Free to read , to write , Free to live, live it free!! - เพื่ออิสรภาพทางการเงิน**
Group Blog
 
All Blogs
 

หลักการใช้ fibonacci เพื่อหาเป้าหมายของ elliot wave

//www.stock2morrow.com/forums/showthread.php?t=4129


หลักการใช้ fibonacci เพื่อหาเป้าหมายของ elliot wave


เมื่อวานคุยกับน้องคนหนึ่งในเว๊บ s2m เรานี่แหละเรื่องการใช้ fibo
เพื่อหาเป้าของ elliot wave ถัดไป ว่ามีหลักการอย่างไร
เลยเอามาลงให้ดูกันนะครับ


ในภาพก็เป็น elliot wave ที่เราคุ้นเคยกันดีในรูปแบบ 5-3 คือขาขึ้น 5
คลื่น โดยมีคลื่น 1,3และ 5 เป็นคลื่นส่ง และ คลื่น 2,4 เป็นคลื่นปรับตัว

ส่วนคลื่นปรับตัวจะมี 3 คลื่นคือ abc โดยมี a,c เป็นคลื่นส่ง และ b เป็นคลื่นปรับตัว โดยในแต่ละคลื่นจะมีคลื่นย่อยภายในด้วย


โดยมีหลักการง่ายๆเบื้องต้นคือ คลื่นส่งจะอยู่ในแนวโน้มหลักว่าขึ้นหรือลง
ส่วนคลื่นปรับตัวจะอยู่ตรงข้ามกับแนวโน้มหลัก
ดังนั้นคลื่นส่งต้องยาวกว่าคลื่นปรับตัวจึงทำให้เกิดการเคลื่อนที่ไปตามแนว
โน้มนั้นได้ ดังนั้นคลื่นส่งจึงมี 5 คลื่นย่อย ส่วนคลื่นปรับตัวจะมี 3
คลื่นย่อยดังรูป

รูป




นี่เป็นการใช้ fibo เพื่อหา target ของคลื่นถัดไป

//www.elliott-wave-theory.com/e...html#fibonacci



Targets for wave 1


The first wave, a new impulsive price movement, tends to stop at the
base of the previous correction, which normally is the B wave. This
often coincides with a 38.2% or a 61.8% retracement of the previous
correction.


Targets for wave 2


Wave 2 retraces at least 38.2% but mostly 61.8% or more of wave 1. It
often stops at sub wave 4 and more often at sub wave 2 of previous wave
1. A retracement of more than 76% is highly suspicious, although it
doesn?t break any rules yet.


Targets for wave 3


Wave 3 is at least equal to wave 1, except for a Triangle. If wave 3 is
the longest wave it will tend to be 161% of wave 1 or even 261%.


Targets for wave 4


Wave 4 retraces at least 23% of wave 3 but more often reaches a 38.2%
retracement. It normally reaches the territory of sub wave 4 of the
previous 3rd wave.


In very strong markets wave 4 should only retrace 14% of wave 3.


Targets for wave 5


Wave 5 normally is equal to wave 1, or travels a distance of 61.8% of
the length of wave 1. It could also have the same relationships to wave
3 or it could travel 61.8% of the net length of wave 1 and 3 together.
If wave 5 is the extended wave it mostly will be 161.8% of wave 3 or
161.8% of the net length of wave 1 and 3 together.


Targets for wave A


After a Triangle in a fifth wave, wave A retraces to wave 2 of the
Triangle of previous wave 5. When wave A is part of a Triangle, B or 4
it often retraces 38.2% of the complete previous 5 wave (so not only
the fifth of the fifth) into the territory of the previous 4th wave. In
a Zigzag it often retraces 61.8% of the fifth wave.


Targets for wave B


In a Zigzag, wave B mostly retraces 38.2% or 61.8% of wave A. In a
Flat, it is approximately equal to wave A. In an Expanded Flat, it
usually will travel a distance of 138.2% of wave A.


Targets for wave C


Wave C has a length of at least 61.8% of wave A. It could be shorter in
which case it normally is a failure, which foretells an acceleration in
the opposite direction.


Generally wave C is equal to wave A or travels a distance of 161.8% of wave A.


Wave C often reaches 161.8% of the length of wave A in an Expanded Flat.


In a contracting Triangle wave C often is 61.8% of wave A.




ลองมาดูตัวอย่างจริงจากกราฟ set รายชั่วโมงในปัจจุบันกัน ซึ่งตอนนี้เราอยู่ในคลื่น 3

AGET นับคลื่นดังภาพ จะเห็นได้ว่าคลื่น 1 เริ่มจาก 408 มา 443 ดังนั้นเราสามารถหาเป้าคลื่น 2 คร่าวๆได้ดังนี้

Targets for wave 2


Wave 2 retraces at least 38.2% but mostly 61.8% or more of wave 1. It
often stops at sub wave 4 and more often at sub wave 2 of previous wave
1. A retracement of more than 76% is highly suspicious, although it
doesn?t break any rules yet.

เป้าหมายของคลื่นที่ 2

คลื่น 2 ปรับตัวอย่างน้อย 38.2%
โดยส่วนใหญ่จะปรับตัวมาที่ 61.8%หรือมากกว่า ของคลื่นที่ 1
การปรับตัวมากกว่า 76% ให้ตั้งข้อสงสัย แม้จะไม่ผิดกฏ



ในภาพจะเห็นว่าคลื่นที่ 2 ปรับตัวมาที่ 426 เท่ากับ fibo 50% พอดี
โดยทั่วไปคือ ถ้าตลาดแข็งแรงจะย่อน้อย แต่คลื่นที่ 2
มักย่อได้มากเพราะเป็นคลื่นที่คนส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยมีความเชื่อมั่น

รูป



ที่นี่ลองมาหาเป้าหมายคลื่น 3 ในปัจจุบันกัน

Targets for wave 3


Wave 3 is at least equal to wave 1, except for a Triangle. If wave 3 is
the longest wave it will tend to be 161% of wave 1 or even 261%.

เป้าหมายของ wave 3

คลื่นที่ 3 อย่างน้อยต้องเท่ากับคลื่นที่ 1
ถ้าคลื่นที่ 3 เป็นคลื่นที่ยาวที่สุด มีแนวโน้มที่จะยาวได้ 161% หรือถึง
261% ของคลื่นที่ 1



ในกราฟชุดปัจจุบันจะเห็นว่าคลื่นที่ 3 ยาวทะลุ 161% ของคลื่นที่ 1 มาแล้วดังนั้นคงต้องไปดูเป้าหมายที่ 261% หรือ 518 จุดกันครับ


การหา fibo retracement คิดว่าคงคล่องกันดีอยู่แล้วเพราะมีในโปรแกรมทั่วไป
ส่วน fibo extension ถ้าไม่มีในโปรแกรมก็คิดเองได้ครับ
เช่นกรณีนี้คลื่นที่ 1 ยาว 443-408 เท่ากับ 35 จุด fibo 261.8% ของ 35 จุด
เท่ากับ 92 จุด แล้วเอา 92 จุดไปบวกจากจุดเริ่มคลื่น 2 ที่ 426 เท่ากับ
518 จุด ดังภาพ


ส่วนเมื่อจบคลื่น 3 แล้วเราก็สามารถลองหา target คลื่น 4 ได้ตามหลักการ fibo ต่อไป


แม้จะมีข้อยกเว้นและยุ่งยากพอสมควรสำหรับ EW และ fibo แต่ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจดี ลองศึกษากันดูครับ

เวลากัปตัน ss88 พาท่องคลื่นจะได้เมาคลื่นน้อยหน่อยครับ

รูป






Free TextEditor




 

Create Date : 24 กรกฎาคม 2552    
Last Update : 24 กรกฎาคม 2552 19:03:03 น.
Counter : 3852 Pageviews.  

