Group Blog
 
All Blogs
 
vote no ได้อะไร? debate ได้อะไร? และ เหตุแห่งการ "ไม่" debate (ขำขำ ... มั้ง)

vote no
จากข้อกฎหมาย
จะมีผลเฉพาะกรณีผู้สมัครเพียงคนเดียวในเขตเลือกตั้ง (หรือจำนวนคนไม่ครบในเขตเลือกตั้งนั้นๆ)
สรุปคือ "ไม่มีผลใดๆทางกฎหมาย" หากมีการส่งผู้สมัครลงครบถ้วนในเขตนั้นๆ

แล้ว vote no ได้อะไร?
สรุปคือ ไม่ได้อะไรเลย!
เพราะถ้าไม่เข้าเงื่อนไขของกฎหมาย
คนที่ได้คะแนนเสียงมาก (แม้จะน้อยกว่า เสียง vote no) ก็ยังได้รับเลือกอยู่ดี

ทางที่ดี ถ้าจะใช้ vote no ต้องแก้กฎหมายเลือกตั้ง ก่อนครับ

//th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81


-------------------------
debate ได้อะไร?
อันนี้ น่าสนใจ
โดยส่วนตัว debate น่าจะดี(น่าสนุก)
แต่วันก่อนฟังรายการหนึ่ง(รายการอะไร จำไม่ได้)
บอกว่า ที่ประเทศอื่น debate กัน (เช่นอเมริกา) เพราะเขาเลือกตั้ง ประธานาธิบดี ซึ่งเป็นคนเข้ามา จัดการด้านบริหาร โดยเบ็ดเสร็จ
คือ ถือ นโยบาย ชัดเจน และ มีอำนาจสั่งการชัดเจน

แต่บ้านเรา เป็นลักษณะ สส. ไปเลือกนายก
แถม ยังมีกรณีพรรคร่วม
พูดง่ายๆคือ อำนาจกุมนโยบาย เบ็ดเสร็จ ชัดเจน มันไม่มี
คือ debate เสร็จ สุดท้ายเข้าไปจัดตั้งรัฐบาล เงื่อนไขเปลี่ยน
debate ไป ก็หมดความหมายอยู่ดี
เพราะสุดท้ายใน จะขึ้นอยู่กับความสามารถในการจัดตั้งรัฐบาล และ พรรคร่วม เพราะ นโยบายของพรรคร่วมก็ต้องถูกดึงเข้ามาอยู่ดี

นอกจากจะได้เสียงข้างมากในการจัดตั้งรัฐบาล เบ็ดเสร็จ เด็ดขาด
หรือ เมื่อ แยก party list ให้เป็น การเลือก คณะบริหารชัดเจน เป็น winner take all
ซึ่งตอนนี้ ข้อกฎหมายมันยังไม่ใช่เช่นนั้นอยู่ดี

แต่โดยส่วนตัว debate ก็ได้นะครับ
น่าจะสนุกดี
ที่สำคัญคือ สื่อ คนที่คุมงาน และ ผู้ตั้งคำถาม
ว่ามีลักษณะเอนเอียงไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งหรือไม่?
ถ้าไม่
นี่อาจจะเป็นการทดสอบ "แรงเสียดทาน" ได้ดีพอสมควร

อีกรายนั่น "แรงเสียดทาน" ไม่มีผลใดๆอยู่แล้ว
หนัง หนา ออกปานนั้น

.....

ชื่อตัวเอง แปลว่าอะไร ยังไม่รู้?
แปลผิดเอง โวยวายกลาง สภา ว่าคนอื่นแปลผิด

ตนเองถือสัญชาติอะไร ยังไม่รู้เลย?

หน้าที่ตัวเองคืออะไรยังไม่รู้?
(กระบวนการขาย เป็นหน้าที่ของผู้ซื้อกะผู้ขาย นี่ดันไปแนะนำวิธีขาย)
(บอก ว่าชอบแก้ปัญหา ลงไปพื้นที่ประสบภัย แต่ไม่มีนโยบายการแก้ปัญหา หรือ แนวทางการแก้ปัญหา หรือการเร่งรัดการช่วยเหลือใดๆทั้งสิ้น ... ไม่รู้ลงไปหา...อะไร หรือลงไป แค่เพราะมีคนถามว่าทำไมถึงไม่ลงไป??? หน้าที่ฝ่ายบริหารน่ะ รู้ไหม???)

ปัญหาอยู่ตรงไหนก็ไม่รู้?(แล้วจะแก้ปัญหาได้อย่างไร?)
ออกมาบอกว่า ค่าครองชีพสูง แต่ดันแก้ปัญหาโดยการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ
ไม่รู้ว่า ค่าแรงขั้นต่ำ ก็คือต้นทุนของค่าครองชีพ ที่จะทำให้ ราคาสินค้าสูงขึ้น
(สุดยอดความคิด)
ตัวเองสร้างปัญหาขึ้นมาเองแท้ๆ ยังไม่รู้ตัวเลย
(ทั้งน้ำมันปาล์ม, น้ำมันถั่วเหลือง และ ค่าครองชีพ)

แล้ว สะเหร่อจะท้าเขา debate

ผมว่าคนอื่นที่เขาไม่รับ debate ด้วย เพราะเขารำคาญความโง่ ของคุณต่างหาก


Create Date : 31 พฤษภาคม 2554
Last Update : 31 พฤษภาคม 2554 10:14:47 น. 3 comments
Counter : 504 Pageviews.

