Group Blog
 
All blogs
 
เนื้องอกมดลูก

เนื้องอกมดลูก เป็นก้อนเนื้อผิดปกติของกล้ามเนื้อเรียบของมดลูกที่เกิดขึ้นที่ตัวมดลูกเป็นส่วนใหญ่ และบางครั้งอาจพบที่ปากมดลูกได้ เนื้องอกชนิดนี้จัดเป็นเนื้องอกที่พบได้บ่อยที่สุดในเนื้องอกชนิดไม่ใช่มะเร็งของอวัยวะสืบพันธ์สตรี ประมาณว่าสตรีที่อายุระหว่าง 30- 40 ปี จะมีหนึ่งในสี่ถึงห้ารายที่เป็นเนื้องอกชนิดนี้ และเนื้องอกชนิดนี้จัดเป็นโรคที่ทำให้ผู้ป่วยสตรีต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลได้บ่อยที่สุดโรคหนึ่ง ดังในบทความต่อไปนี้ที่จะขอกล่าวถึงโรคนี้
เพื่อให้เข้ากับจุดประสงค์ของวิชัยยุทธจุลสารฉบับนี้ที่ต้องการให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องผู้ป่วยที่ต้องรับการรักษาในโรงพยาบาล

อะไรเป็นสาเหตุของเนื้องอกมดลูก?
สาเหตุที่แท้จริงของการเกิดเนื้องอกมดลูกนั้นก็เช่นเดียวกับการเกิดของเนื้องอกทั้งหลาย คือยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง แต่มีหลักฐานสนับสนุนค่อนข้างชัดเจนว่า ฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิงเป็นตัวการสำคัญที่กระตุ้นให้เนื้องอกชนิดนี้โตขึ้นตัวอย่างเช่นในสตรีตั้งครรภ์ที่มีฮอร์โมนนี้เพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติ จะพบเนื้องอกชนิดนี้มีขนาดโตขึ้น และในทางตรงกันข้ามที่ในหญิงวัยหมดระดูที่มีฮอร์โมนชนิดนี้ลดลง ก้อนเนื้องอกจะมีขนาดลดลง นอกเหนือจากฮอร์โมนเอสโตเจนแล้ว ปัจจัยทางพันธุกรรมก็มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน โดยจะพบเนื้องอกชนิดนี้บ่อยขึ้นในสตรีที่มีประวัติคุณแม่ คุณยาย และพี่น้องเป็นเนื้องอกมดลูก ผู้เขียนเองก็เคยให้การรักษาเนื้องอกมดลูกให้ตั้งแต่คุณแม่ และพี่น้องสามคนในครอบครัวเดียวกันจากการศึกษาในสหรัฐอเมริกา พบว่าสตรีผิวดำมีโอกาสเป็นเนื้องอกชนิดนี้มากกว่าสตรีผิวขาว

เนื้องอกมดลูกมีกี่ชนิด?
ดังที่กล่าวแล้วเนื้องอกมดลูกพบได้ทั้งที่ส่วนปากมดลูกและที่ตัวมดลูก โดยส่วนใหญ่จะพบที่ตัวมดลูกดังกล่าวข้างต้น และในส่วนที่เป็นที่ตัวมดลูกนี้ จะพบ 3ชนิด คือ ชนิดที่อยู่ที่ผนังด้านนอกของตัวมดลูก (subserousmyoma) ชนิดที่เกิดในตัวกล้ามเนื้อมดลูก(intramural type) และชนิดทีเบียดเข้าไปในโพรง มดลูก(submucous type) โดยจะพบแต่ละชนิดคิดเป็นร้อยละ55, 40 และ 5 ของเนื้องอกมดลูกที่เป็นที่ตัวมดลูก

ผู้เป็นเนื้องอกมดลูก จะมีอาการอะไรบ้าง?
ผู้ป่วยที่เป็นเนื้องอกมดลูกประมาณหนึ่งในสามรายอาจจะไม่มีอาการอะไรเลย แต่ในกลุ่มที่มีอาการมักจะมาพบแพทย์โดยอาการ 3 ประการ ได้แก่