ชำแหละค่า P/E และ Growth VS Value


Money Game : ชำแหละค่า P/E


นักลงทุนทุกท่านคงเคยได้ยินอย่างสม่ำเสมอว่าหุ้นไทย P/E ถูกมาก ซึ่ง P/E
ของ SET ไทยปัจจุบันอยู่ที่ 9-10 เท่า ซึ่งอาจจะถูกเป็นอันดับต้นๆ
ของภูมิภาคแถวนี้



การใช้ราคาปิดต่อหุ้น/กำไรต่อหุ้น (P/E Ratio)
เป็นค่าวัดความน่าสนใจในการลงทุนว่า นักลงทุนเต็มใจซื้อหุ้นในราคาเท่าใด
เพื่อแลกกับกำไร และเงินปันผลที่จะได้รับในอนาคต
และหุ้นตัวนั้นจะใช้เวลากี่ปีที่ผลตอบแทน
หรือกำไรที่บริษัททำได้จะรวมกันเท่ากับเงินทั้งหมดที่ใช้ซื้อหุ้นไป
กำไรต่อหุ้น (Earning per share หรือ EPS) ที่คิดในสูตรของ P/E Ratio
จะต้องเป็นกำไรในอนาคต หรือปีที่ n+1
เนื่องจากราคาหุ้นจะสะท้อนถึงผลการประกอบการในอนาคต
และต้องเป็นกำไรก่อนรายการพิเศษ
เพื่อได้ค่าที่ถูกต้องในการคำนวณราคาหุ้นตามปัจจัยพื้นฐานบริษัท


นักลงทุนบางท่านคงจะสงสัยว่าทำไมบางบริษัทถึงมี P/E ถูกมาก
แต่หุ้นไม่ได้ไปไหนเลย หรือบางบริษัท P/E แพงมาก
และยังคงแพงอยู่อย่างนั้นราคาหุ้นไม่ยอมปรับตัวลงเลย แท้จริงแล้วค่า P/E
มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องมาก การที่บริษัทต่างๆ ต้องการที่จะให้ค่า P/E
ของตัวเองเพิ่มขึ้น เพื่อที่จะเพิ่มความมั่งคั่ง (Wealth)
ผู้ถือหุ้นของตนเองจะต้องเข้าใจปัจจัยที่ขับดัน (Drives) ของค่า P/E ดังนี้


ปัจจัยภายนอก ซึ่งบริษัทไม่สามารถควบคุมได้ เช่น อัตราดอกเบี้ย
ในภาวะดอกเบี้ยขาลง นักลงทุนจะมีความอดทน (Tolerance) ต่อหุ้นที่มี P/E
สูงๆ ได้ เพราะนักลงทุนจะให้ความสนใจในอัตราการเติบโต (Growth)
มากกว่าความถูกหรือแพงของราคาหุ้นนั้น ในทางกลับกันถ้าดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น
หุ้นที่ P/E สูงๆ จะมีราคาตกต่ำอย่างรวดเร็ว



ปัจจัยภายในบริษัท จะประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ความเสี่ยง (Market risk
premium) อัตราการเติบโตของกำไร และผลตอบแทนของการลงทุนของบริษัท


ส่วนที่หนึ่ง : โดยปกติความเสี่ยง (Market risk premium) จะมีผลต่อต้นทุนในการลงทุน ซึ่งประกอบด้วย (เรียงจากน้ำหนักมากไปหาน้อย)


1) ความเสี่ยงของสินทรัพย์ในการลงทุน ซึ่งมีน้ำหนักของความเสี่ยงมากสุด เช่น ภาวะอุตสาหกรรมสินค้า และธุรกิจ


2) ความเสี่ยงทางด้านการเงิน (Financial leverage) บริษัทที่ต้องการเพิ่ม
P/E อาจจะต้องมีการเพิ่มหนี้ หรือ Debt
แต่ต้องไม่มากเกินไปที่จะทำให้บริษัทล้มละลาย


3) ความเสี่ยงจากการดำเนินงาน (Operational leverage)
บริษัทที่มีต้นทุนคงที่มากเกินไป (Fixed cost)
จะมีความเสี่ยงต่อการขาดทุนสูงในกรณีเศรษฐกิจขาลง คือ
ต้นทุนไม่เพียงพอต่อยอดขาย



4) ปัจจัยเฉพาะในประเทศ (Country risk) เช่น ภาวะการเมือง


5) ความเสี่ยงของตัวผู้บริหาร


6) ความเสี่ยงจากสภาพคล่องในการลงทุน เช่น เวลาซื้อ-ขายหุ้นจะไม่มีสภาพคล่องเพียงพอ


7) ความเสี่ยงจากความไม่สม่ำเสมอของกระแสเงินสด เช่น ในกรณีธุรกิจซึ่งเป็น Cyclical


8) ความเสี่ยงจากผู้ถือหุ้น


9) ความเสี่ยงจากกลยุทธ์ในการดำเนินงาน


ถ้าลดความเสี่ยงต่างๆ เหล่านี้ นักลงทุนจะมีความมั่นใจในการเพิ่มค่า P/E ให้บริษัทนั้น


ส่วนที่สอง ผลตอบแทนการลงทุน จะมีน้ำหนักในการกำหนดทิศทาง P/E คือ
ถ้าบริษัทลงทุนในธุรกิจที่ใหม่ให้ผลตอบแทนต่ำกว่าธุรกิจเดิมไม่ว่าจะวัดใน
แง่ของผลตอบแทนของผู้ถือหุ้น (Return on equity หรือ ROE)
หรือวัดในแง่ต้นทุนของหุ้นทุน (Cost of equity) นักลงทุนจะให้ P/E
ที่ต่ำกับบริษัทนั้น


กรณีที่สาม ถ้ากำไรบริษัทเพิ่มขึ้น นักลงทุนให้ P/E ที่สูงกับบริษัทนั้น


กล่าวโดยสรุป สำหรับผู้ประกอบการหรือบริษัทจดทะเบียน การที่ต้องการ Wealth
ตัวเองเพิ่มขึ้น จะต้องเข้าใจพฤติกรรมการให้มูลค่าหุ้นจากนักลงทุน
บริษัทจะต้องแสวงหาการเติบโต
และการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าผลตอบแทนผู้ถือหุ้น
และต้นทุนหุ้นทุนของผู้ถือหุ้นในปัจจุบัน


