขามป้อม คือเอามะขามป้อมมากินเป็นประจำวันละ 1 ลูก ทุกวัน เขาเชื่อว่าคนอินเดียจะมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงกว่านี้มากนัก ทั้งนี้เพราะมะขามป้อมบำรุงอวัยวะแทบทุกส่วนของร่างกาย คือ บำรุงผม สมอง ดวงตา คอ หลอดลม ปอด หัวใจ กระเพาะ ฯลฯ แก้น้ำเหลืองเสีย ปรับประจำเดือนให้มาปกติ บำรุงเลือด บำรุงกำลัง ช่วยลดความดันเลือดสูง

ปัจจุบันมีการศึกษาพบประโยชน์มากมายของมะขามป้อมในการลดความดัน ลดน้ำตาลและลดไขมันในเลือด การกินมะขามป้อมช่วยควบคุมโรคเบาหวาน ทางอายุรเวท พบว่าการดื่มน้ำมะขามป้อมคั้นสด 1 ช้อนโต๊ะ (15 ซีซี) กับน้ำมะระขี้นกคั้นสด 1 ถ้วย ทุกวันเป็นเวลาสองเดือนสามารถกระตุ้นให้ตับอ่อนหลั่งอินซูลินและลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ การกินยาตำรับนี้ต้องมีการควบคุมอาหารอย่างเข้มงวด และยาตำรับนี้ยังลดอาการแทรกซ้อนทางตาจากโรคเบาหวาน





มีงานวิจัยชิ้นหนึ่ง ทดลองให้คนกินยาเม็ดวิตามินซีกับกินมะขามป้อมเปรียบเทียบกันพบว่า วิตามินซีจากมะขามป้อมถูกดูดซึมเร็วกว่าวิตามินซีเม็ด ทั้งนี้อาจเป็นเพราะในมะขามป้อมมีสารอื่นๆ ที่ช่วยพาวิตามินซีเข้าสู่ร่างกายได้รวดเร็ว มะขามป้อมที่ผ่านการต้ม หรือตากแห้งทำให้วิตามินซีลดลง แต่ก็ยังเพียงพอที่จะใช้รักษาโรคลักปิดลักเปิดได้ ถ้าเก็บไว้ไม่เกิน 1 ปี

ส่วนคนที่ท้องผูกเป็นประจำไม่ว่าจากสาเหตุใดก็ตาม ถ้าได้กินมะขามป้อมแล้วอาการท้องผูกจะหายไป เนื่องจากมะขามป้อมมีรสฝาด จะทำให้กินยากไปสักหน่อย ควรปรุงรสให้อร่อยด้วยการนำมะขามป้อมมาผ่าแคะเม็ดออก (กินแต่เนื้อ) ประมาณ 10 ลูก ใส่พริก เกลือ น้ำตาลตำพอแหลก กินต่างผลไม้ แต่ควรกินก่อนนอนหรือตอนตื่นใหม่ๆ ในขณะที่ท้องว่า วิธีลดความฝาดของมะขามป้อม ก็คือแช่น้ำเกลือ มีขั้นตอนดังนี้ ล้างมะขามป้อมให้สะอาด ลวกด้วยน้ำร้อน และนำไปแช่ในน้ำเกลือที่เค็มจัดแช่ไว้สัก 2 วัน รสฝาดก็จะลดลง ยิ่งแช่นานรสฝาดก็ยิ่งหมดไป

//www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_08_8.htm

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phyllanthus emblica L.

ชื่อสามัญ : Emblic myrablan, Malacca tree

วงศ์ : Euphorbiaceae

ชื่ออื่น : กำทวด (ราชบุรี) กันโตด (เขมร-จันทบุรี) สันยาส่า มั่งลู (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 10-12 เมตร เปลือกต้นสีเทาอมน้ำตาล แตกเป็นร่องตามยาว กิ่งก้านแข็ง เหนียว ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับในระนาบเดียวกัน รูปขอบขนาน กว้าง 1- 5 มม. ยาว 4-15 มม. ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบมนหรือเว้าเข้า ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ดอก ออกเป็นช่อ เป็นกระจุกเล็กๆ ดอกสีเหลืองอ่อนออกเขียว กลีบดอกมี 5-6 กลีบ มีเกสรเพศผู้สั้นๆ 3-5 อัน ก้านดอกสั้น ผล รูปทรงกลม ขนาด 1.3-2 ซม. เป็นพูตื่นๆ 6 พู ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียวอมเหลือง พอแก่เป็นสีเหลืองออกน้ำตาล เมล็ดรูปรี เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง
ส่วนที่ใช้ : น้ำจากผล ผลโตเต็มที่

สรรพคุณ :

น้ำจากผล - แก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ

ผล - แก้ไอ ขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ

วิธีและปริมาณที่ใช้ :
ผลโตเต็มที่ จำนวนไม่จำกัด รับประทานเป็นผลไม้



//www.medplant.mahidol.ac.th/poisonpr/docs/0496.htm#2

ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllanthus emblica L.

