Group Blog
 
All Blogs
 
วิตามิน กับ สารสื่อประสาท

วิตามินบี 6 หรือ Pyridoxal-5-phosphate (PLP) เป็นโคเอนไซม์ที่สำคัญในการสังเคราะห์สารสื่อประสาทหลายชนิด ประการแรกทำหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ของเอนไซม์ glutamic acid decarboxylase (GAD) ซึ่งทำหน้าที่เปลี่ยนกรดอะมิโนกลูตามิก (glutamic acid) ให้เป็นสารสื่อประสาทกาบา (GABA) หรือ g-amino butyric acid ซึ่งออกฤทธิ์เป็นสารสื่อประสาทแบบยับยั้ง (inhibitory neurotransmitter) การทำงานเของเอนไซม์ไทโรซีนไฮดรอกซิลเลส (tyrosine decarboxylase) ยังต้องการวิตามินบี 6 เพื่อทำหน้าที่เป็นโคเอนไซม์สำหรับปฏิกิริยาการเปลี่ยนกรดอะมิโนไทโรซีน (tyrosine) ให้เป็นโดปามีน (dopamine) และอะดรีนาลีน (noradrenaline) อีกตังอย่างคือกรณีของ tryptophan decarboxylase ที่ใช้วิตามินบี 6 ยังเป็นโคเอนไซม์ในการเปลี่ยนกรดอะมิโนทริปโตฟาน (tryptophan) ให้เป็นซีโรโตนิน (serotonin) หรืออาจเรียกว่า 5-hydroxytryptamine (5-HT) นอกจากนี้วิตามินบียังเป็นโคเอนไซม์ของ (histidine decarboxylase) ที่เปลี่ยนกรดอะมิโนฮีสทีดีน (histidine) ให้เป็นฮีสตามีน (histamine)



วิตามินบี 5 (Nicotinamide) ในรูปของ nicotinamide adenine dinucleotide (NAD) เป็นโคเอนไซม์สำหรับเอนไซม์ hepatic tryptophan pyrrolase ซึ่งจำเป็นในการสังเคราะห์สารสื่อประสาทซีโรโตนิน วิตามินซี (Ascorbic acid) ยังเป็นโคเอนไซม์สำหรับเอนไซม์ dopamine b-hydroxylase, เอนไซม์ dihydropterin reductase และเอนไซม์ dopamine adenyl cyclase ซึ่งเกี่ยวข้องในการสังเคราะห์นอร์อะดรีนาลีนและโดปามีน



สำหรับกรดโฟลิก Folic acid และวิตามินบี 12 ทำหน้าที่เป็นโคเอนไซม์สำหรับเอนไซม์ catechol-O-methyl transferase ซึ่งทำหน้าที่สลายสารสื่อประสาทนอร์อะดรีนาลีน (noradrenaline) และโดปามีนในช่องว่างระหว่างไซแนปส์ที่เรียกว่า synaptic cleft. โฟเลต (Folate) ที่เป็นไอออนลบของกรดโฟลิกก็มีส่วนเกี่ยวข้องในการสังเคราะห์ tetrahydrobiopterin ซึ่งเป็นโคแฟกเตอร์จำเป็นในการเปลี่ยนกรดอะมิโนฟีนิลอะลานีน (phenylalanine) ให้เป็นกรดอะมิโนไทโรซีน และเติมหมู่ hydroxyl ให้กับกรดอะมิโนไทโรซีนและกรดอะมิโนทริปโตฟานให้เป็นนอร์อะดรีนาลีนและโดปามีน ตามลำดับ



นอกจากนี้ในการสังเคราะห์อะซีติลโคเอนไซม์เอ (acetyl coenzyme A) ก็ต้องการกลูโคศ (Glucose) และวิตามินบี 1 (thiamin) และเมื่อโมเลกุลของ อะซีติลโคเอนไซม์เอรวมกับโคลีน (choline) ก็จะได้สารสื่อประสาทอะซิติลโคลีน (acetylcholine) ซึ่งปฏิกิริยานี้เร่งโดยเอนไซม์โคลีนอะซิติลทรานสเฟอเรส (choline acetyltransferase)



Create Date : 18 มกราคม 2550
Last Update : 18 มกราคม 2550 3:12:23 น. 2 comments
Counter : 1440 Pageviews.

 
เขามารับทราบครับ วิตามินบีเนี้ย กับผมคงจะเป็นเพื่อนกันไปจนตาย เพราะว่าเกี่ยวกับระบบสมองและระบบประสาท น่าจะแนะนำตัวอื่นๆ เพิ่มนะครับ แล้วสรุปว่า ตัวไหนเป็นตัวกระตุ้น หรือช่วยซ่อมแซมส่วนประสาทที่ชา หรือสูญเสียไป

ว่างๆ จะแวะเข้ามารับความรู้นะครับ


โดย: นายวุ้นกะทิ วันที่: 17 เมษายน 2550 เวลา:10:00:15 น.  

 
ดีมากๆเลย


โดย: นราทิพย์ IP: 221.128.77.59 วันที่: 30 ตุลาคม 2550 เวลา:18:00:06 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

weerapong_rx
Location :
London United Kingdom

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]




อยู่เมืองกรุงไกลนาเพื่อตามล่าฝัน
Friends' blogs
[Add weerapong_rx's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.