Group Blog
 
All Blogs
 
เมื่อฉันเรียนรู้ที่จะมีชีวิตใหม่อีกครั้ง 

loadaraiChocolate PopcornChocolate Covered Coffee BeansSwiss Miss Hot ChocolateGuittard ChocolateChocolate TastingBacon ChocolateBest Hot ChocolateEuropean ChocolateChocolate SuppliesHot Chocolate GiftOrganic Dark ChocolateWhite Chocolate ChipsPave ChocolateChocolate GingerHandmade ChocolatesThe Chocolate TouchBest Chocolate Cookie RecipeChocolate Cherry CakeGhirardelli Chocolate SquaresCorporate ChocolateChocolate DeliveryGourmet ChocolatesChocolate Dipped StrawberriesValentine ChocolateChocolate RosesChocolate LollipopsChocolate Gold CoinsHot Chocolate MachineDagoba ChocolateChocolate TurtlesChocolate Covered AlmondsBounty ChocolateLiquor Filled ChocolateDark Chocolate BenefitsQuality ChocolateChocolate CardsChocolate ShellsRitter ChocolateLindt Chocolate TrufflesChocolate SprinklesDark Chocolate CandyChocolate Espresso BeansChocolate Peppermint BarkLindt Dark ChocolateChocolate PoodleChocolate SalesWhite Chocolate TrufflesHershey Chocolate BarsAssorted ChocolatesDove Dark Chocolate


เมื่อฉันเรียนรู้ที่จะมีชีวิตใหม่อีกครั้ง


     หลายครั้งที่คุณรู้สึกว่าชีวิตมืดมน ดำดิ่งลงสู่ห้วงทุกข์ วันและคืนผ่านไปอย่างเชื่องช้าราวกับไม่มีวันสิ้น สุด แต่ถ้าคุณยังคงยืนหยัดและอดทนเดินฝ่ามรสุมร้าย คุณอาจได้พบกับวันที่สดใสยิ่งกว่า เช่นเดียวกับบุคคลต่อไปนี้ที่เชื่อว่า "วันใหม่" นั้นมีอยู่จริง


     ถ้าพูดไม่ได้...ผมขอตายดีกว่า


     "พ่อ...ทำไมพ่อไม่พูดล่ะ"


     เสียงเจื้อยแจ้วของลูกชายวัยกำลังช่างพูดเอ่ยถามซ้ำแล้วซ้ำเล่า แม้จะเป็นน้ำเสียงของความไม่เดียงสา หากก็เป็นดั่งคมมีดที่กรีดเฉือนหัวใจให้แหว่งวิ่นยิ่งขึ้น


     คุณการุณ ตระกูลเผด็จไกร นายกสมาคมผู้ไร้กล่องเสียงแห่งประเทศไทย รื้อฟื้นความหลังอันขมขื่นด้วยแววตาหม่นเศร้า พลางเปิดผ้าพันคอให้ดูร่องรอยของการผ่าตัดมะเร็งกล่องเสียงที่เหลือไว้เพียงรูเล็กๆที่คอ

   เขาบอกว่า "รูนี้เป็นเหมือนชีวิตใหม่ หากมีใครสักคนมาแกล้งเอาอะไรมาปิดไว้ ไอ หรือสำลักแรงๆ ผมก็ตายได้แล้ว"

     คุณการุณในวัยเยาว์ก็คงเป็นเหมือนเด็กหนุ่มทั่วไปที่คิดว่าการสูบบุหรี่เป็นกิจกรรมโก้เก๋ จึงสนุกกับการเป็นสิงห์อมควันตั้งแต่อายุเพียง 18 ปี จากคราวละหนึ่งมวนพัฒนาจนถึงวันละสองซอง
    
