Group Blog
 
All blogs
 

ไวยากรณ์ภาพยนตร์

ไวยากรณ์ภาพยนตร์หรือ Axis คือ ความต่อเนื่องของไวยากรณ์ภาพยนตร์ กล่าวคือ อิริยาบทต่างๆอันเกิดขึ้นจากการถ่ายทำโดยลำดับออกมาเป็นภาพเพื่อให้ดูสมจริง ไม่ให้ขัดต่อความรู้สึกของผู้ชม หรือแนวทางอันควรในการถ่ายทอดเรื่องราวในรูปแบบภาพยนตร์ ในแต่ละฉาก ในแต่ละช็อต
เป็นต้นด้วยเรื่องการเคลื่อนที่ และการมองของคน สัคว์ สิ่งของ เช่น (การคลื่อนที่ของสิ่งของ) นาย A โยนลูกบอลไปให้นาย B ซึ่งช็อตแรก นาย A ยืนอยู่ทางด้านซ้ายของเฟรมและหันหน้าไปทางขวาของเฟรม และได้โยนลูกบอลไปให้นาย B ซึ่งอยู่ทางขวาเฟรม คัตช็อตที่ 1 ไว้เท่านี้



ช็อตที่ 2 กล้องไปรับที่นาย B กำลังเตรียมรับลูกบอลของนาย A ที่โยนมาให้ โดยนาย B ต้องยืนอยู่ทางขวาเฟรมและหันหน้าไปทางซ้ายเฟรมเสมอ

จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นว่า ช่างภาพจะต้องถ่ายภาพ 2 ครั้งใน 2 มุม นั่นหมายความว่าจะต้องมีการเคลื่อนย้ายกล้องถึง 2 จุด และตัวช่างภาพเองก็ต้องมีความเข้าใจในเรื่องไวยาการณ์ภาพยนตร์ จะได้ไม่เกิดความผิดพลาดในการกำหนดตำแหน่งของกล้อง หรือที่นิยมเรียกกันว่า ไลน์กล้อง ฉะนั้นเรื่องของ Axis จึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นตัวกำหนดให้ช่างภาพนั่นเลือกตำแหน่งวางกล้องได้อย่างถูกต้องและไม่ผิดไวยากรณ์ภาพยนตร์ ทั้งนี้เพื่อความสมจริง และเพื่อไม่ให้ขัดต่อความรู้สึกของผู้ชม
Axis หรือ เส้นแกน 180 อาศา คือเส้นสมมุติที่สร้างขึ้นเพื่อให้ช่างภาพได้เลือกตำแหน่งการวางกล้องได้อย่างถูกต้อง เส้นAxis นี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ มีการมอง และการเคลื่อนที่ของคน สัตว์ สิ่งของ แต่Axis นี้ก็มีข้อยกเว้นว่าหากต้องการข้ามไลน์ Axis หรือเส้นแกน 180 องศา นั้น ต้องใช้ภาพมุมกว้างมาคั่นระหว่างช็อตที่จะข้ามไลน์ หรือใช้ภาพประเภท Crane Shot, Dolly Shot, Hand-Held Shotหรืออาจบอกได้ว่า ต้องใช้ภาพที่มีลักษณะการเคลื่อนกล้อง เคลื่อนข้ามไลน์ไปนั่นเอง
ขอยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพนะครับ เช่นฉากที่มีการประชันหน้าระหว่างผู้เอกกับผู้ร้าย กล้องจับเป็นภาพ TWO SHOT ในมุมต่ำ แล้วก็หมุนเป็นวงกลมไปรอบๆตัวแสดงทั้ง 2 คน โดยใช้การ Dolly หรือ Hand-Held ก็สุดแล้วแต่ ในลักษณะนี้จะเห็นว่า ทฤษฎีเรื่องเส้นแกน 180 องศา จะถูกตัดออกไป ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับผู้กำกับเองครับ...

+++ คำนิยามหรือจำกัดความต่างๆที่เขียนอยู่ในบล็อกนี้ ผู้เขียนเป็นผู้เขียนขึ้นมาโดยความเข้าใจของผู้เขียนเอง มิได้อ้างอิงจากตำราหรือสื่ออื่นใดทั้งสิ้น หากสิ่งที่ผู้เขียนได้เขียนไว้ มีความคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ผู้เขียนต้องขออภัยไว ณ ที่นี้ ผู้อ่านโปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน +++




 

Create Date : 18 มีนาคม 2551    
Last Update : 18 มีนาคม 2551 14:42:42 น.
Counter : 1920 Pageviews.  

