พื้นฐานครีม




         ในเนื้อครีม จะประกอบด้วยสารต่างๆ หลายชนิด ทำหน้าที่แตกต่างกัน เพื่อประกอบให้เป็นครีม ตัวอย่างเช่น

Moisturizing ทำหน้าที่ให้ความชุ่มชื้น โดยมีหลายกลไกในการคงความชุ่มชื้น เช่น
- Emolient จะใช้วิธี Occlusion คือ จะเป็นสารพวกน้ำมัน หรือ ไขมัน ปกคลุมผิว ทำให้น้ำในผิวไม่ระเหยออกไป
- Humectant จะเป็นการดูดน้ำ (ความชื้น) ในอากาศมาไว้กับตัว เช่น glycerin, propylene glycol, sorbitol

Emulsifiers ตัวผสานน้ำกับน้ำมัน

Preservatives สารกันเสีย

Perfumes สารแต่งกลิ่น

Coloring agent สารแต่งสี

สารปรุงแต่งอื่นๆ 

( อยู่ระหว่างปรับปรุงนะค่ะ จะมาเพิ่มเติมข้อมูลเรื่อยๆ )






Create Date : 10 พฤษภาคม 2559
Last Update : 11 พฤษภาคม 2559 6:55:06 น.
Counter : 524 Pageviews.

0 comment
ความแตกต่างของ เครื่องสำอาง กับ เวชสำอาง



          เครื่องสำอาง Cosmetics ตามคำนิยามของ อ.ย. หมายถึง วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ทา ถู นวดโรย พ่น หยอด ใส่ อบ หรือกระทำด้วยวิธีอื่นใด ต่อส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย เพื่อความสะอาด ความสวยงาม หรือส่งเสริมให้เกิดความสวยงามและรวมตลอดทั้งเครื่องประทินผิวต่าง ๆแต่ไม่รวมถึงเครื่องประดับและเครื่องแต่งตัว
         เวชสำอาง Cosmeceuticals เป็นคำผสมระหว่าง Cosmetics เครื่องสำอาง กับ Pharmaceuticals ยา ซึ่งหมายถึงผลิตภัณฑ์ที่มีฤทธิ์ระหว่างยากับเครื่องสำอาง โดยมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเซลล์ผิวหนัง และ มีแนวโน้มที่จะมีประสิทธิภาพในเชิงการรักษา

         ประเทศสหรัฐอเมริกา จัดเวชสำอาง เป็น ยาประเภท OTC (Over the Counter) คือ สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ หรือจ่ายโดยเภสัชกร สามารถหาซื้อได้ทั่วไป แต่การขึ้นทะเบียน การผลิต จะเข้มงวดกว่าเครื่องสำอาง 
          ประเทศญี่ปุ่น จัดเวชสำอาง เป็น Quasi drug หมายถึง ผลิตภัณฑ์กึ่งยา ต้องได้รับอนุญาตและขึ้นทะเบียนก่อนออกจำหน่าย 
          EU ไม่มีการแยกเป็นเวชสำอาง จึงอยู่ในกลุ่มเครื่องสำอาง
          ประเทศแคนาดา จัดเวชสำอาง เป็น non-prescriptive drug หมายถึง ยาที่ซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ แต่มีการควบคุมการผลิตและขึ้นทะเบียนเหมือนยา
     ในประเทศไทย จัดทั้งเครื่องสำอาง และ เวชสำอาง เป็นเครื่องสำอางควบคุมทั้งหมด




Create Date : 09 พฤษภาคม 2559
Last Update : 9 พฤษภาคม 2559 22:49:03 น.
Counter : 545 Pageviews.

0 comment
การคำนวณเบื้องต้น


          สูตรผสมต่างๆ เวลาคำนวณ เราจะคำนวณแบบ weight/weight (น้ำหนักต่อน้ำหนัก หรือ กรัมต่อกรัม) เช่น สาร A 5 % หมายถึง มีสาร A 5 กรัม ใน ส่วนผสมทั้งหมด 100 กรัม
         สาเหตุที่ไม่ใช้แบบ weight/volume (น้ำหนักต่อปริมาตร หรือ กรัมต่อมิลลิลิตร) เนื่องจากเนื้อสารแต่ละอย่างมีความถ่วงจำเพาะ (ความหนาแน่น) ไม่เท่ากัน และ ที่อุณหภูมิต่างกันก็มีผลต่อปริมาตรที่ไม่เท่ากัน ซึ่งจะมีผลต่ออัตราส่วนผสม 

         หากอยู่ในช่วงที่เรากำลังทดลองสูตร แนะนำให้จดไว้ทุกครั้งว่าใส่อะไรเท่าไหร่บ้าง แล้วคำนวณกลับเป็นเปอร์เซ็นต์ไว้เป็นสูตรของเราเอง

หมายเหตุ
  1 กิโลกรัม kilogram = 1,000 กรัม gram
   1 ออนส์ ounce,oz = 28.35 กรัม gram
  1 ปอนด์ pound,lb = 16 ออนส์ = 454 กรัม
  1 กิโลกรัม = 2.2 ปอนด์



Create Date : 07 พฤษภาคม 2559
Last Update : 7 พฤษภาคม 2559 0:50:09 น.
Counter : 451 Pageviews.

0 comment

สมาชิกหมายเลข 3053509
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]