Movieworm
 
 

CARAVAGGIO โสเภณีในคราบแม่พระ ศิลปะโชกเลือด

หลังจากใช้พื้นที่ในคอลัมน์นี้พูดถึงศิลปะสมัยใหม่มาเสียหลายฉบับ เพื่อไม่ให้เป็นการน้อยหน้า (เดี๋ยวจะหาว่าเห่อแต่ของใหม่) คราวนี้ผู้เขียนขอเจาะเวลาหาอดีตย้อนกลับไปสี่ร้อยกว่าปี เพื่อหยิบยกเอาศิลปิน (ยุคโบราณ) ในดวงใจของผู้เขียนคนหนึ่งขึ้นมาพูดถึงกัน ศิลปินคนนี้มีชื่อว่า ‘คาราวัจโจ’

ก่อนอื่น ขอท้าวความก่อนสักนิดนึงว่า เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ในขณะที่ผู้เขียนกำลังเดินช็อปปิ้งในร้านดีวีดีอย่างเพลิดเพลินนั้น สายตาก็บังเอิญเกิดเหลือบไปเห็นหนังเรื่องหนึ่งเข้าให้อย่างจัง!
ทั้งๆ ที่ความจริงหนังเรื่องนี้ดูท่าจะเป็นหนังเกรดบีที่ส่งตรงลงดีวีดีโดยไม่ได้เข้าโรงบ้านเราด้วยซ้ำ แต่ด้วยความที่ชื่อเรื่องของมันกระตุ้นต่อมสนใจของผู้เขียนอย่างแรง จึงเป็นธรรมดาประสาคนใจง่ายที่จะต้องหยิบใส่ตะกร้าอย่างไม่ต้องเสียเวลาคิด
หนังเรื่องนั้นมีชื่อว่า ‘Bathory’ (2008)
อันว่า ‘บาโธรี่’ หรือ ‘เคาน์เตส เอลซาเบ็ธ บาโธรี่’ นั้นเป็นนามกรของฆาตกรต่อเนื่องหญิงที่มีชื่อเสียงที่สุดในประวัติศาสตร์ เกิดในตระกูลเชื้อพระวงส์ชั้นสูงในราชอาณาจักรฮังการี (สาธารณรัฐสโลวักในปัจจุบัน) มีนิสัยโหดเหี้ยมอำมหิต ชอบทรมานสาวใช้และบริวารมาตั้งแต่เด็กๆ ว่ากันว่าในช่วงวัยกลางคนเธอฆ่าสาวพรหมจารีไปกว่า 600 ศพ และเอาเลือดสดๆ มาอาบเพื่อรักษาความงามและความเยาว์วัยตามความเชื่อของเธอ จนเธอได้รับฉายาว่า ‘เคานท์เตสเลือด’ และได้บันทึกลงกินเนสต์บุ๊ก ว่าเป็นฆาตกรที่สังหารเหยื่อมากที่สุดในโลก และมีชื่อเสียงโด่งดัง (ในทางเลว) เทียบชั้นได้กับ ‘วลาด เทเพส’ หรือ เคาน์แดร็กคูล่า ในตำนานเลยทีเดียว

เรื่องราวของเธอได้รับการเล่าขานซ้ำแล้วซ้ำเล่าจากนักประวัติศาสตร์ นักประพันธ์ กวี นักเขียนบทละคร คีตกวี จิตรกร ไปจนกระทั่งในปัจจุบันอย่างคนทำภาพยนตร์ แต่เรื่องราวที่ว่าจะเป็นเรื่องจริงหรือไม่ ไม่มีใครสามารถรับรู้ได้ เพราะกว่าสี่ศตวรรษที่ผ่านมา ไม่มีการพบหลักฐานหรือเอกสารที่จะยืนยันว่า เรื่องราวเหล่านี้เกิดขึ้นจริง
เป็นเหตุให้เรื่องราวของ เคาน์เตส เอลซาเบ็ธ บาโธรี่ เวอร์ชั่นของ Juraj Jakubisko ผู้กำกับชาวสโลวัก เรื่องนี้ มีมุมมองที่ต่างออกไปจากเวอร์ชั่นอื่น โดยอีตา Jakubisko แกตั้งคำถามกับคนดูว่า จริงๆ แล้ว เธอเป็น ‘ฆาตรกร’ หรือ ‘จำเลย’ ของประวัติศาสตร์กันแน่?
ถึงแม้หนังเรื่องนี้จะไม่ได้รับความสนใจในบ้านเรานัก (สังเกตุจากการที่มันถูกส่งตรงลงแผ่นทันที) แต่ด้วยการถ่ายทำอันปราณีต การกำกับศิลป์อันงดงาม (จนได้รับรางวัลกำกับศิลป์ยอดเยี่ยมจาก Czech Lions หรือ รางวัลออสการ์ของสาธารณรัฐเชก) ทำให้หนังเรื่องนี้ เป็นหนังอีกเรื่องที่คอหนังผู้รักศิลปะไม่ควรพลาดเป็นอันขาด
ที่เด็ดยิ่งกว่านั้นคือ ตัวละครเอกตัวหนึ่งซึ่งแอบเป็นชู้รักของ เคาน์เตส บาโธรี่ ในเรื่องนั้น อีตาผู้กำกับแกดันอุปโลกน์ให้เป็นจิตรกรหนุ่มจากอิตาลีที่มีนามว่า ‘คาราวัจโจ’ เนี่ยสิ!

ซึ่งตามท้องเรื่อง พ่อหนุ่มคาราวัจโจ (ฮานส์ เมทธีสัน) ของเราเป็นจิตรกรจากเวนิสที่ถูกจับเป็นเชลยสงคราม แกเลยถูกพาหิ้วตัวระหกระเหเรร่อนเขียนรูป เพื่อเอนเตอร์เทนเชื้อพระวงศ์หรือชนชั้นสูงตามที่ต่างๆ (แบบเดียวกับกล้องถ่ายรูปยังไงยังงั้น) จนได้มาเจอกับน้องนางบาโธรี่ (แอนนา ฟรีล) และเกิดปิ๊งปั้งสิเน่หากันจนกลายเป็นสัมพันธ์สวาทอันแสนต้องห้ามในที่สุด
ด้วยความที่หนังมีจิตรกรเป็นตัวเอก จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่เราจะได้เห็นงานจิตรกรรมสวยๆ ในหนัง ยิ่งถ้าจิตรกรคนนั้นเป็นจิตรกรเอกอย่าง คาราวัจโจ ด้วยแล้วล่ะก็ มันก็เลยยิ่งเด็ดสะระตี่เสียนี่กระไร
ซึ่งไฮไลท์ของหนังเรื่องนี้ (สำหรับผู้เขียน) อยู่ตรงที่ฉากหนึ่ง ซึ่งโผล่มาแว๊บๆ ในหนัง แต่เป็นฉากที่โดนใจจนต้องหยิบยกหนังเรื่องนี้มาเขียนถึงเลยทีเดียว ฉากนั้นก็คือฉากการเขียนภาพชิ้นหนึ่งในหนัง ซึ่งภาพนี้เองเป็นผลงานชิ้นที่โด่งดังที่สุดชิ้นหนึ่งของคาราวัจโจ
ภาพนี้มีชื่อว่า ‘Judith Beheading Holofernes’ (1598) ที่เป็นเรื่องราวของ จูดิธ วีรสตรีชาวยิวที่ลอบเข้าไปตัดหัว โฮโลเฟอร์เนส แม่ทัพชาวบาบิโลนถึงที่นอน

ซึ่งองค์ประกอบในการแสดงออกทางสีหน้าและแววตาอันสมจริง บรรยากาศอันรุนแรงและเหี้ยมโหด ความสยดสยองที่ถ่ายทอดออกมาในภาพเขียนเหล่านี้ นี่เอง ที่เป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นอย่างหาใครเสมอเหมือนของคาราวัจโจ
คาราวัจโจ หรือ มิเกลันเจโล เมรีซี ดา คาราวัจโจ Michelangelo Merisi da Caravaggio (1571-1610) เป็นจิตรกรผู้ถือว่าเป็นผู้บุกเบิกงานจิตกรรมยุคบาโร้ก1 (Baroque) คนสำคัญที่สุดคนหนึ่ง เกิดที่มิลาน อิตาลี ศึกษาศิลปะที่เวนิส ในช่วงวัยเยาว์เขาผ่านการศึกษาการทำงานศิลปะจากจิตรเอกในยุคนั้นอย่าง ทิเชียน (Titian) จากนั้นก็เดินทางเข้าไปแสวงหาชื่อเสียงในโรม
คาราวัจโจ เป็นจิตรกรที่มีวิธีการทำงานที่ปฏิวัติแนวคิดของจิตกรในสมัยนั้นอย่างสิ้นเชิง กล่าวคือเขามักจะเขียนภาพที่มีเรื่องราวทางศาสนา แต่กลับใช้บุคคลธรรมดาสามัญไปจนถึงชนชั้นล่างตามท้องถนนมาเป็นแบบเขียนรูปพระเยซูและนักบุญทั้งหลาย จนถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างอื้อฉาวว่า “เขาเอากะหรี่มาเขียนให้เป็นพระแม่มารี!” นอกจากนั้น เขายังเป็นจิตรกรคนแรกที่นำความรุนแรงโหดเหี้ยมแทรกสอดลงในภาพเขียนของเขาอย่างที่ไม่เคยมีจิตรกรคนใดกล้าทำมาก่อน จนกลายเป็นต้นแบบแรกๆ ของความเหี้ยมโหดในการแสดงออกทางศิลปะ และกลายเป็นจิตรกรผู้บุกเบิกแนวทางศิลปะที่พัฒนากลายเป็นศิลปะแบบ สัจนิยม2 (Realism Arts) ในยุคต่อมาจวบจนถึงปัจจุบัน

