ผลตอบแทนของ นักเก็งกำไร vs. นักลงทุน
(สืบเนื่องจากตอนที่แล้ว "ความทุกข์ของคนเล่นหุ้น??")

ในเวลาที่ตลาดทรุดตัวลงมากๆ แบบช่วงเวลานี้ (จาก 11xx สู่ 8xx จุด ระยะทางประมาณ 300 จุด) เป็นช่วงเวลาที่ได้มองเห็นอะไรหลายๆอย่างชัดเจนมากขึ้น


ได้เห็นความกลัว ความวิตก ความคาดหวัง ความโลภ ความหน่าย ความตื่นเต้น การเดา การคาดการณ์ การพยากรณ์ ฯลฯ


และที่ได้เห็นมากในช่วงนี้คือ ดอย คำที่ได้ยินมาตั้งแต่จำความเกี่ยวกับตลาดหุ้นได้ อาการของคนติดหุ้นที่ราคาสูง จะว่าไปแล้วมักจะเกิดกับนักเก็งกำไรที่มากกว่า เพราะต้องการกำไรจากส่วนต่างราคา (Capital gain) และเมื่อติดหุ้นในราคาสูงทำให้ไม่สามารถนำเงินส่วนนั้นมาเก็งกำไรได้ ทำให้รู้สึกขาดทุน(ค่าเสียโอกาส) ติดดอย (หรืออาจจะขาดทุนจริงแบบ Cut loss)


ผลตอบแทนของนักเก็งกำไรจึงไปขึ้นกับราคาบนกระดาน (ราคาตลาด) หากราคาสูงกว่าทุน คือ กำไร กลับกัน ราคาต่ำกว่าทุน คือ ขาดทุน
ทำให้นักเก็งกำไรมักจะวิตกกับราคาบนกระดาน และค่าธรรมเนียมการซื้อขาย เนื่องจากมันมีผลต่อ ผลตอบแทน อย่างมีนัยยะสำคัญ
ด้วยความที่ผลตอบแทนที่นักเก็งกำไรต้องการนั้นอยู่บนพื้นฐานของ ราคา ทำให้นักเก็งกำไรต้องแบกรับความเครียดที่สูง



ก็เลยลองคิดเล่นๆ ว่าถ้าในมุมของ นักลงทุน จะรู้สึกอย่างไรกับราคาบนกระดาน?
เคยเห็นเวลาเค้าทำการเสนอซื้อหุ้น (Tender offer) ในราคาสูงกว่ากระดานมากๆ รึเปล่า? นักเก็งกำไรคงคิดว่าไอ้คนซื้อนี่มันบ้าชัดๆ ซื้อไปได้ยังไง “แพง” แบบนี้

แต่ในมุมของนักลงทุนการได้หุ้นมาตาม “จำนวน” ที่ต้องการโดยไม่เกี่ยงราคาให้ผลตอบแทนที่ต่างกัน
ผลตอบแทนอาจอยู่ในรูปแบบที่พื้นฐานสุดๆ คือ เงินปันผล
หรือผลตอบแทนในรูปแบบของ อำนาจการต่อรอง (ผลประโยชน์บางอย่างเมื่อต้องการเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น)
หรือผลตอบแทนในรูปแบบของ อำนาจการบริหาร (หรือแต่งตั้งผู้บริหาร)
ผลตอบแทนเหล่านี้อาจเป็นผลตอบแทนที่นักเก็งกำไร(อาจ)ไม่เคยสนใจมาก่อน (เว้นแต่ติดดอย)

ในแง่ของความเครียดแล้ว ความเครียดของนักลงทุน น่าจะเกิดจากพื้นฐานกิจการ คู่แข่งทางธุรกิจ ธรรมาภิบาลของผู้บริหาร มากกว่าจะเกิดจากราคาบนกระดาน

แม้ว่าราคาบนกระดานจะปรับตัวลงไปมากเท่าไหร่ ความเป็นเจ้าของในธุรกิจก็ยังคงเดิม (เว้นแต่ว่าราคาลงเนื่องจากการเพิ่มทุน โดยที่ผู้ถือหุ้นเดิมไม่ได้ซื้อหุ้นเพิ่มทุนในอัตราเดียวกับปริมาณหุ้นที่ตนถืออยู่เดิม (คิดเป็นเป็นร้อยละ))



บางที ถ้าเรามองในแง่ของ ผลตอบแทนที่คาดหวังจากการนำเงินไปซื้อหุ้น เราก็อาจจะพอบอกได้ว่า เราเป็น "นักเก็งกำไร" หรือ "นักลงทุน" เพื่อที่เราจะหาวิธีจัดการกับความเครียดในแบบของตัวเอง






ตรงนี้แถม
ลองคิดผลตอบแทนจากเงินปันผลเล่นๆ สมมติว่าหุ้นบริษัท ก. ราคาที่ซื้อมา 100 บาท (คือราคาต้นทุน ราคาตลาดช่างหัวมัน มันอาจจะ 80 หรือ 120 ก็ตาม) และสมมติว่าเป็นบริษัทที่ทำกำไรได้คงที่ไม่มีการขยายกิจการจึงจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ ปีละ 5 บาท ...
อัตราผลตอบแทนเงินปันผลในแต่ละปี = เงินปันผลปีที่ n ÷ (ทุน - เงินปันผลที่เคยได้รับ)
ปีที่ 1 = 5/100 = 5%
ปีที่ 2 = 5/(100-5) = 5.26%
ปีที่ 3 = 5/(95-5) = 5.56%
ปีที่ 4 = 5/(90-5) = 5.88%
ปีที่ 5 = 5/(85-5) = 6.25%
จะเห็นว่าแม้เราจะได้รับปันผลในจำนวนเงินเท่าเดิมแต่ %Yield จะเพิ่มขึ้นทุกๆปี (จริงๆ แล้วคือผลตอบแทน 25 บาท จากทุน 100 บาท หรือ 25% ใน 5 ปี)
โดยไม่ต้องไปคิดราคาบนกระดานให้เครียด ผ่านไป 5 ปี ราคาบนกระดานอาจจะขึ้นไปถึง 300 หรือเหลือ 50 บาท ก็ไม่ใช่ปัญหาอะไร (พฤติกรรมกำหนดราคาหรือจากวัฏจักร) ตราบเท่าที่กิจการยังทำกำไรต่อเนื่องอยู่



Create Date : 04 ตุลาคม 2554
Last Update : 5 ตุลาคม 2554 12:32:36 น.
Counter : 547 Pageviews.

1 comments
  
"ในแง่ของความเครียดแล้ว ความเครียดของนักลงทุน น่าจะเกิดจากพื้นฐานกิจการ คู่แข่งทางธุรกิจ ธรรมาภิบาลของผู้บริหาร มากกว่าจะเกิดจากราคาบนกระดาน"

Vote ให้เลยครับ
โดย: Nong-X IP: 124.121.237.121 วันที่: 5 ตุลาคม 2554 เวลา:0:31:05 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

KiD_sr
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



กลับมาเขียน Blog อีกครั้ง โดย Blog นี้จะเขียนพล่ามไปบนแนวคิดหลักๆ คือ iKiD (ไอ้คิด)

"Individual, Knowledge, Interest and Delight."

คำแปลแบบมั่วๆเป็นไทยก็คงประมาณว่า

"ความรู้ ความสนใจ และความพอใจส่วนตัว"


Enjoy. :)
  •  Bloggang.com