Business, Management, Skill, Experiences--แลกเปลี่ยน เรียนรู้ แบ่งปัน ประสบการณ์ บริหาร และอื่น ๆ
Group Blog
 
All blogs
 

ระวังสะพาน"แยกอโศก"พัง


ระวังสะพาน "แยกอโศก" พัง





กทม.ออกประกาศห้ามรถมากกว่า 6 ล้อขึ้น ระบุซ่อมไม่ไหวเตรียมทุบสร้างใหม่2ชั้น


นายชาตินัย เนาวภูต ผู้อำนวยการสำนักการโยธา (สนย.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า สนย. ได้หารือกับกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) ในการเตรียมจัดการจราจร สะพานอโศก-เพชรบุรี หลังจากที่สะพานดังกล่าวอยู่ในกลุ่มสะพานเหล็กข้ามทางแยก 13 สะพาน ที่กทม.จะดำเนินการซ่อมแซม โดย กทม.ได้เสนอห้ามไม่ให้รถใหญ่ ตั้งแต่ 6 ล้อขึ้นไปขึ้นสะพาน เนื่องจากผลการศึกษาของผู้เชี่ยวชาญจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้ตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของสะพานแล้วพบว่าสะพานดังกล่าวไม่เหมาะสมที่จะซ่อมแซมได้ ทั้งนี้เป็นเพียงสะพานเดียวในทั้งหมด 13 สะพานที่ไม่สามารถซ่อมแซมได้ ต้องทุบแล้วก่อสร้างใหม่ เพราะมีสภาพที่ชำรุดทรุดโทรมอย่างหนักและอาจเกิดอันตรายได้ เนื่องจากก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2519 มีอายุกว่า 33 ปีแล้ว


นายชาตินัย กล่าวว่า จากการหารือ บช.น.ได้เห็นชอบกับแนวทางนี้ และภายในสัปดาห์หน้า กทม.จะออกประกาศห้ามดังกล่าว ขณะเดียวกันอาจต้องดำเนินการทำบาร์หลักพาดบนสะพานเพื่อจำกัดความสูงด้วย ในกรณีที่อาจจะมีรถใหญ่ฝ่าฝืน อย่างไรก็ตามในส่วนของการก่อสร้างสะพานใหม่นั้น ที่ปรึกษาโครงการได้ศึกษารวมไปถึงการรองรับโครงการขนาดใหญ่ คือ การแก้ไขปัญหาการจราจรในถนนเพชรบุรี ตั้งแต่ทางด่วนขั้นที่ 1 (เฉลิมมหานคร) ต่อเนื่องถนนเพชรบุรีทั้งหมด เพื่อรองรับโครงการแอร์พอร์ตลิ้งค์ ซึ่งเป็นโครงการในอนาคต โดยขณะนี้สำนักงานออกแบบ สนย. ได้ออกแบบเรียบร้อยแล้ว เบื้องต้นอาจจะทำการก่อสร้างให้ยกระดับ 2 ชั้น อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ได้ขอบรรจุงบกลางปี 2552 ที่กำลังจะเข้าสู่การพิจารณาของสภา กทม. ในเดือน ก.ค.นี้ จำนวนกว่า 100 ล้านบาท เพื่อมาดำเนินการ คาดว่าจะเป็นการเตรียมก่อสร้างฐานรากของสะพานไว้ก่อน จากนั้นจึงขอเสนออนุมัติงบประมาณก่อสร้างส่วนอื่นต่อไป ซึ่งหากผ่านความเห็นชอบอนุมัติงบประมาณ กทม. ก็สามารถดำเนินการได้ทันที อย่างไรก็ตามขอยืนยันว่าแม้ขณะนี้จะยังเปิดให้รถเล็กใช้สะพานอยู่ก็ยังมีความมั่นคงแข็งแรงพอ ไม่มีอันตรายแต่อย่างใด.



ที่มา: //www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=197846&NewsType=1&Template=1




 

Create Date : 02 พฤษภาคม 2552    
Last Update : 2 พฤษภาคม 2552 10:39:57 น.
Counter : 670 Pageviews.  

