เรา..เกิดมาสร้างบารมี ชีวิตนี้จึงมี..แต่กำไร มองทุกอย่างผ่านเลยไป.. ในหนทางของนักสร้างบารมี เพราะรู้ว่า ชีวิตมักผิดพลาด เผลอประมาททำไม่ดี ทุกข์ทุก..อย่างในโลกนี้ เกิดแต่กรรมที่ทำมา

สมาธิ คืออะไร?

สมาธิ คืออะไร ?



เมื่อกล่าวถึงสมาธิ ต้องเข้าใจในเบื้องต้นว่า สมาธิมิใช่เรื่องของฤๅษีชีไพร หรือมิใช่เป็นเรื่องที่ประพฤติปฏิบัติได้เฉพาะผู้ที่เป็นนักบวชเท่านั้น แต่สมาธิเป็นเรื่องของการฝึกฝนอบรมจิตใจ และเป็นการพัฒนาจิตใจให้มีความมั่นคง ตั้งมั่น และทำให้มีคุณภาพทางจิตใจที่ดีขึ้น ซึ่งในทางพระพุทธศาสนานั้น สมาธิสามารถประพฤติปฏิบัติได้ ทั้งเพื่อประโยชน์ต่อความมีชีวิตที่อยู่เป็นสุขในเพศภาวะของผู้ที่ยังครองเรือน และยังเป็นการปฏิบัติเพื่อนำไปสู่ความหลุดพ้นสำหรับผู้ที่เป็นนักบวชอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม สมาธิ ถือเป็นเรื่องสากล กล่าวคือ มิใช่เฉพาะพุทธศาสนิกชนเท่านั้นที่จะสามารถปฏิบัติสมาธิได้ แม้ผู้ที่นับถือศาสนาอื่นก็สามารถปฏิบัติสมาธิได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ การฝึกสมาธิจะเน้นให้ความสำคัญของการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เพราะนอกจากจะทำให้ผู้ปฏิบัติเห็นผลด้วยตนเองแล้ว หากมีข้อสงสัยในเชิงปฏิบัติ ก็สามารถที่จะสอบถามจากผู้รู้ผู้ชำนาญได้อย่างตรงเป้าหมายหรือตรงต่อประสบการณ์ที่ตนเองได้ปฏิบัติมา และถึงแม้จะมีการอธิบายรายละเอียดความรู้ของสมาธิในเชิงทฤษฎี แต่กระนั้นก็มิอาจจะที่จะละเลยสมาธิในเชิงปฏิบัติได้

ความหมายของสมาธิ
การอธิบายความหมายของสมาธิ สามารถอธิบายได้ทั้งในเชิงลักษณะผลของสมาธิที่เกิดขึ้นและอธิบายในลักษณะในเชิงการปฏิบัติ เช่น สมาธิ คือความสงบ สบาย และความรู้สึกเป็นสุขอย่างยิ่งที่มนุษย์สามารถสร้างขึ้นได้ด้วยตนเอง เป็นข้อควรปฏิบัติ เพื่อการดำรงชีวิตทุกวันอย่างเป็นสุข ไม่ประมาท เต็มไปด้วยสติสัมปชัญญะและปัญญา อันเป็นเรื่องไม่เหลือวิสัย ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ง่ายๆ

ความหมายในเชิงลักษณะผลของสมาธิ
สมาธิ คือ อาการที่ใจตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวอย่างต่อเนื่อง หรือ อาการที่ใจหยุดนิ่งแน่วแน่ ไม่ซัดส่ายไปมา เป็นอาการที่ใจสงบรวมเป็นหนึ่งแน่วแน่ มีแต่ความบริสุทธิ์ผ่องใส สว่างไสวผุดขึ้นในใจ จนกระทั่งสามารถเห็นความบริสุทธิ์นั้นด้วยใจตนเอง อันจะก่อให้เกิดทั้งกำลังใจ กำลังขวัญ กำลังปัญญา และความสุขแก่ผู้ปฏิบัติในเวลาเดียวกัน1

ความหมายในเชิงลักษณะการปฏิบัติ
กล่าวอีกนัยหนึ่งในเชิงลักษณะการปฏิบัติ สมาธิ แปลว่า ความตั้งมั่นของจิต หรือภาวะที่จิตแน่วแน่ต่อสิ่งที่กำหนด หรือการที่จิตกำหนดแน่วแน่อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่าน

ความหมายในเชิงปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงธรรมกาย
*
พระราชภาวนาวิสุทธิ์2 ได้ให้ความหมายของการทำสมาธิภาวนาในเชิงของการปฏิบัติว่า การทำสมาธิก็คือการทำใจของเราให้หยุดนิ่ง อยู่ภายในกลางกายของเรา กล่าวคือการดึงใจกลับเข้ามาสู่ภายใน อยู่กับเนื้อกับตัวของเรา ในอารมณ์ที่สบาย เป็นการดึงใจที่ซัดส่ายไปในอารมณ์ต่าง ๆ ในความคิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องครอบครัว ธุรกิจการงาน การศึกษาเล่าเรียน เรื่องสนุกสนานเฮฮา หรือเรื่องอะไรที่นอกเหนือจากนี้ก็ตาม ดึงกลับมาไว้อยู่กับตัวของเราให้มามีอารมณ์เดียว ใจเดียว ซึ่งท่านได้อ้างอิงถึงพระมงคลเทพมุนี(หลวงปู่วัดปากน้ำฯ) ซึ่งได้เคยอธิบายเรื่องการทำสมาธิว่า คือการทำให้ความเห็น ความจำ ความคิด ความรู้ รวมหยุดเป็นจุดเดียว หรือให้รวมหยุดเป็นจุดเดียวในอารมณ์ที่สบายที่กลางกายของเรา ซึ่งวิธีที่จะทำให้เกิดสมาธิเพื่อการเข้าถึงธรรมกายก็คือฝึกใจให้หยุดให้นิ่งอยู่ภายใน

1พระภาวนาวิริยคุณ(เผด็จ ทัตตชีโว), [2545] พระแท้, ปทุมธานี, หน้า 210.
2 พระราชภาวนาวิสุทธิ์, [2537] บทพระธรรมเทศนา วันอาทิตย์ต้นเดือน,( 6 พฤศจิกายน 2537) ปทุมธานี.




 

Create Date : 18 พฤษภาคม 2549   
Last Update : 18 พฤษภาคม 2549 19:21:53 น.   
Counter : 297 Pageviews.  

ประเภทของสมาธิ

ประเภทของสมาธิ
สมาธิมีกี่ประเภท ?
*
โดยปกติแล้ว มนุษย์ย่อมจะเกลียดความทุกข์และมุ่งแสวงหาความสุขให้กับตนเอง แต่ความสุขที่ต่างคนต่างแสวงหานั้น ส่วนใหญ่เป็นเพียงความสุขที่ให้ผลชั่วครั้งชั่วคราวหรือเป็นความสุขภายนอกที่ยังไม่สามารถทำให้จิตใจคลายจากรากเหง้าของความทุกข์และนำไปสู่ความสุขที่ถาวรได้ ทั้งนี้ เพราะมนุษย์ส่วนใหญ่นั้น ยังไม่เข้าใจว่าความทุกข์ที่เกิดขึ้นในจิตใจนั้น จะต้องแก้ที่จิตใจ หาใช่แก้ที่ร่างกายหรือสิ่งที่เป็นปัจจัยภายนอก เช่น มีการเสพยาเสพติด การเที่ยวเตร่เฮฮา ซึ่งเป็นการทำให้จิตใจเพลิดเพลิน ลืมความทุกข์ไปชั่วขณะ แต่ในที่สุดก็หาได้ทำให้พ้นจากความทุกข์ดังกล่าวได้ ดังนั้น การทำสมาธิ จึงเป็นวิธีการที่สำคัญที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาและนำไปสู่การพ้นจากความทุกข์ได้อย่างแท้จริง ดังจะพบว่าปัจจุบัน ผู้คนในสังคมต่างๆ โดยเฉพาะในสังคมของประเทศตะวันตก เริ่มให้ความสนใจกับการฝึกสมาธิกันแพร่หลายมากขึ้น

แต่อย่างไรก็ตาม การฝึกสมาธิที่มีการสอนกันโดยทั่วไปนั้น มีวัตถุประสงค์แตกต่างกัน เช่น เพื่อการแสดงฤทธิ์ทางใจในรูปของการปลุกเสก ร่ายคาถา อาคม เป็นต้น ซึ่งย่อมทำให้ผู้คนเกิดศรัทธา ชื่นชม ยกย่องในความเก่งกล้าสามารถ หรือการฝึกสมาธิบางประเภทก็มุ่งเพื่อการเจริญสติ ก่อให้เกิดปัญญา นำไปสู่ทางพ้นทุกข์ หากจะอธิบายโดยทั่วไปได้คือ สมาธิที่มีการสอนในโลกนี้สามารถจัดแบ่งได้หลายประเภทตามหลักปฏิบัติ วิธีการ หรืออื่นๆ มากมาย ในเบื้องต้นนี้ สมาธิสามารถจัดแบ่งเป็นประเภทได้ ดังต่อไปนี้ คือ

1. สัมมาสมาธิ
2. มิจฉาสมาธิ
ประเภทของสมาธิ

1. สัมมาสมาธิ
การฝึกสมาธิเพื่อให้เกิดประโยชน์และคุณค่า ผู้ฝึกหรือผู้ปฏิบัติย่อมต้องการที่จะฝึกหรือปฏิบัติในแนวทางที่ถูกต้อง ซึ่งนอกจากจะฝึกหรือปฏิบัติได้ถูกต้องแล้ว จำเป็นจะต้องทราบว่าวัตถุประสงค์ของการฝึกหรือปฏิบัติเพื่ออะไร ทั้งนี้การฝึกสมาธิในแนวทางที่ถูกต้องในทางพระพุทธศาสนาเรียกว่าสัมมาสมาธิ และสัมมาสมาธินั้น โดยความหมายทั่วไป หมายถึงการตั้งจิตมั่นชอบ ซึ่งในพระไตรปิฎกได้กล่าวถึงสัมมาสมาธิไว้หลายแห่ง โดยได้อธิบายความหมาย ตลอดจนลักษณะของสัมมาสมาธิไว้ หลายแห่งดังนี้



