ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบอร์ด Thailand Aquatic Pets เว็บบล็อคสำหรับ คนรักสัตว์น้ำ ( และ สัตว์ที่อยู่ในน้ำ ) ประเทศไทยจ้า

นกที่หาได้ยากในเมืองไทย

จากบทความบางส่วน เรื่อง “นกหายากในเมืองไทย” ซึ่งเขียนโดย คุณรุ่งโรจน์ จุกมงคล ในนิตยสารสารคดี

ปัจจุบันมีนก 7 ชนิดที่สูญพันธุ์ไปจากเมืองไทยแล้ว อีกหลายสิบชนิดอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์และหายากมาก บางชนิดไม่พบตัวมานนับสิบปีแล้ว บางชนิดพบน้อยครั้งมาก และจำกัดอยู่ในบางพื้นที่เท่านั้น

เรื่องราวของนกชนิดต่างๆที่จะกล่าวถึงตอไปนี้ เป็นเพียงตัวอย่างของนกที่หายาก ที่อยู่ในภาวะที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง

เมื่อปี พ.ศ. 2511 มีผู้พบนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรเป็นครั้งแรกในประเทศไทย และในโลก ที่บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ นกนิดนี้เป็นหนึ่งในสองชนิดของ “นกที่พบเฉพาะในประเทศไทย” …

หลังการพบครั้งนั้นแล้ว ก็ไม่ปรากฏรายงานการพบนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรอีกเลย นักวิชาการได้แต่คาดเดาเอาว่า นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรสูญหายไปเพราะถูกดักจับไปจำนวนมาก ประกอบกับสิ่งแวดล้อมของบึงบอระเพ็ดเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ... ด้วยเหตุนี้เรื่องราวของนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรจึงเป็นปริศนาเรื่อยมา

ปัจจุบันมีเพียงซากสตัฟน์นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรเพียง 10 ตัว ที่ช่วยยืนยันว่า … ครั้งหนึ่งเคยมีนกชนิดนี้อยู่ในประเทศไทย และในโลก

นกกะเรียน

เป็นนกน้ำขนาดใหญ่ เคยพบอาศัยอยู่ในท้องทุ่งในพื้นที่ราบทั่วประเทศ ในอดีตมักพบรวมฝูงกันเป็นจำนวนมากมายนับหมื่นตัวในช่วงฤดูผสมพันธุ์ …พบที่ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ แต่จำนวนได้ลดลงตามลำดับ … โดยเฉพาะเมื่อเมืองขยายตัว พื้นที่ชุ่มน้ำซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของนกกะเรียนได้ถูกมนุษย์ยึดครองเป็นที่ทำกินและที่อยู่อาศัย ทำให้นกขนาดใหญ่ชนิดนี้หมดโอกาสที่จะมีชีวิตในเมืองไทยอีกต่อไป เนื่องจากขาดแคลนแหล่งอาศัยและขายพันธุ์ … นกกะเรียนที่เคยมีผู้พบเห็นนับจำนวนพัน นับหมื่นตัว จึงกลายเป็นนกหายาก ที่พบเห็นบ้างก็เป็นนกที่อพยพย้ายถิ่นมา

เราได้พบเห็นนกกะเรียนอีกครั้ง เมื่อเกิดโครงการ “นกกะเรียนคืนถิ่น” ซึ่งได้ขอนกกะเรียนพันธุ์ไทยมาจากต่างประเทศ เพื่อกลับมาเพาะขยายพันธุ์ในเมืองไทยอีกครั้ง และนำไปปล่อยให้อาศัยอยู่ในธรรมชาติ

นกอ้ายงั่ว

เป็นนกที่พบได้ตลอดทั้งปีตามหนองบึงทั่วประเทศ ตั้งแต่เหนือจรดใต้  เมื่อเวลาผ่านไป … ต้นไม้ใหญ่หายไปหมด บึงน้ำชานกรุงถูกถม กลายเป็นบ้านจัดสรรโรงงานอุตสาหกรรม … นกอ้ายงั่วก็พลอยหาไปด้วย

นกกาบบัว 

เคยพบได้ง่ายๆตามหนองบึง ท้องทุ่ง ทั่วบริเวณภาคกลางไปจนถึงบริเวณภาคใต้ … ปัจจุบัน นกกาบบัวพบเห็นได้ไม่บ่อย และส่วนใหญ่จะเป็นนกอพยพย้ายถิ่นเข้ามา แต่สถานะของนกชนิดนี้ยังคงเป็นนกประจำถิ่น เพราะยังมีพื้นที่ให้พวกมันสร้างรังวางไข่เป็นแหล่งสุดท้ายที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง แต่ต้นเที้ยและต้นเสม็ดที่สูงใหญ่แข็งแรงพอที่จะให้นกขนาดใหญ่ชนิดนี้ทำรังวางไข่ก็ถูกตัดโค่นลงเกือบหมด

นกตะกรุม

เป็นนกน้ำขนาดใหญ่ที่ไม่เหลืออนาคตอีกแล้วในประเทศนี้ … ครั้งหนึ่งพวกมันเคยมีทั่วไปตามท้องทุ่งภาคกลาง  “นิราศสุพรรณ” ของท่านสุทรภู่ กล่าวถึงนกตะกรุมไว้บทหนึ่ง

