การสร้างบ้านใช้เสาเข็มสั้นได้หรือไม่


คำถาม-ตอบ ปัญหาอาคาร





ปัญหาเสาเข็ม

1.การสร้างบ้านใช้เสาเข็มสั้นได้หรือไม่ เพราะบ้านสมัยก่อนใช้เสาเข็มไม้ ความยาว 4-6 เมตร เท่านั้น ไม่เห็นมีปัญหาอะไร

ตอบ ปกติบ้านพักอาศัย 2 ชั้นจะมีน้ำหนักถ่ายลงฐานรากไม่มากนัก ประมาณ 8-12 ตัน/ฐาน (โดยเฉพาะบ้านที่ใช้เสาเข็มสั้น มักมีช่วง SPAN ของเสากว้างเพียงประมาณ 3-4 เมตร) ซึ่งสภาพดินอ่อนของกรุงเทพฯ โดยปกติสามารถรับน้ำหนักได้ประมาณ 1-2 ตัน/ต.ร.ม. และรับแรงเสียดทานได้ประมาณ 1.5-2.0 ตัน/ต.ร.ม. เมื่อใช้เสาเข็มสั้นประมาณ 5 ต้นต่อฐาน (แต่ละต้นรับน้ำหนักปลอดภัยได้ประมาณ 1.5-3.0 ตัน) ก็ เพียงพอที่จะรับน้ำหนักของตัวบ้านได้ แต่บ้านที่ปลูกสร้างบนเสาเข็มสั้นต้องประสบปัญหาการทรุดตัวตามสภาพการทรุด ตัวของดิน ในระยะยาวจึงมักประสบปัญหาที่ตัวบ้านทรุดต่ำกว่าอาคารข้างเคียงและมีปัญหา ระบบระบายน้ำตามมา เป็นต้น

2.ทำไมบ้านสร้างมา 20-30 ปีแล้ว โดยใช้เสาเข็มสั้นไม่เห็นมีปัญหาการแตกร้าว แต่พอต่อเติมไม่นานกลับมีปัญหารอยแตกร้าวและรอยแยกในส่วนที่ต่อเติมตามมา

ตอบ ปัญหานี้แยกได้ 2 ประเด็น คือปัญหาเรื่องฝีมือช่างและปัญหาโครงสร้างของอาคารปัญหาด้านฝีมือช่างต้องยอมรับว่าช่างในอดีตเป็นช่างฝีมือจริง ต้องผ่านงานและฝึกฝนมาพอสมควรจึงจะมีตำแหน่ง เป็นช่างปูน, ช่าง ไม้ ต่างจากปัจจุบัน ที่เพียงแค่เคยทำงานก่อสร้างก็จัดชั้นตัวเองขึ้นมาเป็นช่างแล้ว ทำให้ฝีมือและเทคนิคไม่สามารถเทียบกับช่างรุ่นเก่าได้ ประกอบกับความเร่งรีบและความพิถีพิถันในงาน มีความแตกต่างกันมาก ในอดีตช่างรุ่นเก่าจะฉาบปูนจะต้องมีการร่อนทรายให้สะอาดก่อนนำมาหมักปูน เพื่อนำมาผสมฉาบ ในขณะที่ปัจจุบันไม่ได้ให้ความใส่ใจเท่าที่ควร ผิวปูนฉาบจึงมักจะร่อนและแตกร้าวได้ง่ายปัญหาด้านโครงสร้าง การที่ตัวบ้านสร้างบนเข็มสั้น และอยู่ในชั้นดินอ่อน เปรียบเสมือนแผ่นไม้กระดานลอยน้ำที่สามารถปรับตัวเองได้บ้างตามแรงกระเพื่อม ของผิวน้ำ โครงสร้างบ้านที่อยู่บนชั้นดินอ่อนก็เช่นกัน สามารถปรับตัวได้เล็กน้อย จึงไม่ส่งผลกระทบต่ออาคารที่ไม่ใช่โครงสร้างหลัก เช่นผนังประตู หน้าต่าง มากนัก แต่ในส่วนที่ต่อเติมมักจะมีรอยแยก สาเหตุหลักน่าจะเกิดจากการเซ็ทตัวของผนังอิฐก่อที่มีการยุบตัวลง ในขณะที่รอยเชื่อมต่อมีแรงยึดเหนี่ยวไม่เพียงพอ (แม้จะมีการอ้างว่าได้เจาะเสียบเหล็กหนวดกุ้งแล้ว แต่มักจะไม่ได้ยึดแน่นกับโครงสร้างจริง เพียงแต่เจาะเสียบไว้เฉยๆ) ปูน ฉาบบริเวณรอยต่อ จึงปรากฏรอยแตกและรอยแยกระหว่างผนังใหม่และโครงสร้างเก่า อีกประการหนึ่งคืออาคารส่วนที่ต่อเติมอาจไปเร่งการทรุดตัวของอาคารเก่า ทำให้เกิดการทรุดตัวที่ไม่เท่ากัน จึงเกิดรอยแตกและแยกตัวของอาคารได้ซึ่งปัญหาลักษณะนี้การแยกตัวจะขยายเพิ่ม ขึ้นตามระยะเวลา เนื่องจากฐานรากเดิมอาจจะรับน้ำหนักเต็มที่ หรือฐานรากเดิมลดความสามารถในการรับน้ำหนักเนื่องจากเสาเข็มผุกร่อน ทำให้ลดค่าความปลอดภัย (SAFETY FACTOR ลดลง) เมื่อมีการเพิ่มน้ำหนัก จึงทำให้เกิดการทรุดตัวของอาคารดังกล่าว