สัมมาสมาธิเป็นไฉน ?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้า ถึงปฐมฌานมีวิตกวิจารมีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอเข้าถึงทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป เข้าถึงตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เธอเข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.1

จากความที่ยกนำมากล่าวนี้ แสดงว่าสัมมาสมาธิ จะมีความสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เมื่อเข้าถึงปฐมฌาน จนกระทั่งถึงจตุตถฌานแล้ว จะมีสภาวะที่ไม่สุข ไม่ทุกข์ และเป็นอุเบกขา จนมีสติบริสุทธิ์ นอกจากนี้ ในพระไตรปิฎกยังกล่าวถึงลักษณะของสัมมาสมาธิไว้ดังนี้

1.ลักษณะของสัมมาสมาธิคือการที่จิตไม่ฟุ้งซ่าน2
2.สัมมาสมาธิ มีความตั้งมั่นแห่งจิตโดยชอบเป็นลักษณะ3



ส่วนในพระอภิธรรมปิฎก4 ได้กล่าวถึงลักษณะของจิตที่เป็นสัมมาสมาธิว่า


สัมมาสมาธิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ความตั้งใจชอบ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาสมาธิมีในสมัยนั้น.



จากลักษณะของสัมมาสมาธิที่กล่าวนี้ ในพระไตรปิฎกยังแสดงให้เห็นว่า สัมมาสมาธิมีคุณูปการแก่ผู้ฝึกหรือผู้ปฏิบัติ โดยเมื่อจิตไม่ฟุ้งซ่านและมีความตั้งมั่นแห่งจิตแล้ว ย่อมขจัดมิจฉาสมาธิ ตลอดจนกิเลสได้ ดังความในพราหมณสูต5 กล่าวถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้อีกตอนหนึ่งว่า

สัมมาสมาธิที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว มีการกำจัดราคะเป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด.

จากความข้างต้น แสดงให้ทราบว่า สัมมาสมาธิสามารถขจัดมิจฉาสมาธิ ตลอดจนกิเลสและความฟุ้งซ่าน สามารถทำให้ผู้ปฏิบัติเข้าสู่เป้าหมายสูงสุดคือพระนิพพานได้ ดังความในปปัญจสูทนี อรรถกถามัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ กล่าวไว้ดังนี้

สัมมาสมาธิ (เมื่อเกิดขึ้น) ย่อมละมิจฉาสมาธิ กิเลสที่เป็นข้าศึกต่อสัมมาสมาธิและความฟุ้งซ่านนั้นได้ กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ และย่อมตั้งมั่นสัมปยุตธรรมทั้งหลายไว้โดยชอบ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า สัมมาสมาธิ.6

สรุปได้ว่า การจะฝึกสมาธินั้น บุคคลจะต้องยึดหลักการฝึกแบบสัมมาสมาธิ กล่าวคือ ฝึกเพื่อการทำให้ใจสงบ ระงับจากกาม ปราศจากอกุศลธรรมทั้งหลาย และไม่ฟุ้งซ่าน จนกระทั่งจิตตั้งมั่น ไม่ซัดส่าย ก็จะสามารถทำให้การฝึกและปฏิบัติของบุคคลนั้น ถูกต้อง ตรงต่อพระพุทธธรรมคำสอน จนสามารถบรรลุถึงเป้าหมาย คือพระนิพพานได้ ทั้งนี้ การที่จะจิตจะไม่ฟุ้งซ่าน จิตจะต้องไม่คิดหรือตรึกในสิ่งที่จะทำให้จิตเกิดราคะ โทสะ โมหะ ซึ่งในพระไตรปิฎก ได้กล่าวถึงลักษณะของจิตฟุ้งซ่านว่า จะมีลักษณะที่ซัดส่ายไปข้างนอก คือซัดส่ายไปในอารมณ์ คือกามคุณ ทำให้มีความพอใจในกามคุณ 5 อย่าง คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ซึ่งทำให้จิตระคนปนเจือไปด้วยความตรึกไปในกาม7

1 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ สติปัฏฐานสูตร เล่ม 17 หน้า 628-9
2 (ปปัญจสูทนี อรรถกถามัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม 17 หน้า 112)
3 (ปปัญจสูทนี อรรถกถามัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม 17 หน้า 250)
4 พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี จิตตุปปาทกัณฑ์ กามาวจรกุศล เล่ม 75 หน้า 360-1
5 พราหมณสูตรและอรรถกถา เล่ม 30 หน้า 13
6 ปปัญจสูทนี อรรถกถามัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม 17 หน้า 252
7 สารัตถปกาสินี อรรถกถาสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม 31 หน้า 166





 

Create Date : 18 พฤษภาคม 2549   
Last Update : 20 พฤษภาคม 2549 11:51:41 น.   
Counter : 368 Pageviews.  

