'หัวใจ๋ข้า หัวใจ๋เจ้า ห้อยอยู่เก๊าเดียวกั๋น' *
*คลิกเพื่ออ่านคำแปลเจ้า :)
~ จอมนางหริภุญไชย : ปฐมกษัตรีย์แห่งล้านนา ~ โดย กิตติ วัฒนะมหาตม์





จอมนางหริภุญไชย
โดย กิตติ วัฒนะมหาตม์
พิมพ์โดย :สำนักพิมพ์สร้างสรรค์บุ๊คส์ (พิมพ์ครั้งที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๕๐)


(หนึ่งในหนังสือที่อ่านเพื่อตอบโจทย์ในกระทู้ RRR ค่ะ)


เรื่องราวของ "จอมนางหริภุญไชย" เล่มนี้จะพาคุณย้อนกลับไปสู่ตำนานของเมืองหริภุญไชยนคร

จากตำนานแห่งความงดงาม สูงส่งและศักดิ์สิทธิ์ มาสู่เรื่องราวแห่งความจริงทางประวัติศาสตร์
ของปฐมกษัตรีย์แห่งล้านนา - -พระนางจามเทวี - -
กษัตรีย์ไทยพระองค์แรกที่ปรากฏพระนามในประวัติศาสตร์






โปรยปกหลัง :

เราอาจนึกว่า ตำนานอันแพรวพรายไปด้วยสีสันและความศักดิ์สิทธิ์เช่นนี้
ควรเป็นเพียงเรื่องของสตรีในเทพนิยาย หรือสตรีในอุดมคติสักคนมากกว่าจะมีตัวตนอยู่จริงในโลก
แต่ถ้าพิจารณากันแล้ว นี่ไม่เป็นเรื่องยากที่จะเกิดขึ้นสำหรับผู้คนในยุคบรรพกาลของเรา
ผู้ซึ่งได้สร้างสรรค์สิ่งที่เหลือเชื่อทิ้งไว้อย่างมากมาย
พระนางจามเทวีแม้จะทรงเป็นสตรีที่บริบูรณ์ด้วยคุณสมบัตินานาประการ
แต่ก็ทรงมีตัวตนอยู่จริง



ผู้เขียนได้เกริ่นกล่าวไว้ในหน้าคำนำว่า...

"...ในการเรียบเรียงเนื้อหานั้น ผู้เขียนได้อาศัยการสืบค้นและเลือกใช้ข้อมูลจากหลักฐานต่าง ๆ ในช่วงระหว่างพ.ศ. ๒๕๔๑-๒๕๔๓ โดยประสงค์จะให้เป็นหนังสือที่อ่านกันได้ทั่วไป จนแม้ผู้สนใจเรื่องเก่า ๆ แต่ไม่มีความรู้ในด้านประวัติศาสตร์โบราณคดีมากนักก็อ่านได้...

ดังนั้นผู้เขียนจึงลำดับเรื่องไปตามข้อมูลที่เห็นว่าเหมาะสม โดยไม่เคร่งครัดว่าที่มาของข้อมูลเหล่านั้นจะเป็นเอกสารประเภทใด วงวิชาการยอมรับหรือไม่ เพราะผู้เขียนได้เห็นมาแล้วว่าเอกสารที่ยอมรับกันในวงวิชาการนั้น บางทีก็ผิดเพี้ยนไปจากข้อเท็จจริงอย่างมากมาย ในขณะที่เอกสารที่นักวิชาการมิได้เชื่อถือบางทีก็กลับบรรจุข้อมูลที่ตรงกับข้อเท็จจริงมากกว่า..."







เนื้อหาหลัก ๆ ของหนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็นสองส่วนด้วยกัน คือ

ส่วนแรก เป็นการเรียบเรียงเนื้อเรื่องเกี่ยวกับพระประวัติของพระนางจามเทวี นับตั้งแต่ - -ชาติกำเนิด - -การเดินทางไปยังราชสำนักละโว้ - -เป็นพระธิดา(บุญธรรม)ในพระเจ้ากรุงลวปุระ - -ได้ร่ำเรียนสรรพวิชาและได้ออกศึกจนได้รับชัยชนะเหนือผู้รุกรานจากโกสัมพี - -ท่านสุเทวฤาษีสร้างเมืองหริภุญไชยและส่งสาส์นไปอัญเชิญพระนางจามเทวีให้มาครองเมือง - - เส้นทางเสด็จโดยอ้างอิงจากตำนานถึงสามฉบับ - - ปฐมรัชกาลแห่งเมืองหริภุญไชย - -สร้างพุทธปราการและกำเนิดเมืองอาลัมพางค์ -เขลางค์นคร - -ตำนานพระธาตุลำปางหลวง - -จนถึงบั้นปลายรัชสมัย

