วันวานในสยาม...ยามนั้นและยามนี้

InSiam : From Time to Time



Group Blog
 
All blogs
 
การเก็บรักษาพระบรมอัฐิ พระอัฐิ ในราชวงศ์จักรี ตอนที่ 1 หอพระธาตุมณเทียร

              เรื่องที่จะนำเสนอต่อไปนี้  ผมได้เคยนำเสนอมาครั้งหนึ่งแล้วในพันธุ์ทิพย์ และเท่าที่จำได้ยังไม่เห็นท่านใดนำเสนอมาก่อนและเป็นเรื่องที่มีผู้รู้น้อยอยู่  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจะนำเสนอเรื่องราวของทุกชีวิตที่ปรากฏบนโลกใบนี้ ย่อมหนี้ไม่พ้นความตาย ซึ่งเป็นธรรมชาติ โดยไม่เลือกชนชั้น วรรณะ และเป็นไปตามวาระของสังขาร เป็นไปตามวาระแห่งกรรม ตามหลักความเชื่อของพุทธศาสนา สังขารเมื่อแตกดับไปแล้ว ซึ่งต่อไปจะเป็นความเชื่อเรื่องของจิตและวิญญาณ มีความคิดเห็นหลายทรรศนะแตกต่างกัน บ้างก็ว่าดับสูญ บ้างก็ว่าเดินทางไปสู่ชาติภพใหม่ หรือวนเวียนเป็นวัฏสงสาร เช่นเดียวกับชนชั้นกษัตริย์ และ บรมวงศ์ ก็ย่อมหนี้ไม่พ้นสัจธรรมข้อนี้

 

                                       

รูปที่ 1 พระอัฐิ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ

              ตามโบราณราชประเพณีซึ่งถือปฏิบัติสืบมาจนถึงปัจจุบัน เมื่อพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี เสด็จสวรรคต หรือพระบรมวงศ์ ซึ่งทรงประกอบคุณงานความดีไว้แก่บ้านเมืองสิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการบำเพ็ญพระราชกุศลและถวายพระเพลิง ตามลำดับพระเกียรติยศหรือพระอิสริยศักดิ์ ในการนี้พระบรมศพและพระศพได้รับการบรรจุในพระโกศทอง แล้วอัญเชิญขึ้นไปประดิษฐานเหนือเบญจาทองในพระมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง มีการแต่งที่ประดิษฐานพระโกศตามพระเกียรติยศแล้วบำเพ็ญพระราชกุศลทางพระพุทธศาสนา เมื่อถึงกาลอันควร ก็อัญเชิญพระบรมศพไปถวายพระเพลิง ณ พระเมรุมาศ ซึ่งสร้างไว้เป็นกรณีพิเศษซึ่งมักจะเรียกเป็นสามัญว่า “งานออกพระเมรุ”   หลังจากที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพแล้ว มีการเก็บพระบรมอัฐิประมวลลงในพระโกศทองคำลงยาประดับพุ่มเฟื่องอัญมณี

            การเก็บรักษาพระบรมอัฐิ สมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้า สมเด็จพระอัครมเหสี สมเด็จพระบรมราชนนี และพระอัฐิเจ้านายชั้นบรมราชวงศ์ในสมัยรัตนโกสินทร์นี้ มีธรรมเนียมการเก็บรักษาแตกต่างไปจากสมัยกรุงศรีอยุธยา    

            สมัยกรุงศรีอยุธยา ยังเป็นราชธานีอยู่นั้น เมื่อได้ถวายพระเพลิงพระบรมศพ หรือพระราชทานเพลิงพระศพพระราชวงศ์ชั้นสูงแล้ว จะเชิญพระบรมอัฐิไปบรรจุไว้ ณ ท้ายจรนำพระอุโบสถวัดพระศรีสรรเพชญ (ในพระราชวัง) ส่วนพระอัฐิก็เชิญบรรจุไว้ในพระเจดีย์แห่งพระอารามที่กล่าวมาแล้วนั้น

