No.5/2012 แอ่วเมืองหละปูนเมืองบุญหลวงแห่งล้านนา โดยรถราง 1 วันก็สนุกได้
รีวิวต้นเรื่อง : //2g.pantip.com/cafe/blueplanet/topic/E12225614/E12225614.html

ครั้งนี้เรามาแวะเที่ยวเมืองที่เก่าแก่ที่สุดแห่งล้านนาภาคเหนือกันนั่นคือนครลำพูนโดยการเดินทางของเราครั้งนี้ เดินทางโดยรถราง
ครึ่งเช้าจนถึงบ่ายเราเที่ยวโดยรถรางและบ่ายจนถึงเย็นเราเที่ยวโดยเดินเท้าไปยังพิพิธภัณฑ์


รถนำเที่ยว"ลำพูนเมืองบุญหลวงแห่งล้านนา" มีรถบริการทุกวันๆละ 2เที่ยว

เที่ยวแรก : 09.30 - 12.30 น.

เที่ยวสอง : 13.30 - 16.30 น.

รถจอดอยู่ที่หน้าวัดพระธาตุหริภุญชัยฯ

อัตราค่าบริการผู้ใหญ่ 50บาท / เด็ก 20 บาท / ต่างชาติ 100บาท

รถนำเที่ยวเมืองลำพูน 7วัด 2 โบราณสถาน + 2พิพิธภัณฑ์

7วัด ได้แก่

1. วัดพระธาตุหริภุญชัย

2. วัดจามเทวี

3. วัดมหาวัน

4. วัดพระคงฤาษี

5. วัดสันป่ายางหลวง

6. วัดพระยืน

7. วัดต้นแก้ว


2โบราณสถาน

1. อนุสาวรีย์พระนางจามเทวี

2. กู่ช้าง-กู่ม้า


2พิพิธภัณฑ์

1. พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ หริภุญไชย

2. พิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน


แผนที่เทศบาลเมืองลำพูนค่ะ สามารถขอได้ที่ห้องประชาสัมพันธ์ภายในวัดพระธาตุหริภุญชัยหรือจุดจำหน่ายตั๋วรถรางรอบเมืองนั่นเองค่ะ


สถานที่ที่เราจะเดินทางในวันนี้ทั้งหมดค่ะ  พร้อมข้อมูล แต่เราว่าให้พี่กัปตันรถเป็นคนเล่าจะสนุกกว่าค่ะ ได้รู้เรื่องราวเมืองลำพูน ตำนานต่างๆด้วย ฟังแล้วก็เพลิน เผลอแปบเดียวก็หมดวันซะละ



เริ่มที่เที่ยวแห่งแรกของเราในวันนี้ดีกว่า

1. วัดหริภุญชัย วรมหาวิหาร

เป็นโบราณสถานคู่บ้านคู่เมืองลำพูน  ก่อสร้างในสมัยพระเจ้าอาทิตยราชราว พ.ศ. 1440 มีองค์พระธาตุที่บรรจุอัฐิของพระพุทธเจ้า องค์พระธาตุนี้นับเป็นปูชนียสถานอันสำคัญยิ่ง ในล้านนาไทย เป็นวัดประจำปีเกิด ปีระกาและเป็นหนึ่งในแปดจอมเจดีย์แห่งสยาม ที่คัดสรรโดยกรมพระยาดำรงราชานุภาพบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย









หอธรรม ถูกสร้างโดยพระเมืองแก้วกับพระราชมารดาของพระองค์ร่วมกันบำเพ็ญพระราชกุศลอันยิ่งใหญ่สถาปนาหอพระธรรมมณเฑียร เป็นสถานที่เก็บรักษาคัมภีร์พระไตรปิฎก  พร้อมทั้งอรรถกถาฎีกาและอนุฎีกา ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของหอไตรหลังนี้มีลักษณะเช่นเดียวกับหอไตรของวัดพระสิงห์และวัดเชียงมั่น จังหวัดเชียงใหม่ซึ่งถือว่าเป็นแบบที่นิยมสร้างกันทั่วไปในดินแดนล้านนา


