All Blog
มัสยิดในภาคอีสาน และรายชื่อผู้ติดต่อ สำหรับผู้สนใจศึกษาอิสลามทางภาคอีสาน
มัสยิดในภาคอีสานและรายชื่อผู้ติดต่อ สำหรับผู้สนใจศึกษาอิสลามทางภาคอีสาน






ข้อมูลล่าสุด 2008-08-03



ที่มา :มูลนิธิเพื่อการศึกษาและพัฒนามุสลิมอีสาน



ที่มา ข้อมูล //www.annisaa.com/forum/index.php?topic=1015.0 



Free TextEditor



Create Date : 24 มิถุนายน 2552
Last Update : 24 มิถุนายน 2552 6:30:28 น.
Counter : 6180 Pageviews.

6 comment
มารู้จักตัวอักษรภาษาอาหรับกันเถอะ

วันนี้เอาอักษรภาษาอาหรับมาให้ผู้สนใจอิสลามที่แวะผ่านเข้ามา
ได้ยลโฉมกันทีละตัวเลย (ดูจากขวาไปซ้ายนะคะ)
อักษรอาหรับเขียนจากขวาไป
ซ้าย มีอักษรทั้งหมด 28 ตัว

เอาไว้ว่างๆ อินชาอัลลอฮฺ
จะทำแบบแจงทีละตัวเลยว่าแต่ละตัวนั้นอ่านว่าอะไร



...
.....
......
.......
........

มีวิธีการเทียบตัวอักษร อาหรับ-ไทย , อาหรับ-อังกฤษ และทริปการอ่านเล็กๆ
น้อยๆ ให้ดาวน์โหลดด้วยค่ะ
>> เปรียบเทียบพยัญชนะ<<
หมายเหตุ :
จากลิงค์ด้านบนมีข้อมูลผิดพลาดนิดหน่อยนะคะ จากตรงที่ "ز = ซาล" ข้อมูลในเว็บใส่ว่า "ซาล" ซึ่งผิด
คิดว่าอาจเกิดจากการผิด
พลาดที่มิได้เจตนา หรือหลงลืมของผู้เขียนเล็กน้อย โดยที่ถูกต้อง "ز = ซฺาย" แบบที่เห็นในภาพเลยค่ะ










นี่ก็อีกฟ้อนท์หนึ่ง  hijab
การเขียนอักษรภาษาอาหรับก็เหมือนกับอักษรอื่นๆ
ทั่วไป คือ มีการเขียนหลากหลายรูปแบบ
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นยังคงรากฐานเดิมอยู่
(ง่ายๆ คือ มีหลายลายมือ เช่น
บางคนเขียน น.หนู มีหัว บางคนก็ไม่มีหัว บางคนเขียนตรง บางคนเขียนโย้หน้า
เป็นต้น จากภาพ 2 ภาพ สังเกตตัว م
จะเขียนไม่เหมือนกัน แต่ที่จริงแล้วคือตัวเดียวกัน แต่คนละฟ้อนท์[ลายมือ]
พอดีกว่า ยิ่งอธิบายยิ่ง งง ^^!! )






พอลองไปเว็บหนึ่งมา ดูไปแล้ว ลองอ่านไปด้วย น่ารักดี 
ลองคลิกที่ตัวรูปได้นะคะ มีเสียงด้วย ^^





//www.islamopas.com/arabic/elesson2.html



เพิ่มเติมอีกนิดค่ะ มีไฟล์ออกเสียงอ่านแต่ละอักษรมาฝากให้โหลดด้วยค่ะ
เหมาะ
สำหรับมุอัลลัฟ มุสลิมใหม่ หรือมุสลิมเก่า ใช้สอนเด็กๆ ก็ยิ่งดีเลยค่ะ
(เด็กๆ มักชอบเล่นอะไรที่กดแล้วมีเสียง Smiley )จะได้อ่านกันถูกต้องมากขึ้น...
ลองดูนะคะน่า
รักๆ ^^










Create Date : 12 กุมภาพันธ์ 2552
Last Update : 8 เมษายน 2553 22:00:10 น.
Counter : 19110 Pageviews.

5 comment
วิธีการเข้ารับอิสลามปฏิบัติดังนี้
ขอความสันติความเมตตาปราณี จงประสบแด่ท่าน


การเข้ารับอิสลามให้ปฏิบัติดังนี้

1. ปฏิญาณตนเข้ารับอิสลาม ด้วยการกล่าวชะฮาดะฮฺ

โดยกล่าวว่า
" อัชฮะดุ อันลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ วะอัชฮะดุอันนะ มุฮัมมะดัรฺ เราะซูลุลลอฮฺ" คลิกที่นี่ เพื่อรับฟังเสียงตัวอย่าง

ความว่า "ฉันขอปฏิญาณตนว่าไม่พระเจ้าอื่นใด (ที่ต้องเคารพภักดี) นอกจากอัลลอฮฺเพียงองค์เดียวเท่านั้น และฉันขอปฏิญาณตนว่ามูฮัมมมัดคือรสูล ของพระองค์"


การกล่าวปฏิญาณตนนี้ ไม่จำเป็นต้องมีพยานสองคน แค่กล่าวชะฮาดะฮฺ ก็เป็นมุสลิมแล้ว เพียงแต่ว่า หากมีก็จะดีเพราะเขาจะได้รับทราบ
เพื่อจะได้มีพยานยืนยันการเข้ารับอิสลามของตนเอง และผู้เป็นพยานจะได้แนะนำการออกเสียงได้ถูกต้อง และช่วยตักเตือนกันในเรื่องการดำเนินชีวิตในระบบอิสลาม


เมื่อเข้ารับอิสลามแล้ว บาปทั้งหมดที่ผ่านมา จะได้รับการอภัยโทษ และจะเริ่มต้นคิดบัญชี บาปและผลบุญใหม่ ตั้งแต่เข้ารับอิสลามเป็นต้นไป

แต่ใช่ว่าเข้ารับเพื่อลบล้างความผิดแล้วก็ไปทำชั่วใหม่ เช่นนี้ไม่มีค่าทางใด นอกจากเป็นบุคคลกลับกลอกตลบแตลง(มุนาฟิก) สิ่งไม่ดีก็สะสมเพิ่มขึ้น




2. เมื่อกล่าวปฏิญาณตนเข้ารับอิสลามแล้ว ส่งเสริมให้อาบน้ำสุนนะฮฺ เพื่ออาบน้ำชำระร่างกายเนื่องในการเข้ารับอิสลามโดยมีขั้นตอนดังนี้

