Group Blog
 
All blogs
 

ศิลปะรัตนโกสินทร์ตอนต้น

ศิลปะรัตนโกสินทร์ตอนต้น

ศิลปะรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ ๑-๓)ศิลปะรัตนโกสินทร์ เริ่มตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนากรุงเทพมหานครขึ้นใน พุทธศักราช ๒๓๒๕
สถาปัตยกรรม กล่าวกันว่าการสร้างกรุงเทพฯ เป็นการนำแบบอย่างของปราสาทราชวัง และ วัดวาอารามที่ถูกทำลายเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาแตกมารื้อฟื้นขึ้นอีกครั้ง โดยระดมช่างฝีมือต่างๆ ที่แตกกระสานซ่านเซ็นไปเมื่อครั้งกรุงแตกให้กลับมารวมกันเพื่อจะได้แสดงฝีมือสร้างสรรค์บ้านเมืองขึ้นใหม่ เริ่มจากการก่อสร้างพระบรมมหาราชวังใน พุทธศักราช ๒๓๒๕ มีการสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นวัดในพระราชวังและมีวังหน้าเรียกว่า พระราชวังบวรสถานมงคล วังหลวง คือ พระบรมมหาราชวัง และวังหลัง คือ พระราชวังบวรสถานพิมุขอาคารบ้านเรือนยังคงสร้างบ้านไม้แบบเรือนไทยกันทั่วไปในสมัยรัชกาลที่ ๓ เปลี่ยนแปลงไปบ้างคือ เจ้านาย และขุนนางนิยมก่อสร้างอาคารบ้านเรือนด้วยอิฐโบกปูนและมุงหลังคาด้วยกระเบื้องแบบจีน




สถาปัตยกรรมทางด้านศาสนาไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ยังนิยมสร้างปรางค์ และเจดีย์ไม้สิบสอง เช่น ปรางค์วัดระฆังโฆษิตาราม ปรางค์วัดอรุณราชวราราม ในกรุงเทพมหานคร ในปลายรัชกาลที่ ๓ เริ่มมีความนิยมสร้างเจดีย์ทรงกลมแบบลังกา เช่น เจดีย์วัดราชสิทธาราม กรุงเทพมหานคร เป็นต้น
โบสถ์และวิหารก็ยังคงเลียนแบบมาจากอยุธยา คือเป็นแบบทรงโรงฐานแอ่น โค้งตกท้องช้าง เช่น พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๓ มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของโบสถ์และวิหารครั้งสำคัญกลายเป็นแบบที่มีอิทธิพลศิลปะจากจีนอย่างมาก เรียกว่า แบบพระราชนิยม กล่าวคือ เลิกระบบช่อฟ้าใบระกา หางหงส์ เสาทำเป็นเสาสี่เหลี่ยมไม่มีหัวเสา หน้าบันประดับลายปูนปั้นหรือเครื่องถ้วยจีน ศิลปะแบบพระราชนิยมนี้เป็นที่นิยมกันแพร่หลาย ดังนั้นวัดที่สร้างใหม่และวัดที่ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ในรัชกาลนี้ จึงมักสร้างตามแบบศิลปะพระราชนิยมแทบทั้งสิ้น เช่น วัดราชโอรสาราม วัดเฉลิมพระเกียรติ วัดนางนอง วัดกัลยาณมิตร และวัดมหรรณพาราม ในกรุงเทพมหานครยังมีสถาปัตยกรรมในรัชกาลที่ ๓ ที่แปลกออกไปจากรัชกาลอื่นๆ อีก เช่น พระเจดีย์ที่วัดยานนาวา มีฐานเป็นรูปสำเภาเท่าเรือสำเภาจริงๆ มีพระราชประสงค์จะให้คนรุ่นหลังรู้จักสำเภาจีน ว่ามีรูปร่างอย่างไร นอกจากนี้ก็มีการสร้างโลหะปราสาท แทนเจดีย์ในวัดราชนัดดา เป็นโลหะปราสาทตามแบบลังกา แต่โลหะปราสาทที่ลังกาขณะนั้นทรุดโทรมมากแทบจะเหลือแต่เสา โลหะปราสาทที่สร้างขึ้นใหม่จึงคิดแบบต่อเติมตามความพอใจของไทยมียอดถึง ๓๗ ยอด ซึ่งหลายถึง โพธิปักขิยธรรม ๓๗




ประติมากรรม สมัยรัตนโกสินทร์มิได้ให้ความสำคัญในการสร้างพระพุทธรูปเหมือนสมัยสุโขทัยหรืออยุธยา แต่มุ่งไปที่การสร้างวัดและบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามมากกว่า พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นโดยฝีมือช่างในรัชกาลที่ ๑ เช่น พระประธานที่พระอุโบสถวัดมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร มีรูปแบบโน้มเอียงไปทางศิลปะอยุธยาและอู่ทอง รัชกาลที่ ๒-๓ เช่น พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ พระประธานในพระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวราราม เป็นพระพุทธรูปหล่อใหญ่ที่สุดในสมัยรัตนโกสินทร์ พระพุทธไสยาสน์(พระนอน) ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม มีความยาว ๑ เส้น ๓ วา สูง ๗ วาครึ่ง เป็นพระนอนที่มีความงดงามก่อด้วยอิฐและปูน แล้วปิดทองทับ ที่พระบาทมีลวดลายประดับมุกเป็นภาพมงคล ๑๐๘ ประการประติมากรรมตกแต่งที่แปลกในสมัยนี้ คือ ความนิยมนำภาพสลักตุ๊กตาหินยืนกลางแจ้งมาประดับไว้ตามประตู ตามลาน ทำเป็นรูปคน ตัวงิ้ว รูปสิงโต โดยใช้ช่างฝีมือชาวจีน