พระบรมธาตุหริภุญชัยเป็นโบราณสถานอันสำคัญของนครหริภุญชัยที่ พระเจ้าอาทิตยราช เป็นผู้สถาปนาขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 17 เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ อันมี ธาตุกระหม่อมธาตุกระดูกอก ธาตุกระดูกนิ้วมือ และธาตุย่อยอีกเต็มบาตรหนึ่ง


แต่เดิมพระบรมธาตุเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมเมื่อพญามังรายตีเมืองหริภุญชัยได้ทรงเปลี่ยนเป็นทรงเจดีย์ฐานกลมแบบทรงลังกาและพระเจ้าแสนเมืองได้ทำการปิดทององค์พระธาตุจนกลายเป็นรูปร่างที่เราเห็นกันในปัจจุบัน


วิหารพระกลักเกลือหรือพระเจ้าแดงประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัย ก่ออิฐถือปูนขนาดใหญ่ทาด้วยสีแดง เห็นตอนแรกเป็นสีที่แปลกมาก แต่ก็เป็นพระพุทธรูปที่งดงามมากเช่นกัน


สุวรรณเจดีย์หรือปทุมวดีเจดีย์เป็นเจดีย์ที่มีลักษณะการก่อสร้างแบบเดียวกับเจดีย์สี่เหลี่ยมหรือเจดีย์กู่กุดที่วัดจามเทวี จังหวัดลำพูน  องค์เจดีย์สร้างด้วยศิลาแลงและอิฐเป็นเจดีย์ทรงปราสาทมีฐานสี่เหลี่ยมซ้อนชึ้นไปห้าชั้นแต่ละชั้นประดับซุ้มจระนำทั้งสี่ด้าน ด้านละสามซุ้ม  สุวรรณเจดีย์องค์นี้มีพระพิมพ์ที่สำคัญและมีชื่อเสียงของเมืองลำพูนบรรจุอยู่ภายในคือ พระเปิม

หอระฆังเป็นหอสำหรับแขวนระฆังและกังสดาลขนาดใหญ่


กราบลาวัดพระธาตุหริภุญชัยไปยังสถานที่ต่อไปกันดีกว่า


2. พิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน

เดิมเป็นคุ้มเจ้าสัมพันธ์วงษ์ สร้างในปีพ.ศ. 2445สมัยเจ้าหลวงจักรคำขจรศักดิ์  ลักษณะรูปทรงอาคารเป็นทรงปั้นหยางดงาม ปัจจุบันเทศบาลเมืองลำพูนจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงเรื่องราวประวัติศาสตร์ ประเพณีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวลำพูนเมื่อราว 100 ปีผ่านมา











คุ้มหลังนี้ได้ขายกันมาหลายทอดจากคุ้มเจ้าราชสัมพันธ์วงษ์  ก็กลายมาเป็นโรงเรียนจีนโดยใช้ชื่อว่าโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง (เจริญและเที่ยงธรรม)  จนต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนมงคลวิทยา ซึ่งปัจจุบันโรงเรียนมงคลวิทยาได้ย้ายไปพื้นที่แห่งใหม่แล้ว



ต่อมาคุ้มหลังนี้ก็ถูกเช่าโดยนักธุรกิจเปิดเป็นร้านอาหารชื่อ คุ้มต้นแก้ว ก่อนที่จะปิดกิจการไปในเวลาต่อมา  สถานีวิทยุ อ.ส.ม.ท ลำพูนได้มาขอเช่าพื้นที่คุ้มเจ้าราชสัมพันธ์วงษ์ เป็นสถานที่จัดรายการวิทยุจนกระทั่งหมดสัญญาลงในปี พ.ศ.๒๕๔๘ และสุดท้ายก็กลายมาเป็นพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองในปัจจุบัน







กระต่ายขูดมะพร้าว  เคยเห็นสมัยเด็กมากๆ ปัจจุบันไม่ค่อยได้เห็นแล้ว












3.อนุสาวรีย์พระนางจามเทวี

พระนางจามเทวีเป็นองค์ปฐมกษัตริย์แห่งนครหริภุญชัยพระนางเป็นปราชญ์ที่มีความกล้าหาญทางคุณธรรมและยังมีพระสิริโฉมงดงาม พระนางได้นำพระพุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรมมาเผยแผ่ในดินแดนล้านนาไทย ซึ่งทำให้ล้านนาเจริญมาถึงทุกวันนี้

รูปปั้นมีขนาดหนึ่งเท่าครี่งขององค์จริงพระหัตถ์ซ้ายถือพระขรรค์ สะท้อนความเป็นนักรบพระหัตถ์ขวาทำท่าผายมือแผ่เมตตาแก่อาณทประชาราษฎร์


4. วัดจามเทวี

เป็นฝีมือของขอมลักษณะเป็นทรงสี่เหลี่ยมซ้อนชั้นแบบพุทธคยาในประเทศอินเดียมีพระพุทธรูปปางประทานพรยืนอยู่ในซุ้มทั้งหมด60 องค์ภายในบรรจุอัฐิพระนางจามเทวี ต่อมายอดพระเจดีย์หักหายไปชาวบ้านจึงเรียกว่า "กู่กุด" หรือชื่อเป็นทางการ "พระเจดีย์สุวรรณจังโกฏิ"นอกจากนี้ยังมีรัตนเจดีย์และกู่บรรจุอัฐิของครูบาศรีวิชัยด้วย








5. วัดมหาวัน

วัดนี้สร้างตั้งแต่ครั้งพระนางจามเทวีเสด็จขึ้นครองเมืองหริภุญชัย มีพุทธสักขีปฏิมากรหรือพระศิลาดำ เรียกว่าพระรอดหลวง หรือแม่พระรอดซึ่งปัจจุบันประดิษฐานอยู่บนแท่นแก้วหน้าองค์พระประทานในวิหาร มีความสำคัญ และเป็นแม่พิมพ์พระสกุลลำพูนหนึ่งในพระเครื่องเบญจภาคี



พระรอดหลวงอายุ 1400 ปี แม่พิมพ์พระสกุลลำพูนหนึ่งในพระเครื่องเบญจภาคี


6.วัดพระคงฤาษี

เป็นวัดในสี่มุมเมืองอยู่ทางด้านทิศเหนือสร้างขึ้นในสมัยพระนางจามเทวีเป็นพระอารามหลวงในสมัยนั้นวัดนี้มีชื่อเสียงเนื่องด้วยมีพระพิมพ์ที่เรียกว่า "พระคง"บริเวณวัดมีเจดีย์ที่มีลักษณะแปลกว่าเจดีย์องค์อื่นๆ ในเมืองลำพูนเชื่อว่าเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นมาพร้อมกับวัดนี้มีซุ้มคูหาทั้งสี่ด้านประดิษฐานพระพุทธรูปและรูปพระฤาษี












7.วัดสันป่ายางหลวง

แต่เดิมเป็นศาสนสถานของศาสนาพราหมณ์ มีพระจากพม่าเข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนา ชาวบ้านเลื่อมใสจึงเปลี่ยนเทวสถานมาเป็นวัด ชื่อว่า "ขอมลำโพง"เป็นวัดทางพระพุทธศาสนาวัดแรกของล้านนา ต่อมาในปีพ.ศ. 1202 ได้บูรณะปฏิสังขรณ์วัด และเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า "วัดอาพัฒนารามป่าไม้ยางหลวง"วัดนี้ใช้เป็น สถานที่ถวายพระเพลิงศพพระนางจามเทวี และเปลี่ยนชื่อวัดเป็นสันป่ายาหลวงจนถึงปัจจุบัน





