1. ต้องมีน้ำที่สะอาด
2. การตั้งเจตนา “ข้าพอาบน้ำชำระล้างร่างกายเนื่องในการเข้ารับอิสลามเพื่ออัลลอฮฺ”
3. การกล่าว “บิสมิลลาฮฺ”
4. การล้างมือทั้งสอง 3 ครั้ง (เริ่มจากขวาก่อน)
5. การบ้วนปาก พร้อมกับสูดน้ำเข้าจมูก(เพื่อล้างภายในรูจมูก) แล้วสั่งออก 3 ครั้ง
6. การล้างใบหน้าให้ทั่ว 3 ครั้ง
7. การล้างมือทั้งสองของเขาจนถึงข้อศอก 3 ครั้ง
8. เช็ดศีรษะโดยลูบศีรษะจากด้านหน้าไปด้านหลังแล้วย้อนกลับมาด้านหน้าอีกครั้งหนึ่ง จากนั้นเช็ดหูด้านนอกด้วยนิ้วหัวแม่มือและเช็ดใบหูในด้านนิ้วชี้ ทำ 1 ครั้ง
9. อาบน้ำให้ทั่วร่างกายตั้งแต่ผมจรดปลายเท้าจนแน่ใจว่าทุกส่วนของร่างกายได้รับการชำระล้างหมดจรดแล้ว
10 . ล้างเท้าทั้งสองจนถึงตาตุ่ม 3 ครั้ง และถูซอกนิ้วเท้าด้วยน้ำให้ทั่ว (โดยเริ่มจากขวาก่อน)



3. หากเป็นเพศชาย ก็ต้องให้เขาไปทำคิตาน (เข้าสุนัต)หมายถึงการขลิบหนังส่วนปลายที่หุ้มอวัยวะเพศ
(หากมีใครบอกให้สตรีไปทำนั้น ไม่ต้องทำค่ะ ไม่ได้มีความจำเป็นสำหรับผู้เข้ารับอิสลามแต่อย่างใด)


4. ตั้งชื่อมุสลิม จะให้ใครตั้งก็ได้ หรือจะตั้งเองก็ได้ จากที่นี่ เว็บชื่ออาหรับพร้อมความหมาย


5. ให้ศึกษาเกี่ยวกับหลักคำสอนของศาสนาอิสลามต่างๆ ไม่ว่าจะข้อใช้ และข้อห้าม เพราะเมื่อเข้ารับอิสลามการงานทุกอย่าง จะเริ่มถูกบันทึกโดยเฉพาะการละหมาด ดังนั้น หากเป็นไปได้ให้ศึกษาอิบาดะฮฺหลักๆเสียก่อน คลิกที่นี่ คลิปไฟล์สอนการละหมาด

6. ศึกษาการอ่านกุรอาน ภาษาหรับ เพื่อใช้อ่านในละหมาด และใช้เป็นทางนำของชีวิต มีสอนมากมาย หรือจะติดต่อไปที่เหล่าที่ได้ (ในเขตกรุงเทพมหานคร) คลิกที่นี่ แนะนำที่เรียนศาสนาอิสลามและภาษาอาหรับสำหรับผู้สนใจ



โครงสร้างและระบอบชีวิตในอิสลาม

1. หลักศรัทธา มี 6 ประการดังนี้
1. ศรัทธาในอัลลอฮ์
2. ศรัทธาในมลาอิกะฮ์ (ทูตสวรรค์ของอัลลอฮ์)
3. ศรัทธาในบรรดาคัมภีร์
4. ศรัทธาในบรรดาศาสนทูต
5. ศรัทธาในกฏกำหนดสภาวะการณ์ของพระเจ้า
6. การยืนยันความศรัทธา



2. การยืนยันความศรัทธา มี 5 ประการดังนี้

1. การกล่าวปฏิญาณตนว่า “ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ และมูฮัมหมัดเป็นศาสนทูตของพระองค์”
2. การละหมาดวันละ 5 เวลา
3. การถือศีลอด
4. การจ่ายซะกาต
5. การทำฮัจญ์


3. จริยธรรมในการดำเนินชีวิต
1. มารยาทต่าง ๆ เช่น การทักทาย การแต่งกาย ฯลฯ
2. ครอบครัว เช่น หน้าที่สมาชิกครอบครัว การแต่งงาน การหย่า การจัดการมรดก ฯลฯ
3. เศรษฐกิจ การทำสัญญา จริยธรรมทางธุรกิจ ฯลฯ
4. การเมืองการปกครอง ความยุติธรรม การปฏิบัติตนต่อคนภายในการปกครอง
5. สังคม เช่น การปฏิบัติต่อเพื่อนบ้าน ความสัมพันธ์ระหว่างชายหญิง ฯลฯ
6. การสงครามและสันติภาพ
7. จริยธรรม เช่น การให้ความรัก ความเมตตา การอดทน การให้อภัย ความเสียสละ ความสามัคคี ฯลฯ


ส่วนเรื่องการแต่งกายสำหรับสตรีมุสลิม
ให้แต่งกายปกปิดเอารัต เปิดได้เฉพาะใบหน้าและฝ่ามือ หรือจะปิดหน้าก็ได้ อินชาอัลลอฮฺ(หากพระองค์ทรงประสงค์) จะเอาเรื่องเปิดหน้าปิดหน้ามาลงอีกที ฮิญาบต้องยาวลงมาปิดช่วงอก
ไม่ใส่ชุดรัดรูป ชุดบางๆ กางเกงเอาต่ำรัดๆ หรือคลุมฮิญาบแต่เสื้อแขนสั้น ออกมานอกบ้าน หรือในสถานที่มีชายที่ไม่ใช่มะรอมฮฺปะปนอยู่
ส่วนสีดำนั้น เป็นสีที่สุภาพเรียบร้อยไม่มีลวดลายสีสันสะดุดตา (สีดำสีทึบป้องกันการดูดรังสีUV เป็นอย่างดีจากรายงานทางการแพทย์)
ไม่ผ่ากระโปรงเพื่อความสะดวกในการเดิน ให้ใช้กระโปรงที่ไม่แคบแทน(เช่นกระโปรงที่มีจีบ) เพราะกระโปรงที่ผ่านั้นจะเปิดเผยเอารัต คือโชว์ช่วงขาได้



ผู้กล่าวปฏิญาณต้องพยายามฝึกฝนเพื่อใช้ชีวิตและปฏิบัติกิจวัตรต่างๆ โดยอาศัยแบบอย่างของท่านศาสนทูต เพราะท่านเป็นตัวอย่างในการดำเนินชีวิตที่มนุษย์พึงปฏิบัติตาม
พระผู้เป็นเจ้าได้ตรัสความว่า "แท้จริง เจ้า(มุหัมมัด)ดำเนินอยู่บนจริยธรรมอันยิ่งใหญ่" (อัลกุรอาน 68:4)

พระองค์อัลลอฮฺ ซุบบะฮานุฮูวะตะอาลา ยังได้ตรัสอีกโดยมีความว่า "แน่นอน ในศาสนทูตของพระผู้เป็นเจ้านั้นมีย่อมแบบฉบับอันดีงามสำหรับพวกเจ้าแล้ว สำหรับผู้ที่หวัง(จะพบ)พระผู้เป็นเจ้าและวันปรโลกและรำลึกถึงพระองค์อย่างมากมาย" (อัลกุรอาน 33:21)



มีปัญหาใดๆ สามารถสอบถามได้ค่ะ
ขอพระองค์ประทานสิ่งดีงาม กับพี่น้องทุึกท่าน

วัสลามมุอะลัยกุม

ที่มา : www.annisaa.com



Create Date : 21 มิถุนายน 2551
Last Update : 21 มิถุนายน 2551 16:43:39 น.
Counter : 50205 Pageviews.

