Grammar Rules!! เอาใจเด็ก Eng ระดับ Advance Writing -- Mechanics: Capitalization and Punctuation
Grammar Rules!! เอาใจเด็ก Eng ระดับ Advance (๑)
คำถามในการเรียนภาษาอังกฤษที่เด็กไทยหลายๆ คนประสบพบเจอนั้นก็คือ "จะเรียนภาษาอังกฤษอย่างไรให้เก่ง?" หรือ "จะพูดให้ภาษาอังกฤษคล่องได้ยังไง?" แหม...ภาษาอังกฤษไม่ใช่ภาษาพ่อแม่เรา...แถม ตำราการเรียนก็ยังเป็นไทยล้วนๆ อีก 90% ของการดำรงชีวิตนั้นอยู่กับภาษาไทยล้วน ระบบการศึกษาก็ยัง...(เริ่มลามปามแระ..) แล้วภาษาเราจะพัฒนาได้ยังไงละครับ

เอาละวันนี้ก็ขอเอาใจเด็ก Eng ระดับ Advance (พวกจะไปสอบทั้งตรีและโททั้งหลายนั้นแหละ) ละกัน
ในภาษาอังกฤษเนี่ยมันมีสิ่งที่เราเรียกกันว่า "กฏแกรมม่า Grammar Rules" เกือบ +200 ข้อ ซึ่งถ้าอีมนุษย์ตนใดที่สามารถเปิกสมองจำกฏเหล่านั้นได้หมด รับรองครับว่าภาษาอังกฤษของคุณนั้นไม่มีทางแพ้ฝรั่งดองแน่นอน(เผลอๆ ภาษาคุณจะดีกว่าพวกอเมริกันรุ่นใหม่ส่วนใหญ่ด้วยซ้ำ)

คำถาม..."ทำไมกฏแกรมม่าถึงมีความสำคัญ?"
คำตอบ... เพราะ "กฏ" นั้นเป็นโครงสร้างทางภาษาที่ตายตัว ขอยกตัวอย่างกฏทางฟิสิกส์ละกัน ถ้าคุณหยิกแจกันขึ้นมาใบหนึ่งแล้วปล่อยมือออกจาแจกัน แจกันนั้นจะร่วงลงสู่พื้นอย่างรวดเร็ว ต่อให้คุณเป็นคริสเตียนบังเกิดใหม่ เป็นนายแบบหรือเป็นคนดีที่ไม่เคยมีประวัติอาชญากรรมมาก่อนก็ตาม...เพราะนั้นคือ "กฏแรงโน้มถ่วง" ทีนี้ในทางภาษาเองก็เช่นเดียวกัน ภาษาอังกฤษของคุณจะถูกต้องเสมอถ้าคุณไม่ไปแหกกฏมัน ถึงแม้ว่าแกรมม่ามันจะดูเพี้ยนๆ ก็ตาม เข้าใจถึงความสำคัญของ "กฏแกรมม่า" กันหรือยัง

ในหนังสือสอนภาษาอังกฤษในไทยหลายๆ เล่มนั้นจะอธิบายกฏแกรมม่าควบคู่ไปด้วย เพียงแต่กฏเหล่านั้นไม่ได้ถูกแบ่งแยกออกมาให้เป็น ๑, ๒, ๓... อย่างชัดเจนดังนั้นวันนี้เราจะมาเรียนกฏแบบชัดๆ กันครับ

Mechanics: Capitalization and Punctuation 
Capitalization Checklist
  • ✓ The first word of every sentence ➞ Yes,we do carry the matching bed skirt.
  • ✓ The first word of a quoted sentence (not just a quoted phrase) ➞ And with great flourish, hesang,“beautiful for gracious skies, for amber waves of grain!”
  • ✓ The specific name of a person (and his or her title), a place, or a thing (otherwise known as proper nouns). Proper nouns include specific locations and geographic regions; political, social, and athletic organizations and agencies; historical events; documents and periodicals; nationalities and their language; religions, their members and their deities; brand or trade names; and holidays.
  • ✓ The abbreviation for proper nouns. Government agencies are probably the most frequently abbreviated. Remember to capitalize each letter. ➞ The CIA makes me feel very secure.
  • ✓ Adjectives (descriptive words) derived from proper nouns. Ex: America (proper noun) ➞ the American (adjective) flag
  • ✓ The pronoun I.
  • ✓ The most important words in a title ➞ Last March, I endured a twenty-hour public reading of A Tale of Two Cities.

