สัญลักษณ์ของฝูหวา-แมสคอส โอลิมปิคแต่ละตัว
ฝูหวาแต่ละตัวล้วนเป็นสัญลักษณ์แทนมงคลนามธรรม ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. เป้ยเป้ย (贝贝)



เป้ยเป้ย (贝贝) เป็นสัญลักษณ์ของความรุ่งโรจน์ เนื่องจาก “ปลา” และ “ น้ำ ” ในขนบทางศิลป์ของจีนจะหมายถึงความรุ่งโรจน์และผลการเก็บเกี่ยว ชาวจีนใช้ภาพ “ ปลาหลีกระโดข้ามประตูมังกร” (鲤鱼跳龙门) เพื่อแสดงถึงความสำเร็จในกิจการและความใฝ่ฝันที่กลายเป็นจริง นอกจากนี้ “ปลา” (鱼) ยังมีเสียงพ้องกับคำที่มีความหมายว่า “เหลือกินเหลือใช้” อีกด้วย ศีรษะของเป้ยเป้ยเป็นลวดลายปลาที่ปรากฏ ในเครื่องปั้นยุคหินใหม่ของจีน เป้ยเป้ยเป็นตุ๊กตาที่อ่อนโยนและบริสุทธิ์เป็นสัตว์ที่เคลื่อนไหวในน้ำได้อย่างพลิ้วไหว จึงใช้เป็นตัวแทนของห่วงสีฟ้า ซึ่งเป็น 1 ใน 5 ห่วงของกีฬาโอลิมปิค


2. จิงจิง (晶晶)



จิงจิง (晶晶) เป็นหมีแพนด้าตัวใหญ่ที่มีสัมมาคารวะ ในฐานะที่เป้นสัตว์ประจำชาติ จึงได้รับความนิยมไปทั่วโลก จิงจิงมาจากป่ากว้าง และเป็นสัญลักษณ์ของความสมัครสมานระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ ศีรษะของจิงจิงเป็นลวดลายดอกบัวถักที่ปรากฏอยู่บนเครื่องเคลือบดินเผาสมัยราชวงศ์ซ่ง จิงจิงเป็นตุ๊กตาที่มองโลกในแง่ดีและเต็มไปด้วยพลัง เป็นตัวแทนของห่วงสีดำ

3. ฮวนฮวน(欢欢)



ฮวนฮวน(欢欢) ถือเป็นพี่ชายคนโตในบรรดาฝูหวาทั้ง 5 ตัว เป็นสัญลักษณ์แทนคบเพลิงโอลิมปิค ฮวนฮวนเป็นตัวแทนแห่งความฮึกเหิมซึ่งนำจิตวิญญาณโอลิมปิคไปสู่คนทั่วโลก ศีรษะของฮวนฮวนประดับด้วยลวดลายของไฟคบเพลิงที่ปรากฏบนภาพวาดฝาผนังในเมืองตุนหวง เป็นตุ๊กตาที่มีนิสัยเปิดเผยและมีความชำนาญในการเล่นกีฬาทุกประเภท เป็นตัวแทนของห่วงสีแดง

4. อิ๋งอิ๋ง (迎迎)



อิ๋งอิ๋ง (迎迎) เป็นแพะธิเบตที่มีความปราดเปรียวและวิ่งเร็วปานสายฟ้าแลบ มาจากดินแดนตะวันตกอันแสนกว้างใหญ่ของจีน นำคำอวยพรที่เป็นมงคลแพร่ไปสู่ชาวโลก อิ๋งอิ๋งเป็นสัตว์สงวนซึ่งมีซึ่งมีเฉพาะในเขตที่ราบสูงชิงจั้ง ศีรษะของอิ๋งอิ๋งประดับด้วยเครื่องประดับที่ชาวจีนแถบภูเขาสูงในชิงจั้งและซินเกียงนิยมใช้กัน เป็ฯตุ๊กตาที่เคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่วและถือเป็นสัญลักษณ์ของประเภทลู่และลาน เป็นตัวแทนของห่วงสีเหลือง

5. หนีหนี (妮妮)


หนีหนี (妮妮) เป็นนกนางแอ่นที่กระพือปีกบินบนท้องฟ้า รูปลักษณ์ของหนีหนีเกิดจากรูปนกนางแอ่นของทะเลทรายบนแผ่นว่าว ซึ่งนิยมใช้เล่นกันในปักกิ่ง คำว่า “เยี่ยน” (燕 อ่านได้ 2 เสียง) ยังเป็นตัวแทนของเมือง “เยียนจิง” (ชื่อเรียกกรุงปักกิ่งในอดีต) หนีหนีนำพาฤดูใบไม้ผลิและความสุขมาสู่ชาวโลก และโบยบินไปยังที่ต่างๆ เพื่ออวยพรให้ทุกคนประสบแต่โชคดี หนีหนีจะปรากฏตัวในสนามแข่งขันยิมนาสติก เป็นตัวแทนของห่วงสีเขียว