โดยในส่วนนี้ผู้เขียนจะเจาะจงเรียบเรียง บอกเล่าเฉพาะที่เกี่ยวกับพระนางจามเทวีเท่านั้นโดยดำเนินเรื่องติดต่อกันไปตั้งแต่ต้นจนจบรัชสมัยของพระองค์ เรื่องของกษัตริย์พระองค์อื่นที่ครองราชย์ต่อมาจะเว้นไม่ได้กล่าวถึง

ในส่วนที่สองจะเป็นการตั้งข้อสมมติฐาน หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นการคาดคะเนถึงเรื่องราวที่อาจจะเกิดขึ้นจริงของกษัตรีย์พระองค์นี้ ว่าน่าจะเป็นไปในทิศทางใดบ้าง...โดยอาศัยหลักฐานที่มีอยู่เพียงน้อยนิด

ซึ่งผู้เขียนก็ได้ออกตัวไว้ในหน้าคำนำว่า...


"สิ่งที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้จึงมิใช่การลงมือกระทำเรื่องของพระนางจามเทวีให้สมบูรณ์อย่างแท้จริง เป็นเพียงการเสนอความเป็นไปได้ทางหนึ่งจากหลาย ๆ ทางเท่านั้น
จึงหวังว่าจะมีผู้ค้นคว้าต่อไปในภายภาคหน้า"






ในตอนนี้จะขอคัด (และเรียบเรียงย่นย่อเล็กน้อย)พระประวัติของพระนางจามเทวี มาลงไว้ พอเป็นสังเขปค่ะ

จอมนางหริภุญไชยพระองค์นี้ กล่าวกันว่าพระองค์ทรงมีชาติกำเนิดเป็นชาวหริภุญไชยแต่เดิม โดยเป็นบุตรีของคหบดีผู้หนึ่งนามว่า “อินตา” (ส่วนมารดาไม่ทราบชื่อ)
ได้มีการบันทึกดวงพระชะตาของพระนางจามเทวี เมื่อแรกประสูติไว้ว่าตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๕ ปีมะโรง พ.ศ.๑๑๗๖ เวลาจวนจะค่ำ

วันหนึ่งเมื่อพระนางทรงเจริญพระชนมายุได้ ๓ เดือน กำลังประทับนอนบนเบาะ บิดามารดาไปธุระนอกบ้าน พญานกใหญ่ตัวหนึ่งได้บินเข้าไปจวบเอาพระวรกายถึงในบ้านพาขึ้นไปบนท้องฟ้า
พอดีกับท่านสุเทวฤาษีแห่งระมิงค์นครกำลังบำเพ็ญตบะอยู่ ณ อุจฉุตบรรพต ได้เห็นพญานกบินผ่านและเห็นกรงเล็บของมันได้จิกร่างทารกน้อยมาด้วย
ท่านฤาษีจึงได้แผ่เมตตาจิตให้พญานกปล่อยพระนางเสีย พญานกจึงคลายกรงเล็บให้เด็กนั้นร่วงลง แต่ก่อนที่ร่างของพระนางจะตกถึงพื้นก็เกิดมีลมหอบพาไปตกในสระใหญ่ โดยมีดอกบัวหลวงขนาดมหึมารองรับ ได้รับความปลอดภัยอย่างปาฏิหาริย์

ท่านฤาษีประพฤติพรหมจรรย์อยู่ ไม่สามารถใช้มืออุ้มร่างเด็กหญิงขึ้นมาได้ จึงตั้งสัตยาธิษฐานว่า

“หากทารกหญิงผู้นี้มีบุญญาธิการ จะได้เป็นใหญ่ในภายหน้าแล้วก็ขอให้พัดของเรานี้รองรับร่างเธอไว้ได้โดยมิร่วงหล่นเถิด”

จากนั้นท่านก็ใช้พัดช้อนร่างพระนางขึ้นมาได้จริงๆ และด้วยเหตุที่ท่านได้ใช้พัดช้อนทารกขึ้นมานี้จึงได้ตั้งชื่อเด็กหญิงว่า “วี”(ภาษาเหนือ แปลว่า พัด ) แม้ในตอนหลังจะตรวจสอบแล้วรู้ว่านางเป็นลูกเต้าเหล่าใคร พระฤาษีก็ถือว่านางเป็นบุตรบุญธรรม
และได้มอบให้พญาวานรชื่อกากะวานรและบริวารรวม ๓๕ ตัวช่วยเลี้ยงดู ด้วยตัวท่านนั้นอยู่ในเพศพรหมจรรย์ มิสามารถดูแลเด็กหญิงได้ - -