จิตรกรรม จิตกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ถือเป็นยุคแบบแผนของจิตรกรรมแบบประเพณีไทยเพราะมีรูปแบบที่พัฒนาสืบต่อมาจากสมัยอยุธยาจนเกิดลักษณะเฉพาะของจิตรกรรมแบบประเพณีไทย มีทั้งจิตรกรรมฝาผัง ภาพพระบฏ ตลอดจนภาพเขียนแบบสมุดไทยภาพจิตรกรรมฝาผนัง มักจะเขียนเรื่องราวในพระพุทธศาสนา นิยมเรื่องทศชาติชาดกและพุทธประวัติรวมทั้งภาพชีวิตเจ้านายในพระราชสำนัก และสามัญชน ภาพบ้านเมือง ภาพชนบท ตลอดจนประเพณีการละเล่นต่างๆ รูปแบบเฉพาะของจิตรกรรมที่จัดว่าเป็นแบบอย่างของสมัยนี้คือ ภามเทวดาและกษัตริย์ราชสำนักจะเขียนอย่างงดงามมีการปิดให้ดูเด่น จะแสดงความรู้สึกด้วยกิริยาอาการ แต่ใบหน้าสงบนิ่งไม่แสดงความรู้สึกใดๆ ท่าทางจะเป็นอย่างละคร หรือเป็นท่าประดิษฐ์มากกว่าจะเป็นท่าทางธรรมชาติส่วนภาพคนธรรมดาสามัญจะเขียนตามสภาพความเป็นจริง
สำหรับภาพพระบฏ คือ ภาพที่เขียนเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาลงบนผ้า ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่สมัยอยุธยานิยมวาดเป็นภาพพระพุทธองค์ประทับยืนอยู่ตรงกลาง มีพระสาวกประกอบอยู่สองข้าง และมีวาดภาพพุทธประวัติและทศชาติด้วยส่วนภาพเขียนแบบสมุดไทย หรือหนังสือตัวเขียนสมัยโบราณมีสองชนิด ชนิดหนึ่งเขียนลงบนใบงานเป็นแผ่นๆ อีกชนิดหนึ่งเขียนกระดาษข่อย หนังสือใบลานใช้เฉพาะเรื่องในพระพุทธศาสนาแต่สมุดข่อยใช้กับเรื่องราวต่างๆ ได้ทั่วไป เช่น ตำราพิชัยสงคราม






////images.google.co.th/imgres?imgurl=//www.oknation.net/blog/home/blog_data/405/5405/images/rakang08.jpg&imgrefurl=//www.oknation.net/blog/print.php%3Fid%3D162560&h=560&w=420&sz=90&hl=th&start=1&um=1&usg=__Zam4qU7iepg9KOwY_u723yI9ABk=&tbnid=HwW3rG72XUuaFM:&tbnh=133&tbnw=100&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%2596%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%259B%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%2599%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25A3%25E0%25B9%258C%26um%3D1%26hl%3Dth




 

Create Date : 05 กันยายน 2551    
Last Update : 3 ตุลาคม 2551 0:49:07 น.
Counter : 11006 Pageviews.  

ศืลปกรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์

มนุษย์กับศิลปกรรมก่อนประวัติศาสตร์

ปรากฏการร์เชิงวัตถุ หรือปรากฏการณ์ต่างๆ ซึ่งมิใช่ปรากฏการณ์สัญชาตญาณอันเกิดจากมนุษย์ ล้วมมีลักษราการที่ผสานไว้ด้วยระบบการคิดที่หลากหลายมหัศจรรย์ จากการทำงานผสานกันระหว่างสมองซีกขวากับสมองซีกซ้าย สมองซีกขวาทำหน้าที่การคิดเชิงสร้างสรรค์ ในขณะที่สองซีกซ้ายทำหน้าที่ดานการใช้เหตุผล และแสวงหาวิถีทางที่จะทำให้ความคิดเชิงสร้างสรรค์ของสมองซิกขวาเป็นจริงขึ้นมาได้
การสร้ายสรรค์และสร้างสมศิลปกรรม ซึ่งตกทอดหลงเหลือหรากฏให้ศึกษานั้น แท้จริงแล้วมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตย์ดังกล่าว พวกเขามิได้มีเจตนาที่จะสร้างผลงานไว้อวดโฉมแก่มนุษย์ชาติรุ่นหลังแต่อย่างไร หากแต่พวกเขาได้สร้างสรรค์ปรากฏการณ์ต่างๆ ขึ้นมา เพื่อรองรับหรือรับใช่เงื่อนไขในการดำรงและดำเนินชีวิต ทั้งด้านการใช้สอย อาวุธ เครื่องมือ หรือสร้างขึ้นมาเพื่อผลทางความเชื่อ และเพื่อผลทางความงาม

ศิลปกรรมยุคหินเก่า

สำหรับในซีกโลกด้านตะวันตก มนุษย์ที่มีชีวิตอยู่ในช่วงยุคหินเก่า ที่ปรากฏหลักฐานอย่างโดดเด่น คือ มนุษย์โครมายอง(Cro - Magnon) ซึ่งเรียกชื่อตามชื่อถ่ำโครมายอง ซึ่งอยู่ด้านทิศตะวันตกฝรั่งเศสถ้ำแห่งนี้ถูกค้นพบโครงกระดูกและศิลปะวัตถุของมนุษย์ยุคหินเก่าเป็นจำนวนมาก และเชื่อว่ามนุษย์กลุ่มนี้จัดเป็นหนึ่งในมนุษย์สมัยใหม่ หรือมนุษย์โฮโมซาเปียนส์ (Homo Sapiens) ซึ่งปรากฏอยู่ในช่วงเวลาประมาณ 30,000 - 10,000 ปีก่อนคริสตกาล