วงศ์ Euphorbiaceae

ชื่อพ้อง Emblica officinalis Gaertn.

ชื่ออื่นๆ กันโตด กำทวด มั่งลู่ สันยาส่า Emblic, Emblic myrobalan, Indian gooseberry, Malacca tree, Myrobalan



หลักฐานความเป็นพิษและการทดสอบความเป็นพิษ

1. การทดสอบความเป็นพิษ

มีการศึกษาความเป็นพิษส่วนต่างๆ ของมะขามป้อม หลายรายงานดังนี้

สารสกัดผลด้วยเอทานอลและน้ำ (1:1) เมื่อป้อนให้กับหนูถีบจักร ทางสายยางสู่กระเพาะอาหารในขนาด 100 ก./กก. พบว่าไม่ทำให้เกิดพิษ แต่หากฉีดเข้าใต้ผิวหนังของหนูถีบจักร พบว่าขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายเป็นจำนวนครึ่งหนึ่ง (LD50) มีค่าเท่ากับ 4.8 ก./กก. (1) และเมื่อฉีดสารสกัดใบหรือลำต้นด้วยเมทานอลกับน้ำ (1:1) เข้าทางช่องท้องหนูถีบจักรเพศผู้ มีค่า LD50เท่ากับ 750 มก./กก. และ 185 มก./กก. ตามลำดับ (2) นอกจากนี้เมื่อฉีดสารสกัดใบด้วยน้ำเข้าช่องท้องหนูถีบจักรเพศผู้และเพศเมีย ค่า LD50เท่ากับ 0.415 ก./กก. และ 0.288 ก./กก. ตามลำดับ และเมื่อทดสอบพิษกึ่งเฉียบพลันโดยให้กินสารสกัดขนาด 0.1 และ 0.5 ก./กก. 10 สัปดาห์ พบว่าไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของหนู แต่พบการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักอวัยวะภายใน ได้แก่ หัวใจ ปอด ตับ และมีการเพิ่มของระดับ SGPT ในกระแสเลือด และเมื่อให้สารสกัดแก่หนูถีบจักรทางปากในขนาด 20 ก./กก. ไม่เกิดอาการพิษในสัตว์ทดลอง (3) การทดลองพิษกึ่งเฉียบพลันของยาแผนโบราณตรีผลา (มีส่วนประกอบของสมุนไพร 3 ชนิด คือ ลูกสมอพิเภก ลูกสมอไทย และลูกมะขามป้อม) ซึ่งอัตราส่วนของสมุนไพรทั้ง 3 ชนิด จะแตกต่างกันตามกองสมุฏฐานโรค ในกรณีแก้ปิตตะสมุฏฐานสำหรับรักษาอาการป่วยด้วยธาตุไฟในฤดูร้อน อัตราส่วนของสมุนไพรจะเป็น 12:8:4 ส่วนตำรับแก้วาตะสมุฏฐานรักษาอาการป่วยด้วยธาตุลมในฤดูร้อน อัตราส่วนเท่ากับ 4:12:8 และตำรับแก้เสมหะสมุฎฐานรักษาอาการป่วยด้วยโรคธาตุในฤดูร้อน อัตราส่วนเท่ากับ 8:4:12 ซึ่งจากการทดสอบพิษกึ่งเฉียบพลันในหนูขาวพันธุ์วิสตาร์ โดยการป้อนสารสกัดด้วยน้ำในขนาด 0.36, 2.88 และ 23.04 ก./กก./วัน เป็นเวลา 10 วัน หรือคิดเป็น 1, 8 และ 64 เท่า ของขนาดที่ใช้ในคน พบว่าสารสกัดยาแผนโบราณตรีผลา ตำรับแก้วาตะและเสมหะสมุฏฐาน ทำให้หนูเกือบทุกกลุ่มมีน้ำหนักตัวในวันสุดท้ายที่ทำการทดลอง และการกินอาหารน้อยกว่ากลุ่มควบคุม ในขณะที่ตำรับแก้ปิตตะสมุฏฐานขนาดสูงในหนูเพศผู้มีน้ำหนักตัวในวันสุดท้ายน้อยกว่ากลุ่มควบคุม