หลังจากที่ฝูหวานำออกวางจำหน่ายในตลาด ก็ได้รับความนิยมจากชาวจีนเป็นอย่างมาก ภายในเวลาไม่ถึงครึ่งเดือน สินค้าชนิดนี้ก็ขาดตลาด แต่ก็เป็นนิมิตหมายที่ดีของสัญลักษณ์โอลิมปิคในปักกิ่งเกมส์ว่าจะนำรายได้จำนวนมหาศาลมาสู่จีน อย่างไรก็ดี ความนิยมชมชอบของชาวจีนจำนวนมาก ก็เป็นเหตุผลให้มีผู้ดัดแปลงฝูหวาเป็นูปลักษณ์อื่นๆที่หลากหลายต่างหากไปจากรูปที่เป็นทางการ เพื่อนสนองความต้องการของชาวจีนและชาวโลก

ที่มา: จดหมายข่าว อาศรมสยาม-จีนวิทยา ฉบับที่ 54 (มกราคม 2550)




Create Date : 25 ตุลาคม 2550
Last Update : 25 ตุลาคม 2550 23:21:10 น.
Counter : 1519 Pageviews.

15 comment
ฝูหวา- แมสคอท โอลิมปิคเกมส์ที่ปักกิ่ง ภาค1

กีฬาโอลิมปิค มหกรรมกีฬาระดับโลกกำลังจะเปิดฉากขึ้นที่กรุงปักกิ่ง ประเทศสาธารณประชาชนจีนในปี ค.ศ.2008 โครงการสร้างสนามแข่งขัน ตลอดจนสาธารณูปโภคต่างๆ ล้วนกำหนดให้แล้วเสร็จภายในปี ค.ศ.2007 ทั้งสิ้น กว่าจีนจะได้เป็นเจ้าภาพโอลิมปิค ครั้งที่ 29 นั้น ก็มีการจัดเตรียมความพร้อมอยู่นานนับทศวรรษ และเคยพ่ายแพ้ในการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพโอลิมปิคมาก่อน ในปี คศ.1993 ที่มอนทรีออล ประเทศแคนาดา และมาประสบผลสำเร็จเมื่อปี ค.ศ.2001 ด้วยความพยายามของทุกฝ่าบที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะนายหลิวฉี (刘其) ผู้ว่าการนครปักกิ่ง ส่งผลให้ประเทศจีนได้สิทธิเป็นเจ้าภาพการแข่งขันโอลิมปิคปี 2008 นำความปลาบปลื้มมาสู่ชาวจีนทั่วทั้งโลก
หลังจากได้สิทธิ์เป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิคประจำปี 2008 แล้ว จีนก็ตั้งองค์กรขึ้นรับผิดชอบงานโดยเฉพาะ และตั้งคณะกรรมการ เพื่อจัดการดูแลตระเตรียมงานด้านต่างๆ และภารกิจที่สำคัญอย่างหนึ่งของเจ้าภาพจัดการแข่งขันก็คือ การออกแบบสัญลักษณ์ของปักกิ่งเกมส์
แม้โอลิมปิคจะมีประวัติศาสตร์มานานนับพันปี แต่ทว่า แมสคอสหรือสัญลักษณ์ประจำการแข่างขันโอลิมปิคแต่ละครั้งก็เพิ่งเกิดมีขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1972 นี้เอง นับแต่เมืองมิวนิคของเยอรมันเป็นเจ้าภาพเป็นต้นมา แมสคอสก็กลายเป็นเรื่องสำคัญขึ้นมา และถือเป็นเครื่องหมายแสดงจิตวิญญาณของการจัดการแข่งขันในแต่ละครั้ง
การออกแบบแมสคอทของปักกิ่งเปิดกว้างให้นักออกแบบจากทั่วทุกมุมโลกส่งแนวคิดและผลงานเข้าประกวด เช่นเดียวกับโอลิมปิคครั้งที่ผ่านๆมา โดยมีการตั้งคณะกรรมการชุดหนึ่งเพื่อคัดเลือกผลงานที่ยอดเยี่ยมที่สุด ที่น่าสนใจคือ แบบของแมสคอทที่ได้รับการพิจารณามีหลายแบบที่สวยงามดูดี แต่ก็ไม่ได้รับการคัดเลือกเนื่องจากเหตุผลประกอบอื่นๆ เช่น ภาพเสือที่ดูสวยงาม แต่เนื่องจากโอลิมปิคที่กรุงโซล เมื่อปี ค.