Buddha Followers
Group Blog
 
All Blogs
 

หยุดทำร้ายประเทศไทย หยุดให้เงินและทองแก่พระภิกษุสงฆ์






Free TextEditor




 

Create Date : 08 กรกฎาคม 2552    
Last Update : 8 กรกฎาคม 2552 21:25:19 น.
Counter : 420 Pageviews.  

รักษาศีลไม่ถึงครึ่งวัน...ไปสวรรค์ (อัตตมาณวกวิมาน)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 445

อรรถกถาอัตตมาณวกวิมาน
         ฉัตตมาณวกวิมาน  มีคาถาว่า  โย  วทตํ  ปวโร  มนุเชสุ   เป็นต้น.
ฉัตตมาณวกวิมาณเกิดขึ้นอย่างไร  ?
         พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่  ณ  พระวิหารเชตวัน     กรุงสาวัตถี
สมัยนั้น  มีมาณพพราหมณ์ชื่อฉัตตะ เป็นบุตรที่ได้มาโดยยาก   ของพราหมณ์
คนหนึ่ง  ในเสตัพยนคร    มาณพนั้นเจริญวัยแล้ว  บิดาส่งไปอุกกัฏฐนคร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 446

เรียนมนต์และฐานวิชาทั้งหลายในสำนักของพราหมณ์ชื่อโปกขรสาติ    ไม่
นานนักก็สำเร็จการศึกษาในศิลปพราหมณ์   เพราะเป็นคนมีปัญญาและไม่
เกียจคร้าน    เขากล่าวกะอาจารย์ว่า    กระผมศึกษาศิลปะในสำนักของท่าน
อาจารย์แล้ว กระผมจะให้ทักษิณาค่าบูชาครูแก่ท่านอาจารย์อย่างไร อาจารย์
กล่าวว่า    ธรรมดาทักษิณาค่าบูชาครู    ต้องพอเหมาะแก่ทรัพย์สมบัติของ
อันเตวาสิก  เธอจงนำกหาปณะมาพันหนึ่ง   ฉัตตมาณพกราบอาจารย์กลับ
ไปเสตัพยนคร  ไหว้บิดามารดา  บิดามารดาก็ชื่นชมยินดีกระทำปฏิสันถาร
ต้อนรับ   เขาบอกความนั้นแก่บิดา   กล่าวว่า   โปรดให้ของที่ควรจะให้แก่
ฉันเถิด     ฉันจักให้ค่าบูชาครูในวันนี้แหละแล้วจักกลับมา     บิดามารดา
กล่าวกะเขาว่า   ลูก   วันนี้ค่ำแล้ว  พรุ่งนี้ค่อยไป แล้วนำกหาปณะทั้งหลาย
ออกมาผูกเป็นห่อแล้ววางไว้.
         พวกโจรรู้เรื่องนั้น  แอบอยู่ในป่าชัฏแห่งหนึ่ง   ในทางที่ฉัตตมาณพ
จะไป   ด้วยคิดว่า   จักฆ่ามาณพแล้วชิงเอากหาปณะทั้งหลายเสีย.
         เวลาใกล้รุ่ง       พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากมหากรุณาสมาบัติ
ทรงตรวจดูโลกอยู่    ทรงเห็นว่า   ฉัตตมาณพจะดำรงอยู่ในสรณะและศีล
เขาจักถูกพวกโจรฆ่าตายไปบังเกิดในเทวโลก
     มาจากเทวโลกกับวิมาน
และบริษัทที่ประชุมกันในที่นั้นจะตรัสรู้ธรรม   จึงเสด็จไปก่อนประทับนั่ง
ณ โคนค้นไม้แห่งหนึ่ง  ในทางเดินของมาณพ  มาณพถือเอาทรัพย์ค่าบูชา
อาจารย์  ไปจากเสตัพยนคร   มุ่งหน้าไปอุกกัฏฐนคร    เห็นพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าประทับนั่งอยู่ในระหว่างทาง     จึงเข้าไปเฝ้ายืนอยู่     พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสว่า     เธอจักไปไหน     กราบทูลว่า      ข้าแต่ท่านพระโคดม
ข้าพระองค์จักไปอุกกัฏฐนคร  เพื่อให้ทักษิณาค่าบูชาครู    แก่โปกขรสาติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 447