ศิลปะโชกเลือด

็นการแสดงความรุนแรงแบบจะๆ ในภาพเขียน (อย่างเช่นการทารุณกรรมต่างๆ ต่อพระเยซูและสาวกที่ถูกทุบตีและทรมานต่างๆ นาๆ โดยทหารโรมัน ตั้งแต่ก่อนตรึงไม้กางเขนจนเอาพระศพลงจากไม้กางเขน) หรือเล่าเรื่องราวอันสยดสยองในพระคัมภีร์แล้ว การใช้แสงเงาอันจัดจ้าน เข้มข้น อย่างที่ไม่เคยมีใครกล้าใช้มาก่อนหน้าเขา ก็เป็นอีกองค์ประกอบหนึ่ง ที่เน้นให้ภาพเขียนของเขาเปี่ยมความรุนแรงและมีความสมจริงอย่างยิ่ง
ซึ่งการแสดงออกในงานศิลปะของเขา น่าจะมีผลพวงมาจากประสบการณ์ในชีวิตของเขานั่นเอง
คาราวัจโจเกิดมาในครอบครัวที่ยากจนข้นแค้น อาศัยอยู่ในเมืองเล็กๆ ที่มีชื่อเดียวกันกับเขา เมื่อเติบโตเป็นหนุ่ม เขาเดินทางอย่างมุ่งมันเพื่อแสวงหาชื่อเสียงในฐานะศิลปินที่กรุงโรม แต่เมื่อประสบความสำเร็จได้ระยะหนึ่ง เขากลับประสบปัญญาทางด้านความเป็นอยู่ เนื่องจากผู้ว่าจ้างมักปฏิเสธผลงานที่เขาทำเสร็จ โดยต่างวิพากษ์วิจารณ์ผลงานของเขาว่าไม่เหมาะสมที่จะติดตั้งในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เพราะมีความก้าวร้าวรุนแรงเกินไป ประกอบกับความเป็นคนกักขฬะ อารมณ์ร้าย จนทำให้คนรอบข้างต่างพากันหลีกหนี ทำให้สภาพจิตใจและฐานะความเป็นอยู่ของเขาตกต่ำลงเรื่อยๆ
และที่เลวร้ายที่สุดคือการที่เขาพลั้งมือฆ่าคนตายในการวิวาทครั้งหนึ่ง จนต้องหลบหนีร่อนเร่ไปทางตอนใต้ของอิตาลีและซิซิลี และกบดานอยู่ที่นั่นระยะหนึ่ง (ซึ่งหนังเรื่อง Bathory น่าจะหยิบเอาชีวิตช่วงนี้ของเขามาใช้นั่นเอง) ก่อนที่จะตัดสินใจเดินทางกลับเข้ากรุงโรม โดยหวังว่าจะได้รับการอภัยโทษจากเจ้าหน้าที่บ้านเมือง
แต่ระหว่างเดินทางกลับเขากลับล้มป่วยและเสียชีวิตไปเสียก่อนด้วยวัยเพียง 39 ปี ทิ้งไว้แต่เพียงผลงานและแรงบันดาลใจอันยิ่งใหญ่ที่ส่งต่อมาสู่คนรุ่นหลัง

คาราวัจโจโพสต์โมเดิร์น : แรงบันดาลใจที่ข้ามผ่านกาลเวลา

ถึงนอกจากหนังอย่าง ‘Bathory’ ที่หยิบยกเอาตัวตนของศิลปินเอกอย่างคาราวัจโจ มาใช้เป็นตัวละครแล้ว ยังมีหนังอีกเรื่องหนึ่งที่หยิบยกเอาชีวประวัติของศิลปินเอกผู้นี้มาถ่ายทอดเป็นเรื่องราวเป็นภาพเคลื่อนไหวให้เราได้ชมกัน
หนังที่มีชื่อเดียวกันกับชื่อของจิตรกรเอกแห่งศตวรรษที่ 19 ของเรา อย่าง ‘Caravaggio’ (1986) เรื่องนี้ คงไม่มีอะไรแปลกใหม่ ถ้าเพียงแต่มันไม่ถูกถ่ายทอดออกมาในลีลาร่วมสมัย ที่ตัวละครในเรื่องสวมใส่เสื้อผ้าเก๋ไก๋หลากสไตล์ แถมยังใช้เครื่องมือเครื่องไม้สมัยใหม่ (กว่าศตวรรษที่ 19) อย่างพิมพ์ดีด ปากคาบบุหรี่ ขี่จักรยาน และสบถสาบานศัพท์แสงแสลงของยุคปัจจุบัน!
ที่สำคัญพ่อศิลปินหนุ่มในเรื่องของเรา ที่นอกจากจะวาดภาพโสเภณีในคราบแม่พระ ศาสดาโชกเลือดและนักบุญเปื้อนฝุ่นแล้ว เขายังนิยมวาดภาพเปลือยของเด็กหนุ่มเอ๊าะๆ อีกด้วย
ใช่! คุณเดาไม่ผิดหรอกครับ เขาเป็นเกย์!
ซึ่ง ดีเรก จาร์แมน ผู้กำกับของเรื่องนี้ จงใจใช้ชีวิตของศิลปินเอกผู้นี้มาเป็นกระจกสะท้อนภาพเสมือนในชีวิตของตนนั่นเอง (แน่นอน จาร์แมนก็เป็นเกย์ด้วย)
‘Caravaggio’ คว้ารางวัลหมีเงิน (Silver Bear) จากเทศกาลภาพยนตร์เบอร์ลิน 1986
หนังเต็มไปด้วยภาพจำลองชีวิตและการทำงานของศิลปินเอกอย่างคาราวัจโจอย่างเต็มอิ่ม และเปี่ยมความงดงามอย่างพิสดารราวกับจะหลุดออกมาจากภาพเขียนจริงๆ เลยทีเดียว เรียกได้ว่าคนรักคาราวัจโจหรือคนรักศิลปะไม่ควรพลาดหนังเรื่องนี้ด้วยประการทั้งปวง

แถมท้าย : Caravaggio & Christ

นอกจากหนังสองเรื่องข้างต้นแล้ว ยังมีหนังอีกเรื่องที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากผลงานของศิลปินเอกท่านนี้เช่นกัน นั่นก็คือ The Passion of the Christ (2004) ของ เมล กิ๊บสัน ที่เล่าถึงช่วงเวลาสุดท้ายของพระเยซูคริสต์ก่อนถูกตรึงกางเขน ซึ่งภาพเคลื่อนไหวทั้งหมดของหนัง อันประกอบด้วยแสง เงา สีสันบรรยากาศ องค์ประกอบศิลป์ทั้งหมด ต่างได้รับอิทธิพลโดยตรงมาจากภาพเขียนของคาราวัจโจนั่นเอง

ข้อมูล : หนังสือ สีเปื้อนฟิล์ม พิษณุ ศุภ เขียน แพรวสำนักพิมพ์, //en.wikipedia.org/wiki/Caravaggio, //caravaggio.com/




 

Create Date : 24 เมษายน 2553   
Last Update : 24 เมษายน 2553 9:38:41 น.   
Counter : 2610 Pageviews.  


Vision of the Future English version

by Panu Boonpiputtanapong (Translated by Can Dan Esan)

(Visionary of the future determines fashion . An inspiration from celluloid into fabrics.)
A summary for lecture and article delivered by Panu Boonpipatthanapong, independent writer and columnist for FILMAX Magazine. At the William Worren Library, as part of the exhibition “Futuro Texttile”, The Jim Thompson Art Centre.

Besides elaboration of location setting, screenplay, score and performance. The costume play as much important role as other elements. As we regularly know that costume is not only use for protecting actor/actress from the obscene. But costumes also reflects taste, culture, mode of conception or larger set of ideas-often given a name as “style” of “the mind set” of exact period of time.

Concurrently, films can generate fascination, adoration or can lead people to certain taste, culture. All can epitomize under the umbrella which is so called “fashion.”

For many decades fashion from films (or other form of mass culture) can affect people. Especially, the youth and the grown up who follow the style that taken up by the movie stars and publicized to the public by films. Moreover, the fads of fashion in cinema can be also indicated by large number of costume’s sales.

Regularly, as well accepted as “What Hollywood designs today, you will be wearing tomorrow.” In other words, films can affects fashion rather than the trend setter does. It is important to count fashion as influential, and explore the connection among two realms of art form, fashion design and films.


Fashion in the visionary world
Wardrobe is not only an essential element in film but also reflect the character’s trait. Besides garnishing the characters, stylishly. The proper costume can support and imply the main characteristic of each actor/actress.

The films in the mid century did not only present elegant image of Audrey Hepburn with costumes designed by Givanchy, but the costume also foster her a radiant fame. In addition to a contribution of other designer such as Yvse Saint Laurent who envelope a mysterious atmosphere in Catherine Deneuve’s film.

If we look around in the fashion design for films and wardrobe designing circle, there may be no one as exciting as Jean Paul Gaultier. He is as praised and denounce as an ‘Enfant Terrible’. Gaultier must be mentioned at the top list. His first hilarious collection was launched in 1976, he never received formal training as a designer.

Instead, he started sending sketches to famous couture stylists at an early age. Until Pierre Cardin was impressed by his talent and hired him as an assistant in 1970. With his out spoken personality and rebellious style. With breakthrough and challenging identity, these deserve him to be given name as a bad boy in fashion scene. His creativity are drawn from street and pop culture. The most memorable one is a jetting metallic brassier, worn by Madonna is her “Ambition Tour.”

Set of costumes made by Gaultier which appeared in films are not only his bunch of personal design but rather imply the characteristic of the actor/actress too. Including futuristic ones in Luc Besson's The Fifth Element, to a sadomasochistic fetish look from peeling brassiere showing the nipple cover by camera in Pedro Almodóvar's Kika. Or the cage-like ward robe for Helen Miran appered in Peter Greenaway's The Cook, the Thief, His Wife & Her Lover. The wradrobe implies the dispirited for freedom of the actor, Besides, there is also a set of wardrobe those are entirely different for 100 characters in Jean-Pierre Jeunet's The City of Lost Children.


When Sci-Fi meets Fashion
If each kind of art form can put an influence to each other. Or novel science and technology can inspire artist to create new mode of expression. On the other hand some excellent work of art can also be inspiration of science fiction as well.

Moreover, many scientific invention still be adapted from the vision of the future in science fiction movies too. Because of its vision towards future, thus sci-fi movies allow unprecedented images of architecture, wardrobe, and backdrop. In addition to unconventional materials which are usually applied to industrial fabrication or scientific experiment. The unconventional material such as plastic, vinyl or fiberglass are now regularly in use of making wardrobes.

Outstanding example is The Matrix, not only because this film appropriates eastern martial art such as Kungfu into the movies, it also present new futuristic vision by its extra ordinary outfits which combine both fetish and athletic style. Trinity (Kathy Anne Moss)’s look is so enchanting and stylish that New York Times praise her look as admirable as “Vinyl is a girl’s best friend.” Together with Neo (Keanu Reeves) and Morpheus (Laurence Fishburn) in ‘The Matrix Reload’, the combative male characteristics of them are drawn from Ninja and martial art outfits. These styles are later popular from street side to fashion runway.