3.ทำไมบ้านส่วนที่ต่อเติมจึงมีการทรุดตัวและมีรอยแตกห่างออกไปเรื่อยๆ

ตอบ คำ ถามนี้เป็นมักเป็นคำถามที่มักพบได้บ่อยมาก เนื่องจากโดยธรรมชาติของเจ้าของบ้านมักคิดว่าต่อเติมบ้านไปนิดเดียวไม่หน้า มีปัญหาอะไร ต่อเติมแค่ครัวชั้นเดียวเท่านั้นให้ช่างที่ไหนทำก็ได้ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดอย่างใหญ่หลวง ทั้งนี้เพราะงานต่อเติมเป็นงานซึ่งมีความยุ่งยากมากกว่างานก่อสร้างใหม่ตาม แบบที่ออกไว้แล้ว ซึ่งช่างสามารถทำตามแบบที่เขียนไว้ แต่งานต่อเติมอาคารเป็นงานซึ่งไม่มีแบบที่ชัดเจนและต้องพบกับงานซึ่งไม่ได้ คาดคิด, ไม่เห็นปัญหามาก่อน(UNSEEN) มากมาย จึงเป็นงานที่ต้องใช้ความรู้ ความเข้าใจ (KNOWLEDGE) ใน เรื่องพฤติกรรมของโครงสร้างอาคาร ว่าส่วนต่อเติมนั้นจะต้องการให้มีการถ่ายน้ำหนักแบบไหน จุดเชื่อมต่อจะออกแบบให้เป็นแบบยึดแน่นหรือเคลื่อนตัวได้ (RIGID OR HINGE) และต้องออกแบบรอยต่อแบบอย่างไร จึงจะถูกต้องตามพฤติกรรมการรับน้ำหนักที่เกิดขึ้นจริง อีกทั้งต้องมีความชำนาญ (SKILL) ใน การแก้ไขปัญหาที่ไม่คาดคิด เช่นตำแหน่งเสาเข็มลงไม่ได้, เสาตอม่อ และคานของอาคารเดิมไม่เป็นไปตามแบบ จะแก้ไขปัญหาอย่างไรให้ส่วนต่อเติมแข็งแรงและไม่ไปสร้างปัญหาให้ตัวอาคาร เดิมเป็นต้น จะเห็นว่างานก่อสร้างต่อเติมเป็นงานที่ต้องใช้ผู้ที่มีความรู้, ความเชี่ยวชาญและความชำนาญมากกว่าปกติ

ส่วน ปัญหาที่ว่าต่อเติมนิดเดียวไม่หนักเท่าไหร่นั้นก็คือตัวปัญหาโดยเฉพาะ พื้นที่ในกรุงเทพฯ เพราะอย่างที่ทราบกันว่าชั้นดินในกรุงเทพฯเป็นชั้นดินอ่อนที่มีอัตราการทรุด ตัวที่สูงมาก การที่มีน้ำหนักไปกดทับไม่ว่ามากหรือน้อยก็ยิ่งเป็นการเร่งการทรุดตัวให้ เร็วขึ้น ส่วนที่ต่อเติมจึงย่อมแยกจากอาคารเก่าอย่างแน่นอน

4.แต่ส่วนต่อเติมก็ใช้เข็ม ช่างก็ตอกเข็มให้แล้วใช้เข็มหกเหลี่ยม 6 เมตร ตั้งหลายต้นน่าจะอยู่ได้ จะใช้เข็มยาวช่างก็บอกทำไม่ได้เพราะพื้นที่ไม่พอ

ตอบ ถ้า ใช้เข็มสั้นไม่ว่ากี่ต้นก็ทรุด เพียงว่าอัตราการทรุดตัวจะช้าหรือเร็วแค่ไหนเท่านั้น เพราะ ชั้นดินอ่อนในกรุงเทพฯ มีความหนาประมาณ 12-15 เมตร และช่วง 10 เมตร แรกก็มักจะเป็นดินอ่อนค่อนข้างเหลวเสียด้วย การตอกเสาเข็มสั้นจึงเปรียบเสมือนเอาเสาเข็มไปปักไว้บนดินเลน เมื่อมีน้ำหนักกดลงก็ย่อมทรุดตัวตามสภาพน้ำหนักและระยะเวลาที่กดนั่นเอง ส่วนตัวบ้านซึ่งวางอยู่บนเสาเข็มยาวไม่มีการทรุดตัว หรือมีการทรุดตัวก็น้อยมาก ดังนั้น อัตราการทรุดตัวที่ต่างกันก็ย่อมทำให้เกิดรอยแยกบริเวณที่ต่อเติมแน่นอน

ส่วนที่บอกว่าพื้นที่จำกัด ไม่สามารถใช้เสาเข็มยาวได้ ก็อาจจะใช้ส่วนหนึ่ง ถ้าให้ผู้รับเหมาทั่วไปทำ แต่ถ้าให้มืออาชีพอย่าง SIAM ENGINEER FORUM CO., LTD. ปัญหาเหล่านี้ย่อมแก้ไขได้ แม้ต้องใช้เสาเข็มยาวเท่าตัวอาคารเดิม เพราะเราเป็นผู้เชียวชาญด้านฐานรากจึงได้พัฒนาการออกแบบ STEEL MICRO PILES แบบ HYDRAULIC COMPRESSION PILES และแบบ MINI DRIVEN PILES ที่สามารถแก้ไขปัญหาการทำเข็มยาวในพื้นที่จำกัดได้

5.ถามในส่วนต่อเติมที่บ้าน ก็อุตสาห์ใช้เข็มยาวความลึกเท่าตัวอาคารเดิม โดยให้ช่างมาทำเสาเข็มเจาะ ทำไมยังทรุดตัวอีก