8. กู่ช้าง-กู่ม้า

รูปทรงสถูปเป็นทรงกระบอกปลายมนศิลปะแบบพยู่(ศรีเกษตรในพม่า) เป็นสุสานช้างศึก-ม้าศึกคู่บารมีของพระนางจามเทวี ช้างศึกชื่อว่า "ภู่ก่ำงาเขียว"ซึ่งหมายถึงช้างผิดสีคล้ำ งาสีเขียว ทรงอานุภาพฤทธิ์ในยามสงคราม ชาวเมืองถือว่ากู่ช้าง-กู่ม้า เป็นสิ่งศักดิสิทธิ์ประจำเมือง








ตามตำนาน"ภู่ก่ำงาเขียว"เดิมเป็นช้างป่า มีตัวใหญ่ถึง ๑๒ ศอก มีกำลังมหาศาล  ช้างตัวนั้น

มีผิวดำก่ำ มีงาสีเขียวเหมือนแก้วนิลผักตบชวา คนทั้งหลายจึงเรียกว่า ช้างภู่ก่ำงาเขียว


9.วัดพระยืน

เป็นวัดฝ่ายอรัญวาลีจัดเป็นหนึ่งในวัดสี่มุมเมืองอยู่ทางทิศตะวันออก มีเจดีย์ประธานทรงปราสาทสร้างเลียนแบบสถาปัตย์พม่าสมัยพุกามพญากือนาได้อาราธนาพระสุมนเถระจากสุโขทัยมาเผยแผ่พระศาสนาในล้านนาโดยพำนักในวัดพระยืนก่อนไปสร้างวัดสวนดอก เชียงใหม่

ภายในวัดมีสิ่งที่น่าสนใจคือหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มีเจดีย์ทรงปราสาทที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางเปิดโลกและพบภาพพระบฏโบราณมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์











10.วัดต้นแก้ว

ในอดีตชื่อวัดเชตวนารามสมัยหริภุญชัยพบหลักศิลาจารึกอักษรมอญโบราญระบุถึงชื่อกษัตริย์ผู้มีนามว่าพญาสรรพสิทธิ์ได้ทรงผนวชระหว่างครองราชย์ และสร้างสถูป 3 องค์ ในส่วนวัดต้นแก้วนั้นยังมีสิ่งที่น่าสนใจคือพระเจดีเป็นสถูปทรงกลมล้านนาพระพุทธรูป ทรงเครื่องในวิหารโถงพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านชาวยอง โรงทอฝ้ายแบบโบราณ


พิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณ






ลงจากพิพิธภัณฑ์มาดูผ้าทอมือกันต่อค่ะ








สถานที่สุดท้ายของวันนี้แล้วนะคะ รถรางจะกลับมาส่งเราที่วัดพระธาตุหริภุญชัยดังเดิม เราต้องเดินไปพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติหริภุญไชย ผ่านทางด้านหลังวัดค่ะ










ขอจบการพาเที่ยวโดยรถราง 1วันในเมืองหละปูนเมืองบุญหลวงแห่งล้านนา หวังว่าจะเป็นข้อมูลสำหรับเพื่อนๆที่สนใจเที่ยวเมืองลำพูนใน 1วันหรือใครที่บินมาเชียงใหม่หลายครั้งแล้วอยากลองเที่ยวแบบนี้ก็สามารถแวะมาได้ค่ะ จากเชียงใหม่มีรถบัสมาลำพูนใช้เวลาเดินทางไม่นานก็ถึงที่หมายแล้ว




Create Date : 17 มิถุนายน 2557
Last Update : 17 มิถุนายน 2557 10:59:12 น.
Counter : 3167 Pageviews.

0 comment
1  2  3  

Nainame
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



ข้อมูล เรื่องเล่าจากการเดินทางท่องเที่ยว เพื่อแบ่งปันข้อมูลที่ได้ไปพบ สัมผัสและได้เห็นมาจากการเดินทาง
New Comments
All Blog