Money Game : Growth VS Value


กลยุทธ์ลงทุนใน Growth stock (หุ้นเติบโตสูง) หรือ Value stock
(หุ้นที่เน้นมูลค่า ในทางปัจจัยพื้นฐาน หรือ Cheap valuations)
ซึ่งจะเป็นเหรียญสองด้าน ซึ่งเดินขนานกันในบางจังหวะของการลงทุน
การลงทุนใน Growth stock จะให้ผลตอบแทนสูง แต่ในบางจังหวะการลงทุนใน Value
stock จะให้ผลตอบแทนสูงกว่า
เนื่องจากการลงทุนในหุ้นจะขึ้นอยู่กับการคาดหวัง และการคาดการณ์
(Perception) มากกว่าความเป็นจริง (Reality)



นักลงทุนที่ชาญฉลาดจะต้องคาดการณ์ที่เหนือความคาดหมายของตลาดให้ได้
(Earning surprises) และทิศทางของการปรับเปลี่ยนผลดำเนินงาน (Directions
of revisions to consensus exceptions) การหาจังหวะลงทุนให้ถูกต้อง
ซึ่งสามารถหาได้จาก “วงจรการคาดหวังของผลกำไร” (Earnings Expectations
Life Cycles) ดังนี้


จากวงจรดังกล่าว นักลงทุนที่เน้น Growth (หุ้นเติบโตสูง)
จะเริ่มศึกษาการลงทุนในหุ้นทันทีที่นักวิเคราะห์เริ่มปรับประมาณการกำไรขึ้น
ในขณะที่นักลงทุนประเภทเน้นมูลค่าเริ่มศึกษาการลงทุนทันทีที่นักวิเคราะห์
ปรับผลการดำเนินงานลง ซึ่งจะเห็นว่านักลงทุนเน้น Growth
และนักลงทุนเน้นมูลค่า (Value) จัดเป็นเหรียญ 2 ด้านซึ่งเดินขนานกัน

นักลงทุนที่เน้น Growth จะต้องค้นหาหุ้นที่มี Growth Momentum คือ
ผลกำไรเติบโตต่อเนื่อง เมื่อไรก็ตามที่ Growth Momentum ลดลง
หุ้นนั้นจะไม่เป็นที่น่าสนใจเลย
โดยปกติหุ้นที่เน้นการเติบโตจะมี 4 ประเภท
คือ


หนึ่ง.. ประมาณการของผลกำไรเติบโตมาก (Projection Earnings Growth)


สอง.. การปรับผลกำไรให้สูงขึ้นของนักวิเคราะห์ในหุ้นนั้น (Upward Earning Revision)


สาม.. ผลกำไรออกมาดี และ Surprise ตลาด (Positive Earnings Surprise)


และ สี่.. หุ้นที่ผลกำไรต่อเนื่อง (Earnings Momentum)


จากการศึกษาในการเคลื่อนไหวของหุ้นในอดีต
ราคาหุ้นจะตอบสนองต่อกรณีที่สองและสามมากที่สุด นั่นคือ
การปรับประมาณผลกำไรเพิ่มขึ้นของนักวิเคราะห์ และการที่หุ้นที่มีผลกำไรที่
Surprise นักลงทุน ในขณะที่นักลงทุนที่เน้นมูลค่า (Value)
จะค้นหาหุ้นที่ถูกลืมและมีความคาดหวังต่ำ (Low expectation) เผื่อถ้ามี
Earning surprise ขึ้นมา หุ้นตัวนั้นจะปรับตัวขึ้นทันที

มีงานวิจัยที่ผมได้ศึกษามา ปรากฏการณ์ที่น่าสนใจดังนี้คือ
หุ้นที่เน้นมูลค่า (Value stocks) จะให้ผลตอบแทนที่สูง ในสามกรณีดังนี้คือ


หนึ่ง ผลกำไรของหุ้นทั่วไปในตลาดหลักทรัพย์ดีต่อเนื่อง (Continued earnings momentum)


สอง การคาดการณ์ของดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น และ


สาม การจ่ายเงินปันผลเพิ่ม สัดส่วนรายได้ลง (Payout Ratio)
อย่างเช่นหุ้นบ้านเราในช่วงสองปี (ปี พ.ศ. 2547 และปี 2548) ที่ผ่านมา
หุ้นที่ P/E ต่ำจะให้ผลตอบแทนสูง ในขณะที่หุ้นเติบโตสูง (Growth stocks)
จะให้ผลตอบแทนสูงในกรณีดังต่อไปนี้


หนึ่ง.. ผลกำไรของหุ้นทั่วไปในตลาดหลักทรัพย์เริ่มลดลง
ทำให้หุ้นที่มีการเติบโตโดดเด่นจะได้รับความสนใจเป็นพิเศษ สอง..
การคาดการณ์ว่าดอกเบี้ยจะลดลง
และการจ่ายเงินปันผลเทียบสัดส่วนของรายได้เพิ่มขึ้น (Rising Ratio)






Free TextEditor




 

Create Date : 24 กรกฎาคม 2552    
Last Update : 24 กรกฎาคม 2552 18:59:17 น.
Counter : 988 Pageviews.  

นิยามหุ้นจากปีเตอร์ ลินช์ (Peter Lynch)

นิยามหุ้นจากปีเตอร์ ลินช์ (Peter Lynch)


หากพูดถึงกองทุนแม็คเจ็ลลัน หลายคนอาจจะคุ้นหู
ลินช์เคยเป็นผู้บริหารกองทุนนี้และสามารถสร้างผลตอบแทนที่สูงมากในระดับ
29% แบบทบต้นในระยะเวลา 13 ปีที่เขาบริหารงานอยู่
กลยุทธ์ของลินช์คือการสามารถแบ่งประเภทของหุ้นออกเป็นหลายแบบ
ซึ่งแต่ละแบบหรือประเภทก็มีลักษณะเฉพาะตัว
(ซึ่งแน่นอนว่าจะสะท้อนออกมาในรูปของราคาซื้อขายด้วย) ดังนี้:

1) หุ้นโตช้า พวกนี้โตไปเรื่อยๆ เปื่อยๆ จ่ายปันผลเรื่อยๆ
เรียกว่าเป็นหุ้นห่านทองคำได้หากว่าการจ่ายปันผลนั้นสม่ำเสมอ
ผู้ลงทุนจะต้องทำการตรวจดูว่าประวัติการจ่ายปันผลนั้นเป็นอย่างไร
เป็นกี่เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับดอกเบี้ยเงินฝากหรือพันธบัตร
(ซึ่งเป็นผลตอบแทนแบบไร้ความเสี่ยงต่อเงินต้น
แต่อาจจะไม่ทันอัตราเงินเฟ้อ!) หุ้นพวกนี้มักจะเป็นหุ้นในอุตสาหกรรมอาหาร,
เกษตร, ของใช้เครื่องนุ่งห่ม, เสื้อผ้ารองเท้า เป็นต้น