ตอบ ปัญหา นี้ก็มักพบได้เสมอเช่นกันเพราะเจ้าของบ้านอุตส่าห์ลงทุนใช้เสาเข็มเจาะ เพื่อให้ได้ความยาวเท่ากับเสาเข็มเดิมแล้วไม่น่าจะมีปัญหาการทรุดตัวตามมา ซึ่งในทางทฤษฎีนั้นตอบได้ว่าไม่ควรมีการทรุดตัว แต่ในทางปฏิบัติสำหรับการทำเสาเข็มเจาะ ในงานขนาดเล็กมักมีปัญหา เรื่องคุณภาพของเสาเข็มตามมามากมาย ทั้งนี้ เพราะระบบการทำเสาเข็มเจาะที่ใช้ เป็นระบบแห้ง (DRY PROCESS) คือติดตั้งสามขา (TRIPOD) ใช้ ลูกตุ้มกระแทกตอกปลอกเหล็กลงไปถึงระดับที่ต้องการแล้วจึงเจาะเอาดินออก หลังจากนั้นจึงใส่โครงเหล็กที่ผูกเตรียมไว้ พร้อมเทคอนกรีตลงไปในหลุมเจาะ แล้วจึงดึงปลอกเหล็กขึ้น ซึ่งมีขั้นตอนที่จะกระทบต่อคุณภาพของเสาเข็มหลายขั้นตอนขึ้นอยู่กับวิธีการ ควบคุมงานและประสิทธิภาพของคนงานชุดทำเสาเข็มเจาะ เช่น

- ระดับความลึกของเสาเข็มถึงชั้นดินแข็งหรือชั้นทรายจริงหรือไม่

- การทำความสะอาดก้นหลุมซึ่งอาจมีดินเลน ก่อนเทคอนกรีต

- ขั้นตอนการเทคอนกรีตลงในเสาเข็มว่ามีการควบคุมคุณภาพไม่ให้เกิดการแยกตัวของคอนกรีต (SEGREGATION) ระหว่างการเทคอนกรีตลงในท่อซึ่งลึกมาก

- ขั้นตอนการดึงปลอกเหล็กขึ้นที่ไม่ทำให้คอนกรีตเสียกำลังหรือเกิดโพรงที่ทำให้ชั้นดินอ่อนไหลเข้าไปแทนที่

- การเทคอนกรีตระหว่างที่มีน้ำอยู่เต็มในปลอกเหล็ก ซึ่งมีผลต่อกำลังรับน้ำหนักของคอนกรีต เป็นต้น

ซึ่งทุกขั้นตอนดังกล่าว ย่อมส่งผลกระทบต่อความสามารถในการรับน้ำหนักของเสาเข็มเจาะทั้งสิ้น การจะทำการ LOAD TEST เพื่อ ทดสอบกำลังรับน้ำหนักก็เสียค่าใช้จ่ายสูงดังนั้น เมื่อขาดการควบคุมคุณภาพที่ดี ปัญหาการใช้เสาเข็มเจาะก็เป็นปัญหาที่มักพบเห็นกันได้บ่อยๆ
ปัญหาจากการออกแบบ

6.ซื้อบ้านจากโครงการ ซึ่งมีการออกแบบขออนุญาตถูกต้อง แล้วทำไมยังทรุดอีก

ตอบ ปัญหาของหลายโครงการที่พบนอกเหนือจากคุณภาพของงานก่อสร้างที่มักไม่ได้มาตรฐาน เนื่องจากเจ้าของโครงการมักต้องการผู้รับเหมาที่ราคาต่ำสุด คุณภาพย่อมต่ำตาม (เนื่องจากในโลกนี้ไม่มีของดีราคาถูก มีแต่ของดีราคาเหมาะสม) ซึ่ง เป็นปัญหาอันดับต้นๆ ของปัญหาบ้านและอาคารทั้งหลาย แต่ปัญหาอีกประการหนึ่ง ซึ่งเรามักจะไม่ได้คำนึงถึงคือคุณภาพของแบบ เนื่องจากในช่วงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์กำลังรุ่งเรือง หลายโครงการใช้แบบมาตรฐาน แบบเดียวกับทุกโครงการ เช่น ออกแบบไว้กับโครงการแถวพุทธมณฑล แล้วไปเปิดโครงการแถวสำโรง, ลำ ลูกกา ก็ยังคงใช้แบบเดิมโดยไม่ใส่ใจลักษณะสภาพพื้นที่โครงการว่าเป็นเช่นไร เพราะแต่ละพื้นที่ก็ต้องมีการออกแบบเฉพาะเพิ่มเติมเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพ ภูมิประเทศ เช่น

สภาพ พื้นดินเดิม บางแห่งเคยเป็นบึง เป็นหนองน้ำ และพึ่งนำดินมาถมใหม่ ในขณะที่พื้นที่โดยรอบยังเป็นหนองบึง อยู่เช่นเดิม การออกแบบจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงการเคลื่อนตัวของดินอ่อน การเกิด NEGATIVE SKIN FRICTION ซึ่งจำเป็นต้องเพิ่มค่าความปลอกภัย (FACTOR OF SAFETY) ในการออกแบบ เรื่องเสาเข็ม ความยาวเสาเข็มที่ใช้ที่พุทธมณฑล, สำโรง, ลำ ลูกกา ความยาวเสาเข็มย่อมแตกต่างกัน การนำแบบก่อสร้างมาใช้จำเป็นต้องมีการทำการเจาะสำรวจดิน เพื่อกำหนดความยาวเสาเข็มให้ถูกต้องเหมาะสม หรืออาจจำเป็นต้องกำหนดแผนผังและจัดลำดับการตอกเสาเข็ม ในกรณีที่การก่อสร้างมีการใช้เสาเข็มจำนวนมากๆ เช่น โครงการก่อสร้างทาวน์เฮาส์จำนวนมากๆ เพื่อไม่ให้เกิดการเคลื่อนตัวของแรงดันดินด้านข้างในชั้นดินอ่อน (LATERAL EARTH MOVEMENT) จากปริมาณการแทนที่ของเสาเข็มที่ตอกใหม่ไปกระทำให้เสาเข็มที่ตอกเสร็จแล้ว เคลื่อนตัวหนีศูนย์ หรือหลุด, หักได้ เป็นต้น

