Group Blog
 
All Blogs
 

มวลชน และ เกมส์มวลชน

พฤติกรรมมวลชน
โดยพื้นฐาน
จะมีความหลากหลายและยากต่อการจัดการ เนื่องจากความแตกต่างของมวลชนนั้นๆ นั่นเอง

หาก
มวลชน ไม่สามารถควบคุม อารมณ์ ได้
หรือใช้ อารมณ์ มากกว่าเหตุผล และ ข้อกฏหมาย
หากเกิดความรุนแรงขึ้น หากมีการทำผิด กฏหมาย
ฝ่ายรัฐฯ ก็จะมีความชอบธรรมเข้าจับกุม และ สลายการชุมนุม ตามหลักมนุษยชน
(ไม่สามารถใช้อาวุธที่ทำอันตรายถึงชีวิต ได้)

ในทางกลับกัน
หากระหว่างการเผชิญหน้า
ฝ่ายรัฐเกิดไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้
หรือใช้กำลังเกินกว่าเหตุ หรือ กระทำการผิดหลัก มนุษยธรรม หรือกระทำการผิด กฏหมายเสียเอง
มวลชนก็จะรวมตัวกันมากขึ้น และ เข้มแข็งขึ้น
ฝ่ายรัฐฯเองจะเป็นฝ่ายที่ล่มสลาย


ที่กล่าวมาเบื้องต้น
เป็นสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้ กับ มวลชนปกติทั่วไป
เป็นอารมณ์ร่วมที่ไม่ได้มีการวางแผน หรือ การผลักดัน ตามเป้าประสงค์
เป็นมวลชน และ พฤติกรรม บริสุทธ์
(ซึ่งหากผิดกฏหมาย ก็ต้องว่ากันไปตาม กฏหมาย)

แต่งานมวลชน ไม่ได้มีเพียงด้านเดียว
ยังมีเกมส์มวลชน หรือ วิชามารอีกด้วย
ซึ่งการการผลักดันอย่างมีเป้าหมาย
มีแผนการ และการกระทำโดยมุ่งหวังซึ่งอำนาจ เช่นกัน

ยกตัวอย่างเช่น
หากมวลชน มุ่งยั่วยุ ฝ่ายรัฐบาล
กดดันโดยมุ่งหวังให้เกิดความรุนแรง
หรือ กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด ให้ คนในกลุ่มมวลชน
ได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต
แล้วสามารถโยนความผิดให้ รัฐฯ ได้
ประชาชนก็จะ(ถูกหลอกให้มา)รวมตัวกันมากขึ้น
ฝ่ายรัฐก็จะล่มสลาย

ในทางกลับกัน
ฝ่ายรัฐ จัดคนแฝงกายเข้ามาในกลุ่มผู้ชุมนุม
สร้างพฤติกรรมรุนแรง
กระทำการผิดกฏหมาย
แล้วฝ่ายรัฐ ก็จะได้รับความชอบธรรม เข้าใช้กำลัง สลายการชุมนุม

อย่างไรก็ตาม
การสลายการชุมนุม
ก็ต้องยึดหลัก มนุษยธรรม
คือจะใช้ อาวุธที่ทำอันตรายถึงชีวิต ไม่ได้เป็นอันขาด



เหตุการณ์ ณ ปัจจุบันนี้
ใครทำอย่างไร
ดำเนินการโดยวิธีการใด
ศึกษา แยกแยะ วิเคราะห์ ดูกันเอาเองนะครับ

แต่โดยหลัการ และ วิธีการณ์
ค่อนข้างจะเป็นแนวทางปกติที่เราสามารถพบเห็นกันมา
นับแต่ อดีต จนถึงปัจจุบัน
ไม่ว่าจะเป็นมุมไหนๆ ในโลกนี้

แ้กไขเพิ่มเติม 2014-02-27
เกมส์มวลชน

กรณีมวลชนเลว
คนน้อย จะเรียกแขก
คนมากพอ จะบูชายัญ
ต้องไม่มากจนเสียขวัญ แต่ต้องมากพอให้เกิดความโกรธแค้น
คนตายหลักหน่วย คนเจ็บหลักสิบ

กรณีรัฐฯเลว
ผู้ชุมนุมคนน้อย ไม่สนใจ คนมากไป จะรำคาญ
ต้องยิงกดหัวให้ขวัญเสีย
คนตายหลักร้อย คนเจ็บหลักพัน

กรณีฉวยโอกาส จะมีเป้าหมายชัดเจน

สถิติว่าไว้แบบนั้น

พึงประเมินให้ได้ ใครเสียประโยชน์ ใครได้ประโยชน์




 

Create Date : 01 มีนาคม 2552    
Last Update : 27 กุมภาพันธ์ 2557 17:28:57 น.
Counter : 639 Pageviews.  