ดูเว็บไซต์"จราจรอัจฉริยะ"เลี่ยงรถติดได้ 95%



ดูเว็บไซต์"จราจรอัจฉริยะ"เลี่ยงรถติดได้ 95%





เมื่อวันที่ 30 เม.ย. ที่กองบังคับการตำรวจจราจร (บก.จร.) พล.ต.ต.ภาณุ เกิดลาภผล รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) พล.ต.ต.วีระพัฒน์ ตันศรีสกุล ผบก.จร. นางอัศนีย์ ก่อตระกูล รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโน โลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือเนคเทค ร่วมแถลงข่าวเปิดตัวเว็บไซต์รายงานสภาพการจราจร Real Time รูปแบบใหม่ บนเว็บไซต์ www.trafficpolice.go.th ซึ่งเป็นเว็บไซต์ของตำรวจจราจร


พล.ต.ต.ภาณุ เปิดเผยว่า เดิมเว็บไซต์นี้มีการให้บริการข้อมูลด้านการจราจรอยู่แล้ว แต่ขณะนี้จะมีบริการแผนที่เส้นทางกรุงเทพฯและปริมณฑล โดยมีสีแสดงบนแผนที่บอกความหนาแน่นของจราจร เช่น สีแดงรถหนาแน่นมาก สีเหลืองรถหนาแน่นปานกลาง สีเขียวรถคล่องตัว สีดำคือจุดที่มีการปิดถนน บอกจุดที่เกิดอุบัติเหตุ จุดที่มีงานก่อสร้าง รถเสีย น้ำท่วม และจุดที่มีการจัดงานได้ นอกจากนี้สามารถแนะนำเส้นทางในการเดินทางได้ โดยใส่ข้อมูลจุดเริ่มต้นและปลายทางได้ ซึ่งหน้าเว็บจะอัพเดตข้อมูลได้เองทุก ๆ 3 นาที โดยผู้ใช้สามารถเปิดทิ้งไว้โดยไม่ต้องกดรีเฟรสข้อมูล ซึ่งหากผู้ใช้รถตรวจสอบเส้นทาง จะช่วยการเดินทางสะดวกรวดเร็วขึ้น และยังลดปัญหาการจราจรในจุดที่หนาแน่นลงได้ ทั้งนี้ผู้ใช้บริการสามารถมั่นใจข้อมูลได้ถึง 95% เนื่องจากข้อมูลที่แสดงบนแผนที่ เป็นข้อมูลที่ได้จากกล้องซีซีทีวีของ บก.จร.ที่ติดตามจุดต่าง ๆ กล้องนับจำนวนรถ รวมถึงข้อมูลที่ได้รับแจ้งจากวิทยุสื่อสาร ซึ่งจะมีความแน่นอนมากกว่าข้อมูลบนป้ายจราจรอัจฉริยะของ กทม.




ที่มา: //www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=197845&NewsType=1&Template=1




 

Create Date : 02 พฤษภาคม 2552    
Last Update : 16 พฤษภาคม 2552 11:13:47 น.
Counter : 3338 Pageviews.  

คำแนะนำ / ข้อคิดการซื้อเวบไซต์ต่อจากคนอื่น



คำแนะนำ / ข้อคิดการซื้อเวบไซต์ต่อจากคนอื่น






ผมอยากฝากประเด็นที่อาจจะเป็นประโยชน์ในการพิจารณา ซื้อเวบไซต์ (//www.*****.com) นะครับ

1. ถามตัวเองว่า ชอบไหม?? การทำธุรกิจ (ไม่ว่าจะเป็น Online หรือ Offline) ไม่มีโรยด้วยกลีบกุหลาบแน่นอนนะครับ เพราะฉะนั้น ถ้าไม่มีใจรัก อาจจะทำไปได้แป๊บเดียว จะเกิดเบื่อ, ท้อ แล้วอาจจะเลิกล้ม ไป ขอให้พิจารณาและคิดให้รอบคอบนะครับ

2. พร้อมที่จะเหนื่อยหรือยัง ? เพราะถ้าคุณจะซื้อมาเพื่อทำธุรกิจ ต้องทุ่มเทกับมันนะครับ ไม่ใช่ซื้อมาแล้วทิ้งไว้เฉย ๆ ไม่เคยเข้าไป Update ข้อมูลเลย เพราะถ้าไม่มีอะไร Update หรือนาน กว่าจะมี Update ข้อมูล .... อย่างนี้ ก็ไม่มีใครเข้ามาในเวบ (คนที่เข้ามาคือ ลูกค้า หรือผู้ที่อาจจะเป็นลูกค้าในอนาคตนะครับ) ซึ่งคุณต้องหมั่นเข้าไป Update ข้อมูลบ่อย ๆ (ควรจะทำทุกวัน)


3. เวบนี้เปิดมานานเท่าไร ? มีลูกค้าประจำมากน้อยแค่ไหน ?? เพราะเวบที่เวบใหม่ ยังไม่มีลูกค้าประจำ เราต้องเหนื่อยกับการ Promote เวบ เพื่อให้คนรู้จัก (กว่าคนอื่น ๆ จะรู้จักและเชื่อถือ จนนำไปสู่การซื้อขายสินค้า ต้องใช้เวลา + การ Promote ซึ่งหมายถึง ต้องใช้เงินอีกพอสมควรเลยนะ) แต่ถ้าเวบนี้เปิดมานาน มีคนรู้จักเยอะแล้ว ก็จะดีกว่า การเริ่มนับ 1 ใหม่