     "ช่วงนั้นผมเริ่มบุกเบิกการทำนิตยสารและเป็นบรรณาธิการบริหาร รวมทั้งเขียนส่งให้กับเล่มอื่นๆ อีกประมาณ 7-8 เล่ม เลยค่อนข้างสูบบุหรี่จัด เริ่มเขียน 3 ทุ่ม เสร็จตีสองตีสาม บางทีถึงสว่าง ทำให้ร่างกายไม่ค่อยแข็งแรง"


     สัญญาณร้ายอย่างแรก คือเสียงของคุณการรุณค่อยๆแหบลง ซึ่งแพทย์แนะนำในเบื้องต้นให้เลิกสูบบุหรี่ แต่เขาไม่สามารถทำได้ อาการจึงยิ่งทรุดลง กว่าจะพูดได้แต่ละคำต้องงอตัวเบ่งลมจากช่องท้องแต่เสียงก็ยังเบาเพียงเสียงกระซิบ เมื่อกลับไปตรวจร่างกายอีกครั้ง คุณการุณพบว่าตนเองกลายมะเร็งกล่องเสียงไปเสียแล้ว


     "วันที่ผ่าตัด ยอมรับว่ากลัวมาก แต่คิดว่าคงเป็นการผ่าตัดธรรมดาๆ เพราะหมอพูดเพียงว่า 'ไม่ต้องห่วงนะ ผ่าตัดแล้วคุณจะพูดได้อีกครั้ง'


     "ผมฟื้นขึ้นมา จะพูดก็พูดไม่ออกเพราะเจ็บแผล อยากได้อะไรจากใครต้องเขียนใส่กระดาษ ถ้าอารมณ์ดีก็เขียนสวย แต่ถ้าอารมณ์ไม่ดีก็เขียนชุ่ยๆ ภรรยาอ่านไม่ออกก็โกรธ จากคนที่เคยอารมณ์ดีผมกลายเป็นคนอารมณ์แปรปรวน และได้รู้ว่าสิ่งที่หมอบอกหมายถึงการฝึกพูดด้วยหลอดอาหาร ถ้าผมรู้ว่าผ่าตัดแล้วต้องกลายเป็นคนใบ้ที่พูดไม่ได้ ผมขอตายดีกว่า"


"ช่วงนั้นมีเพื่อนนักเขียนคนหนึ่งให้กำลังใจว่า 'อดทนหน่อยนะ' น้ำตาผมไหลพราก สะอื้นตัวโยน น้ำมูกไหลเต็มไปหมด แต่ก็ไม่มีเสียง มันเป็นช่วงเวลาที่รู้สึกว่าทำไมชีวิตเราเลวร้ายได้ถึงขนาดนี้"


แม้ทำใจยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้ แต่คุณการุณก็ยินดีเข้ารับการฝึกพูดร่วมกับนักแก้ไขการพูด(speak therapy) สัปดาห์ละหนึ่งครั้ง ด้วยเชื่อว่าเป็นสิ่งเดียวที่จะทำให้เขากลับมาใช้ชีวิตและสื่อสารกับผู้คนได้อีกครั้ง
 
"คุณลองคิดดูนะ ปกติคนเราพูดแทบทุกนาที แต่นี่เป็นเดือนๆแล้วผมยังเปล่งเสียงไม่ได้ เวลาลูกมาเล่น มาชวนคุยผมก็ทำอะไรไม่ได้ ต้องแอบร้องไห้ทุกครั้งที่ลูกถามว่า 'ทำไมพ่อไม่พูด' "


คุณการุณตัดสินใจซื้อปืนมากระบอกหนึ่ง คิดว่าตายเสียคงจะดีกว่า แต่บังเอิญลูกชายเดินเตาะแตะเรียกพ่อๆ เขาจึงฉุกคิดว่าถ้าตายไปจริงๆ ลูกจะอยู่และเติบโตกันอย่างไร เขาจึงหันไปฝึกพูดอย่างจริงจัง