ไม่มีใคร ทำลาย ความน่าเชื่อถือของ ศาล ได้ ... นอกจากตัว ศาล เอง

trust เป็นสิ่งที่ต้อง สร้าง
ใช้เวลา อันยาวนาน
แต่สามารถ พังทลายลงได้ในชั่วพริบตา

trust เกิดจากอะไร
เกิดจาก ความรับผิดชอบ
เกิดจาก ความเป็นเหตุ เป็นผล
เกิดจาก ตรรกะ ที่ปฏิเสธ ไม่ได้
เกิดจาก ตรรกะ ที่เป็นจริงเสมอ ในทุกกรณี

การทำลาย trust จากบุคคลอื่น สามารถทำได้ โดยการโจมตีอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน
หากไม่ถูกแก้ไขอย่างถูกต้อง ตามหลักการ
หากไม่ถูกชี้แจง อย่างเหมาะสม
trust นั้น ก็สามารถ ถูกทำลายลงได้
แต่ใช้เวลา

ผิดกับตนเอง
สามารถ ทำลาย trust ลงได้เองในชั่ว พริบตา




 

Create Date : 02 ธันวาคม 2551    
Last Update : 2 ธันวาคม 2551 11:37:22 น.
Counter : 516 Pageviews.  

ทำไมผมถึงมองว่า พธม. มีตรรกะแปลกๆ

การตัดสินใจ ใดๆก็ตาม จำเป็นต้องมีข้อมูล
ข้อมูล อาจจะแบ่งออกได้เป็น สองแบบ
๑. ข้อเท็จริง
คือ ข้อมูลดิบ สิ่งที่สามารถพิสูจน์ได้ อย่างเป็น รูปธรรม
๒. ข้อคิดเห็น
ซึ่งต้องใช้ ประสบการณ์ หรือ วิธีคิดของ เจ้าของข้อคิดเห็นนั้นเป็นหลัก เช่น การประเมินสถานะการณ์
สิ่งนี้ จะอ้างอิง กับตัว บุคคล เป็นหลัก

ซึ่งจากการ มองข้อมูลเป็นสองแบบดังนี้
ทำให้เกิด เส้นแบ่ง ทางตรรกะบางอย่างออกมา

๑. การพยายามทำความคิดเห็น ให้เป็น ข้อเท็จจริง


เป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำอย่างยิ่ง ในฐานะสื่อ จะเห็นได้จาก clip รถนายกฯสมชาย
ซึ่งหากวิเคราะห์ กันให้ลึกๆ จะเห็นว่า ข้อเท็จจริง ไม่สามารถ สรุปได้ว่าบุคคลในรถ เป็น คุณสมชาย
แต่เหล่า สาวก พธม. ก็ปักอก ปักใจเชื่อ ข้อมูลที่ไม่ใช่ข้อเท็จจริงนี้ ราวกับว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ได้พิสูจน์แล้ว !

๒. ความไม่น่าเชื่อถือของข้อมูล มีผลมาจาก ความไม่น่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล


จากการพูดของ พธม. บางคนที่บอกว่า ข้อมูลบางข้อมูล ของแกนนำ พธม. เขาก็ไ่ม่เชื่อ เขาเลือกที่จะเชื่อเป็นเรื่องๆไป
นี่ยิ่งทำให้ ตรรกะ สับสนหนักเข้าไปอีก
คุณเลือกเชื่อ เพราะอะไร?
สิ่งใด คุณเลือกที่จะเชื่อ? สิ่งใดคุณเลือกที่จะไม่เชื่อ?
โดยแท้จริงแล้ว เมื่อความน่าเชื่อถือของข้อมูลหมดไป(ข้อมูลที่คุณเลือกที่จะไม่เชื่อ และ บอกเองว่า มั่ว มาก)
ย่อมมีผลต่อ ความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ซึ่งนั่น ทำให้ ข้อมูลที่เหลือ ขาดความน่าเชื่อถือตามไปด้วย เช่นกัน

แต่ เหล่า สาวก พธม. ยังคงยืนกรานถึง คุณค่า ของข้อมูล(ที่เหลืออยู่นั้น)ของ พธม. ว่าเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ และ คนไม่เชื่อ คือ "โง่" ???