หมายเหตุ: สามารถตรวจจำนวนผู้เข้าชมเวบนี้ได้หลายที่ เช่น truehits.com ฯลฯ หรือขอดูข้อมูลจากการจัดการหลังร้านของเวบนี้ จากเจ้าของปัจจุบันก็ได้

4. เตรียมแผนการตลาด … ถ้าซื้อเวบนี้แล้ว ... คุณจะขายสินค้าอะไร? กลุ่มเป้าหมายคือใคร ? และคุณจะวางตำแหน่งสินค้าของคุณอย่างไร ? (ตามหลักการตลาด STP เลยนะครับ) ถ้าเรายังไม่รู้เลยว่าจะขายสินค้าอะไร? กลุ่มเป้าหมาย คือใคร ? ตำแหน่งสินค้าของเราเป็นอย่างไร ? จะทำให้เราทำงานไร้ทิศทาง สุดท้ายเราจะท้อ แล้วล้มเลิกความตั้งใจไป อยากฝากไว้ว่า อย่าคิดว่า จะขายสินค้าแบบที่คนเก่าขายอยู่ เพราะถ้าเราไม่คิดจะปรับปรุงเพิ่มเติมใด ๆ ท้ายสุด ลูกค้าจะเปลี่ยนไปซื้อสินค้าที่อื่น แล้วเราจะแย่น่ะ (ที่สำคัญ .... ต้องเตรียมตัว + ถามตัวเองว่า ถ้าสินค้าปัจจุบันขายดีมากๆ ทำไมเจ้าของจึงขายให้เรา?)

ข้อดีประการหนึ่งของการทำแผนการตลาด คือ การทำแผนการตลาด จะทำให้เราได้พิจารณาอย่างเป็นระบบ มีเป้าหมายที่ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเล็ก หรือใหญ่ ก็ควรทำ และหมั่นทบทวนการทำงานตามแผนนั้น เพราะถ้าไม่ทำ แผน .... คุณ ทำไปสักพัก จะเกิดความสับสนว่า ที่ทำมาทั้งหมด ประสบความสำเร็จหรือไม่ ?? (เพราะคุณขายของได้ แต่ดูเหมือนขาดทุน !!)


5. เงินพร้อมไหม ? อย่าลืมว่า ต้องมีเงินเพื่อดำเนินกิจการเพิ่มเติมนอกเหนือจากค่าซื้อเวบนะครับ เช่น เงินค่า โฆษณาทาง google – adwords หรือทางเวบอื่น ซึ่งต้องเสียเงินเป็นส่วนใหญ่ ถ้าเข้าไป Post ตามเวบบอร์ดต่าง ๆ (ฟรี) คุณมีเวลามากพอไหม ? ถ้าไม่มีเวลามากพอ ... ก็อาจจะต้องเสียเงินจ้างคนไป Post โฆษณา

ที่สำคัญ คือ ช่วงแรก ๆ (ทุกธุรกิจ) จะต้องยอมขาดทุน (อาจจะ 3 เดือน 6 เดือน หรือเป็นปี) ตัวคุณยอมรับได้ไหม ?


ถ้าคุณพิจารณารอบคอบแล้ว และคิดว่าตัวเองชอบ และพร้อมลุย .... ก็ ไม่ต้องรอช้าแล้วล่ะ
แต่ถ้าจะลุย ... ต้องเตรียมทางเลือก ไว้ด้วยนะครับ เช่น

ถ้าเราเกิดขายได้ดีมาก ๆ .... เราจะหา Supplier หรือจัดการส่งของให้ลูกค้าให้เพียงพอและรวดเร็วได้อย่างไร ?

ถ้าเราเกิดขายไม่ได้ หรือขายไม่ดี .... เราจะทำอย่างไร? จะขายเวบไหม? หรือมีกลยุทธ์รองรับอย่างไร ??

และอย่าลืมพิจารณาคู่แข่งขันด้วยนะ ... ถ้าถูกคู่แข่งขายตัดราคา.... เราจะทำอย่างไร?



ทั้งนี้ ไม่ควรมองในแง่ลบมากเกินไป ..... ในขณะเดียวกัน ก็อย่ามองแต่แง่บวกมาก จนมองเห็นแต่สายรุ้ง จนลืมความจริงนะครับ



Byonya (27-4-2552)




 

Create Date : 27 เมษายน 2552    
Last Update : 27 เมษายน 2552 11:35:26 น.
Counter : 636 Pageviews.  