ขนาดภาพ & มุมกล้อง

ขนาดภาพจัดว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากอย่างหนึ่งในการถ่ายภาพยนตร์ เพราะภาพสามารถถ่ายทอดความรู้สึกของนักแสดง บอกเล่าเรื่องราวต่างๆให้กับผู้ชมได้เข้าใจถึงเนื้อหาของภาพยนตร์ ขนาดภาพจึงเป็นตัวกำหนดสิ่งที่ต้องการนำเสนอ ว่าต้องการให้ผู้ชมเห็นรือไม่เห็นสิ่งใดในฉากองค์ประกอบต่างๆเหล่านี้เกิดขึ้นจากผู้สร้างภาพยนตร์ ที่จะเลือกตั้งกล้องในมุมใด ระยะห่างจากสิ่งที่ถ่ายเท่าใด และใช้ภาพขนาดใดเป็นตัวบอกเล่าเรื่อง ขนาดภาพจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมากที่จะต้องเรียนรู้พอๆกับเรื่องอื่น ในการสร้างภาพยนตร์

ภาพไกลมาก (Extreme Long Shot หรือ ELS)
ขนาดภาพลักษณะนี้กล้องจะตั้งอยู่ไกลจากสิ่งที่ถ่ายมาก ซึ่งภาพที่ได้จะเป็นภาพมุม-กว้าง ผู้ชมสามารถมองเห็นองค์-ประกอบของฉากได้ทั้งหมด สามรถมองเห็นสิ่งที่ถ่ายได้เต็มสัดส่วน แม้สิ่งที่ถ่ายนั้นจะมีขนาดเล็กก็ตาม ซึ่งภาพลักษณะนี้ จะใช้เป็นภาพแนะนำ-สถานที่ เหมาะสำหรับการปูเรื่อง เริ่มเรื่อง ซึ่งภาพยนตร์ในต่างประเทศนิยมใส่ไตเติ้ลส่วนหัวไว้ในฉากประเภทนี้ตอนที่ภาพยนตร์ริ่มเข้าเนื้อเรื่อง



ภาพขนาดไกลนี้จะสร้างความรู้สึกโอ่อ่า อลังการ แสดงออกถึงความใหญ่โตของสถานที่ ความน่าเกรงขาม ความยิ่งใหญ่ และยังสามารถสร้างความประทับใจรวมถึงสร้างความประทับใจให้กับผู้ชมได้อีกด้วย
เช่น กลุ่มเรือโจรสลัดกำลังแล่นเรือออกสู่ทะเลกว้างโดยมีเรือของหัวหน้าโจรสลัดแล่นออกเป็นลำหน้า ตามด้วยกลุ่มเรือลูกน้องอีกนับ 10ลำ โดยใช้ภาพขนาดไกลมาก ตั้งกล้องในมุมสูงทำให้ผู้ชมเห็นถึงความยิ่งใหญ่และน่าเกรงขามของโจรสลัดกลุ่มนี้
เป็นต้น

ภาพไกล (Long Shot หรือ LS)

ขนาดภาพแบบนี้ไม่สามารถกำหนดระยะห่างระหว่างกล้องกับสิ่งที่ถ่ายได้ แต่จะกำหนดโดยประมาณว่าสิ่งที่ถ่ายจะอยู่ในกรอบภาพ (Frame) พอดี ถ้าเป็นคน ศีรษะจะพอดีกับกรอบภาพด้านบน ส่วนกรอบภาพด้านล่างก็จะพอดีกับเท้า หรือบางครั้งก็อาจจะเหลือขอบเฟรมด้านบนและล่างไว้บ้าง ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละซีนครับ


ซึ่งขนราดภาพลักษณะนี้สามารถเห็นบุคลิก
อากัปกิริยาการแสดง การเคลื่อนไหว ตำแหน่งที่อยู่ในการแสดงหรือในฉาก ด้วยเหตุนี้จึงสามารถใช้เป็นภาพแนะนำตัวละคร หรือเริ่มฉากใหม่ได้ บางครั้งอาจใช้เป็นภาพในฉากเริ่มเรื่องได้เช่นเยวกันกับภาพขนาดไกลมาก และบางครั้งภาพขนาดไกลยังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เอสทาบริชชิง ช็อต (Establishing Shot) ส่วนองค์ประกอบรอบข้างผู้ชมจะได้เห็นรายละเอียดชัดเจนมากขึ้น

ภาพปานกลาง Medium Shot หรือ MS)

ขนาดภาพลักษณะนี้ถ้าเป็นภาพบุคคล ผู้ชมจะได้เห็นตั้งแต่เอวของนักแสดงขั้นไปจนถึงศีรษะ


