Ieri, oggi, e domani, c'e sempre e solo l'inter

การรักษาด้วยการฝังเข็ม (acupuncture)

การรักษาด้วยแพทย์แผนจีน ที่มีพื้นฐานจากระบบพลังงานที่ไหลเวียนในร่างกาย หรือที่เรารู้จักกันในชื่อของ "ปราณ/ชี่" (chi/qi) ซึ่งเมื่อใดที่พลังงานนี้มีสภาวะไม่สมดุล ก็อาจเกิดความผิดปกติต่อร่างกายได้ ซึ่งการรักษาเหล่านี้มีหลายรูปแบบตั้งแต่การฝังเข็ม กดจุด ไปจนถึงการใช้สมุนไพร เพื่อให้พลังงานกลับมาสู่ภาวะปกติ

การฝังเข็ม เป็นกระบวนการรักษาแบบหนึ่งที่มีการนำเข็มฝังไปตามจุดต่างๆทั่วร่างกาย ประมาณ 365-2000 จุด โดยในบางครั้งอาจรวมไปถึงการใช้กระแสไฟฟ้าอ่อนๆ และการใช้สมุนไพรหรือวิธีรักษาอื่นๆ เพื่อช่วยกระตุ้นร่วมด้วยกับการฝังเข็ม

หมอฝังเข็มหลายคนกล่าวว่า กว่าที่อาการผิดปกติจะปรากฏก็อาจกินเวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน การฝังเข็มจึงช่วยรักษาได้แม้แต่ในกรณีที่ไม่มีอาการความผิดปกติใดๆ

มีการอ้างว่า การฝังเข็มสามารถใช้ในอาการผิดปกติหลายชนิด ตั้งแต่ อาการปวดต่างๆ (คอ หลัง กล้ามเนื้อไมเกรน), อาการในระบบย่อยอาหาร (ปวดท้อง ท้องผูก ท้องเสีย โรคกระเพาะ อาหารไม่ย่อย), ความดันโลหิตสูง/ต่ำ, ประจำเดือนผิดปกติ, มีลูกยาก, กล้ามเนื้ออ่อนแรง, ลดการกินอาหาร, ช่วยในอาการติดยาแม้กระทั่งช่วยเลิกบุหรี่

กลไกในการลดความเจ็บปวดของการฝังเข็ม ยังไม่สามารถสรุปได้ มีหลายๆทฤษฏีที่กล่าวไว้ เช่น การฝังเข็มไปบล็อกวิถีของระบบประสาทในเรื่องของความเจ็บปวด, บางคนก็ว่าการฝังเข็มไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้างสารที่มีฤทธิ์ต้านการเจ็บปวด (เอนโดรฟิน) หรือแม้กระทั่งมันเป็นแค่ผลการรักษาแบบหลอกๆ (placebo effect)

เคยมีคนทำการทดลองใน USA แล้วพบว่า การกระตุ้นร่างกายด้วยวิธีอื่นๆ เช่น ใช้กระแสไฟฟ้าหรือให้ความร้อน ในจุดต่างๆของร่างกาย ก็ให้ผลการรักษาเช่นเดียวกันกับการฝังเข็มได้ และความเจ็บปวดที่ลดลงจากการฝังเข็ม ก็ไม่ได้ลดอย่างถาวรและบางคนก็ไม่ตอบสนองด้วยซ้ำไป

ในขณะที่จีน มีงานทดลองเกือบ 3000 ชิ้น ที่ทำในคนไข้จริง แต่การทดลองส่วนใหญ่ เป็นการทดลองที่มีคุณภาพต่ำมากๆ เพราะ
1. การวินิจฉัยโรค เกือบทั้งหมดไม่สามารถประเมินได้จริง แนวทางการวินิจฉัยนั้น อาจเป็นแค่ความคิดเห็นของผู้ตรวจและคนไข้เท่านั้น ซึ่งไม่สามารถประเมินได้จริงทางวิทยาศาสตร์
2. การศึกษาส่วนใหญ่ ศึกษาแต่ในระยะสั้น ไม่ได้กล่าวถึงผลในระยะยาว และไม่ได้กล่าวถึงผลกระทบ (side effect) ที่เกิดขึ้น
3. งานวิจัยเกือบทั้งหมด ไม่เข้าข่ายการทดลองที่ดี เช่น จำนวนตัวอย่างน้อย, การทดลองไม่เป็นแบบสุ่ม, การทดลองไม่เป็นแบบ blinding control, ไม่มีการวิเคราะห์ผลการทดลอง, ไม่มีหลักสถิติมาใช้ประกอบ ฯลฯ

ทำให้แม้ว่างานวิจัยเกือบทั้งหมด ชี้ว่าการรักษาด้วยการฝังเข็มจะให้ผลดี แต่มันก็เต็มไปด้วย Bias จากผู้ทำการทดลอง จึงยังคงเป็นข้อกังขาที่จะเชื่อว่ามันให้ประโยชน์จริงๆ

