Group Blog
 
All blogs
 

สรุปยอดซื้อขายต่างชาติ ณ วันที่ 5 ต.ค 2553


การซื้อขายหลักทรัพย์แยกตามกลุ่มนักลงทุนในตลาดหลัก ทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)



อยากให้อ่านเรื่องนี้ด้วยครับ


คนเหมือนกันทั้งโลก โดย ดร.นิเวศน์


ในการวิเคราะห์เรื่องการลงทุนนั้น แนวความคิดที่สำคัญมากอย่างหนึ่งที่ผมยึดถือก็คือความคิดที่ว่า “คนนั้นเหมือนกันทั้งโลก” ความแตกต่างของพฤติกรรมที่เราเห็นจากคนในแต่ละสังคมหรือแต่ละประเทศนั้น ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เกิดจากความแตกต่างของรายได้ นั่นคือ สังคมที่รวยกว่าจะมีพฤติกรรมในการบริโภคและการใช้ชีวิตแตกต่างจากคนในสังคม ที่จนกว่า แต่ในสังคมที่รวยพอ ๆ กันก็จะประพฤติหรือบริโภคสิ่งที่คล้าย ๆ กัน พูดง่าย ๆ คนไม่ได้แตกต่างกันเพราะเชื้อชาติ สีผิว หรือแม้แต่วัฒนธรรม แต่คนแตกต่างกันเพราะมีรายได้ไม่เท่ากัน แต่ถ้าจะพูดให้ถูกต้องชัดเจนก็คือ แท้ที่จริงแล้ว คนเรานั้นชอบหรืออยากทำอะไรเหมือน ๆ กัน เพียงแต่คน ๆ หนึ่งอาจจะมีรายได้มากพอที่จะทำในสิ่งที่ต้องการได้ ในขณะที่คนอีกคนหนึ่งทำไม่ได้เพราะไม่มีเงิน

จากแนวความคิดดังกล่าว ทำให้เราสามารถคาดการณ์ว่า ประเทศไทยหรือสังคมไทยจะเคลื่อนไหวไปทางไหน สินค้าหรือบริการอะไรจะขายได้หรือขายดีในอนาคต วิธีการก็คือ ศึกษาจากประเทศหรือสังคมที่รวยกว่าเรา ดูว่าเคยเป็นอย่างไรและปัจจุบันเป็นอย่างไร ใช้ผลิตภัณฑ์อะไรมากน้อยแค่ไหน จากนั้นหันมาดูเมืองไทยว่า เราจะเดินตามแบบเดียวกับเขาเมื่อไร หัวใจสำคัญก็คือ ดูว่าเมื่อไรรายได้ของคนไทยจะเพิ่มขึ้นหรือราคาของสินค้าจะลดลงจนทำให้คนไทย มีปัญญาใช้สินค้านั้นได้เช่นกัน

ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดก็คือเรื่องของโทรศัพท์มือถือ เมื่อราวสิบกว่าปีก่อน ถ้ายังจำกันได้ การใช้โทรศัพท์มือถือในประเทศไทยเพิ่งเริ่มเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม คนใช้ยังมีจำนวนน้อยมาก แต่ละปีจะมีผู้ใช้รายใหม่เพียงไม่กี่แสนรายในขณะที่ประเทศในกลุ่มสแกนดิเน เวียนั้น เกือบทุกคนแม้แต่เด็กเล็กก็ใช้กันแล้ว เหตุผลของความแตกต่างก็คือ ราคาของการใช้โทรศัพท์มือถือในเมืองไทยยังแพงเกินกว่าที่คนไทยส่วนใหญ่จะ สามารถใช้ได้ แต่แล้ว ราคาค่าเครื่องและค่าบริการการใช้โทรศัพท์มือถือก็ลดลงอย่างรวดเร็วจนคนไทย ส่วนใหญ่สามารถใช้ได้ ผลก็คือ การใช้ในประเทศไทยก็พุ่งขึ้นจนปัจจุบันคนไทยเกือบทั้งหมดต่างก็ใช้โทรศัพท์ มือถือเหมือนกับประเทศเจริญแล้ว