7.ปัญหาจากแบบก่อสร้าง ปัญหาอื่นๆ ยังมีอีกหรือไม่

ตอบ ปัญหา ที่พบบ่อยและบริษัทเข้าไปแก้ไขและมั่นใจว่าเป็นปัญหาจากการออกแบบแน่นอนก็ คือ เสาเดี่ยวด้านหน้าบ้านที่ใช้เป็นที่จอดรถ ซึ่งมักออกแบบเป็นโดยใช้เสาเข็มต้นเดี่ยว และมักไม่ได้ออกแบบให้มีคานคอดินมายึดโยงให้เกิด RIGIDITY ปัญหา ที่พบคือฐานรากชุดนี้เกิดการเคลื่อนตัวหรือทรุดตัว เนื่องจากการตอกเสาเข็มไม่ให้หนีศูนย์ เป็นเรื่องที่ควบคุมได้ยาก และในการก่อสร้างฐานรากถ้าขาดการตรวจสอบควบคุมที่ใกล้ชิด ก็มักจะก่อสร้างไปตามแบบเดิม โดยไม่มีการปรับปรุงฐานรากให้เหมาะสมกับสภาพการหนีศูนย์ของเสาเข็ม เมื่อเสาเข็มเกิดการเยื้องศูนย์มากในตำแหน่งฐานรากดังกล่าวที่ระบบการยึดโยง ของคานคอดินไม่มี ก็ยิ่งทำให้ค่าความปลอดภัย (FACTOR OF SAFETY) ลดลง และมีผลให้โอกาสที่เกิดการทรุดตัวมีมากขึ้น และเมื่อบ้านได้ใช้งานเต็มที่ (FULL LOAD) ผลจากการเยื้องศูนย์ของเสาเข็ม หากมีปัญหาการเชื่อมต่อของเสาเข็มไม่ดี (ปกติเข็มยาวมักใช้เข็ม 2 ท่อนต่อ) น้ำหนักที่กดอาจทำให้เสาเข็มหลุดหรือหักบริเวณรอยต่อ และเกิดการทรุดตัวในที่สุด

ปัญหาอีกประการหนื่งอาจเกิดจากการขาดประสบการณ์ของผู้ออกแบบและขาดข้อมูลดิน ทำให้การออกแบบกำลังรับน้ำหนักของเสาเข็ม ผู้ออกแบบไปยึดถือตามมาตรฐานของบริษัทผู้ผลิตเสาเข็ม ซึ่งมาตรฐานดังกล่าวเป็นเพียงข้อกำหนดที่ใช้ทั่วไป การจะใช้งานจำเป็นต้องนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพพื้นที่จริง ก่อน จึงจะไม่เกิดปัญหาการออกแบบ ที่เสาเข็มต้องรับน้ำหนัก OVER LOAD และเกิดการทรุดตัวภายหลัง

ปัญหาการแตกร้าวของอาคาร

8.บ้านสร้างเสร็จไม่นานเกิดรอยร้าวทั่วไปหมด จะมีปัญหาอย่างไรหรือไม่

ตอบ ปัญหา การแตกร้าวของอาคาร มีหลายลักษณะ และเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ การแตกร้าวไม่จำเป็นต้องเป็นปัญหาของอาคารเสมอไป ซึ่งพอจำแนกได้พอสังเขปได้ดังนี้

การแตกร้าวของปูนฉาบ เป็นลักษณะแตกลายงาทั่วไป ไม่มีทิศทางแน่นอน (MAP CRACKING) ซึ่งเกิดการหดและขยายตัวของปูนฉาบจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ หรือจากการที่ฉาบปูนหนาไป หรือจากส่วนผสมของปูนฉาบไม่ได้มาตรฐาน การแตกร้าวของผนังใต้คานจะมีลักษณะรอยร้าวเป็นแนวนอนใต้ตำแหน่งคาน ซึ่งเกิดจากการเร่งก่ออิฐ และฉาบปูนทำให้เมื่ออิฐที่ก่อมีการเซ็ทตัว และยุบตัวลง จึงเกิดรอยร้าวดังกล่าวขึ้น รอยร้าวของคอนกรีต ที่เกิดขึ้นในขณะที่กำลังจะเซ็ทตัว(สภาวะพลาสติก) มัก เกิดที่ผิวของโครงสร้างสัมผัสอากาศมากๆ เช่น พื้นของอาคาร ซึ่งไม่มีการป้องกันการระเหยของน้ำ จากผิวคอนกรีตที่ดีพอ หรือจากส่วนผสมของคอนกรีตไม่ดี เป็นต้น ยังมีการแตกร้าวในลักษณะอื่นๆ อีกแต่ลักษณะของการแตกร้าวแบบนี้ ไม่ก่อความเสียหายให้แก่โครงสร้างมากนักและสามารถแก้ไขได้ง่าย สามารถทำการสกัดแล้วฉาบใหม่ก็จะหาย หรือถ้าเกิดที่เนื้อคอนกรีต ก็อาจใช้อีพ๊อกซี่ฉีดอัดหรือทา ก็สามารถหยุดยังรอยแตกร้าวได้

9.ช่วยอธิบายว่ารอยแตกร้าวชนิดใดเป็นปัญหาต่อโครงสร้าง และเกิดจากการทรุดตัวของอาคาร

