Happy Everyday!!!
Group Blog
 
All blogs
 

เรื่องของชาที่น่ารู้

ชาประเภทต่างๆ


ชาเขียว (Green tea) เป็นยอดอ่อนของชาที่ถูกนำไปอบให้แห้งทันทีโดยไม่มีการหมัก เพื่อไม่ให้ใบชามีปฏิกิริยากับออกซิเจน (ออกซิเดชัน) จึงได้ใบชาที่ยังมีสีเขียว มีกลิ่นและรสชาติใกล้เคียงใบชาธรรมชาติมาก


ชาดำ (Black tea) คือ ยอดอ่อนของชาที่ถูกนำมานวดอย่างเต็มที่ แล้วหมักจนได้กลิ่นหอม ก่อนนำไปอบให้แห้ง ทำให้ได้ใบชาสีเข้มและมีรสขมปนฝาดกว่าชาเขียว เนื่องจากปฏิกิริยาทางเคมีของสารแทนนินในใบชา


ชาแดงหรืออู่หลง (Red tea or Oolong) คือ ยอดอ่อนของชาที่ถูกนำมานวดพอให้ผิวนอกช้ำ เพื่อกระตุ้นสารแทนนิน แล้วจึงอบให้แห้งเพื่อหยุดยั้งปฏิกิริยาทางเคมี สีและรสของชาจึงอยู่กึ่งกลางระหว่างชาดำกับชาเขียว


ชาขาว (White tea) หรือรู้จักกันในชื่อหยินแชน (เข็มเงิน) สามารถเก็บได้เฉพาะช่วงเวลา 2-3 วัน ในแต่ละฤดูใบไม้ผลิเมื่อช่อสีขาวเพิ่งจะผลิออกมา เพราะชาขาวคือใบชาที่อ่อนที่สุดซึ่งยังปกคลุมด้วยปุยขนอ่อนสีขาวเท่านั้น หลังจากนั้นจึงตากแห้งในแสงอาทิตย์ธรรมชาติ



การเลือกและเก็บรักษาใบชาอย่างไร


1.  ใบชาที่ดีต้องแห้งสนิท ไม่มีกลิ่นไหม้หรือกลิ่นอื่นแปลกปลอม


2.  ใบชาที่จับดูแล้วแห้งกรอบ สามารถบี้แหลกได้ คือใบชาที่ดี ถ้ามีลักษณะหยุ่นๆ ไม่แห้งกรอบ อาจเป็นใบชาขึ้นรา แต่ใบชาที่มีขนสีขาวๆ อาจไม่ใช่ใบชาขึ้นราเสมอไป เพราะใบชาอ่อนชั้นดีจะขนของใบสีขาวเช่นกัน สามารถแยกแยะได้ด้วยการสัมผัสและดมว่าไม่มีกลิ่นอับชื้น


3.  ชามะลิหรือชากลิ่นดอกไม่ที่ดีต้องมีดอกไม้อยู่ในปริมาณน้อย สัดส่วนคร่าวๆ ไม่เกิน 1:3


4.  ใบชาที่ไม่มีบรรจุหีบห่อสำเร็จรูป ไม่ควรซื้อครั้งละมากนัก และควรนำมาบรรจุในภาชนะทึบแสงที่มีฝาปิดสนิท ขนาดภาชนะบรรจุใบชาที่ซื้อมาได้เต็มโดยไม่เหลือที่ว่างดีที่สุด


5.  กล่องพลาสติกเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับใบชา เพราะใบชาจะดูดกลิ่นพลาสติก ทำให้ใบชาเสียรส


6.  ไม่ควรเก็บใบชาหลายชนิดปนกันในภาชนะเดียว รวมทั้งไม่ควรเก็บไว้ใกล้เครื่องหอมประเภทแป้ง สบู่ น้ำหอม ลูกเหม็น เพราะชาอาจดูดเอากลิ่นเหล่านั้นเข้าไปได้


7.  แสงแดดและอุณหภูมิสูงก็ทำให้ใบชาเปลี่ยนคุณสมบัติได้ง่ายเช่นกัน


8.  ห้ามใช้มือที่เปียกหรือชื้นหยิบใบชา เพราะความชื้นจากมือทำให้ใบชาเสื่อมเร็วขึ้น



ข้อห้ามสำหรับการดื่มชา


1.  ไม่ควรดื่มชาขณะกินยา เพราะสารต่างๆ ในชาอาจไปทำปฏิกิริยาให้คุณสมบัติของชาเจือจางหรือเสื่อมสภาพลง หรือยาบางตัวเมื่อทำปฏิกิริยากับสารต่างๆ ในชาอาจกลายเป็นสารพิษได้


2.  ไม่ควรดื่มชาก่อนนอนสำหรับผู้ที่นอนหลับยาก เพราะน้ำชาช่วยกระตุ้นร่างกายให้นอนหลับยากยิ่งขึ้น


3.  ไม่ควรดื่มชาที่ร้อนจัด เพราะอาจถูกลสกจนเกิดอันตรายในช่องปาก ลำคอ ลำไส้


4.  ไม่ควรดื่มชาที่ชงไว้หลายชั่วโมง เพราะชาอาจบูด เสื่อมสภาพ หรือเปลี่ยนเป็นสารพิษ


5.  ผู้ที่เป็นไตทำงานบกพร่อง หรือมีอาการไตวาย ไม่ควรดื่มชาจำนวนมาก


6.  ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหารและลำไส้ น้ำชาจะทำให้มีอาการแน่นท้องและอาเจียนออกมาเป็นน้ำใสๆ


7.  เด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบไม่ควรดื่มชา เพราะเมื่อกรดแทนนินรวมกับธาตุเหล็กในกระเพาะอาหารจะกลายเป็นสารที่ไม่สามารถละลายได้ ทำให้เด็กไม่เติบโต มีอาการขาดธาตุเหล็ก และเป็นโรคโลหิตจางได้


8.  ผู้หญิงที่กินยาคุมกำเนิดไม่ควรดื่มน้ำชาเข็มข้น เพราะกรดแทนนินทำให้ประสิทธิภาพของยาคุมลดลง


9.  สตรีระหว่างมีประจำเดือน ตั้งครรภ์และแม่ลูกอ่อนที่ให้นมลูก ไม่ควรดื่มชาเพราะทารกจะได้รับผลเช่นเดียวกับข้อ 7


10.  ผู้ที่เป็นโรคความดันสูงหรือโรคหัวใจไม่ควรดื่มชาเข็มข้น เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ร่างกายถูกกระตุ้นมากเกินไป





 

Create Date : 04 ตุลาคม 2551    
Last Update : 4 ตุลาคม 2551 10:24:16 น.
Counter : 1417 Pageviews.  


meawminami
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add meawminami's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.