ข้อมูลที่เป็น"ข้อเท็จจริง"สามารถ ดำรงอยู่ได้ แต่หาก ความน่าเชื่อถือของข้อมูล หดหายไป จำเป็น เป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี แหล่งข้อมูลแหล่งอื่นมาร่วมอ้างอิงด้วย จึงจะสามารถ ยอมรับข้อมูลนั้นได้

เนื่องจากข้อเท็จจริง ที่กล่าวอ้าง อาจจะกลายเป็นเรื่องปั้นแต่ง ขึ้นมา
ได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น "ข่าว การเล่นละคร ในวันที่หนึ่ง"
สิ่งนี้ ต้องเทียบเป็นข้อเท็จจริง
คือ ถ้าเล่น ก็คือเล่น
แต่ถ้าไม่ได้เล่น
นี่คือการโกหก คือการปั้นแต่งข่าว
ซึ่งทำให้ความน่าเชื่อถือ ของข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงอันอื่น หายไปด้วย
เนื่องจากความไม่น่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล

หรืออย่างกรณี จับการ์ด พธม. พกอาวุธ
มีอาวุธ ก็คือมีอาวุธ (เป็นข้อเท็จจริง ไม่สามารถ "สงสัยว่าจะมีอาวุธ" ได้)
เป็นการ์ด พธม. (เป็นการ์ด ก็คือเป็นการ์ด ไม่เป็นก็คือไม่เป็น ไม่สามารถ "สงสัยว่าจะเป็น" ได้ ... หากเป็นกรณี สรุปว่า เป็นการ์ด ก็ต้องดูจาก หลักฐานและ พยานแวดล้อม ประกอบ)

ที่พูดถึงนี้ เป็นกรณี ข้อเท็จจริง แต่ไม่ใช่กรณี ความคิดเห็น
หากสิ่งที่ได้รับ เป็นความคิดเห็น ของแหล่งข้อมูลนั้นๆ แล้ว
การที่แหล่งข้อมูลไม่น่าเชื่อถือ
"ทำให้ข้อมูลที่เป็นความคิดเห็น" อื่นๆ ไม่น่าเชื่อถือ ตามไปด้วย โดยทันที
หรือ ไม่สามารถ จะเชื่อถือได้ นั่นเอง

จากการกำหนดเหตุผลของความน่าเชื่อถือ ของข้อมูลแล้ว
ทั้งในเชิง "ข้อเท็จจริง" และ "ข้อคิดเห็น"

ผมพบว่า ความน่าเชื่อถือ ของข้อมูล ของ พธม. ได้หมดไปแล้ว
ผมถึงสงสัยใน ตรรกะ ของเหล่า สาวก พธม. ว่า
ทำไม?
ใช้ ตรรกะ อะไร?
ถึงยังคงหลงเชื่อ เชิดชู บูชา "ข้อมูล" ของ แกนนำ พธม. อยู่ได้
ทั้งๆที่ ไม่มีความน่าเชื่อถือ ใดๆหลงเหลืออยู่ อีกแล้ว?

สิ่งที่สรุปได้คือ ศรัทธา และ ความเชื่อ ล้วนๆ
ไม่มี ตรรกะ เหตุผล ใดๆทั้งสิ้น




 

Create Date : 14 พฤศจิกายน 2551    
Last Update : 14 พฤศจิกายน 2551 15:55:07 น.
Counter : 418 Pageviews.  