การตรวจค่าทางโลหิตวิทยาของหนูขาวพบว่าสารสกัดตำรับแก้วาตะสมุฏฐานทุกขนาดทำให้จำนวนเม็ดเลือดขาวในหนูเพศเมียลดลง แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับขนาดของสารสกัดที่ให้ ส่วนสารสกัดยาตรีผลา ตำรับแก้ปิตตะ และเสมหะสมุฏฐานไม่มีผลต่อค่าทางโลหิตวิทยาของหนูขาว พบการตรวจซีรั่มทางชีวเคมี พบว่าสารสกัดทุกตำรับในขนาดสูงทำให้ระดับโปรตีนรวม และ BUN ของหนูเพศผู้มีค่าน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ ในหนูเพศเมียสารสกัดตำรับแก้ปิตตะสมุฏฐานในขนาดสูงมีผลลดระดับโปรตีนรวม และ BUN เช่นกัน นอกจากนี้สารสกัดตรีผลาตำรับแก้ปิตตะและวาตะสมุฏฐานทุกขนาดทำให้ซีรั่มกลอบูลินในหนูเพศผู้ลดลงอย่างมีความสัมพันธ์กับขนาดที่ให้ ส่วนสารสกัดตำรับแก้เสมหะสมุฏฐานขนาด 2.88 และ 23.04 ก./กก./วัน มีผลลดระดับซีรั่มกลอบูลินในเพศผู้ และสารสกัดตำรับแก้ปิตตะสมุฏฐานในขนาดเดียวกันมีผลลดระดับซีรั่มกลอบูลินในเพศเมียเช่นกัน หนูทั้งสองเพศที่ได้รับสารสกัดตรีผลา ตำรับแก้ปิตตะและเสมหะสมุฏฐานขนาด 23.04 ก./กก./วัน มีค่าซีรั่มครีอาตินินต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ ผลการศึกษาทางจุลพยาธิวิทยาแสดงให้เห็นว่าตับและไตของหนูเพศเมียมีความไวต่อความเป็นพิษของสารสกัดมากกว่าหนูเพศผู้ โดยหนูเพศเมียที่ได้รับสารสกัดตำรับแก้ปิตตะสมุฏฐานในขนาด 23.04 ก./กก./วัน มีอัตราการเกิด fatty change ของตับและ nephrocalcinosis และ hydrocalyx สูงกว่าหนูกลุ่มควบคุม ส่วนหนูทั้งสองเพศที่ได้รับสารสกัดตำรับแก้เสมหะสมุฏฐานพบว่าอัตราการเกิดพยาธิสภาพต่างๆ ของตับและไต ไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม ซึ่งพิษต่อตับหรือไตของสารตรีผลาอาจเนื่องมาจากสารแทนนินในสมุนไพรทั้ง 3 ชนิด ของตำรับนี้ (4) สารสกัดยาตำรับตรีผลาด้วยน้ำ ฉีดเข้าช่องท้องหนูถีบจักร ขนาดไม่เกิน 240 มก./กก. สังเกตอาการหลังจากนั้น 14 วัน ไม่พบพิษใดๆ ค่า LD50 เท่ากับ 280 มก./กก. ถ้าให้ขนาด 300 มก./กก. หนูถีบจักรจะตายทั้งหมด (5) เมื่อฉีดสารสกัดยาตำรับ Abana ด้วยเอทานอล (มีมะขามป้อมเป็นส่วนประกอบ 10 มก.) เข้าช่องท้องหนูถีบจักร ในขนาดไม่เกิน 1.6 ก./กก. สังเกตอาการหลังจากการทดลอง 14 วัน ไม่พบความผิดปกติ แต่ถ้าเพิ่มขนาดเป็น 1.7, 1.8, 1.9 และ 2 ก./กก. จะทำให้หนูตาย 20, 50, 60 และ 80% ตามลำดับ และหนูจะตายทั้งหมด 100% เมื่อได้รับสารสกัดขนาด 2.1 ก./กก. ค่า LD50 เท่ากับ 1.8 ก./กก. (6)