นกตะกรุมกลุ้มเกลื่อนท้อง        ทุ่งนา

คุ่มคุ่มสุ่มจับปลา                   ปากโง้ง

ขยอกขยอกกรอกเหนียงพา      เพื่อนเที่ยว เกรียวแฮ

ศีรษะตะกรุมโล้ง                    เล่ห์ล้านบ้านเรา

นกตะกรุม ดูจะเป็นนกที่ชาวบ้านทั่วไปคุ้นเคยเป็นอย่างดี ถึงกับนำชื่อของมันมาล้อเลียนคนที่มีศีรษะล้าน … และนกตะกราม ซึ่งเป็นญาติใกล้ชิดกับนกตะกรุม ที่มีพฤติกรรมในการกินอาหารมูมมาม ก็ถูกนำไปใช้ตำหนิติเตียนคนที่กินอาหารมูมมามว่า ตะกละตะกราม

ปัจจุบันมีรายงานการพบนกตะกรุม-ตะกรามน้อยมากและนานๆครั้ง และมักจะเป็นนกที่อพยพเข้ามาจากกัมพูชา ที่ยังคงมีธรรมชาติสมบูรณ์มากกว่าบ้านเรา

แร้ง 

เริ่มหมดไปเพราะ ศพและซากสัตว์ถูกฝังหรือเผาอย่างถูกวิธี แร้งจึงขาดอาหาร ยิ่งเมื่อต้นไม้ใหญ่หมดไป ฝูงแร้งหลายชนิดจึงลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว ที่เหลืออยู่ ก็จำเป็นต้องหลบหนีหายไปหมดเพื่อความอยู่รอด … บ้างก็ไปพึ่งป่าบางแห่งที่ยังพอมีสัตว์ป่าชุกชุมเพื่อคอยกินซากสัตว์ป่า

การที่ชาวบ้านเริ่มใช้ยาพิษเบื่อสัตว์บางชนิด เช่นหนูหรือสุนัข เมื่อแร้งไปกินซากสัตว์ที่ตายเพราะพิษยา มันก็พลอยได้รับสารพิษนั้นด้วย … แม้กระทั่งเมื่อหลบไปอยู่ในป่า พญาแร้งก็ยังหนีไม่พ้นยาเบื่อ เมื่อพรานนำยาเบื่อไปทาซากเก้งกวางที่ยิงได้ เพื่อล่อให้เสือมากิน จะได้ไม่ต้องยิงเพื่อให้หนังเสือชำรุดเสียหาย เสียราคา …  แต่พญาแร้งที่ชอบกินซากสัตว์มักจะเป็นผู้ที่รับเคราะห์แทน

นกเงือก

เป็นนกขนาดใหญ่ จึงต้องกินอาหารในปริมาณมาก ซึ่งจะหาได้ในป่าที่สมบูรณ์เท่านั้น

นกเงือกมีพฤติกรรมการสร้างรังที่เป็นเอกลักษณ์และแปลกกว่านกอื่น … ตัวเมียจะเข้าไปขังตัวอยู่ภายในโพรงและปิดปากโพรงไว้ เหลือเพียงช่องพอให้ตัวผู้นำอาหารมาป้อน จนเมื่อฟักไข่และลูกนกเติบใหญ่ มันจึงจะเจาะปากโพรงออกมา  ด้วยลำตัวขนาดใหญ่ของนกเงือก ทำให้มันต้องการต้นไม้ที่มีลำต้นสูงใหญ่เพื่อการทำรัง ป่าดงดิบที่มีต้นไม้ใหญ่จึงเป็นสถานที่แห่งเดียวที่พวกมันจะดำรงชีวิตอยู่ได้

นกปรอดแม่ทะ เป็นนกอีกชนิดหนึ่งที่โชคร้ายเพราะเสียงอันไพเราะของมัน … เราอาจจะเห็นการเลี้ยงนกชนิดนี้ตามบ้าน มีขายที่ตลาดค้านก แต่ในธรรมชาตินั้นคาดว่าจะสูญพันธุ์ไปแล้ว เพราะไม่มีรายงานการพบเห็น ทั้งๆ ที่นกปรอดแม่ทะเป็นนกขนาดใหญ่ เคยพบเห็นได้ทั่วไปตามป่าที่ราบต่ำของภาคใต้

เราทุกคนก็มีส่วนร่วมอนุรักษ์นกได้ โดยการสร้างที่อยู่อาศัยของนกขึ้นในบริเวณบ้านของเรา

สำหรับผู้ที่มีบริเวณบ้านกว้างขวางก็อาจจะปลูกไม้ผล เช่น ต้นตะขบ ไทร ตำลึง เพื่อให้นกเข้าไปเก็บกินผล หรืออาจจะวางอาหาร เช่น กล้วย หรือมะละกอ เอาไว้ให้นกกิน … ยามเช้า ถ้ามีกระถางใส่น้ำเตรียมไว้ ก็จะได้เห็นนกหลายชนิดเข้ามาอาบน้ำหรือดื่มกิน

หากคุณต้องการช่วยขยายพันธุ์นก … อาจจะใช้วิธีทำรังนกเทียมให้ อาจจะเป็นรังที่ทำมาจากกระดาษ ไม้ หรือพลาสติก หรือแม้แต่ผลมะพร้าวแห้งที่เจาะเป็นโพรงทิ้งไว้ … ไม่นาน เราอาจจะได้เห็นครอบครัวนกมาใช้บริการเป็นที่พักพิง

//www.oknation.net/blog/supawan/2013/06/13/entry-1

ที่มา:



Create Date : 04 กันยายน 2556
Last Update : 4 กันยายน 2556 21:46:15 น. 0 comments
Counter : 2471 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

เหมียวกุ่ย
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 40 คน [?]




ยินดีต้อนรับพี่ๆน้องๆทุกท่านเข้าเยี่ยมชม เว็บบล็อคแห่งนี้ หวังว่าทุกท่านจะมีความสุขในการชมบล็อคของกระผมนะครับ










View My Stats
New Comments
[Add เหมียวกุ่ย's blog to your web]