Punctuation Checklist
Periods
  • ✓ At the end of a declarative sentence (sentence that makes a statement) ➞ Today, I took a walk to nowhere.
  • ✓ At the end of a command or request ➞ Here’s a cloth. Now gently burp the baby on your shoulder.
  • ✓ At the end of an indirect question ➞ Jane asked if I knew where she had left her keys.
  • ✓ Before a decimal number ➞ Statisticians claim that the average family raises 2.5 children.
  • ✓ Between dollars and cents ➞ Irememberwhen$1.50 could buy the coolest stuff.
  • ✓ After an initial in a person’s name ➞ You are Sir James W. Dewault, are you not?
  • ✓ After an abbreviation ➞ On Jan12, I leave for Africa. 

Question Marks
  • ✓  At the end of a question ➞ Why do you look so sad?
  • ✓  Inside a quotation mark when the quote is a question ➞ She asked, “Why do you look so sad?”

Exclamation Points
  • ✓  At the end of a word, phrase, or sentence filled with emotion ➞ Hurry up! I cannot be late for the meeting!
  • ✓  Inside a quotation mark when the quote is an exclamation ➞ The woman yelled, “Hurry up! I cannot be late for the meeting!”

Quotation Marks
  • ✓  When directly quoting dialogue, not when para- phrasing ➞ Hamlet says, “To be, or not to be. That is the question.”
  • ✓  For titles of chapters, articles, short stories, poems, songs, or periodicals ➞ My favorite poem is “The Road Not Taken.”

Semicolons
  • ✓ Between two independent clauses (an independ- ent clause is a complete thought. It has a subject and a predicate.) ➞ Edward joined the basketball team; remarkably, the 5 ́4 ̋ young man excelled at the sport. 
  • ✓ Between elements in a series that uses commas ➞ The possible dates for the potluck dinner are Thurs- day, June 5; Saturday, June 7; or Monday, June 9.

Colons
  • ✓ Between two complete ideas when the second idea explains the first. ➞ Keri pushed her dinner away: She had eaten on the car ride home.
  • ✓ Before a list ➞ Grandma brought Chloe’s favorite three sweets: chocolate kisses, Tootsie Rolls, and a Snickers bar.
  • ✓ Between titles and subtitles ➞ Finding Your Dream Home: A Buyer’s Guide.
  • ✓ Between volumes and page numbers ➞ Marvel Comics 21:24
  • ✓ Between chapters and verse ➞ Job 4:12 
  • ✓ Between hours and minutes ➞ It’s2:00a.m.—time to sleep.

Apostrophes
  • ✓ Where letters or numbers have been deleted—as in a contraction ➞ I looked at my father and whispered, “It’s (It is) okay to cry every so often.”
  • ✓ At the end of a name where there is ownership (remember to also add an s after the apostrophe if the word or name does not end in an s already) ➞ Mary Jane’s horse sprained his ankle during practice. 
Commas
  • ✓ Between items in dates and addresses ➞ Michael arrived at Ellis Island, New York, on February 14, 1924.
  • ✓ Between words in a list ➞ The university hired a woman to direct the Bursar’s, Financial Aid, and Reg- istrar’s offices.
  • ✓ Between equally important adjectives (be care- ful not to separate adjectives that describe each other) ➞ The reporter spoke with several intense, tal- ented high school athletes.
  • ✓ After a tag that precedes a direct quote ➞ David whined, “I am famished.”
  • ✓ In a quote that precedes a tag and is not a question or an exclamation ➞ “I am famished,” whined David. 
    ✓ Around nonessential clauses, parenthetical phrases, and appositives (A nonessential or nonrestrictive clause is a word or group of words that are not nec- essary for the sentence’s completion; a parenthetical phrase interrupts the flow of a sentence; and an appositive is a word or group of words that rename the noun preceding them) ➞ Matt’s mother, Janie (appositive), who has trouble with directions (non- essential clause), had to ask for help.
    ✓ After introductory words, phrases, and clauses ➞ Hoping for the best, we checked our luggage.
    ✓ Before conjunctions (Conjunctions are words that link two independent clauses together) ➞ Drew wanted to experience ballroom dancing before his wedding, so he signed up for lessons at a local hall.



Create Date : 19 พฤศจิกายน 2557
Last Update : 19 พฤศจิกายน 2557 8:58:16 น.
Counter : 2842 Pageviews.