"โอนลอยรถ" อย่างไร ไม่ต้องคดี "อาญา" โดยไม่รู้ตัว!!


"โอนลอยรถ" อย่างไร ไม่ต้องคดี "อาญา" โดยไม่รู้ตัว!!




หากท่านเป็นคนหนึ่งที่ประสงค์อยากจะขายรถเก่า ไม่ว่าจะขายให้กับ "เต้นท์รถ" หรือบุคคลทั่วไป หรือท่านประสงค์อยากจะซื้อรถเก่าก็ตาม ถ้าท่านเป็นมือใหม่ในการซื้อ-ขายรถ คำถามหนึ่งที่มักเกิดขึ้นก็คือการ "โอนลอย" ดีหรือไม่??!!



ท่านที่มีความชำนาญ หรือมีประสบการณ์ในการขายรถมาแล้ว อาจจะเห็นว่าคำถามเรื่องการ "โอนลอย" ไม่เห็นที่จะต้องเป็นประเด็นใหญ่โต แต่ไม่น่าเชื่อว่า จากการเปิดข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์กระดานสนทนาชื่อดังอย่าง "พันธุ์ทิพย์" เว็บไซต์กฎหมาย หรือเว็บไซต์เกี่ยวกับการซื้อขายรถมือสอง ทุกอันจะมีคำถามเรื่องการ "โอนลอย" อยู่เต็มไปหมด



หลายคนมักจะเกิดคำถามเช่นว่า "โอนลอย" เป็นอย่างไร? ดีหรือไม่? จะทำอย่างไร? จะมีผลอะไรตามมาหรือเปล่ากรณีที่เจ้าของรถใหม่ยังไม่ได้เปลี่ยนชื่อ แล้วไปก่ออุบัติเหตุ หรือแม้แต่เหตุอาชญากรรม? หรือ รถที่เราซื้อมาไปมีปัญหาอะไรมาก่อนหน้านี้หรือไม่? ต่างๆ นานาล้วนเป็นคำถามที่พัวพันกับการ "โอนลอย"



จึงอยากจะถือโอกาสรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่สำคัญเกี่ยวกับการโอนลอย ให้ผู้ที่สนใจจะดำเนินการธุรกรรมเกี่ยวกับเรื่องรถได้รับทราบกัน ทั้งในแง่ของวิธีการปฏิบัติ และในแง่กฎหมาย เพื่อความสะดวกในการค้นหาข้อมูล



อย่างเว็บไซต์ //www.meechaithailand.com เว็บไซต์ "เกจิ" กฎหมายมือฉมังของเมืองไทย โดย "มีชัย ฤชุพันธุ์" มีผู้ถามเรื่องนี้ถึง 2 รายด้วยกัน โดยรายแรก ถามว่า ...



"1.การซื้อขายได้ทำสัญญาสัญญาจะซื้อจะขายและได้มีการชำระเงินส่งมอบและตรวจสภาพรถแล้ว ถือว่า กรรมสิทธิ์เป็นของใครเพราะยังไม่มีการโอนเล่มทะเบียน

2.ถ้าสมมุติว่า ผู้ซื้อทราบภายหลังว่ารถยนต์มีการชนมา ก่อนหน้าที่ข้าพเจ้าซื้อต่อมือที่1 โดยที่ข้าพเจ้าไม่ทราบ จะต้องรับผิดชอบรับคืนรถหรือไม่

3.หากในการตรวจสภาพรถยนต์ใช้ได้ปกติแต่ถ้าคนซื้อขับออกไป 1-2 วันแล้วมีปัญหา ข้าพเจ้าจะต้องรับผิดชอบหรือไม่

4.หากผู้ซื้อมิได้ไปทำการโอนเป็นชื่อของตนเอง และหากรถเกิดคดีความทางเพ่งและอาญา ข้าพเจ้าจะมีส่วนหรือไม่ จะอ้างหลักฐานการซื้อขายได้หรือไม่"

สำหรับคำตอบนั้น อ.มีชัย ระบุว่า ...
"1. เป็นของคนซื้อ เพราะสัญญาซื้อขายเสร็จสมบูรณ์แล้ว ทะเบียนรถไม่ใช่หลักฐานกรรมสิทธิ์ ถึงยังไม่เปลี่ยนแปลงทะเบียนก็โอนกันได้

2. ถ้าคุณไม่ได้ให้คำรับรองแก่เขาว่ารถไม่เคยถูกชน และเขารู้อยู่แล้วว่าคุณเองก็เป็นมือที่ 2 คุณก็ไม่ต้องรับผิดชอบ

3. เหมือน ข้อ 2

4. อ้างได้"



ขณะที่รายที่สองถามว่า ...



