ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

เตือนภัยอาหารจานเด็ด ไข่แมงดาไฟ-อันตรายถึงชีวิต







แมงดาทะเล เป็นสัตว์โบราณที่พบได้ชุกชุมทั่วไปในอ่าวไทยทั้งฝั่งทะเลด้าน จ.ชุมพร ถึงจันทบุรี

แมงดา
ทะเลชอบอาศัยหมกตัวอยู่ตามพื้นโคลน
หรือพื้นทรายตามชายฝั่งน้ำตื้นบริเวณอ่าวและปากน้ำ
สำหรับฤดูวางไข่ของแมงดาทะเล เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-กันยายน
ฤดูนี้แมงดาจะชุกชุมและมีไข่ ซึ่งคนชอบรับประทานโดยทำเป็นอาหารคาว เช่น
ยำไข่แมงดาทะเล แกงคั่วสับปะรด หรือบางครั้งทำเป็นของว่าง เช่น
เชื่อมน้ำตาล

อย่างไรก็ตามโรคที่เกิดจากการรับประทานอาหารทะเลที่มีพิษนั้นพบได้บ่อย เนื่องจากความนิยมบริโภคอาหารทะเล แต่ภาวะสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ทำให้เกิดความเป็นพิษในห่วงโซ่อาหาร และที่สุดก็ทำให้เกิดเป็นพิษในคน บางครั้งรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้

จาก
สถิติที่ศูนย์พิษวิทยาคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
ได้รับรายงานผู้ป่วยได้รับพิษจากการรับประทานแมงดาทะเลจำนวนทั้งสิ้น 115
ราย

เคยมีการตรวจหาสารพิษของไข่แมงดาทะเลทั้งแมงดา
ถ้วย และแมงดาจาน โดยกลุ่มวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพ กองพัฒนาอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ
กรมประมง พบเฉพาะสารพิษในไข่ของแมงดาถ้วย คือ เตโตรโดท็อกซิน และ
แอนไฮโดรเตโตรโดท็อกซิน ซึ่งเป็นชนิดเดียวกับที่พบใน “ปลาปักเป้า”
และสัตว์ทะเลบางสายพันธุ์ เช่น ปลาบู่ กบ หอย ปู ดาวทะเล
สารพิษนี้ทนทานความร้อนสูงมาก การต้ม ทอด ย่าง หรือปิ้ง
ไม่สามารถทำลายพิษได้ ซึ่งความเป็นพิษและความรุนแรงนี้
จะแปรเปลี่ยนไปตามฤดูกาล และมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ทั้ง
นี้ อาการจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณการบริโภค
ลักษณะแมงดาถ้วยลำตัวเล็ก หางกลม ไม่มีสัน บางตัวลำตัวสีแดง ตาสีแดง มีพิษ
เรียกว่าแมงดาไฟหรือ เหรา ส่วนแมงดาที่ไม่มีพิษ
ได้แก่ แมงดาจาน หรือแมงดาหางเหลี่ยม ลำตัวใหญ่ หางเป็นสามเหลี่ยมมีสันเป็นหนามเล็ก ๆ ตาไม่มีสีแดง

ในประเทศไทยได้มีการศึกษาภาวะน้ำแดงในอ่าวไทย พบว่า มักจะเกิดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม

ซึ่ง
มีมานานและไม่เป็นอันตราย นอกจากนี้อาจเกิดผลกระทบต่อการเลี้ยงกุ้งของไทย
ปัจจุบันมีรายงานการเกิดภาวะน้ำแดงบ่อยขึ้นในอ่าวไทย
ซึ่งเกี่ยวข้องกับมลพิษบริเวณชายฝั่งทะเลเช่นกัน
จึงขอแนะนำให้งดการรับประทานไข่แมงดาทะเลในช่วงเดือนมกราคม-เดือนมีนาคม เนื่องจากมีความเป็นพิษสูง เพราะระดับพิษขึ้นอยู่กับฤดูกาล หากไม่ทราบวิธีการนำแมงดาทะเลมาปรุงเป็นอาหาร ไม่
ควรรับประทานอย่างเด็ดขาด
เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มียารักษาพิษของแมงดาทะเลโดยตรง วิธีที่ดีที่สุดคือ
รีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล เพื่อให้แพทย์รักษาให้เร็วที่สุด