An invincible style : designer’s film choices.
An outstanding film by Ridley Scott, “Blade Runners ” which depicts a dystopia. At the moment of its debut, the films is failed because of its too much futuristic in both contents and production design which look melancholic. In contrast to flashy one by a Fantastic Sci-Fi movie of the same time such Star Wars by George Lucas (1977).

The dystopian atmosphere in the film was taken place in Los Angeles, where genetically manufactured beings called replicants — visually indistinguishable from adult humans — are used for dangerous or menial work on Earth's "off-world colonies". Following a replicant uprising, replicants become illegal on Earth and specialist police called "blade runners" are trained to hunt down and "retire" escaped replicants on Earth, who commit crime and deemed to be destroyed.

Besides its complicate plot and philosophical prospect in a film-Noir retro atmosphere. One thing that puts Blade Runner to the forefront is production design and wardrobe designed by Charles Knode and Michael Kaplan, which inspires both Sci-Fi and non Sci-Fi movies of latter generation. Importantly a design by them are still eye catching and everlastingly progressive. Also one character in the films-Rachel (Jean Young) was admired as best groomed actress with the style called “Vintage chic” which means classy and cool. The wardrobe in Blade Runners is both harmonious and relevant to futuristic backdrop. That drives this movies to be count as legendary as most outstanding Sci-Fi movies of all time.


When fiction becomes real.
In the Sci-Fi comedy film such as Back to the Future. The wardrobe in this films also expresses futuristic vision of an all-in-one gadget such as liquid protecting fabric or auto inflated sneakers.

Nowadays smart jacket are regularly available. It is not only supports several functions by incorporating entertainment devices. Including MP3 player, while wearing the suits it is also easily to enjoy the song. Moreover some fabrics are designed to protect from disaster such as storm or flooding.

Recently product from Nike, a well known sport wear has produced a set of sneaker, following the character from Back to The Future-Episode I and II. The sneakers can both glows in the dark and auto inflating by pumping in the air into their bodies, it serves the desire to touch the future that is coming closer in the few years.


Futuristic Design
Amid banality in fashion design, there is an outstanding designer who made a collection of ward robe that fully enchanting and unique. It is Hussein Chalayan.

Chalayan was born Turkish in 1970 and graduated from a college of his hometown. He moved with his family having moved to England in 1978, obtaining British citizenship and proceeded to study design in the Central St. Martin college, UK.

Chalayan works draw several inspirations from architecture, science and modern technology and current global issues. His works are as attractive as surprisingly astonishing at the same moment. His design combines multi-facets from both western and non-eastern culture such as the Turkish.

The promising feature in his design is always be abandoned in arts and design in his life time, that is “social commitment” The “social commitment ” as a criterion of design is similar to the way Coco Chanel has emancipated women from corset that squeeze women to faint. The mission of wardrobe and fashion design might be both following trendy style and functionally comfortable.

The most outstanding design by Chalayan is appeared in the film Afterwords (2000), known as “Wearable Architecture.” The wardrobe inspire by an escapement from casualties of war and the holocaust. A hybrid design between light weight living room set and fashion perform as both a camouflage and solution for difficulties to keep large properties while escaping .


A timeless style
Among the most influential film maker since 1970s, Stanley Kubrik plays important role by directing various genre and meticulously put together futuristic vision, though some films by Kubrik are dystopian and strongly imaginary.

But what appeared futuristic and extremely modern in his film are later praised and become the legendary films, such as astronaut suit, space craft hostess or wardrobe and chairs in spacecraft in Space Odyssey (1968).

Together with a scandalous film about teenager rampant manage in the future- Clockwork Orange (1971). Both films are the clues for promising trend in wardrobe, architecture, interior design and visual culture of our present time.


Super Hero Uniform Technological: Blurry line between Fantasy and Reality
Besides interpretation of futuristic vision in novel, many popular comics become films such as Superman, or Batman. Recently Chistopher Noland ’s latest episode , Batman Begins (2005) and The Dark Knight (2008) has portrayed Bruce Wayne or Batman to be the most humanistic one compared to other versions which are rather comic like or fanciful.

Batman Begins Batsuit
The costume in Batman Begins (2005)[19] is given the most complete description ever seen in a Batman film and possibly the comic books. The suit is derived from Lucius Fox's Research and Development program, within Wayne Enterprises' Applied Sciences Division. It is described by Fox as a "Nomex survival suit" originally intended for advanced military use, but, with its $300,000 price tag, was considered to be too expensive for the United States Army and military in general. Based on an advanced infantry armor system constructed from Nomex, the first layer of protection is an undersuit with built-in temperature regulators designed to keep the wearer at a comfortable temperature in almost any condition.

The second layer of protection consists of armor built over the chest, calves, thighs, arms, and back. This armor features a kevlar bi-weave that can stop slashing weapons and can also deflect any bullet short of a straight shot impact, and reinforced joints that allow maximum flexibility and mobility. The armor was then coated with a black latex material for camouflage and to dampen Bruce's heat signature, making him difficult to detect with night-vision equipment. Made of a graphite material, the cowl acts as a protective helmet. The cowl's Kevlar lining is supposed to be bulletproof.

A manufacturing defect in the graphite used in the production of the first shipment of the cowl's components made its outer shell incapable of withstanding blunt trauma (a flaw Alfred demonstrates to Bruce Wayne using a baseball bat). The second shipment (not shown) was supposed to fix this problem.

An advanced eavesdropping device is concealed within the cowl's right ear and enables Batman to listen in on conversations from a distance. The utility belt is bronze in color and is a modified climbing harness, with magnetized impact-resistant pouches and canisters attached to the belt at ergonomic points for ease of reach. It carries a magnetic gas-powered grapple gun, an encrypted cell phone, Batarangs, a medical kit, smoke bombs, mini explosives, periscope, remote control for the Batmobile (the Tumbler), mini-cam, money, and other unspecified equipment. Batman removed the belt's shoulder and chest straps because they constricted his movements. Batman's cape is made of "memory cloth," also developed by Lucius Fox. It is essentially flexible in its normal state, but becomes semi-rigid in a fixed form (Batman's wings in the movie) when an electric current is passed through it from the microcircuits in his right glove.

The Dark Knight Batsuit
The Batsuit is changed in the latest film The Dark Knight (2008), due to a dog bite on Batman's left arm at the beginning of the film. In this new design, the bodysuit is made of hardened kevlar plates on a titanium-dipped fiber and is broken into multiple pieces of armor over a more flexible bodysuit for greater mobility. As a trade-off, however, the flexible armor leaves Batman more vulnerable to injury from bullets or knives in favor of increased flexibility and lighter weight.

The cowl of the Batsuit, which in previous film incarnations has been attached to the shoulder and neck, is now a separate component inspired by the design of motorcycle helmets, allowing the wearer to freely swivel and move his neck without moving the rest of his upper torso (by personal request of Bruce Wayne as 'it would make backing out of the driveway easier)' as was characteristic in all the previous cinematic versions of the Batsuit. Also, a strong electric current runs through it that prevents anyone except Bruce from removing it, further protecting his identity.

In this Batsuit, the iconic blades on the sides of Batman's gauntlets are now retractable and are capable of firing outwards as projectiles. The bat emblem is smaller than the one in Batman Begins and it bears a greater resemblance to the Batman logo that has been associated with the Christopher Nolan film franchise.

The suit again has an external 'memory cloth' cape, but, now has the ability to fold into a backpack shape as demonstrated during the free-base jump in Hong Kong. It is unclear in the film if once deployed, as a glider, it can return to this backpack shape automatically. According to costume designer Linda Hemming this backpack idea was developed, at the request of Nolan, as a fall back if the cape were to get caught up in the rear wheel of the Batpod in motion.


Works cited
FUTURO TEXTIEL 08 SURPRISING TEXTILES, DESIGN & ART The William Warren Library, Jean-Paul Gautier (Hardcover) by Colin McDowell, //www.imdb.com/title/tt0083658/, //hollyheadmag.com/2009/06/nike-back-to-the-future/, หนังสือ : Hussein Chalayan. NAI PUBLISHER GRONINGER MUSEUM, //www.husseinchalayan.com, //www.designboom.com/eng/interview/chalayan.html, //www.wikipedia, https://www.youtube.com/watch?v=CdiSk8XyBu8, https://www.youtube.com/watch?v=_BXPOENATC8&feature=related




 

Create Date : 08 เมษายน 2553   
Last Update : 8 เมษายน 2553 11:53:43 น.   
Counter : 463 Pageviews.  


หนังอาร์ต (ที่ไม่จำเป็นต้องปีนกระได) ว่าด้วยงานศิลปะในร่างทรงภาพยนตร์ Part II

เสรีภาพ(ในการแสดงออก)อยู่หนใด?

อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า ‘หนังอาร์ต’ หรือ ‘หนังศิลปะ’ คือการแสดงออกทางความคิด ความรู้สึก ตัวตน
ของศิลปินหรือคนทำงานศิลปะผ่านสื่อชนิดใดชนิดหนึ่ง

เพราะฉะนั้นหนังอาร์ต หรือ หนังศิลปะ ก็คือ การแสดงออกทางความคิด ความรู้สึก ตัวตนของคนทำงานศิลปะ
ผ่านสื่อที่ฉายภาพเคลื่อนไหวบนผืนผ้าใบที่เราเรียกกันว่าหนัง โดยไม่จำเป็นต้องใส่ใจกับรสนิยมของคนหมู่มาก
หรือความต้องการทางการตลาดใดๆ และความคิด ความรู้สึก และตัวตนที่ว่านี้นี่เอง ก็ไม่จำเป็นต้องถูกจำกัด
อยู่ภายใต้กรอบความคิด ค่านิยม หรือความเชื่อใดๆ ของสังคม
ถึงแม้ว่าเรื่องราวเหล่านั้น จะเป็นเรื่องที่เปราะบาง และต้องห้ามในสังคมอย่างเรื่อง ‘เพศ’ ก็ตาม

เรื่องเพศ กับสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมไทยเราดูจะเป็นเรื่องที่ลับเร้น เปราะบาง และต้องห้ามเสมอมา

ด้วยค่านิยมที่เชื่อกันว่า สังคมไทยเป็นสังคมแห่งศีลธรมอันดีงาม (จริงจริ๊ง) สื่อที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ หรือที่มักจะเรียกเหมาเอาว่า ‘สื่อลามก’ จึงมีสถานะแบบเดียวกับบุหรี่หรือเหล้า ซึ่งเป็นเรื่องของศีลธรรม การต่อต้านสื่อทางเพศจึงเป็นการแสดงให้เห็นถึงความมีศีลธรรมอันดีงามประชาชนมักจะถูกกล่อมเกลาด้วยความเชื่อที่ว่า สังคมไทยมีวัฒนธรรมที่งดงามเกินไปที่จะเรียนรู้เรื่องเพศ และสิ่งเลวร้ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันถูกกระตุ้นเร้าให้เกิดขึ้นโดยสื่อ
เหล่านี้ (จริงเหรอ?)

ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว สื่อที่ถูกเรียกว่า ‘โป๊’ หรือ‘ลามก’ นั้น เคยทำหน้าที่สำคัญในการวิพากษ์วิจารณ์
ประเด็นต่างๆ ในสังคม ดังจะเห็นได้ว่า การควบคุมสื่อลามกที่ถือว่าขัดต่อศีลธรรมอันดีงามมักจะเชื่อมต่อเข้ากับกฎหมายเซ็นเซอร์ การควบคุมเสรีภาพของสื่อและปัจเจกชนหรือการควบคุมสื่อที่เรียกว่า ‘โป๊ลามกนั้น’ เป็นปัญหาสำคัญในสังคมเสรีประชาธิปไตย เพราะการต่อสู้เรื่องสื่อลามกเป็นเรื่องของการต่อสู้เพื่อเสรีภาพมาโดยตลอด เพราะเมื่อใดก็ตามที่มีสิ่งใดก็ตามที่ขัดต่อศีลธรรมอันดีงามตามมาตรฐานของสังคม ตามที่รัฐกำหนดแล้ว ข้ออ้างแบบนี้ก็มักจะเป็นข้ออ้างสำคัญในการควบคุมอะไรอื่นอีกมากมายของรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัฐที่มีจิตสำนึกแบบเผด็จการ
เพราะฉะนั้น ในแง่หนึ่ง การต่อต้านศีลธรรมอันดีงามก็คือการต่อต้านอำนาจรัฐที่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพของ
ประชาชนนั่นเอง

ดังจะเห็นได้จากประวัติศาสตร์ของการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกทางความคิดและอิสระ
ในการเผยแพร่สื่อต่างๆ จากทุกยุคทุกสมัย ไม่ว่าจะเป็นมาร์กี เดอ ซาด ไปจนถึง แลร์รี่ ฟลิ๊นท์ (ดูเรื่องราวชีวิตและการต่อสู้กับอำนาจรัฐ เพื่อเสรีภาพในการแสดงออกทางความคิดและอิสระการเผยแพร่สื่อทางเพศ ต่างกรรมต่าง
วาระของ มาร์กี เดอ ซาด และ แลร์รี่ ฟลิ๊นท์ ได้ใน Quills (2000) และ The people vs. Larry Flynt (1996).)

นอกจากสื่อที่แพร่หลายอย่างวรรณกรรม และสื่อสิ่งพิมพ์แล้ว ศิลปะ ก็เป็นสื่ออีกแขนงหนึ่งที่มักจะถูกใช้ถ่ายทอดเรื่องราวเหล่านี้ ในคราวนี้ขอจำกัดอยู่ที่สื่อศิลปะบนภาพเคลื่อนไหวอย่างภาพยนตร์

ซึ่งก็มีคนทำงานศิลปะบนสื่อภาพยนตร์มากมาย ใช้หนังเป็นตัวแสดงออกความคิดความ รู้สึกในเรื่องเพศ อย่าง แอนดี้ วอร์ฮอล หรือ พอล มอร์ริสเซย์ เป็นอาทิ ในบ้านเราเอง ก็มีคนทำหนังคนหนึ่ง ที่นำเสนอความคิดความรู้สึก เรื่องราว รวมถึงรสนิยมทางเพศ ของตนเอง ผ่านสื่อศิลปะแขนงนี้มาอย่างชัดเจน ยาวนาน และเปี่ยมไปด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตัวเป็นอย่างยิ่ง

คนทำหนังคนนั้นมีชื่อว่า ‘ธัญสก พันสิทธิวรกุล’

เกิดเมื่อปี 2516 จบการศึกษาจากภาควิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยระหว่างศึกษาเคยเป็นอาสาสมัครให้กับมูลนิธิหนังไทยอยู่ 4ปี และเขียนบทความเกี่ยวกับภาพยนตร์ให้กับนิตยสารหลายต่อหลายเล่ม อาทิ ไบโอสโคบ, อะเดย์, หนัง:ไทย,แฮมเบอเกอร์,มูวี่ไทม์,สารกระตุ้น , ฟิวส์ ฯลฯ และเป็นผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ //www.thaiindie.com/ ที่เป็นเสมือนหนึ่ง โปรโมเตอร์ที่คอยผลักดันคนทำหนังนอกกระแสหน้าใหม่ที่เปี่ยมไปด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตัวสู่วงการ

ผลงานของธัญสกส่วนใหญ่เป็นภาพยนตร์แนวทดลอง ภาพยนตร์สั้น และสารคดีขนาดยาว ได้รับการเชิญไปฉายตามเทศกาลต่างๆ มาแล้วไม่ต่ำกว่า 50 เทศกาลทั่วโลก

ในปี 2547 ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง ‘สวรรค์สุดเอื้อม’ (Happy Berry) ของเขาได้รับรางวัลกรังปรีซ์สาร คดียอดเยี่ยม ในปี 2548 โปรเจ็คท์ ศาลาคนเศร้า ซึ่งเขาทำร่วมกับสมพจน์ ชิตเกษรพงศ์ ได้รับรางวัลสูงสุด จากโครงการ PPP ในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ เมืองปูซาน ประเทศเกาหลีใต้ ในปี 2549 ภาพยนตร์ทดลองเรื่อง ‘ในวันที่ฝนตกลงมาเป็นคูสคูส’ ได้รับรางวัล Special Mentionเทศกาลภาพยนตร์อิสระ ประเทศฮ่องกง

ในปี 2550 เขาได้ รับรางวัลศิลปาธร สาขาภาพยนตร์จากสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ปัจจุบันธัญสกเป็นอาจารย์พิเศษทางด้านภาพยนตร์ให้กับคณะศิลปกรรมศาสตร์ และคณะนิเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ผลงานของธัญสก ไม่ได้มีจุดเด่นในการเล่าเรื่องตามขนบหนังแบบปกติ แต่เขามีความโดดเด่นในการถ่ายทอดสภาวะทางอารมณ์ และความรู้สึกอันสามัญอย่าง ความสุขความเศร้า ความรัก หรือแม้กระทั่งการอกหัก และเรื่องราวอันไม่สามัญและล่อแหลมต่อศีลธรรม และเป็นที่ยอมรับได้ยากในสังคม (อันดีงาม) อย่างความรู้สึกความสัมพันธ์และกิจกรรมทางเพศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งของเกย์หรือรักร่วมเพศในหนังหลายๆ เรื่องของธัญสก มักจะเต็มไปด้วย
ภาพเปลือยที่เรียกได้ว่าถึงขั้นอนาจาร (ในสายตานักจริยธรรมและคุณระเบียบรัตน์) กิจกรรมทางเพศที่ชัดเจนโจ่งแจ้งจนดูเหมือนกับเจตนา เรียกได้ว่าเป็นน้องๆ หนังโป๊เรตเอ็กซ์เลยทีเดียว

ด้วยการถ่ายทอดเรื่องราว อารมณ์ ความรู้สึกส่วนตัวเป็นหลัก จนดูคล้ายกับจะเป็นการหมกมุ่นบวกกับประเด็นอันล่อแหลมทางเพศ ย้ำ! โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รักร่วมเพศนี่เอง ที่ทำให้นักดูหนังหลายๆ คน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักดูหนังตามขนบส่วนใหญ่ เบื่อหน่าย ไม่เข้าใจ รับไม่ได้ จนถึงขั้นกระอักกระอ่วนและตั้งแง่รังเกียจหนังของเขาเลยด้วยซ้ำ ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงถ้าเราพินิจพิจารณาให้ดีๆ เราก็จะพบว่าจริงๆ แล้วฉากเหล่านี้ไม่ได้มีเป้าหมายที่จะมุ่งเน้นที่จะกระตุ้นเร้าอารมณ์ทางเพศของผู้ชมสักเท่าไหร่นัก (...อาจมีบ้าง) แต่มันเป็นการแสดงออกถึงความเป็นมนุษย์ของตัว
ละครในหนัง เพราะท้ายสุดท้ายแล้ว สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า ‘คน’แทบทุกคน ต่างก็ล้วนแล้วแต่ต้อง กิน ขี้ ปี้ นอน เป็นสามัญเหมือนๆ กันมิใช่หรือ?

นอกเหนือไปจากนั้น ผลงานในช่วงหลังๆ ของเขาเองก็มีท่าทีที่ผ่อนคลายจากการหมกมุ่นแต่ในเรื่องส่วนตัว และหันมามองโลกในมุมที่กว้างมากขึ้น แต่มันก็ยังคงเป็นการมองในรูปแบบเฉพาะตัวของเขาเอง

ยกตัวอย่างเช่น การนำเอาประเด็นทางศาสนา และปัญหาทางสังคม อย่างปัญหาชายแดนภาคใต้ และมุสลิมมานำเสนอควบคู่ไปกับเรื่องเซ็กส์ของรักร่วมเพศ ใน‘บริเวณนี้อยู่ภายใต้การกักกัน’ หรือการหยิบเอาสถานการณ์ทางการเมือง มานำเสนอคู่ขนานไปกับเรื่องราวส่วนตัวความสัมพันธ์ในครอบครัว และความสัมพันธ์อันหมิ่นเหม่ต่อความล่อแหลมระหว่างอาจารย์กับลูกศิษย์ ใน ‘จุติ’ ซึ่งการผสมผสานอันแปลกใหม่และท้าทายในการนำเสนออย่างยิ่งนี้เอง ที่กลับส่งผลร้ายต่อเขาในเวลาต่อมา

ภาพยนตร์เรื่องนี้อยู่ภายใต้การกักกัน

นับตั้งแต่กรณีที่หนัง ‘แสงศตวรรษ’ (ฉบับสมบูรณ์)ของ อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ประสบชะตากรรมอันเลวร้ายจากระบบเซ็นเซอร์ในบ้านเราแล้วล่าสุด ‘บริเวณนี้อยู่ภายใต้การกักกัน’ หนังสารคดีของธัญสกเองก็ตกเป็นเหยื่อรายใหม่ของไดโนเสาร์ (เอ๊ยไม่ใช่!) ระบบเซ็นเซอร์บ้านเราอีกครั้ง ที่คราวนี้พวกมาในชื่อใหม่เอี่ยมว่า คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวิดีทัศน์หรือคณะกรรมการจัดเรตติ้ง ที่เปลี่ยนแค่ชื่อ แต่พฤติกรรมยัง... เหมือนเดิม (แล้วจะจัดเรตไปทำไมฟระ?)

