"แมงเม่าของเมื่อวันวาน คือ เซียนหุ้นของพรุ่งนี้"
Group Blog
 
All Blogs
 
=====วางหมาก...กระดานหุ้น ตอน กระบวนท่าที่ 3 กำหนดลมหายใจให้แน่นอน=====

ปีที่ 1 เล่มที่ 3 ฉบับที่ 3 วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2548

หยุดพัก ยืดเส้นยืดสาย ก่อนขึ้นกระบวนท่าที่ 3 ไปร่วมสองเดือน วันนี้กลับมาเข้ากระบวนยุทธ์ ในกระบวนท่าที่ 3 กันต่อ

ตอนที่แล้ว “หมากเขียวเรโช” ที่มีทั้งระดับจุลภาค และมหภาค เป็นเรโชเพื่อใช้ตรวจสอบว่า หุ้นที่มีอยู่ หรือที่กำลังจะซื้อ เป็น “ของถูก” หรือไม่ ส่วนจะเป็น “ของดีราคาถูก” หรือ “ของห่วยราคาถูก” ต้องใช้ข้อมูลทางการเงินอื่นๆ มาตรวจสอบ อ่านได้ตามลิงค์นี้ครับ

//topicstock.pantip.com/sinthorn/topicstock/I3645748/I3645748.html

ตอนนี้จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ “การกำหนดจุดขายแน่นอน” เป็นกลยุทธ์ง่ายๆ ที่ช่วยตัดความโลภได้ดีระดับหนึ่ง แต่ทำยากสำหรับคนไม่เคย เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่รู้เทคนิคเลย ลองอ่านกันดูครับ

=======วางหมาก...กระดานหุ้น ตอน กระบวนท่าที่ 3 กำหนดลมหายใจให้แน่นอน=======

ในช่วงที่ตลาดหุ้นขึ้น...ขึ้น...แล้วก็ขึ้น...ซึ่ง ณ ขณะนี้เป็นที่รู้แล้วว่าตลาดยืนเหนือ 700 จุดได้จริง แบบมีนัยสำคัญ ก็จะมีคำพูดต่างๆ นานา ตามมามากมาย ไม่ว่าจะเป็น นักวิแคะปากกาหัก (เป็นใครไม่ต้องบอก) บอกให้ขาย แต่แล้วไปต่อ ไปต่อ แล้วก็ไปต่อ บางครั้งบอกให้ซื้อ พอซื้อปุ๊บ เจ้ามือกลับทิ้งของซะนี่ (ตัวไหน ใครเคยโดน คงจะรู้ๆ กัน ผมไม่บอก เพราะถือคติไม่ใบ้หุ้น ฮาฮาฮา)

นักเล่นหุ้น (ส่วนหนึ่ง) มักที่จะชอบคอยฟัง “ผู้เชี่ยวชาญ” หรือ “เกจิอาจารย์” ในวงการหุ้นทั้งหลาย “ใบ้หุ้น” ว่าหุ้นตัวนั้น ตัวนี้ กลุ่มนั้น กลุ่มนี้ จะไปได้ถึงจุดไหน ถึงจะซื้อหรือขายดี? แล้วก็ตัดสินใจทำตามคำบอกใบ้เหล่านั้นเป็นประจำ และบ่อยครั้งที่ “ขายหมู” “ตกรถ” ก็เยอะ เสร็จแล้ว “แพะรับบาป” ก็คงไม่ใช่ใครอื่น “นักวิแคะ” ที่พวกท่านๆ เรียกนั้นเอง

ผมมักจะมองเป็นกลางเสมอ ไม่เข้าข้างทั้ง “รายย่อย” และ “นักวิเคราะห์” เพราะผมมองว่า หากนักวิเคราะห์ แม่นจริง เขาไม่มาเป็นลูกจ้างบริษัทแล้วครับ ไปนั่งเล่นหุ้นเป็นอาชีพจะดีกว่า การวิเคราะห์นั้น ใช้หลักพื้นฐานของการคาดเดา ความน่าจะเป็น การคำนวณ ประสบการณ์ ฯลฯ อีกมากมาย ซึ่งไม่การันตีว่า 10 ครั้ง จะต้องถูกทุกครั้ง และก็เป็นไปไม่ได้อีก ที่ 10 ครั้ง จะผิดไปทุกครั้ง