225 comment
แนะนำที่เรียนศาสนาอิสลามและภาษาอาหรับสำหรับผู้สนใจ
แนะนำที่เรียนศาสนาอิสลามสำหรับผู้สนใจ
ในเขตกรุงเทพมหานคร

1. มูลนิธิสันติชน
439 ถนนลาดพร้าว 112 แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310
โทร. 0 2539 4693-5 ต่อ 19 โทรสาร 0 2539 4696

2. สภายุวมุสลิมโลก สำนักงานประเทศไทย
7/70 หมู่ 4 ถ.อ่อนนุช ซ. 59 แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250
โทร 0 2321 7061 โทรสาร 0 2321 7062

3. อิสลามศึกษา พญาไท
118 / 2 ซอยเพชรบุรี 5 ถนนเพชรบุรี แขวงทุ่งพญาไท
เขตราชเทวี กรุงเทพ ฯ 10400 โทร 08-40177381





เรียนภาษาอาหรับเพื่อการสื่อสาร และธุรกิจ
- //www.dranas.net ดร.อณัส อมาตยกุล โทร. 081 3746651

- โรงเรียนบางกอกศึกษา ซอยลาดพร้าว112
วังทองหลาง กรุงเทพ 10310
Tel.081 906 4154 02 514 2324
เปิดสอนภาษาอาหรับวันเสาร์ 10.00-12.00 น
ไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานมาก่อน คุณสุกัญญา

- อิสลามศึกษา พญาไท
118 / 2 ซอยเพชรบุรี 5 ถนนเพชรบุรี แขวงทุ่งพญาไท
เขตราชเทวี กรุงเทพ ฯ 10400 โทร 08-40177381 อาจาร์มุสตอฟา มานะ


เว็บเรียนภาษาอาหรับออนไลน์

Learn arabic online

Learn Arabic Language

แสดงการออกเสียงภาษาอาหรับ



..........................................................................




ข่าวประชาสัมพันธ์

เปิดรับสมัครผู้สนใจเรียนภาษาอาหรับ

หลักสูตร - ภาษาอาหรับ (ภาษาอารบิก) เบื้องต้นเพื่อการสนทนา รุ่นที่ 11
(14 บทเรียน/หลักสูตร) **** ไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐาน

เวลาเรียน - มิถุนายน 2552 (จะแจ้งวันเปิดเรียนภายหลัง)
- ทุกเสาร์ เวลา 9.00 - 12.00 น.

สถานที่ - มูลนิธิสันติชนซอยรามคําแหง53 หรือเข้าทาง ลาดพร้าว 112 (มาจากลาดพร้าวเข้าทางนี้สะดวกกว่า)

ผู้สนใจสมัครเรียนลงชื่อได้ที่e-mail: anasamatayakul@yahoo.com


โดยแจ้งรายละเอียด (เพื่อติดต่อกลับ) ดังนี้
1. ชื่อ– นามสกุล
2. หมายเลขโทรศัพท์
3. e-mail




และ


ขณะนี้เปิดแต่หลักสูตรที่ศูนย์ภาษามหาวิทยาลัยเกษตร
ทุกวันอังคารและพฤหัส ๑๗.๓๐-๑๙.๓๐

และที่ร.ร. ทินกรฯ ทุกวันเสาร์เช้าเท่านั้น
เพราะทุกวันอาทิตย์ ดร.อนัส ต้องไปราชการที่ภาคใต้กลับวันจันทร์




ที่มา : //www.dranas.net/



Create Date : 12 มีนาคม 2551
Last Update : 24 พฤษภาคม 2552 8:50:27 น.
Counter : 8684 Pageviews.

25 comment
คำศัพท์ภาษาอาหรับที่พบกันบ่อยๆ
คำศัพท์ภาษาอาหรับที่พบกันบ่อยๆ ในหนังสือศาสนาหรือที่อื่นๆ กัน เพื่อเป็นประโยชน์แก่มุสลิมใหม่ หรือผู้ที่สนใจ(อิสลาม)





1. قاضي - กอฎี คือบุคคลที่ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้เกี่ยวกับหลักการศาสนาอิสลามเป็นอย่างดีดำรงตำแหน่งเป็นผู้พิพากษาตัดสินคดีความประเทศมุสลิมที่มีการนำเอากฎหมายอิสลามมาใช้ หรือคดีความที่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายอิสลาม เช่นเรื่องครอบครัว มรดก เป็นต้น

2. قذف - ก็อซฺฟ์ คือ การปรักปรำหรือการใส่ร้ายส่วนใหญ่เกี่ยวกับการให้ร้ายหญิงบริสุทธิ์ว่ามีชู้หรือผิดประเวณี

3. كفارة - กัฟฟาเราะฮฺ คือ การไถ่โทษการชดใช้หรือชดเชยสำหรับความผิดหรือความบกพร่องบางประการ เช่น การละเมิดประเวณีขณะถือศีลอด เป็นต้น

4. قيامة - กิยามะฮฺ คือการฟื้นคืนชีพ หรือการเป็นขึ้นจากความตายโดยอำนาจของพระผู้เป็นเจ้าเพื่อรอรับการพิพากษาความดีความชั่วที่กระทำไประหว่างมีชีวิตอยู่ในโลกนี้การฟื้นคืนชีพจะบังเกิดขึ้นในปรโลก

5. كفر - กุฟรฺ คือ การปฏิเสธหรือไม่เชื่อในพระบัญญัติของพระองค์ไม่ยอมรับศาสนาและวิถีการดำเนินชีวิตที่พระองค์ทรงประทานให้ สรุปก็คือการปฏิเสธอิสลาม “กาฟิร”หมายถึง ผู้ปฏิเสธ

6. شريعة - ชะรีอะฮฺ คือ ครรลองที่พระผู้เป็นเจ้าประทานให้แก่มนุษยชาติสำหรับดำเนินชีวิตในโลกนี้ มักจะมีผู้แปลว่ากฎหมายอิสลาม

7. شيطان - ชัยฏอน คือ มารร้ายหรือศัตรูของมนุษย์ที่คอยชักนำหลอกลวงและโน้มนำมนุษย์ให้ฝ่าฝืนและปฏิเสธพระบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้า ภาษาอังกฤษเรียกว่า “ซาตาน”

8. شرك - ชิรกฺ คือ หรือชิริกหมายถึงการยอมรับว่าบางสิ่งบางอย่างมีอำนาจร่วมกับพระผู้เป็นเจ้าหรือมีอำนาจเสมอเหมือนพระองค์จนทำให้มนุษย์เราต้องสักการะบูชาหรือให้ความสำคัญต่อสิ่งนั้นอย่างสูงส่ง เช่นการกราบไหว้รูปปั้น การยึดพระเยซูเป็นพระเจ้า การดูหมอ การเชื่อถือโชคลางและไสยศาสตร์ รวมทั้งการยึดเอาอารมณ์ต่ำเป็นใหญ่ฯลฯส่วนใหญ่มีผู้แปลเป็นภาษาไทยว่าการตั้งภาคีต่อพระเจ้า