บางคนอาจจะบอกว่า เรื่องการบริโภคหรือเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจนั้น คนอาจจะทำตามกันเมื่อมีรายได้ใกล้เคียงกัน แต่ในเรื่องของความเชื่อ รสนิยม ความคิดทางสังคมหรือการเมืองนั้น แต่ละสังคมหรือแต่ละประเทศน่าจะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของแต่ ละกลุ่ม แต่ผมเองคิดว่า ความแตกต่างเหล่านั้นน่าจะเป็นในเรื่องของ “รายละเอียด” ในภาพใหญ่แล้ว ผมก็ยังคิดว่า “คนเราเหมือนกันทั้งโลก” ถ้าพวกเขามีรายได้หรือความมั่งคั่งใกล้เคียงกัน ยกตัวอย่างเช่น ประเทศที่ร่ำรวยมากขึ้น ในทางการเมืองก็จะเป็นประเทศที่ยึดหลักเสรีประชาธิปไตย ไม่มีประเทศไหนเป็นประเทศที่ปกครองแบบเผด็จการ ในทางตรงกันข้าม ประเทศที่ยากจนอาจจะมีระบอบการปกครองเป็นเผด็จการได้ แต่เมื่อใดที่พวกเขารวยขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงจุดหนึ่ง พวกเขาก็ต้องเป็นประเทศประชาธิปไตย เพราะหัวใจของเรื่องก็คือ มนุษย์ทุกคนในโลกต้องการมีเสรีภาพ แต่บางครั้งเขาเลือกไม่ได้เมื่อเขายังจนอยู่ แต่เมื่อรวยขึ้นแล้ว พวกเขาก็จะต้องเรียกหาและได้เสรีภาพและประชาธิปไตยในที่สุด

ผมเองชอบย้อนรำลึกถึงความหลังในสมัยที่ยังเด็ก ถึงวันนี้ผมรู้สึกทึ่งกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยที่เกิดขึ้นได้อย่างไม่ น่าเชื่อ ในสมัยก่อนนั้นผมรู้สึกว่าสังคมไทยมีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากสังคมอื่น ๆ โดยเฉพาะที่ไม่ใช่คนเอเซีย ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะการได้รับการสอนหรือพร่ำบอกผ่านสื่อต่าง ๆ ว่าประเทศไทยจะต้องเป็นหรือเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ คนไทยเป็นคนที่มีค่านิยมอย่างนั้นอย่างนี้ที่ “ดี” กว่าคนอื่น แต่พอถึงวันนี้ หลังจากที่เศรษฐกิจไทยเติบโตขึ้นมหาศาลและคนไทยเริ่มรวยขึ้นพอสมควร ผมก็เริ่มเห็นว่าคนไทยรุ่นใหม่โดยเฉพาะที่พ่อแม่มีรายได้และความมั่งคั่งสูง ขึ้นนั้น ได้เปลี่ยนค่านิยมไปมากมาย นั่นคือ พวกเขามีความคิดและค่านิยมเหมือน ๆ กับฝรั่งและชาวต่างชาติอื่น ๆ ที่มีรายได้เฉลี่ยสูงกว่า ความ “เป็นไทย” นั้นดูเหมือนจะเป็นเรื่องในอดีตและไม่น่าที่จะมีใครสามารถ “หมุนเข็มนาฬิกา” กลับคืนไปได้ ดังนั้น สิ่งที่ผมทำก็คือ พยายาม “ปรับตัว” และ “ปรับใจ” เพื่อรับกับ “สังคมใหม่” ที่มาพร้อมกับความมั่งคั่งที่เพิ่มขึ้นของสังคมไทย และไม่ไปตัดสินว่าสิ่งเหล่านั้นดีหรือไม่ดี