เมื่อพระนางจามเทวีเจริญพระชนมายุได้ ๑๓ พรรษา สำเร็จสรรพวิชาทั้งหลายแล้วท่านสุเทวฤาษีจึงผูกดวงและตรวจสอบชะตา ทราบว่าพระนางผู้เป็นบุตรบุญธรรมของท่านจะมีวาสนาได้เป็นถึงจอมกษัตริย์ จึงตกลงใจว่าจะส่งพระนางไปสู่ราชสำนักสักแห่งหนึ่งเพื่อเข้ารับการอภิเษกขึ้นเป็นเชื้อพระวงศ์ให้สมควรแก่การที่จะได้เป็นใหญ่ต่อไป

และที่เหมาะสมในสายตาท่านฤาษีก็คือราชสำนักแห่งกรุงละโว้ ซึ่งเป็นราชสำนักที่เจริญรุ่งเรืองที่สุดแห่งหนึ่งในสุวรรณภูมิเวลานั้น





ท่านสุเทวฤาษีจึงได้เนรมิตแพขึ้นส่งพระนางน้อยล่องไปตามน้ำจากเมืองเหนือโดย พญากากะวานรและบริวารจำนวนหนึ่งโดยสารเรือไปด้วย ทั้งยังฝากหนังสือไปฉบับหนึ่งเพื่อกราบทูลพระเจ้ากรุงลวปุระว่ากุมารีน้อย นี้จะไปช่วยละโว้ประหารศัตรู

เด็กหญิงและวานรบริวารทั้งหลาย ล่องตามลำน้ำเป็นเวลาหลายเดือนจึงเข้าสู่เขตกรุงลวปุระ ประชาชนชาวละโว้ทั้งสองฝั่งต่างโจษขานถึงแพเล็ก ๆ นี้ด้วยความประหลาดใจ ครั้นถึงท่าน้ำหน้าวัดชัยมงคล ก็หยุดไม่ลอยต่อแต่กลับลอยวนเวียนอยู่บริเวณนั้น ชาวบ้าน ชาวเมืองเห็นเป็นสิ่งอัศจรรย์ ต่างจึงพากันโจษจันพร้อมทั้งชื่นชมพระนางซึ่งมีผิวพรรณผุดผ่องน่ารักน่าเอ็นดู

ความทราบถึงบรรดาขุนนางจึงได้ไปตรวจดูที่ฝั่งน้ำ เห็นความจริงประจักษ์แก่ตาจึงรีบกลับเข้าพระราชวัง เพื่อกราบบังคมทูล พระเจ้านพรัตน์ (บางตำนานเรียกว่า“พระเจ้าวักติ”) ผู้ครองนครลวปุระ ให้ทรงทราบทันที พระองค์จึงเสด็จไปยังท่าน้ำพร้อมด้วยพระมเหสี จนทอดพระเนตรเห็นความเป็นไปทั้งหมด ทรงมีรับสั่งให้ทหารชะลอแพเข้าฝั่ง แต่กำลังทหารก็ไม่อาจชักลาก แพเข้าสู่ท่าน้ำได้ ไม่ว่าจะทรงมีรับสั่งให้เพิ่มจำนวนทหารมากสักเท่าใดก็ตาม

การณ์อันเป็นไปโดยอัศจรรย์นี้ ทำให้ เจ้าแผ่นดินลวปุระ ทรงประจักษ์แจ้งด้วยพระปรีชาญาณว่า กุมารีแรกรุ่นท่ามกลางฝูงวานรผู้นี้จะต้องเป็นผู้มีบุญญาธิการมาก และแพนั้นต้อง เป็นแพวิเศษที่สามัญชนจะไปแตะต้องมิได้ พระองค์จึงเสด็จพร้อมด้วยพระมเหสี ทรงยึดเชือกกี่ผูกแพนั้นไว้ด้วยพระหัตถ์ของทั้งสองพระองค์ ทันใดนั้นแพก็ลอยเข้าสู่ท่าอย่างง่ายดาย ราวกับเทพยดาจะทรงอำนวยพร ประชาชนชาวเมืองจึงพากันสรรเสริญบุญญานุภาพของกุมารีพระองค์น้อย ทั่วทั้งพระนคร