ศิลปะก่อนประวัติศาสตร์

ยุคหินเก่า ๒๐,๐๐๐ - ๑๐,๐๐๐ ปี
ศิลปะก่อนประวัติศาสตร์ เริ่มตั้งแต่ ยุคน้ำแข็ง (Pleistocene Epoch) ละลาย ประมาณ ๕๐,๐๐๐ ถึงประมาณ ๑๐,๐๐๐ B.C นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า ยุคน้ำแข็งละลายมีครั้งใหญ่ๆ ๔ ครั้ง แต่ละครั้งจะมีอากาศอบอุ่น มีพืช สัตว์ มนุษย์เกิดขึ้น มีการเคลื่อนย้ายของมนุษย์จากที่สูงมาที่ราบ หรือจากถ้ำมาสู่ลุ่มน้ำ ตอนหลังจึงเกิดอารยธรรมลุ่มแม่น้ำ
มนุษย์พวกแรกคือ มนุษย์โครมันยอง (Cro-Magnon) รู้จักสร้างสรรค์ความสะดวกสบาย รู้จักเขียนภาพประสบการณ์ที่ตนรู้ ถ้ำที่มีภาพเขียนมากคือ ถ้ำลาสโค (Lascaux) และถ้ำอัลตามิรา (Altamira) อยู่ระหว่างประเทศฝรั่งเศสและ ประเทศสเปน
ความเชื่อทางศิลปะของมนุษย์ศิลปินพวกแรกนี้ นักโบราณคดีสันนิษฐานตามแบบอย่างศิลปกรรมที่มีเหลืออยู่ มี ๓ประการคือ
๑. ความเชื่อเกี่ยวกับความตาย
๒. ความเชื่อเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์
๓. ความเชื่อเกี่ยวกับความสำนึกบาป

ยุคหินเก่า

จิตรกรรม
จากสภาพแวดล้อมทางกายภาพและการดำรงชีวิตของมนุษย์ในช่วงระยะแรกเริ่มนี้ ซึ่งมนุษย์มีสภาพวิถีชีวิตคล้ายคลึงกับสัตว์ป่า พวกเขาได้ใช้ชีวิตอยู่ในถ้ำมีความหนาแน่น คือถ้ำในบริเวณประเทศเปน ฝรั่งเศส และอิตลี ถ้ำที่มีชื่อเสียงคือถ้ำ Altamira ถ้ำ Niaux ถ้ำ la Madeleine ถ้ำ Lascaux ถ้ำ Font-de-Gaume ซึ่งอยู่บริเวณประเทศสเปนกับฝรั่งเศส
ร่องรอยของมนุษย์ได้ปรากฏผ่างลงงานจิตรกรรมที่วาดไว้บนผนังถ้ำ ตามผนังด้านข้างและเพดานถ้ำ โดยลักษณะรูปแบบของผลงานจิตรกรรม แต่ละถ้ำก็แตกต่างกันไป

ลักษณะจิตรกรรม (Painting)


จากข้อสันนิษฐานดังกล่าว เกิดลักษณะศิลปกรรม ยุคหินเก่าซึ่งสะท้อนสภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์ ได้แก่จิตรกรรมบนผนังถ้ำ (Cave Painting) พบตามบริเวณแถบตอนใต้ของฝรั่งเศส และตอนเหนือของสเปน วิธีการและวัสดุที่นำมาประกอบเป็นศิลปกรรมมีลักษณะดังนี้
๑. ผู้สร้างหรือศิลปิน สันนิษฐานว่าส่วนมากเป็นหัวหน้าหมู่บ้าน หรือ พ่อมดหมอผี ซึ่งมีความสามารถถ่ายทอดประสบการณ์ต่างๆได้อย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับความเชื่อ
๒. สีที่ใช้อาจจะเป็นผง เป็นเลือดสัตว์ หรือยางไม้ เครื่องมือที่ใช้เขียนภาพผนังถ้ำ บางทีอาจใช้ไม้ทุบเป็นฝอยแทนพู่กัน หรือไม่ก็ใช้ขนนก
๓. สีที่ใช้ มีสีดินเหลือง สีดินแดง สีดินหม่น สีดำ สันนิษฐานว่าเป็นวัสดุในท้องถิ่น
๔. รูปเขียนบางรูปใช้ลักษณะพื้นผิวของถ้ำช่วย เช่น บริเวณที่นูนออกมาก็ทำเป็นส่วนท้องหรือบริเวณที่ยื่นโปนออกมาทำเป็นส่วนหัว
๕. เรื่องราวของภาพส่วนมากเกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ การดำรงชีวิต การล่าสัตว์ ตามความเชื่อเรื่องอภินิหารต่างๆ ภาพสัตว์ต่างๆที่ปรากฏบนผนังถ้ำ อาจเขียนขึ้นเป็นการบันทึก การลอกเลียนแบบรูปร่าง ลักษณะของสัตว์ที่ล่าได้มาในวันหนึ่งๆ หรืออาจจะเขียนภาพสัตว์ก่อนที่จะล่าได้
๖. ภาพสัตว์ที่เขียนจะเป็นรูปด้านข้างส่วนมาก (Profile) ภาพสัตว์ที่เขียนมีทั้งรูปเดี่ยว และเป็นฝูง ส่วนใหญ่แสดงการเคลื่อนไหว มีรูปคนปนอยู่ด้วย
๗. แสดงระยะใกล้ ไกล ด้วยการเขียนให้บังกัน ทับกัน ขนาดที่ต่างกัน
๘. ลักษณะของสี เป็นสีแบน พยายามนำเอาความสูงต่ำของผนังมาช่วย ให้เกิดความกลมกลืนทางสีและรูปทรง
๙. เขียนสัตว์ทุกชนิดปะปนกันหมด ไม่แยกประเภทสัตว์บก หรือ สัตว์น้ำ

ลักษณะประติมากรรม (Sculpture)


ประติมากรรมที่เด่น คือ ประติมากรรมแบบลอยตัว เช่นรูปวีนัส วิเลนดอร์ฟ พบในถ้ำที่ประเทศออสเตรีย เป็นประติมากรรมที่มีรูปทรงกระเปาะ หรือทรงรูปไข่ แสดงให้ทราบว่าเป็นสตรี รูปร่างสะดุดตา คือ ศรีษะเล็ก บริเวณท้องใหญ่ ก้นใหญ่ ซึ่งแสดงความเชื่อเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ เป็นประติมากรรมที่แสดงลักษณะเรียลลิสติคกับแอ๊บสแตรก ปนกันอย่างงดงาม









