Milk - ผู้ชายฉาว ที่ไม่ฉาว
ผมเชื่อว่ามีหลายๆ คนไม่ได้ดูหนังเรื่องนี้ เพราะคิดว่าเป็นหนังเกย์
ยิ่งถ้าดูจากชื่อไทยที่ตั้งมาว่า "ผู้ชายฉาวโลก" ยิ่งทำให้คิดว่าหนังเรื่องนี้ต้องมีแต่ฉากฉาวๆ แบบ

ชายๆ ทั้งเรื่องแน่ๆ เลย
ใครหนอ... ช่างบรรจงสร้างสรรค์ตั้งชื่อมาได้


ที่จริงแล้วเรื่องนี้เป็นหนังที่เล่าชีวิตของนักต่อสู้ เพื่อสิทธิ์มนุษยชนของชาวรักร่วมเพศ "ฮาร์วีย์ มิลค์" ซึ่งได้ประกาศตัวว่าเป็นชายรักร่วมเพศคนแรกที่ได้รับเลือกให้

เป็นเทศมนตรี ของซานฟรานซิสโก

หากมองให้กว้างๆ แล้ว การต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิของตัวเองเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทั่วไป ในสังคมที่มีการเหยียดชนชั้น ไม่ว่าจะเป็นชนชั้นกรรมกร คนผิวสี คนต่างด้าว หรือกระทั่ง

การแบ่ง แยกหญิงชาย
หนังเรื่องนี้จึงเป็นตัวแทนของคนทุกกลุ่ม ที่ต้องต่อสู้ เพื่อให้ตัวเองได้มีจุดยืน สามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ อย่างสง่าผ่าเผยและมีความสุข


จะว่าไป ผมก็คุ้นๆ ว่าในประเทศไทย ก็มีการแบ่งแยกชนชั้นอะไรเหลืองๆ แดงๆ กันอยู่เหมือนกัน ... แต่ไม่ขอเอ่ยถึง เพราะว่าบล็อกนี้ไม่

ได้มีไว้เขียนเรื่องการเมืองขอรับ


 


มิลค์ก็เป็นเพียงฮิปปี้ชาวเกย์ธรรมดาคนนึงเท่านั้น ที่ต้องมีชีวิตรักหลบๆ ซ่อนๆ ต้องโดนปฏิเสธจากสังคม และการถูกทำร้ายร่างกาย โดยฝีมือของคนที่เรียกตัวเองว่า "ลูก

ผู้ชาย"
เมื่อหาความช่วยเหลือจากใครไม่ได้ เขาจึงได้รวมกลุ่มชาวเกย์ และได้ตั้งชุมชนเล็กๆ ขึ้นมา เพื่อให้ชาวเกย์ได้ใช้ชีวิตกันได้อย่างมีความสุข
ทั้งๆ ที่ไม่ได้ไป

สร้างความเดือดร้อนให้ใคร แต่ก็ยังถูกรังเกียจ ถูกเจ้าหน้าตำรวจทำร้าย
นั่นทำให้เขาคิดได้ว่า จำเป็นต้องมีตัวแทนชาวเกย์สักคนเข้าไปนั่งอยู่ในคณะผู้บริหารบ้านเมือง

/> และนั่นที่จุดเริ่มต้นของการต่อสู้ ที่ได้พลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญของอเมริกา



ฉากเล็กๆ ตอนหนึ่งในหนังคือตอนที่มิลค์แพ้การเลือกตั้ง และเขาไม่อยากจะสู้ต่อไป แต่ลูกน้องของเขาก็ยังนำแผนงานสำหรับการเลือกตั้งครั้งต่อไปมาให้ดู
อาจเป็น

เวลาแค่ไม่กี่วินาที แต่ก็ทำให้คิดได้ว่า เราไม่ได้สู้เพียงลำพัง
เพราะมนุษย์ทุกคน ย่อมมีเวลาที่รู้สึกเหนือย และท้อใจกันได้
แต่เมื่อเรามีมิตรภาพ ก็ทำให้เรามีกำลัง

ใจที่จะสู้ต่อไปได้


ผมประทับใจกับการแสดงที่ยอดเยี่ยมของฌอน เพนน์ ซึ่งดูเป็นธรรมชาติไม่มีท่าทางโอเวอร์เหมือนที่นักแสดงบางคนชอบทำเวลาเล่นบทเกย์
ยิ่งย้อนนึกถึงบทบาท

ของเพ็นน์จากเรื่อง Dead Man Walking และ I'm Sam ยิ่งเห็นถึงการเปลี่ยนบุคลิกที่เรียกว่าเป็นคนละคน สมควรแล้วที่เพ็นน์จะได้รางวัลออสการ์สาขาดารา นำชายจากบทฮาร์วีย์

มิลค์

ตัวหนังทำออกมาได้สวยงาม การแสดงความรักของชาวเกย์ ก็ไม่ได้น่าเกลียด ทำให้คนดูได้รู้สึกว่า เกย์ก็เป็นคนปกติ ไม่ใช่ความพิการ หรือความวิปริตแต่อย่างใด ซึ่งทำให้หนังดู

สนุก ไม่ว่าคนดูจะเป็นเพศใดก็ตาม


ตัวหนังยังได้วิพากษ์สังคมในหลายๆ เรื่อง เช่นเรื่องความจริงใจในระบบธุรกิจ ในตอนที่มิลค์ขอให้หนังสือเล่มหนึ่งสนับสนุนแต่ไม่ได้รับการเหลียวแล แต่พอตอนที่เขาชนะการ

เลือกตั้งเจ้าของหนังสือได้พยายามมาร่วมในงานเลี้ยง ซึ่งฮาร์วีย์ก็แก้เผ็ดด้วยการไม่เหลียวแลเหมือนกัน
หรือตอนที่ผู้นำฝ่ายต่อต้านเกย์ออกมาปราศัยโดยอ้างคำสอนของ

พระเจ้า แต่หนังก็ใช้ฉากหลังเป็นสีดำทะมึน บ่งบอกถึงแรงกดดัน และความไม่บริสุทธิ์ใจ ซึ่งตรงกันข้ามกับมิลค์ ซึ่งการกล่าวสุนทรพจน์แต่ละครั้ง ถึงจะไม่ได้อลังการยิ่งใหญ่ แต่ก็

อยู่ท่ามกลางฝูงชน และมีเสียงเชียร์ต้อนรับเขาทุกครั้ง

เพื่อเป็นการรำลึกถึงมิลค์ ในปี 2010 รัฐแคลิฟอร์เนียได้มีการตั้งวันที่ 22 พฤษภาคมของทุกปี ให้เป็นวัน Harvey Milk Day




Create Date : 19 ตุลาคม 2553
Last Update : 19 ตุลาคม 2553 15:04:47 น.
Counter : 496 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ลัคกี้เหมียว
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]