เพื่อให้การทดลองลด Bias ลง จึงได้มีการประดิษฐ์เข็มปลอมขึ้น (fake/sham needle) โดยมีหลักการคือ เมื่อเข็มกระทบผิวหนังจะทำให้คนไข้มีความรู้สึกว่าถูกฝังเข็ม แต่จริงๆแล้วเข็มไม่ได้ทะลุผ่านผิวหนังเหมือนการฝังเข็มจริง แล้วนำไปทำการศึกษาในผู้หญิง 220 คนที่มีอาการคลื่นไส้อาเจียนหลังการผ่าตัด (PONV) โดยเทียบกับการฝังเข็มจริงๆ ซึ่งผลการทดลองออกมาว่า ทั้ง 2 วิธี (จริงและปลอม) สามารถลดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้ดีพอๆกับการใช้ยาลดการคลื่นไส้อาเจียน

ต่อมาการทดลองด้วยเข็มปลอมนี้ ได้มีการนำไปทดลองในคนไข้ที่มีอาการปวดหัวไมเกรน ซึ่งผลการทดลองในคน 900 คน พบว่าการฝังเข็มแบบปลอมๆ ให้ผลเทียบเท่ากับการฝังเข็มจริงๆ และทั้ง 2 วิธีนี้ มีแนวโน้มที่ดีกว่าการใช้ยา (บางการทดลองก็บอกว่าพอๆกัน และบางการทดลองก็บอกว่าไม่มีประโยชน์)

ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการฝังเข็ม
เป็นลม, หลอดเลือดแตก, ปอดรั่ว (pneumothorax) ในกรณีที่ฝังเข็มที่ปอด, การติดเชื้อโรคต่างๆ (รวมไปถึงไวรัสตับอักเสบและเชื้อ HIV), ความดันโลหิตต่ำ, เจ็บปวดมากขึ้น, ผิวหนังอักเสบ, เส้นประสาทอักเสบ และเคยมีกรณีที่ลืมเอาเข็มออกก็มี

ทั้งนี้ ความเสี่ยงต่างๆ จะมากจะน้อยก็ขึ้นกับผู้ที่เข้ารับการฝังเข็มและทักษะของผู้ที่ทำการฝังเข็ม ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีมาตรฐานมาควบคุมแบบจริงจัง
เคยมีการทดลองหนึ่ง ให้ผู้หญิงอายุ 40 ปีที่มีปัญหาปวดหลัง ไปหาหมอฝังเข็ม 7 คน เธอได้ผลการวินิจฉัยดังนี้
1. 6 ใน 7 ระบุว่าเป็นเพราะปราณ
2. 5 ใน 7 ระบุว่าเป็นเพราะเลือด
3. 2 ใน 7 ระบุว่าไตเสื่อม
4. 1 ใน 7 ระบุว่าพลังหยินเสื่อม
5. 1 ใน 7 ระบุว่าตับเสื่อม
หลังจากที่เธอเข้ารับการฝังเข็มทั้งหมด 28 จุด มีเพียง 4 จุดเท่านั้นที่มีหมอมากกว่า 2 คน เลือกตรงกัน
การทดลองนี้แสดงให้เห็นว่า มาตรฐานของการรักษาแบบนี้ ยังไม่มีความน่าเชื่อถือนัก คนไข้คนเดียวกันให้หมอต่างกันดู ยังวิเคราะห์กันไปคนละทิศคนละทาง

สรุป
ถึงแม้จะมีรายงานวิจัยมากมายในจีน แต่รานงานเหล่านั้นกลับไม่สามารถใช้ได้จริงในทางวิชาการ ทำให้ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้จริงว่าการฝังเข็มจะรักษาอาการต่างๆได้ตามที่กล่าวอ้าง นอกเหนือจากลดการอาเจียนและอาการไมเกรน รวมไปถึงการควบคุมมาตรฐานของการวินิจฉัยโรค ทำให้ไม่อาจคาดเดาได้ว่าการฝังเข็มนั้นจะเกิดประโยชน์จริงหรือไม่


Create Date : 13 มีนาคม 2550
Last Update : 13 มีนาคม 2550 20:34:25 น. 1 comments
Counter : 4209 Pageviews.  

 


โดย: น้องเมย์น่ารัก วันที่: 17 กรกฎาคม 2557 เวลา:0:25:32 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Marquez
Location :
Milano Italy

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]




A te che sei il mio grande amore Ed il mio amore grande
A te che hai preso la mia vita E ne hai fatto molto di più
A te che hai dato senso al tempo Senza misurarlo
A te che sei il mio amore grande Ed il mio grande amore

[Add Marquez's blog to your web]