อาการรอบระดูมาผิดปกติ
มักจะมีจำนวนมากขึ้นหรือมีเลือดออกยาวนานขึ้น มักเป็นผลจากการที่เนื้องอก
มดลูกโตขึ้นไปเบียดโพรงมดลูก หรือรบกวนการห้ามเลือดที่ออกในระหว่างมีรอบระดู

อาการประการที่สอง คือ
อาการที่เป็นผลจากก้อนเนื้อที่โตขึ้นไปกดเบียดอวัยวะใกล้เคียง เช่น ลำไส้ใหญ่ กระเพาะปัสสาวะทำให้มีอาการท้องผูกเรื้อรัง หรือกระเพาะปัสสาวะอักเสบบ่อยๆ เป็นต้น หรือในบางรายอาจจะรู้สึกมีท้องโตขึ้นจนอึดอัดและคลำพบก้อนเนื้อนี้ได้เอง

อาการประการที่สาม
ที่พบได้คืออาการปวดท้องที่ตำแหน่งของก้อนเนื้องอก ซึ่งมักจะพบในระหว่างตั้งครรภ์ที่มีภาวะเลือดไปเลี้ยงก้อนเนื้องอกเพิ่มขึ้นมากหรือจะพบได้เช่นกันในรายที่เป็นเนื้องอกมดลูกที่มีก้าน และก้านบิดและในบางรายที่เนื้องอกนี้กลายเป็นเนื้อร้าย

การมีเนื้องอกมดลูกทำให้มีบุตรยากได้หรือไม่?
เนื้องอกมดลูกโดยเฉพาะชนิดที่เบียดโพรงมดลูกอาจจะเป็นสาเหตุของการมีบุตรยากได้ เนื่องจากมีการรบกวนต่อเยื่อบุมดลูกซึ่งจะเป็นส่วนที่ตัวอ่อนฝังตัวหรือการที่เนื้องอกมดลูกไปอยู่ในตำแหน่งที่กดเบียดท่อนำไข่ ทำให้รบกวนการเดินทางของตัวอสุจิหรือไข่ แต่โดยทั่วไปเนื้องอกมดลูกเป็นสาเหตุของการมีบุตรยากเพียงร้อยละ 2-3 ของผู้ป่วยที่มีบุตรยากเท่านั้น ดังนั้นก่อนที่จะตัดสินว่าเนื้องอกมดลูกเป็นสาเหตุของการมีบุตรยาก จะต้องตรวจหาสาเหตุอื่นๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของการมีบุตรยากออกไปให้หมดเสียก่อน

การมีเนื้องอกมดลูกทำให้แท้งบุตรได้ง่ายขึ้นหรือไม่?
ผู้ป่วยที่มีเนื้องอกมดลูกและตั้งครรภ์จะพบว่ามีโอกาสแท้งบุตรและคลอดก่อนกำหนดได้สูงกว่าคนปกติโดยเหตุผลเช่นเดียวกับการทำให้มีบุตรยากแต่ถ้าทำผ่าตัดเอาเนื้องอกออกไปในผู้ป่วยที่มีประวัติเช่นนี้ และมีการแท้งซํ้าบ่อยครั้ง จะลดโอกาสดังกล่าวลงได้มาก

เนื้องอกมดลูกชนิดนี้จะกลายเป็นมะเร็งได้หรือไม่?
มีโอกาสเกิดได้น้อย จากการศึกษาทางสถิติพบว่ามีโอกาสได้เพียง 1 ใน 10,000 ของผู้ป่วยที่เป็นเนื้องอกมดลูก อาการที่ทำให้น่าสงสัยที่จะเป็นเช่นนี้คืออาการที่เนื้องอกโตเร็ว มีอาการปวดที่ก้อน โดยเฉพาะในรายที่อายุมากและหมดระดูไปแล้วเเพทย์จะวินิจฉัยเนื้องอกมดลูกได้อย่างไร?