พราหมณ์ผู้เป็นอาจารย์ของข้าพระองค์  ครั้งนั้น   พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ว่า  มาณพ   เธอรู้สรณะ  ๓  และศีล  ๕  หรือ      เมื่อมาณพกราบทูลว่า
ข้าพระองค์ไม่รู้สรณะ  ๓  และศีล  ๕   เหล่านั้นว่ามีและเป็นเช่นไร    ทรง
ประกาศผลานิสงส์ของการถึงสรณะและการสมาทานศีล ๕  ว่า  นี้เป็นเช่นนี้
แล้วตรัสว่า  มาณพ   เธอจงเรียนวิธีถึงสรณะก่อน    มาณพทูลขอว่า   สาธุ
ข้าพระองค์จักเรียน   ขอพระองค์โปรดตรัสบอกเถิด   พระเจ้าข้า   เมื่อทรง
แสดงวิธีถึงสรณะโดยประพันธ์เป็นคาถา  สมควรแก่อัธยาศัยของมาณพนั้น
ได้ตรัสคาถา  ๓  คาถาว่า
                                บรรดาผู้กล่าวสอนอยู่   [ ศาสดา ]   ผู้ใดเป็นผู้
                   ประเสริฐในมนุษย์  เป็นศากยมุนี   เป็นภควา  ผู้ทำกิจ
                     เสร็จแล้ว   ถึงฝั่งแล้ว   พรั่งพร้อมด้วยพละและวิริยะ
                    เธอจงเข้าถึงผู้นั้น   ผู้เป็นสุคต  เป็นสรณะ   เธอจงเข้า
                    ถึงพระธรรมที่สำรอกราคะ   ไม่หวั่นไหว  ไม่เศร้าโศก
                   เป็นอสังขตธรรม ไม่ปฏิกูล   ไพเราะ  ซื่อตรง  จำแนก
                   ไว้ดีนี้   เป็นสรณะ   บัณฑิตทั้งหลายกล่าวทานที่ถวาย
                   ในท่านเหล่าใดว่ามีผลมาก  ท่านเหล่านั้น  คือ  อริย-
                    บุคคลสี่คู่   เป็นบุคคลแปด  ผู้แสดงธรรม  เธอจงเข้า
                  ถึงพระสงฆ์นี้  เป็นสรณะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 450

         เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวิธีถึงสรณะพร้อมด้วยทรงชี้คุณของสรณะ
ด้วยคาถา  ๓  คาถาอย่างนี้แล้ว    มาณพเมื่อจะประกาศวิธีถึงสรณะตั้งอยู่ใน
หทัยของตน     โดยมุขคือระลึกถึงคุณของสรณะนั้น ๆ    ขึงน้อมรับคาถา
นั้น ๆ   โดยนัยเป็นต้นว่า  โย   วทตํ  ปวโร   ในลำดับแห่งคาถานั้น  ๆ
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศสิกขาบท  ๕  ทั้งโดยปฐมทั้งโดยผลานิสงส์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 451