9. زكاة - ซะกาต คือ ทานบังคับ หมายถึงหลักปฏิบัติประการหนึ่งที่ศาสนาอิสลามกำหนดให้ผู้มีรายได้จำนวนหนึ่งบริจาคเงินทองทรัพย์สินมีค่าปศุสัตว์และพืชผักให้แก่คนยากจนคนขัดสน หรือเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจเพื่อนำไปจัดสรรเป็นสวัสดีการแก่ผู้ยากไร้ในสังคมหรือเพื่อการสาธารณประโยชน์

10. زنا - ซินา คือ การละเมิดประเวณี การมีชู้หรือการร่วมประเวณีทุกรูปแบบที่ไม่ชอบด้วยหลักกฎหมายอิสลามไม่ว่าจะด้วยการยินยอมพร้อมใจของทั้งสองฝ่ายก็ตาม ถือเป็นความผิดบาปที่สาหัสมากในทัศนะของอิสลาม

11. سورة - ซูเราะฮฺ คือ ส่วนหนึ่งในคัมภีร์อัล-กุรอานมักจะมีผู้แปลเป็นภาษาไทยว่า “บท”ทั้งหมดมีอยู่ 114 บท

12. جماعة - ญะมาอะฮฺ คือ หมายถึง กลุ่ม คณะสมาคมหรือกรกระทำที่ประกอบด้วยคนหลายคนบางที่ก็มีผู้ใช้ในความหมายของพรรคการเมืองเช่น ญะมาอะฮฺ – สลามมีย์ในประเทศปากีสถานถ้าใช้กับการปฏิบัติศาสนกิจเช่น การละหมาดหมายถึงการละหมาดร่วมกันของคนหลายคนมีผู้หนึ่งทำหน้าที่เป็น “อิมาม” (ผู้นำ) และคนที่เหลือเป็นมะอฺมูม (ผู้ทำตาม)

13. جنة - ญันนะฮฺ คือ สวนสวรรค์ หมายถึงสถานที่พำนักอันถาวรที่พระผู้เป็นเจ้าทรงตอบแทนให้กับผู้ศรัทธา และผู้ปฏิบัติตามแนวทางของพระองค์ผู้ศรัทธาจะได้สวนสวรรค์เป็นรางวัลในปรโลก

14. جاهلية - ญาฮิลียะฮฺ คือ สภาพแห่งความป่าเถื่อนโหดร้ายความงมงายอนารยธรรมและการไร้ทางนำจากพระผู้เป็นเจ้า มักจะมีผู้แปลว่าความเขลา หรือความงมงายถ้าเกี่ยวข้องกับเวลา เช่น ยุค/สมัยญาฮียะฮฺ หมายถึงยุคป่าเถื่อนก่อนการเผยแผ่ของอิสลามโดยท่านนบีมุหัมมัด นักปราชญ์อิสลามสมัยใหม่รวมสมัยปัจจุบัน (ศตวรรษที่ 20) เป็นสมัยญาฮิลียะฮฺด้วยเพราะสภาพโดยทั่วไปไม่ต่างไปจากสิ่งที่อุบัติขึ้นก่อนอิสลาม

15. جهاد - ญิฮาด คือ การดิ้นรนต่อสู้ในหนทางของพระผู้เป็นเจ้าหรือการทำสงครามเพื่อปกปักรักษาอิสลาม และแผ่นดินของอิสลามเอาไว้นักปราชญ์สมัยใหม่ขยายการญิฮาดออกไปจนเกินความถึงความพยายามทุกอย่างเพื่อเชิดชูอิสลามเช่น การญิฮาดด้วยปากกา การญิฮาดด้วยสื่อสารมวลชน เป็นต้น ท่านนบีมุหัมมัด บอกว่าการทำสงครามกับจิตใจของตนเองนั้นหนักหนาสาหัสกว่าการทำสงครามด้วยอาวุธเสียอีก

16. جن - ญิน คือ อรูปประเภทหนึ่งที่พระผู้เป็นเจ้าทรงสร้างขึ้นมาจากไฟญินเป็นสิ่งที่มนุษย์มองไม่เห็นญินมีทั้งที่ศรัทธาต่อพระเจ้า และที่ปฏิเสธพระองค์ ญินอาศัยอยู่บนหน้าโลกตั้งแต่ครั้งก่อนที่พระเจ้าจะสร้างมนุษย์คนแรก (อาดัม)

17. جلباب - ญิลบาบ คือ เสื้อคลุมสำหรับสตรีสวมใส่ขณะออกนอกบ้านสื้อคลุมชนิดนี้จะปกปิดทุกสัดส่วนของร่างกายรวมทั้งใบหน้าเป็นชุดยาวถึงพื้น ไม่รัดรูป

18. جمعة - ญุมอะฮฺ คือ หรือมักจะเรียกกันว่า “ยุมอัต”คือ วันที่หก หรือวันศุกร์เป็นวันสำคัญวันหนึ่งในสัปดาห์เพราะอิสลามกำหนดให้มีการชุมนุมทำละหมาดในเวลาเที่ยงของวันศุกร์บางประเทศถือเป็นวันหยุดราชการ

19. طلاق - เฏาะลากฺ คือ การหย่าร้างหรือการแยกทางกันของสามีและภรรยาเป็นการตัดความสัมพันธ์ทางการสมรสหรือการยกเลิกสัญญาการแต่งงานนั่นเอง (ดูในหนังสือ)

20. دينار - ดีนารฺ คือ เงินเหรียญของของอาหรับ (ในสมัยโบราณ) เท่ากับทองหนักขนาดเมล็ดข้าวบาร์เล่ย์จำนวน 96 เมล็ด (หนึ่งเมล็ดหนัก 0.0648 กรัม)

21. درهم - ดิรฮัม คือ เหรียญเงินของอาหรับ (ในสมัยโบราณ) ขนาดเล็กน้ำหนักและมูลค่าของเหรียญเงินประเภทนี้เปลี่ยนแปลงไปตามกาลสมัยและประเทศ

22. تقوى - ตักวา คือ ความยำเกรง หรือความเกรงกลัวต่อพระผู้เป็นเจ้า ตักวาเป็นคุณธรรมประการหนึ่งของผู้นับถือศาสนาอิสลาม

23. توبة - เตาบะฮฺ คือ การสำนึกผิดการกลับเนื้อกลับตัว และขอลุแก่โทษต่อพระผู้เป็นเจ้า ทั้งนี้ผู้สำนึกผิดจะต้องไม่หวนกลับไปทำผิดอีก