นายสำรวย ลิขสิทธิพันธุ์ นักวิชาการประมง ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยฝั่งตะวันออก (สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำระยอง)

เปิด
เผยว่า แมงดาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ประเภทที่ 1 แมงดาถ้วยหรือแมงดาหางกลม
ลักษณะกระดองมีสีน้ำตาลอมแดง หางมีหน้าตัด เป็นรูปครึ่งวงกลม
สันหางเรียบไม่มีหนาม ขนาดความยาวรวมหาง 25-30 ซม.
ตัวที่มีพิษจะมีตาสีแดงก่ำ และมีขนปกคลุมทั้งตัวเรียกว่า เหรา หรือแมงดาไฟ
แหล่งที่พบเห็นตามชายฝั่งน้ำตื้นพื้นโคลน ปากแม่น้ำหรือตามลำคลองป่าชายเลน

ประเภทที่ 2 แมงดาจาน หรือแมงดาหางเหลี่ยม ลักษณะกระดองมีสีน้ำตาลอมเขียว หางมีหน้าตัดเป็นรูปสามเหลี่ยม
ด้าน
บนมีสันและหนามเรียงกันเป็นแถวคล้ายฟันเลื่อย ขนาดความยาวรวมหาง 40-50 ซม.
สามารถบริโภคได้ แหล่งที่พบตามพื้นทะเลห่างชายฝั่งออกไป หรือพื้นทราย
ส่วนการบริโภคไข่ของแมงดาถ้วยที่เรียกว่า เหรา หรือแมงดาไฟนั้น
อาจมีพิษถึงตายได้ โดยเฉพาะในช่วงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์–กันยายน หลังจากรับประทานเข้าไปภายใน 30 นาที-1 ชั่วโมง จะมีอาการท้องร่วง คลื่นไส้ อาเจียน
มีอาการชาที่ปาก ลิ้น ใบหน้า และแขนขากล้ามเนื้อเป็นอัมพาต และช็อกหมดสติ
หากได้รับพิษมากมีอันตรายถึงชีวิตได้ เนื่องจากระบบหายใจล้มเหลว
โดยเป็นพิษกลุ่มเทโทรโดท็อกซิน (Tetrodotoxin)
ซึ่งพิษกลุ่มนี้จะไม่สลายตัวหรือถูกทำลาย แม้จะทำให้สุกก่อนบริโภค
หากได้รับพิษ การปฐมพยาบาล ทำการล้างท้อง ทำให้อาเจียน
และควรใช้เครื่องช่วยหายใจ แล้วรีบนำคนป่วยส่งโรงพยาบาล ข้อควรระวัง
ไม่ควรนำแมงดาถ้วยมาเป็นอาหาร

นพ.นพฤทธิ์ อ้นพร้อม ผอ.โรงพยาบาลระยอง กล่าวว่า ในจังหวัดระยองมีชื่อเสียงในเรื่องของการจำหน่ายอาหารทะเลสด ๆ ตามแนวชายหาด

และ
ร้านอาหาร นักท่องเที่ยวชาวไทย
ชาวต่างประเทศนิยมเดินทางมาบริโภคอาหารทะเลกันอย่างมาก
จึงขอแจ้งเตือนการบริโภคแมงดาทะเล ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์–มิถุนายน
เนื่องจากไข่แมงดามีพิษ เพราะช่วงนี้เป็นช่วงฤดูผสมพันธุ์
เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์–กันยายน
แต่สำหรับคนที่ชอบรับประทานแมงดาทะเลแล้ว ถ้าพบว่าหลังจากการบริโภค
แล้วรู้สึกมีอาการชาที่ปาก หายใจไม่ออก ให้ทำการล้างท้อง
ล้วงคอทำให้อาเจียน และรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
การใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นการรักษาเบื้องต้นเพื่อช่วยให้คนไข้หายใจได้
หลังจากนั้นก็รักษาตามอาการแบบเดียวกับการรักษาผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษโดย
ทั่วไป ในปัจจุบันยังไม่มียาแก้พิษแมงดาทะเล.



ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์



Create Date : 02 กุมภาพันธ์ 2555
Last Update : 2 กุมภาพันธ์ 2555 20:13:44 น. 0 comments
Counter : 1843 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ข่าวดี
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]










ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


New Comments
[Add ข่าวดี's blog to your web]