พระเจ้ากรุงละโว้รับพระกุมารีน้อยไว้ด้วยความเสน่หายิ่ง ทั้งได้มีพระราชดำรัสให้พระราชครู พยากรณ์ดวงชะตาของกุมารีน้อย พระราชครูได้คำนวณดวงพระชะตาโดยละเอียดแล้วถวายคำพยากรณ์ว่า

“ขอเดชะ กุมารีน้อยผู้นี้เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งพระบุญญานุภาพ และพระบารมีอันยิ่งใหญ่
ต่อไปภายหน้าจักได้เป็นถึงจักรพรรดินีครองแว่นแคว้น ปรากฏพระเกียรติยศเกริกไกรไปทั่ว
แม้ว่าพระราชาและเจ้าชายพระองค์ใดได้เสกสมรส ด้วยก็จักเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยรัตนะ ทั้ง ๗ ประการอย่างแน่นอน”


พระเจ้ากรุงละโว้และมเหสีเมื่อทรงทราบดังนั้นก็ทรงโสมนัสยิ่ง เพราะทั้งสองพระองค์ยังมิได้ทรงมีพระโอรสธิดา จึงมีพระราชโองการให้จัดพระราชพิธีอภิเษกกุมารีขึ้นดำรงพระยศเป็นพระธิดาแห่งกรุงละโว้
ทรงเฉลิมพระนามใหม่ประกาศไว้ในพระสุพรรณบัฏว่า
“เจ้าหญิงจามเทวี ศรีสุริยวงศ์ บรมราชขัตติยนารี รัตนกัญญา ลวะปุรีราเมศวร"

ตำนานว่า วันประกอบพิธีอภิเษกนั้นเป็นวันที่ ๓ ภายหลังพระนางจามเทวี เสด็จสู่ราชสำนักลวปุระ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ปีมะเมีย พ.ศ.๑๑๙๐ เวลานั้นทรงมีพระชนมายุได้ ๑๔ พรรษา





ต่อมา พระนางจามเทวีได้อภิเษกสมรสกับ “เจ้าชายรามราช” แห่งนครรามบุรีซึ่งอยู่ใกล้กรุงลวปุระ ตามตำนานว่าเจ้าชายพระองค์นี้ทรงเป็นพระญาติของพระเจ้ากรุงละโว้

แต่ด้วยความที่พระธิดาทรงมีพระสิริโฉมมาก แม้จะมีการหมั้นหมายกับเจ้าชายรามราชแล้ว ก็ยังมีกษัตริย์จากต่างเมืองมาหมายปองอีก จนถึงกับต้องทำสงคราม โดยพระนางจามเทวีต้องคุมทัพออกรบด้วยพระองค์เอง ทรงมีพระปรีชาเยี่ยมยอดในการวางแผนการรบ จนได้รับชัยชนะ นำความชื่นชมยินดีมาสู่บรรดาเสนาอำมาตย์ ทหารและประชาชน ชาวละโว้เป็นอันมาก

แต่สำหรับพระนางจามเทวีแล้ว พระองค์มิได้ทรงปิติยินดีในชัยชนะที่ทรงได้รับเลย แม้จะทรงได้รับการสรรเสริญจากราชสำนัก ตลอดจนกษัตริย์ผู้ครองนครที่เป็นพันธมิตรที่อยู่ห่างไกลออกไปเพียงใด พระนางจามเทวีก็ยังทรงระลึกถึงภาพของเหล่ากษัตริย์และทหารที่ต้องล้มตาย เพราะพระองค์เป็นต้นเหตุ จึงทรงมีรับสั่งให้สร้างศาลเป็นจำนวนเท่ากับกษัตริย์ที่สิ้นพระชนม์ในครั้งนี้ และทรงสร้างวัดขึ้นในพื้นที่อันเป็นสมรภูมิรบด้วยวัดหนึ่ง





ในภายหลังพระนางจามเทวีได้เสด็จไปครองเมืองหริภุญไชย (จ.ลำพูน ในปัจจุบัน) ตามคำทูลขอของท่านสุเทวฤาษี เพราะเวลานั้นเมืองหริภุญไชยขาดผู้นำราษฎร์เดือดร้อนมาก
พระนางจามเทวีทรงระลึกถึงพระคุณท่านสุเทวฤาษี ที่เคยชุบเลี้ยงมาแต่ก่อนจึงยินดีเสด็จไปด้วยเหตุนี้จึงทรงมีพระราชโองการ อภิเษกเจ้าหญิงจามเทวีขึ้นเป็นกษัตริย์โดยเฉลิมพระนามใหม่ว่า
“พระนางจามเทวี บรมราชนามี ศรีสุริยวงศ์ องค์บดินทร์ปิ่นธานีหริภุญไชย”