24. توراة - เตารอต คือ คัมภีร์ที่พระเจ้าประทานให้แก่ท่านนบีมูซาหรือโมเสส ปัจจุบันได้แก่หนังสือ 5 เล่มแรกของพันธสัญญาเดิมในคัมภีร์ไบเบิลแต่มุสลิมเชื่อว่าเตารอตถูกเปลี่ยนแปลงไปจนหมดสิ้นโดยฝีมือของนักปราชญ์ยิวในสมัยโบราณ หนังสือ 5 เล่ม ดังกล่าวจึงไม่ใช่เตารอตของพระผู้เป็นเจ้าที่แท้จริง

25. نبي - นบี คือบุคคลที่พระผู้เป็นเจ้าทรงแต่งตั้งขึ้นเป็น“ศาสนทูต”ของพระองค์เพื่อปฏิบัติตามพระบัญญัติของพระองค์หรือเผยแผ่ในหมู่ผู้คนจำนวนน้อย อัล-กุรอานบอกว่าพระเจ้าส่งศาสนทูตมายังทุกประชาชาติ

26. نفس - นัฟสฺ คือ มีผู้ให้ความหมายหลายอย่างเช่น อินทรีย์ ชีวิต ดวงจิต ราคะและเนื้อหนังมังสา นัฟสฺ (หรือทั่วไปเรียกกันว่านัฟซู) มีปรากฏในอัล-กุรอานและหะดีษมากมาย

27. نكاح - นิกาฮฺ คือ พิธีแต่งงานตามศาสนาอิสลาม (ดูรายละเอียดในหนังสือ)

28. آخرة - อาคิเราะฮฺ คือ ปรโลก หรือโลกแห่งการสอบสวน และการตอบแทนความดีความชั่วของมนุษย์ คือมุสลิมเชื่อว่าเมื่อมนุษย์ตายไปแล้วจะฟื้นคืนชีพขึ้นอีกครั้งหนึ่งในวันแห่งการพิพากษา การฟื้นคืนชีพนี้เป็นไปโดยอำนาจของพระเจ้าไม่ใช่การเวียนว่ายตายเกิด ปรโลกจะมาถึงเมื่อไรไม่มีใครทราบนอกจากพระเจ้าแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น

29. فقه - ฟิกฮฺ คือ หรือเรียกว่า “ฟิกเกาะฮฺ” หมายถืองเนื้อหาวิชา หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับศาศนศาสตร์ของมุสลิมเนื้อหาวิชานี้ส่วนใหญ่พูดถึงกฎหมาย หรือระเยียบกฎเกณฑ์ในส่วนที่เกี่ยวกับหลักปฏิบัติทั่วๆ ไป ของปัจเจกบุคคลและสังคม

30. ملائكة - มลาอิกะฮฺ คือสิ่งถูกสร้างประเภทหนึ่งที่บังเกิดขึ้นจากรัศมีมีหน้าที่ปฏิบัติตามคำบัญชาของพระผู้เป็นเจ้าอย่างเคร่งครัด มลาอิกะฮฺปราศจากความรู้สึกนึกคิดฝ่ายเนื้อหนัง ปราศจากความโลภโกรธและหลง มลาอิกะฮฺไม่ฝ่าฝืนคำสั่งของพระเจ้ามลาอิกะฮฺถูกสร้างขึ้นมาในรูปลักษณ์ต่างๆ กัน และมีอำนาจแตกต่างกัน เช่นญิบรีล (ฝรั่ง เรียกว่า เกเบรียล) ทำหน้าที่นำโองการของพระเจ้ามายังศาสนทูตของพระองค์

31. مهر - มะฮัรฺ คือ ของหมั้น ของขวัญ หรือสินสอดที่ฝ่ายชายมอบให้แก่ฝ่ายหญิงเนื่องเพราะการแต่งงาน มะหัรจะเป็นอะไรและจำนวนเท่าไรขึ้นอยู่กับการตกลงของทั้งสองฝ่าย (ดูรายละเอียด การแต่งงานได้ ที่นี่ )

32. مسجد - มัสยิด คือสถานที่ที่มุสลิมปฏิบัติศาสนกิจร่วมกัน เช่นการละหมาด ตามตัวอักษรแปลว่าสถานที่ก้มกราบต่อพระเจ้า ในอิสลามมัสยิดมิใช่ที่สวดมนต์ดั่งที่คนในศาสนาอื่นเข้าใจ มัสยิดเป็นศูนย์กลางของชุมชนมุสลิมเป็นสถานที่ประชุเพื่อกิจกรรมทางศาสนา การศึกษา และสังคม มัสยิดในอิสลามจึงเป็นศูนย์กลางแห่งการพัฒนาทุกรูปแบบ

33. مجاهد - มุญาฮิด คือ นักรบหรือผู้ที่ต่อสู้ในหนทางของพระเจ้า มุญาฮิดเป็นเอกพจน์ พหูพจน์ คือ “มุญาฮิดีน” เช่นมุญาฮิดีนในอัฟกานิสถานที่ต่อสู่กับรัฐบาลหุ่นกาบูลเพื่อปลดปล่อยแผ่นดินของจนเองให้พ้นจากแอกของคอมมิวนิสต์ที่ปฏิเสธพระเจ้า

34. مسلم - มุสลิม คือ ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ตามรากศัพท์หมายถึงผู้ที่ยอมจำนนต่อพระประสงค์ของพระเจ้าโดยสิ้นเชิง

35. مؤذن - มุอัซฺซิน คือ ผู้ที่ทำหน้าที่เชิญชวนศรัทธาชนให้มาละหมาดที่มัสยิดเมื่อถึงกำหนดเวลา (อะซฺาน) เพราะฉะนั้นมุอัซซินแปลง่ายๆ ว่า “ผู้ทำหน้าที่อะซาน”ในมัสยิดเล็ก ๆจะไม่มีการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบเฉพาะปกติผู้นำ (อิมาม) จะปฏิบัติหน้าที่นี้ตามมัสยิดขนาดใหญ่ในบ้านเรามีการแต่งตั้งบุคคลขึ้นมาทำหน้าที่นี้แต่เรามักจะเรียกเพี้ยนว่า “บิหลั่น” ซึ่งหมายถึงท่านบิลาลสาวกคนหนึ่งของท่านศาสนทูตเป็นคนผิวดำ และเป็นมุอัซซินคนแรกในประวัติศาสตร์อิสลาม

36. مؤمن - มุอฺมิน คือ ผู้ศรัทธาผู้ยึดมั่นในองค์พระผู้เป็นเจ้าตลอดจนเชื่อมั่นในพระบัญญัติและคำสั่งทั้งปวงของพระองค์ ผู้ศรัทธาจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของพระเจ้าโดยเคร่งครัดนั่นคือ ศรัทธาแล้วจะแสดงออกในทางปฏิบัติด้วยจึงจะนับว่าเป็นมุอฺมินที่แท้จริง