สัมมาสมาธิ

ประเภทของสมาธิ



1. สัมมาสมาธิ
การฝึกสมาธิเพื่อให้เกิดประโยชน์และคุณค่า ผู้ฝึกหรือผู้ปฏิบัติย่อมต้องการที่จะฝึกหรือปฏิบัติในแนวทางที่ถูกต้อง ซึ่งนอกจากจะฝึกหรือปฏิบัติได้ถูกต้องแล้ว จำเป็นจะต้องทราบว่าวัตถุประสงค์ของการฝึกหรือปฏิบัติเพื่ออะไร ทั้งนี้การฝึกสมาธิในแนวทางที่ถูกต้องในทางพระพุทธศาสนาเรียกว่าสัมมาสมาธิ และสัมมาสมาธินั้น โดยความหมายทั่วไป หมายถึงการตั้งจิตมั่นชอบ ซึ่งในพระไตรปิฎกได้กล่าวถึงสัมมาสมาธิไว้หลายแห่ง โดยได้อธิบายความหมาย ตลอดจนลักษณะของสัมมาสมาธิไว้ หลายแห่งดังนี้



สัมมาสมาธิเป็นไฉน ?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้า ถึงปฐมฌานมีวิตกวิจารมีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอเข้าถึงทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป เข้าถึงตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เธอเข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.1

จากความที่ยกนำมากล่าวนี้ แสดงว่าสัมมาสมาธิ จะมีความสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เมื่อเข้าถึงปฐมฌาน จนกระทั่งถึงจตุตถฌานแล้ว จะมีสภาวะที่ไม่สุข ไม่ทุกข์ และเป็นอุเบกขา จนมีสติบริสุทธิ์ นอกจากนี้ ในพระไตรปิฎกยังกล่าวถึงลักษณะของสัมมาสมาธิไว้ดังนี้

1.ลักษณะของสัมมาสมาธิคือการที่จิตไม่ฟุ้งซ่าน2
2.สัมมาสมาธิ มีความตั้งมั่นแห่งจิตโดยชอบเป็นลักษณะ3



ส่วนในพระอภิธรรมปิฎก4 ได้กล่าวถึงลักษณะของจิตที่เป็นสัมมาสมาธิว่า

สัมมาสมาธิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ความตั้งใจชอบ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาสมาธิมีในสมัยนั้น.



จากลักษณะของสัมมาสมาธิที่กล่าวนี้ ในพระไตรปิฎกยังแสดงให้เห็นว่า สัมมาสมาธิมีคุณูปการแก่ผู้ฝึกหรือผู้ปฏิบัติ โดยเมื่อจิตไม่ฟุ้งซ่านและมีความตั้งมั่นแห่งจิตแล้ว ย่อมขจัดมิจฉาสมาธิ ตลอดจนกิเลสได้ ดังความในพราหมณสูต5 กล่าวถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้อีกตอนหนึ่งว่า

สัมมาสมาธิที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว มีการกำจัดราคะเป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด.

จากความข้างต้น แสดงให้ทราบว่า สัมมาสมาธิสามารถขจัดมิจฉาสมาธิ ตลอดจนกิเลสและความฟุ้งซ่าน สามารถทำให้ผู้ปฏิบัติเข้าสู่เป้าหมายสูงสุดคือพระนิพพานได้ ดังความในปปัญจสูทนี อรรถกถามัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ กล่าวไว้ดังนี้

สัมมาสมาธิ (เมื่อเกิดขึ้น) ย่อมละมิจฉาสมาธิ กิเลสที่เป็นข้าศึกต่อสัมมาสมาธิและความฟุ้งซ่านนั้นได้ กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ และย่อมตั้งมั่นสัมปยุตธรรมทั้งหลายไว้โดยชอบ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า สัมมาสมาธิ.6



สรุปได้ว่า การจะฝึกสมาธินั้น บุคคลจะต้องยึดหลักการฝึกแบบสัมมาสมาธิ กล่าวคือ ฝึกเพื่อการทำให้ใจสงบ ระงับจากกาม ปราศจากอกุศลธรรมทั้งหลาย และไม่ฟุ้งซ่าน จนกระทั่งจิตตั้งมั่น ไม่ซัดส่าย ก็จะสามารถทำให้การฝึกและปฏิบัติของบุคคลนั้น ถูกต้อง ตรงต่อพระพุทธธรรมคำสอน จนสามารถบรรลุถึงเป้าหมาย คือพระนิพพานได้ ทั้งนี้ การที่จะจิตจะไม่ฟุ้งซ่าน จิตจะต้องไม่คิดหรือตรึกในสิ่งที่จะทำให้จิตเกิดราคะ โทสะ โมหะ ซึ่งในพระไตรปิฎก ได้กล่าวถึงลักษณะของจิตฟุ้งซ่านว่า จะมีลักษณะที่ซัดส่ายไปข้างนอก คือซัดส่ายไปในอารมณ์ คือกามคุณ ทำให้มีความพอใจในกามคุณ 5 อย่าง คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ซึ่งทำให้จิตระคนปนเจือไปด้วยความตรึกไปในกาม7