"ผมและภรรยาอยู่กินกันถูกต้องตามกฎหมายโดยการจดทะเบียนสมรส และในระหว่างที่อยู่กินกันนั้นผมได้ทำการเช่าซื้อรถยนต์ไว้กับไฟแนนซ์แห่งหนึ่งโดยในสัญญาเช่าซื้อนั้นผมเป็นผู้เช่าซื้อ แต่ปัจจุบันผมและภรรยาต้องการที่จะหย่าร้างกัน โดยตกลงกันว่ารถยนต์คันดังกล่าวผมจะโอนลอยเป็นชื่อเค้า

ผมจึงต้องการเรียนถามอาจารย์ ดังนี้
1. การโอนลอยรถยนต์ในขณะที่ยังผ่อนชำระไม่หมดทำได้หรือไม่ครับ

2. ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นกับรถยนต์คันดังกล่าวผมต้องเป็นคนรับผิดชอบใช่หรือไม่ครับ

3. ผมสามารถทำหนังสือสัญญาอะไรได้บ้างครับเพื่อเป็นการยืนยันและป้องการหากเกิดอะไรขึ้นกับรถยนต์คันดังกล่าวแล้วจะไม่เดือดร้อนถึงผม



คำตอบของ อ.มีชัย ระบุว่า ...
"1. ได้
2. ใช่
3 ถ้าอยากทำ ก็ทำหนังสือง่ายๆ ว่าภรรยาได้รับรถจากการโอนลอยไปแล้ว และลงชื่อภรรยา"




นอกจากนี้ ทางศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค โดยมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เคยยกตัวอย่างผู้ขายรายหนึ่ง ซึ่งใช้วิธีการโอนลอยในการซื้อขายรถ ปรากฎว่าจู่ๆ ก็มีจดหมายจากบริษัทประกันแห่งหนึ่ง แจ้งว่าให้ชำระค่าเสียหายจำนวน 12,000 บาท เหตุเพราะถูกรถของผู้ขายรายนี้ชนแล้วหลบหนี ซึ่งเป็นรถคันเก่าที่เคยขายไปให้กับเต้นท์รถเจ้าหนึ่งนานแล้ว โดยใช้วิธีการ "โอนลอย" พร้อมกับมอบหลักฐานต่างๆ เพื่อให้ทางเต้นท์ไปจัดการเรื่องทะเบียน



ทำให้ผู้ขายรายนี้ เกิดข้อข้องใจว่าเมื่อเกิดเหตุเช่นนี้ขึ้นจะทำอย่างไรต่อไป ในเมื่อไม่ใช่ผู้กระทำความผิดเลยแม้แต่น้อย



ทางศูนย์ฯ จึงแนะนำไปว่า ให้ทำหนังสือถึงบริษัทประกันภัย เพื่อบอกกล่าวว่าไม่ได้เป็นผู้ครอบครองรถ พร้อมส่งหลักฐานการขายและส่งมอบรถแนบไปด้วย ทั้งนี้ ในทางกฎหมายการซื้อขายรถยนต์โดยการ"โอนลอย" กรรมสิทธิในรถยนต์ก็เป็นของผู้ซื้อตั้งแต่วันที่ผู้ขายส่งมอบรถยนต์ให้แก่ผู้ซื้อแล้ว แม้ว่าจะยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงชื่อผู้เป็นเจ้าของในทางทะเบียน



ปัจจุบันในการซื้อขายรถยนต์กับผู้ประกอบการเต้นท์รถ มักจะใช้วิธีการ "โอนลอย" คือให้ผู้ที่นำรถมาขายเซ็นหนังสือในหลักฐานต่างๆ ไว้ในลักษณะที่พร้อมจะเปลี่ยนชื่อในทางทะเบียนให้กับใครก็ได้ที่มาซื้อรถยนต์กับทางเต้นท์ ทั้งที่โดยปกติผู้ประกอบการจะต้องรับโอนรถมาเป็นชื่อของตัวเองก่อน เมื่อมีคนมาซื้อแล้วจึงค่อยโอนทะเบียนให้กับผู้ซื้อรายใหม่ต่อไป