ยุคหินกลาง

ยุคหินกลางของยุโรปมีช่วงระหว่าง 8,000-3,000 ปีก่อน ค.ศ. ลักษณะรูปแบบศิลปกรรมในช่วงนี้จะไม่มีอะไรโดดเด่นมากนัก และเป็นช่วงรอยต่อที่สำคัญของยุคหินเก่า ซึ่งมนุษย์มีความเป็นอยู่และวิถีชีวิตใกล้เคียงกับสัตว์ใช้ชีวิตกลมกลืนกับธรรมชาติ สู่ยุคหินใหม่ที่มนุษย์สามารถปฏิรูปและจัดการธรรมชาติได้สำหรับนักวิชาการด้านอารยธรรมบางสำนักจึงมักข้ามการกล่าวช่วงยุคหินกลาง โดยรวมยุคหินกลางเข้าไว้กับยุคหินใหม่ หรือจัดให้เป็นจุดเริ่มต้นของยุคหินใหม่
ในส่วนของศิลปกรรมสมัยหินกลางที่มีการค้นพบคือ จิตรกรรมตามหน้าผาบริเวณชายฝั่งทะเลเมดิเตอรืเรเนียนของสเปน ประเทศโปรตุเกสมีการวาดทั้งภาพคนและภาพสัตว์ มีขนาดความสูงประมาณ 3 ฟุตขนาดเล็ก 6-8 นิ้ว มีท่าทางเคลื่อนไหวและเรื่องราวในชีวิตประจำวัน แสดงออกเป็นรูปแบบคล้ายๆ กันทั้งหมดนักวิชาการสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นการสร้างสรรค์ที่เกี่ยวข้องกับลัทธิวิญญาณนิยมเช่นเดียวกับผลงานจิตรกรรมอย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาเชิงเปรียบเทียบลักษณะรูปแบบผลงานศิลปกรรมยุคหินเก่ากับยุคหินกลาง ทั้งผลงานจิตรกรรม และประติมากรรมโดยรวมแล้ว จะพบว่ามีคุรค่าด้อยกว่ายุคหินเก่าทั้งฝีมือและการแสดงออก อีกทั้งผลงานที่ปรากฏหลงเหลือก็มีจำนวนจำกัดอีกด้วย

ยุคหินกลาง (Mesolihic Period หรือ Middle Stone Age) ประมาณ 10,000-5,000 ปีล่วงมาแล้วมนุษย์ในช่วงเวลานี้เริ่มมีการนำวัสดุธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ เช่น ทำตระกร้าสาน ทำรถลาก และเครื่อมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยหินก็มีความประณีตมากขึ้น ตลอดจนรู้จักนำสุนัขมาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง

ในสมัยยุคหินกลาง มนุษย์รู้จักการเลี้ยงสัตว์และเริ่มมีการเพาะปลูกพืช แต่อาชีพหลักของมนุษย์ในสมัยนี้ยังคงเป็นการล่าสัตว์ และยังเร่ร่อนไปตามแหล่งสมบูรณ์ โดยมักตั้งหลักแหล่งอยู่ตามแหล่งน้ำ ชายฝั่งทะเล ประกอบอาชีพประมง ล่าสัตว์และบริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์



ยุคหินใหม่

เมื่อยุคน้ำแข็งสุดท้ายสิ้นสุดลง สภาพแวดล้อมค่อยๆเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคปัจจุบัน วิถีชีวิตบนลักษณะทางเศรษฐกิจแบบใหม่ที่มนุษย์ได้พัฒนาขึ้นเป็นจุดเริ่มต้นของยุคหินใหม่ ซึ่งในแต่ละบริเวณเริ่มต้นไม่พร้อมกัน แต่สามารถกล่าวโดยเฉลี่ยได้ว่าเริ่มต้นเมื่อประมาณ ๔,๕๐๐ - ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว จนถึงประมาณ ๒,๕๐๐ - ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว จึงสิ้นสุดยุคหินใหม่ ซึ่งก็ไม่พร้อมกันเช่นเดียวกับจุดเริ่มต้น

ยุคหินใหม่เป็นการเปลี่ยนแปลงชีวิตความเป็นอยู่ทั้งหมดจากการล่าสัตว์ ที่อยู่อาศัยซึ่งอยู่บนที่สูง อพยพตามฝูงสัตว์ มนุษย์ได้อพยพลงจากที่สูงมาสู่ที่ราบ ปลูกสร้างบ้านเรือนถาวรอยู่กันเป็นหมู่บ้าน เริ่มลักษณะเศรษฐกิจใหม่ คือการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์(Cultivation and domestication) เริ่มรู้จักการทำเครื่องจักรสาน ทำภาชนะดินเผาขึ้นใช้ รู้จักการทอผ้า ลักษณะของเครื่องมือเครื่องใช้ก็เริ่มเปลี่ยนไปจากเครื่องมือหินกะเทาะไปสู่เครื่องมือหินขัด สันนิษฐานว่าคนในยุคหินใหม่ มีการแบ่งงานกันทำ และมีการติดต่อกันระหว่างชุมชนซึ่งอาจเป็นการแลกเปลี่ยน หรือการติดต่อทางวัฒนธรรม เป็นต้น
พืชและสัตว์ในยุคหินใหม่ ยุคหินใหม่จัดว่าเป็นสมัยของการเริ่มสังคมกสิกรรม จึงจำเป็นที่คนยุคหินใหม่จะต้องเกี่ยวข้องกับพืชพรรณต่างๆ หลายชนิด พืชที่สำคัญที่สุดก็ได้แก่ ข้าวจ้าว(Oriza sativa) ซึ่งยอมรับกันว่าปลูกขึ้นในประเทศไทยเป็นแห่งแรกในโลก (ที่โนนนกทา อายุประมาณ ๔,๕๐๐ ปีมาแล้ว ) นอกจากนี้ยังอาจปลูกพืชอื่นๆ เช่น ถั่ว ฟักทอง พริก บวบหรือแฟง ฯลฯ ซึ่งพืชส่วนใหญ่ ในยุคหินใหม่จะคล้ายหรือเป็นแบบเดียวกันกับพืชที่พบเห็นในปัจจุบัน