ดังนั้น ท่านที่ชอบติดตามนักวิเคราะห์ ควรใช้วิจารณญาณให้ดี ก่อนทำการซื้อขาย

การกำหนดจุดขายแน่นอน เป็นกลยุทธ์หนึ่ง ที่สามารถกำหนดได้ล่วงหน้า ในหุ้นตัวนั้นๆ ที่ท่านเข้าซื้อ คือ ให้กำหนดจุดขายแน่นอนไว้ก่อนว่า เมื่อท่านได้ถือหุ้นนั้นมาแล้ว ท่านจะขายออกไปในราคาเท่าใด ซึ่งมีสองกรณีคือ

เมื่อเกิดกรณีหุ้นตัวนั้นตกลง ท่านต้องกำหนดจุดขายนี้ไว้ตั้งแต่ตอนซื้อ หรือที่เรียกว่า “Stop Loss” บางท่านรู้ว่ามันคืออะไร แต่ใช้ไม่ได้ผลซะที เนื่องจาก “ความโลภ” นั่นเอง ท่านที่เข้าซื้อ แล้วผิดจังหวะ ต้องยอมรับในความผิดพลาดของตัวเอง ว่าท่านมองผิดไป เข้าผิดจังหวะไป หูเบาเกินไป และให้ขายในจุดที่ท่านกำหนดไว้ล่วงหน้า อย่าโลภ อย่าคิดทึกทักเอาเองว่า เดี๋ยวก็ขึ้น (คนที่ถือหุ้นที่เคยราคา 70 บาท แล้วมาอยู่แถวๆ 20 บาท ภายในเวลาไม่ถึงสองปี แต่ไม่ยอมขาย Cut Loss คงจะเข้าใจเป็นอย่างดีแล้วว่า เดี๋ยวก็ขึ้นนั้น มันจะเดี๋ยวถึงเมื่อไหร่กัน)

อีกกรณีหนึ่งคือเมื่อซื้อแล้วหุ้นตัวนั้นขึ้น กลยุทธ์อย่างง่ายคือ การกำหนดจุดขายนี้ไว้ตั้งแต่ตอนซื้อ หรือที่เรียกว่า “Take Profit” คือตั้งเกณฑ์ไว้ล่วงหน้าว่า ท่านต้องการผลตอบแทนกี่เปอร์เซ็นต์ เมื่อถึงราคาที่ตั้งเกณฑ์นั้นไว้ ก็ขายออกไป (ต้องมีวินัยในการใช้ มิเช่นนั้น ไม่มีทางทำได้) เปอร์เซ็นต์ที่ท่านต้องการนั้น ท่านต้องกำหนดเอง จากความเป็นไปได้ ไม่ใช่ “เพ้อฝัน” หรือ “คิดทึกทักเอาเอง” ว่าต้องได้กำไร 100% ถึงจะขาย อะไรประมาณนั้น

ข้อดีของกลยุทธ์การขายแบบนี้ คือ เราจะหลุดพ้นจากการที่ต้องมาหาจุดขาย “ที่เป็นจุดสูงสุดของหุ้นตัวนั้น” เปลี่ยนมาเป็น การหาจุดขาย “ที่ให้ความพึงพอใจ” ที่ได้ขายหุ้นตัวนั้น คือเมื่อท่านได้กำหนดจุดขายไว้ล่วงหน้าแล้วว่า ถ้าได้กำไร....% ท่านพอใจแล้ว ขายได้แล้ว อะไรประมาณนั้น และเมื่อขายออกไปแล้ว ถ้าหุ้นตัวนั้นมันขึ้นต่อ ความรู้สึกที่คิดว่า “ขาดทุนกำไร” จะน้อยลง เนื่องจากท่านได้ขายไปในราคาที่ท่านพึงพอใจแล้ว