ผมพูดมายืดยาวและดูเหมือนว่าจะไม่ค่อยเกี่ยวข้องกับการลงทุนนัก แต่ที่จริงมันเกี่ยวกับการวิเคราะห์หาแนวโน้มในอนาคตของประเทศไทย อนาคตของเศรษฐกิจไทย และอนาคตของบริษัทไทย สิ่งเหล่านี้มีความสำคัญมากต่อการลงทุนระยะยาวที่เราจำเป็นต้องรู้ว่าอนาคต มันจะไปถึงจุดไหน อย่างไรก็ตาม ในระยะสั้น ๆ นั้น บางครั้งสิ่งที่เราคิดว่าจะเกิดขึ้นอาจจะยังไม่เกิดและหลายครั้งกลับเดินไป ในทิศตรงกันข้ามทำให้เราไม่มั่นใจและอาจจะคิดไปว่า “เมืองไทยไม่เหมือนที่อื่นเพราะ…” แต่ในความเห็นของผมหลังจากที่ผ่านประสบการณ์มานานพอสมควรในชีวิต ผมคิดว่า “คนเหมือนกันทั้งโลก เพราะเรามียีนส์แบบเดียวกัน” การเป็น “คนไทย” นั้น เป็นเรื่องของ “รายละเอียด” ที่ไม่สามารถจะไปเปลี่ยนโครงสร้างใหญ่ที่ธรรมชาติได้กำหนดมาแล้วสำหรับ มนุษย์ทุกคน ดังนั้น สำหรับผมแล้ว ถ้าผมเห็นว่า เทรนด์หรือแนวโน้มของโลกที่เจริญแล้วไปทางไหน ไม่ช้าก็เร็ว ประเทศไทยก็จะพัฒนาไปทางนั้น ไม่มีข้อยกเว้น เราต้องมั่นใจและตัดสินใจลงทุนได้แม้ว่าสถานการณ์ที่เป็นอยู่อาจจะไม่เป็น เช่นนั้นหรือชี้ไปในทิศตรงกันข้าม

แหล่งที่มา ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร




อยากให้อ่านเรื่องนี้ด้วยครับ


สรุปยอดซื้อขายต่างชาติ ณ วันที่ 01 ต.ค 2553


การซื้อขายหลักทรัพย์แยกตามกลุ่มนักลงทุนในตลาดหลัก ทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)



อยากให้อ่านเรื่องนี้ด้วยครับ


"ดร.อนุสรณ์"เตือน ภายใน 1 เดือน บาทมีโอกาสแตะ 29.50 บาท/ดอลลาร์



"ดร.อนุสรณ์"เตือน ภายใน 1 เดือน บาทมีโอกาสแตะ 29.50 บาท/ดอลลาร์ หากไร้มาตรการดูแล พร้อมแนะ 7 แนวทางชะลอบาทแข็ง

ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป และคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยว่า แนวโน้มเงินบาทยังคงมีทิศทางที่แข็งค่าต่อเนื่อง ดังนั้นจึงได้เสนอแนะนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อชะลอการแข็งค่าของเงินบาท ใน 7 แนวทาง ประกอบด้วย

1.ชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้ออกไปก่อน เพื่อลดแรงกดดันจากกระแสเงินทุนระยะสั้นไหลเข้าตลาดการเงินอันเป็นผลเพิ่ม แรงกดดันให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นไปอีก นอกจากนี้ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงไตรมาส 4 มีแนวโน้มชะลอตัวลงกว่าครึ่งปีแรก และอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจของไทยในปี 2554 มีแนวโน้มปรับตัวลดลงจากระดับ 6-7% ในปีนี้เป็น 4-5% ในปีหน้า แรงกดดันของอัตราเงินเฟ้ออันเป็นผลมาจากความร้อนแรงของอุปสงค์ยังไม่ใช่ ปัญหาเฉพาะหน้าของเศรษฐกิจไทยในช่วง 1-2 ไตรมาสข้างหน้า

2.ทางการควรใช้มาตรการทางการคลังควบคู่มาตรการการเงิน เพื่อชะลอหรือลดแรงกดดันจากเงินทุนไหลเข้าด้วยการเร่งรัดในการชำระหนี้ต่าง ประเทศเร็วขึ้นและมากขึ้น พร้อมกับการใช้โอกาสนี้ในการนำเข้าสินค้าประเภททุนและเครื่องจักรอุปกรณ์ ทั้งหลายที่ต้องใช้ในโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาล

3.ส่วนการดำเนินการแทรกแซงตลาดปริวรรตเงินตราผ่านทาง Open Market Operation เมื่อซื้อดอลลาร์และขายเงินบาทเข้าสู่ตลาดแล้ว ไม่ควรดูดเงินบาทกลับคืน ซึ่งจะทำให้ผลของการแทรกแซงมีประสิทธิภาพมากกว่า และชะลอการแข็งค่าได้ดีกว่า แต่อาจส่งผลให้มีแรงกดดันอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นบ้าง