ส่วนสัตว์ก็เช่นเดียวกับคนยุคหินใหม่ ได้เริ่มทำการเลี้ยงสัตว์กันอย่างจริงจัง แต่อย่างไรก็ตามก็ยังคงล่าสัตว์อยู่ สัตว์ในสมัยนี้ก็คล้ายคลึงกันกับในปัจจุบัน เช่น หมู วัว เก้งหรือฟาง กระต่ายป่า ตะกวด กวาง เต่า แรด กระรอก หมา เป็นต้น นอกจากสัตว์ดังกล่าวนี้แล้ว พวกที่อาศัยอยู่ใกล้ฝั่งทะเล ได้นำทรัพยากรทางทะเลมาใช้ประโยชน์ด้วย(Marine adaptation) เช่น การจับปลา จับปู หาหอย ตลอดจนการจับตะพาบน้ำ มาเป็นอาหาร เป็นต้น ซึ่งจะพบซากสัตว์ทะเลเหล่านี้หนาแน่นมากในแหล่งชายฝั่งทะเล

ยุคนี้เป็นยุคที่มีแหล่งโบราณคดีมากมายในทุกภูมิภาคของประเทศไทย เครื่องมือเครื่องใช้ที่พบคือเครื่องมือหินขัด ที่สำคัญคือขวานหินขัดซึ่งชาวบ้านบางแห่งเรียกว่าขวานฟ้าเชื่อกันเป็นขวานศักดิ์สิทธิ์ที่ตกลงมาจากฟ้าใช้รักษาโรคได้ บางแห่งเรียกว่าเสียมตุ่นเชื่อกันว่าเป็นเสียมที่ตุ่นใช้ขุดดิน ลักษณะของเครื่องมือหินขัดมีหลายรูปแบบตามหน้าที่ เช่น ขวาน ขวานถากหรือผึ่ง ขวานมีบ่า จักร สิ่ว ฯลฯ เครื่องมือทำจากกระดูกสัตว์ ได้แก่ ฉมวก สิ่ว เบ็ด ส่วนเครื่องจักสาน มักพบเป็นรอยพิมพ์ของเครื่องจักสานอยู่บนภาชนะ หรือในดิน เครื่องประดับ พบที่ทำด้วยหิน เช่น กำไลหิน ลูกปัดหิน ที่เป็นกระดูก ได้แก่ กำไล ลูกปัด ปิ่น จี้ นอกจากนี้ยังพบที่ทำจากเปลือกหอย เช่น ลูกปัด จี้ เป็นต้น


ขวานหินยุคหินใหม่


เครื่องประดับสมัยยุคหินใหม่


เครื่องปั้นดินเผา นอกจากภาชนะดินเผา เช่น หม้อ ไห จาน ชาม และเครื่องใช้อื่น เช่น ตุ้มถ่วงแห แวดินเผา(ใช้ในการปั่นด้าย) หินดุ(ใช้ในการขึ้นรูปภาชนะดินเผา) ภาชนะดินเผานี้นอกจากันออกไปตามสถานที่ ตัวอย่างเช่นที่พบในจังหวัดกาญจนบุรี รวมทั้งภาคตะวันตกและภาคใต้ของประเทศไทย ยังพบว่าบางแหล่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับที่พบในยุคหินใหม่ ของจีน ภาชนะดินเผายุคหินใหม่ เป็นภาชนะเนื้อค่อนข้างหยาบในช่วงแรกจะขึ้นรูปด้วยมือ โดยอาจใช้หินดุช่วย ต่อมาจึงใช้แป้นหมุน ลวดลายที่ตกแต่งส่วนใหญ่จะเป็นลายเชือกทาบ รองลงมาจะเป็นเศษภาชนะผิวเรียบ นอกจากนี้ก็ตกแต่งด้วยลายขูด ลายขีด ลายจุดประ เป็นรูปทรงเรขาคณิต และเป็นรูปต่างๆ พบว่ามีการเคลือบน้ำโคลนเหลว และน้ำโคลนขันสมานรูซึมรั่วก่อนเผา การเผามักจะเป็นเตาแบบง่ายๆ คือ เตาเปิด(Open kilns) โดยใช้เชื้อเพลิงมาสุม จึงมักพบว่าภาชนะดินเผาในระยะเเรกๆ นี้มักสุกไม่ทั่ว นอกจากเศษภาชนะดินเผา และภาชนะดินแล้ว ยังพบเครื่องปั้นดินเผาอื่นๆ เช่น หินดุ(เครื่องมือขึ้นรูปภาชนะรูปร่างคล้ายเห็ด) กระสุนดินเผา(ใช้ยิงกับคันกระสุน) เบี้ยดินเผา(อาจใช้ในการละเล่น) แวดินเผา(ใช้ปั่นด้าย) ตุ้มถ่วงแห ตลอดจนเครื่องประดับต่างๆ ที่ทำขึ้นจากดินเผา



ภาชนะดินเผา


เนื่องจากยุคนี้เป็นยุคแห่งการเกษตรกรรม พืชที่สำคัญที่มนุษย์ยุคนี้ปลูกก็คือ ข้าว นอกจากนี้ยังอาจปลูกพืชอื่นๆ เช่น ถั่ว ฟัก บวบ ฯลฯ ส่วนสัตว์เลี้ยงได้แก่ หมา หมู วัว ควาย ฯลฯ การล่าสัตว์ยังคงพบหลักฐานการล่า เก้ง กวาง กระต่าย แรด กระจง กระรอก เต่า ตะพาบ หอย ปู และปลาชนิดต่างๆ เป็นต้น

หลักฐานสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่พบมากในแหล่งโบราณคดียุคหินใหม่คือหลุมฝังศพ ซึ่งมักจะฝังศพในลักษณะนอนหงายเหยียดยาว ส่วนที่ฝังงอตัวหรือฝังในภาชนะดินเผามีพบไม่มากนัก ภายในหลุมฝังศพมีเครื่องเซ่น เช่น อาหาร ภาชนะดินเผา ขวานหินขัด ฯลฯ เครื่องประดับตกแต่งร่างศพ เช่น กำไล ลูกปัด จี้ ทำด้วยวัสดุต่างๆ ซึ่งการฝังศพนี้แสดงให้เห็นความเชื่อเกี่ยวกับชีวิตและการตายของมนุษย์จนก่อเกิดประเพณีการฝังศพ นอกจากนี้แล้วบางครั้งพบว่ามีพิธีกรรมที่ทำกับศพ เช่น มัดศพ กรอฟันศพ เป็นต้น และทิศทางการฝังศพก็จะสะท้อนให้เห็นลักษณะความเชื่อ เช่น ฝังหันศีรษะไปทางทิศตะวันออกอาจหมายถึงการเกิดใหม่เช่นเดียวกับดวงอาทิตย์ เป็นต้น จากการศึกษาโครงกระดูกมนุษย์พบว่าผู้ชายจะสูงระหว่าง ๑๖๐-๑๗๕ เซนติเมตร ส่วนผู้หญิงจะสูงระหว่าง ๑๔๕-๑๖๖ เซนติเมตร โรคภัยไข้เจ็บที่พบ ได้แก่ โรคโลหิตจาง โรคฟันผุ

สภาพชีวิตมนุษย์ในยุคหินใหม่ได้เปลี่ยนแปลงชีวิตความเป็นอยู่จากที่สูงมาอยู่บนที่ราบใกล้แหล่งน้ำ อยู่รวมเป็นกลุ่มเป็นหมู่บ้านบนเนิน ดำรงชีวิตลักษณะเศรษฐกิจใหม่ คือ การเกษตรกรรม เป็นการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ รู้จักการทำเครื่องปั้นดินเผา การทำเครื่องจักสาน การทอผ้า เป็นต้น และพบว่ามีผลผลิตมากเกินกว่าที่จะบริโภค ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนและการค้าขาย ส่วนการล่าสัตว์และการจับสัตว์น้ำยังคงมีอยู่

เนื่องจากมีการตั้งถิ่นฐานถาวร มีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นรวดเร็ว สังคมยุคหินใหม่จะซับซ้อนมากขึ้น มีความแตกต่างทางฐานะในสังคม มีการแบ่งงานกันทำ การทำงานเฉพาะด้าน และมีการติดต่อกันระหว่างชุมชน ซึ่งอาจเป็นการแลกเปลี่ยนหรือการติดต่อทางวัฒนธรรมแล้ว จนถึงประมาณ ๒,๕๐๐ - ๒,๐๐๐ ปีมาแล้วมนุษย์เริ่มรู้จักการนำโลหะมาทำเครื่องมือเครื่องใช้จึงสิ้นสุดยุคหินใหม่ซึ่งก็ไม่พร้อมกันในแต่ละพื้นที่เช่นเดียวกัน

ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นแหล่งโบราณคดียุคหินใหม่พบอยู่ทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย ในสภาพภูมิประเทศแตกต่างกันเนื่องจากปัจจัยในการตั้งถิ่นฐาน เช่น พื้นที่ทำการเกษตรกรรม แหล่งวัตถุดิบในการทำเครื่องมือเครื่องใช้ แหล่งน้ำ เป็นต้น ดังนั้นแหล่งโบราณคดียุคหินใหม่จึงมักพบ อยู่ตาม ที่ราบลุ่มแม่น้ำ ที่ดอน ที่ราบสูง ถ้ำ เพิงผา และชายฝั่งทะเลซึ่งอยู่ใกล้แหล่งน้ำจืด ตัวอย่างเช่น บ้านเก่าในเขตลุ่มแม่น้ำแควน้อย อำเภอเมืองฯ จังหวัดกาญจนบุรี ถ้ำพระ ตำบลไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี โคกเจริญในเขตลุ่มแม่น้ำป่าสัก อำเภอไชยบาดาล จังหวัดลพบุรี ถ้ำสิงขร อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี โคกพนมดีในเขตชายฝั่งทะเลเดิม อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี บึงไผ่ดำในเขตชายฝั่งทะเลเดิม อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา โนนนกทา อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ฯลฯ


หม้อสามขา สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคหินใหม่ อายุราว ๓,๐๐๐-๔,๐๐๐ ปี พบที่บ้านเก่า ต.จระเข้เผือก อ.เมือง จ.กาญจนบุรี



คนในสมันยุคหิน








 

Create Date : 13 สิงหาคม 2551    
Last Update : 25 กันยายน 2551 0:22:38 น.
Counter : 7541 Pageviews.  

จิตรกรรมสีน้ำมัน

จิตรกรรมสีน้ำมัน หรือ ภาพเขียนสีน้ำมัน (ภาษาอังกฤษ: Oil painting) คือการเขียนภาพโดยใช้สีฝุ่นที่ผสมกับน้ำมันแห้ง (drying oil) — โดยเฉพาะในตอนต้นของยุโรปสมัยใหม่, น้ำมันลินซีด (linseed oil) ตามปกติแล้วก็จะต้มน้ำมันเช่นลินซีดกับยางสนหรือ ยางสนหอม (frankincense) ส่วนผสมนี้เรียกว่า “น้ำมันเคลือบ” (varnish) ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ภาพเขียนมีความหนาและเป็นเงา น้ำมันอื่นที่ใช้ก็มี น้ำมันเม็ดฝิ่น, น้ำมันวอลนัท, และน้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันแต่ละอย่างก็มีคุณภาพต่างๆ กัน เช่นอาจจะทำให้สืเหลืองน้อยลง หรือใช้เวลาแห้งไม่เท่ากัน บางครั้งก็จะเห็นความแตกต่างจากเงาของภาพเขียนแล้วแต่ชนิดของน้ำมัน จิตรกรจะใช้น้ำมันหลายชนิดในภาพเขียนเดียวกันเพื่อให้ได้ลักษณะของภาพเขียนออกมาตามที่ต้องการ การแสดงออกของสีก็จะต่างกันตามแต่วัสดุที่ใช้เขียน