รูปที่ 2  ภาพจำลองวัดพระศรีสรรเพชญ์ หรือ วัดพระศรีสรรเพชญ เป็นวัดหลวงในพระราชวังโบราณอยุธยา ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ซึ่งเป็นต้นแบบของ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร และเป็นที่เก็บพระบรมอัฐิพระมหากษัตริย์ในสมัยอยุธยา

               สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ประเพณีดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงไป เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จขึ้นผ่านพิภพ ณ กรุงรัตนโกสินทร์แล้ว สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎาได้อัญเชิญพระบรมอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกเข้ามาถวาย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงพระราชดำริว่า พระองค์เองก็ดี สมเด็จพระอนุชาธิราชกรมพระราวังบรมสถานมงคลก็ดี และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอทั้งสองพระองค์ ยังไม่ทรงกระทำการถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระชนกาธิบดี เพราะบ้านเมืองยังไม่สงบเรียบร้อย หรือถึงแม้ว่าบ้านเมืองสงบเรียบร้อยดีแล้วก็ยังทรงติดราชการสงครามในการกอบกู้เอกราช สร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่ประเทศชาติตลอดมา เมื่อได้ทรงสร้างราชธานีขึ้นใหม่ บ้านเมืองก็มีความสงบพอสมควรแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระเมรุมาศ ณ ท้องสนามหลวงถวายพระเพลิงพระบรมอัฐิสมเด็จพระบรมชนกาธิบดี ตามแบบอย่างของการถวายพระเพลิงสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้า แห่งกรุงศรีอยุธยา (อาจจะเป็นการถวายพระเพลิง ณ ท้องสนามหลวง ครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์) หลังจากทรงถวายพระเพลิงแล้ว ทรงพระราชปรารภว่า พระบรมอัฐินั้นถ้าอัญเชิญไปบรรจุท้ายจรนำในพระอุโบสถหรือที่พระเจดีย์ในพระอารามหลวงในพระราชวังเหมือนธรรมเนียมอย่างครั้งกรุงศรีอยุธยาแม้จะเป็นพระเกียรติยศและเปิดโอกาสให้ปวงชนได้สักการบูชาก็จริงอยู่ แต่กรุงรัตนโกสินทร์ในครั้งนั้นเพิ่งจะสถาปนาใหม่ ยังไม่มั่นคงแข็งแรงนัก หากมีข้าศึกศัตรูรุกรานจนไม่สามารถรักษาพระนครไว้ได้ การอพยพหลบหนีไปไม่ว่าจะเป็นเวลานานหรือชั่วคราว ก็จะต้องทิ้งกระดูพระบรมราชบุพการีไว้ให้ถูกเหยียบย่ำทำลายและระหว่างรอนแรมไปก็จะไม่มีกระดูกพระบรมราชบุพการีไว้กราบไหว้บูชา