การจากไปครองเมืองหริภุญไชยของพระนางจามเทวี เป็นการจากเมืองละโว้ไปจากพระสวามีและพระญาติพระวงศ์ไปชั่วนิรันดร์

วันที่เสด็จขึ้นครองราชย์ ตรงกับวันขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย พุทธศักราช ๑๒๐๒ พระชนมายุได้ ๒๖ พรรษา
และเมื่อครองราชย์แล้ว ๗ วัน พระนางจามเทวีก็ได้ทรงมีพระประสูติกาลพระโอรส ๒ พระองค์ พระราชกุมารทั้งคู่ทรงศิริลักษณ์งามละม้ายกัน เป็นที่ปิติยินดีไปทั่วพระนคร ทรงพระนามว่า “พระมหันตยศ” และ “พระอนันตยศ”

พระนางจามเทวี ทรงสถาปนาความรุ่งเรืองให้บังเกิดแก่นครหริภุญไชยมากขึ้นอาณาประชาราษฎร์ เป็นสุขสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติโดยถ้วนหน้า มีพระสงฆ์ที่ลงมาจากเมืองละโว้มากมายมาสั่งสอนเผยแผ่พระศาสนา มีการก่อตั้งวัดมากมาย ที่มีภิกษุจำพรรษาเต็มทุกพระอาราม





พระนางจามเทวีทรงปกครองเมืองหริภุญไชยด้วยทศพิธราชธรรม พระองค์ทรงสั่งสอนบรรดาเสนาข้าราชสำนัก ตลอดจนพสกนิกรทั้งหลายให้ยึดมั่นในทางธรรมเสมอ นครหริภุญไชยจึงเป็นดินแดนที่สงบสุข เจริญรุ่งเรือง ไม่มีโจรผู้ร้าย มีแต่ความสงบร่มเย็นด้วยกลิ่นอายแห่งพระพุทธศาสนา
โดยเฉพาะพระนางจามเทวีได้โปรดฯให้มีการสร้างวัดขึ้นใหม่มากมาย อาทิ วัดอรัญญิกกรัมการาม วัดอาพัทธาราม วัดมหาวนาราม วัดมหารัตาราม ฯลฯ

(ในตอนนี้จะขอข้ามเรื่องราวของสงครามกับชาวลัวะที่มีขุนวิลังคะเป็นผู้นำไปนะคะ เพราะมีอยู่หลายตำนาน แถมออกแนวอภินิหารเสียเป็นส่วนใหญ่ ขอตัดไปเล่าถึงกำเนิดเมืองเขลางค์เลยก็แล้วกัน - - )

ในตำนานมูลศาสนาและจามเทวีวงศ์กล่าวว่า หลังสิ้นสงครามชาวลัวะแล้ว พระนางจามเทวีก็ได้ทรงอภิเษกพระมหันตยศซึ่งมีพระชนม์มายุ ๗ พรรษาขึ้นเป็นกษัตริย์ครองหริภุญชัยแทนพระนาง และอภิเษกพระอนันตยศขึ้นเป็นพระอุปราช รวมเวลาที่พระนางทรงเสวยราชย์ในกรุงหริภุญชัยได้ ๗ ปี เมื่อพระมหันตยศได้เสวยราชย์แล้ว ทรงดำเนินตามรอยเบื้องพระยุคลบาทแห่งพระมารดาทุกประการ นครหริภุญชัยจึงยิ่งเจริญรุ่งเรืองและร่มเย็นเป็นสุข ทว่าฝ่ายพระอุปราชอนันตยศหามีความพอพระทัยไม่ ด้วยทรงมีพระดำริว่าพระเชษฐาธิราชประสูติมาพร้อมกัน เมื่อพระเชษฐาธิราชได้เสวยราชสมบัติแล้วพระองค์ก็น่าจะได้ครองเมืองบ้าง จึงกราบทูลพระนางจามเทวีตามพระดำรินั้น เมื่อพระนางจามเทวีได้ทราบดังนั้น จึงให้บัณฑิตผู้หนึ่งพาพระอนันนตยศไปปรึกษากับสุเทวฤๅษีเรื่องการสร้างเมืองใหม่ก่อน