โดยหนังเรื่องนี้ถูกห้ามฉายในเทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 6-15 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ซึ่งทา'คณะกรรมการฯ ได้ให้เหตุผลว่า ภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้ มีเนื้อหาที่ล่อแหลม ด้วยการนำเสนอภาพเปลือยและกิจกรรมทางเพศของนักแสดง ซึ่งขัดต่อศีลธรรมอันดีงาม (เหลือเกิ้นน) นอกเหนือไปจากนั้น หนังยังมีประเด็นทางการเมือง
และศาสนา โดยการอ้างอิงกับเหตุการณ์โศกนาฏกรรมที่อ.ตากใบ จ.นราธิวาส เมื่อปี พ.ศ.2547 ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อความมั่นคงของชาติ จนเป็นเหตุให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ได้รับการพิจารณากำหนดเรตติ้งจนนำไปสู่การถูก
ห้ามฉายในที่สุด

ดูๆ ไปแล้วก็น่าอิดหนาระอาใจแทนคนทำหนังอิสระบ้านเรา ที่ต่างประเทศเขาไปถึงไหนต่อไหนกันแล้ว เรายังย่ำ
อยู่กับที่ก็เพราะไอ้คนพวกนี้นี่แหละทั้งๆ ที่ย้อนกลับไปในสมัยก่อน คนทำหนังบ้านเราสามารถหยิบยกเอาประเด็นที่หลากหลายกว่านี้ด้วยซ้ำ มานำเสนอ ไม่ใช่แต่เรื่องทางเพศ หรือโป๊เปลือยเท่านั้น แต่รวมถึงประเด็นที่พูดถึงการวิพากษ์สังคม การเมืองก็มีอยู่มากมายน่าแปลกที่ว่า แทนที่อิสรเสรีภาพในการแสดงออกทางความคิดน่าจะเปิดกว้างขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงยุคสมัย แต่กลับกลายเป็นว่า มันกลับล้าหลัง คร่ำครึและถอยหลังเข้าคลอง
ไปแทน

สุดท้าย หนังทั้งสองเรื่องของธัญสกอย่าง ‘บริเวณนี้อยู่ภายใต้การกักกัน’ และ ‘จุติ’ ก็มีชาตะกรรมแบบเดียวกันกับหนังของอภิชาติพงศ์ (เป็นศิลปินรางวัลศิลปาธรเหมือนกันด้วย!) คือไม่มีโอกาสได้ฉายในโรงหนังเมืองไทย แม้แต่
ในเทศกาลก็ตาม และต้องระหกระเหินเดินสายไปฉายตามเทศกาลหนังเมืองนอก (ดีกว่านะ) โดยที่คนไทยส่วนใหญ่ไม่มีโอกาสได้ดู (อีกแระ) สมน้ำหน้าคนไทย!สุดท้ายแล้ว ถึงแม้เส้นทางของคนทำงานที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ กล้าหาญ ท้าทาย และยึดมั่นในจุดยืนของตัวเองจะไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ และเต็มไปด้วยอุปสรรค ข้อจำกัด และความยากลำบากแต่คนเหล่านี้นี่เอง ที่จะคอยจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ ส่งต่อแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นต่อไป เพื่อสร้างคนทำหนังที่แตกต่างและทางเลือกใหม่ๆ ให้กับนักดูหนังอย่างเราๆ นั่นเอง

ไทยอินดี้

ดังที่กล่าวมาข้างต้นว่า นอกจากการทำงานในฐานะคนทำหนังแล้ว ครั้งหนึ่ง ธัญสก ยังมีอีกบทบาทหนึ่งในฐานะผู้ก่อตั้งกลุ่ม ‘ไทยอินดี้’ ที่คอยทำหน้าที่ผลักดันคนทำหนังอิสระ และคนทำหนังอาร์ตหน้าใหม่ ซึ่งแตกต่างไปจากตลาดโดยสิ้นเชิง และส่งออกผลงานของคนทำหนังไทย(อินดี้) ไปฉายมาแล้วมากกว่า 70 เทศกาลทั่วโลกทุกวันนี้ เมล็ดพันธุ์ของไทยอินดี้ที่เขาปลูกไว้ ผลิดอกออกผล แพร่กระจาย และขยายพันธ์ุจนเติบโตกลายเป็นคนทำหนังอิสระทีน่าจับตาเป็นอย่างยิ่ง

อาทิเช่น

สมพจน์ ชิตเกสรพงศ์ หนึ่งในคนทำหนังสั้นไทยและคนทำหนังอิสระร่วมสมัยที่น่าจับตามองที่สุดคนหนึ่งนอกจากบทบาทผู้ช่วยผู้กำกับของคนทำหนังอาร์ตเบอร์หนึ่งของเมืองไทยอย่าง อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล แล้วเขายังผลิตผลงานหนังสั้นคุณภาพออกมาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เช่น ‘โรคร้ายในรอบหนึ่งร้อยปี3’ (DISEASES
AND A HUNDRED YEAR PERIOD) สารคดีทดลองขนาดสั้น ที่ได้แรงบันดาลใจมาจาก การเซ็นเซอร์ภาพยนตร์ ‘แสงศตวรรษ’ ของอภิชาติพงศ์ ที่ยั่วล้อ เสียดสีกรอบคิดอันคับแคบของการเซ็นเซอร์อย่างแหลมคม เสมือนหนึ่ง
การชำระแค้นให้กับชะตากรรมเลวร้ายของ แสงศตวรรษ ‘Are We There Yet?4’ เป็นสารคดีที่ถ่ายทำบนรถไฟ ซึ่ง
เดินทางจากเหนือจรดใต้ อำนวยการสร้างโดยอภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล (ปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างการโพสต์โปรดักชั่น) ‘เมื่อวาน5’ (Yesterday) หนังสั้นซึ่งผสมผสานระหว่างสารคดีและดราม่าไปจนถึงหนังทดลอง ที่เล่า
เรื่องของนักเรียนนอกกลุ่มหนึ่งอย่างน่าสนใจ

แถมท้าย : เมื่อใครๆ ก็ทำหนังอิสระ

ด้วยความอิสระและไม่จำกัดรูปแบบตายตัวในการทำหนังอาร์ตและหนังนอกกระแส ตัวหนังจึงไม่ได้ถูกจำกัดให้อยู่ในกลุ่มของคนทำหนังเท่านั้น อาทิ เช่น 'มูอัลลาฟ' (The Convert) ที่กำกับโดยนักเขียนและนักวิจารณ์อย่าง ภาณุ อารี, ก้อง ฤทธิ์ดี และกวีนิพนธ์ เกตุประสิทธิ์สารคดีที่ว่าด้วยเรื่องของผู้หญิงที่ต้องเปลี่ยนศาสนาเป็นมุสลิมจากการแต่งงาน ได้รับเลือกให้เข้าฉายในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติแวนคูเวอร์ปี 2008เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซานปี 2008 , เทศกาลภาพยนตร์สารคดีไต้หวันปี2008 ,เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติจาการ์ต้า ปี 2008

สุดท้ายนี้ ผู้เขียนขออนุโมทนาแด่ดวงวิญญาณของภาพยนตร์ และผลงานสร้างสรรค์ทุกชิ้น ที่ถูกผู้มีอำนาจในภาครัฐกระทำการฆ่าตัดตอนไปชิ้นแล้วชิ้นเล่าอย่างไร้มนุษย์ธรรม สาธุ!

ขอบคุณข้อมูลจาก : หนังสือ : เพศ จากธรรมชาติ สู่จริยธรรม จนถึงสุนทรียะ - ธเนศ วงศ์ยานนาวา 2551 สนพ. มติชน, เว็บไซต์ //thaiindie.com/wizContent.asp?wizConID=79, //
thunska2.exteen.com/, //filmsick.exteen.com/20080924/entry, //micro-wave.exteen.com/20081115/something-about-thunska-s-film และความร่วมมือเป็นอย่างดีจากคุณธัญสก พันสิทธิวรกุล




 

Create Date : 08 เมษายน 2553   
Last Update : 8 เมษายน 2553 11:46:36 น.   
Counter : 1619 Pageviews.  


หนังอาร์ต (ที่ไม่จำเป็นต้องปีนกระได) ว่าด้วยงานศิลปะในร่างทรงภาพยนตร์ Part 1

หนังอาร์ต ไม่ได้มาเพราะโชคช่วย

‘หนังอาร์ต’ คำๆ นี้ เปรียบเสมือนยาขมสำหรับหรับนักดูหนังทั่วๆ ไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หนักดูหนังชาวไทย
(อย่าเข้าใจผิด! ไม่ได้เหยียดหยาม เพราะผมเองก็ใช่) หลายคนตำหนิว่ามันดูไม่รู้เรื่อง หลายคนบอกว่ามันน่าเบื่อ
ชวนหลับ ไม่สนุกสนานตื่นเต้นเร้าใจเหมือนหนังฮอลลีวู้ด หลายคนเมินหน้าหนี ร้องยี้ ตั้งแต่ยังไม่ได้ดู ด้วยอ้าง
ว่ามันยากที่จะเข้าใจ และหัวสูงจนต้องอาศัยกระไดมาปีนดู

คำนิยามเหล่านี้ ฟังๆ ดูแล้ว ค่อนข้างเป็นความคิดที่คับแคบ ตีขลุม และไม่ให้โอกาสกันเกินไป เพราะคนที่พูดแบบนี้
บางคน ตัดสินหนังประเภทนี้ตั้งแต่ยังไม่ได้ดู หรือถ้าดูก็ดูด้วยอคติในใจ จึงพาลกล่าวร้ายและกีดกัน ทั้งๆ ที่ความ
จริงพวกมันอาจไม่ได้เข้าใจยากอย่างที่เราตีตนไปก่อนไข้
และบางครั้งชีวิตเราก็อาจต้องการ ‘ยาขม’บ้าง มิใช่หรือ?