4.เมื่อเลือกใช้มาตรการต่างๆ ที่สอดคล้องกับกลไกตลาดแล้วแต่ไม่ได้ผลมากนัก หากอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วสู่ระดับ 27-28 บาท/ดอลลาร์ ภายในระยะอันสั้น (ต่ำกว่าสามเดือน) กรณีนี้ไม่เป็นไปตามคาดการณ์ จะเป็นสถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อการส่งออกโดยเฉพาะ SMEs อย่างรุนแรง ทางการควรพิจารณานำมาตรการเก็บภาษีรายได้จากการลงทุนระยะสั้น (ต่ำกว่าสามเดือน)ในตลาดการเงินมาใช้ มาตรการดังกล่าวถือเป็นมาตรการ Capital Control แบบอ่อนๆ

5.ประเทศไทยใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว จึงมีความจำเป็นน้อยลงในการที่ต้องสะสมทุนสำรองระหว่างประเทศจำนวนมากเช่นใน ปัจจุบัน ควรมีการนำเอาทุนสำรองระหว่างประเทศบางส่วนออกไปลงทุนในต่างประเทศ เพื่อสร้างความมั่นคง และเสถียรภาพต่อระบบการเงินและระบบเศรษฐกิจไทยในระยะยาว

6.จากการศึกษาความสำคัญของตัวแปรและปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่ออัตราแลกเปลี่ยนหรือค่าเงินบาทในช่วง 13 ปีที่ผ่านมา (หลังลอยตัวค่าเงิน) โดยใช้ข้อมูลรายไตรมาสพบว่ามีตัวแปร 6 ตัวที่อธิบายความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทได้ถึง 90% ตามลำดับสำคัญดังต่อไปนี้ อัตราส่วนของดุลบัญชีเดินสะพัดต่อจีดีพี, อัตราส่วนเงินทุนสำรองระหว่างประเทศต่อจีดีพี โดยสองตัวแปรแรกอธิบายการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทได้ดีที่สุด, ค่าเงินในภูมิภาค, อัตราส่วนหนี้ต่างประเทศต่อจีดีพี, ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยแท้จริงของไทยกับสหรัฐอเมริกา

7.ควรเริ่มต้นศึกษาการนำเอา Small Moving Band มาใช้แทนระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวหากระบบนี้ไม่สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ และระบบการเงินในอนาคต

นายอนุสรณ์ กล่าวว่า ควรดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนให้เหมาะสม และสอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ การลดผลกระทบจากความผันผวนของค่าเงินควรมุ่งไปที่การป้องกันมากกว่าแก้ไข อย่างไรก็ตาม อัตราแลกเปลี่ยนไม่ได้เป็นผลจากดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นหลัก โดยเฉพาะในภาวะโลกไร้พรมแดนทางการเงินที่มักได้รับผลกระทบจากธุรกรรมในบัญชี เงินทุน เนื่องจากธุรกรรมเหล่านี้มีลักษณะเก็งกำไรสูง และแสวงหาส่วนต่างของราคาและหรือส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยจึงมีปฏิกิริยาต่อการ เคลื่อนไหวต่อค่าเงินรุนแรงและรวดเร็ว นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนจึงควรมีความคล่องตัวและยืดหยุ่นสูงและควรใช้แทรกแซง ตลาดปริวรรตเงินตราด้วยวิธีการใหม่ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งที่ตลาดคาดการณ์ไว้แล้ว

นอกจากนี้ ยังตั้งสมมติฐานคาดการณ์ค่าเงินบาทกรณีไม่มีมาตรการ CAPITAL CONTROL และมีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดต่อเนื่องนั้น ภายใน 1 เดือน ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์จะไปอยู่ที่ ระดับ 29.50 บาท โดยในอีก 3 เดือนอยู่ที่ 29 บาท ส่วนอีก 6 เดือนอยู่ที่ 28 บาท และในอีก 1 ปีอยู่ที่ 27 บาท แต่หากมีมาตรการ CAPITAL CONTROL ในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์ภายใน 1 เดือนจะไปอยู่ที่ 31.50 บาท ส่วนในอีก 3 เดือนจะอยู่ที่ 31 บาท อีก 6 เดือนอยู่ที่ 30 บาท และในอีก 1 ปีจะอยู่ที่ 29.50 บาท
แหล่งที่มา กรุงเทพธุรกิจ

อยากให้อ่านเรื่องนี้ด้วยครับ


สรุปยอดซื้อขายต่างชาติ ณ วันที่ 30 ก.ย 2553


การซื้อขายหลักทรัพย์แยกตามกลุ่มนักลงทุนในตลาดหลัก ทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)


อยากให้อ่านเรื่องนี้ด้วยครับ


1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  

girdpol
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




Friends' blogs
[Add girdpol's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.