2. พิษต่อตับ
มีรายงานว่าหญิงอายุ 26 ปี รับประทานยาตำรับที่มีส่วนผสมของสารสกัดมะขามป้อม (Isabgol) ซึ่งใช้รักษาอาการท้องผูกเรื้อรัง แล้วมีผลทำให้เกิดความผิดปกติที่ตับ โดยเซลล์ตับมีขนาดใหญ่ขึ้นมากและอักเสบ (7)

3. พิษต่อเซลล์
สารสกัดผลมะขามป้อมด้วยเอทานอลและน้ำ (1:1) ทำการทดสอบในจานเพาะเลี้ยงเชื้อต่อเซลล์มะเร็ง CA-9KB พบว่าไม่เป็นพิษต่อเซลล์ CA-9KB ซึ่งขนาดที่มีผลทำให้เกิดพิษกับเซลล์จำนวนครึ่งหนึ่ง (ED50) มีค่ามากกว่า 20 มคก./มล. (8) สารสกัดผลมะขามป้อมด้วยน้ำ เมทานอล ในความเข้มข้น 100 มคก./มล. ต่อเซลล์ Vero พบว่าไม่เป็นพิษต่อเซลล์ (9) นอกจากนี้สารสกัดผลด้วยเอทานอล มาทำให้เจือจางในอัตราส่วนตั้งแต่ 1:1 ถึง 1:1,000 ทำการทดสอบกับเซลล์เม็ดเลือดแดงของแกะ พบว่าไม่เป็นพิษต่อเซลล์เม็ดเลือดแดงของแกะ (10) และสารสกัดน้ำของผลมะขามป้อม เมื่อทำการทดสอบกับ Cells-L929 พบว่ามีความเป็นพิษต่อเซลล์อย่างอ่อน โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 16.5 มคก./มล. (11)

4. พิษต่อระบบสืบพันธุ์

ยาตำรับซึ่งมีส่วนผสมของมะขามป้อม สมอไทยและสมอพิเภก เมื่อป้อนให้กับหนูขาวเพศเมียกิน พบว่ามีผลต่อการฝังตัวของตัวอ่อน 50% (12)

5. ฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์และต้านการก่อกลายพันธุ์

สารสกัดผลด้วยอะซิโตน คลอโรฟอร์ม น้ำ (13) ด้วยความเข้มข้น 0.1 มล./จานเพาะเชื้อ (14) ทำการทดสอบในจานเพาะเลี้ยงเชื้อ พบว่าสามารพต้านการก่อกลายพันธุ์ต่อเชื้อ Salmonella typhimurium TA97, TA100 ได้ ซึ่งถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการก่อกลายพันธุ์ด้วยสาร sodium azide และ NPD (4-nitro-O-phenylenediamine) และส่วนสกัด tannin เมื่อทำการทดลองในจานเพาะเลี้ยงเชื้อ พบว่าสามารถต้านการก่อกลายพันธุ์ของเชื้อ Salmonella typhimurium TA100 ได้ (15) และสารสกัดผลด้วยน้ำเมื่อป้อนให้กับหนูถีบจักรที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดความผิดปกติของโคโมโซมไขกระดูกด้วย Nickel ทางสายยางสู่กระเพาะอาหารในขนาด 10 มล./กก. (16) และขนาด 685 มก./กก. (17) พบว่าสารสกัดจากผลมะขามป้อมสามารถลดจำนวนการผิดปกติของโครโมโซมไขกระดูกได้ และสารสกัดน้ำของผลมะขามป้อมเมื่อป้อนให้กับหนูถีบจักรขนาด 685 มก./กก. เป็นเวลานาน 7 วัน จากนั้นฉีดอะลูมิเนียมและตะกั่วเข้าทางช่องท้องหนู เพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดความผิดปกติของโครโมโซมไขกระดูก พบว่าสารสกัดผลมะขามป้อมสามารถช่วยเพิ่มการแบ่งตัวของเซลล์ไขกระดูก และลดความผิดปกติของโครโมโซม



Create Date : 01 มีนาคม 2554
Last Update : 1 มีนาคม 2554 19:00:51 น.
Counter : 1605 Pageviews.