2) หุ้นโตเร็ว ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นหุ้นโตเร็ว
แต่ที่สำคัญก็คือ
นักลงทุนที่เข้าไปสนใจหุ้นประเภทนี้จะต้องรู้ว่าเจ้าหุ้นโตเร็วนี้จะโตไปได้
อีกสักเท่าไร ไม่ใช่ว่าปีนี้เป็นปีสุดท้ายที่มันจะโต
แล้วก็พรวดพราดเข้าไปซื้อ แบบนี้มีโอกาสสูงที่จะเจ็บตัวได้
(ขึ้นกับราคา
และผลตอบแทนรวมที่คาดคะเนไว้ขณะที่เข้าซื้อด้วย)
ถ้าเราสนใจจะลงทุนในหุ้นประเภทนี้
ก็จะต้องแน่ใจว่ามันยังโตไปได้อีกอย่างน้อยก็ 4-5 ปี
ปรมาจารย์ลินช์บอกไว้ว่า หุ้นพวกนี้น่าจะมี PEG ไม่เกิน 1
คือเอาค่าอัตราส่วน P/E หารด้วยอัตราการเจริญเติบโต (เป็นร้อยละ)
แล้วไม่เกิน 1 นั่นเอง
ครับ แต่ถ้านักลงทุนบ้านเรา
สามารถหาหุ้นเหล่านี้ได้ที่ราคา "ถูก" กว่านี้ก็น่าสนใจ ในเมืองไทย
หุ้นเหล่านี้คงอยู่ในหมวดยานยนต์, สื่อสาร ครับ

3) หุ้นประเภทแข็งแรง พวกนี้เป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่ "อึดทน"
ต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะเศรษฐกิจได้ดี เรียกว่าไม่พังครืนลงมาง่ายๆ
นักลงทุนที่ไม่อยากหวาดเสียวกับความสามารถในการอยู่รอดของบริษัทที่ตนเอง
เป็นเจ้าของ ก็น่าจะมองหุ้นกลุ่มนี้ไว้บ้าง
บริษัทพวกนี้อาจจะไม่เติบโตรวดเร็วมากหรือก้าวกระโดดนัก
แต่ข้อดีของเขาก็คือความเสี่ยงจะต่ำเนื่องจากไม่ได้เติบโตแตกกิ่งก้านไปใน
ทิศทางที่ตนเองอาจจะไม่ถนัดในการทำธุรกิจ (Core Business) ข้อเสียก็คือ
มันจะไม่ "โดด" ในเรื่องของผลประกอบการ
นั่นก็คือราคาของมันจะไม่ "โดด"
ไปด้วยไงล่ะครับ หากซื้อหุ้นพวกนี้มา ดังนั้นหากเล่นเก็งกำไร
ถ้าได้กำไรสัก 20% ก็ทะยอยปล่อยของได้แล้วครับ แต่หากเป็นนักลงทุนระยะยาวๆ
ก็สามารถถือไปได้เรื่อยๆ
บางทีฝรั่งมังค่าก็เรียกหุ้นประเภทนี้ว่าบลูชิพครับ

4) หุ้นวัฎจักร อันนี้เรียกได้ว่าสนุกสนาน เพราะทั้งยอดขาย กำไร
ต่างๆนาๆของบริษัทพวกนี้จะ "วน" เป็นวงจร นั่นคงไม่ได้ขึ้นไปเรื่อยๆ
(หรือลงไปเรื่อยๆ) แต่นักลงทุนที่จะเข้าลงทุนหุ้นพวกนี้
จะต้องเป็นผู้ที่รู้จักอุตสาหกรรม, ความต้องการ, อุปสงค์/อุปทาน
ของสินค้าชนิดนั้นเป็นอย่งดี จึงจะสามารถทำกำไรได้ วงจรชีวิต
(พูดเหมือนของลูกน้ำ ยุง กบเขียดเลย)
ของหุ้นเหล่านี้ก็จะขึ้นกับอุตสาหกรรมนั้นๆ อาจจะทุกๆ สองปี สี่ปี
หรือห้าหกปี ก็ได้

5) หุ้นฟื้นตัว อันนี้ก็เหมือนกับ (เกือบ) ตายแล้วเกิดใหม่นั่นเอง
เช่นบริษัทอาจจะเกิดปัญหาใดๆ ทำให้ผลการดำเนินงานประสบกับภาวะขาดทุน
แต่ไม่ได้มีปัญหากับพื้นฐานของอุตสาหกรรมของตัวเอง
ทั้งยังมีแนวโน้มว่าจะสามารถหาวิธีปรับโครงสร้างหนี้ เพิ่มทุน
เพื่อทำให้มีเงินสดหมุนเวียนในการทำธุรกิจ
ตลอดจนสามารถใช้หนี้เพื่อลดภาระดอกเบี้ยจ่ายและหนี้สินที่มีอยู่ให้น้อยลง
หรือหมดไป กระทั่งสามารถทำกำไรได้
หุ้นเหล่านี้ก็คือหุ้นฟื้นตัวหรือที่เรียกว่า Turnaround Stock นั่นเอง
หากนักลงทุนต้องการลงทุนในหุ้นประเภทนี้
จะต้องศึกษาให้ดีว่าการที่บริษัทมีปัญหาแต่แรกนั้น เกิดจากอะไร
พื้นฐานของการทำธุรกิจเพื่อให้ได้กำไรนั้นได้เปลียนไปหรือไม่
และหนทางที่จะได้ทุนเพิ่มเติมมาเพื่อทำงานต่อไปนั้นเป็นไปได้เพียงใด

ซึ่งถ้านักลงทุนสามารถเข้าไปซื้อหุ้นประเภทนี้ในขณะที่ราคาต่ำเตี้ยเกือบจม
แผ่นดินแล้ว ก็สามารถสร้างผลตอบแทนให้กับผู้ลงทุนได้อย่างมหาศาล
แต่ก็ต้องไม่ลืมว่าหุ้นเหล่านี้ก็มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน

6) หุ้นสินทรัพย์ นี่เป็นหุ้นของบริษัทที่มีทรัพย์สินมาก
คือมีทรัพย์สินมาก และหนี้สินน้อย (ส่วนต่างของของสองอย่างนี้เยอะ)
บางครั้งหุ้นประเภทนี้ไม่รู้จักการนำทรัพย์สินที่มีอยู่ไปทำให้เกิดประโยชน์
มากขึ้น (ซึ่งหากทำได้ ก็จะกลายเป็นหุ้นโตเร็ว หรือหุ้นแข็งแกร่งไปแล้ว)
ก็ได้แต่เก็บสะสมเอาไว้
จุดสำคัญอยู่ตรงประเภทของทรัพย์สินว่าสามารถเปลี่ยนเป็นเงิน
หรือเป็นสิ่งใดๆ ที่สามารถเป็นผลตอบแทนอย่างเป็นรูปธรรมให้กับผู้ถือหุ้น
(เช่นเงินสดไง) ได้หรือไม่ หากได้
เมื่อถึงวันหนึ่งก็จะมีคนเห็นว่าบริษัทพวกนี้มีทรัพย์สินเยอะ
อาจจะเข้ามาหาวิธีการใดๆ ที่จะนำทรัพย์สินเหล่านั้นมา "คืนกำไร"
แก่ผู้ถือหุ้นโดยตรง อย่างไรก็ตาม
หุ้นพวกนี้จะต้องมีทรัพย์สินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในการดำเนินงานตามปกติ,
สามารถเปลี่ยนเป็นเงินได้ง่าย และมีหนี้น้อยจริงๆ ครับ