37. مهاجرين - มุฮาญิรีน คือ ผู้อพยพหรือผู้ลี้ภัยตามประวัติศาสตร์อิสลาม ท่านศาสนทูตสั่งให้มุสลิมจากเมืองมักะฮฺอพยพไปยังเมืองยัธริบ (ต่อมาเรียกว่ามะดีนะฮฺ) คนกลุ่มนี้ในประวัติศาสตร์เรียกว่า“ชาวมุฮาญิรีน”ตามหลักการอิสลามมุสลิมมีหน้าที่ต้องให้ความสงเคราะห์ผู้อพยพหรือผู้ลี้ภัยตามสมควร

38. محمد - มุฮัมมัด คือนามของท่านศาสนทูตคนสุดท้ายของพระเจ้า ท่านได้ชื่อว่าเป็น “คอติมุนนะบียีน” (ดู อัล-กุรอาน บทที่ 33 โองการที่ 40) ซึ่งหมายถึงตราประทับแห่งศสนทูตทั้งหลาย ท่านเป็นทั้งศาสนทูตของพระเจ้า และยังเป็นผู้นำ (ทางด้านจิตวิญญาณ) ของมุสลิมทั้งหลายการกระทำของท่านและโอวาทของท่านเป็นแบบอย่างที่มุสลิมเจริญรอยตาม

39. موسى - มูซา คือ ศาสนทูตท่านหนึ่งในอิสลามฝรั่งเรียกว่า “โมเสส”ท่านถูกส่งมาเป็นผู้นำชาวอิสราเอลออกจากการเป็นทาสของอียิปต์ในสมัยโบราณ

40. رمضان - รอมฎอน อ่านว่า เราะ-มะ-ดอน หมายถึงเดือนที่ 9 ตามปฏิทินอิสลามซึ่งถือว่าเป็นเดือนอันประเสริฐเพราะพระเจ้าทรงบัญญัติให้มุสลิมทุกคนถือศีลอดในช่วงเวลากลางวัน ของเดิมนี้ตามรากศัพท์ รอมฎอนมาจากคำว่ารอมดฺ ซึ่งแปลว่า “ลุกไหม้”เพราะฉะนั้นเดือนนี้จึงเป็นเดือนแห่งความร้อนแรงและเป็นเดือนที่มุสลิมจะเผาไหม้ความผิดต่างๆ ให้หมดไปด้วยการถือสีลอด

41. رسول - รสูล คือ บุคคลที่พระเจ้าเลือกสรรให้มาทำหน้าที่“สื่อ”โองการของพระองค์ให้แก่มนุษยชาติมักจะมีผู้แปลว่า รสูล คือ "ผู้สื่อ" หรือ "ศาสนฑูต"ตามปกติมักจะเรียกว่า รสูลุลลอฮฺ หรือ ศาสนฑูตแห่งอัลลอฮ์ ในอัล-กุรอานมีนามของรสูลบันทึกไว้จำนวน 25ท่าน เช่น มูฮัมมัด พระเยวู (อีซา) โมเสส (มูซา) สุลัยมาน (โซโลมอน) อับราฮัม (อิบรอฮีม) เป็นต้น

42. صلاة - เศาะลาฮฺ คือ ละหมาด เป็นการเคารพภักดีต่อพระเจ้าอย่างหนึ่งถือเป็นหน้าที่ที่มุสลิมทุกคนจะต้องทำวันหนึ่งมีกำหนด 5 เวลาละหมาดเป็นเสมือนการเข้าเฝ้าพระเจ้าละหมาดจะช่วยยับยั้งความชั่ว ถ้าบุคคลปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอมีสมาธินอบน้อมต่อพระเจ้าอย่างแท้จริง ที่จริงละหมาดคือวิธีการขัดเกลาและฝึกฝนจิตใจรูปแบบหนึ่งละหมาดไม่ใช่การสวดมนต์ดังที่ศาสนิกอื่นเข้าใจ

43. صلى الله عليه وسلم – คือ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะ สัลลัม แปลว่าขอความโปรดปรานของอัลลอฮ์ และสันติสุขจงมีแด่ท่าน (ศาสนทูตมุฮัมมัด ) เป็นพรภาวนาที่มุสลิมกล่าวต่อท้ายเมื่อกล่าวถึงนามของศาสนทูตมุฮัมมัด

44. صيام – ศิยาม เรียกว่า "ถือศีลอด" คือ การแสดงความเคารพต่อพระเจ้าในรูปแบบหนึ่งซึ่งอิสลามบังคับให้เป็นหน้าที่ของมุสลิมทุกคน ภาษาอาหรับเรียกว่า "เศามฺ" คือ การอดอาหารเครื่องดื่มการประพฤติที่ไม่ดีไม่งาม การพูดในทางเสียหาย ตลอดจนการ่วมประเวณีและสิ่งไร้สาระทั้งปวงมีกำหนดตั้งแต่แสงอรุณขึ้นจนดวงอาทิตย์ตก ศีลอดที่บังคับให้ปฏิบัติปีหนึ่งมีกำหนดหนึ่งเดือน คือในเดือนรอมฎอน ศีลอดจะช่วยสอนให้บุคคลรู้จักความหิวโหยและรู้จักความอดทนความข่มใจที่จะไม่กระทำผิดบาป

45. سبحانه وتعالى - ศุบหานะฮู วะตะอาลา คือ ความบริสุทธิ์ และความสูงสุดยิ่งแด่พระองค์ เป็นสร้อยสรรเสริญที่มุสลิมกล่าวหลังจากเอ่ยพระนามของพระผู้เป็นเจ้าเพื่อเป็นการเตือนตัวเองมิให้เผลอทำการ“ชิรกฺ”หรือตั้งภาคีแก่พระองค์

46. سبحان الله - ศุบฮานัลลอฮฺ คือ คำสรรเสริญพระเจ้า แปลว่าความบริสุทธิ์มีแก่พระองค์อัลลอฮ์

47. صدقة - เศาะดะเกาะฮฺ คือ มาจากรากศัพท์ว่า “ศอดกฺ”แปลว่า สัตย์จริง หรือชอบธรรมในทางศาสนา หมายถึง การทำทานการบริจากที่ให้บุคคลทำด้วยความสมัครใจ

48. صحابة - เศาะหาบะฮฺ คือ สหายหรือสาวกของท่านนบีมุฮัมมัด นักปราชญ์มุสลิมอธิบายว่าบุคคลเหล่านี้ได้แก่ ผู้ที่เข้ารับอิสลามเคยเห็นท่านศาสนทูตและเคยติดตามท่านแม้จะเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ก็ตามมีผู้บันทึกว่าขณะที่ท่านศาสนทูตเสียชีวิตมีเศาะหาบะฮฺทั้งสิ้น 144,000 ท่าน จำนวนนี้รวมทั้งบุคคลที่เคยเป็นผู้ติดตามท่านและบุคคลที่เคยเห็นท่านจริง ๆ