การที่เต้นท์รถส่วนใหญ่ซื้อขายรถยนต์ด้วยการโอนลอย เพราะไม่อยากรับภาระเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน ซึ่งจะต้องเสียเวลา เสียค่าใช้จ่าย จึงผลักภาระนี้มาให้กับผู้บริโภค ดังนั้น ไม่ว่าในกรณีใดก็แล้วแต่ หากยังไม่ได้ไปดำเนินการเปลี่ยนแปลงชื่อเจ้าของในทางทะเบียน โอกาสที่จะเกิดปัญหาในลักษณะเดียวกันนี้ก็อาจเกิดขึ้นได้ เพราะเมื่อไม่สามารถจับตัวผู้กระทำผิด กฎหมายก็ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้มีชื่อในทางทะเบียนเป็นผู้ที่ขับรถยนต์ดังกล่าว ซึ่งได้กระทำละเมิดต่อบุคคลอื่น



แต่หากถามว่าถึงที่สุดแล้วผู้ขายรถจะต้องรับผิดชอบจ่ายค่าเสียหายหรือไม่นั้น คำตอบคือ "ไม่" เพราะในข้อเท็จจริงไม่ใช่ผู้ขับรถยนต์ ไม่ได้เป็นผู้กระทำละเมิด จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย



หากผู้บริโภคท่านใดเจอปัญหาในลักษณะนี้ สิ่งที่ต้องทำก็คือ แจ้งให้คู่กรณีทราบเป็นลายลักษณ์อักษรว่า ท่านมิได้เป็นผู้ครอบครองหรือใช้รถยนต์คันดังกล่าว โดยให้ข้อมูลหลักฐานต่างๆ เกี่ยวกับการซื้อขายประกอบไปด้วย เพื่อจะได้หาตัวผู้ต้องรับผิดชอบต่อไป



การป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาลักษณะนี้คือ เมื่อซื้อขายรถยนต์ผู้บริโภคควรจะไปดำเนินการเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ครอบครองรถในทางทะเบียนให้เรียบร้อย ไม่ว่าจะขายรถให้กับผู้ประกอบการเต้นท์รถ หรือใครก็ตาม แม้ว่าวิธีนี้ท่านอาจจะต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการโอน เพราะเต้นท์รถคงผลักภาระในการโอนนี้มาให้กับผู้บริโภคแน่ๆ แต่ก็เป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุด ที่ไม่ต้องมาผจญกับปัญหาคดีอาญาแบบไม่รู้ตัว

(ติดตามอ่านได้จาก //old.consumerthai.org/cms/index.php?option=com_content&task=view&id=183&Itemid=59)



ขณะที่ เว็บไซต์ชื่อดังด้านการซื้อขายรถยนต์มือสอง usedcar.thaispeedercar.com ได้ให้ข้อมูลอย่างสมบูรณ์ เรื่องการเตรียมตัวในการซื้อขายรถ กรณีที่จะกระทำการ "โอนลอย" ไว้ว่า ...



"การโอนลอย" ตามความหมายของกรมการขนส่งทางบก ระบุว่า "คือการที่เจ้าของรถได้ขายรถของตนแล้ว และทำการลงนามในเอกสารการโอนรถ และใบมอบอำนาจให้แก่ผู้ซื้อ โดยมิได้มีการดำเนินการทางทะเบียนที่สำนักงานขนส่งฯ"



สำหรับเอกสารต่างๆ ที่ต้องใช้ในการโอนรถนั้น ประกอบไปด้วย


1.สมุดคู่มือทะเบียนรถยนต์ โดยจะต้องตรวจสอบความถูกต้องดังต่อไปนี้

1.1 เลขทะเบียนรถ จะต้องตรงกับป้ายทะเบียนรถยนต์ (ของแท้ต้องมีคำว่า "ขส.") ป้ายทะเบียน และพ.ร.บ.

1.2 ปีที่จดทะเบียน

1.3 สี, หมายเลขเครื่อง, หมายเลขตัวถัง, ต้องตรงกับตัวถังรถยนต์และหมายเลขเครื่องยนต์ที่ติดอยู่กับตัวรถ
1.4 ชื่อเจ้าของรถ ต้องตรวจดูชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์, เลขที่บัตร, ที่อยู่ ให้ตรงกับบัตรประชาชนของเจ้าของรถ

1.5 รายการเสียภาษี หน้า 16-17 ตรวจดูว่ามีการเสียภาษีครบทุกปีหรือไม่ ไม่ขาดต่อทะเบียน หรือแจ้งจอด ยกเลิกการใช้งาน

1.6 รายการบันทึกของเจ้าหน้าที่ หน้า 18-19 ตรวจดูว่ามีรายการบันทึกในการเปลี่ยนแปลงข้อมูลรถอย่างไร เช่น การแจ้งย้าย แจ้งเปลี่ยนสี เปลี่ยนหมายเลขเครื่อง หรือขอใช้ทะเบียนบ้านในเขตไหน ต้องมีรายการบันทึกครบถ้วน