ปี ค.ศ.1410 ศิลปินหนุ่มชื่อ แจน แวนอีค พบวิธีการเขียนภาพโดยใช้น้ำมันวาร์นิชบรูกสีขาวผสมน้ำมันลินซีดกับสีฝุ่น ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเขียนภาพแบบสีน้ำมันที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ต้นคริสต์ศตวรรษที่14 เขียนภาพด้วยฝุ่นผสมไข่แดง ลงบนแผ่นไม้ การเขียนภาพด้วยสีฝุ่นใช้ได้สารพัดประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นจุลจิตรกรรม ภาพประกอบในคัมภีร์และทาสีตกแต่งผนัง



การระบายสีน้ำมันเป็นกรรมวิธีสร้างสรรค์ศิลปะที่เรานำเข้ามาจากสังคมตะวันตก พร้อมกับกรรมวิธีที่ไหลบ่าเข้ามานั้น ความรู้สึกนึกคิด วัสดุ อุปกรณ์ รูปแบบ เนื้อหา และกลวิธีต่างก็ไหลบ่าเข้ามาพร้อมกัน แม้เส้นเขตนามธรรมในความเป็นชาติจะยังคงมีอยู่ ด้วยเหตุผลทั้งปวงเราคงจะปฎิเสธการไหลบ่านั้นได้ยากยิ่ง ปัญหาที่ตามมาก็คือ เราจะรับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง " เพียงบางส่วน" หรือรับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในลักษณะ " ตัดยอดชำ" โดยอ่อนด้อยการศึกษาเนื้อแท้ความเป็นมา ความเชื่อมโยงหรือหลักการต่างๆกระนั้นหรือ ปรากฎการณ์มากมายที่สะท้อนให้เห็นความกังวลข้างต้นนั้น ความพยายามตรงนี้จึงเป็นความพยายามหนึ่งในอันที่จะพลักดันให้ปฎิบัติการสัมพันธ์กับความรู้ความคิด มิใช่ผลกดันเพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น และก็เป็นที่หวังว่า ความรู้ ความคิด และหลักการ จะช่วยพัฒนาให้ปฎิบัติการเป็นไปอย่างมีทิศทางและก้าวไกลไปด้วยดี และเราก็คงปฎิเสธความจริงไม่ได้ว่า " การนำเข้าจากตะวันตกก็จำเป็นต้องศึกษาจากตะวันตก ส่วนศึกษาเพื่อจะเป็นตะวันออก เพื่อการเป็นสากลหรือเพื่อการก้าวล้ำหน้าตะวันตกก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง
ความเป็นศิลปะตะวันตกและกรรมวิธีในการสร้างสรรค์งานศิลปะได้หล่อหลอมมานับด้วยพันๆปี แม้กรรมวิธีการเขียนภาพสีน้ำมัน ก็มีวิวัฒนาการมาแล้วไม่น้อยกว่า500-600ปี ถ้าเราโฟกัสลงบนการสร้างสรรค์จิตรกรรม ภาพเขียนของชาวโรมันจากซากปรักหักพังที่ภูเขาไฟวิสเวียสถล่มทลายเมืองปอมเปอี เมืองเฮอร์คิวเลเนียม และไถ่บาปด้วยการทะนุถนอมผลงานภาพเขียนเหล่านั้นไว้ ภาพเขียนของชาวโรมันได้บ่งบอกเส้นทางการเดินทางของจิตรกรรมตะวันตกไว้พอสมควร และนั่นก็เป็นปรากฎการณ์ที่นับได้ประมาณ 2000 ปีมาแล้ว
ในช่วงสมัยกลางของยุโรป ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 4-13 การสร้างสรรค์จิตรกรรมของชาวยุโรปชะงักงันลงภาพเขียนคนในช่วงเวลานั้นเป็นไปอย่างแข็งกระด้าง ดั่งงานออกแบบขาดสัดส่วนที่งดงาม มิได้มีลักษณะเลียนแบบธรรมชาติ โดยมีศาสนาเป็นตัวครอบงำทั้งรูปแบบเนื้อหา ถ้ามองย้อนไปสู่ประวัติศาสตร์ยุโรปในช่วงเวลานั้นราวคริสต์ศตวรรษที่ 6-8 ผู้คนได้อพยพย้ายถิ่นฐานจากเมืองไปสู่ชนบท เพื่อหลีกหนีอนารยชน แม้ราชวงศ์ก็มิได้ยกเว้น ด้วยประวัติศาสตร์และความสับสนเช่นนี้ก็คงพอเป็นที่คาดเดาได้ว่า สังคมในช่วงเวลานั้นกำลังขาดแคลนช่างฝีมือหรือจิตรกรตามไปด้วย
ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 11 รุ่งอรุณของการสร้างสรรค์ศิลปะเริ่มฉายแสงขึ้น แต่ก็ยังคงเป็นไปในสาระของศาสนาและสร้างศิลปะในลักษณะที่ยังมิได้แยกให้เห็นความเป็นศิลปินของแต่ละบุคคล ต่อมาผลงานจิตรกรรมจึงค่อยๆแสดงอิสรภาพและแสดงออก ซึ่งความเป็นปัจเจกของศิลปินแต่ละคนมากขึ้น ในคริสต์ศตวรรษถัดมา ประชาชนคืนชีวิตกลับสู่เมืองมากขึ้น ศิลปะงานฝีมือ และสินค้า ได้มีบทบาทและยกฐานะชนชั้นกลางให้มีความสำคัญขึ้น ศิลปินเข้าไปมีบทบาทอยู่ในสำนักช่างหรือ " guild" ศิลปินมิได้สร้างงานศิลปะ แต่เพียงภายในโบสถ์และภายใต้คำบงการของพระสถาปนิกเท่านั้น แต่กลับสร้างสรรค์งานอยู่ในห้องทำงานของตน ศิลปินผู้เป็นเจ้าของทั้งวัสดุอุปกรณ์และเวลาในการทำงานของตนเองเขาพร้อมที่จะจินตนาการและทำงานอย่างไรก็ได้ตามใจปรารถนา