ได้ตรัสวิธีสมาทานสิกขาบทเหล่านั้น      แก่มาณพผู้น้อมรับอย่างนี้แล้ว
มาณพนั้นทบทวนแม้วิธีสมาทานนั้นด้วยดี     มีใจเลื่อมใส     กราบทูลว่า
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า  ข้าพระองค์จักไปละ  แล้วระลึกคุณพระรัตนตรัย
เดินไปตามทางนั้นเอง     แม้พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระพุทธดำริว่า    กุศล
เพียงเท่านี้ของมาณพนี้    พอที่จะให้เกิดในเทวโลก   
แล้วได้เสด็จไปพระ-
วิหารเชตวันอย่างเดิม.
         เมื่อมาณพมีจิตเลื่อมใส     ตั้งอยู่ในสรณะทั้งหลายด้วยความเป็นผู้มี
จิตตุปบาทเป็นไปว่า  ข้าพเจ้าเข้าถึงสรณะ    ดังนี้    โดยกำหนดคุณพระ-
รัตนตรัย และทิ้งอยู่ในศีลทั้งหลาย  ด้วยอธิฐานศีล  ๕  ตามนัยที่พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสไว้นั้นแล  กำลังเดินระลึกถึงคุณพระรัตนตรัยตามนัยนั่นแล
พวกโจรก็กรูกันมาที่หนทาง  มาณพไม่ใส่ใจพวกโจรเหล่านั้น   เดินระลึก
ถึงคุณพระรัตนตรัยอย่างเดียว  โจรคนหนึ่งยืนซ่อนในระหว่างพุ่มไม้  เอา
ลูกธนูอาบยาพิษแทงอย่างฉับพลัน  ทำให้เขาสิ้นชีวิต 
  แล้วยึดห่อกหาปณะ
หลีกไปพร้อมกับพวกสหายของตน    ฝ่ายมาณพทำกาละแล้วตายไปบังเกิด
ในวิมานทอง ๓๐  โยชน์    ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์   เป็นเหมือนหลับแล้ว
ตื่นขึ้น    มีอัปสรพันหนึ่งแวดล้อม     มีอัตภาพประดับด้วยเครื่องประดับ
มีภาระ  ๖๐  เล่มเกวียน  รัศมีของวิมานนั้นแผ่ไปกว่า  ๒๐  โยชน์.





Free TextEditor




 

Create Date : 06 กรกฎาคม 2552    
Last Update : 6 กรกฎาคม 2552 21:11:30 น.
Counter : 367 Pageviews.  

ประเภทของการวิรัติศีล

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 558

                                   แก้กุศลกรรมบถ 
        พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า     ปาณาติปาตา   เวรมณี    กุสลํ  (เจตนา
งดเว้นจากปาณาติบาตเป็นกุศล)   เป็นต้น    ดังต่อไปนี้    อกุศลกรรมบถ
ทั้งหลาย  มีปาณาติบาตเป็นต้น  มีอรรถาธิบายดังที่ข้าพเจ้าได้กล่าวมาแล้ว
นั้นแหละ.
        เจตนาชื่อว่า     เวรมณี    เพราะย่ำยีเวร    อธิบายว่า     ละเวรได้
อีกอย่างหนึ่ง  บุคคลเว้น จากเวรได้เพราะเจตนานี้เป็นเหตุ   เพราะเหตุนั้น
เจตนานั้น  จึงชื่อว่า  เวรมณี โดยเปลี่ยน วิ  อักษร  ให้เป็น  เว   อักษร ไป
นี้เป็นการขยายความในคำว่า  เวรมณี  นี้    โดยพยัญชนะก่อน    ส่วนการ
ขยายความโดยอรรถ  (ความหมาย) พึงทราบว่า  วิรัติที่สัมปยุตด้วยกุศลจิต
ชื่อว่าเวรมณี.    วิรัติของผู้เว้นจากปาณาติบาตที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า    การงด
การเว้นจากปาณาติบาต      ในสมัยนั้น    ดังนี้   ชื่อว่าเป็นวิรัติที่สัมปยุตด้วย
กุศลจิต.
                                   แก้วิรัติ  ๓
        วิรัตินั้นแยกประเภทออกเป็น  ๓  อย่าง  คือ 
สัมปัตตวิรัติ  ๑ 
สมาทานวิรัติ ๑ 
สมุจเฉทวิรัติ  ๑.
  ในจำนวนวิรัติทั้ง ๓ นั้น   
วิรัติที่เกิดขึ้นแก่ผู้ไม่ได้สมาทานสิกขาบททั้งหลาย  (มาก่อน)  แต่ได้
พิจารณาถึงชาติ  วัยและการคงแก่เรียนเป็นต้นของตนแล้ว     เห็นว่า   ไม่เหมาะแก่เรา     
การทำอย่างนี้   แล้วไม่ล่วงเกินสิ่งที่เผชิญเข้า   พึงทราบว่า   เป็นสัมปัตตวิรัติ