ในการซื้อขายจริงๆ ไม่มีใครในโลกนี้ ที่สามารถขายได้ที่จุดสูงสุด และซื้อได้ที่จุดต่ำสุดของหุ้นตัวนั้น ทุกครั้งไป จึงเป็นการเสียเวลาเปล่า ที่ต้องมานั่งพะวง และมานั่งเสียดายว่า จะต้องซื้อที่ราคาต่ำสุด ขายที่ราคาสูงสุด ท่านเอาความทุกข์เหล่านั้น เปลี่ยนมาเป็น “ความพึงพอใจ” ที่ได้ขาย ในราคาที่ท่านกำหนดไว้แต่แรกแล้วจะดีกว่า

แล้วถ้าเกิดกรณีที่ ราคาขึ้นไปยังไม่ถึงจุดที่ท่าน “พึงพอใจจะขาย” แต่ราคามันดันล่วงลงมาเลยแต่ยังกำไรอยู่จะทำอย่างไร คำตอบ คือ การใช้กลยุทธ์ที่ซับซ้อนขึ้น ซึ่งกลยุทธ์การขายออก เมื่อมีกำไรนั้นยังมีอีกมากมาย อาทิ การตัดขายออกแบบพิระมิดหัวกลับ การตัดขายออกแบบเด็ดก้นกรอง ฯลฯ ซึ่งจะกล่าวถึงในกระบวนท่าอื่นๆ ต่อไป หรือแม้แต่ “คลายเครียดเรโช” ก็สามารถใช้ได้ดีเพื่อเป็นกลยุทธ์ในการขายออก

กลยุทธ์การกำหนดจุดขายแน่นอน กรณีที่มีกำไร มีการใช้มานานมากแล้ว และมีนักวิจัยทางการเงินชาวต่างประเทศได้ตั้งกฎการซื้อขายให้เป็นระบบขึ้น เรียกว่า “Filter Rule” คือการตั้งกฎเกณฑ์ว่า เมื่อหุ้นตกลงกี่เปอร์เซ็นต์ให้ซื้อ ขึ้นกี่เปอร์เซ็นต์ให้ขาย ซึ่งมีมานานกว่า 30 ปีแล้ว โดยเผยแพร่ครั้งแรกใน Journal of Finance แต่นักลงทุนไทยไม่ค่อยมีใครรู้จัก

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า DSM ที่นิยมทำกันในปัจจุบัน โดยเฉพาะในคลับเพื่ออิสรภาพทางการเงิน ก็คือ Filter Rule ประเภทหนึ่ง เพียงแต่มีกฎการซื้อขาย ที่มีหลายขั้นตอนมากขึ้น และให้ผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว

ตอนนี้คงจะหยุดไว้เพียงเท่านี้ พบกันตอนหน้า กระบวนท่าที่ 4


“แมงเม่าของเมื่อวันวาน คือ เซียนหุ้นของพรุ่งนี้”




***สงวนลิขสิทธิ์ ห้ามทำการคัดลอก ดัดแปลง แก้ไข โดยไม่ได้อ้างอิงหรือขออนุญาตล่วงหน้า***



Create Date : 28 กันยายน 2548
Last Update : 29 กันยายน 2548 12:05:17 น. 0 comments
Counter : 9520 Pageviews.

หมากเขียว
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 42 คน [?]




สวัสดีครับทุกท่าน...ผมหมากเขียวแห่งสินธร...จาก Head of Prop Trade สู่ Private Trader อิสรภาพที่รอคอย



สงวนลิขสิทธิ์ © พ.ศ.2553 โดย หมากเขียว™ ห้ามลอกเลียน ทำซ้ำ หรือคัดลอกส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความที่เขียนโดยข้าพเจ้านอกจากจะได้รับอนุญาต

Copyright © 2010.All rights reserved. These articles and photos may not be copied, printed or reproduced in any way without prior written permission of Mhakkeaw™.
Friends' blogs
[Add หมากเขียว's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.