49. سنة - สุนนะฮฺ ตามรากศัพท์แปลว่า วิถีทางครรลอง หรือวิถีชีวิตในทางศาสนาแล้วหมายถึงแบบอย่างพฤติกรรมของท่านศาสนทูตมุฮัมมัด ซึ่งมุสสลิมถือว่ามีความสำคัญรองลงมาจากอัล-กุรอานเป็นตัวอย่างการดำเนินชีวิต (ตามคำภีรอัล-กุรอาน) ในภาคปฏิบัติที่มุสลิมพยายามเจริญรอยตามสุนนะฮฺของท่านศาสนทูตมุฮัมมัด ประกอบด้วยโอวาท และการกระทำของท่านตลอดจนสิ่งที่เหล่าสาวกของท่านพูดหรือกระทำแล้วท่านให้การยอมรับ

50. حديث - หะดีษ คือ คำพูดหรือโอวาทของท่านศาสนทูตมุฮัมมัด เหล่าสาวกของท่านที่ได้ยิน หรือได้ประสบก็จะถ่ายทอดกันต่อๆ ไปจากคนหนึ่งเล่าต่อไปยังอีกคนหนึ่งจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่งเป็นสายรายงานที่สืบเนื่องไปจนกระทั่งมีนักปราชญ์ทางศาสนาทำการบันทึกรวบรวมและกลั่นกรองเอาแต่หะดีษที่ถูกต้องมาใช้เป็นบรรทัดฐานในทางกฎหมาย เช่น การบันทึกของอิมามบุคอรีย์ อิมามมุสลิม หรืออิมามอะหมัดเป็นต้น

51. حجاب - หิญาบ คือ ตามรากศัพท์ แปลว่า ผ้าม่าน ในทางศาสนาหมายถึง ระบบการแบ่งแยกชาย และหญิงออกจากกัน หิญาบ เป็นสถาบันทางสังคมอย่างหนึ่งในอิสลามหิญาบยังหมายถึงเสื้อคลุมสำหรับสตรีสวมใส่เมื่อออกจากบ้าน (ดูรายละเอียดเพิ่มเติม ที่นี่ )

52. حياء - หะยาอ์ คือ ความละอาย เป็นมโนธรรมประการหนึ่งในอิสลามเป็นแนวความคิดเรื่องความละอาย การถ่อมตัว ความสงบเสงี่ยม และการรักนวลสงวนตัว

53. حرام - หะรอม คือ ตามตัวอักษร แปลว่าห้ามหรือไม่อนุมัตินั่นก็คือเป็นที่ต้องห้ามหรือผิดหลักกฎหมายในศาสนาอิสลาม เช่น การดื่มสุราเป็นหะรอม การผิดประเวณีเป็นหะรอม เป็นต้น

54. حلال - หะลาล คือ ตามตัวอักษร แปลว่าสิ่งที่หลวมหรือหลุดลุ่ยนั่นก็คือเป็นที่อนุมัติหรือถูกต้องชอบธรรมตามหลักกฎหมายในศาสนาอิสลาม หะลาลเป็นสิ่งตรงข้ามกับหะรอม

55. أمانة - อะมานะฮฺ คือ ตามตัวอักษรแปลว่า ของฝาก หมายถึงภาระที่ได้รับมอบหมาย หรือหน้าที่ความรับผิดชอบที่จะต้องรักษาไว้โดยเคร่งครัดมุสลิมมีอะมานะฮฺทั้งต่อมนุษย์และพระเจ้า

56. أمير - อะมีรฺ คือ ตำแห่งประมุขหรือผู้นำที่มีอำนาจ เช่น ผู้ปกครอง ผู้บังคับบัญชา อะมีรฺรวมความถึงเจ้าพนักงานในระดับสูงของรัฐมุสลิมด้วย

57. أنصار - อันศอรฺ คือ ผู้ช่วยเหลือตามประวัติศาสตร์อิสลามชาวเมืองยัธริบ (มะดีนะฮฺ) เมื่อเข้ารับอิสลามแล้วจึงเรียกว่าเป็น “ชาวอันศอร.”ซึ่งหมายถึงการที่คนกลุ่มนี้ให้ความช่วยเหลือและสสงเคราะห์มุสลิมที่อพยพมาจากเมืองมะกกะฮฺ (มุฮาญิรีน)

58. القرآن - อัล-กุรฺอาน คือ คำภีร์อันสูงสุดของมุสลิม มุสลิมถือว่าอัลกุรอานเป็นธรรมนูญแห่งการดำเนินชีวิต เป็นพระดำรัสของพระเจ้าที่ประทานมายังท่านศาสนทูตมุฮัมมัด เพื่อเป็นทางนำแก่มนุษยชาติปัจจุบันอัล-กุรอานยังคงเดิมไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงแม้เวลาจะผ่านมา 1,400 กว่าปีแล้วก็ตามมุสลิมอ่านอัล-กุรอานเพื่อดูว่าพระเจ้าสั่งให้เขาทำอะไรบ้าง อัล-กุรอานคือน้ำพุแห่งชีวิตเป็นยารักษาโรค (ในจิตใจ) และเป็นทางออกของปัญหาต่าง ๆ

59. الله - อัลลอฮฺ คือพระนามของพระผู้อภิบาลแห่งสากลจักรวาลหรือ “พระเจ้า”ในภาษาอาหรับพระองค์เป็นผู้สร้างสรรพสิ่งทั้งปวงเนื่องด้วยมนุษย์ถูกสร้างโดยอำนาจของพระองค์มนุษย์จึงมีความผูกพันกับการแสดงความจงรักภักดีต่อพระองค์ ปฏิบัติตามคำสั่งของพระองค์ ตลอดจนดำเนินชีวิตอยู่บนแนวทางที่พระองค์ทรงรับรอง(อิสลาม) ทั้งนี้เพื่อแสวงหาความโปรดปรานจากพระองค์

60. الله أكبر - อัลลอฮุอักบัร คือ คำสดุดีพระผู้เป็นเจ้ามีความหมายว่า อัลลอฮฺ พระผู้ทรงเกรียงไกร

61. الحمدلله - อัลหัมดุลลิลาฮฺ คือ คำสรรเสริญขอบคุณพระเจ้าแปลว่าบรรดาการสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ

62. آخرة - อาคิเราะฮฺ คือ วันสุดท้าย วันแห่งการพินาศแตกสลายของสิ่งต่างในวันนั้นพระเจ้าจะทำลายทุกสรรพสิ่ง สิ่งมีชีวิตที่เป็นอยู่จะตายไป อาคิเราะฮฺมักจะมีผู้แปลว่าปรโลก

63. آدم - อาดัม คือนามของมนุษย์คนแรกในอิสลาม อาดัมเป็นศาสนทูตท่านแรกของพระเจ้าด้วยเช่นเดียวกัน แต่อิสลามไม่ได้เชื่อว่ามนุษย์มีบาปติดตัวมาเพราะการที่มนุษย์คนแรกไปหลงรับประทานผลไม้ต้องห้าม (ฝรั่งบอกว่าเป็นลูกแอปเปิ้ล) อาดัมเมื่อสำนึกผิดก็ได้รับการอภัยโทษจากพระเจ้า

64. آمين - อามีน คือคำลงท้ายในบทขอพรที่มุสลิมวิงวอนขอต่อพระเจ้า อามีนแปลว่าขอพระองค์ทรงโปรดเทอญ