ทั้งหมดนี้ก็เป็นประเภทของหุ้นที่ปีเตอร์ ลินช์มองอยู่
พวกเราที่เป็นนักลงทุนก็สามารถที่จะศึกษาดูว่าบริษัทใดในบ้านเรามีลักษณะดัง
กล่าวบ้าง และสามารถตัดสินใจเข้าไปลงทุนได้ อย่างไรก็ตาม
การเข้าไปลงทุนนั้นจะต้องประเมินผลตอบแทนให้คุ้มกับความเสี่ยงและเหมาะกับ
ตัวเราเองด้วยครับ



มือเก่าหัดขับ




Free TextEditor




 

Create Date : 24 กรกฎาคม 2552    
Last Update : 24 กรกฎาคม 2552 18:30:45 น.
Counter : 475 Pageviews.  

'หุ้นดี' ...ดูอย่างไร

'หุ้นดี' ...ดูอย่างไร

ถ้าท่านศึกษาบทวิเคราะห์ หรือคำแนะนำของโบรกเกอร์ตาม นสพ.
ต่างๆจะพบอยู่บ่อยๆ ว่า มักจะมีคำแนะนำของนักวิเคราะห์ให้ซื้อ 'หุ้นพื้นฐานดี' เก็บ
ไว้ลงทุนระยะยาว บางแห่งก็จะบอกชื่อหุ้นให้ซื้อลงทุนเรียบร้อย
โดยที่ท่านไม่ต้องไปปวดหัวกับการค้นหา 'หุ้นพื้นฐานดี' อย่างที่กล่าวไว้

ขณะที่นักลงทุนจำนวนมากซื้อหุ้นตามที่มีคนบอก
จากนั้นจึงค่อยไปศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจนั้นเพิ่มเติมตามหลัง
หรือลงทุนโดยซื้อหุ้นตามที่มีคนแนะนำให้เราซื้อหุ้นตัวนั้นตัวนี้
โดยที่เราไม่ได้เข้าใจ และศึกษาธุรกิจนั้นอย่างถ่องแท้ด้วยตัวเอง



วิธีการดังที่กล่าวมา จึงไม่ใช่วิธีที่ 'นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า' หรือ Value Investor ควรปฏิบัติ

สำหรับ 'นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า'
ควรจะทำศึกษาหุ้นตัวนั้นและการบ้านอย่างหนักก่อน
ที่จะลงทุนซื้อหุ้นบริษัทไหนสักบริษัทหนึ่ง

การหา 'หุ้นพื้นฐานดี' นั้น
ไม่ยากเกินความสามารถและเราสามารถค้นหาได้ด้วยตัวเราเอง
ยิ่งถ้าเราเข้าใจในธุรกิจที่เราลงทุนแล้ว
เราก็ไม่ต้องไปกังวลกับสภาพของตลาดหุ้น ที่ราคาหุ้นอ่อนไหวไปตาม 'ความโลภ'
และ 'ความกลัว' ของอารมณ์นักลงทุนทั้งหลายในตลาด

หุ้นพื้นฐานดีสามารถบอกได้โดยดูจากงบการเงินของบริษัทนั้น ก็คือ
งบดุล งบการเงิน และงบกระแสเงินสด โดยดูย้อนหลังไปหลายๆ ปี
เพื่อป้องกันการตกแต่งบัญชี
และดูความสามารถของบริษัทว่าแข็งแกร่งจริงหรือไม่


วิธีดูหุ้นพื้นฐานดีที่จะกล่าวในที่นี้
จะพูดถึงเฉพาะหุ้นที่มีประวัติการดำเนินงานที่ดี
โดยไม่ได้ครอบคลุมถึงหุ้นที่เพิ่งผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ (Turnaround)
ที่ผลการดำเนินงานเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดในเวลาไม่นาน



ลักษณะที่ดี 9 ประการของ 'หุ้นพื้นฐานดี' ควรจะมีดังต่อไปนี้

1.มียอดขายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

หุ้นที่ดีควรจะมียอดขายที่เติบโตขึ้น
ถ้าเติบโตเพิ่มขึ้นได้ทุกปีก็จะดีมาก แสดงให้เห็นว่า
ธุรกิจนั้นมีการขยายตัว และสามารถแข่งขันในอุตสาหกรรมนั้นได้
ส่วนหุ้นที่มียอดขายสาละวันเตี้ยลงทุกปีทุกปี
น่าจะเป็นหุ้นที่ควรหลีกเลี่ยง หมายถึงว่า
กิจการนั้นกำลังถูกคู่แข่งแย่งตลาดสินค้าไป
หรือไม่ธุรกิจหรืออุตสาหกรรมนั้นก็อาจจะอยู่ในข่ายอุตสาหกรรมตะวันตกดิน
(sunset industry) หรือผู้บริหารมีปัญหาในการดำเนินกิจการ
แต่ยอดขายเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอที่จะบอกได้ว่าหุ้นนั้นเป็นหุ้น
พื้นฐานดีหรือไม่ ต้องใช้ปัจจัยอีกหลายอย่างในการวิเคราะห์ธุรกิจ
ดังจะกล่าวต่อไป

2. มีการควบคุมต้นทุนการดำเนินงานที่ดี

บริษัทที่มีการควบคุมการดำเนินงานที่ดี
เราสามารถตรวจสอบดูได้จากงบกำไรขาดทุน
โดยสังเกตจากต้นทุนสินค้าและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
ควรจะไปตามยอดขายของกิจการ

ถ้ายอดขายสูงขึ้นค่าใช้จ่ายก็สามารถอนุโลมให้เพิ่มขึ้นได้ตามสัดส่วนยอดขาย
ที่สูงขึ้น แต่ธุรกิจที่ยอดขายลดลงแต่ต้นทุน และค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
นักลงทุนควรจะระวังและถ้าเกิดขึ้นเป็นประจำควรตรวจสอบให้ดีก่อนลงทุนใน
บริษัทนั้น