เหมือนวิรัติของจักกนะอุบาสกในสีหลทวีป 

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 559

                          นิทานประกอบสัมปัตตวิรัติ
        ได้ทราบว่า   ในเวลาเขายังหนุ่มอยู่นั้นแหละ  มารดาของเขาเกิดโรค
และหมอบอกว่า ควรจะได้เนื้อกระต่ายสด ๆ (มาประกอบยา). ลำดับนั้น
พี่ชายของจักกนะสั่งว่า    ไปเถอะเจ้าจงไปนา    แล้วส่งจักกนะไป.   เขาก็
ได้ไปที่นานั้น.  และเวลานั้นมีกระต่ายตัวหนึ่งมาเล็มหญ้าอ่อนอยู่.  มันเห็น
เขาแล้วรีบวิ่งหนีไป     แต่ไปข้องเถาวัลย์    จึงส่งเสียงร้อง   แกร่ก   แกร่ก
( กริ  กริ)  ขึ้น.    จักกนะตามเสียงนั้นไป    จับกระต่ายไว้ได้    ตั้งใจว่า
จะเอามาทำยาให้แม่   แต่ก็ฉุกคิดขึ้นมาว่าไม่เป็นการสมควรสำหรับเขาที่จะ
ทำลายชีวิตสัตว์อื่นแลกชีวิตแม่ของเรา
.     จึงพูดว่า  ไปเถิดเจ้าไปกินหญ้า
กินน้ำร่วมกับกระต่ายทั้งหลายในป่าเถิดแล้วปล่อยมันไป       และเมื่อกลับ
ถึงบ้าน  เขาถูกพี่ชายถามว่า  เป็นอย่างไรน้อง  ได้กระต่ายไหม ?  จึงได้
บอกความเป็นไปนั้นให้ทราบ.   บัดนั้น  พี่ชายก็ได้บริภาษเขา.  เขาเข้าไป
หาแม่แล้ว      ได้ยืนตั้งสัตยาธิษฐานว่า      ข้าพเจ้าตั้งแต่เกิดมาจำความได้
ไม่เคยจงใจฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเลย.   ทันใดนั้น   แม่ของเขาได้หายจากโรค.

แต่วิรัติที่เกิดขึ้นแก่ผู้สมาทานสิกขาบทมาแล้ว      ถึงจะสละชีพ
ของตน    ในเวลาสมาทานสิกขาบทและเวลาถัดจากนั้นไป    ก็ไม่ล่วงเกิน
วัตถุ  พึงทราบว่า  เป็นสมาทานวิรัติ 
 เหมือนวิรัติของอุบาสก   ชาวเขา
อุตรวัฑฒมานะ.
                                 นิทานประกอบสมาทานวิรัติ
        ได้ทราบว่า    อุบาสกนั้นรับสิกขาบทในสำนักของท่านปิงคลพุทธ-
รักขิตเถระชาวอัมพริยวิหารแล้วไปไถนา.     ต่อมา     โคของเขาหายไป.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 560

เขาเมื่อตามหามัน   ได้ขึ้นภูเขาอุตรวัฑฒมานะ. งูใหญ่ได้รัดเขาอยู่บนภูเขา 
นั้น.  เขาคิดว่า  จะเอามีดที่คมนี้ตัดหัวมัน  แต่ก็ยังคิดอีกว่า  การที่สมาทาน
สิกขาบทในสำนักของครูผู้น่านับถือแล้ว    ทำลายเสียไม่สมควรเลย.  ครั้น
คิดอย่างนี้ถึง ๓ ครั้งแล้วก็ตัดสินใจว่า เราจะสละชีวิต ไม่ยอมสละสิกขาบท
(ศีล)  แล้ว    ได้ขว้างมีดโต้เล่มที่แบกมาอยู่บนบ่าเข้าป่าไป.    ทันใดนั้น
งูใหญ่ก็ได้คลายตัวออกแล้วเลื้อยไป.
                      แก้สมุจเฉทวิรัติ  และกุศลกรรมบท
          ส่วนวิรัติที่สัมปยุตด้วยอริยมรรคพึงทราบว่า  เป็นสมุจเฉทวิรัติ  ซึ่ง
จำเดิมแต่เกิดแล้ว      พระอริยบุคคลทั้งหลายไม่เคยแม้แต่จะเกิดความคิดว่า
เราจักฆ่าสัตว์มีชีวิต  ดังนี้
.    แต่วิรัตินี้นั้นท่านเรียกว่า  กุศล  เพราะเป็น
ไปแล้วด้วยความฉลาด.      อีกอย่างหนึ่งท่านเรียกว่า  กุศล  เพราะตัดซึ่ง
ความทุศีล  ที่ได้โวหารว่า  กุศะ   เพราะเป็นที่หมักหมมความชั่วร้ายบ้าง.
แต่ไม่ได้เรียกว่ากุศล    เพราะไม่เหมาะสมกับปัญหานี้ว่า   คุณ   กุศลเป็น
อย่างไร ?
                        วินิจฉัยโดยอาการ  ๕  อย่าง
          อนึ่ง  กุศลกรรมบถแม้เหล่านี้   ก็ควรทราบวินิจฉัยโดยอาการ  ๕
อย่าง    คือ 