0 comment
Technique การเรียนภาษาอังกิดยังไงให้เก่ง...แบบM@xm@X
สวัสดีครับวันนี้ก็เป็นการกลับมาจากการหายสาญสูญไปอย่างยาวนานสำหรับบล๊อกนี้...
รอบนี้กลับมาพร้อมกับพัฒนาการที่ไปไกลขึ้นอีกหลายCentimaters กันเลยทีเดียว
เอาละมาเข้ารู..เอ๊ย! เข้าเรื่องกันดีกว่า(จะเอาฮาถึงไหน)

สิ่งที่พี่ M@X จะกล่าวถึงเรยเนี่ยก็คงจะเป็นเรื่องการใช้ภาษาซึ่งเด็กไทยคงจะตุ่มๆ ต่อมๆ กันบ้างแล้วล่ะซินะ เพราะว่าใกล้จะเปิด ASEAN กันแล้ว ต่างบ้านต่างเมืองกำลังจะทะลักเข้ามาในประเทศไทยกันมากขึ้น แล้วใครที่สามารถสื่อสารกับต่างประชาติได้เนี่ย ไม่ใช่แค่โก้นะ แต่ยังเอาไว้ควงสาวๆ ต่างชาติให้ได้ชื่นใจกันอีกด้วย...ฮั่นแน่ พูดแบบนี้แล้วคงจะมีกำลังใจในการเรียนภาษาอังกิดกันมากขึ้นละสินะ เริ่มกันดีกว่า

ก่อนอื่นเลยนะ ถ้าคิดจะใช้ภาษาอังกิดให้ถูกเนี่ย แนะนำว่าให้ฝึกใช้ภาษาไทยให้ถูกกันก่อนดีกว่าไหม หุหุ "อังกฤษ" นะเฮ้ย ไม่ใช่ "อังกิด" บางคนที่มีการคันอวัยวะเบื้องล่างก็ถามทันทีว่า "สรุปคุณ(มึง)จะมาแนะนำภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยกันแน่ครับ" ขอบอกเลยนะว่า นี้แหละเป็นเทคนิค Technique อย่างหนึ่งที่จะทำให้พวกคุณ(มึง)เรียนภาษาอังกฤษได้เก่งขึ้น เพราะอะไรนะหรอ

1. ฝึกพฤติกรรมการใช้ภาษาให้ถูกต้อง
จำใส่กะโหลกกันไว้ซะว่า "ถ้าอยากจะเก่งภาษา ต้องฝึกใช้ภาษาให้ถูกต้อง" อย่ามาสั่วๆๆ มั่วๆๆ เอาไม่ได้ แหมน้องๆ พี่ๆ หลายคนอาจจะเถี่ยงว่า "เฮ้ย เราก็ใช้ภาษาอังกฤษแบบระวังแล้วนา" ถูกต้องครับ แต่ใช้แบบระวังกันแต่ในการฝึกพฤติกรรมการใช้ภาษาอังกฤษอย่างเดียว แต่ภาษาไทยยังเขียนผิดๆ ถูกๆ มั่วๆ เอาแบบนี้จะเรียกว่าการฝึกพฤติกรรมการใช้ภาษาได้อย่างไง จริงไหม
ระบบของภาษาอังกฤษจริงๆ แล้วมีโครงสร้างที่เป็นระบบ มีหลักการและใช้ตรรกะกันค่อนข้างเยอะ เพราะฉะนั้นถ้าไม่ระวังในการฝึก เราก็จะใช้ภาษากันแบบผิดๆ ไม่เราก็ภาษาตายกันไปข้างหนึ่งเลย

เพราะฉะนั้นลองสังเกตุพฤติกรรมการใช้ภาษาของเราให้ดีๆ นะครับ ทั้งการสะกดคำ การลำดับเหตุการณ์ ลักษณะการอธิบายของเราว่าเป็นอย่างไรบ้าง เขียนแล้วอ่านเข้าใจไหม ถ้าไม่เข้าใจต้องแก้อย่างไรบ้าง
ลองฝึกแบบนี้กับภาษาไทยดูก่อนครับ ค่อยๆ สร้างโครงสร้างทางความคิดที่เป็นระบบที่ถูกต้องขึ้นมาก่อน แล้วค่อยไปใส่รายละเอียดทีหลัง ถ้าใช้ภาษาไทยแล้วคนไทยด้วยกันยังฟังไม่ออกเลย..อย่างไปคิดไกลกว่านั้นเลยนะ

2. มาฝึกออกกำลังกาย (Exercise) ทางภาษากันดีกว่า
ถ้าจะเปรียบเทียบการฝึกภาษาก็เหมือนกับการออกกำลังกายนั้นแหละ ถ้าออกกำลังกายทุกวัน ร่างกายมันก็แข็งแรง แต่ถ้าอยากจะเล่นบอลเก่งเหมือนโรนัลโด้แต่นอนตีพุงกินขนมทั้งวัน ก็คงเป็นได้แค่โรนัลโด้รุ่นแรกที่ตอนนี้ทำพะโล้เลี้ยงคนได้ทั้งหมู่บ้าน