"การเมืองใหม่" คืออะไรครับ

"การเมืองใหม่" คือ
คือการที่มีนักการเมืองไม่หลอกลวง ไม่โกหก ไม่ฉ้อราชฯบังหลวง?
คือการที่ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น ไม่ใช่แค่หย่อน บัตร เลือกตั้ง?
คือ ฯลฯ
หรือเปล่าครับ

เข้าใจอะไรผิดหรือเปล่าครับ
ทั้งหมดมันเป็นแนวคิด
ซึ่งแท้จริง มันมีอยู่แล้ว ตั้งแต่ต้น
เอาแนวคิด เดิม มาพูดซ้ำ ทั้งที่ยังอยู่ในระดับแนวคิดเช่นเดิม แล้วบอกว่า เป็นการเมืองใหม่

จะบ้า หรือเปล่าครับ

บอกว่า ประชาชน ไม่มีส่วนร่วม
แล้วที่ออกไปชุมนุมได้ตามข้อกฏหมาย นั่นนับหรือเปล่าครับ?
รัฐธรรมนูญปี๔๐ ที่ให้ประชาชน รวบรวมรายชื่อถอดถอน รัฐมนตรีได้
แล้วใครล่ะครับ ตัดมันออก?
ต่อให้ตอนนั้นมีข้อโต้แย้ง ว่าได้ขนาดไหน ถอดถอนได้จริงหรือไม่?
ก็ทำให้มันชัดขึ้น
ก็เท่านั้นเองครับ
มันมีแนวทางของมันอยู่แล้ว
มันกำลังเดินไปทางนั้นอยู่แล้ว
ใครเล่าครับ ทำให้มันสะดุด

พวกเราทุกคนนั่นแหล่ะครับ
พวกเราทุกคน เข้าใจ แก่นแท้ ของ "ประชาธิปไตย" มากน้อย แค่ไหน ครับ?


การเอาของเดิม ทั้งที่มีอยู่แล้ว
มาพูดใหม่ มาตั้งชื่อใหม่
เหมือนตนเอง ค้นพออะไรแปลกใหม่ในสังคม
พูดบิดเบือน เรื่อยเปื้อย
กลายเป็นอย่างนู้น กลายเป็นอย่างนี้
ทั้งที่
๑. ของเดิมมีอยู่แล้ว หลักการ มีอยู่แล้ว
๒. ยังคงเป็น หลักการ เช่นเดิม ยังคงเป็นแค่ แนวความคิด เช่นเดิม
ยังไม่มีวิธีปฏิบัติ ชัดเจน

มัน "แย่" มากครับ

มันสะท้อนให้เห็นว่าอะไรครับ?
เราเข้าใจคำว่า "หลักการประชาธิปไตย" กันจริงๆ หรือเปล่า ครับ?
น่าเศร้าใจ นะครับ

มันเหมือน "กฏหมายแนวคิดใหม่"
๑. เราจะจับคนร้ายให้มากขึ้น
๒. ผู้บริสุทธิ์ จะได้รับการคุ้มครองมากขึ้น
๓. กระบวนการ ยุติธรรม รวดเร็ว ขึ้น
๔. ฯลฯ
น่าตื่นเต้นนะครับ
มองให้เห็นแก่น
มันก็คือ กฏหมาย เดิมนั่นแหล่ะครับ
แต่ไปกำหนดที่วิธีการ
ใส่รายละเอียด ให้มากขึ้น
คิด ให้รอบคอบ ขึ้น
ไม่อย่างนั้น เราคงต้องบอกว่า เราได้ "กฏหมายแนวคิดใหม่" ทุกครั้งที่มีการ ออกกฏหมาย?

มี สติ กันหน่อย ครับ
มันไม่มีการเมืองใหม่ หรอกครับ
มันมีแต่
ประชาธิปไตย
ไม่ก็ เผด็จการ

มันมีแค่นั้น จริงๆ ครับ

ปล.๑
กรณีคุณ pom.com ถือว่าลงในรายละเอียดนะครับ คือเปลี่ยน แกนของการเลือกตั้งจาก พื้นที่ เป็น สายอาชีพ
ผมไม่มีปัญหานะครับ แนวคิดมีกันได้
การเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้นได้
แต่คงต้องคิดให้รอบคอบมากๆ เพราะการ บริหารประเทศ ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ
เราเห็นความผิดพลาด จาก o-net, a-net มาแล้วว่า
การเตรียมการไม่พร้อม การคิดไม่รอบคอบ สร้างความเสียหาย ขนาดไหน

แต่ แก่น มันจริงๆ คืออะไร
เลือกตั้ง หรือ แต่งตั้ง
เป็นประชาธิปไตยหรือ เป็น เผด็จการ
จับแก่นมันให้ชัด

แล้ว มันแก้ปัญหา อะไร?
และมันแก้ปัญหานั้นได้ จริงหรือไม่?

