อยู่เพือเรียนรู้ และไปให้ถึงที่สุด

Group Blog
 
All blogs
 

ประชีวิตที่เหมาะกับตัวเอง

ปัจจัยในการเลือกประกันสุขภาพ

1. ประกันสุขภาพคุ้มถึงแค่ประมาณอายุ 69 ปี เท่านั้น และผู้ที่จะทำประกันต้องอายุอยู่ระหว่าง 6-59 ปี (ต้องตรวจสอบจากแบบประกัน เพราะแต่ละที่หรือแบบ จะไม่เหมือนกัน) ดังนั้นแม้กรมธรรม์หลักจะถือยาวถึงอายุ 80 -90ปี ประกันสุขภาพจะคิดเบี้ยและคุ้มครองถึงแค่ปีที่คุ้มครองเท่านั้น
2. ซื้อประกันผู้ป่วยนอก (OPD) ต้องซื้อประกันผู้ป่วยในด้วย (HS) เสมอ
3. ตรวจสอบโรงพยาบาลที่เข้าร่วม แบบไม่ต้องสำรองจ่ายเงินสด
4. การทำประกันตั้งแต่อายุน้อยๆ และซื้อประกันสุขภาพไว้ด้วย เบี้ยประกันจะอัตราคงเดิมไปจนกว่าจะหมดอายุกรมธรรม์หลัก หากต่อสัญญาตามกำหนดทุกปี
5. กำหนดความคุ้มครอง โดยเปรียบเทียบกับระดับโรงพยาบาลที่ใช้ประจำ และควรเป็นโรงพยาบาลร่วมกับบริษัทประกันก็จะยิ่งดี
เช่น ถ้าใช้เพียงโรงพยาบาลวันละ 500 -1000 ก็เพียงพอ ซึ่งบางแห่ง อาจได้เป็นห้องเดี่ยว
6. หากป่วย ประกันสุขภาพเพียงแค่ช่วยลดภาระค่าใช้จ่าย ไม่สามารถครอบคลุมได้ 100% ทุกกรณี ดังนั้นควรศึกษารายละเอียดเงื่อนไขของกรมธรรม์ให้ดี เช่น วงเงินคุ้มครองการผ่าตัด สูงสุด 45,000 ขึ้นอยู่กับการผ่าตัดแบบไหนที่คุ้มครองบ้าง บางอย่างไม่คุ้มครองเลย บางอย่างก็คุ้มครองแค่ 5%
7. ตรวจสอบผลประโยชน์ ว่าเบิกสินไหมทดแทนพร้อมกันกับกรมธรรม์บริษัทอื่นได้หรือไม่ ก็คือ เบิกโดยใช้รับรองสำเนาใบเสร็จ+ใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาลได้หรือไม่ ซึ่งส่วนใหญ่จะได้ เพราะบางที่ต้องใช้เฉพาะตัวจริงจึงจะเบิกได้


การเลือกประชีวิตที่เหมาะกับตัวเอง

การเลือกซื้อกรมธรรม์ ก็เหมือนการเลือกลงทุน ที่จำเป็นจะต้องเลือกให้เหมาะกับตัวคุณเอง ซึ่งคนที่จะเลือกประกันชีวิตที่เหมาะกับตัวคุณได้จำเป็นจะต้องรู้ข้อมูลส่วนตัวของคุณ และความต้องการของคุณเสียก่อน ดังนั้นหากคุณไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวเลย หรือ เดินเข้าไปถามเจ้าหน้าที่ขายประกันตามธนาคาร แล้วถามแค่ว่า "มีประกันตัวไหนดีๆ คุ้มๆ บ้าง" คุณก็จะได้รับคำตอบแค่ว่า "มีค่ะ" แล้วเขาก็จะหยิบประกัน ตัวล่าสุด หรือไม่ก็ตัวที่ได้คอมสูงสุด หรือไม่ก็ตัวที่เจ้านายบังคับเป้า ให้คุณดู ซึ่งอาจจะตรงใจคุณหรือไม่ก็ได้


ประกันชีวิตของแต่ละบริษัท นับว่ามีหลากหลายมากๆ อาจมีตัวแทนประกันที่เก่งๆ สามารถจำคุณสมบัติได้ทุกตัว แต่อย่างไรก็ตาม ทุกคนต่างก็จะมีประกันชีวิตเด่นๆ ไว้เป็นตัวขาย แค่ 2-3 ตัวและก็ต้องมีเครื่องมือช่วยในการคำนวณเบี้ยประกัน ดังนั้นหากคุณต้องการรู้รายละเอียดประกันชีวิตทั้งหมด ที่แต่ละบริษัทมีให้เลือก คุณอาจต้องให้เวลาคุยกับตัวแทนประกันทั้งวัน หรือไม่คุณก็เตรียมข้อมูลของคุณ เพื่อให้ตัวแทนสามารถเสนอกรมธรรม์ที่เหมาะกับคุณแทน ดังนี้


ข้อมูลที่มีผลต่อเบี้ยและรูปแบบประกันชีวิต

เพศ

อายุ ระบุวัน/เดือน/ปีเกิด ตามบัตรประชาชน

สถานะสมรส

อาชีพ

รายได้ต่อปี

รูปแบบรายได้ ประจำ (เงินเดือน,สัญญาจ้างระยะยาว,ค้าขาย) ไม่แน่นอน (Freelance,ตัวแทนขายอิสระ)