            ฉะนั้นจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระบรมอัฐิไว้พระราชมณเฑียรที่ประดับเพื่อที่จะได้หยิบฉวยติดพระองค์ได้ง่าย  และโปรดให้สร้างหอสำหรับพระดิษฐานพระบรมอัฐิในคราวนั้น ชื่อ หอพระธาตุมณเฑียร จากการที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สร้างหอพระธาตุมณเฑียรไว้เป็นปฐมนั้น พระมหากษัตริย์ในรัชกาลต่อ ๆ มาจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญพระบรมอัฐิสมเด็จพระราชบุรพการีประดิษฐานไว้ ณ หอพระบรมอัฐิ บนพระราชมณเฑียรสืบต่อกันมาเป็นราชประเพณี สำหรับอัฐิสมเด็จพระบรมราชวงศ์ชั้นสูงนั้นบางพระองค์ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเคารพนับถือเสมอด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี เช่น พระอัฐิของสมเด็จพระพี่นางเธอทั้งสองพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อถวายพระเพลิงแล้วโปรดให้อัญเชิญพระอัฐิประดิษฐาน ณ หอพระธาตุมณเฑียรด้วย สำหรับพระอัฐิสมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข และพระบรมวงศ์ที่ออกจากวังไปประทับเป็นการส่วนพระองค์ มิได้ประทับอยู่ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อสิ้นพระชนม์แล้วพระราชทานเพลิงแล้ว ก็โปรดให้เชิญพระอัฐิไปประดิษฐานในแต่ละวัง เพื่อที่ทายาทและพระประยูรญาติจะได้สักการบูชา ส่วนพระบรมราชวงศ์ฝ่ายใน ที่ประทับในพระบรมมหาราชวังที่ทรงศักดิ์เสมอด้วยพระองค์เจ้าลูกหลวง (หมายถึงพระพี่นาง พระน้องนาง และพระราชธิดาของพระเจ้าอยู่หัว ที่ดำรงพระยศ พระองค์เจ้า) ไม่มีเจ้าพี่น้องที่เสด็จออกไปประทับวังส่วนพระองค์การพระศพก็จะอยู่ภายใต้พระบารมีของพระเจ้าอยู่หัวทุกประการ หลังจากการถวายพระเพลิงพระศพแล้วก็จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญพระอัฐิประดิษฐานไว้ ณ หอพระนาก (ซึ่งจะเล่าให้ฟังต่อไป)

              สรุปแล้วในต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ รัชกาลที่ 1 – 3 จะมีที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิ และหอพระอัฐิอยู่สองแห่ง คือ หอพระธาตุมณเฑียร กับ หอพระนาก 

หอพระธาตุมณเฑียร

หอพระธาตุมณเฑียร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของพระที่นั่งไพศาลทักษิณ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานพระบรมอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมชนก คู่กับหอพระสุลาลัยพิมานทางทิศตะวันออก ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและพระพุทธรูปสำคัญต่างๆ แห่งสมเด็จพระมากษัตริยาธิราชเจ้า

                                                                                     

รูปที่ 3 พระวิมานพระบรมอัฐิ หอพระธาตุมณเฑียร 

รูปที่ 4 ภายในหอพระธาตุมณเฑียร ที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิ อีกมุมหนึ่ง

รูปที่ 5 พระวิมานประดิษฐานพระบรมอัฐิ           

ปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระบรมอัฐิและพระอัฐิจากหอพระธาตุมณเฑียร และจากพระวิมาน พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เพื่อประกอบการพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลและสรงน้ำพระบรมอัฐิ พระอัฐิ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหสูรยพิมานในการพระราชพิธีสงกรานต์ของทุกปี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทขึ้น  โดยพระที่นั่งองค์นี้เป็นสถาปัตยกรรมผสมผสานองค์พระที่นั่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบยุโรป สมัยสมเด็จพระบรมราชินีนาถวิตอเรียก หลังคาเป็นยอดปราสาทในแบบสถาปัตยกรรมไทย 3 ยอดเรียงกัน และทรงจัดให้มีหอพระบรมอัฐิตามคติไทยโบราณ โดยชั้นบนภายใต้ยอดปราสาทองค์กลางทรงจัดให้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิสมเด็จพระบรมราชบุพการี และชั้นบนภายใต้ยอดปราสาททางด้านตะวันตกเป็นที่ประดิษฐานพระอัฐิพระประยูรญาติที่ทรงสูงศักดิ์ และมีความใกล้ชิดกับองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมกล้าเจ้าอยู่หัว และโปรดให้อัญเชิญ พระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 กับพระบรมอัฐิสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตรย์ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 4 จากหอพระธาตุมณเฑียร มาประดิษฐานในพระที่นั่งดังกล่าวเป็นต้นมาปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระบรมอัฐิและพระอัฐิจากหอพระธาตุมณเฑียร และจากพระวิมาน พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เพื่อประกอบการพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลและสรงน้ำพระบรมอัฐิ พระอัฐิ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหสูรยพิมานในการพระราชพิธีสงกรานต์ของทุกปี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทขึ้น  โดยพระที่นั่งองค์นี้เป็นสถาปัตยกรรมผสมผสานองค์พระที่นั่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบยุโรป สมัยสมเด็จพระบรมราชินีนาถวิตอเรียก หลังคาเป็นยอดปราสาทในแบบสถาปัตยกรรมไทย 3 ยอดเรียงกัน และทรงจัดให้มีหอพระบรมอัฐิตามคติไทยโบราณ โดยชั้นบนภายใต้ยอดปราสาทองค์กลางทรงจัดให้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิสมเด็จพระบรมราชบุพการี และชั้นบนภายใต้ยอดปราสาททางด้านตะวันตกเป็นที่ประดิษฐานพระอัฐิพระประยูรญาติที่ทรงสูงศักดิ์ และมีความใกล้ชิดกับองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมกล้าเจ้าอยู่หัว และโปรดให้อัญเชิญ พระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 กับพระบรมอัฐิสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตรย์ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 4 จากหอพระธาตุมณเฑียร มาประดิษฐานในพระที่นั่งดังกล่าวเป็นต้นมา