สุดท้าย ผมก็ยังไม่ถือว่า เป็นการเมืองใหม่ อยู่ดี
ถ้ายังเป็นประชาธิปไตย อยู่
มันก็คือ ประชาธิปไตย
แค่เปลี่ยนกฏหมายเลือกตั้ง

ก็เท่านั้นครับ

อย่าไปตั้งคำศัพท์ใหม่ ให้ต้องตีความกัน ให้วุ่นวายกันอีกเลยครับ
เราตั้งคำศัพท์ใหม่ จนประเทศชาติ วุ่นวายมากพอแล้ว ครับ

ปล.๒
วิเคราะห์กันให้ลึกๆครับ
คำว่า "การเมืองใหม่" เกิดขึ้น เพราะ พธม. พยายามจะ ฝัง เผด็จการ เข้ามาในกระบวนการ ประชาธิปไตย
เขาบอกว่า "เขาจะเอา เผด็จการ" ตรงๆไม่ได้
เขาก็เลยใช้ วิธีนี้

แนวคิดมันเผยออกมาแล้ว มองเห็นกันแล้ว น่าจะเข้าใจแล้ว


เลิกบ้ากับคำว่า "การเมืองใหม่" ได้แล้วครับ




 

Create Date : 27 กันยายน 2551    
Last Update : 27 กันยายน 2551 17:02:11 น.
Counter : 602 Pageviews.  

ทนไม่ไหวแล้วครับ

นักวิชาการ คณาจารย์ และผู้ทรงคุณวุฒิ
   จากบทสัมภาษณ์ ผ่านสื่อที่ออกมามากมาย ผมรู้สึกว่า กระแสส่วนใหญ่สำหรับการแก้ปัญหาในครั้งนี้ คือการให้นายกฯ ลาออก
เป็นทางแก้ จริงๆ หรือเปล่าครับ หรือแค่เป็นการปัดปัญหา ให้ออกไปให้พ้นๆ เฉยๆ (เหมือนกวาดบ้านเอาฝุ่นซุกไว้ใต้พรม)
จริงๆแล้วปัญหาคืออะไร
ประเด็นนี้ผมคงละไปก่อนเพราะจากที่สังเกตุ ปัญหามีความ ซับซ้อน และลึกซึ้งกว่าที่เห็นมาก
แล้วประเด็นที่เกี่ยวกับ นักวิชาการ และ คณาจารย์ คืออะไร
คือ บรรทัดฐานครับ
ขณะที่ พวกท่านทั้งหลาย เรียกร้องหา จรรยาบรรณ และ จริยธรรม จาก นักการเมือง
สิ่งที่ท่านทำอยู่นี้คือการยอมรับ การละเมิดกฏหมาย
ไม่มีการบอกให้จับกุม หรือประนามการกระทำอันละเมิดด้วยกฏหมาย แต่เร่งเร้าให้ผู้ดูแลกฏหมายรับผิดชอบและลาออก
การออกมาต่อต้านความรุนแรงนั้น ผมเห็นด้วย
แต่เมื่อความรุนแรงเกิดขึ้น กลับผลักดันน้ำหนักไปที่ผู้ดูแลกฏหมาย ละเลยผู้ก่อความรุนแรง (โดยส่วนตัวผมมองว่า ผิดทั้งสองฝ่ายแหล่ะ)
หลังจากนี้ เด็กนักเรียนตีกันไม่มีความผิดแล้วครับ เพราะทั้งสองฝ่ายต่างตีกันด้วยอุดมการณ์ทางการเมืองของตน
ฝ่ายที่ผิดคือ เจ้าหน้าที่บ้านเมือง ?
แล้วความถูกต้องมันอยู่ตรงไหนเล่าครับ ?
ประหนึ่งว่า โจรขึ้นบ้าน ก็เลยไล่ตำรวจออกจากหมู่บ้าน
แล้ว ตำรวจที่ไหน เขาอยากจะมาดูแลให้เล่าครับ ?
แล้วใครได้ประโยชน์เล่าครับ ?
ถึงตรงนี้คงมีคนออกมาตะโกนชี้หน้า กระผมว่า "คนเหล่านั้นไม่ใช่โจร แต่เป็นผู้เปี่ยมด้วยอุดมการณ์ทางการเมือง"
ผมไม่เถียงหรอกครับ ตราบใดที่เขาไม่ละเมิดกฏหมาย ทั้งบุกรุก ข่มขู่ และ ละเมิดสิทธิผู้อื่น
สิ่งเหล่านี้ นักวิชาการทั้งหลายดูเหมือนจะไม่มีใครกล่าวถึงประเด็นนี้สักเท่าไร และดูจะยอมรับให้เป็น บรรทักฐานของสังคม
ท่านต้องการให้เป็นเช่นนั้นจริงๆหรือครับ ?
แล้วเราจะเรียกร้องหา จริยธรรม และ จรรยาบรรณ กันทำไมเล่าครับ ในเมื่อ กฏหมาย ก็ไม่มีความหมายแล้ว
ทุกคนสามารถ ละเมิดผู้อื่นได้ ถ้าพวกมากพอ และ เสียงดังพอ!
ท่านกำลังปลูกฝังอะไรลงในสังคมนี้กันแน่ครับ?
วัฒนธรรม พวกพ้อง ?
วัฒนธรรม การใช้กำลัง ? (การข่มขู่คุกคาม เสียงดังเข้าใส่ พวกมากเข้าว่า ผมก็ถือเป็นการใช้กำลัง และ ความรุนแรงแล้วนะครับ)
จริยธรรมของสังคม จะอยู่ตรงไหนเล่าครับ ?
ประชาชนทุกคน สามารถ ถูกละเมิดได้ โดยประชาชนด้วยกัน เช่นนั้นหรือครับ ?
กรุณาไตร่ตรองให้ลึกซึ้ง กว้างขวาง และ คำนึงถึงอนาคต ด้วยนะครับ