คำว่า ‘หนังอาร์ต’ ‘หนังศิลปะ’ หรือ ‘ภาพยนตร์ศิลปะ’ ถ้าจะอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ก็คงต้องยกตัวอย่างที่อยู่ตรงกันข้ามกันขึ้นมาเปรียบเทียบ ซึ่งประเภทของหนังที่อยู่ตรงกันข้ามกับหนังอาร์ตโดยสิ้นเชิงก็คือ ‘หนังตลาด’
‘หนัง’ หรือ ‘ภาพยนตร์’ ก็เปรียบเหมือนกับสินค้าชิ้นหนึ่ง ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองเป้าหมายทางการค้าขาย ดังนั้น ‘หนังตลาด’ จึงเป็นหนังหรือภาพยนตร์ที่ถูกทำขึ้นเพื่อสนองรสนิยมของคนหมู่มาก ตอบสนองความต้องการทางการตลาด เพื่อจะเก็บเกี่ยวผลกำไรได้เยอะๆ การทำหนังจึงถูกยกขึ้นเป็นอุตสาหกรรมชนิดหนึ่ง และอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดในโลกของภาพยนตร์ก็คือ ‘ฮอลลีวู้ด’

ในทางกลับกัน ถ้าเราพูดถึง ‘หนังศิลปะ’ ‘ศิลปะ’ คือการแสดงออกทางความคิด ความรู้สึก ตัวตนของศิลปินหรือคนทำงานศิลปะผ่านสื่อชนิดใดชนิดหนึ่ง เพราะฉะนั้นหนังอาร์ต หรือ หนังศิลปะ ก็คือ การแสดงออกทางความคิด ความรู้สึก ตัวตนของคนทำงานศิลปะ ผ่านสื่อที่ฉายภาพเคลื่อนไหวบนผืนผ้าใบที่เราเรียกกันว่า ‘ภาพยนตร์’ โดยไม่จำเป็นต้องใส่ใจกับรสนิยมของคนหมู่มาก หรือความต้องการทางการตลาดใดๆ เป็นเหตุผลที่ว่าทำไมคนส่วนใหญ่ถึงดูหนังอาร์ตไม่รู้เรื่อง ดูแล้วเบื่อ หลับ หรือดูแล้วไม่เก็ต สรุปง่ายๆ ว่า ‘หนังอาร์ต’ ก็คือ หนังที่ไม่ใช่ ‘หนังตลาด’ นั่นเองถ้าพูดถึง ‘หนังอาร์ต’ หรือ ‘ภาพยนตร์ศิลปะ’ คนส่วนใหญ่มักจะนึกไปถึงหนังจาก ภูมิภาคแถบยุโรป อย่างหนังฝรั่งเศส หนังเยอรมัน หนังอังกฤษ หนังอิตาลี และหนังสเปน ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริง หนังอาร์ตเองก็เป็นแค่เศษเสี้ยวเดียวของภาพยนตร์ยุโรปที่ประกอบ ไปด้วย หนังโป๊หนังตลก หนังน้ำเน่า หนังผี หนังวัยรุ่น หนังแอ็กชั่น ไม่ต่างอะไรกับอเมริกา ฮ่องกง จีน หรือแม้กระทั่งประเทศไทยเองเพราะความเป็นศิลปะของภาพยนตร์ (ที่เราชอบเรียกกันโก้ๆว่า ศิลปะแขนงที่เจ็ด) นั้นไม่ได้อยู่ดีๆ ก็บังเอิญเกิดขึ้นมาเองได้ หรือไม่ได้หมายความว่าคนยุโรปมีความเป็นศิลปะมากกว่าคนซีกโลกอื่น แต่มันเติบโตขึ้นจากการต่อสู้ ผลักดันและการสนับสนุนของบุคคลากรในประเทศเหล่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาล เพื่อสร้างอุตสาหกรรมภาพยนตร์แห่งชาติขึ้นมาแข่งขันกับฮอลลีวู้ดที่เป็นภัยทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมนั่นเอง เพราะในความคิดของคนอเมริกันภาพยนตร์มีไว้เพื่อการค้าและความบันเทิงเท่านั้น มันจึงไม่จำเป็นต้องดัดจริตเป็นศิลปะหรืออะไรที่พิเศษที่คนไม่กี่คนที่จะเสพได้ ช่องว่างตรงนี้นี่เอง เป็นทางออกที่วงการหนังยุโรปจะมีโอกาสแข่งขันทางการตลาดกับคู่แข่งที่ทรงอำนาจที่สุดอย่างฮอลลีวู้ดได้ (ดังจะเห็นได้จากการให้การสนับสนุนด้านเงินทุน จัดตั้งสถาบัน และริเริ่มเทศกาลภาพยนตร์ต่างๆ ขึ้นมา) ดังนั้นความเติบโตของหนังอาร์ต จึงแยกไม่ออกจากบทบาทของรัฐและทุนนิยม และไม่น่าแปลกใจเลยที่ภาพยนตร์ไทยไม่อาจเติบโตจนเป็นอุตสาหกรรม และคนไทยยังคงเป็นทาสทางวัฒนธรรมของต่างชาติ ด้วยเหตุที่มันไม่เคยได้รับการสนับสนุนและผลักดันอย่างแท้จริงจากภาครัฐที่ต่อให้ผ่านมากี่ปีๆ ก็ยังคงงี่เง่า ล้าหลัง และไร้วิสัยทัศน์อยู่วันยังค่ำ
และอาจจะด้วยเหตุผลนี้นี่เอง ที่ทำให้คนไทยไม่ค่อยชอบดูหนังอาร์ต (ลากเข้ามาเกี่ยวซะงั้น!)

สถานภาพในปัจจุบันของหนังอาร์ต ที่ถึงแม้จะจะกินส่วนแบ่งเล็กๆ หรือ เฉพาะกลุ่ม (Niche Market) ในตลาดหนังโลก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะไม่มีที่ยืนเสียเอาเลยหลายทศวรรษที่ผ่านมา คนทำหนังศิลปะ หรือหนังทางเลือกที่แตกต่างรุ่น แล้วรุ่นเล่า ไม่ว่าจะเป็นรุ่นเก่าอย่าง ฟรองซัวส์ ทรูฟโฟท์, ฌอง ลุก โกดารด์, หลุยส์ บุนเยล รุ่นกลางอย่าง ปีเตอร์ กรีนอะเวย์, วิม เวนเดอร์ส, คริสทอฟ คีย์ลอฟสกี้ หรือรุ่นใหม่อย่าง ลาร์ ฟอน ทริเย่, แมทธิว บาร์นีย์, แคทเธอรีน เบรลยาร์ด ฯลฯ ต่างก็ทยอยสร้างสรรค์ผลงานของตัวเองออกมาไม่ขาดสาย และสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนทำหนังรุ่นหลังๆ ส่งต่อความคิดจนกลายเป็นอิทธิพลทางวัฒนธรรมที่แพร่หลายไปทั่วโลก (ในอีกทางหนึ่ง กลายเป็นต้นธารทางไอเดีย ต้นแบบทางปัญญาให้กับวงการอื่นๆ อาทิ วงการหนังกระแสหลักเช่นฮอลลีวู้ด วงการโฆษณา หรือมิวสิกวิดีโอ ฯลฯ ที่หยิบเอาแนวคิด เทคนิค วิธีการในหนังศิลปะหรือหนังอาร์ตไปต่อยอดอย่างสนุกสนานและเมคมันนี่กันอย่างหน้าชื่นตาบาน ดูอย่างเทคนิค Jump Cut* เป็นตัวอย่างนั่นประไร) จากยุโรป สู่อเมริกา แอฟริกา ตะวันออกกลาง เอเชียหรือแม้กระทั่งประเทศไทยเองก็ตาม

แต่ด้วยความที่บ้านเราไม่มีวัฒนธรรมการดูหนังเป็นของตัวเอง และผู้สร้างหนังในบ้านเราส่วนใหญ่ก็ยึดเอากลไก
การตลาดแบบนายทุนเป็นใหญ่ พวกมากลากไป ที่ยืนหรือพื้นที่หายใจของคนทำงานศิลปะบนสื่อหนัง คนทำหนังแบบแตกต่างหรือหนังทางเลือกในประเทศไทย จึงน้อยจนแทบจะไม่มีเหลือ

แต่ในจำนวนน้อยนิดนั้นเอง มีคนทำหนังคนหนึ่งที่มุ่งมั่นสร้างสรรค์ผลงานศิลปะในรูปแบบภาพยนตร์มาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน

คนทำหนังคนนั้นมีชื่อว่า ‘อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล’

นักเล่าเรื่องส่วนตัว

คงไม่ต้องเอามะพร้าวห้าวมาขายสวนอีก ว่าหนุ่มกรุงเทพฯ โดยกำเนิด (แต่ไปเติบโตที่ขอนแก่น) คนนี้ มีความสำคัญต่อวงการหนังอาร์ตบ้านเราแค่ไหน เพราะถ้าอย่าง อภิชาติพงศ์ ไม่ถือว่าเป็นคนทำหนังอาร์ต ประเทศไทยก็คงไม่มีคนทำหนังอาร์ตเลยสักคนเดียว!