ตอบ ปัญหา ที่เกิดจากทรุดตัวของอาคาร จะเป็นปัญหาที่มีความสำคัญต่อโครงสร้าง และเป็นปัญหาใหญ่ของอาคาร ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีอื่นใดนอกจากการแก้ไขฐานรากเท่านั้น รอยแตกร้าวชนิดนี้จะมีแบบแผนที่แน่นอน โดยจะปรากฏบนตำแหน่ง ซึ่งมีความแข็งแรงน้อย เช่น ผนังก่ออิฐ ขอบประตูหน้าต่าง เป็นต้น ก่อนแล้วค่อยพัฒนาขยายไปสู่ส่วนของโครงสร้างอาคาร ลักษณะรอยแตกจะเป็นแนวทแยงประมาณ 45 องศา เหตุที่เกิดเป็นแนวเฉียง เนื่องจากเกิดแรงดึง (STRESS) ขึ้นในโครงสร้างของอาคารจากการทรุดตัวของฐานราก (แรงในแนวดิ่งจากการทรุดตัวลงของฐานราก และแรงแนวราบจากแรงยึดเหนี่ยวของโครงสร้างอาคาร) หน่วงแรงที่เป็นผลจากการทรุดตัว จึงเป็นผลลัพธ์สุดท้ายของแรงที่เกิดในโครงสร้าง (หน่วยแรงลัพธ์สุทธิ ที่เกิดจากการหักล้างของแรงแนวดิ่งและแรงแนวนอน) ปกติรอยแตกร้าวแนวทแยงนี้จะชี้ไปยังตำแหน่งของเสาต้นที่เกิดการทรุด และถ้ามีการทรุดตัวมาก จะเริ่มปรากฏขึ้นในโครงสร้างของอาคาร เช่น คาน และเสาตามลำดับ ซึ่งถ้าปรากฏรอยแตกร้าวขึ้นในโครงสร้างของอาคารแล้ว จะถือว่าอาคารอยู่ในขั้นวิกฤต จำเป็นต้องได้รับการซ่อมแซมโดยด่วน

จะ เห็นได้ว่าการแตกร้างจากการทรุดตัวของอาคาร จึงไม่สามารถแก้ไขโดยวิธีฉาบปิดรอยร้าวได้ เพราะการทรุดตัวมีแต่จะเพิ่มขึ้นตามระยะเวลา เนื่องจากฐานรากที่เกิดการทรุดตัวเริ่มรับน้ำหนักที่ออกแบบไม่ได้ ยิ่งนานวันน้ำหนักจากส่วนอื่นก็จะถูกถ่ายลงมาสู่ฐานรากนั้น จึงยิ่งทำให้เกิดรอยแตกร้าวมากขึ้นตามลำดับ และอัตราเร่งของการทรุดตัวก็จะยิ่งมากขึ้นตลอดเวลา เช่นเดียวกับการที่เรานั่งบนเก้าอี้ ที่มีขาใดขาหนึ่งเริ่มชำรุดเมื่อเราใช้งานไปถ้าขาเก้าอี้นั้นเกิดการหักลง เราก็จะตกจากเก้าอี้ เพราะน้ำหนักทั้งหมดที่ถ่ายลงสู่ขาเก้าอี้ที่หัก ซึ่งการแก้ไขก็คือ ต้องเปลี่ยนหรือเสริมขาเก้าอี้ใหม่ แต่ในกรณีฐานรากของบ้าน เราไม่สามารถขุดลงไปหาตำแหน่งของเสาเข็มที่เสียหายเพื่อซ่อมแซมตำแหน่งที่ เสียหายได้ มีทางเดียวคือต้องเสริมเสาเข็มและฐานรากใหม่เท่านั้น

10.ปัญหาอื่นๆที่พบและมีผลทำให้อาคารทรุดตัว

ตอบ ปัญหาที่พบก็มักเกี่ยวพันกับสภาพสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง และมีผลกระทบต่อฐานรากของอาคารโดยตรงนั่นเอง เช่น

ปัญหาที่พบมาก สำหรับในกรุงเทพฯ ก็คือผลจากแรงดันด้านข้างของดินอ่อน มากระทำต่อฐานรากทำให้เกิดการเคลื่อนตัว อันเนื่องมาจากการขุดดินใกล้ฐานรากมากเกินไปโดยไม่มีระบบป้องกันที่ดีพอ การตอกเสาเข็มของอาคารใหม่ที่มีขนาดใหญ่ หรือมีเสาเข็มจำนวนมากทำให้มีปริมาณดินที่เกิดการแทนที่จากเสาเข็มจำนวนมาก จึงเกิดการเคลื่อนตัวไปดันเข็มอื่นให้เกิดการหนีศูนย์หรือหัก (ปัญหานี้แก้ได้ถ้ามีการวางแผนตำแหน่งการตอกเสาเข็มก่อนหลัง หรือเปลี่ยนไปวิธีใช้เสาเข็มแบบอื่นแทนเสาเข็มตอก) ปัญหาจากการกัดเซาะ จากกระแสน้ำ, การขุดลอก คูคลอง สำหรับอาคารที่อยู่ใกล้เคียงลำน้ำ เป็นต้นปัญหารองลงมา คือการใช้อาคารผิดประเภท โดยการดัดแปลงโครงสร้างหรือประโยชน์ใช้สอย ทำให้โครงสร้างอาคารไม่สามารถรับน้ำหนักได้ตามที่ออกแบบไว้เดิม ลักษณะการทรุดตัวแตกร้าว จากปัญหานี้จะมีความรุนแรงและเกิดขึ้นในเวลาอันรวดเร็ว เช่น ได้ยินเสียงดังจากการทรุดตัวของอาคารด้านใดด้านหนึ่ง หรือที่เกิดจากคานที่หักหรือแตกร้าว และมีการทรุดตัวอย่างเห็นได้ชัดเพียงระยะเวลาอันสั้น เป็นต้น ปัญหาประเภทนี้มีอันตรายต่อเจ้าของและผู้อยู่อาศัย เนื่องจากอาจเกิดการพังทลายได้ตลอดเวลา เป็นเรื่องที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขโดยเร่งด่วนปัญหาจากการเสื่อมสภาพของฐานราก เนื่องจากอยู่ใกล้น้ำเค็มหรืออยู่ในบริเวณที่มีการระบายน้ำเสียจากโรงงานที่ มีสภาพความเป็นกรดหรือเป็นด่างสูง ทำให้เกิดการกัดกร่อนฐานรากและเสาเข็มจนคอนกรีตเสื่อมสภาพ มีผลถึงเหล็กเสริมเกิดสนิม ซึ่งเมื่อเหล็กเสริมในคอนกรีตเกิดเป็นสนิมจะมีการขยายตัวมีปริมาตรเพิ่มขึ้น ดันจนทำให้คอนกรีตแตกร้าวเสียสภาพกำลังรับน้ำหนัก