ภาษาเองก็เหมือนกัน ถ้าเราใช้มันบ่อยๆ หรือฝึกฝนมันบ่อยๆ ภาษามันก็จะแข็งแรงเองจริงม่ะ ร่างกายเราเป็นอย่างไร ภาษาเองก็เป็นอย่างนั้น ร่างกายประกอบไปด้วยหลายส่วน ภาษาเองก็ประกอบไปด้วยหลายส่วนไม่ว่าจะเป็นทั้งการ ฟัง พูด อ่าน เขียน โดยที่เราแต่ละคนอาจจะไม่ได้เก่งกันทุกด้าน เพราะฉะนั้นด้านไหนเราอ่อน(แอ) เราก็ฝึกฝนในด้านนั้นเยอะเป็นพิเศษ แต่อย่างบางคนเขาเป็นมืออาชีพ ก็ฝึกมันเฉพาะทางไปเลย เปรียบเทียบได้เช่นเดียวกับผู้รักษาประตูที่ไม่ต้องไปฝึกฝนการเลี้ยงหลบคู่ต่อสู้ แต่ฝกฝนในเฉพาะด้านเพราะเขาเกิดมาเพื่อสิ่งนี้ เพราะฉะนั้นสำหรับบางคนที่คิดจะเอาดีทางด้านการแปลหรือเป็นล่าม ก็ฝึกฝนในสายของตัวเองให้เก่งไปเลย

อย่าลืมสร้างแรงบันดาลใจในการใช้ภาษาด้วยนะ เหมือนคนที่ออกกำลังกายเพราะอยากผอมนั้นแหละ เพราะฉะนั้น  "จงสร้างแรงบันดาลใจให้กับตัวเองซะว่า พอเปิด ASEAN แล้วเราจะใช้ภาษาในการจีบหญิงแล้วจะควงไปอวดเพื่อนให้มันอกแตกตายไปเลย ห้าห้าห้า" พวกเสี่ยทั้งหลายอย่าคิดแต่เอาฟาดอย่างเดียว คนต่าชาติน่ารักๆ แต่ก็มีศักดิ์ศรีสูงนะจ๊ะ

3. (เริ่มเมื่อยแระ) กุญแจสำคัญเลยนะข้อนี้และแนะนำว่าให้เขียนติดเอาไว้ที่ประตู กระจกหรือใครฮาร์ดคอจะสักไว้ที่ตัวเพื่อเตือนใจก็ได้ สิ่งนี้คือคำว่า "มานะ - Perseverance"
ไม่ใช่มานะ ปิติ ชูใจนะ พวกนั้นช่วยอะไรไม่ได้ เหมือนคนญี่ปุ่นที่จะเอาผ้าคาดหัวแล้วบนผ้านั้นจะมีเป้าหมายที่ตนเองต้องการอยู่ ถามว่าทำไมคนไทยอ่านหนังสือแค่ 6 บรรทัดเอง ก็เพราะว่าขี้เกียจ ไม่มีความมานะพยายามกันไง อ่านนิดๆ หน่อยๆ ก็เบื่อหรือเหนื่อยกันแล้ว

สร้างแรงจูงใจขึ้นมากันนะ แล้วไปให้ถึงเป้า ถามว่าทำไมคนจนถึงเรียนหนังสือกันเก่ง เพราะเขามีเป้าหมายชัดเจนนั้นคือ ต้องการทำให้พ่อแม่สบาย ไม่ต้องลำบากอีกต่อไป เพราะฉะนั้นพวกคนที่ฐานะค่อนข้างลำบากจึงทุ่มเทกับการเรียนเพราะไม่อยากอยู่ในสภาพเดิมอีกต่อไป พวกไปเรียนเมืองนอกเองก็เหมือนกัน พูดกับใครก็คุยไม่รู้เรื่อง แต่ไม่อยากอยู่ในสภาพนี้อีกแล้ว อยากให้เป็นที่ยอมรับ จึงตั้งใจเรียนกันหนักๆ จนในที่สุดภาษามันก็ผ่าน

ฟังกันให้ดีๆ นะ ภาษามันเป็นศิลปะที่ต้องประกอบด้วยใจของเราที่จะรังสรรค์มันให้ออกมาสวยงาม ถ้าไม่มีใจ ก็ไม่มีแรง พอไม่มีแรงก็ไม่อยากทำอะไร คนเรานะ บางทีก็อยู่ในจุดที่เรียกว่า "อิ่มตัว" ความมานะพยายามจึงเป็นเสมือนกับเครื่องจักรที่จะผลักดันตัวเองให้ก้าวไปข้างหน้าได้

เอาละโม้มาเยอะบทความคราวหน้า มาเอาจริงๆ จังๆ กับภาษาอังกฤษกันดีกว่า
วันนี้เหนื่อยแล้ว...ขอตัวไปนอนก่อนนะครับ



Create Date : 12 พฤศจิกายน 2556
Last Update : 12 พฤศจิกายน 2556 23:48:52 น.
Counter : 1174 Pageviews.

0 comment

maxlife
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]