ขนาดภาพแบบนี้ผู้ชมสามารถเห็นการเคลื่อนไหวของนักแสดง และรายละเอียดของฉากหลังพอสมควร ซึ่งพอที่จะเข้าใจเรื่องราวต่างๆได้ จึงถือได้ว่าเป็นภาพที่ถ่ายทอดเหตุการณ์ในเรื่องได้ดีขนาดภาพปานกลาง เป็นขนาดภาพที่นิยมใช้มากที่สุด เพราะใช้เป็นภาพเชื่อมต่อ กล่าวคือ การเปลี่ยนขนาดภาพจากภาพไกลมาเป็น
ภาพไกล้หรือจากภาพใกล้มาเป็นภาพไกลก็ตาม จะต้องเปลี่ยนมาเป็นภาพขนาดปานกลางเสียก่อน ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ขัดต่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้ชม
เนื่องจากภาพจะกระโดด
นอกจากนี้ภาพขนาดปานกลางยังนิยมใช้ถ่ายภาพบุคคล 2 คนในฉากเดียวกัน หรือที่เรียกกันว่า ภาพ Two Shot ซึ่งนิยมใช้กันมาก
ในภาพยนตร์บันเทิง




ภาพใกล้ (Close-Up หรือ CU, Close Shot หรือ CS)

ภาพใกล้ ผู้ชมจะมองเห็นนักแสดงตั้งแต่ไหล่ขึ้นไป เป็นขนาดภาพที่ผู้ชมสามารถเข้าถึงอารมณ์ของนักแสดงได้มากที่สุด เพราะการใช้ภาพขนาดใกล้ถ่ายบริเวณใบหน้าของนักแสดง จะสามารถภ่ายถอดรายละเอียด เกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึกที่อยู่ภายในของนักแสดงได้อย่างชัดเจนมาก


นอกจากนี้ยังจะทำให้ผู้ชมได้รู้สึกใกล้ชิดกับสิ่งที่ถ่ายอีกด้วยทั้งนี้เพื่อทำให้เข้าใจถึงรายละเอียดของวัตถุต่างๆ ตามเนื้อหาที่กำลังนำเสนอ และ
ภาพขนาดใกล้นี้ยังสามารถบังคับให้ผู้ชมสนใจในวัตถุที่กล้องกำลังถ่าย หรือสิ่งที่กำลังนำเสนอ

ภาพใกล้มาก (Extreme Close-Up Shot หรือ ECU, Big Close-Up Shot หรือ BCU)

เป็นภาพที่ถ่ายในระยะใกล้มากๆ ทั้งนี้เพื่อเป็นการเน้นสิ่งที่ถ่าย เพื่อให้ผู้ชมเห็นรายละเอียดของวัตถุ หรือเพื่อเพิ่มความเข้าใจในกรณีที่วัตถุมีขนาดเล็กมากๆ เช่น การถ่ายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือช่าง อาวุธเป็นต้น


หรือถ้าถ่ายใบหน้านักแสดง ก็เพื่อเป็นการเน้นอารมณ์ของนักแสดงเช่น จับภาพที่ดวงตาของนักแสดง ทำให้เห็นน้ำตาที่กำลังใหลออกจากดวงตา เป็นต้นและทั้งหมดนี้ก็เป็นขนาดภาพที่นิยมนำมาถ่ายทอดเรื่องราวของภาพยนตร์ ซึ่งตมความเป็นจริงแล้ว เราสามารถที่จะประยุกต์หรือดัดแปลงขนาดภาพไปเป็นอย่างอื่นก็ไม่ได้ผิดอะไร เพียงแต่ทั้งหมดนี้เป็นขนาดภาพสากลที่ทำให้เรา (ทีมงานถ่ายทำภาพยนตร์) เข้าใจตรงกันว่าต้องการให้ภาพออกมาในลักษณะใดเท่านั้น นอกจากนี้อารมณ์และความรู้สึกที่ผู้ชมจะได้รับขณะชมภาพยนตร์ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับขนาดภาพเพียงย่างเดียว แต่ต้องอาศัยองค์ประกอบของภาพยนตร์อื่นๆ เข้ามาเป็นตัวช่วยเสริมความน่าเชื่อถือ และความเป็นภาพยนตร์มากยิ่งขึ้น

มุมกล้อง (Camera Angle)
มุมกล้องจัดว่าเป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งของการจัดองค์ประกอบเพื่อการถ่าภาพยนตร์ ซึ่งจะสัมพันธ์กับขนาดภาพด้วย หากสังเกตุจากบทภาพยนตร์โดยทั่วไปนั้น จะเห็นว่า
รายละเอียดเรื่องของขนาดภาพและมุมกล้องต้องถูดเขียนมาควบคู่กัน ซึ่งบางครั้งอาจจะรวมถึงลักษณะการเคลื่อนที่ของกล้องอีกด้วย
มุมกล้องเกิดจากความสัมพันธ์กันระหว่างระดับการตั้งกล้องภาพยนตร์กับวัตถุที่ถ่าย การเลือกใช้มุมกล้องในระดับต่างๆจะทำให้เกิดผลด้านภาพ
ที่แตกต่างกันไป รวมถึงอารมณ์ความรู้สึกของผู้ชมที่จะแตกต่างกันออกไปด้วย
หากจะแบ่งมุมกล้องในระดับต่างๆโดยเริ่มจากระดับสูงก่อนสามารถแบ่งได้ดังนี้