เมื่อสุเทวฤๅษีทราบเรื่องดังกล่าวแล้ว จึงถวายคำแนะนำแก่พระอนันตยศให้ไปไหว้ฤๅษีพุทธชฏิลที่ดอยโชติบรรพต ไปหาพรานเขลางค์ที่ดอยลุทธบรรพต และไปกราบท่านสุพรหมฤๅษี ที่ดอยเขางามริมแม่น้ำวังกะนที เพื่อขอให้ช่วยสร้างพระนครแห่งใหม่ พระอนันตยศทรงดำเนินการตามนั้นทุกอย่าง จึงได้ท่านสุพรหมฤๅษีและพรานเขลางค์ไปช่วยกันสร้างเมือง ท่านสุพรหมฤๅษีได้ตรวจดูทำเลอันเหมาะสมแล้วจึงใช้อำนาจเนรมิตเมืองใหญ่ขึ้นแห่งหนึ่ง แล้วเอาชื่อพรานเขลางค์มาตั้ง เรียกว่าเมืองเขลางค์นคร (ปัจจุบันคือเมืองลำปาง) จากนั้นสุพรหมฤๅษีก็ถวายการราชาภิเษกพระเจ้าอนันตยศขึ้นเสวยราชสมบัติในพระนครแห่งใหม่

หลังจากนั้นพระนางจามเทวีจึงเสด็จมายังเมืองเขลางค์นครตามคำทูลเชิญของพระโอรส พระองค์ได้กระทำพิธีราชาภิเษกพระราชโอรสอีกครั้งอย่างมโหฬาร และได้ประทับอยู่ที่เมืองนี้ต่ออีก ๖ เดือน ตามคำทูลขอของพระอนันตยศ แต่ในจามเทวีวงศ์ว่าต้องทรงอยู่ถึง ๖ ปี จึงได้เสด็จกลับเมืองหริภุญชัย โดยระหว่างนั้นพระนางยังได้สร้างเมืองอาลัมพางค์นครขึ้นอีกเมืองหนึ่ง

แต่ในตำนานพื้นเมืองกลับกล่าวถึงเรื่องนี้ไปอีกอย่างหนึ่ง ต่างกับจามเทวีวงศ์ และตำนานมูลศาสนาดังที่กล่าวมาแล้วอย่างสิ้นเชิง โดยกล่าวว่าพระนางจามเทวีได้ครองสิริราชสมบัติบริหารราชการแผ่นดินนครหริภุญชัยไปถึงต้นเดือน ๘ ปีกุน พ.ศ. ๑๒๓๑ จึงทรงสละราชสมบัติพระราชทานพระเจ้ามหันตยศขึ้นครองหริภุญชัยแทน และในวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ ปีเดียวกัน ก็มีการราชาภิเษกพระเจ้าอนันตยศขึ้นครองเขลางค์นคร เวลานั้นพระนางทรงมีพระชนมายุได้ ๕๕ พรรษาแล้ว และก็มิได้กล่าวถึงรายละเอียดการสร้างเขลางค์นครแต่อย่างใด





บั้นปลายรัชสมัย

ตำนานหนึ่งกล่าวว่า...

ภายหลังพระนางจามเทวีได้สละราชสมบัติให้แก่พระเจ้ามหันตยศครองเมืองแทน และเมื่อพระองค์ทรงมีพระชนมายุได้ ๖๐ พรรษา ได้ทรงสละเพศฆราวาสฉลองพระองค์ขาวเสด็จไปประทับทรงศีลที่วัดจามเทวี ทรงเอาพระทัยใส่ต่อการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนายิ่งขึ้นอีกมากมาย

พระนางจามเทวีเสด็จสวรรคต เมื่อวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๘ พ.ศ. ๑๒๙๔ รวมพระชันษาได้ ๙๘ ปี สิ้นพระชนม์ไปขณะทรงบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานอยู่นั่นเอง
พระราชโอรสทั้งสองพระองค์ทรงเปลี่ยนฉลองพระองค์พระศพเป็นพัสตราภรณ์แห่งกษัตริย์หริภุญไชยเป็นครั้งสุดท้าย ท่ามกลางความโศกสลดของทวยราษฎร์


ในตำนานมูลศาสนา และจามเทวีวงศ์กล่าวแตกต่างออกไปว่า...