ในปัจจุบันนอกเหนือไปจากการซักประวัติตรวจร่างกายแล้ว เพื่อให้สามารถทำการวินิจฉัยได้แม่นยำแน่นอนขึ้น แพทย์อาจทำการตรวจเพิ่มเติมให้เห็นอวัยวะในอุ้งเชิงกรานชัดเจนขึ้นด้วยเครื่องมือพิเศษ เช่น การใช้เครื่องอัลตราซาวด์นโดยสามารถตรวจผ่านทางหน้าท้องซึ่งต้องกลั้นปัสสาวะให้มีปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะเพียงพอก่อนตรวจหรือผ่านทางช่องคลอดซึ่งคล้ายคลึงกับการตรวจภายในทั่วไป ก็จะช่วยยืนยันการวินิจฉัยได้ดีขึ้น และจะช่วยประกอบในการวางแผน
การรักษาให้ผู้ป่วยด้วย สำหรับการตรวจด้วยการส่องกล้องในช่องท้องหรือในโพรงมดลูก ( Laparoscopyหรือ Hysteroscopy ) นั้น อาจจะทำในบางรายที่จำเป็นซึ่งจะขึ้นอยุ่กับดุลยพินิจของแพทย์เป็นรายๆไป

การรักษาเนื้องอกมดลูกทำได้อย่างไรบ้าง?
การรักษาเนื้องอกมดลูกอาจทำได้หลายวิธี
กล่าวคือ
1. การรักษาโดยการติดตามการเปลี่ยนแปลง
ของเนื้องอกเป็นระยะ มักจะทำในรายที่เนื้องอกขนาดไม่โตมากจนทำให้เกิดอาการกดเบียดต่ออวัยวะข้างเคียงดังกล่าวแล้วข้างต้น ในรายที่ใกล้หมดระดูที่ก้อนเนื้อจะมีโอกาสเล็กลงเอง เป็นต้น โดยปกติแพทย์มักจะนัดมาตรวจติดตามเป็นระยะเช่นนี้ทุก 3-6 เดือน
2. การรักษาโดยการผ่าตัด อาจจะเป็นการตัด
เอาเฉพาะก้อนเนื้องอกออก (Myomectomy) หรือตัดมดลูกออกทั้งหมด (Hysterectomy) ซึ่งจะเลือกชนิดการผ่าตัดแบบใดนั้น มักจะต้องคำนึงถึง ขนาด ตำแหน่งจำนวนของเนื้องอกมดลูก ตลอดจนความต้องการมีบุตรของผู้ป่วยมาประกอบการพิจารณา ในปัจจุบันเราสามารถทำผ่าตัดทั้งสองชนิดนี้ได้หลากหลายวิธี ทั้งโดยการผ่าตัดเปิดหน้าท้องโดยวิธีปกติ (Abdominalmyomectomy or hysterectomy) หรือ ทำผ่าตัดผ่าน
ทางกล้องส่องทางหน้าท้อง (Laparoscopic myomectomyor hysterectomy ) หรือผ่าตัดเฉพาะเนื้องอกโดยกล้องส่องผ่านทางโพรงมดลูก ( Hysteroscopicmyomectomy) ซึ่งในแต่ละวิธีต่างมีข้อเด่นข้อด้อยอยู่ทั้งสิ้น ผู้ป่วยควรจะปรึกษารายละเอียดจากแพทย์ให้เข้าใจก่อนการผ่าตัด
3. การรักษาโดยการใช้ยา ปัจจุบันมียากลุ่มที่
เรียกว่า GnRh analogue ซึ่งออกฤทธิ์ไม่ให้รังไข่ผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน จึงทำให้เนื้องอกมดลูกมีขนาดเล็กลงได้ มีการนำยานี้มาใช้ในรายที่ต้องการลดขนาด