3. ไม่ประสบปัญหาขาดทุน

บริษัทที่ดีควรจะมีความสามารถในการทำกำไรอย่างสม่ำเสมอ
บริษัทที่ประสบภาวะขาดทุน
เป็นการแสดงให้เห็นถึงการขาดประสิทธิภาพของผู้บริหาร
ถ้าขาดทุนตลอดปีหรือไม่ ก็ขาดทุนปีเว้นปี
นักลงทุนควรเอาเวลาไปศึกษาธุรกิจอื่นจะดีกว่า ยกเว้นท่านที่ชอบลงทุนใน
'หุ้นฟื้นคืนชีพ' (Turnaround) ที่ขาดทุนมาหลายปีอยู่ดีๆ
ก็กลับมาทำกำไรได้เป็นกอบเป็นกำ

อันนี้ก็แล้วแต่ความถนัดของแต่ละคน
แต่สำหรับท่านที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการลงทุนมากนัก
ควรหลีกเลี่ยงหุ้นที่มีผลดำเนินงานขาดทุนจะปลอดภัยกว่า

4. เงินทุนหมุนเวียนเป็นบวก (Positive Working Capital)

ธุรกิจที่ดีควรมีทรัพย์สินหมุนเวียนมากกว่าหนี้สินหมุนเวียน
เพราะธุรกิจควรมีการเตรียมความพร้อมของเงินทุนระยะสั้นให้เพียงพอต่อ
การจ่ายคืนหนี้สินระยะสั้น มิฉะนั้นธุรกิจอาจจะมีปัญหาการเงินเกิดขึ้นได้

โดยเฉพาะบริษัทที่ทำการกู้ยืมระยะสั้นมาก
อาจจะต้องสำรองเงินสดไว้พอสมควรทีเดียวสำหรับการจ่ายคืนหนี้ที่เรียกเก็บภาย
ใน เวลาไม่นาน ยกเว้นธุรกิจบางประเภท เช่น ธุรกิจค้าปลีก หรือค้าส่ง
ที่รับเงินจากการขายให้กับลูกค้าเป็นเงินสด
แต่ได้เครดิตจากผู้ผลิตสินค้าเป็นเวลาหลายเดือนก่อนที่จะจ่ายเงิน

ในกรณีนี้เงินทุนหมุนเวียนอาจจะติดลบได้
ซึ่งกลับกลายเป็นจุดแข็งสำหรับธุรกิจประเภทนี้เสียอีก
เพราะแทนที่จะต้องมีเงินสำหรับของที่อยู่ในสต็อกกลับเป็นผู้ผลิตสินค้าที่จะ
ต้องเป็นคนจ่ายเงินค่าสินค้าคงคลังแทน

5. มีหนี้ไม่มากหรือมีหนี้อยู่ในฐานะที่เหมาะสม

ตัวเลขคร่าวๆ
ที่ใช้กันส่วนใหญ่ในการตรวจสอบสภาพหนี้สินของธุรกิจก็คือ
'อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน' (Debt/Equity Ratio)
ธุรกิจที่มีหนี้สินต่อทุนสูง แสดงว่า มีการกู้ยืมหนี้ระยะยาวมาก
และทำให้ธุรกิจนั้นมีความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจสูง
อัตราหนี้สินต่อทุนที่พอเหมาะที่ใช้กันทั่วไปคือ น้อยกว่าหนึ่งเท่า
หรือไม่เกินสองเท่า


6. มีกำไรสะสม (Retain Earning) เพิ่มขึ้นทุกปี

ธุรกิจที่ดีควรมีกำไรสะสมเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ
และสามารถนำกำไรสะสมนั้นไปลงทุนต่อให้งอกเงยเพิ่มมากขึ้นจากเดิม
ธุรกิจที่มีกำไรสะสมลดลง
นักลงทุนควรตั้งคำถามก่อนที่จะลงทุนในบริษัทนั้นว่า
บริษัทนำกำไรสะสมนั้นไปใช้ ทำอะไรและมีประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นหรือไม่


7. มีส่วนของผู้ถือหุ้น (Shareholder Equity) เพิ่มขึ้นสม่ำเสมอ

บริษัทที่สามารถเพิ่มส่วนของผู้ถือหุ้นได้อย่างสม่ำเสมอนับว่า
เป็นธุรกิจที่น่าสนใจ
แสดงให้เห็นถึงความสามารถของผู้บริหารในการนำเงินของบริษัทไปลงทุนในกิจการ
ที่มีประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้น
ควรหลีกเลี่ยงบริษัทที่มีส่วนผู้ถือหุ้นลดลงหรือติดลบ แสดงว่า
ธุรกิจนั้นที่ผ่านมามีการขาดทุนเกิดขึ้น


8. กำไรต่อยอดขาย (Profit Margin) มากพอสมควร

ธุรกิจที่มีกำไรต่อยอดขายสูง
แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการควบคุมต้นทุนของกิจการในระดับที่ดี
แต่กำไรต่อยอดขายสูง อาจจะดึงดูดให้คู่แข่งหน้าใหม่ๆ
เข้ามาในอุตสาหกรรมนั้นมากขึ้น


ในขณะที่ธุรกิจที่อยู่ในอุตสาหกรรมมีการแข่งขันสูงส่วนมากจะมีกำไรต่อยอดขาย
ต่ำ
เพราะมีการตัดราคาสินค้าเพื่อดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาซื้อสินค้าและบริการของ
ตน ทำให้กำไรของทั้งอุตสาหกรรมลดลง ดังนั้น
ธุรกิจที่น่าสนใจในอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันสูงก็คือ
ธุรกิจที่มีต้นทุนในการดำเนินงานต่ำ (Cost Leadership)


9. ผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้น (Return on Equity) สูง


ผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้น คำนวณจาก กำไรหารด้วยส่วนผู้ถือหุ้น (Net
Profit/ Equity) ธุรกิจที่มีผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นสูงแสดงว่า
ผู้บริหารสามารถบริหารเงินทุนของบริษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แต่บางธุรกิจที่มีเงินกู้ยืมสูงก็อาจจะทำให้ผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นสูงขึ้น
ได้
เพราะเงินลงทุนส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของหนี้สินระยะยาวมากกว่าส่วนผู้ถือหุ้น

ดังนั้น ในบางกรณีอาจจะจำเป็นต้องใช้อัตราส่วนผลตอบแทนต่อเงินลงทุน
(Return on Total Capital)
ในการตรวจสอบความสามารถในการดำเนินงานของธุรกิจนั้น จะเหมาะสมมากขึ้น
เนื่องจากได้รวมส่วนหนี้สินระยะยาวในการคำนวณไว้ด้วย

ผลตอบแทนต่อเงินลงทุน
หาได้จากกำไรหารด้วยส่วนของผู้ถือหุ้นและหนี้สินระยะยาว (Net
Profit/(Longterm Liability+Equity)) บริษัทที่มีผลตอบแทนต่อเงินลงทุนสูง
จะน่าสนใจกว่าบริษัทที่มีอัตราส่วนนี้ต่ำ


การค้นหาลักษณะที่ดี 9 ประการข้างต้นของหุ้นที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์
จะช่วยให้ท่านมีความรู้ความเข้าใจในหุ้นที่ท่านลงทุนมากขึ้น
แทนที่จะรอให้คนอื่นหรือนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ตามโบรกเกอร์ต่างๆ มาแนะนำ
'หุ้นพื้นฐานดี' ให้กับท่าน

ท่านสามารถที่จะเริ่มศึกษาและค้นหา 'หุ้นพื้นฐานดี'
ได้ด้วยตัวท่านเอง ซึ่งนับว่าเป็นหนทางในการเป็น 'นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า'
หรือ Value Investor ที่ดีทางหนึ่ง



******************




Free TextEditor




 

Create Date : 24 กรกฎาคม 2552    
Last Update : 24 กรกฎาคม 2552 18:24:13 น.
Counter : 607 Pageviews.  