เหมือนเป็นโชค เวลานั้นรัฐบาลญี่ปุ่นเสนอทุนสำหรับการฝึกพูดที่ประเทศญี่ปุ่น เขาจึงไปเรียนจนมีพัฒนาการรุดหน้าอย่างเห็นได้ชัด จากที่พูดได้ 2 คำก็เริ่มพูดได้ดีขึ้น ทั้งยังสามารถกลับมาร้องเพลงได้อีกครั้ง เขาเริ่มนึกถึงเพื่อนคนอื่นๆที่ประสบเคราะห์กรรมเดียวกัน ด้วยเข้าใจความรู้สึกทุกข์ทรมานที่ถูกตัดขาดออกจากโลกภายนอกเป็นอย่างดี จึงร่วมกับโรงพยาบาลศิริราชก่อตั้งสมาคมผู้ไร้กล่องเสียงแห่งประเทศไทยขึ้น รวมทั้งอุทิศตนรณรงค์เพื่อการไม่สูบุหรี่ เพื่อให้กำลังผู้ไร้กล่องเสียงว่า  " สิ่งดีๆย่อมเกิดขึ้นได้ถ้าหากเราตั้งใจจริง"


     เกิดใหม่จากความพิการ


     "ความฝันที่จะได้เป็นหมอของหนูเข้าใกล้มาทุกที"


     คำพูดของที่น้องอิ๋ว-นิภาดา แสนสุภา เด็กน้อยวัย 15 ปี ที่หวังจะทำให้เป็นจริงหลังเรียนจบมัธยมปลาย แต่วันหนึ่งชณะขี่มอเตอร์ไซค์บนทางขรุขระที่บ้านต่างจังหวัด  พอถึงทางโค้งหักศอก รถก็หลุดโค้ง คนที่เห็นเหตุการณ์บอกว่าเพื่อนที่ซ้อนท้ายกระเด็นข้ามหัวไปข้างหน้า ส่วนน้องอิ๋วถูกรถทับขา


     นิภาดาถูกส่งไปยังสถานีอนามัยใกล้ที่เกิดเหตุ ซึ่งจัดการเพียงดึงเข่าให้เข้าที่ แต่เมื่อกลับไปรักษาตัวที่บ้านแผลกลับเริ่มบวมขึ้น จึงต้องไปโรงพยาบาลอีกครั้ง หมอสันนิษฐานว่าเอ็นขาด และแนะนำให้ผ่าตัดอย่างเร่งด่วน


     "หนูไม่รู้ว่าผลการผ่าตัดเป็นยังไงบ้าง รู้แต่ว่าเจ็บแผลมาก ถูกกรีดตั้งแต่ใต้ขาพับจนถึงข้อเท้า ทุกครั้งที่ล้างแผล หนูต้องเอาผ้าเช็ดหน้าใส่ปากไว้ ไม่ให้ร้องออกมา ต้องล้างให้แผลแห้งและเหลือเล็กที่สุด แต่มันไม่ดีขึ้นเลย กระดิกนิ้วเท้าก็ไม่ได้ จนต้องผ่าตัดแต่งแผลใหม่ เป็นอย่างนี้อยู่ประมาณ 7-8 ครั้ง "


     ครั้งหนึ่งเธอเคยถูกทักถามหากต้องตัดขา แต่เธอแอบหวังว่าเหตุการณ์อาจไม่รุนแรงถึงขั้นนั้น จนวันที่คุณหมอเดินมาบอกว่า แผลมีปัญหาคงต้องตัดขาบางส่วนออก เพราะถ้าปล่อยไว้มันอาจลุกลามกว่านี้

     "วินาทีนั้นหนูรับไม่ได้ พูดอะไรไม่ออก ไม่เคยมีความคิดว่าเราต้องเป็นคนพิการ"


     แม้จะพยายามหาทางเลือกอื่นๆ แต่ทุกอย่างก็มืดมน กระทั่งอาการช็อคจากพิษบาดแผลทำให้เธอตัดใจยินยอม