1. มุมกล้องระดับสายตานก (Bird's eye view)

เป็นการตั้งกล้องในระดับเหนือศีรษะหรือเหนือวัตถุที่ถ่าย ภาพที่ถูกบันทึก
จะเหมือนกับภาพที่นกมองลงมาด้านล่าง เมื่อผู้ชมเห็น ภาพแบบนี้จะทำ
ให้ดูเหมือนกำลังเฝ้ามองเหตุการณ์จากด้านบน มุมกล้องในลักษณะนี้
จะทำให้ผู้ชมรู้สึกเหมือนตกอยู่ในสถานการณ์ที่ช่วยเหลือ
ตัวเองไม่ได้ เวิ้งว้าง ไร้อำนาจ ตกอยู่ในภาวะคับขัน ไม่มีทางรอด
เพราะตามหลักความเป็นจริงแล้วมนุษย์เราจะเคยชินกับการยืน นั่ง นอน เดิน
หรือใช้ชีวิตส่วนใหญ่บนพื้นโลกมากกว่าที่จะเดินเหินยู่บนที่สูง และด้วยความ
ที่มุมภาพในระดับนี้ไม่สามารถมองเห็นรายละเอียดในฉากได้ครบ
เพราะเป็นภาพที่มองตรงลงมา จึงทำให้ภาพรู้สึกลึกลับ น่ากลัว เหมาะกับ
เรื่องราวที่ยังไม่อยากเปิดเผยตัวละครหรือเป็นภาพยนตร์สยองขวัญ

2. มุมกล้องระดับสูง (Hight Angle)

ตำแหน่งของกล้องมุมมนี้จะอยู่สูงกว่าสิ่งที่ถ่าย การบันทึกภาพในลักษณะนี้
จะทำให้เห็นรายละเอียดของเหตุการณ์ทั้งด้านหน้าและด้านหลังเท่ากันโดย
ตลอด จึงทำให้ภาพในระดับนี้มีความสวยงามทางด้านศิลปะมากกว่าภาพใน
ระดับอื่น นอกจากนี้สิ่งที่ถูกถ่ายด้วยกล้องระดับนี้มักจะทำให้ผู้ชมรู้สึกว่าสิ่งที่
ถ่ายมีความต่ำต้อย ไร้ค่า ไร้ความหมาย สิ้นหวัง ความพ่ายแพ้
3. มุมกล้องระดับสายตา (Eye Level)

มุมล้องในระดับนี้เป็นมุมกล้องในระดับสายตาคน ซึ่งเป็นการเลียนแบบมา
จากการมองเห็นของคน ซึ่งโดยส่วนใหญ่คนเราจะมองออกมาในระดับสายตา
ตัวเอง ทำให้ภาพที่ผู้ชมเห็นรู้สึกมีความเป็นกันเอง เสมอภาค และเหมือน
ตัวเองได้เข้าไปอยู่ในเหตุการณ์นั้นด้วยแต่รายละเอียดของภาพในระดับนี้จะ
สามารถมองเห็นได้แต่ด้านหน้าเท่านั้น
4. มุมกล้องระดับต่ำ (Low Angle)

เป็นการตั้งกล้องในระดับที่ต่ำกว่าสิ่งที่ถ่าย เวลาบันภาพต้องเงยกล้องขึ้น
ภาพมุมต่ำนี้ก็มีอิทธิพลต่อความรู้สึกของผู้ชมได้เช่นเดียวกัน
ซึ่งจะทำให้ผู้ชมรู้สึกว่าสิ่งที่ายนั้นมีอำนาจ มีค่า น่าเกรงขาม มีความยิ่งใหญ่
ซึ่งจะตรงข้ามกับภาพมุมสูง นิยมถ่ายภาพโบราณสถาน สถาปัตยกรรม
แสดงถึงความสง่างาม ชัยชนะ และใช้เป็นการเน้นจุดสนใจของภาพได้ด้วย




 

Create Date : 14 มีนาคม 2551    
Last Update : 14 มีนาคม 2551 16:15:30 น.
Counter : 2040 Pageviews.  


Hackerese
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




แค่คนธรรมดาๆ ที่อยากมีบล็อก อยากแบ่งปันความรู้ให้เพื่อนๆ ได้ร่วมกันสร้างสรรค์โลกที่สวยงาม....ก็เท่านั้น
>


Blog Master

ศูนย์รวม CODE ทุกอย่าง
I-Film Hi5 เจ้าบ้านเองคร้าบบบ..



guest book

Friends' blogs
[Add Hackerese's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.