 
ช่วงนี้จะเลือกใครเป็นรัฐบาลนี่เลือกยากอยู่ แต่ฝ่ายค้านเราเลือกไว้แล้ว


โดย: โดดเดี่ยวใต้แสงจันทร์ วันที่: 31 พฤษภาคม 2554 เวลา:10:33:52 น.  

 
VOTE NO
ตัดจาก ลิ้งค์ที่คุณให้ไว้ที่กระทู้ราชดำเนิน //www.siamintelligence.com/vote-no-and-legal-consequence/
เผื่อว่าคุณไม่ทันได้อ่าน

โสภณ เอี่ยมสกุล
01/07/2011 at 0:49
“ภายใต้บังคับ” ภาษาไทยชัดๆ ไงมาตีความเป็นงี้ได้ ..ตีความแบบตะแบงๆ ยังไงไม่รู้
…ก็ภายใต้บังคับ มันก็น่าจะเป็นข้อบังคับ แล้วจะมาตีความว่า เป็นข้อยกเว้น ได้ไง
ไม่งั้นแล้ว ก็ไม่จำเป็น ใส่ข้อความนี้ เข้าไปใน มาตรา 89 จากที่คุณ วีรพัฒน์ ชี้แจงมา

ผมว่ามันไม่เป็นเหตุเป็นผลเลย ..ที่บอกว่า” นัยทางกฎหมายของ “ภายใต้บังคับ” นั้นเป็นการแสดงถึงข้อยกเว้นครับ
ผู้ร่างกำกับคำว่า “ภายใต้บังคับ” ไว้เพื่อให้ผู้ใช้กฎหมายไม่ลืมว่า แม้กรณีทั่วไปตามมาตรา 89 การเลือกตั้งย่อมมีผู้สมัครมากกว่า 1 คน
แต่ก็มีข้อยกเว้นคือ หากมีผู้สมัครคนเดียว ก็ต้องว่าไปตามมาตรา 88 ครับ นี่คือหลักการใช้คำว่า “ภายใต้บังคับ” ครับ.”


… เพราะยังไง มาตรา 88 และ 89 เป็นคนละเหตุการณ์ คนละกรณีกัน ตามที่คุณ วีรพัฒน์ บอก..
ดังนั้นเจตนารมณ์ของกฏหมาย ที่นำข้อบังคับ ในมาตรา 88 มาอ้างในมาตรา 89 และใช้ว่า “ภายใต้บังคับ”
มันก็ชัดเจน ตามหลักภาษาศาสตร์ว่า ต้องการ นำข้อบังคับ ในมาตรา 88 มาบังคับใช้ใน มาตรา 89 ด้วย
ถ้า จะนำมาใช้เป็นข้อยกเว้น ก็มิจำเป็นต้องกล่าวถึงหรอกครับ

ส่วนที่บอกมาว่า ผู้ร่าง ใส่ไว้ เพื่อให้ผู้ใช้ ไม่ลืม ..ฯลฯ มันเป็นคำอธิบายที่ตลกมากครับ
.. เพราะ เมื่อเป็นกรณี มาตรา 88 ก็ปฎิบัติ ตาม 88ไป และเมื่อเป็น กรณีตาม มาตรา89 ก็ปฏิบัติ ตาม89 ไป มันก็จบครับ
แต่เมื่อเอา 88 มาใส่ไว้ใน 89 แล้วกำกับด้วยคำว่า “ภายใต้บังคับ” ยังจะให้มองว่า เป็นข้อยกเว้น หรือครับ


….ส่วนกรณียกตัวอย่างเทียบเคียง มาตรา 81 และ 85 ผมว่ามันคนละเรื่อง คนละบริบทกันครับ
เพราะ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ตามมาตรา 81 และ 85 สามารถเกิดขึ้นได้ ในหน่วยเลือกตั้งเดียวกัน แต่คนละเวลา
ซึ่งไม่อาจรู้ล่วงหน้า ว่าจะเกิดเหตุการณ์ ตามมาตรา 85 และผู้ร่าง ก็ร่างไว้ เพื่อ เป็นทางออกต่อผู้ปฏิบัติ(ผู้ใช้)กรณีที่เกิดเหตุการณ์ตามมาตรา 85ขึ้น
จึงเป็นความจำเป็นที่ต้องใส่เอาไว้เพื่อเป็นทางออกดังกล่าว ..ไม่ใช่ใส่ไว้เพื่อ กันลืม เหมือน 88 และ 89

