Group Blog
 
All blogs
 
AHA & BHA สารนี้วิเศษแค่ไหน

AHA & BHA สารนี้วิเศษแค่ไหน (มูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค)

สารเคมีกลุ่ม "'เอเอชเอ" (AHA) และ "บีเอชเอ" (BHA) หรือเรียกชื่อเต็มโดยทั่วไปว่า แอลฟ่าไฮดรอกซี่แอซิด (alpha-hydroxy acid) ได้รับความนิยมนำมาผสมในเครื่องสำอางบำรุงผิวตั้งแต่ปี พ.ศ.2533 เป็นต้นมา จวบจนถึงปัจจุบัน

สารทั้งสองนี้มีผสมอยู่ในเครื่องสำอางสารพัดรูปแบบ เช่น ครีมหน้าขาว ครีมลดริ้วรอย ครีมพอกและลอกหน้า รวมทั้งผสมในแชมพูสระผม สบู่อาบน้ำ และอื่นๆ มีทั้งชนิดที่เป็นเคมีสังเคราะห์ และชนิดที่สกัดได้จากผลไม้ เช่น มะขามป้อม แอปเปิ้ล ส้ม สาลี่ ฝรั่ง อ้อย ฯลฯ มีรายงานว่า ในปี พ.ศ.2543 ยอดจำหน่ายของเครื่องสำอางที่ผสมสารดังกล่าวในประเทศสหรัฐอเมริกานั้นสูงถึง 6 ล้านล้านเหรียญ

กลไกการออกฤทธิ์ของสารทั้งสองชนิดคล้ายคลึงกันคือ เร่งการหลุดลอกของเซลผิวเก่าที่ตายแล้วหรือเสื่อมสภาพแล้วให้ออกจากผิวหน้า เพื่อให้ผิวหนังสร้างเซลผิวใหม่ ทำให้ผิวหน้าแลดูขาว เนียน และสดใสขึ้น ผิวหนังใหม่จะหนาขึ้นทำให้ริ้วรอยแลดูจางลง สารทั้งสองชนิดสามารถแทรกซึมเข้าสู่ผิวหน้าในชั้นที่ลึกลงไปได้ดี ทำให้มีการนำมาใช้ในเครื่องสำอางแก้สิวเสี้ยน เนื่องจากกลไกการหลุดลอกหัวสิว ทำให้รูขุมขนเปิดกว้าง การชะล้างสิ่งสกปรกทำได้ง่ายขึ้น

ประสิทธิภาพของเครื่องสำอางเหล่านี้จะขึ้นอยู่กับความเข้มข้นและพีเอช หรือความเป็นกรดด่างของผลิตภัณฑ์ จะได้ผลดีถ้าผลิตภัณฑ์มี พีเอช ระหว่าง 3.0-3.5 หากมีความเข้มข้นสูงเกินไป จะทำให้ผู้ใช้เกิดอาการแพ้ ผิวไหม้ อักเสบ แสบ คัน และระคายเคือง แต่ถ้าผลิตภัณฑ์มีพีเอชสูงกว่าที่กำหนด ประสิทธิภาพจะต่ำหรือไม่ได้ผลเลย เนื่องจากสารทั้งสองชนิดมีคุณสมบัติสามารถแทรกซึมเข้าสู่ผิวหนังชั้นที่ลึก ลงไปได้ดี เมื่อใช้ไปนานๆ หรือใช้ประจำ การสะสมใต้ผิวหนังจะก่อให้เกิดอาการแพ้โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีรายงานการวิจัย ทางการแพทย์แล้วว่า จะทำให้ผิวหนังไวต่อรังสีดวงอาทิตย์ ผิวหนังอาจไหม้ เป็นผื่น อักเสบ

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกาจึงได้ออกคำเตือนเมื่อ วันที่ 10 มกราคม พ.ศ.2548 ว่าผู้ที่ใช้เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสาร AHA และ BHA จำเป็นต้องทาครีมกันแดดทับแทบทุกครั้ง และเมื่อหยุดใช้ ยังต้องทาครีมกันแดดต่ออย่างน้อยอีก 1 สัปดาห์ เพื่อป้องกันผิวหน้าจากรังสีดวงอาทิตย์ อย่างไรก็ตามหากมีการนำเครื่องสำอางกลุ่มนี้ไปทาบริเวณผิวหนังที่ไม่ได้รับ รังสีดวงอาทิตย์ หรือบริเวณปกปิดของร่างกาย ก็ไม่จำเป็นต้องทาครีมกันแดดทับ

มีรายงานการวิจัยที่น่าสนใจที่พบว่า ผู้ที่ใช้เครื่องสำอางผสม AHA และ BHA เป็นประจำเป็นเวลานาน เพื่อหวังผลไม่ให้ผิวหน้าเหี่ยวย่น หรือหน้าขาว อาจจะส่งผลในทางตรงกันข้าม เพราะธรรมชาติของผิวหนังที่ได้รับการกระตุ้นบ่อยเกินไปเป็นประจำ จะทำให้เซลผิวชะงักและชะลอการสร้างเซลใหม่ เช่นเดียวกับต้นไม้ที่ชะงักการเจริญเติบโตจะไม่ผลิใบใหม่ หรือผลิลดลงอย่างผิดปกติ นอกจากนั้นยังมีรายงานวิจัยว่า สารทั้งสองกลุ่มไม่เหมาะสำหรับใช้กับผิวหนัง คนเอเชียและคนผิวคล้ำดำ เพราะอาจทำให้ผิวเกิดรอยด่างดำ ความไม่สม่ำเสมอของสีผิวหน้าได้





แหล่งที่มา kapook.com





Create Date : 11 มกราคม 2553
Last Update : 11 มกราคม 2553 1:54:23 น. 2 comments
Counter : 430 Pageviews.

 
ขอบคุณค่ะ ได้ความรู้ดีๆกลับไป


โดย: Moon~JulY วันที่: 11 มกราคม 2553 เวลา:6:46:34 น.  

 
ขอบคุณ ประโยชน์ แท้ ค่า


โดย: ใต้แสงจันทร์มีเพียงเราสอง วันที่: 13 มกราคม 2553 เวลา:13:31:49 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Kanphicha
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ที่มาของคำว่า Kefir By รัญรักษ์
ไม่ใช่ชื่อยี่ห้อ ไม่ใช่เครื่องหมายการค้า
แต่เป็นชื่อพ่อและแม่ของกานต์เองค่ะ
เมื่อกานต์ทำบุญครั้งใด ก็จะยกกุศลทั้งหมดให้พ่อและแม่
การแจกจ่ายบัวหิมะให้คนอื่นๆ
ถือเป็นการทำบุญอีกคร้งหนึ่ง
กานต์ขอยกกุศลผลบุญทั้งหมดให้บุพการีที่เป็นที่รักของกานต์ทั้งสองท่าน โดยการตั้งชื่อท่านทั้งสองในการแจกจ่าย Kefir นะคะ
free counters
Friends' blogs
[Add Kanphicha's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.