     "วินาทีที่ลงชื่อ รู้เลยว่าอีกไม่กี่วันข้างหน้า ขาที่เคยอยู่กับเรามาตลอดคงไม่มีแล้ว หนูพยายามบอกตัวเองให้ทำใจ แต่ทำได้อย่างเดียวคือหันหน้าหนีจากความจริง วันๆเอาแต่ร้องไห้ คิดอย่างเดียวคืออยากฆ่าตัวตาย ชีวิตที่เหลืออยู่เป็นสิ่งที่หนูรับไม่ได้"


     เมื่ออาการต่างๆเริ่มดีขึ้น น้าสาวพาเธอกลับมาที่กรุงเทพเพื่อหาลู่ทางศึกษาต่อ และเหมือนความบังเอิญที่ตั้งใจ ปีนั้นประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเฟสปิกเกมส์ นิภาดาจึงมีโอกาสเปิดตัวในสังคมแห่งคนพิการเป็นครั้งแรก


     "ภาพแรกที่หนูเห็นคือคนพิการกำลังปั่นรถเข็นเต็มไปหมด เป็นนักกีฬาทีมชาติทั้งนั้น ไม่อยากเชื่อเลยว่าจะมีคนพิการมากขนาดนี้ หนูรู้สึกฮึกเหิมและพูดออกไปว่า 'คอยดูนะ..สักวันหนึ่งหนูจะเป็นนักกีฬาอย่างนี้ให้ได้' "


     จากเหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้เธอมีกำลังใจแข็งแกร่งยิ่งขึ้น พยายามฝึกให้ตัวเองเคยชินกับอวัยวะชิ้นใหม่ นิภาดาสามารถเดินด้วยขาเทียมโดยไม่ใช้ไม้ค้ำยันในระยะเวลาเพียงไม่ถึงเดือน และได้รับคัดเลือกให้เป็นนักกีฬาเฟสปิกเกมส์ในประเภทแบดมินตันในที่สุด ระหว่างการเก็บตัวเตรียมการแข่งขัน นิภาดาอดทนฝึกซ้อมอย่างหนัก


     "ทีแรกหนูคิดว่าทำไมต้องทนทรมาน ทนเจ็บ แต่ถ้าถามว่าตอนนี้เป็นไง หนูดีใจที่วิ่งได้ และตอนแข่งขันโค้ชพยายามให้กำลังใจ บอกว่าไม่ต้องเครียด เราอายุน้อยกว่า ถ้าตีให้คู่ต่อสู้เคลื่อนไหวมากที่สุดโอกาสจะเป็นของเรา"


     ในที่สุด ความตั้งใจของเธอก็เป็นผล นิภาดา แสนสุภาคว้ารางวัลเหรียญทองแบดมินตันประเภทหญิงคู่ร่วมกับวันดี คำทำ ซึ่งถือเป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่สำหรับเธอ เพราะนี่คือบทพิสูจน์ว่าถ้าหากคนเราเอาชนะตัวเองได้แล้ว ชัยชนะในเรื่องอื่นๆ ก็ไม่ใช่สิ่งยากเย็นอีกต่อไป


     รู้จักมะเร็งจึงรู้จักความสุข


     "คุณเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร หมอแนะนำว่าควรผ่าตัดภายในสองอาทิตย์นี้ ไม่อย่างนั้นหมอคงช่วยอะไรไม่ได้"


     ถ้อยคำจากแพทย์ผู้วินิจฉัยเหมือนสายฟ้าที่ฟาดกลางแสกหน้าของ คุณสุปราณี พันธุ์ชัย อย่างจัง เธอแทบจินตนาการไม่ออกว่าผู้บริหารหญิงแถวหน้าที่ทำงานเก่ง มีเงินเดือนเกือบแสน มีคนนับหน้าถือตามากมาย หากต้องกลายเป็นคนไร้กระเพาะอาหาร ชีวิตจะดำเนินต่อไปอย่างไร