1 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ สติปัฏฐานสูตร เล่ม 17 หน้า 628-9
2 (ปปัญจสูทนี อรรถกถามัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม 17 หน้า 112)
3 (ปปัญจสูทนี อรรถกถามัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม 17 หน้า 250)
4 พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี จิตตุปปาทกัณฑ์ กามาวจรกุศล เล่ม 75 หน้า 360-1
5 พราหมณสูตรและอรรถกถา เล่ม 30 หน้า 13
6 ปปัญจสูทนี อรรถกถามัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม 17 หน้า 252
7 สารัตถปกาสินี อรรถกถาสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม 31 หน้า 166




 

Create Date : 18 พฤษภาคม 2549   
Last Update : 18 พฤษภาคม 2549 19:10:25 น.   
Counter : 192 Pageviews.  

มิจฉาสมาธิ

2. มิจฉาสมาธิ
มิจฉาสมาธิ โดยความหมายที่ตรงข้ามกับสัมมาสมาธินั้น ก็หมายถึงการตั้งมั่นจิตที่ไม่ชอบ หรือการที่จิตตั้งมั่นในสิ่งที่ผิด ซึ่งในพระไตรปิฎ1 ได้อธิบายว่าที่ชื่อว่า มิจฉาสมาธิ เพราะตั้งมั่นตามความไม่เป็นจริง ดังนั้น มิจฉาสมาธิจึงเป็นสิ่งที่แตกต่างจากสัมมาสมาธิ นั่นคือ มิจฉาสมาธิจะทำให้จิตซัดส่าย ฟุ้งซ่าน เป็นสภาพจิตที่ส่งออกนอกเพื่อไปมีความพอใจในกามคุณ 5 อย่าง คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ซึ่งทำให้จิตระคนปนเจือไปด้วยความตรึกไปในกาม ดังนั้น มิจฉาสมาธิจึงเป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำให้กิเลสคือ โลภะ โทสะ และโมหะ เบาบางลงได้ และไม่ใช่หนทางที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายสูงสุดคือ พระนิพพานได้ ทั้งนี้ในพระไตรปิฎกได้อธิบายไว้อีกว่า

มิจฉาสมาธิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความ
ไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ความตั้งใจผิด ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า มิจฉาสมาธิมีในสมัยนั้น2



ดังนั้น การฝึกสมาธิ จึงต้องยึดปฏิบัติตามหลักสัมมาสมาธิ ด้วยการไม่ส่งใจไปเกาะเกี่ยวกับกามคุณ ไม่ปล่อยใจให้ซัดส่ายเพลิดเพลินใน รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัสทางกาย โดยในทางตรงข้าม จะต้องน้อมใจให้อยู่ภายในกาย ให้ตั้งมั่น ไม่ซัดส่าย ไม่ฟุ้งซ่าน หมั่นพิจารณาสภาวะที่ปรากฏตามความเป็นจริง พร้อมด้วยการละโทสะ โมหะ และโทสะ ที่เกิดขึ้นในใจของตน อันจะสามารถนำไปสู่ทางพ้นทุกข์ และจะทำให้บรรลุเป้าหมายสูงสุดในทางพระพุทธศาสนาได้



ประเภทของสมาธิจำแนกตามการวางใจ
สมาธิสามารถจำแนกได้ตามวิธีการกำหนดวางที่ตั้งของใจ หรือแบ่งตามที่ตั้งของใจในขณะที่เจริญสมาธิ ได้ 3 ประเภท ดังนี้ คือ
1. ประเภทวางใจไว้นอกร่างกาย
2. ประเภทวางใจในตัวส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
3. ประเภทวางใจไว้ในร่างกายที่ศูนย์กลางกาย


1. ประเภทวางใจไว้นอกร่างกาย
วิธีส่งจิตหรือใจออกข้างนอก เป็นวิธีที่ส่วนใหญ่ในโลกนี้ได้ใช้ฝึกกัน คือเอาใจส่งออกไปข้างนอกกาย เพราะเป็นวิธีการที่ง่าย เนื่องจากปกติคนส่วนใหญ่มักมีนิสัยชอบมองไปข้างนอก ดังนั้นการส่งจิตออกไปข้างนอกจึงสบาย ง่าย และทำได้กันเกือบจะทุกคน แต่ข้อเสียก็มี คือจะมีภาพนิมิตลวงเกิดขึ้นมา เป็นนิมิตเลื่อนลอยไม่ใช่ของจริงเกิดขึ้น บางนิมิตก็น่าเพลิดเพลิน
บางนิมิตเห็นแล้วก็น่าสะดุ้งหวาดเสียว ถ้าหากว่าได้ครูที่ไม่ชำนาญ ไม่มีประสบการณ์เป็นผู้แนะนำ จะทำให้จิตออกไปข้างนอก และเป็นสาเหตุที่ทำให้ได้ยินบ่อยครั้งว่าการปฏิบัติธรรมฝึกจิตเป็นเหตุให้เป็นบ้า ซึ่งที่จริงเกิดจากการวางใจไว้ผิดที่ โดยเอาออกไปสู่ข้างนอก เพราะฉะนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นมาจึงผิดมากกว่าถูก เก้าสิบกว่าเปอร์เซ็นต์ในโลกนี้ฝึกจิตด้วยวิธีการแบบนี้ ไม่ทางสู่ความพ้นทุกข์ ไม่เข้าถึงสรณะ เข้าไม่ถึงที่พึ่งที่ระลึกภายในตัว และเป็นโอกาสให้หลงตัวเอง พลาดพลั้ง และเดินผิดทางได้