จบการศึกษาระดับปริญญาตรีที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และปริญญาโทด้านวิจิตรศิลป์ สาขาภาพยนตร์ จาก The School of Art Institute of Chicago เขาเป็นหนึ่งในคนทำภาพยนตร์ไม่กี่คนใประเทศไทยที่ทำงานนอกระบบสตูดิโอ

ภาพยนตร์ของเขามักจะเป็นการทดลอง ท้าทาย ยั่วล้อ บิดขนบและระบบคิดในการทำภาพยนตร์ โดยยึดหลักโครงเรื่องที่อิงมาจากละครวิทยุ โทรทัศน์ การ์ตูน ภาพยนตร์เก่าๆ บวกกับความเชื่อและตำนานท้องถิ่น เขามักได้แรงบันดาลใจมาจากเมืองเล็กๆ ในชนบท เรื่องราวคนชายขอบที่ไม่มีความหมายในสังคม ความเป็นไทยในแบบธรรมชาติ (ที่ไม่ได้เอาแต่ขายช้างมวยไทย และรำไทยอยู่ร่ำไป)
และมักจะใช้นักแสดงที่ไม่ใช่มืออาชีพ ไม่มีประสบการณ์ ใช้บทสนทนาด้นสด และใช้เวลา
จริง (Real Time) ในการถ่ายทำภาพยนตร์

สำหรับความเป็นคนทำหนัง อภิชาตพงศ์คงไม่มีอะไรต้องพิสูจน์ตัวเองอีกแล้ว ดูได้จากรางวัลต่างๆ ที่ได้รับจาก
งานเทศกาลหนังระดับโลกหลายต่อหลาย รางวัล ไม่ว่าจะเป็นจากรางวัล Un Certain Regard จากหนังเรื่อง สุดเสน่หา (Blissfully Yours) และรางวัล Jury Price จากหนังเรื่อง สัตว์ประหลาด! (Tropical Malady) จากเทศกาลภาพยนตร์ระดับโลกที่เมืองคานส์ (Cannes Film Festival) และผลงานภาพยนตร์เรื่องล่าสุดของเขาอย่าง ‘แสงศตวรรษ’ (Syndromes and a Century) ก็ได้รับเลือกเข้าชิงรางวัลสิงโตทองคำ ในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติที่เมืองเวนิส อิตาลี และยังได้รับรางวัลนานาชาติอื่นๆ อีก 4 รางวัล อีกทั้ง ยังได้รับการโหวดจากเทศกาลหนังนานาชาติโตรอนโต ให้เป็นอันดับหนึ่งในรายชื่อ หนังที่ยอดเยี่ยมที่สุดแท่งทศวรรษ: มุมมองทางเลือกใหม่ และยังติดอันดับที่ 44 และ 97 ในรายชื่อหนังยอดเยี่ยมแห่งทศวรรษ โดยเว็บไซต์ ไทม์เอาต์ นิวยอร์ค และ เทเลกราฟ ตามลำดับ

นอกจากนั้นเขายังได้รับรางวัล ‘ศิลปาธร’ สาขาภาพยนตร์ ประจำปี 2548 จากสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยกระทรวงวัฒนธรรมอีกด้วย

ด้วยดีกรีขนาดนี้ อภิชาติพงศ์น่าจะเป็นผู้กำกับที่เนื้อหอมและเป็นที่ต้องการตัวที่สุดคนหนึ่งของเมืองไทย หากแต่ในความเป็นจริงกลับเป็นตรงกันข้าม เหมือนกับชะตากรรมของคนทำหนังอาร์ตทั่วๆ ไป ผลงานของเขาไม่ได้รับการตอบรับที่ดีนักในบ้านเกิดเมืองนอน จนสามารถกล่าวได้ว่าเขาผู้กำกับหนังไทยที่มีคนไทยดูน้อยที่สุดคนหนึ่ง
หนังของอภิชาติพงศ์มักจะให้ความสำคัญกับความรู้สึก สัญชาติญาณ มากกว่าเรื่องราวและความเข้าใจ เป็นเหตุ
ให้นักดูหนังหลายๆ ที่เคยชินกับการดูหนังแบบเอาเรื่องอย่างหนังฮอลลีวู้ด มักตำหนิว่างานของเขาดูไม่รู้เรื่อง น่าเบื่อ ชวนหลับ ไม่ปะติดปะต่อ หยาบถึงขั้นมักง่าย ซ้ำร้ายเหมือนคนทำหนังไม่เป็นด้วยซ้ำ...

ทั้งที่ในความเป็นจริง หนังของอภิชาตพงศ์ใช้ประโยชน์จากศักยภาพในความเป็นภาพยนตร์ อย่างถึงที่สุด ทั้งการใช้ภาพ แสง สี เสียง ระดับของความมืดสว่าง และจัดวางทัศนธาตุ (Visual Elements) อย่างละเอียดอ่อน พูดอีกอย่างก็คือ สมควรอย่างยิ่งที่จะดูหนังของเขาในโรงภาพยนตร์แต่เป็นที่น่าเสียดายที่โอกาสในการดูหนังของเขาในโรงหนังบ้านเรามีน้อยเสียยิ่งกว่าน้อย ด้วยเงื่อนไขทางการตลาดที่ทำให้หนังของเขาถูกฉายอย่างจำกัด อีกทั้งหนังเรื่องล่าสุดของเขาอย่าง ‘แสงศตวรรษ’ ก็ยังต้องประสบกับชะตากรรมที่เลวร้ายจากความคับแคบของระบบเซ็นเซอร์เมืองไทย

ปัจจุบันหนังของอภิชาตพงศ์เดินสายไปฉายเรียกเสียงชื่นชมในโรงหนังทั่วโลก ยกเว้นโรงหนังในเมืองไทยกับคนไทย ที่จะมีโอกาสได้ดูหนังของเขาอีกหรือไม่ (หรืออาจไม่สนใจ เพราะไม่อยากดูอยู่แล้ว) ก็ไม่อาจรู้ได้

สามารถติดตามผลงานและความเคลื่อนไหวของอภิชาติพงศ์ได้ที่ : //www.kickthemachine.com


หอศิลป์ ทางเลือกใหม่ของการดูหนังอาร์ต

อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า ที่ทางของหนังอาร์ต หรือหนังอิสระในประเทศไทย มีน้อยเสียยิ่งกว่าน้อย (นอกจากโรงหนังอาร์ตเฮ้าส์และโรงหนังทางเลือกไม่กี่โรง ที่โดยส่วนใหญ่ก็มักจะฉายแต่หนังที่มาจากต่างประเทศ) ทางออกของคนทำหนังอาร์ต หรือหนังอิสระในประเทศไทย นอกจากจะเป็นการเดินสายประกวดตามเวทีหรือเทศกาลต่างๆ ทั่วโลกแล้ว การจัดฉายภาพยนตร์ในรูปแบบงานศิลปะตามหอศิลป์ ก็เป็นอีกหนทางหนึ่งในการนำเสนอผลงานของพวกเขาออกสู่สาธารณะชนด้วยความที่หนังอาร์ตเอง ก็ถือว่าเป็นผลงานศิลปะชนิดหนึ่งอยู่แล้ว การนำไปจัดฉายในหอศิลป์จึงเป็นอะไรที่ไม่ขัดเขิน และออกจะถูกที่ถูกทางและลงตัวกว่าการนำไปฉายในโรงภาพยนตร์แบบปกติเสียด้วยซ้ำ เพราะมันคงไม่เป็นการยากที่จะหาคอหนังศิลปะ ในหมู่ผู้นิยมงานศิลปะ และคนที่มีรสนิยมต้องตรงกัน ย่อมเข้าใจกันอยู่แล้ว (อุปมาเหมือนกับเอาวงดนตรีสดไปเล่นในผับ ย่อมเหมาะกว่าเอามาเล่นในห้องสมุดเป็นไหนๆ จริงมะ?)

กับผลงานของอภิชาติพงศ์เองก็เช่นเดียวกัน ที่โดยส่วนใหญ่ แฟนๆ อย่างเราๆ พอจะหาโอกาสดูหนังของเขาก็ได้จากการดูในหอศิลป์ที่จัดแสดงผลงานของเขานั่นแหละไม่ว่าจะเป็น มรกต1 (Emerald), (2007) ภาพยนตร์ติดตั้งจัดวาง (11 นาที) ที่เพิ่งจัดแสดงในนิทรรศการต้ม ยำปลาดิบ ณ หอศิลป์ บ้าน จิม ทอมป์สัน (Jim Thompson Art Center) เมื่อสองปีที่แล้ว หรือ Primitive2 (2009) งานศิลปะติดตั้งจัดวางประกอบหนังสั้น ที่เพิ่งจัดแสดงไปที่แกลเลอรี่ Silom Galleria เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา

ด้วยพื้นที่อันเอื้ออำนวยต่อการสร้างสภาวะแวดล้อมพิเศษในการชมภาพยนตร์ ทำให้ประสบการณ์การชม
ภาพยนตร์ในหอศิลป์มีความแตกต่างจากการชมในโรงภาพยนตร์ธรรมดาๆ และสภาวะแวดล้อมพิเศษอันนี้นี่เอง ที่มีส่วนช่วยสร้างบรรยากาศ เสริมมนต์ขลัง และดึงผู้ชมให้เข้าไปสู่โลกส่วนตัวของคนทำหนังได้อย่างง่ายดายนอกจากการจัดฉายในหอศิลป์แล้ว สถาบันศิลปะองค์กรอิสระ (แน่นอนว่าไม่ใช่หน่วยงานรัฐ) ไนท์คลับ (ของผู้รักศิลปะ) หรือห้องสมุดต่างๆ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับคนรักหนังอาร์ต อาทิ มหาวิทยาลัยศิลปะทุกหนแห่ง ห้องสมุดอย่าง TCDC (ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ) ห้องสมุดวิลเลียม วอร์เรน, ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ห้องสมุดศิลปะ The Reading Room, ดวงกลมฟิล์มเฮ้าส์ (ปิดตัวไปแล้ว) About Cafe ฯลฯ สถานที่ต่างๆ เหล่านี้ทำตัวประหนึ่งโอเอซิสของผู้รักหนังศิลปะ และจัดกิจกรรมฉายหนังอาร์ตและหนังทางเลือกของทั้งศิลปินไทยและเทศให้กับคอหนังศิลปะเสพอยู่เนืองๆ

นอกจากนั้นการจัดฉายภาพยนตร์ในรูปแบบศิลปะ ยังสามารถลุกลามไปยังพื้นที่ส่วนตัวและสาธารณะอื่นๆ ได้อีกตามแต่อัชฌาสัยและโอกาสอันเอื้ออำนวยของศิลปิน ดังตัวอย่าง (แปลกๆ) จากผลงานของศิลปินหนุ่มรุ่นใหม่อย่าง
สถิตย์ ศัสตรศาสตร์ อย่าง Breeze3 ภาพยนตร์สั้นของเขา ที่ถูกนำไปฉายในห้องพักของโรงแรมชั้นสอง อันเป็นส่วนหนึ่งในผลงาน Project Drift (2007) ซึ่งจัดแสดงผลงานศิลปะจัดวางเฉพาะพื้นที่ (Site Specific Installation) ในห้องหมายเลข205 ของโรงแรม Rose Hotel เมื่อสองปีที่ผ่านมาเป็นต้น