พระนางจามเทวีได้ทรงเสวยราชย์ในนครหริภุญไชยเพียง ๗ ปี แล้วสละราชบัลลังก์พระราชทานพระเจ้ามหันตยศ จากนั้นเสด็จไปประทับที่เขลางค์นครและอาลัมพางค์นครกับพระเจ้าอนันตยศอีก ๖ ปี ครั้นเริ่มประชวรเสด็จกลับมายังหริภุญไชย ทรงเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยทักษิณาวรรตแล้วทรงศีลต่อไปอีกเพียง ๘ วัน พระโรคาพาธก็กำเริบแรงกล้าจนถึงเสด็จสวรรคต หลังสวรรคคตแล้วพระองค์ก็ได้ไปเกิดบนสวรรค์ชั้นดุสิต

หลังจากนั้น พระเจ้ามหันตยศจึงโปรดฯ ให้จัดพิธีบูชาสักการะพระศพเป็นการใหญ่ ๗ วัน แล้วจึงก่อพระเมรุมาศสำหรับถวายพระเพลิง จัดให้มีการสมโภชพระศพเป็นการใหญ่ ๗ วัน ๗ คืน แล้วจึงถวายพระเพลิง หลังเสร็จการถวายพระเพลิงพระศพแล้วจึงได้เชิญพระอัฐิไปบรรจุไว้ในสุวรรณจังโกฏิเจดีย์ (ปัจจุบันเรียกกันเป็นสามัญว่า เจดีย์กู่กุด) ภายในวัดจามเทวี อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูนในปัจจุบัน







เป็นอันจบตำนานแห่งจอมนางผู้ยิ่งใหญ่เพียงเท่านี้ค่ะ...

ส่วนตัวอ่านหนังสือเล่มนี้ด้วยความสนใจใคร่รู้
หากแต่เมื่ออ่านจบลงไปกลับไม่ได้ สมใจ(ที่)อยาก(รู้) สักเท่าใดนัก

ทั้ง ๆ ที่ชื่นชมในความพยายามของผู้เขียน ในการสืบค้นข้อมูล หาหลักฐาน และเรียบเรียงออกมาเป็นเรื่องเล่าที่อ่านง่าย - -

อาจจะเป็นเพราะตัวเองเป็นคนเหนือ เคยผ่านตำนานเรื่องเล่าที่คล้าย ๆ กันแบบนี้มาก่อน ทั้งจากหนังสือและจากเรื่องเล่าปากต่อปากที่เรียกว่ามุขปาฐะมาค่อนข้างเยอะ
จึงคาดหวังความแตกต่างหรือข้อมูลใหม่ ๆ บ้าง เท่านั้นเอง

แต่แนะนำนะคะสำหรับคนที่สนใจเรื่องราวแนว ๆ นี้ เพราะในหนังสือยังมีข้อมูล-สาระอีกมากมายที่จขบ.ไม่ได้กล่าวถึง






**เชิญเลือกอ่านหนังสือเล่มอื่น ๆ ในบล็อกนี้ได้ที่... ~ สารบัญหนังสือในบล็อก ~ ค่ะ








Create Date : 16 กันยายน 2552
Last Update : 16 กันยายน 2552 11:55:03 น. 20 comments
Counter : 2723 Pageviews.

 

เจิมเจ้าค่ะ Comment Hi5 Glitter


มาทักทายกันวันพุธค่ะคุณแม่ไก่



โดย: หอมกร วันที่: 16 กันยายน 2552 เวลา:14:38:02 น.  

 
มาส่งความคิดถึงค่ะคุณแม่ไก่

เห็นคุณแม่ไก้อ่านหนังสือได้เร็ว ได้เยอะแบบนี้ ผู้เฒ่าเป็นงงจริงๆ

ทำได้ไง ….สามารถมากกกกกกกกก

มีความสุขมากๆค่ะ




โดย: ร่มไม้เย็น วันที่: 16 กันยายน 2552 เวลา:16:34:13 น.  

 

Believed in God
Even For the hardest things
with his help and blessing
everything will be just fine..
God please be with me and blessed me
for ever


โดย: da IP: 124.122.120.201 วันที่: 16 กันยายน 2552 เวลา:21:16:02 น.  

 
เอาเล่มนี้ออกมาเตรียมอ่านเป็นเล่มต่อไปแล้วค่ะ ซื้อไว้นานจนลืมไปเลย


โดย: กุลธิดา IP: 68.216.104.3 วันที่: 16 กันยายน 2552 เวลา:22:57:37 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับปี้แม่ไก่


เรื่องราวของบ้านเฮา
ออกจะเป๋นแนวลึกลับเหนือธรรมชาติ
จนกล๋ายเป๋นตำนานมากกว่าประวัติศาสตร์เน้อครับ

เวลาคุยกับฝรั่ง
เขาจึงมักทำหน้างงๆ

ผมคิดว่าบางครั้งเฮาก่ควรจัดชุดความรู้ที่
เป๋นตำนานและเป๋นประวัติศาสตร์ไว้ตวย
เพื่อหื้อการเปรียบเทียบ
และรู้ที่ไปที่มาของรากเหง้าของตัวเฮาครับ









โดย: กะว่าก๋า วันที่: 17 กันยายน 2552 เวลา:7:25:17 น.  