ศ. 1988 เคยใช้เสือเป็นแมสคอทแล้ว จึงไม่เหมาะที่จะใช้ซ้ำอีก หมีแพนด้าเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้บ่อยครั้งแล้ว ภาพของเห้งเจียซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนความเป็นจีนที่โดดเด่นอีกอย่างหนึ่ง ก็มีข้อที่จำกักยากที่จะออกแบบให้ดูสวยงามได้ ส่วนมังกรที่ชาวจีนใช้เป็นสัญลักษณ์ของพลัง อำนาจและความเข้มแข็ง ก็มักจะสือนัยถึงอำนาจของกษัตริย์ที่ห่างเหินจากมหาชนด้วย ทั้งยังเป็นสัตว์ที่ชาวตะวันตดสามารถเชื่อโยงไปถึงความชั่วร้ายได้ด้วย นอกจากนี้ ยังมีตุ๊กตาดินหัวโตของจีนที่มีรูปร่างกลมๆซึ่งสามารถสะท้อนให้เห็นเป็นสากลหรือโลกได้ แต่ก็เป็นตุ๊กตาที่ไร้แขนขา เป็นต้น
เมื่อเป็นเช่นนี้ ทางคณะกรรมการต่างรู้สึกว่า การนำสัญลักษณ์ข้างต้นเพียงชิ้นหนึ่งชิ้นใดมาใช้เป็นแมสคอทในปักกิ่งเกมส์ 2008 ยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของสื่อภาพรวมโอลิมปิคได้ ในสถานการณ์เช่นนี้ ทางคณะกรรมการโอลิมปิคจีนจึงกล้าที่จะเสนอให้มีการออกแบบแมสคอสใหม่อีกครั้ง ปรากฏว่ามีผลงานชิ้นหนึ่งที่เกิดจากการนำสัตว์ 5 ชนิด มาประกอบเข้ากันและสามารถสื่อถึงความหมายของโอลิมปิคได้ ทั้งยังสามารถนำไปเชื่อมโยงกับห่วงทั้ง 5 ของสัญลักษณ์โอลิมปิค,
โหงวเฮ้งในความเชื่อชาวจีน,ทวีปทั้ง 5 ในโลก ฯลฯ ได้อีกด้วย ดังนั้น ในวันที่ 5 เมษายน 2005
แมสคอมของโอลิมปิคปักกิ่งก็เป็นรูปเป็นร่างขึ้น และประกาศอย่างเป็นทางการว่าจะมีการใช้ “ตุ๊กตาจีน” (中国娃) 5 ตัว เป็นสัญลักษณ์ของมหกรรมกีฬาครั้งนี้ จึงประกอบด้วย ตุ๊กตาไฟ แพนด้า ปลา แพะทิเบต และมังกร แต่ในเวลาต่อมา เนื่องจากมีการพิจารณาทบทวนเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องมังกรของชาวตะวันตก และในที่สุดก็เปลี่ยนตุ๊กตามังกรในเป็น “นกนางแอ่นปักกิ่ง” (京燕) แทน
จากนั้นก็ตั้งชื่อเล่นเรียกตุ๊กตาจีนทั้ง 5 ตัวตามลำดับว่า เป้ยเปย (ปลา) จิงจิง (หมีแพนด้า)
ฮวนฮวน (ตุ๊กตาไฟ) อิ๋งอิ๋ง(แพะทิเบต)และหนีหนี (นกนางแอ่น) ซึ่งเมื่อเรียกชื่อของตุ๊กตาทั้ง 5 ตัวนี้ เชื่อมต่อกัน ก็จะมีความหมายว่า “ปักกิ่งต้อนรับคุณ” (北京欢迎你) ฝูหวาเป็นสัญลักษณ์ของความฝันและความปรารถนาดีของชาวจีน รูปลักษณ์แล้วเครื่องประดับบนศีรษะล้วนมีนัยเชื่อมโยงกับมหาสมุทร ป่า ไฟ พื้นดิน และท้องฟ้า การออกแบบตุ๊กตาเหล่านี้ใช้เทคนิคทางศิลปะแบบดั้งเดิมของชาวจีนเพื่อให้แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมอันรุ่งโรจน์ของจีน



ภาคต่อไปเรามาดูกันว่า ฝูหวาแต่ละตัวเป็นสัญลักษณ์แทนมงคลนามธรรมอะไรบ้างนะคะ ติดตามได้ในวันพรุ่งนี้คะที่มา: จดหมายข่าว อาศรมสยาม-จีนวิทยา ฉบับที่ 54(มกราคม 2550)



Create Date : 24 ตุลาคม 2550
Last Update : 24 ตุลาคม 2550 2:42:21 น.
Counter : 531 Pageviews.

3 comment

ผู้ดูแลสุสานโบราณ
Location :
กรุงเทพ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



a2a_hide_embeds = 0; a2a_prioritize=['twitter','facebook','digg'];a2a_linkname=document.title;a2a_linkurl=location.href;a2a_num_services=6;a2a_onclick=1;