     "ดิฉันรับผิดชอบศูนย์คอมพิวเตอร์ของบริษัททั้งหมด ซึ่งเหมือนกับต้องทำงาน 24 ชั่วโมงเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ใช้ทุกคน ขนาดกลับบ้านแล้วก็ยังห่วงเรื่องงานตลอดเวลา สมองมันตัดไม่ได้เลยสักนาที


     "เหมือนร่างกายที่เราใช้งานหนักมาตลอดเริ่มฟ้องว่าตัวเองไม่โอเค อย่างแรกคือต่อมไทรอยด์เป็นพิษ มีอาการเหมือนคนเป็นโรคหัวใจ มือสั่น เหงื่อออกตลอดเวลา ยังไม่ทันทำอะไรก็อยากนอน อยากหลับ รู้สึกเพลียชนิดที่เรียกว่าเหมือนวิ่งทางไกลมาทั้งที่ยังไม่ได้ออกแรงทำอะไรเลย


     "ถัดมาอีกสองปีกระเพาะอาหารเริ่มเป็นแผล หิวก็ปวด อิ่มก็ปวด อาการเริ่มหนักขึ้น คือกินแล้วอาเจียนตลอด เมื่อตรวจอย่างละเอียดก็พบว่ากระเพาะอาหารมีขนาดใหญ่ผิดปกติ ต้องสอดท่อไปดู เก็บชิ้นเนื้อมาตรวจ หมอยืนยันผลว่าเป็นมะเร็งในกระเพาะ"


     ผลการผ่าตัดของเธอเป็นที่น่าพอใจ คือไม่มีมะเร็งเหลือตกค้าง แต่นั่นก็แลกมาด้วยการตัดกระเพาะอาหารทั้งใบ รวมทั้งม้ามออกไปด้วย คงเหลือไว้แต่เพียงหลอดอาหารที่ถูกต่อตรงกับเข้าลำไส้เล็ก


     "หลังจากหยอดน้ำเกลือมาสองอาทิตย์ หมอก็อนุญาตให้กินอาหารได้ ด้วยความหิวเลยกินเต็มที่…เพียงแค่รถเข็นอาหารคล้อยหลังเท่านั้นแหละ รู้สึกปวดท้องเข้าห้องน้ำ สิ่งที่ถ่ายออกมาก็คือที่เราเพิ่งเคี้ยวไปเมื่อสักครู่นี้เอง ดิฉันตกใจว่ามันเกิดอะไรขึ้นกับชีวิตเรา


     "มื้อถัดไปดิฉันมีแก๊ซในท้องมากขึ้น ในขณะที่เราค่อยๆ กลืน  แก๊ซก็ดันขึ้นจนปวดไปหมด  อาหารคาอยู่ในหลอดอาหารนานมาก พยายามดื่มน้ำช่วยก็ไม่ได้ผล เป็นวินาทีที่อึดอัดทรมาน นี่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เราต้องเผชิญ น้ำตาไหลทุกครั้งที่กินข้าว เป็นช่วงเวลาที่ดิฉันไม่รู้เลยว่าจะมีชีวิตอยู่ได้อย่างไร"
 
     คุณสุปราณีโชคดีที่มีสามีคอยดูแลให้กำลังใจ เสาะแสวงหาหนทางที่เชื่อว่าดีมาให้ทดลองปฏิบัติฟื้นฟูตนเอง ทั้งการล้างพิษ การกินอาหารตามแนวธรรมชาติบำบัด พลังจักรวาล ฯลฯ
 