2. ประเภทวางใจในตัวส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
ประเภทที่ 2 จะเป็นการเอาใจมาไว้ข้างใน หรือคือการเอาความรู้สึกอยู่ภายในแล้วก็หยุดนิ่งเฉย ๆ ลอยๆ อยู่ภายในตัวของเราตามฐานต่างๆ ส่วนใหญ่แล้วมักจะอยู่ที่บริเวณทรวงอก แล้วหยุดนิ่งสงบ มีความเย็นกายเย็นใจเกิดขึ้น มีสติ มีปัญญา มีความรู้รอบตัวเกิดขึ้นบ้าง ซึ่งการปฏิบัติด้วยวิธีที่สองนี้มีอยู่น้อยในโลก วิธีอย่างนี้ยังถือว่าถูกมากกว่าผิด เช่น ถ้าจิตฝึกฝนด้วยการปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่างในโลก ไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรทั้งสิ้น แล้วก็ปล่อยให้สงบนิ่ง อยู่ภายในตัว จะทำให้รู้สึกมีความสุขอยู่ภายใน และการทำสมาธิแบบนี้จะทำให้มีความรู้สึกว่าเราไม่ติดอะไรเลย ไม่ยินดียินร้าย ปล่อยวางสงบ สว่างเย็น อยู่เฉยๆ อยู่ภายใน จะไม่ค่อยมีนิมิตเลื่อนลอยเกิดขึ้น เพราะว่าปล่อยวางหมด เอาแต่ความบริสุทธิ์ผ่องใสอย่างเดียว ให้สงบเย็น ความรู้ต่าง ๆ ก็เกิดขึ้นกว้างขวางกว่าเดิมมาก แต่ก็ยังเข้าไปไม่ถึงการพิจารณากายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม จึงยังไม่ได้ชื่อว่าเข้าถึงไตรสรณคมน์ หรือหนทางพ้นทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิง

3. ประเภทวางใจไว้ในร่างกายที่ศูนย์กลางกาย
ประเภทที่ 3 เป็นการฝึกใจโดยการเอาใจมาหยุดนิ่งภายในกลางกาย หรืออยู่ที่ตรงฐานที่ 7 หยุดจนกระทั่งถูกส่วน แล้วเห็นปฐมมรรคเกิดขึ้นมาเป็นดวงสว่าง ได้ดำเนินจิตเข้าไปในทางนั้น กลางของกลางปรากฏการณ์นั้น เข้าไปเรื่อย ๆ โดยเอามรรคมีองค์แปดประการขึ้นมาเป็นเครื่องปฏิบัติ



(ภาพ ฐานการวางใจ)


คำว่า มรรค แปลว่าหนทาง หมายความว่าทางเดินของใจ ทางเดินของใจที่จะเข้าไปสู่ภายใน จนกระทั่งหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะทั้งหลาย โดยอาศัยศีล สมาธิ ปัญญา เป็นเครื่องกลั่นกรองใจ ให้สะอาด ให้บริสุทธิ์ ให้ผ่องใสขึ้นไปตามลำดับ จนกระทั่งเข้าไปถึงธรรมกายที่บริสุทธิ์หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะทั้งหลาย


ตรงฐานที่ 7 ตรงนี้ที่เดียวจึงจะเห็นหนทาง แล้วก็ดำเนินจิตเข้าไปตามลำดับจนกระทั่งเข้าถึงธรรมกาย สิ่งนี้คือหลักในทางพระพุทธศาสนา เป็นหลักของการสร้างความสุขให้กับชีวิตในโลก ใครอยากจะหลุดอยากจะพ้น ก็ต้องทำมรรคให้เกิดขึ้นมา แล้วก็ดำเนินจิตเข้าไปตามลำดับ จนกระทั่งเข้าถึงธรรมกาย