ปัญหาการเปลี่ยนคุณสมบัติของดิน ในกรณีนี้มักพบในพื้นที่ในภาคอิสานที่ชั้นดินในสภาพปกติเป็นดินแข็งชั้นดินสามารถรับน้ำหนักแบกทานได้สูง (HIGH BEARING CAPACITY) การ ออกแบบฐานรากจึงออกแบบเป็นฐานแผ่ แต่ลักษณะพิเศษของดินในภาคอิสานคือเมื่อดินดานต้องแช่น้ำนานๆจะเกิดการดูด ซึมน้ำและเปลี่ยนสภาพเป็น SILTY CLAY ซึ่งความสามารถในการรับ น้ำหนักแบกทานจะลดต่ำลงอย่างมาก มีผลให้ฐานรากเดิมที่ออกแบบไว้ไม่สามารถรับน้ำหนักได้ อาคารที่อยู่ในสภาพพื้นดินแบบนี้ จึงต้องมีการออกแบบอย่างระมัดระวัง ต้องคำนึงถึงการระบายน้ำ อาจต้องออกแบบระบบระบายน้ำไม่ให้มาท่วมขังอยู่บริเวณฐานรากอาคาร เป็นต้น

การแก้ไขโดยการเสริมฐานราก

11. มีผู้เสนอให้เสริมเสาเข็มโดยใช้เสาเข็มเจาะ ไม่ทราบว่าจะดีกว่าการใช้ HYDRAULIC COMPRESSION PILES (HCP) หรือไม่

เปรียบเทียบคุณสมบัติของ HCP และ BORE PILE

ตอบ ในทางทฤษฎีแล้วสามารถใช้เข็มได้ทั้ง 2 ประเภท ขึ้นอยู่กับการออกแบบและสภาพพื้นที่ว่าเอื้ออำนวยมากน้อยแค่ไหน เพราะเสาเข็มเจาะมีข้อดีคือหน้าตัดใหญ่ (ขนาดเส้นผ่า ศ.ก. 350 และ 500 ม.ม.) ทำให้รับน้ำหนักต่อต้นได้สูงกว่าจึงอาจเหมาะสมกับอาคารที่มีน้ำหนักมากๆ แต่เสาเข็มเจาะมีข้อจำกัดมากมายเมื่อเทียบกับเสาเข็ม MICRO PILES แบบ HCP เพราะไม่สามารถทำงานในพื้นที่จำกัด ต้องทุบทำลายพื้นอาคาร รบกวนผู้อยู่อาศัยและอาคารข้างเคียง เป็นต้น ดังข้อสรุปเปรียบเทียบตามตารางข้างล่างนี้

L


J

ก่อให้เกิดมลภาวะ(เสียง, ดิน, ฝุ่น, เกิดแรงดันเสาเข็มข้างเคียง)

L


J

รบกวนผู้อยู่อาศัยและอาคารข้างเคียง

L


J

ค่าใช้จ่ายงานซ่อมตกแต่งอาคารภายหลังการเสริมฐานราก

L


J

การเจาะสกัดพื้น

J


J

สามารถออกแบบเป็นเสาเข็มยาว

L


J

ความสามารถในการทำงานที่จำกัด

L


J

ตรวจสอบความสามารถในการรับน้ำหนักได้ทันที

L


J

คุณภาพเสาเข็มควบคุมได้100 %
BORE PILE
HCP
รายการ

12.การ ใช้เสาเข็ม MICRO PILES แบบ H.C.P. ซึ่งเป็นเสาเข็มเหล็ก ไม่ทราบว่าจะก่อให้เกิดสนิมขึ้นหรือไม่และจะมีอายุใช้งานได้ยาวนานแค่ไหน

ตอบ การเกิดสนิมเหล็กเป็นปฏิกิริยาทางเคมีซึ่งต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ

- ความชื้นที่พอเหมาะ
- ออกซิเจนที่เพียงพอ

จากกระบวน การเกิดปฏิกิริยาทางเคมีที่ก่อให้เกิดสนิมเหล็กดังกล่าวข้างต้น บริษัทฯได้ทำการศึกษาและพัฒนาเพื่อป้องกันการเกิดสนิมเหล็กในเสาเข็ม HCP ดังนี้

- ทำการ COAT ผิวภายนอกด้วย FERRO GUARD เพื่อป้องกันและยับยั้งการเกิดสนิมเหล็ก

- บริเวณที่มีการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำใต้ดิน (ระยะ 1.00 – 1.50 ม. จากผิวดิน) ซึ่งเป็นบริเวณซึ่งอาจมีโอกาสให้ความชื้น และออกซิเจน เข้าไปทำปฏิกิริยาให้เกิดสนิมเหล็ก ได้ทำการเทคอนกรีตหุ้มผิวเหล็กป้องกั