 
ยินดีที่มีผู้เขียนอย่างจริงจัง แม้จะไม่จุใจอย่างที่หวัง


โดย: นายแจม วันที่: 17 กันยายน 2552 เวลา:7:56:12 น.  

 
ได้รู้เรื่องพระนางจามเทวีขึ้นเยอะเลยค่ะ ขอบคุณที่เอามาแบ่งปันนะคะ

น่าซื้อเก็บไว้ด้วยนะนี่


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 17 กันยายน 2552 เวลา:15:45:59 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับพี่แม่ไก่











โดย: กะว่าก๋า วันที่: 18 กันยายน 2552 เวลา:7:08:44 น.  

 
สวัสดีครับ....

แวะเข้ามาทักทายครับ....เป็นไงบ้างครับ สบายดีไหม?
ขอให้มีความสุขกับวันหยุดสุดสัปดาห์นะครับ.......

ยิ๊นนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนน...ดีจั๊ดนักครับ


โดย: เพลงดาบกระบี่เดียวดาย วันที่: 18 กันยายน 2552 เวลา:21:56:37 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับปี้แม่ไก่









โดย: กะว่าก๋า วันที่: 19 กันยายน 2552 เวลา:7:19:39 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับปี้แม่ไก่








โดย: กะว่าก๋า วันที่: 20 กันยายน 2552 เวลา:6:54:50 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับปี้แม่ไก่









โดย: กะว่าก๋า วันที่: 21 กันยายน 2552 เวลา:7:15:43 น.  

 
น่าอ่านมากๆ เลยค่ะ


โดย: ศรีสุรางค์ วันที่: 21 กันยายน 2552 เวลา:11:05:34 น.  

 
ได้ยินชื่อ ตำนานมูลศาสนา มานานแล้ว ยังไม่มีโอกาสได้อ่านหนังสือเล่มนี้เลยครับ


โดย: oddy.freebird วันที่: 21 กันยายน 2552 เวลา:11:17:13 น.  

 
น่าสนใจนะคะเล่มนี้ แปะโป้งไว้ก่อนดีกว่าค่ะ


โดย: หวานเย็นผสมโซดา วันที่: 21 กันยายน 2552 เวลา:12:34:59 น.  

 

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...



หวัดดีค่ะ มีความสุขมากมายในวันนี้นะคะคุณแม่ไก่



โดย: หอมกร วันที่: 21 กันยายน 2552 เวลา:16:13:48 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับปี้แม่ไก่










โดย: กะว่าก๋า วันที่: 22 กันยายน 2552 เวลา:7:32:25 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับปี้แม่ไก่










โดย: กะว่าก๋า วันที่: 23 กันยายน 2552 เวลา:7:17:49 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับปี้แม่ไก่









โดย: กะว่าก๋า วันที่: 24 กันยายน 2552 เวลา:7:57:48 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับปี้แม่ไก่









โดย: กะว่าก๋า วันที่: 25 กันยายน 2552 เวลา:7:23:54 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

แม่ไก่
Location :
ลำปาง Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 184 คน [?]




**หลังไมค์เจ้า**





Cute Clock Click!



เออสิ,มาอยู่ใยในโลกกว้าง
เฉกชลคว้างมาเมื่อไรไม่นึกฝัน
ยามจากไปก็เหมือนลมรำพัน
โบกกระชั้นสู่หนไหนไม่รู้เลย


รุไบยาต ~ โอมาร์ คัยยัม
สุริยฉัตร ชัยมงคล : แปล




Latest Blogs

~ท่านหญิงในกระจก/แสงเพลิง ~

~เพชรรากษส/อลินา ~

~มนตร์ทศทิศ/ราตรี อธิษฐาน ~

~เมื่อหอยทากมีรัก 1-2/"ติงโม่"เขียน/พันมัย แปล ~

~ให้รักระบายใจ/"ณกันต์"เขียน ~

~ผมกลายเป็นแมว/Abandoned/Paul Gallico เขียน(ภูธนิน แปล) ~

~พ่อค้าซ่อนกลรัก & หมอปีศาจแสนรัก/"หูเตี๋ย" เขียน(Wisnu แปล) ~

~อาจารย์ยอดรัก/"หูเตี๋ย" เขียน(Wisnu แปล) ~

~จอมโจรพยศรัก/"หูเตี๋ย" เขียน(Wisnu แปล) ~


สารบัญหนังสือ: รวมลิงก์หนังสือที่รีวิวในบล็อก # ๑ + ๒



Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add แม่ไก่'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.