โดยธรรม ( ธมฺมโต )  ๑   
โดยโกฏฐาส (โกฏฺฐาสโต)   ๑
โดยอารมณ์  (อารมฺมณโต)  ๑   
โดยเวทนา (เวทนาโต) ๑   
โดยเค้ามูล(มูลโต)  ๑ 

เหมือนกับอกุศลกรรมบถทั้งหลาย.

๑.  ปาฐะว่า  กุจฺฉิตสฺส  สลนโต  วา  กุสลนฺติ..  ฉบับพม่าเป็น  กุจฺฉิตสยฺโต  วา  กุสนฺติ..  จึง
ได้แปลตามฉบับพม่า  เพราะเห็นว่าได้ความดีว่า.




Free TextEditor




 

Create Date : 06 กรกฎาคม 2552    
Last Update : 6 กรกฎาคม 2552 20:54:39 น.
Counter : 588 Pageviews.  

พึ่งศีลดีกว่าพึ่งเทวดา (สัพภิสูตร)

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 153

                           อรรถกถาสัพภิสูตร
         พึงทราบวินิจฉัยในสัพภิสูตรที่  ๑ แห่งสตุลลปกายิกวรรคที่  ๔  ต่อไป :-
         บทว่า  สตุลฺลปกายิกา   มีวิเคราะห์ว่า    เทวดาทั้งหลาย    ที่ชื่อว่า
สตุลลปกายิกา        เพราะยกย่องด้วยอำนาจแห่งการสมาทานธรรมของสัตบุรุษ
แล้วบังเกิดขึ้นในสวรรค์.   ในข้อนั้น  มีเรื่องดังต่อไปนี้
                        เรื่องผู้เทิดทูนธรรมสัตบุรุษ
         ได้ยินว่า    ชนจำนวนมากด้วยกันได้ทำการค้าทางทะเล    ใช้เรือแล่น
ไปสู่ทะเล.  เมื่อเรือแห่งชนเหล่านั้นไปอยู่โดยเร็วปานลูกธนูอันบุคคลซัดไปแล้ว
ในวันที่  ๗  จึงเกิดเหตุร้ายใหญ่ในท่ามกลางทะเล  คือ  คลื่นใหญ่ตั้งขึ้นแล้ว