ซึ่งถ้าตีความอย่างที่ คุณ วีรพัฒน์ บอก ก็แปลว่าจะไม่ใส่ 88 ไว้ใน 89 ก็ได้(ถ้าแค่ไว้เตือนกันลืม)
เพราะใส่ไว้แล้วก็จะยุ่ง ต้องมาเถียงกัน มาตีความกันอย่างที่เป็นนี้แหละ

..และผมทราบมาว่า บทบัญญัติของกฎหมายเลือกตั้งฉบับเดียวกันนี้ ในสมัยเลือกตั้งก่อน มิได้มี วลีนี้ ในมาตรา89
เพิ่งจะมาเติม วลีนี้ใน มาตรา89 ในสมัยเลือกตั้งนี้ ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า เจตนารมณ์ของผู้ร่าง (ไม่แน่ใจว่าเป็น คุณ มีชัย ฤชุพันธ์ หรือเปล่า)
ต้องการให้ เอามาตรา 88 มาบังคับใช้ ใน89ด้วย อย่าชัดแจ้ง ไม่น่าเป็นอย่างอื่นไปได้…

… อย่างไรก็ตาม ผมว่า คะแนน Vote No คงไม่มากพอที่จะทำให้ต้องนำ มาตรา88 และ 89 มาตีความหรือฟ้องร้อง
กันหรอกครับ แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ Vote No มาแรง และมีการฟ้องร้องกันด้วยเรื่องนี้ ผมว่า แพ้พวก Vote No แน่ครับ
ประเทศนี้ ก็ได้สนุก กันต่อละครับพี่น้อง….???

//www.facebook.com/profile.php?id=100002132362357

ตั้ม พิจิตร
01/07/2011 at 2:11
ผมขอสนับสนุนคุณอนุรักษ์ คุณทรงยศ *****ไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของผู้ที่มีสิทธิในเขตนั้น***
หรือ***ไม่น้อยกว่าไม่ประสงค์ลงคะแนน(โหวดโน) ในกรณีที่มีผู้สมัครคนเดียว *****

ส่วนถ้ามีผู้สมัครมากก่วาจำนวน สส ในเขตนั้นพึงจะมี ให้ใช้ คนที่มีคะแนนสูงสุด ****
ไม่ต้องมาตีความหาพระแสงอะไรอีกแล้ว เจตนาของกฏหมาย คือ
ผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดคือไม่น้อยก่วาโหวโน อยู่แล้วถ้าน้อยกว่าโหวดโนจะเรียกว่าได้คะแนนสูงสุดได้ไง
ที่ไม่ได้เขียนไว้ให้ละเอียดไม่น่าจะเป็นขัอผิดพลาด น่าจะเป็นที่เข้าใจกันได้ว่าผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดก็ครอบคุมทุกอย่างแล้ว
คงไม่คิดว่าจะมาเป็นรูโหว่ ให้ *ตีความ*เพื่อหาผลประโยชน์ หรือช่วยพวกพ้องตัวเอง

ผมจะตั้งโจทย์การได้เป็น สส
ข้อ2.มีผู้สมัครคนเดียว ผู้มีสิทธ100คน หมายเลข1ได้21คะแนน โหวดโน20คะแนน
หมายเลข1 ก็ได้เป็น สส เพราะได้ ไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบหรือไม่น้อยกว่าโหวดโน

และต่อไปนี้ผมจะตั้งโจทย์ให้คิดและตีความว่าสมควรจะได้เป็น สส หรือไม่
ข้อ1.ผู้สมัคร2คน ผู้มีสิทธิ100คน เบอร์1ได้25คะแนน เบอร์2ได้20คะแนน โหวโน29คะแนน ถามว่าเบอร์1ได้คะแนนสูงสุดหรือไม่ และสมควรจะได้เป็น สส หรือไม่
ข้อ2.ผู้สมัครคนเดียว ผู้มีสิทธิ100คน เบอร์1ได้ 25คะแนน โหวดโนได้29คะแนน เบอร์1ได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบหรือไม่น้อยกว่าโหวดโน
ผมว่าไม่ต้องให้นักกฏหมาย**ตีความหรอก ให้ตาสี ตาสาตีความน่าจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติมากกว่า

ปปปป ลลลล .... ผมตัดบางส่วนของคุณตั้มออก เพื่อไม่ให้แรงwx
....... เมื่อฟ้องร้อง ผู้ตัดสิน เป็นศาล เป็นผู้พิพากษา ไม่ใช่อาจารย์ นักวิชาการหรือทนาย
........ ควรเข้าไปดูเจตนาของการเพิ่มข้อความ “ภายใต้บังคับ” ไปใส่ไว้ในมาตรา89 ในสมัยเลือกตั้งนี้ด้วย
......... ผมเห็นด้วยกับ .>> ประเทศนี้ ก็ได้สนุก กันต่อละครับพี่น้อง….??? 55555


โดย: P2wichai วันที่: 3 กรกฎาคม 2554 เวลา:0:21:01 น.  

 


โดย: สมภพ เจ้าเก่า วันที่: 8 กรกฎาคม 2554 เวลา:15:27:07 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ยังอยากเป็นคนไทยอยู่
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add ยังอยากเป็นคนไทยอยู่'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.