1 comment
ใบแปะก๊วย (Ginkgo biloba)

//www.thaiherbinfo.com/knowledge-herb.php?id_herb=19

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ginkgo biloba
ชื่อสามัญ : Salisburya adiantifolia , Maidenhair tree, Forty-coin tree, Pai Kuo Yeh (Chinese)
ข้อมูลทั่วไป : แปะก๊วย - พืชสมุนไพรที่ชาวจีนเชื่อว่าเป็นยาอายุวัฒนะ ชาวจีนถือแปะก๊วยพืชมหัศจรรย์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในเชิงรักษาโรค สำหรับในประเทศไทยได้มีการศึกษาถึงองค์ประกอบทางเคมีของแปะก๊วย พบว่าสารสกัดในใบของแปะก๊วย จะให้ผลดีในการรักษาอาการผิดปกติทางสมอง อาการหลงลืม หรืออาการสมองเสื่อม โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’ disease) และความผิดปกติอันเนื่องมาจากการไหลเวียนโลหิตผิดปกติและอื่นๆ


สารสกัดที่ได้จากใบแปะก๊วยมีหลายชนิด เช่น สารฟลาโวนอยด์ ,เทอร์ปีนอยด์ สารเหล่านี้มีฤทธิ์ ช่วยควบคุมการไหลเวียนของโลหิตและหลอดเลือด โดยช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดเป็นปกติ กระตุ้นการไหลเวียนเลือดให้ไปเลี้ยงที่สมอง มือ และเท้ามากขึ้น นอกจากนี้ สารสกัดใบแปะก๊วยยังมีสารที่ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ (Free radical) ซึ่งจะทำหน้าที่ป้องกันการทำลายจากอนุมูลอิสระได้ โดยปัญหาหรืออาการดังกล่าวมักพบมากในกลุ่มผู้สูงอายุ


คุณสมบัติของสารสกัดใบแปะก๊วย สามารถบรรเทาหรือรักษาอาการต่างๆ ได้ เช่น
- ความจำเสื่อม - ประสิทธิภาพการทำงานลดลง
- โรคอัลไซเมอร์ - โรควิตกกังวล
- โรคหลงลืมในผู้สูงอายุ - หดหู่ใจ
- สับสน - หน้ามืด วิงเวียน หูอื้อ
- เหนื่อยล้า - มึนงง
- อาการขาดพลังงาน
- โรคตาบางโรค ที่เกี่ยวข้องกับการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงจอรับภาพที่ตาหรือเรตินา
- บรรเทาอาการปวดขาขณะเดิน ในผู้ป่วยที่มีปัญหาการอุดตันของโลหิตส่วนปลาย

ความปลอดภัย : การศึกษาความเป็นพิษของสารสกัดใบแปะก๊วยในหนู โดยฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ พบว่า LD50 เท่ากับ 7,725 มก./กิโลกรัม ของน้ำหนักตัวหนู ซึ่งจากผลการทดลองนับได้ว่า สารสกัดใบแปะก๊วยนั้นมีความปลอดภัยสำหรับการใช้ อาจพบว่ามีผลข้องเคียงได้เล็กน้อย คือ ปวดศรีษะและระบบการย่อยอาหารผิดดปกติ

ปฏิกิริยากับสารอื่น : จากฐานข้อมูลการศึกษาถึงปฏิกิริยาของใบแปะก๊วยสกัดกับสารอื่นเกือบทั้งหมดนั้น ไม่พบว่ามีปฏิกิริยาใดๆ แต่ที่รายงานพบนั้นพบได้กับยาจำพวก Heparin และ Warfarin ซึ่งเป็นยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด (แปะก๊วยจะเสริมฤทธิ์ของยาให้มากขึ้น) ยา Cyclosporin : ยากดภูมิคุ้มกัน และยา Hydrochlorothiazide : เป็นยาขับปัสสาวะและลดความดันโลหิต

ข้อควรระวัง : ไม่ควรใช้ในผู้ที่มีอาการความดันโลหิตสูง หรือผู้ที่เป็นโรคหัวใจ


//www.pharm.chula.ac.th/osotsala/botanay-food/sub1_3.htm
ใบของแปะก๊วย มีผลดังต่อไปนี้

1. ผลต่อหัวใจและหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดขยายตัว ไม่เกิดการอุดตันในหลอดเลือด การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น เนื่องจากมีสาร ginkgolide ABC

2. ผลต่อสมอง จากผลการศึกษาพบว่า สามารถเพิ่มการหมุนเวียนเลือดที่สมอง ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองมากขึ้น ให้ผลดีต่อผู้สูงอายุมากกว่าวัยกลางคน ใช้ในคนความจำเสื่อม Dementia Alzheimer และเพิ่มการสังเคราะห์ ATP ในสมองและเพิ่มการนำกลูโคสไปใช้ด้วย