- ผิวภายในท่อเหล็กก็ได้ทำการเทคอนกรีตเพื่อป้องกันและยับยั้งสนิมเหล็กเช่นกัน

คอนกรีต มีคุณสมบัติเป็นด่าง(ค่า pH สูง) จะเป็นเกราะป้องกันการเกิดสนิมเหล็กอย่างดี เนื่องจากปฏิกิริยาทางเคมีที่จะก่อให้เกิดสนิมจะไม่เกิดขึ้นในสภาวะที่เป็น ด่าง ดังนั้นกระบวนการที่ได้ทำการป้องกันไม่ให้เกิดสนิมเหล็กตามขั้นตอนดังกล่าว ข้างต้น จึงทำให้มั่นใจได้ว่าจะไม่เกิดการผุกร่อนในเสาเข็ม HCP และสามารถใช้งานได้อย่างยาวนานหายห่วง


13.บ้านทรุดแล้วมีคนแนะนำให้รอไปก่อน เพราะมีโอกาสหยุดการทรุดตัว จะเป็นไปได้หรือไม่

ตอบ ทั้ง เป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้ ที่ตอบเช่นนี้ไม่ใช่การเล่นคารม แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาที่ได้รับการซักถามจากเจ้าของบ้านอยู่เสมอ เพราะเป็นธรรมดาที่เจ้าของบ้านที่ประสบปัญหาย่อมมีความหวังคิดในทางบวก ต้องการคำตอบที่ตรงกับความหวังลึกๆในใจที่จะได้ไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้ จ่ายในการซ่อมมากมายนัก หากมีคนมาแนะนำว่าบ้านที่ทรุดตัวอาจหยุดการทรุดตัวจึงมักจะรีรอเกิดความไม่ แน่ใจ ปัญหานี้จึงต้องมีการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญอย่างแท้จริง ว่าสภาพการทรุดตัวของอาคารมีพฤติกรรมอย่างไร สมควรที่จะเสี่ยงรอคอยความหวังว่าจะหยุดการทรุดตัวหรือไม่ ก่อนที่จะเข้าตำรา “กว่าถั่วจะสุก งาก็ไหม้” เสียก่อน ในทางทฤษฎีสามารถอธิบายได้ดังนี้

กรณีที่บอกว่าเป็นไปได้ จะมีกรณีเดียวคือการใช้เสาเข็มยาวแล้วความยาวของเสาเข็มไม่พอ ปลายเสาเข็ม (PILE TIP) หยั่งไม่ถึงชั้นดินแข็งหรือชั้นทรายอย่างแท้จริง เนื่องจากขาดการควบคุมงานเสาเข็มอย่างใกล้ชิด เช่น ถ้าใช้เสาเข็มตอกบางโครงการอาจยึดถือความยาวเสาเข็มเป็นหลัก แล้วสั่งเสาเข็มเข้ามาจำนวนมาก เมื่อตอกได้ถึงความลึกที่กำหนด (สมมติ ความยาว 18 ม.) ก็เพียงพอโดยไม่ได้ตรวจสอบกำลังรับน้ำหนัก (BLOW COUNT) ที่แท้จริงของเสาเข็ม เมื่อเกิดมีการเปลี่ยนสภาพของชั้นดินบริเวณนั้นที่ต้องใช้ความลึกเพิ่มขึ้น อาจเป็น 18.50, 19.00 ม. ทำให้โอกาสที่เกิดการทรุดตัวและหยุดการทรุดตัวเป็นไปได้ แต่การทรุดตัวในกรณีนี้จะเป็นไปอย่างช้าๆ เนื่องจากความสามารถในการรับน้ำหนักของเสาเข็มและดินใกล้เคียงกับจุดที่ สามารถรับน้ำหนักได้จริง สภาพการแตกร้าวของอาคารจะปรากฏการแตกร้าวทั่วไปไม่มีหลักเกณฑ์ (PATTERN) ที่แน่นอน เนื่องจากเป็นการทรุดตัวที่เกิดช้าๆและฐานรากยังมีความสามารถเพียงพอในการ รับน้ำหนัก กรณีที่บอกว่าเป็นไปไม่ได้ ซึ่งร้อยละ 90 ขึ้นไปของการทรุดตัวเป็นกรณีนี้ เนื่องจากเมื่อฐานรากเกิดเสียหาย (FOOTING FAIL) ความสามารถในการรับน้ำหนักจะลดลงอย่างมากจากสภาพปกติ (เช่นการที่เรานำหลอดพลาสติกมากดในช่วงแรกจะปรากฏแรงต้านสูง เมื่อกดจนหลอดหักพับแล้วนำมายืดให้ตรงและกดใหม่ ความสามารถในการรับแรงต้านจะหายไป) การทรุดตัวกรณีนี้จึงไม่มีโอกาสหยุดการทรุดตัวอย่างแน่นอน ยิ่งยืดเวลานานไปเท่าไหร่ก็ยิ่งเพิ่มความเสียหายให้แก่อาคารมากเท่านั้น จากการศึกษาพฤติกรรมการพังทลายของอาคารโดยใช้การวิเคราะห์ด้วยแบบจำลอง 3 มิติทางคอมพิวเตอร์ ปรากฏว่าอาคารที่เกิดการพังทลาย (COLLAPSE) นั้น แม้มีฐานรากเพียงชุดเดียวเท่านั้นเกิดการเสียหายก็สามารถทำให้อาคารทั้งหลัง เกิดการพังทลายได้ เนื่องจากพฤติกรรมของอาคารที่มีการยึดโยงกันทั้งโครงสร้าง เมื่อฐานรากหนึ่งเกิดเสียหาย น้ำหนักส่วนใหญ่จะถ่ายมายังฐานรากที่เสียหายนั้นทันที (เช่นเดียวกับที่นอนน้ำ เมื่อเรานั่งที่มุมไหนน้ำหนักส่วนใหญ่จะถ่ายมาสู่จุดที่เรานั่ง) ก่อให้เกิดแรงดึง (STRESS) สูงมากเป็นทวีคูณของโครงสร้างฝั่งตรงกันข้าม ทำให้โครงสร้างและฐานรากส่วนนั้นเสียหายตามไปด้วย น้ำหนักส่วนอื่นก็จะถ่ายไปสู่ฐานรากที่เสียหายนั้นและเกิดความเสียหายของ โครงสร้างและฐานรากเป็นลูกโซ่ กระทั่งอาคารทั้งหลังพังทลาย ซึ่งการทรุดตัวภายหลังจากฐานรากชุดแรกเสียหายจนไม่สามารถรับน้ำหนักได้ (มีการทรุดตัวชัดเจนและมีอาการแตกร้าวในโครงสร้างของอาคาร) ปฏิกิริยาลูกโซ่ที่ตามมาจะเกิดขึ้นค่อนข้างเร็ว