ส่วนข้อสงสัยที่ว่า ฝ่ายหนึ่งที่ใช้ความรุนแรงเกิดจากน้ำมือของผู้รักษากฏหมายเอง หรือ ผู้ที่อยู่ในอำนาจ
เป็นไปได้ครับ แต่ ไม่ใช่ข้อสรุป
เราสรุปเรื่องราวต่างๆ จากสิ่งที่เรียกว่า ความรู้สึก ไม่ได้นะครับ
"คิดว่า" "รู้สึกว่า" "คาดว่า" เอามาสรุปไม่ได้นะครับ
กระบวนการสืบสวนต้องเกิดครับ ขั้นตอนการตรวจสอบตรงนี้ต่างหากที่ต้องให้ความสำคัญ
ไม่เช่นนั้น ปัญหานี้ไม่มีทางแก้ไขได้ครับ

และไม่ใช่การกดดัน หรือเร่งเร้า เพียงอย่างเดียว เพราะกระบวนการ จะไม่เกิดการพัฒนา ครับ
พยายามคิด และ วิเคราะห์ ให้ละเอียก จะดีกว่านะครับ

สื่อสารมวลชน
  กระผมพึ่งได้ยินการสอบถาม นายกฯ และ ผบทบ. ในกรณีประกาศ พรก. ฉุกเฉิน
หลังจากที่ สมาคมผู้สื่อข่าวต่างๆ ออกมาประนามคำพูดของท่าน นายกฯ ที่บอกให้สื่อเลือกข้าง (ไม่ว่า นายกฯ ท่านจะหมายความอย่างไรก็ตาม)
ผมพบว่า สื่อได้เลือกข้างไปเรียบร้อยตั้งนานแล้วครับ
ข้างที่อยู่ตรงกันข้ามกับท่าน นายกฯ นั่นเองครับ
อย่างไรหรือครับ
ดูจากคำถามที่มุ่งเน้นจะให้แสดงความรับผิดชอบ (โดยไม่มองถึงวิธีการอื่นๆแม้แต่น้อย ... ไม่ลังเลถึงทางเลือกใดๆเลย)
หรือที่ยิ่งแล้วใหญ่ คือถาม โดยมีคำด่าบุคคล ลงไปในคำถามด้วย
สื่อทำถูกต้องแล้วหรือครับ ?
แล้วอย่างนี้ จะสามารถ นำเสนอข่าวอย่างเป็นกลางได้อย่างไรครับ ?