3. มีสาร bioflavonoids ซึ่งเป็นสารด้านอนุมูลอิสระ ช่วยขัดขวางการทำลายเซลล์ทั่วไป และเซลล์สมอง

4. ป้องกันการหดตัวของกล้ามเนื้อหลอดลม ในผู้ป่วยหอบหืด

ข้อควรระวัง
การใช้ใบแปะก๊วยเป็นประจำ ควรระวังใน

1. คนไข้ที่ใช้สารป้องกันการเกิดลิ่มเลือด (Anticoaggulant) เนื่องจากใบแปะก๊วยจะมีผลทำให้เกิดเลือดออกตามร่างกายได้

2.คนไข้ที่มีความดันสูงหรือต่ำกว่าปกติ หรือใช้ยาอยู่ เนื่องจากใบแปะก๊วยจะทำให้หลอดเลือดขยายและลดความดันได้ ซึ่งอาจทำให้ความดันต่ำลงมากเกินไปได้

//www.samunpai.com/sex/show.php?id=76&cat=4
เป็นสมุนไพรเก่าแก่ที่มีความเป็นพิษค่อนข้างต่ำ และที่ใช้ในเชิงสมุนไพรก็จะเป็นส่วนของใบ
โดยมักจะอยู่ในรูปสารสกัดจากใบแปะก้วย ไม่เหมาะที่จะใช้ชงเป็นชาเพราะมีสารบางอย่างที่ทำให้เกิด
อาการแพ้ได้ ใบแปะก้วยช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในร่างกาย ขยายหลอดเลือดแดง เลือดไปเลี้ยง
สมองดีขึ้นจึงอาจช่วยลดอาการหลงลืมในผู้ที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ ดังนั้นจึงอาจช่วยผู้ที่มีปัญหาเรื่อง
น้องชายไม่สู้ที่มีสาเหตุจากความผิดปกติของระบบหลอดเลือดได้เช่นกัน

ใบแปะก้วยไม่มีพิษในระยะยาว และมีอาการข้างเคียงน้อยมาก ถ้ามีก็อาจเป็นเพียงปวด หรือ
เวียนศีรษะ หรืออาการปั่นป่วนในท้อง ข้อห้ามคือ ไม่ให้กินร่วมกับแอสไพริน และยาห้ามการแข็งตัวของ
เลือดเพราะจะมีปัญหาเรื่องเลือดออกได้ และอย่ากินในช่วงสองสัปดาห์ก่อนผ่าตัด เพราะอาจมีปัญหา
เรื่องเลือดหยุดยาก เช่นเดียวกับโสม

//www.thaiclinic.com/healthtips/medicine/paekuwai.html
ใบแป๊ะก๊วย บางท่านเชื่อว่า มีฤทธิ์ช่วยการไหลเวียนของเลือดในสมอง รักษา รักษาโรคหอบหืด รักษาอาการมีเสียงในหู (Tinitus) อาจช่วยให้ความจำดีขึ้น (ผลการวิจัยยังไม่ยืนยัน)

ในเรื่องการรักษาโรค Alzheimers disease หรือสมองเสื่อม นั้น ยังไม่มีผลการวิจัยใดยืนยันว่ารักษาได้จริง ดังนั้นยังไม่ควรทานเพื่อหวังผลด้านนี้

ขนาดที่ทาน 60 มิลลิกรัมต่อวัน

ผลข้างเคียง คือเกิดอาการแพ้ (allergy) ปวดหัว และเสียดท้อง

ห้ามใช้ ในคนที่มีประวัติแพ้ใบแป๊ะก๊วยมาก่อน

//drug.pharmacy.psu.ac.th/Question.asp?ID=503&gid=1
ปัจจุบันสารสกัดจากใบของแป๊ะก๊วย (Ginkgo biloba leaf extract)
ถูกนำมาใช้เป็นยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตที่สมองและร่างกาย
และลดการถูกทำลายของเซลล์ประสาท โดยมักใช้ในการป้องกัน
หรือรักษาอาการโลหิตไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ (cerebral insufficiency)
โดยอาการดังกล่าวมักประกอบด้วย
การไม่มีสมาธิ ความจำเสื่อม งุนงง ไม่มีแรง เหนื่อย สมรรถภาพทางกายลดลง
อาการซึมเศร้า วิตกกังวล มึนงง
หูอื้อและปวดศีรษะ
นอกจากนี้ยังช่วยปรับปรุงความจำและการทำงานของสมองในผู้ป่วยความจำเสื่อม
(Alzheimer) และบำบัดปัญหาเกี่ยวกับการได้ยินและการมองเห็น