เคล็ดวิชาเทรดหุ้น (ร้อน) ไม่ให้เจ็บตัว !

เคล็ดวิชาเทรดหุ้น (ร้อน) ไม่ให้เจ็บตัว !


วันนี้ "พายัพ ชินวัตร" ประกาศยุติเส้นทาง "เทรดหุ้น"
ที่ตัวเองชื่นชอบไปเรียบร้อยแล้ว...ด้วยเหตุผลของอาการเจ็บป่วย
ทำให้ไม่สามารถดูแลหุ้น (ที่ราคาเคลื่อนไหวเร็ว) ได้สะดวก


"พายัพ" บอกกับกรุงเทพธุรกิจ BizWeek เมื่อถูกถามว่าจะเลิกเล่นหุ้นจริงๆ หรือ เขาตอบว่ารู้สึก "เบื่อๆ อยากๆ"


ประสบการณ์การลงทุนตลอด 20 ปีที่ผ่านมา เขาเล่าว่า
เคยผ่านการลงทุนมาทุกรูปแบบ ทั้งหุ้นพื้นฐานอย่าง ITD, ADVANC, BANPU, PTT
และ TPI


ก่อนจะมาจบตรงที่ "หุ้นเล็ก" หลังจากค้นพบว่าโอกาสทำกำไร (มากๆ) จาก "หุ้นเล็ก" เยอะกว่า...

"เอาอย่างนี้ เล่นหุ้นใหญ่ก็เหมือนคุณปลูกต้นสักรอเก็บผลยาว
หุ้นเล็กก็เหมือนปลูกผักชี คุณสามารถเด็ดได้ทุกวัน
แต่ต้องระวังพอร้อนหน่อยก็ตาย คือ หุ้นเล็กระหว่างทาง (ขาขึ้น)
มันซื้อขายได้ตลอด



สมมติ หุ้นตัวนี้ราคา 1 บาท เราคำนวณว่ามันจะไป 4-5 บาท คุณก็เล่นไปซื้อๆ
ขายๆ ไปตลอด มันก็สนุกใช่ไหม แต่ถ้าเดาผิดก็เจ๊ง ก็แค่นั้นเอง"


เพราะอยู่บนหุ้นร้อน การลงทุนของพายัพ จึงมี "หลักการ" ที่แตกต่างออกไป


เขาแบ่งนิยามของการลงทุนออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1)
เสียหมดทุกคน..เพราะหุ้นขาดสภาพคล่อง ยกตัวอย่าง
หุ้นตัวนี้ไม่มีใครซื้อไม่มีใครขายเลย อยู่ๆ มีคนขายซัก 100 หุ้น ราคาก็ลง
เท่ากับเสียทุกคน 2) มีคนได้ก็มีคนเสีย (Zero Sum Game) หุ้นแบบนี้ต้องมี
"เจ้ามือ" แต่ว่าเจ้ามือเล่นไปแล้วก็ขายหุ้นไป ตัวเองได้กำไรคนอื่นขาดทุน
3) ได้ทุกคน (Win-Win Game) หุ้นขึ้นไปตามพื้นฐานของมัน (เช่น PTT)


"เมื่อก่อนที่ผมเล่น ผมโดนทุกแบบ เหมือนตีกอล์ฟต้องตีตกน้ำบ้าง ตีตกทรายบ้าง ตีลงบนกรีนบ้างเป็นธรรมดา"


พายัพบอกว่า ก่อนการเล่นหุ้นทุกครั้ง ตัวเองจะใช้หลักคิด 3
อย่างเพื่อป้องกันการเจ็บตัว 1) ภาพใหญ่ต้องแม่นยำ...เศรษฐกิจโลก
เศรษฐกิจในประเทศต้องแม่นยำ ถ้าขาขึ้นมาเล่นหุ้นไม่ (มี)เจ็บตัว 2)
เหมือนลูกน้องมองนาย (หาหุ้นที่มีสตอรี่) นายเป็นใหญ่เป็นโต
ถ้าลูกน้องเดินตามเจ้านาย วันหนึ่งหากเจ้านายประสบความสำเร็จ
ลูกน้องก็พลอยเจริญด้วย


3) อ่านว่าหุ้นตัวนี้มันจะ "ทุบสถิติ" (Break Record) ได้หรือป่าว
สมมติราคาเคยสูงสุด 5 บาท คาดว่ามันจะเกินกว่านี้หรือไม่
การซื้อหุ้นที่มันทำ "จุดสูงสุดใหม่" เราซื้อราคาไหนมันก็ได้กำไร
ไม่ขาดทุน


อ่านอย่างไรถึงรู้ว่าหุ้นตัวไหนจะ "Break Record" พายัพบอกว่า
มันเป็นส่วนผสมที่ต้องดู ทั้ง ภาพพจน์บริษัท ธุรกิจของบริษัท
การบริหารงานของบริษัท กราฟราคาหุ้นของบริษัทที่ผ่านมา กลุ่มคนที่มาเล่น
และอาการของหุ้นว่าเป็นอย่างไร


"พวกนี้เราจะดูหมด ถ้าทุกอย่างเป็นบวก ก็แสดงว่าพวกนี้มีแนวโน้มที่จะเกินสถิติ"

ส่วนอาการที่หุ้นตัวไหนกำลังจะไป ให้สังเกตฝั่ง "Bid" (เสนอซื้อ)
มันจะแข็ง จำนวนครั้งที่ซื้อ หรือ "วอลุ่มซื้อ" มันเติมมาบ่อยกว่าขาย
ส่วนฝั่ง "Offer" (เสนอขาย) คนจะไม่ค่อยเติม นี่คือ อาการหุ้นจะขึ้น


"ในเมื่อเรารู้ว่ามันจะขึ้น เราก็ซื้อ (กวาดวอลุ่ม) ก่อน พอเราซื้อปั๊บมันก็ขึ้นๆๆๆ"



เมื่อถามว่ามีกำไรเท่าไหร่จึงขายออก พายัพเปรียบว่า มันขึ้นอยู่กับมะม่วง
ถ้าเราซื้อมาตั้งแต่ลูกเล็กๆ หรือซื้อลูกที่สุกแล้ว
ถ้าลูกเล็กก็รอให้เป็นลูกใหญ่ๆ สุกๆ ถือได้นาน (รอกำไรเยอะๆ)
ถ้าซื้อมาตอนใกล้สุก อาจจะอยู่ได้ 1-2 วันก็ต้องรีบออก