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 154

ก็ยังเรือให้เต็มไปด้วยน้ำ.     เมื่อเรือกำลังจะจมลง     มหาชนจึงนึกถึงชื่อเทวดา
ของตน ๆ แล้วกระทำกิจมีการอ้อนวอนเป็นต้น   คร่ำครวญแล้ว.
         ในท่ามกลางแห่งชนเหล่านั้น   บุรุษคนหนึ่งนึกว่า   เราต้องประสบภัย
ร้ายเห็นปานนี้แน่   จึงนึกถึงธรรมของตน   เห็นแล้วซึ่งสรณะทั้งหลาย   และศีล
ทั้งหลายก็บริสุทธิ์แล้ว   จึงนั่งขัดสมาธิ  ดุจพระโยคี.  พวกชนทั้งหลายจึงถาม
ท่านถึงเหตุอันไม่กลัวนั้น.  บุรุษผู้เป็นบัณฑิตนั้นจึงกล่าวว่า  ดูก่อนท่านผู้เจริญ
ทั้งหลาย  ใช่แล้ว  เราไม่กลัวภัยเห็นปานนี้    เพราะเราถวายทานแก่หมู่แห่งภิกษุ
ในวันที่ขึ้นเรือ   เราได้รับสรณะทั้งหลาย    และศีลทั้งหลาย   ด้วยเหตุนั้น   เรา
จึงไม่กลัว  ดังนี้.   ชนเหล่านั้น    จึงกล่าวว่า   ข้าแต่นาย   ก็สรณะและศีลเหล่านี้
สมควรแก่ชนพวกอื่นบ้างหรือไม่.    บัณฑิตนั้นตอบว่า   ใช่แล้ว  ธรรมเหล่านี้
ย่อมสมควรแม้แก่พวกท่าน.     ชนเหล่านั้น   จึงกล่าวว่า   ถ้าอย่างนั้น   ขอท่าน
บัณฑิตจงให้แก่พวกเราบ้าง.
         ชนผู้เป็นบัณฑิตนั้น    จึงจัดทำพวกมนุษย์เหล่านั้นให้เป็นพวกละรู้อยู่
คน  รวมเป็น ๗ พวกด้วยกัน.  ต่อจากนั้นก็ให้ศีล  ๕. ในบรรดาชน ๗ พวกนั้น
ชนจำนวนร้อยคนพวกแรกตั้งอยู่ในน้ำมีข้อเท้าเป็นประมาณ     จึงได้รับศีล.
พวกที่ ๒   ตั้งอยู่ในน้ำมีเข่าเป็นประมาณ...   พวกที่ ๓  ตั้งอยู่ในน้ำมีสะเอวเป็น
ประมาณ...  พวกที่  ๔ ตั้งอยู่ในน้ำมีสะดือเป็นประมาณ...   ชนพวกที่ ๕   ตั้ง
อยู่ในน้ำมีนมเป็นประมาณ. . .    พวกที่  ๖  ตั้งอยู่ในน้ำมีคอเป็นประมาณ...
พวกที่ ๗ น้ำทะเลกำลังจะไหล่เข้าปาก   จึงได้รับศีล  ๕ แล้ว.
ชนผู้เป็นบัณฑิตนั้น   ครั้นให้ศีล ๕ แก่ชนเหล่านั้นแล้ว   จึงประกาศ
เสียงกึกก้องว่า   สิ่งอื่นเป็นที่พึ่งเฉพาะของพวกท่านไม่มี    พวกท่านจงรักษาศีล
เท่านั้น   ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 155

ชนทั้ง  ๗๐๐ เหล่านั้น   ทำกาละในทะเลนั้นแล้ว   ไปบังเกิดขึ้นในภพ
ดาวดึงส์      เพราะอาศัยศีลอันตนรับเอาในเวลาใกล้ตาย.    วิมานทั้งหลายของ
เทวดาเหล่านั้นก็เกิดขึ้นเป็นหมู่เดียวกัน.        วิมานทองของอาจารย์มีประมาณ
ร้อยโยชน์เกิดในท่ามกลางแห่งวิมานทั้งหมด.
    เทพที่เหลือเป็นบริวารของเทพ
ที่เป็นอาจารย์นั้น  วิมานที่ต่ำกว่าวิมานทั้งหมดนั้น ก็ยังมีประมาณถึง ๑๒ โยชน์.




Free TextEditor




 

Create Date : 06 กรกฎาคม 2552    
Last Update : 6 กรกฎาคม 2552 20:51:40 น.
Counter : 295 Pageviews.  

จุลศีล

จุลศีล

มหาบพิตร อย่างไรภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล

๑.   ภิกษุในธรรมวินัยนี้   ละการฆ่าสัตว์     เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
วางไม้   วางมีด   มีความละอาย  มีความเอ็นดู  มีความกรุณาหวังประโยชน์
แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่   แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

๒.   เธอละการลักทรัพย์    เว้นขาดจากการลักทรัพย์   รับแต่ของที่
เขาให้  ต้องการแต่ของที่เขาให้  ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย   เป็นผู้สะอาดอยู่
แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

๓.   เธอละกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์      ประพฤติพรหมจรรย์
ประพฤติห่างไกล   เว้นขาดจากเมถุน  อันเป็นเรื่องของชาวบ้าน 
แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