เนื้องอกก่อนทำผ่าตัดเพื่อให้ผ่าตัดได้ง่ายขึ้น หรือในรายที่มีภาวะโลหิตจางจากมีระดูออกมากที่เป็นผลจากการมีเนื้องอกมดลูกอยู่ การใช้ยานี้ร่วมกับการให้ยาธาตุเหล็ก จะช่วยรักษาภาวะนี้ได้เร็วขึ้น แต่การใช้ยานี้จะให้ได้ในระยะเวลาจำกัด เนื่องจากจะทำให้เกิดภาวะกระดูกบางลงได้ ยกเว้นจะต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษตลอดจนราคายาค่อนข้างแพง และเมื่อหยุดยาแล้ว
เนื้องอกมดลูกจะกลับมามีขนาดโตเท่าเดิมอีกภายในหนึ่งปี ดังนั้นจะต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนที่จะใช้ยานี้
4. การรักษาโดยการฉีดสารพิเศษ ( มักจะเป็น
เม็ดพลาสติกพิเศษขนาดเล็ก) เข้าไปอุดหลอดเลือดที่เลี้ยงมดลูก (uterine artery embolization ชื่อย่อ UAE)เป็นวิธีใหม่ที่นำมาใช้ทางนรีเวชวิทยา ทำได้โดยรังสีแพทย์จะเป็นผู้ใส่สายสวนหลอดเลือด (โดยมักจะใส่ผ่านจากเส้นเลือดแดงที่ต้นขาผู้ป่วย) เข้าไปยังหลอดเลือดที่เลี้ยงมดลูกโดยดูปลายสายสวนว่าอยู่ในตำแหน่งที่ต้องการด้วยเครื่องตรวจรังสี และฉีดสารพิเศษนี้เข้าไปอุดหลอดเลือดที่เลี้ยงมดลูก ทำให้เลือดไปเลี้ยงมดลูกลดลง และโดยที่เนื้องอกมดลูกจะมีเลือดไปเลี้ยงน้อยกว่ากล้ามเนื้อมดลูกปกติ ทำให้เซลล์พวกนี้เกิดภาวะขาดเลือดเลี้ยงได้ง่าย เซลล์ของเนื้องอกมดลูกก็จะตายและยุบขนาดลงเห็นได้ใน 3-6 เดือน แต่เซลล์ปกตินอกจากมีเลือดเลี้ยงมากกว่าแล้ว ยังจะทนต่อภาวะการขาดเลือดได้ดีกว่าเซลล์เนื้องอก ทำให้เซลล์มดลูกปกติไม่ตายตามไปด้วย วิธีการนี้ยังเป็นวิธีใหม่สำหรับการรักษาเนื้องอกมดลูก แม้ผลที่ได้ในระยะแรกเป็นที่น่าพอใจ แต่คงจะต้องมีการศึกษาและติดตามผลกันอย่างระมัดระวัง ก่อนที่จะจัดให้เป็นการรักษามาตรฐานของเนื้องอกมดลูกต่อไปเนื้องอกมดลูก เป็นเนื้องอกของกล้ามเนื้อมดลูกที่พบบ่อยที่สุดในสตรีวัยเจริญพันธุ์ ผู้ป่วยอาจจะไม่มีอาการอะไรเลย ไปจนถึงมีอาการปวดท้องน้อย เลือดออกผิดปกติ อุจจาระผูกเรื้อรัง กระเพาะปัสสาวะอักเสบบ่อยๆ แท้งบุตร หรือมีบุตรยาก แต่ก็เป็นโชคดีอยู่ที่เนื้องอกชนิดนี้จะกลายเป็นมะเร็งได้น้อยถ้าท่านได้รับการตรวจพบว่าเป็นเนื้องอกมดลูกอย่าตกใจจนเกินเหตุ ขอให้ปรึกษาแพทย์ผู้ให้การดูแลรักษาท่าน
ถึงแนวทางการรักษาที่เหมาะสมสำหรับท่านต่อไป

ที่มา //www.vichaiyut.co.th



Create Date : 20 กรกฎาคม 2552
Last Update : 20 กรกฎาคม 2552 11:40:00 น. 0 comments
Counter : 678 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

++Love Shuffle++
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Daisypath Anniversary tickers
Friends' blogs
[Add ++Love Shuffle++'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.