สิ่งที่สะกิดใจผมอีกอย่างคือ การแถลงบนแท่นและให้สอบถามได้
ผู้ตอบ(ผู้แถลง) จะเป็นฝ่ายระบุว่าให้ผู้ใดถามก่อน
โดยส่วนใหญ่ ผู้ถามก็จะมีสิทธิ คนละ๑คำถาม และควรจะเวียนจนครบทุกสำนักข่าว
ผู้ถามจะระบุว่าตนเป็นใครมาจากสำนักข่าวไหน
กรณีที่เกิดขึ้น ผมไม่เห็นกระบวนการนี้เลยนะครับ
สื่อแย่งกันถาม โดยไม่รอ จะดีหรือครับ ?


หลักการ, หลักการ และ หลักการ
  มาถึงตรงนี้หลายๆท่านอาจจะมองว่า ผมมาเขียน เชียร์ รัฐบาล
ผมก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน
แต่สิ่งที่ผม อยากจะให้คนไทยทุกๆคนคำนึงถึงให้มากๆ คือ หลักการ ครับ
หลักการทางประชาธิปไตย
บุคคลทุกคนมีสิทธิ และ เสรีภาพโดยเท่าเทียมกัน ซึ่งผู้ใดจะละเมิดมิได้
ทุกคนอยู่ใต้ กฏหมาย (อันนี้ผมถือว่าให้ละ พรก. ฉุกเฉิน เอาไว้ก่อนก็ได้นะครับ หากท่านไม่เห็นชอบ)
ชัดเจนนะครับ
ปัญหาคือ ผมไม่ทราบว่าผู้ชุมนุม รู้หรือเปล่า ว่า เขากำลังละเมิดผู้อื่นอยู่
บางคนอาจจะบอกว่า สิ่งที่คุณกระทำอยู่นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญ ต่อประเทศชาติ เป็นอย่างยิ่ง
นั่นไม่ใช่เหตุผลที่ทำให้คุณสามารถละเมิดคนอื่นเขาได้นะครับ
เป็นสิทธิของเขาต่างหากครับ ว่าจะยอมให้คุณ ละเมิดหรือเปล่า
จะไปใช้กำลังบังคับขู่เข็ญเขาก็ไม่ได้นะครับ (แบบนั้น ไม่ใช่ม๊อบ ครับ แบบนั้นเรียก มาเฟีย)
สิ่งเหล่านี้จำเป็นจะต้องถูกระบุชี้ให้ชัดว่า อะไร เป็น อะไร ไม่อย่างนั้น เราจะอยู่กันอย่างไรครับ? ลูกหลานเราจะอยู่กันอย่างไรครับ ?
และการบุกรุก ปิดล้อม ข่มขู่ บังคับให้ออกจากพื้นที่ เป็นความผิดทางกฏหมายนะครับ
ทำไมไม่ใครพูดถึงประเด็นนี้กันเลยครับ ?
แล้วจะปล่อยให้เป็นที่ยอมรับกัน เช่นนั้นหรือย่างไรครับ ?
อย่างนี้ เป็นโจรกันดีกว่าไหมครับ ?
ผลกระทบ
ผมเชื่อว่า มาถึง ตรงนี้ หลายๆคนคงบอกว่า ผมคิดมาก จุกจิกจู้จี้ ลงรายละเอียดมากเกินไป
แต่ผมว่า รายละเอียดนั่นละครับ สำคัญที่สุด
เป้าหมายที่ดีงามถูกต้อง ไม่เคยประสบความสำเร็จ จากวิธีการ ผิดๆ ครับ
และวิธีการนั่นละครับ คือ รายละเอียด
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้น ย่อมส่งผลกระทบ อย่างแน่นอน ครับ เพราะ กระบวนการเรียนรู้ได้เกิดขึ้นแล้ว
และสิ่งที่ตามมา จะเป็น บรรทัดฐานของสังคม ในอนาคตครับ
ระยะสั้น
ผมเชื่อว่า ในระยะสั้น ผลเชิงสังคมจะยังไม่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนนะครับ
เราจะรู้สึกประหนึ่งว่า การแสดงออกภาคประชาชน ประสบความสำเร็จ อย่างงดงาม
โดยลืมไปว่า เรากำลังเหยียบย่ำ อยู่บนบรรทัดฐานเชิงจริยธรรมของสังคมอยู่
น่าหดหู่นะครับ
ระยะยาว
อันนี้สิครับ น่ากลัว
อย่างที่ผมบอกไว้ก่อนหน้า
เราจะเกิด วัฒนธรรม พวกพ้อง ที่เข้มแข็ง และ แข็งแกร่งอย่างมากเลยครับ เพราะวัฒนธรรมนี้จะมีศักยภาพถึงขั้น สามารถละเมิดกฏหมายได้
ปัจเจกชน จะหายไปจากประเทศไทย เพราะ อยู่ไม่ได้ครับ
เราจะเกิดวัฒนธรรมกร้าวร้าว เพราะเสียงดังกว่า รุนแรงกว่า จึงจะได้สิ่งที่ต้องการ
อันนี้ โดยส่วนตัว แนวโน้มนี้ มีมาเรื่อยๆอยู่แล้วนะครับ เพราะ มีแนวทางมาจากทางตะวันตก
จริงๆแล้วในแง่หนึ่งเป็นสิ่งที่ดีนะครับ ในแง่ของการทำธุรกิจ แต่ต้องใช้เหตุผลครับ เป็นความก้าวร้าว แต่ไม่ใช่ความรุนแรง ครับ
ก็ต้องประเมินกันไปครับว่า กรอบมันจะอยู่ตรงไหน
แต่ประเภท นายA กร้าวร้าว เลยต้องไล่ นายB ออก อันนี้ คงเป็นแนวทาง ทางสังคมที่แปลกๆอยู่สักหน่อยนะครับ
เหมือนเด็กนักเรียนตีกัน ไล่ ผอ.โรงเรียนออก การลงโทษเด็ก หรือ มาตรการ ป้องกันเล่าครับ ... ไล่ ผอ.ออก แก้ปัญหาได้จริงหรือครับ
เราจะเกิด วัฒนธรรม เห็นแก่ตัวที่ รุนแรง ขึ้น
เพราะเราปลูกฝังว่า ความเห็นของเรา ถูกต้องที่สุด ความเห็นคนอื่นผิดหมด (ก่อนจะวนกลับไปที่ วัฒนธรรมพวกพ้อง เพื่อหาพวกต่อไป)