นอกจากนี้ถ้ากล่าวถึงวิธีการในการปฏิบัติสมาธิโดยละเอียดขึ้น จะพบวิธีที่ปรากฏอยู่ในตำราต่างๆ เช่น วิสุทธิมรรค ถึง 40 วิธี3 ซึ่งวิธีทั้ง 40 นั้น ต่างก็มีเป้าหมายอันเดียวกัน คือ การทำใจให้ถูกส่วนและเข้าถึงพระธรรมกายภายใน ถ้าหากว่าเรานำใจของเรามาตั้งไว้ตรงที่ฐานที่ ๗ แล้วก็เริ่มต้นอย่างง่าย ๆ ด้วยวิธีการดังกล่าว จะเริ่มต้นจากกสิณ10 อสุภะ 10 อาหาเร ปฏิกูลสัญญา อนุสติ 10 หรืออะไรก็ตาม อย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าใจหยุดถูกส่วนตรงฐานที่ 7 นี้แล้ว ดำเนินจิตให้เข้าสู่ภายใน และดำเนินจิตเข้าไปตามลำดับ ไม่ช้าก็จะพบธรรมกาย ซึ่งสิ่งนี้มีอยู่แล้วในตัวของพวกเราทุกคน ไม่ใช่เป็นสิ่งใหม่ แต่เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วและสามารถเข้าถึงได้ทุกคนที่ปฏิบัติตามได้อย่างถูกวิธี



1 อัฏฐสาลินี อรรถกถาธรรมสังคณี เล่ม 76 หน้า 20

2 พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี จิตตุปปาทกัณฑ์ อกุศลธรรม เล่ม 76 หน้า 15

3 ได้แก่ กสิณ 10 อสุภะ 10 อนุสสติ 10 อาหาเร ปฏิกูลสัญญา 1 จตุธาตุววัฏฐาน 1 พรหมวิหาร 4 อรูปฌาน 4




 

Create Date : 18 พฤษภาคม 2549   
Last Update : 18 พฤษภาคม 2549 19:24:21 น.   
Counter : 334 Pageviews.  

สมาธิจำแนกตามฐานที่ตั้งของใจ

สัมมาสมาธิกับมิจฉาสมาธิจำแนกตามฐานที่ตั้งของใจ


การฝึกสมาธิที่มีการฝึกหรือสอนกันโดยทั่วไปนั้น หากจะจำแนกประเภทตามหลักปฏิบัติของการวางจุดที่ตั้งมั่นของใจหรือฐานของใจนั้น เราสามารถจัดแบ่งเป็นได้ 2 ประเภท คือ การกำหนดตั้งฐานที่ตั้งของใจไว้ภายในกาย และภายนอกกาย ซึ่งการกำหนดใจไว้ภายในหรือมีฐานที่ตั้งของใจภายในกายนี้ สอดคล้องกับหลักของสัมมาสมาธิที่ที่จะต้องกำหนดใจให้ตั้งมั่นอยู่ภายใน ไม่ฟุ้งซ่าน หรือไม่ปล่อยใจไปเกาะเกี่ยวกับกามคุณทั้งหลาย ส่วนมิจฉาสมาธิ จะเป็นการกำหนดฐานที่ตั้งของใจไว้ภายนอก ปล่อยใจให้ซัดส่าย ฟุ้งซ่าน หรือมุ่งจรดจ่ออยู่กับกามคุณหรือสิ่งที่เป็นอกุศล เป็นต้น

*


สัมมาสมาธิ

เป็นสมาธิที่มีฐานที่ตั้งของใจอยู่ภายในกาย สามารถทำให้กิเลสต่างๆเบาบางลง หรือลดถอยไปจากใจของเราได้ และเป็นสมาธิที่ถูกทาง เพราะเพื่อจุดหมายในทางหลุดพ้น และเป็นไปเพื่อปัญญาที่รู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง มิใช่เพื่อผลในทางสนองความอยากของตัวตน เช่น จะอวดฤทธิ์ อวดความสามารถเป็นต้น สัมมาสมาธินี้พระภาวนาวิริยคุณอธิบายว่า1 เป็นสมาธิในพระพุทธศาสนา เกิดขึ้นจากการน้อมจิตเข้าไปตั้งอยู่ในกายของตนเอง อันจะทำให้ จิตจะสะอาด สงบ ว่องไวและมีความเห็นถูกซึ่งจะแตกต่างจากสมาธิของพวกที่มิใช่พระพุทธศาสนาหรือพวกฤๅษีชีไพร ที่เกิดจากการประคองรักษาจิตไว้ที่นิมิตนอกกาย แม้บางครั้งจะทำให้เกิดความสว่างได้บ้างแต่ยังมีความเห็นที่ผิดอยู่ เพราะไม่ใช่วิธีการที่จะทำให้พ้นทุกข์ได้




มิจฉาสมาธิ
คือสมาธิที่มีฐานที่ตั้งใจอยู่นอกกาย คือ การตั้งใจไว้ผิดที่ กล่าวคือเอาใจไปตั้งไว้ผิดตำแหน่ง กล่าวคือ มีการกำหนดใจจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำเหมือนกัน แต่ว่าผิดที่ที่จะสามารถทำให้เกิดปัญญานำไปสู่ความพ้นทุกข์ได้ เป็นสมาธิที่นำมาซึ่งความร้อนใจ เช่น เวลามือปืนรับจ้างยิงคน หรือฆ่าคน เวลาเขายกปืนขึ้นมาเล็ง จะไปยิงเหยื่อที่จะสังเวยกระสุน เล็งปืนที่กลางหน้าผาก ตอนนั้นใจของเขาไม่ได้คิดวอกแวกไปเรื่องอื่นเลย ใจคิดอย่างเดียวว่าจะต้องให้เข้าตรงกลางหน้าผากของผู้ที่เป็นเป้าหมายให้ได้ ใจจรดจ่อกับสิ่งที่ทำเหมือนกัน แต่ว่าจดจ่อด้วยจิตที่ถูกกิเลสเข้าหุ้มใจ นำมาซึ่งความร้อนใจ ความทุกข์ใจ