ภาระค่าใช้จ่ายปัจจุบัน หรือระบุภาระเบี้ยประกันชีวิตที่คาดว่าจะรองรับได้เพิ่ม หรือระบุวงเงินที่ต้องการคุ้มครอง เพื่อเปรียบเทียบเบี้ยประกัน

วงเงินประกันที่ทำไว้แล้วกับบริษัท ที่คุณต้องการทำเพิ่ม

วัตถุประสงค์การซื้อประกัน (ออมทรัพย์,ตลอดชีพ, เกษียณ)

รูปแบบการจ่ายเบี้ย รายเดือน 3 เดือน 6 เดือน หรือ รายปี

จำนวนปี ที่ต้องการจ่ายเบี้ย (ต่ำสุด 3 ปี สำหรับประกันชีวิต --> ยิ่งจำนวนปีน้อย มูลค่าเบี้ยยิ่งสูง)

จำนวนปีที่ต้องการความคุ้มครอง หรือ ปีที่ต้องการได้รับเงินประกัน ยิ่งจำนวนปีน้อย มูลค่าเบี้ยยิ่งสูง




 

Create Date : 09 กรกฎาคม 2554    
Last Update : 9 กรกฎาคม 2554 14:35:17 น.
Counter : 589 Pageviews.  

การหาผลตอบแทนของประกันชีวิต


จัดกระแสเงินสดรับ/จ่าย โดยแบ่งเป็น

เบี้ยประกันจ่าย

ส่วนลด เช่น กรณีลดหย่อนภาษี

ปันผลที่ได้รับ

ปันผลพิเศษ เมื่อถือกรมธรรม์ครบกำหนด

โบนัสพิเศษ เมื่อถือกรมธรรม์ครบกำหนด

เงินจ่ายตามสัญญา หรือ/และเมื่อครบกำหนดสัญญา


หา IRR จากกระแสเงินข้างต้น จะเป็นอัตราผลตอบแทนในแง่ของการเปรียบเทียบกับออม

หา IRR กรณีคุ้มครองการเสียชีวิต เป็นการดูอัตราผลตอบแทนในแง่การคุ้มครอง ไม่ควรมีติดลบเลย

หา IRR กรณีเวนคืนกรมธรรม์ก่อนกำหนด เช่น หาจุดคุ้มทุนเพื่อเวนคืน เนื่องจากต้องการเพียงเพื่อลดหย่อนภาษี




 

Create Date : 09 กรกฎาคม 2554    
Last Update : 9 กรกฎาคม 2554 14:28:54 น.
Counter : 326 Pageviews.  

ศัพท์น่ารู้เกี่ยวกับประกันชีวิต

กรมธรรม์ คือ สัญญาที่ระบุถึงเบี้ยประกันชีวิต , ผลตอบแทน, สินไหมทดแทน(คุ้มครองกรณีเสียชีวิต), กรมธรรม์ใช้เงินสำเร็จ,การประกันแบบขยายเวลา,เงินค่าเวนคืนสัญญาหลัก และข้อกำหนดเงื่อนไขต่างๆ

เบี้ยประกันชีวิต คือ เงินที่จ่ายให้กับบริษัทประกัน ตามสัญญาที่ระบุที่ใน กรมธรรม์

ผู้ชำระเบี้ยประกัน คือ ผู้ที่จ่ายเบี้ยประกัน(ซึ่งส่วนใหญ่เราเรียกกันว่า ผู้ทำประกัน) อาจเป็นผู้เอาประกันเอง หรือผู้อื่นก็ได้ เช่นผู้รับผลประโยชน์

ผู้เอาประกัน คือ ผู้ที่มีชื่อระบุใน กรมธรรม์ ซึ่งกรมธรรม์ จะจ่ายผลตอบแทน, สินไหมทดแทน, เงินเวนคืน ในนามผู้เอาประกัน แต่ถ้าเป็นสินไหมทดแทนกรณีเสียชีวิต จะจ่ายในนามผู้รับผลประโยชน์

ผู้รับผลประโยชน์ คือ ผู้รับสินไหมทดแทนกรณีผู้เอาประกันเสียชีวิต

กรมธรรม์ใช้เงินสำเร็จ คือ กรณีหยุดส่งเบี้ยประกัน ผู้เอาประกันสามารถขอเป็นใช้เงินสำเร็จ คือ ปรับมูลค่าคุ้มครองลดลง แต่คุ้มครองจำนวนปีเท่าเดิม ตามที่ระบุในกรมธรรม์

การประกันแบบขยายเวลา คือ กรณีหยุดส่งเบี้ยประกัน และไม่สามารถทำเป็นใช้เงินสำเร็จ หรือเห็นว่าไม่คุ้ม ผู้เอาประกันสามารถขอแบบขยายเวลา คือ ปรับมูลค่าและจำนวนปีที่คุ้มครองลดลง ตามที่ระบุในกรมธรรม์

เงินค่าเวนคืนสัญญาหลัก คือ กรณีหยุดส่งเบี้ยประกัน และไม่ต้องการทำเป็นใช้เงินสำเร็จ หรือขยายเวลา สามารถขอคืนเป็นเงินสด ได้ตามมูลค่าเวนคืน ที่ระบุในกรมธรรม์

อัตราดอกเบี้ยสำหรับเงินปันผลสะสม คือ




 

Create Date : 09 กรกฎาคม 2554    
Last Update : 9 กรกฎาคม 2554 14:26:57 น.
Counter : 594 Pageviews.  


เภสัช
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เภสัชจุฬ่า รุ่น 57
ออนไลน์ขณะนี้
Friends' blogs
[Add เภสัช's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.