1.7 ลายมือชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ ต้องเซ็นให้ถูกต้องชัดเจน ตรงกับลายเซ็นในหนังสือต่างๆ



2.หนังสือสัญญาซื้อ-ขายรถ
เป็นหนังสือสัญญานิติกรรม ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ที่ทำการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันต้องกรอกทุกรายละเอียด เช่น วันที่, รายละเอียดผู้ขาย, รายละเอียดผู้ซื้อ, ราคาซื้อขาย, กำหนดการมัดจำและรับรถยนต์ ค่าใช้จ่ายในการโอนว่าผู้ใดเป็นผู้ออกค่าโอน, ลงชื่อผู้ซื้อผู้ขายและพยาน, ระบุวันเวลาที่ขาย และที่ได้รับรถไปแล้ว,



หนังสือตัวนี้ถือว่ามีความสำคัญอย่างสูง ต้องถือไว้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ใช้แสดงประกอบการโอน มีผลทางกฎหมาย กรณีที่ผู้ซื้อนำรถไปเกิดอุบัติเหตุ หรือใช้รถในการกระทำความผิดกฎหมาย หรือผู้ขายอาจนำไปแจ้งรถหายหรือนำเอกสารไปทำอย่างอื่น ต้องมีการตรวจเช็ครายละเอียดให้ดีทั้งผู้ซื้อ และผู้ขาย



3.แบบคำขอโอนและรับโอน
เป็นหนังสือของทางกรมขนส่งทางบก ต้องใช้เมื่อต้องยื่นประกอบเอกสารการโอนรถยนต์ ต้องระบุวันที่ ชื่อรายละเอียดผู้โอน ผู้รับโอน เลขทะเบียน รายละเอียดเกี่ยวกับรถที่โอน ราคาซื้อขาย และต้องลงรายมือชื่อทั้งผู้โอนและผู้รับโอน ที่ระบุไว้ครบทุกช่อง



4.สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประชาชนของผู้ขาย
จะต้องไม่หมดอายุ บัตรประชาชนต้องตรงกับทะเบียนบ้าน มีการเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง หรือกำหนดไว้ว่าใช้ในการโอนรถ, แจ้งย้าย, เปลี่ยนสี, เปลี่ยนเครื่อง, และหากมีการแจ้งย้าย, เปลี่ยนสี, หมายเลขเครื่อง, หรืออื่นๆ ต้องเพิ่มจำนวนสำเนาไว้อีกอย่างละชุด



5.หนังสือมอบอำนาจ
เป็นหนังสือที่มอบหมายการกระทำใดๆ ที่เกี่ยวกับทะเบียนรถ ซึ่งเจ้าของรถไม่สามารถดำเนินการเองได้ ต้องมีรายละเอียดดังนี้ วันที่, ชื่อผู้มอบและรับมอบ, ระบุรายการที่ผู้มอบอำนาจทำการแทน และลงลายมือชื่อให้ถูกต้องทั้งชื่อผู้มอบ, ชื่อผู้รับมอบ, พยาน และปิดอาการแสตมป์



6.หนังสืออื่นๆ เกี่ยวกับผู้ขาย
เช่น หนังสือเปลี่ยนชื่อและนามสกุล หนังสือหย่า, ใบมอบมรดก หรืออื่นๆ ที่ต้องใช้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงเอกสารสำคัญทางราชการ ในกรณีที่เป็นรถบริษัทไฟแนนซ์, ประกันภัย, หรือมอบมรดก ต้องเตรียมเอกสาร เช่น หนังสือรับรองบริษัท, ใบเสร็จรับเงิน, ใบเสียภาษี, และอื่นๆ ที่ใช้ต้องตรวจดูรายชื่อ ให้ถูกต้องและครบถ้วน



7.หนังสือยินยอม
ในกรณีที่ขอใช้ในกรุงเทพฯ หรือในจังหวัดเดิมในทะเบียนรถ ต้องเตรียมหนังสือยินยอมให้ทางเจ้าของรถเดิมเซ็นยินยอมขอใช้รถในทะเบียนบ้านเดิมหรือหาเจ้าบ้านที่มีชื่อ ที่อยู่ในเขตที่ต้องการขอใช้ทะเบียนรถและเซ็นลายมือชื่อ พร้อมแนบสำเนาทะเบียนบ้าน บัตรประชาชนอีกชุดหนึ่ง