65. آية - อายะฮฺ ตามตัวอักษรแล้วแปลว่าสัญญาณ คำนี้ถูกนำมาใช้กับวรรคตอนในซูเราะฮฺ (บท) ของอัล-กุรอาน ซึ่งมักจะแปลเป็นภาษาไทยว่า "โองการ" เช่น ถ้าเขี่ยนว่า 2:10 ให้หมายถึงบทที่ 2 โองการที่ 10 มีผู้ประมาณว่า อัล-กุรอานมีอยู่ทั้งหมด 6,200 อายะฮฺด้วยกัน

66. عبادة - อิบาดะฮฺ มาจากรากศัพท์ว่า "อับดุน" (บ่าวทาส) หมายถึงการยอมทำตามเพื่อความพึงพอใจของผู้เป็นนายมีผู้แปลเป็นภาษาไทยว่า "การแสดงความเคารพภักดีต่อพระเจ้า" อิบาดะฮฺในทางศาสนามีความหมายกว้างขวางมาก สรุปได้ว่าการทำสิ่งต่างๆ เพื่อให้พระเจ้าโปรดปรานและอยู่ในครรลองของพระองค์ จัดได้ว่าเป็นอิบาดะฮฺทั้งสิ้น เช่น การละหมาด การบริจาคช่วยเหลือ การต่อสู้ของนักรบชาวอัฟกานิสถาน การสอนหลักธรรมแก่ผู้อื่น สรุปได้ว่าอิบาดะฮฺมีทั้งที่เป็นรูปแบบและไม่เป็นรูปแบบแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะต้องทำความบริสุทธิ์ใจเป็นที่ตั้ง

67. إمام - อิมาม ได้แก่ผู้นำหรือแบบอย่าง ตัวอย่างสำหรับการปฏิบัติตามอิมาม ณ ที่นี้มิได้หมายถึงอิมามนำละหมาดรวมอย่างเดียว แต่หมายถึงผู้นำของชุมชนมุสลิมเป็นศูนย์รวมทางจิตใจเป็นที่ปรึกษา เป็นผู้คอยชี้แนะ และเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่สามารถแก้ไขปัญหาและเรื่องราวต่างๆ ให้กับสมาชิกในชุมชน

68. عدة - อิดดะฮฺ มาจากรากศัพท์ว่า "อัล-อะดาด" ซึ่งหมายถึง จำนวนในทางกฎหมายได้แก่ ช่วงแห่งการรอคอยของผู้หญิงเพื่อประวิงการแต่งงานใหม่หรือเพื่อเกื้อหนุนการปรองดอง อิดดะฮฺของหญิงม่ายเพราะสามีเสียชีวิตมีกำหนด 4 เดือน 10 วัน อิดดะฮของหญิงมีครรภ์กำหนดจนกระทั่งเธอคลอดบุตรออกมา อิดดะฮฺของสตรีที่ยังมีระดูมีกำหนด 3 เดือน และสตรีที่พ้นวัยการมีระดูกำหนด 3 เดือนเช่นกัน

69.إن شاء الله - อินชาอัลลอฮฺ คือคำพูดที่มุสลิมแสดงออกถึงความเชื่อมั่นในพระเจ้า และมอบความไว้วางใจต่อพระองค์โดยถือว่า “หากพระองค์ทรงประสงค์” แล้วสิ่งที่หวังไว้คงจะบังเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

70. إسلام - อิสลาม คือสันติ หรือการยอมจำนนต่อพระประสงค์ของพระเจ้าโดยสิ้นเชิงอิสลาม คือนามของระบอบการดำเนินชีวิตแบบหนึ่งที่พระเจ้าทรงรับรองในอิสลามมีมากกว่าศาสนาธรรมดาๆ อิสลามเข้าไปเกี่ยวข้องกับชีวิตในทุกแง่มุม อาทิ การเมือง สังคม เศรษฐกิจการศึกษา และวัฒนธรรม

71. إيمان - อีมาน คือ ความเชื่อ ความศรัทธา อย่างไรก็ตามในอิสลามความศรัทธาจะต้องควบคู่กับการปฏิบัติ ยิ่งปฏิบัติคุณความดีมากขึ้นศรัทธาก็ยิ่งจะเพิ่มมากขึ้น

72. أمة - อุมมะฮฺ คือประชาชาติของพี่น้องมุสลิมที่ร่วมอุดมการณ์เดียวกัน เรียกกันหลายอย่าง เช่น อุมมะฮฺอิสลาม อุมมะฮฺมุสลิม เป็นต้น คำนี้ปรากฏในอัล-กุรอาน ประมาณ 40 ครั้งด้วยกัน

73. علماء - อุละมาอ์ มาจากคำว่า “อาลิม” ซึ่งหมายถึงบุคคลที่ทรงไว้ซึ่งความรู้ผู้คงแก่เรียน นักปราชญ์ อาลิมเป็นรูปเอกพจน์ อุละมาอ์ เป็นพหูพจน์

74. عورة - เอาเราะฮฺ คือร่างกายบางส่วนที่ศาสนากำหนดให้ปกปิดเช่น ชายเอาเราะฮฺอยู่ตั้งแต่สะดือจนถึงหัวเข่า สำหรับหญิงตลอดร่างกายยกเว้นใบหน้าและฝ่ามือเท่านั้น

75. هجرة - ฮ.ศ. ย่อมาจากคำว่า "ฮิจเราะฮฺศักราช" คำว่า ฮิจเราะฮฺ แปลว่า การอพยพหรือการลี้ภัย มุสลิมเริ่มนับศักราชในปีที่ท่านศาสนทูตมุฮัมมัด อพยพจากเมืองมักกะฮฺไปยังเมืองมะดีนะฮฺ ปัจจุบันตรงกับ ฮ.ศ.1429

76. حج - หัจญ์ คือ การเดินทางไปเยี่ยมเยือนบัยตุลลอฮฺ (วิหารของอัลลอฮ์ ) เป็นการชุมนุมสันนิบาตสำหรับประชาติมุสลิม ณ มักกะฮฺ ประเทศซาอุดิอารเบียเป็นหลักปฏิบัติประการหนึ่งที่บังคับแก่ผู้ที่มีความสามารถส่วนมากมักจะมีผู้แปลว่าการแสวงบุญ



เครดิต : //www.Thaiislamic.com
ตรวจทานและแก้ไขโดย : ★.,ดาวสีฟ้า~★

ที่มา:จากบอร์ดเว็บอันนิสาอฺ



Create Date : 30 มกราคม 2551
Last Update : 7 กุมภาพันธ์ 2551 21:29:39 น.
Counter : 5244 Pageviews.

28 comment
1  2  3  4  5  6  

นะ(รก)
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 26 คน [?]



เพราะเราไม่รู้ว่า ลมหายใจจะหมดลงเมื่อใด
The Doomsday Book
Date Conversion
Gregorian to Hijri Hijri to Gregorian
Day: Month: Year
Website Counter
New Comments