"อยู่ที่ว่ามันสุกเมื่อไหร่ล่ะ บางทีกำไรแค่ 1% ก็ต้องรีบขาย เพื่อให้มันคุ้มค่าคอมฯ"


รู้ได้อย่างไรว่า "มะม่วงใกล้สุก" 1) ต้องดูฐานของหุ้น (จำนวนหุ้นเทรด)
ตัวนั้นๆ ว่ามันโตขึ้นแค่ไหนแล้ว 2) ต้องดูว่าราคาหุ้นมันอืดหรือเปล่า


"แต่ต้องเข้าใจนะว่า อืดรายวัน กับ อืดรายปี มันต่างกัน สมมติราคาอยู่ที่
41-42 บาท พอมันขึ้น 45 บาทปุ๊บ!!! มีแต่คนขายๆๆ นี่ก็แสดงว่ามันอืด
เป็นอย่างนี้บางทีครึ่งชั่วโมงก็ "ร่วง" แล้ว...นี่ไงผมไม่ค่อยได้เฝ้า
ก็เลยไม่เล่น...คนที่จะเล่นเข้าๆ ออกๆ ได้อย่างนี้ต้องเก่ง
ส่วนหนึ่งเกิดจากชั่วโมงบินสูง รู้จักสังเกต ฝึกฝน เข้าใจธรรมชาติของหุ้น
และไม่โลภมาก"


นอกจากนี้เขายังบอกถึงวิธีการ “เอาตัวรอด” ถ้าคิดจะเข้าไปคลุกวงในกับ "หุ้นร้อน" ท่ามกลางเสือสิงห์ว่า..


1) ต้องยอมรับเมื่อได้กำไร จะมากจะน้อยให้พอใจ (อย่าโลภมากเด็ดขาด)
แต่ถ้าเข้าจังหวะผิดถึงจุดหนึ่งที่ตั้งใจไว้ "ต้องขายทิ้งทันที"
ถ้าเป็นมะเร็งต้องตัดแขน ก็ตัดทันที ต้องตัดขาก็ตัดทันที
อย่างนี้อยู่ได้นาน



"แต่เล่นหุ้นดีกว่าเป็นมะเร็ง เพราะมะเร็งตัดแล้วตัดเลย แต่ถ้าเล่นหุ้นตัดแล้วมารับกลับได้"

2) การเล่นหุ้นมันจะมีสัญญาณ เหมือนกับนายพรานที่กำลังล่าเหยื่อ
เห็นลักษณะของเหยื่อว่าควรจะยิงยังไง เป็นสัญชาตญาณ ต้องเห็น ต้องรู้
ต้องใช้วิธีสังเกต เวลาดูหุ้น สังเกตเป็นตัวๆ ดูสัก 3 วันก็จะรู้
นั่งดูตัวเดียวนี่แหละ



3) ถึงเวลาขายก็ขายทิ้งเลยทั้งก้อน ซื้อก็ซื้อเลย อย่ามากระยิกกระยอก
อย่าขายแล้วได้กำไรนิดเดียว เก็บไว้ครึ่งหนึ่ง เดี๋ยวมันจะขาดทุนที่เหลือ


พายัพยอมรับว่า ในอดีตเคยพลาดขาดทุนถึงขนาดเอามือก่ายหน้าผาก
โดนหนักช่วงก่อนวิกฤติ หรือแม้แต่ช่วงหุ้นขาลงเช่นขณะนี้ ถ้ายังเล่นอยู่ก็
"เสีย"


"เล่นหุ้นมันไม่มีใครได้ตลอดไป และเสียตลอดกาลหรอก ช่วงที่คุณเห็นชื่อ
"พายัพ" ปรากฏอยู่ในหุ้นมากๆ นั่นแสดงว่ามันขาดทุน หุ้นตัวไหนได้กำไร
คุณไม่เห็นชื่อผมหรอก"



พายัพบอกว่า การเป็นนักลงทุนรายใหญ่ไม่ใช่ง่ายๆ สมมติมีหุ้นอยู่แล้ว 1
ล้านหุ้น เราเข้าไปซื้อ กวาดไป 3 ช่องราคา ได้มาอีก 1 ล้านหุ้น ทีนี้จะขาย
2 ล้านหุ้นขายไม่ได้ เพราะขายแค่ 2 แสนหุ้น ราคามันลงพรวด
กลับมาที่เดิมอีกแล้ว ส่วนวิธีว่าจะออกอย่างไร ก็แล้วแต่สถานการณ์
ในหุ้นแต่ละตัวมีบทเรียนเยอะแยะ อย่าง BNT
ก็เป็นหุ้นของเสือสิงห์กระทิงแรดทั้งนั้น


ในการเล่นหุ้นของพายัพ จะมี "กลุ่มก๊วน" อยู่เหมือนกัน
อย่างไรก็ตามเขาตอบปฏิเสธว่า
แม้จะมีพรรคพวกแต่ก็ไม่เคยโยนหุ้นสร้างราคากันเอง
นอกจากจะเสี่ยงถูกจับได้แล้ว ยังไม่คุ้มค่าคอมฯอีกต่างหาก


พายัพมีความเห็นว่า
ตลาดหลักทรัพย์เองก็ควรที่จะให้กำลังใจนักลงทุนอยู่เสมอ
ซึ่งโดยส่วนตัวชอบสมัยที่ "ดร.มารวย ผดุงสิทธิ์"
เป็นผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์มากที่สุด


กรุงเทพธุรกิจ BizWeek





Free TextEditor




 

Create Date : 24 กรกฎาคม 2552    
Last Update : 24 กรกฎาคม 2552 18:09:00 น.
Counter : 2262 Pageviews.  

1  2  3  4  5  

MakotoN
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




สวัสดีครับ

เพิ่งเริ่มเล่นหุ้น มือใหม่ฝากตัวด้วยครับ
กำลังศึกษาเรื่องการลงทุนในตลาดหุ้นอยู่


บลอกแห่งนี้มีไว้แปะข้อมูล บทความต่างๆ ที่ผมพบเจอในเว็บไซต์ต่างๆ
ที่ผมเห็นว่า มีประโยชน์ และรวมรวมมาจากที่ต่างๆ มากมาย

บทความทั้งหมด ผมจะพยายามใส่เครดิตที่มาไว้นะครับ
บทความไหนถ้ามีลืมใส่ไปก็แจ้งเข้ามาได้นะครับ บางทีรีบแล้วลืมใส่


...



อาจจะมีแปะเรื่องอื่นๆบ้าง แล้วแต่อารมณ์

ยังไงก็เข้ามาเยี่ยมชมบ่อยๆ นะครับ รับรองว่าได้ความรู้ติดไม้ติดมือกลับไปแน่นอน *-*
Friends' blogs
[Add MakotoN's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.