ในประเทศอิตาลี จิออตโต ( Giotto 1276-1337) แสดงบทบาทเด่นชัดขึ้นในช่วงต้นคริสต์ศตววษที่14 จิตรกรผู้เขียนภาพจากคน และสิ่งของจริงๆ แต่ก็ยังคงเป็นการเขียนภาพสีฝุ่นผสมไข่แดง เขียนลงบนแผ่นไม้ การเขียนภาพสีฝุ่นที่ใช้ได้สารพัดประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็น จุลจิตรกรรม ภาพประกอบในคัมภีร์ ภาพเขียน ภาพบนแผ่นไม้ระบายรูปเคารพ ทาสีตกแต่งผนัง และก็เริ่มมีหลักฐานว่าจิตรกรรู้จักใช้นำมันลินสีดผสมกับสีฝุ่นเขียนภาพบ้างแล้ว ซึ่งเป็นการช่วยให้สีคงทน คงความเข้มของสี และเป็นเงางามดียิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังมีหลักฐานว่า มีจิตรกรทดลองใช้นำมันลินสีดผสมกับไข่แดงเพื่อใช้เป็นตัวสื่อผสมอีกด้วย ในปี 1200 มีพระในคริสต์ศาสนาชื่อ ธีโอไฟล์ รูกีรัส (Theophile Rugierus)ได้เขียนชี้แนะให้ใช้น้ำมันลินสีดผสมกับกาวอารบิก ใช้เป็นสื่อผสมสี ท่านไว้ในหนังสือ " Diversarum Artium Schedula"
การณ์กลับเป็นว่า ส่วนผสมเช่นนี้ทำให้ภาพเขียนแห้งช้า จนต้องนำภาพเขียนออกไปผึ่งแดดให้แห้งด้วยเวลาหลายวัน และก็ทำให้ภาพเขียนเลวร้ายลง คือสีออกดำคล้ำและสีขาวเพี้ยนไปในทางสีเหลือง ความพยายามในการเขียนภาพสีน้ำมันช่วงนั้นจึงยังไม่สัมฤทธิผลนัก มาประสบผลสำเร็จเด่นชัดในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 หรืออาจจะบ่งชี้ได้ในปี ค.ศ.1410 โดย ศิลปินจากฟลานเดอร์สตะวันตก แจน แวน อีค (Jan Van Eyck)
ในปี ค.ศ. 1410 ศิลปินหนุ่ม แจน แวน อีค ได้ทดลองผสมน้ำมันลงในสีฝุ่นตามคำแนะนำของพระธีโอไฟล์ แล้วนำไปผึ่งแดด สองวันต่อมาเขาเริ่มมองเห็นรอยแตกบนภาพเขียน แจน แวน อีค มิได้ย่อท้อต่อปัญหาเช่นนั้น ต่อมาเขาก็ได้ค้นพบว่า ภาพเขียนในลักษณะนี้ก็สามารถแห้งได้อย่างดีในร่ม เขาได้ทำการทดลองผสมน้ำมันกับกาวอีกหลายต่อหลายชนิดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายเดือน และก็พบว่า การผสมน้ำมันวาร์นิชบรูกส์สีขาว ( " Bruges"ชื่อเมืองหลวงของฟลานเดอร์ส) กับน้ำมันลินสีดนั้น ไม่มีปัญหาในการที่จะทิ้งภาพเขียนไว้ให้แห้งในร่ม ซึ่งนักวิจัยทางด้านวัสดุอุปกรณ์ศิลปะในปัจจุบันหลายคนก็ลงความเห็นว่า " น้ำมันวาร์นิชบรูกส์สีขาว" (whit Bruges varnish) ก็คือน้ำมันสนบริสุทธิ์ (turpentine)ที่ใช้เป็นส่วนผสมสีน้ำมันอยู่ทุกวันนี้นั่นเอง



การที่ แจน แวน อีค ได้เริ่มต้นเขียนภาพโดยใช้น้ำมันวาร์นิชบรูกส์สีขาวผสมน้ำมันลินสีด เป็นตัวผสมสีฝุ่นเท่ากับเป็นการค้นพบคุณสมบัติพิเศษของสีน้ำมันอย่างแท้จริง และถ้าต้องการให้สีข้นหรือใสก็เพิ่มหรือลดน้ำมันวาร์นิชบรูกส์สีขาว การลดหรือเพิ่มก็เกี่ยวข้องกับการแห้งช้าหรือเร็วของสีน้ำมันอีกด้วย นอกจากนั้น เขายังค้นพบอีกว่าแม้จะระบายสีน้ำมันผสม นำมันวาร์นิชบรูกส์สีขาวบางๆ ( โดยไม่ผสมน้ำมันลินสีด) หรือระบายสีชั้นแรกให้หนา ( โดยผสมน้ำมันลินสีดและน้ำมันวาร์นิชบรูกส์สีขาว )ทิ้งไว้ให้แห้ง แล้วระบายสีทับซ้อนลงไปอีก สีชั้นล่างก็จะไม่ละลายหลุดออกมารบกวนสีที่ระบายทับลงไป "แจน แวน อีค จิตรกรผู้สร้างสรรค์จิตรกรรมอันเยี่ยมและการค้นพบอันเลิศ"


//www.ARTgazine ComMuNiTy อ่าน - จิตรกรรม สีน้ำมัน.mht



2 รูปนี้เป็นผลงานของผมเองครับ







 

Create Date : 08 สิงหาคม 2551    
Last Update : 18 สิงหาคม 2551 21:50:25 น.
Counter : 5165 Pageviews.  


naratip_jack
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เพลง ดาวกับเม็ดทราย - ลีโอพุฒ" HIDDEN="true" AUTOSTART="true"LOOP=" ใส่จำนวนรอบที่ต้องการให้เปิด" MASTERSOUND> พื้นหลัง พื้นcomment
Friends' blogs
[Add naratip_jack's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.