8.ใบเสร็จต่างๆ เช่น ใบเสร็จซื้อเครื่องยนต์ในกรณีที่ยังไม่ได้เปลี่ยนหมายเลขเครื่อง ใบเสร็จค่าเปลี่ยนสีรถยนต์ที่ถูกต้องมีใบรับรองเสียภาษี หรือใบวิศวกรรองรับการดัดแปลงรถยนต์ใช้กับรถที่ยังไม่ได้แจ้งการดัดแปลง เช่น ระบบขับเคลื่อน ระบบเบรค การเปลี่ยนหลังคา หรือการซ่อมจากอู่ที่ต้องมีการตัดต่อ หรืออะไหล่ตัวถังรถ

(ติดตามอ่านได้จาก //usedcar.thaispeedcar.com/document/sara3.htm)



นอกจากนี้ เพื่อความสะดวกของผู้อ่านกรณีที่จะดำเนินธุรกรรมด้านการซื้อ-ขายรถยนต์ ยังมีเว็บไซต์ที่กรมการขนส่งทางบก ได้รวบรวมเอกสารไว้สำหรับดาวน์โหลดเพื่อใช้ในการยื่นต่อกรมฯ ได้แก่ //www.dlt.go.th/eform/index.php



หวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อมูลเหล่านี้พอจะเป็นประโยชน์ได้บ้างสำหรับผู้ที่จะซื้อ-ขายรถยนต์ ป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาหลังจากดำเนินการต่างๆ แล้ว



ที่มา: มติชน


//www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1240368675&grpid=05&catid=02




 

Create Date : 23 เมษายน 2552    
Last Update : 29 เมษายน 2552 8:20:52 น.
Counter : 16965 Pageviews.  

'โหงวเฮ้ง'ผัวเมียที่อยู่กันยืด ดูรู้ได้จากภาพถ่ายรวมรุ่นสมัยตอนเด็ก


'โหงวเฮ้ง'ผัวเมียที่อยู่กันยืด ดูรู้ได้จากภาพถ่ายรวมรุ่นสมัยตอนเด็ก




หลังจากนักจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยเดอ พอ ที่รัฐอินเดียนา สหรัฐฯ เปิดเผยว่า รอยยิ้มในรูปถ่ายเก่าๆ อาจจะบอกให้รู้ได้ว่า ชีวิตสมรสของผู้นั้นจะยืนยงแค่ไหน

คู่สามีภริยาคู่ใด ถ้าหากอยากจะรู้ว่าจะอยู่กันยืดแค่ไหน ให้ลองไปหาอัลบั้มภาพถ่ายรวมรุ่นของคู่ครองมาดูก็ได้ เพราะนักจิตวิทยาเปิดเผยว่า รอยยิ้มในรูปถ่ายเก่าๆ อาจจะบอกให้รู้ได้ว่า ชีวิตสมรสของผู้นั้นจะยืนยงแค่ไหน
ทีมนักจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยเดอ พอ ที่รัฐอินเดียนา สหรัฐฯ ได้ลองศึกษาวิจัย หนังสือภาพถ่ายรุ่นเก่าๆ แล้วลองให้ คะแนนความหนักแน่นของการยิ้มของบุคคลต่างๆจาก 1-10 คะแนน ได้พบว่า ผู้ที่ได้คะแนน 10 อันดับต้น ยังไม่เคยมีคนใดประสบปัญหาการหย่าร้างเลย ในขณะที่ในหมู่คนที่ได้คะแนนต่ำกว่าสิบอันดับล่าง ล้วนแต่ตกพุ่มม่ายเกือบจะทุก 1 ใน 4 คนด้วยกัน

นักจิตวิทยาแมทธิว เฮอเทนสไตน์ หัวหน้าผู้ทำการศึกษา อธิบายว่า สาเหตุอาจจะเป็นเพราะผู้ที่ยิ้มแย้มแจ่มใส ได้ส่อว่าเป็นผู้มีทัศนคติที่ดีต่อชีวิต นอกจากนั้นผู้ที่ยิ้มแย้มยังทำให้ผู้อื่นพลอยมีความสุขไปด้วย ช่วยปูทางไปสู่ชีวิตสมรสที่ยั่งยืน.



ที่มา: //www.thairath.co.th/content/tech/1151




 

Create Date : 22 เมษายน 2552    
Last Update : 22 เมษายน 2552 13:11:48 น.
Counter : 654 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  

byonya
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 18 คน [?]




I am not a perfect, but simple!

 
 
Custom Search



 
 

Website น่าสนใจ  
 
หนังสือพิมพ์ออนไลน์ประชาไท

เว็บการศึกษา Eduzones.com

Business Web Directory .biz - Business Directory
 


Word of the Day

This Day in History

Quote of the Day

Hangman




Friends' blogs
[Add byonya's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.