ความงดงามด้านศิลปกรรมภายในหอพระธาตุมณเฑียร

รูปที่ 6 ผนังด้านในหอพระธาตุมณเฑียร

รูปที่ 7 ซุ้มทรงอย่างเทศที่พระบัญชร

รูปที่ 8  พระทวารภายในหอพระธาตุมณเฑียร

รูปที่ 9  ลายเพดานภายในหอพระธาตุมณเฑียร

รูปที่ 10  ภาพวาดป่าหิมพานต์ภายในหอพระธาตุมณเฑียร

 

 




Create Date : 17 เมษายน 2555
Last Update : 17 เมษายน 2555 17:13:40 น. 0 comments
Counter : 8024 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

nuttavong
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




Blog รักสยาม : เกิดขึ้นจากผู้เขียนเป็นนักอ่านและมีความหลงไหลในเสน่ห์ของหนังสือเก่า ที่บอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาในอดีตตลอดจนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของบรรพบุรุษของเรา ที่ได้บันทึกเรื่องราวต่างๆ ผ่านตัวอักษร และทุก ๆ ตัวอักษรได้บอกเล่าเรื่องราวของสยามบ้านเมืองของเราเมื่อครั้งอดีต และมีความเชื่อว่า "อดีตคือรากฐานของปัจจุบัน" หนังสือเก่าจึงเต็มไปด้วยคุณค่าและความหมายแตกต่างกันไป เมื่อเกิดชำรุดเสียหายมีหลายคนไม่เห็นคุณค่าปล่อยให้เสื่อมสลายไปตามกาลเวลาเป็นเรื่องที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากปล่อยให้เป็นอย่างนั้น ลูกหลานของเราในวันข้างหน้าอาจลืมเลือนความเป็นชาติของเรา และอาจหลงลืมความดีงามของบรรพบุรุษที่ได้สร้างรากฐานที่มั่นคงไว้

ผู้เขียนยอมรับว่าการเขียนบทความ ณ ที่นี้ได้เรียบเรียงจากหนังสือเก่าอันทรงคุณค่าหลายเล่ม ด้วยภูมิรู้ของตนเองเท่าที่มีอยู่น้อยนิด หากผิดพลาดประการใด
ผู้เขียนขอน้อมรับคำแนะนำจากท่านผู้รู้ทั้งหลายด้วยความยินดี และหากท่านจะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการต่อยอดความรู้ก็จะเป็นประโยชน์สืบต่อไปในภายหน้า
Friends' blogs
[Add nuttavong's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.