ขนาดยาที่ใช้ในการรักษา
================
การใช้ในการช่วยรักษาอาการ cerebral insufficiency ให้รับประทานวันละ
120 - 240 มิลลิกรัม แบ่งให้
วันละ 2 - 3 ครั้ง โดยใช้ยาติดต่อกัน 8 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 3 เดือน
การใช้ช่วยรักษาอาการเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน และอาการงุนงง
มีเสียงในหู ให้รับประทานวันละ 120 - 160
มิลลิกรัม แบ่งให้วันละ 2 - 3 ครั้ง โดยใช้ยาติดต่อกัน 6 - 8 สัปดาห์
การใช้ยานานกว่านี้ไม่มีประโยชน์ต่อการรักษา

การวิเคราะห์ข้อมูลจากรายงานทางวิชาการ
===========================

ปัจจุบันมีรายงานการศึกษาเกี่ยวกับการใช้สารสกัดใบแป๊ะก๊วยในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการความจำเสื่อมหรือ

อาการหลงลืม (dementia) เนื่องจากโรค Alzheimer
รวมทั้งการใช้ในผู้ป่วยสูงอายุที่มีอาการหลงลืม
(age-associated dementia)
หรือผู้ป่วยที่ความจำเสื่อมเนื่องจากความผิดปกติจากระบบการไหลเวียน
ของเลือดในสมอง ค่อนข้างมาก โดยมีทั้งการศึกษาในระดับเซลล์และระดับโมเลกุล
การศึกษาในระดับเซลล์และ
ระดับโมเลกุลนั้น
พบว่าฤทธิ์ของสารสกัดใบแปํะก๊วยที่น่าจะสัมพันธ์กับการรักษาอาการหลงลืมและ
ความจำเสื่อมมากที่สุดคือ ฤทธิ์ antioxidation (1-2) ฤทธิ์ในการเป็น MAO
inhibitor (3-5) ฤทธิ์ยับยั้ง
การสร้าง nitric oxide (6-7) และฤทธิ์ยับยั้ง platelet activating factor
(8-9)

สำหรับการศึกษาในระดับคลินิกนั้น
รายงานการศึกษาส่วนใหญ่จะยืนยันผลการศึกษาในทิศทางที่สนับสนุน
การใช้สารสกัดใบแป๊ะก๊วยในผู้ป่วย Alzheimer
และผู้ป่วยความจำเสื่อมหรือหลงลืม (9-15) ทั้งนี้ผลการศึกษา
ส่วนใหญ่ระบุว่าสารสกัดใบแป๊ะก๊วยมีผลช่วยปรับปรุง cognitive activity
แต่มีผลน้อยต่อ non-cognitive
activity
อย่างไรก็ตามมีรายงานการศึกษาบางฉบับที่ไม่ให้ผลสนับสนุนการใช้สารสกัดใบแป๊ะก๊วย
(16)

ข้อด้อยของงานวิจัยส่วนใหญ่ที่รายงานผลการศึกษาการใช้สารสกัดใบแป๊ะก๊วยในผู้ป่วย
Alzheimer เกิดจาก
เกณฑ์ในการตัดสิน หรือเลือก subject
และเกณฑ์ในการเลือกวิธีการวัดผลการทดลองที่เป็นเกณฑ์แบบ
objective ไม่ใช่ subjective (เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินอาการของผู้ป่วย
Alzheimer มีทั้ง 2 แบบ
เช่น การทดสอบผลการทำงานหรือทดสอบความทรงจำ ซึ่งเป็นแบบ objective
และการประเมินสภาพทั่วไป
ของผู้ป่วยที่เป็น subjective)
ซึ่งทำให้รายงานนั้นอาจไม่เป็นที่น่าเชื่อถือมากพอ และไม่สามารถสนับสนุนใน
แพทย์เลือกใช้ยาได้ อย่างไรก็ตาม
ในมีรายงานรายงานการวิจัยฉบับหนึ่งที่ได้ประเมินรายงานการศึกษาการใช
้สารสกัดแป๊ะก๊วยทางคลินิกที่มีการตีพิมพ์ทั้งหมด
โดยการตั้งเกณฑ์พิจารณาถึงความน่าเชื่อถือของการทดลอง
ในประเด็นต่างๆ
และสรุปว่าเมื่อพิจารณาเฉพาะรายงานที่มีเกณฑ์ทั้งหมดเป็นที่น่าเชื่อถือ
พบว่าสารสกัดแป๊ะก๊วย
สามารถใช้ในผู้ป่วย Alzheimer และ dementia เพื่อปรับปรุง cognitive
activity ได้ ถึงแม้ประสิทธิภาพ
ที่ได้จะอยู่ในระดับปานกลาง (17)