น่ากลัวมากๆเลยนะครับ

สรุป
  ผมไม่สนใจหรอกครับว่า นายกฯ จะแก้ปัญหาความขัดแย้งที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ขณะนี้ได้อย่างไร
ที่ผมเป็นห่วงคือ พวกเราทุกคน ทั้งนักวิชาการ ทั้งคณาจารย์ ทั้งสื่อ กำลังสร้าง บรรทัดฐานอะไรขึ้นในสังคมนี้
ผมอยากให้ทุกๆท่าน ตรึกตรองให้จงหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลกระทบ ต่อ อนาคต ของสังคม ของประเทศ นี้
ถ้าผมแค่คิดมากไปเองก็ดีไป
แต่จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ลักษณะทางสังคม เกิดจากการเรียนรู้ของ มวลชน นะครับ
เช่นเดียวกับการเข้าแถวซื้ออาหาร
เมื่อมีคนบางกลุ่ม ไม่อยู่ในแถว แซงแถว แล้วได้รับบริการเช่นกัน
คนก็จะเริ่มไม่อยู่ในแถว
เช่นเดียวกัน
เมื่อคน สามารถ ละเมิดกฏหมายได้ ... แล้วจะปฏิบัติ ตามกฏหมาย ทำไมเล่าครับ
...
การเรียนรู้ของ สังคม ได้เกิดขึ้นแล้วนะครับ
พวกท่านอยากให้ สังคม นี้ เป็นเช่นนี้ จริงๆหรือครับ




 

Create Date : 06 กันยายน 2551    
Last Update : 6 กันยายน 2551 12:44:47 น.
Counter : 372 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  

ยังอยากเป็นคนไทยอยู่
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add ยังอยากเป็นคนไทยอยู่'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.