แม้ดังเช่น คนเล่นไพ่ นั่งเล่นไพ่อยู่ ใจจรดจ่อกับไพ่ที่เล่นเช่นเดียวกัน บางทีเกิดความรู้สึกปวดปัสสาวะกลั้นได้ตั้ง 3 ชั่วโมง 4 ชั่วโมง บางทีไม่ต้องกินข้าว หรือบางทีนั่งเล่นตั้งแต่มืดจนสว่างก็ไม่มีอาการง่วง ไม่เมื่อย หรือลืมเมื่อย

หรือจะเป็น นักบิลเลียดกำลังแทงลูกบิลเลียด มือปืนกำลังจ้องยิงคู่อาฆาต คนทรงกำลังเชิญผีเข้า พวกเสพติดกำลังสูบกัญชา และพวกร้อนวิชากำลังปลุกเสก หรือพวกโจรกำลังมั่วสุมวางแผนก่อโจรกรรม ฯลฯ บุคคลเหล่านี้ต่างมีใจจดจ่ออยู่กับสิ่งที่เขากำลังทำทั้งสิ้นๆ ไม่ว่ารอบตัว บริเวณนั้นจะมีเหตุการณ์อย่างใดเกิดขึ้น ก็ยากที่จะทำให้เขาเหล่านั้นเบี่ยงเบนความสนใจได้ หลายคนจึงมีความเข้าใจผิดว่า บุคคลดังกล่าวเหล่านี้มีสมาธิมั่นคงดี แต่หาใช่เป็นสัมมาสมาธิไม่ เพราะสมาธิในพระพุทธศาสนาหมายถึงการที่สามารถทำใจให้ตั้งมั่น หนักแน่น ไม่วอกแวกและต้องก่อให้เกิดความสงบเย็นกายเย็นใจด้วย การกระทำให้ใจวอกแวก มีความโลภเพ่งเล็งอยากได้สิ่งที่ตนปรารถนาอย่างแน่วแน่และรุนแรง หรือมีใจตั้งมั่นในความพยาบาท กรณีเช่นนี้ในทางพระพุทธศาสนาถือว่าใจเป็นสมาธินอกลู่นอกทาง หรือที่เรียกว่ามิจฉาสมาธิ เพราะใจยังมีความหมกมุ่นอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งที่เป็นอกุศล มิจฉาสมาธินี้ จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรสนใจ และไม่ควรฝึกอย่างเด็ดขาดเพราะมีแต่โทษฝ่ายเดียว



1 พระเผด็จ ทตฺตชีโว, [2537] คนไทยต้องรู้, กรุงเทพฯ, หน้า 41.




 

Create Date : 18 พฤษภาคม 2549   
Last Update : 20 พฤษภาคม 2549 11:49:48 น.   
Counter : 185 Pageviews.  

1  2  

Dusitb
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




"ธรรมของพระองค์นั้นผู้ที่ปฏิบัติย่อมเห็นเอง"
ยังมีคำว่า "กาเย กายานุปสฺสี"
ในมหาสติปัฏฐานสูตร เป็นหลักฐานสนับสนุนอีก
กาเย แปลว่า ในกาย
กายนุปสฺสี แปลว่า เห็นตาม
หรือตามเห็นซึ่งกาย
รูปศัพท์บาลี มีวิภัติตรึงอยู่ชัดเช่นนั้น
แปลตรงตามศัพท์ และย่นคำให้สั้นก็ว่า
"ตามเห็นกายในกาย"
คือตามเห็นเรื่อยเข้าไปเป็นชั้นๆ
เห็นกายมนุษย์ แล้วตามเข้าไปเห็นกายทิพย์
ตามเข้าเห็นกายรูปพรหม
ตามเข้าไปเห็นกายอรูปพรหม
ตามเข้าไปเห็กายธรรม
ดังนี้เป็นหลักฐานรับสมกันอยู่
กายมนุษย์รูปร่างหน้าตาอย่างไร
กายมนุษย์ รูปร่างหน้าตาก็เป็นมนุษย์ใช่อื่นไกล
คือกายเรานี้เอง
กายทิพย์ก็เป็นรูปพรหมสวยกว่างามกว่านั้นอีก
กายอรูปพรหมสวยงามยิ่งกว่ารูปพรหมขึ้นไปอีก
ธรรมกายนั้นมีสีใสเหมือนแก้ว
สัณฐานดังรูปพระพุทธปฏิมากร
นั่งสมาธิ เกตุเป็นดอกบัวตูม

พระมงคลเทพมุนี
(หลวงพ่อวัดปากน้ำ)
{http://imgfree.21cn.com/free/flash/6.swf (พื้นฝนตก)}
[Add Dusitb's blog to your web]