๔.   เธอละการพูดเท็จ      เว้นขาดจากการพูดเท็จ      พูดแต่คำจริง
ดำรงคำสัตย์  มีถ้อยคำเป็นหลักฐาน   ควรเชื่อได้  ไม่พูดลวงโลก  แม้
ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

๕.  เธอละคำส่อเสียด    เว้นขาดจากคำส่อเสียด  ฟังจากข้างนี้แล้ว
ไม่ไปบอกข้างโน้น   เพื่อให้คนหมู่นี้แตกร้าวกัน  หรือฟังจากข้างโน้นแล้ว
ไม่มาบอกข้างนี้   เพื่อให้คนหมู่โน้นแตกร้าวกัน    สมานคนที่แตกร้าวกัน
แล้วบ้าง  ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง  ชอบคนผู้พร้อมเพรียงกัน
ยินดีคนผู้พร้อมเพรียงกัน   เพลิดเพลินคนผู้พร้อมเพรียงกัน    กล่าวแต่คำ
ที่ทำให้คนพร้อมเพรียงกัน   แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

๖.   เธอละคำหยาบ     เว้นขาดจากคำหยาบ   กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ
เพราะหู  ชวนให้รัก   จักใจ  เป็นของชาวเมือง  คนส่วนมากรักใคร่  พอใจ
แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

๗.   เธอละคำเพ้อเจ้อ   เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ  พูดถูกกาล  พูดจริง
พูดเป็นอรรถ   พูดเป็นธรรม  พูดเป็นวินัย   พูดมีหลัก   มีที่อ้าง   มีที่สุด
ประกอบด้วยประโยชน์      โดยกาลอันควร       
แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

๘.   เธอเว้นขาดจากการพรากพืชคาม   และภูตคาม.

๙.   เธอฉันหนเดียว   เว้นการฉันในราตรี    งดเว้นการฉันในเวลาวิกาล.

๑๐.   เธอเว้นขาดจากการฟ้อนรำ   ขับร้อง    ประโคมดนตรี   และ
ดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล.

๑๑.   เธอเว้นขาดจากการทัดทรงประดับและตกแต่งร่างกาย    ด้วยดอกไม้   
ของหอม   และเครื่องประเทืองผิว   อันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว.

๑๒.   เธอเว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่.

๑๓.   เธอเว้นขาดจากการรับทองและเงิน.

๑๔.   เธอเว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ.

๑๕.   เธอเว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ.

๑๖.   เธอเว้นขาดจากการรับสตรี   และกุมารี.

๑๗.   เธอเว้นขาดจากการรับทาสี   และทาส.

๑๘.   เธอเว้นขาดจากการรับแพะ   และแกะ.

๑๙.    เธอเว้นขาดจากการรับไก่    เเละสุกร.

๒๐.   เธอเว้นขาดจากการรับช้าง   โค   ม้า   และลา.

๒๑.   เธอเว้นขาดจากการรับไร่นา   และที่ดิน.

๒๒.   เธอเว้นขาดจากการประกอบทูตกรรม   และการรับใช้.

๒๓.   เธอเว้นขาดจากการซื้อ   การขาย.

๒๔.   เธอเว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง       การโกงด้วยของปลอมและการโกงด้วยเครื่องตวงวัด.

๒๕.   เธอเว้นขาดจากการรับสินบน    การล่อลวง   และการตลบตะแลง.

๒๖.   เธอเว้นขาดจากการตัด   การฆ่า   การจองจำ   การตีชิง  การปล้น   และกรรโชก   
แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

จบจุลศีล





Free TextEditor




 

Create Date : 06 กรกฎาคม 2552    
Last Update : 6 กรกฎาคม 2552 13:51:06 น.
Counter : 291 Pageviews.  

1  2  

Mr.Maximum
Location :
สงขลา Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ธรรมแล ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
ธรรมอันบุคคลประพฤติดีแล้วย่อมนำสุขมา
ให้ นี้เป็นอานิสงส์ในธรรมที่บุคคลประพฤติ
ดีแล้ว ผู้มีปกติประพฤติธรรมย่อมไม่ไปสู่
ทุคติ.
Friends' blogs
[Add Mr.Maximum's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.