สภาพรอยร้าวของการทรุดตัวแบบนี้จะมีรูปแบบละทิศทางที่แน่นอน เช่นเกิดรอยร้าวเป็นแนวทแยง หรือแนวดิ่ง และมีแนวโน้มของรอยแตกขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยรอยแตกด้านบนจะขยายใหญ่กว่าปลายด้านล่างของรอยแตก

กล่าวโดยสรุปการจะตอบว่าการทรุดตัวจะหยุดหรือไม่ควรต้องให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจ สอบ, วิเคราะห์อย่างรอบคอบ การปล่อยทิ้งไว้โดยขาดการวิเคราะห์ที่ถูกต้อง อาจเพิ่มความเสียหายให้แก่โครงสร้างมากขึ้น แทนที่จะต้องทำการซ่อมแซมเพียง 1-2 ฐานราก แต่เมื่อโครงสร้างเสียหายมากขึ้นอาจต้องทำการแก้ไขทั้งอาคาร หรือต้องทุบทิ้งไป เข้าตำรา “เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย”


ที่มา //www.siam-engineer.com




Create Date : 10 กันยายน 2554
Last Update : 7 มีนาคม 2557 18:17:47 น. 0 comments
Counter : 12504 Pageviews.  
 

PJ-ADD
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 14 คน [?]




ทุกคนทุกฝ่ายมีกรรม ..และ มีชะตากรรมร่วมกัน

ภายใต้วันเวลาที่กรรมตามมาทัน ..จึงเกิดเหตุการณ์เช่นนั้น ... " ไม่เป็นไร หรอกครับ .. ยังไงทุกชีวิตก็ต้องได้พบกับ คำว่า กรรมตามทัน เข้าสักวัน ด้วยกันทุกคน.

" สิ่งที่ถูกต้อง กับสิ่งที่ไม่ถูกต้องที่เรารู้ในใจที่จริงก็เหมือนกันทุกคนครับ ..ที่จริงทุกคนก็รู้ว่าอะไรดีอะไรชั่ว แต่ การตัดสินใจเลือกกระทำ อาจจะไม่เหมือนกัน .. ก็เพราะกรรม..ทำให้เขาเลือก..อย่างที่เขาเลือก.. และ เมื่อเขาเลือก..เขาก็ย่อมได้รับ "
ก็เพราะกรรม.. - เราเองก็เช่นกัน ครับ เราเลือกอะไร เราทำอะไร .. แสดงออกไปอย่างไร .. เราก็รู้ไม่ใช่เหรอครับ

" ธรรมะมีพลังยิ่งใหญ่เสมอ ครับ ..ธรรมะคือธรรมชาติ มันมีอยู่อย่างนั้น และเป็นไปเช่นนั้น.. ขึ้นอยู่กับว่า เราจะตรวจสอบสังเกตุ ดูจิตดูใจเราไม่ให้เกิดความชั่ว ความเศร้าหมองในจิต และ ไม่ทำชั่วด้วยกาย วาจา ใจ.. แม้เนียนๆแม้เพียงเล็กน้อย..ที่บางคนอาจคิดว่า นี่เป็นศิลปะ ในการเลี้ยงชีพ แต่แท้จริงแล้วเราก็รู้ไม่ใช่เหรอครับว่าที่เราคิด ที่เราพูด ที่เราทำลงไปนั้นมัน เราต้องการอะไร.. และ มันอยู่ฝ่ายดี หรือ ฝ่ายไม่ค่อยดี

..เรื่องที่ไม่ถูกต้อง .. เรื่องที่ไม่ดี ..เรื่องที่นำเราไปในทางเสื่อม .. อยู่ใกล้ตัวเราเสมอ ..เกือบทุกครั้ง ที่มันคือหนึ่งในทางเลือก เป็นตัวเลือกในการตัดสินใจแต่ละครั้งของเรา.. และ เราก็ทำมันลงไป .. ซึ่งเมื่อเราทำ ช้าหรือเร็วเรก็ต้องได้รับผล

..ไม่ว่าใครต่อใครในสังคมนี้จะรู้สึกกับช่างก่อสร้าง-กับ-ผู้รับเหมาก่อสร้าง อย่างไร / ตราบใดที่ทุกคนยังต้องการมีบ้านอยู่อาศัย ต้องการตกแต่งบ้าน ต้องการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงอาคารธุรกิจ หรือ ที่อยู่อาศัย..สังคมก็ยังต้องเกี่่ยวข้องกับคนที่ทำอาชีพ ช่างก่อสร้าง อาชีพผู้รับเหมาก่อสร้าง.. ครับ #คุณหมูเอดีดี #เอดีดีเฮ้าส์

วันนี้ขอธรรมะอีกวันนะ ครับ

คุณหมู- เอดีดี
https://www.facebook.com/ADDHomeRenovation
[Add PJ-ADD's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com