อนึ่ง เนื่องจากความคลุมเครือในการวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็น Alzheimer
หรือไม่ ในการสั่งจ่ายยาบางครั้ง
การเลือกยาที่เสี่ยงต่อการใช้น้อยที่สุด
จึงเป็นทางเลือกที่แพทย์อาจเลือกใช้ได้ และสารสกัดแป๊ะก๊วยจัดเป็นทาง
เลือกที่แพทย์สั่งจ่ายเพื่อรักษา Alzheimer และ dementia ในประเทศเยอรมัน
(18)

รายงานการศึกษาความเป็นพิษ
===================
การทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันในหนู พบว่าให้ค่า LD50 เท่ากับ 7,725
มิลลิกรัม/กิโลกรัมน้ำหนักตัว
เมื่อให้ทางปาก และมีค่าเท่ากับ 1,100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม น้ำหนักตัว

ไม่พบผลที่ทำให้เกิดการก่อกลายพันธุ์ (mutagen) หรือทำให้เกิดมะเร็ง
(carcinogen) และไม่เป็นพิษต่อ
ระบบอวัยวะสืบพันธุ์

มีรายงานถึงการเกิดมีก้อนเลือดในเยื่อหุ้มสมองในผู้ป่วย 2 ราย
โดยรายแรกเป็นหญิงอายุ 33 ปี รับประทาน
สารสกัดใบแป๊ะก๊วยในขนาด 120 มิลลิกรัม ต่อวัน ติดต่อกันนานเป็นปี
พบว่าเกิดมีก้อนเลือดในเยื่อหุ้มสมอง
เนื่องจากการรบกวนการทำงานของเกร็ดเลือด และเมื่อทำการทดสอบพบว่าผู้ป่วยมี
bleeding time นาน
กว่าปกติ แต่จะกลับเป็นปกติได้เมื่อหยุดรับประทานสารสกัดใบแป๊ะก๊วยนาน 35
วัน ส่วนอีกรายหนึ่งเป็นหญิง
อายุ 72 ปี รับประทานสารสกัดใบแป๊ะก๊วยในขนาด 150 มิลลิกรัม/วัน
ติดต่อกันเป็นเวลา 6 - 7 เดือน

อาการข้างเคียงและข้อระวัง
การรับประทานสารสกัดใบแป๊ะก๊วยอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงเกี่ยวกับทางเดินอาหาร
โดยอาจทำให
้กระเพาะอาหารและลำไส้ทำงานผิดปกติ หรืออาจเกิดอาการปวดศีรษะ
หัวใจเต้นเร็วหรือเต้นไม่เป็นจังหวะ
ความดันโลหิตต่ำ

ข้อควรระวังในการใช้สารสกัดใบแป๊ะก๊วย
ควรระวังในการใช้ในผู้ป่วยที่มีประวัติเกี่ยวกับความผิดปกติใน
การแข็งตัวของเลือด ผู้ที่มีประวัติการชัก และสตรีมีครรภ์
ไม่ควรใช้ร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด
ในรายที่รับประทานติดต่อกันเป็นระยะเวลานานหากต้องได้รับการผ่าตัด
ควรหยุดรับประทานสารสกัด
ใบแป๊ะก๊วยก่อนรับการผ่าตัดอย่างน้อย 1 เดือน
เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะเลือดแข็งตัวช้า





Create Date : 19 กุมภาพันธ์ 2554
Last Update : 19 กุมภาพันธ์ 2554 11:47:44 น.
Counter : 4420 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  

Nilz
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]








2 ก.พ.53 77.9
ปั่นอิลิปติคอล
และเวทเทรนนิ่ง

20 ส.ค.53 62.6
กีหลาด Work Out

1 ม.ค.54 62.0

5 ม.ค.55 63 Turbo
Jam ปั่นอิลิปติคอล ดัมเบล

11 ม.ค.56 65.7
Turbo Fire

1 ม.ค. 57 65.2
Turbo Fire

25 ก.พ.57 64.4
เริ่มเดินออกกำลังกาย
เวทแขน AB
31 ธ.ค.57 62.5