สถิตย์ ศัสตรศาสตร์ เกิดในปี 1979 จบปริญญาตรีวิจิตรศิลป์สาขาอินเตอร์มีเดีย (สื่อผสมผสาน) คณะศิลปกรรม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำงานกับสื่อศิลปะภาพยนตร์ วิดีโอติดตั้งจัดวาง และหนังทดลอง ผลงานของเขามุ่งสำรวจความเป็นประเด็นส่วนตัว สาธารณะ สังคมเมือง และการสื่อสารร่วมแสดงผลงานในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ รวมถึงเทศกาลภาพยนตร์ทดลอง ทั้งในและต่างประเทศหลายต่อหลายครั้ง และมีผลงานแสดงงานศิลปะอีกมากมาย ปัจจุบันพำนักและทำงานอยู่ในกรุงเทพฯ สามารถเข้าชมผลงานอื่นๆ ของสถิตได้ที่ //www.nothinginmotion.com/

Jump Cut* : เทคนิคการตัดต่อภาพแบบกระโดด กระตุก ไม่ราบรื่น ซึ่งเคยถือเป็นความสะเพร่าและผิดกฎการทำหนังที่ดีอย่างมหันต์ แต่ในปัจจุบันกลับเป็นที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายเพื่อสื่อถึงจังหวะเวลา และอารมณ์อันขรุขระของตัวละครหรือเนื้อหา รวมถึงเป็นสไตล์ภาพที่เก๋ไก๋แต่ไร้ความหมาย ว่ากันว่า ฌอง ลุก โกดารด์ เป็นผู้กำกับคนแรกที่หยิบเอาเทคนิคนี้มาใช้ แต่เจ้าตัวเองกลับบอกว่าเขาทำไปเพราะต้องการตัดหนังให้สั้นลงตามคำสั่งของผู้จัดจำหน่ายเท่านั้น (อ่ะนะ)


หมายเหตุ : บทความชิ้นนี้ จะไม่มีทางเกิดขึ้นได้เลย ถ้าผู้เขียนไม่ได้รับเชิญให้ไปบรรยายประกอบการฉายหนัง ‘แสงศตวรรษ’ ที่คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร และแรงบันดาลใจจากบรรดาหนังสืออย่าง : หนังอาร์ตไม่ได้มาเพราะโชคช่วย - ธนา วงศ์ยานนาเวช 2551 สนพ. Unfinish Project, สัตว์วิกาล ภาพเรืองแสงของ อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล - Filmvirus Collection 2550 สนพ. openbooks, ภาพไม่นิ่ง - ปราบดาหยุ่น 2554 สนพ. ระหว่างบรรทัด และทุกความช่วยเหลือเป็นอย่างดี จาก คุณอภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล, คุณกฤติยา กาวีวงศ์, คุณธัญสก พันสิทธิวรกุล, คุณสถิตย์ ศัสตรศาสตร์, บริษัท Kick the Machine, ห้องสมุดวิลเลียม วอร์เรน, เว็บไซต์ : //www.kickthemachine.com, //www.thaicinema.org/news51_wcf.asp, //www.animateprojects.org/films/by_project/primitive/primitive


Primitive2 - จดหมายถึงลุงบุญมี (2009)
หนังสั้นและศิลปะติดตั้งจัดวาง ได้รับรางวัลสูงสุดจากการประกวดที่เทศกาลหนังสั้นโอเบอร์เฮาเซ่นที่เยอรมนี
Photo by Chayaporn Maneesutham




 

Create Date : 08 เมษายน 2553   
Last Update : 8 เมษายน 2553 11:31:22 น.   
Counter : 1083 Pageviews.  


Fernando + Humberto Campana : คู่หูดีไซน์เนอร์กับงานดีไซน์แบบพอเพียง

ในขณะที่บ้านเรากำลังตื่นตัวอยู่ในกระแสความพอเพียง (แบบจอมปลอม) ทั้งในด้านเศรษกิจ สังคม ค่านิยม และการเมือง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง วงการออกแบบก็ตกเป็นส่วนหนึ่งในกระแสนั้นด้วย ในประเทศคล้ายๆ บ้านเรา (ที่เขาเรียกกันว่าเป็นโลกที่สาม หรือเรียกกันให้สุภาพว่า ‘ประเทศกำลังพัฒนา’) ประเทศหนึ่ง ก็มีนักออกแบบที่ทำงานโดยยึดพื้นฐานแห่งความพอเพียง และพลิกจุดด้อยของประเทศให้เป็นจุดเด่นอยู่คู่หนึ่ง

สองพี่น้อง เฟอร์นานโด (1961) และ ฮัมเบอร์โต (1953) เป็นดีไซน์เนอร์ดูโอมีชื่อเสียงมากที่สุดคู่หนึ่งของอเมริกา ใต้เกิดใน ริโอ คลาโร ในเมือง เซาเปาโล ‘เฟอร์นานโด’ เรียนจบสถาปัตย์กรรม ในขณะที่ ‘ฮัมเบอร์โต’ เรียนจบกฎหมาย ฮัมเบอร์โตผู้พี่ยึดอาชีพทนายอยู่ระยะหนึ่ง แต่เกิดวามเบื่อหน่ายจึงหันเหมาทำงานที่ต้องใช้แรงจากสองมืออย่างงานประติมากรรม และทำเครื่องประดับ โดยมีน้องชายผู้เป็นสถาปนิกอย่างเฟอร์นานโดเป็นผู้กระตุ้นแรงบันดาลใจและใส่ฟังก์ชั่นลงในผลงาน งานของพวกเขาจึงเป็นการประสานอย่างผสมกลมกลืนระหว่างแนวความคิดและความงามทางศิลปะและประโยชน์ใช้สอยในงานออกแบบ

‘เป็นธรรมชาติ จัดจ้าน และสะเทือนอารมณ์’ เป็นคำนิยามสไตล์งานออกแบบของพวกเขา “เราต้องการนำเอาความฝันกลับมาสู่ผู้คน ดึงความพิเศษออกมาจากสิ่งธรรมดาๆ ในชีวิตประจำวัน และต้องการนำเอาความสนุกสนานและขบขันมาสู่ชีวิต”

จากสตูดิโอที่ดัดแปลงมาจากโรงรถของพวกเขาในเซาเปาโล ประเทศบราซิล พวกเขาสร้างสรรค์งานเฟอร์นิเจอร์ ด้วยแรงบันดาลใจจากชีวิตในท้องถนนอันยากจนของบราซิล และสีสันของวัฒนธรรมคาร์นิวาล
สองพี่น้องคัมพานานำเอาวัสดุเหลือใช้อย่างเช่นเศษไม้, เศษผ้า หรือวัสดุที่เราพบเห็นได้ในชีวิตประจำวันทั่วๆ ไปอย่างสายยางฉีดน้ำ, กระดาษชำระ หรือตุ๊กตาเด็กเล่น รวมเข้ากับการประยุกต์ทางเทคโนโลยี มาสร้างสรรค์งานดีไซน์อันแปลกใหม่และเป็นเอกลักษณ์ที่หาใครเหมือนได้ยาก และนำพาวงการออกแบบของบราซิลทะยานขึ้นสู่ความเป็นสากล

“บราซิลเป็นประเทศที่ยากจน พื้นฐานการผลิตของเราส่วนใหญ่เป็นหัตถกรรม และพึ่งพาแรงงานคน แทนที่เราจะมองมันเป็นจุดด้อย เราก็พลิกวิกฤตินั้นให้เป็นโอกาสเสียเลย ด้วยการนำเอาวัสดุทันสมัยหรือล้าสมัยที่เรามี รวมกับการใช้เทคนิคอันเชี่ยวชาญของงานหัตถกรรมพื้นบ้านของประเทศเรา จนกลายเป็นการสร้างรูปแบบใหม่เฉพาะตัวของเราเอง โดยที่ไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีการผลิตอันล้ำสมัยอันสิ้นเปลืองจากนอกประเทศ”

งานออกแบบของพวกเขามักจะแสดงให้เห็นถึงภาพของชีวิตในบ้านเกิด เพราะพวกเขามักจะใช้วัสดุจากบ้านเกิดอยู่เสมอ อย่างผ้าทอของเซาเปาโลเป็นต้น

“งานออกแบบของพวกเราเกิดจากท้องถนน จากวัฒนธรรมท้องถิ่นของเมืองเรา ซึ่งไม่ถอยห่างจากธรรมชาติ ถ้ามีเวลาว่างเรามักจะกลับไปที่ไร่ของเราอยู่เสมอ เพราะธรรมชาติเป็นบ่อเกิดของความคิดของเรา”

ผลงานอันโดนเด่นของเขาอย่าง เก้าอี้ ‘Vermelha’ ที่พวกเขาใช้เชือกสีธรรมดาๆ ผูกร้อยเข้ากับโครงเหล็กจนกลายเป็นเก้าอี้สุดหรูแปลกตา หรือเก้าอี้ ‘Sushi’ ที่นำเอาแผ่นพลาสติกหลากสีสันกับผืนพรมมาม้วนเข้าด้วยกันเป็นโรล แล้วพลิกมันให้กลายมาเป็นที่นั่งสุดพิสดาร หรือเก้าอี้น่ารักๆ ที่เอาตุ๊กตาหลากชนิดเข้ามาเย็บด้วยกันเป็นเบาะรองนั่ง และชิ้นที่โดดเด่นฮือฮา อย่างเก้าอี้ ‘FAVELA’ ที่ใช้เศษไม้หลายชิ้นปะติดเข้าด้วยกันด้วยตะปู รวมตัวกลายเป็นอาร์มแชร์สุดฮิป จนกลายเป็นเทรนด์ที่ใครหลายๆ คนทำตามกันเป็นแถบๆ

ชีวิตส่วนตัวของพวกเขาเรียบง่าย ไม่ชอบแต่งตัวโก้หรูฟู่ฟ่าหรือขยันออกงานสังคม (เหมือนนักออกแบบชื่อดังบางคน ที่ชอบทำตัวเหมือน ‘นายแบบ’ มากว่า ‘นักออกแบบ’) ในปัจจุบันพวกเขายังคงทำงานด้วยตัวเองอยู่ในสตูดิโอ และมักจะแลกเปลี่ยนทัศนคติในการออกแบบกับผู้คนในสาขาวิชาชีพอื่นๆ อยู่เสมอ

คำแนะนำที่พวกเขามักจะบอกต่อนักออกแบบรุ่นหลังก็คือ

“เรียนรู้จากความผิดพลาด และก้าวออกไปค้นหาสิ่งใหม่ๆ เสมอ”

เข้าไปชมผลงานดีไซน์แบบพอเพียงของพวกเขาได้ที่ //www.campanas.com.br/




 

Create Date : 08 เมษายน 2553   
Last Update : 8 เมษายน 2553 11:46:48 น.   
Counter : 938 Pageviews.  


1  2  3  

panueddie
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add panueddie's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com