     "เมื่อก่อนดิฉันเลือกร้านอาหารที่นั่งแล้วผ่อนคลาย อาหารเป็นยังไงไม่สน เพราะเราทำงานเครียดมาพอแล้ว  และบอกได้เลยว่าคนที่เป็นมะเร็งทุกคนเกลียดผัก สามีต้องบังคับแล้วบังคับอีก ดิฉันก็กินไปบ่นไป แต่การเรียนรู้เรื่องธรรมชาติบำบัดทำให้เรายอมรับได้มากขึ้น วิทยากรท่านหนึ่งพูดไว้จับใจมากว่า 'คนเป็นมะเร็งต้องกินอาหารเป็นยา กินด้วยปัญญา ไม่ใช่กินด้วยตัณหา' "

     คุณสุปราณีเคร่งครัดกับพฤติกรรมการกินมากขึ้น ในแต่ละวันต้องจัดแจงอาหารของตัวเองถึง 9 มื้อ ทำให้ฟุ้งซ่านน้อยลงแต่ก็ไม่เพียงพอสำหรับความรู้สึกของเธอ

     "ทุกๆ วันดิฉันต้องสร้างความเคยชินกับสภาพร่างกายใหม่ บอกตัวเองว่าอย่ากังวล ถ้ากินแล้วถ่าย ก็กินให้บ่อยขึ้น จากที่ไม่เคยรู้ว่าความหิวเป็นยังไง ก็เริ่มรับรู้ว่าอาการอย่างนี้คือหิวนะ แต่ตอนนั้นถึงพยายามมากแค่ไหน ดิฉันก็ยังโทรม อยากมีอะไรยึดเหนี่ยวหัวใจบ้าง และคิดว่าพระพุทธเจ้าต้องช่วยได้แน่ๆ "


     หลังจากทดลองฝึกอบรมปฏิบัติธรรมเพียง 7 วัน คุณสุปราณีพบความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด


      "วันแรกดิฉันแทบจะคลานไปเพราะร่างกายไม่เข้าที่ แต่ขากลับรู้สึกสบาย ดิฉันยิ้มและบอกกับตัวเองว่า เรามีชีวิตใหม่แล้ว ดิฉันเพิ่งตระหนักว่าคนเรามักจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ตัวเองทุกข์หรือเจ็บปวด ถ้าเราเปลี่ยนจากการจดจ่อด้วยความคิดมาจดจ่อด้วยความรู้สึก ปวดก็ปวดไป อึดอัดก็อึดอัดไป ไม่ต้องคิดมากกว่านั้น จะช่วยให้เราพ้นทุกข์ได้"


     ความทุกข์ทรมานจากความเจ็บป่วยอาจทำร้ายเธอในคราแรก ผ่านมาถึงวันนี้คุณสุปราณีกลับยินดีน้อมรับ และขอบ คุณในโชคชะตาว่านี่คือของขวัญล้ำค่าที่สุดในชีวิต

                               ------------------------------------------------------------------------
    


     เมื่อชีวิตยังดำเนินต่อไป สุข-ทุกข์เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นและสูญสิ้นได้ตลอดเวลา อย่างน้อยประสบการณ์เหล่านี้ก็ให้ข้อคิดที่ดีว่า เมื่อความทุกข์มาเยือน นอกจากการมีสติยอมรับและความตั้งใจเริ่มต้นใหม่แล้ว  บางคราวเราอาจต้องแสวงหาโอกาส และลงมือทำสิ่งนั้นด้วยความอดทน


     การุณ ตระกูลเผด็จไกร เป็นแบบอย่างที่ชัดเจนของการให้โอกาสตนเองด้วยการเข้าร่วมฝึกอบรมการพูดทางหลอดอาหาร จนมีพัฒนาการที่ดีขึ้น และสามารถนำความรู้เหล่านั้นกลับมาช่วยเหลือผู้ประสบเคราะห์กรรมเดียวกัน
 
     เช่นเดียวกับนิภาดา แสนสุภา ที่หากยังจ่อมจมกับความพิการของตนเอง เธอก็คงเป็นเพียงคนพิการธรรมดาๆ คนหนึ่ง แต่การเปิดตัวเปิดใจยอมรับโลกใบใหม่ เธอจึงได้พบว่ายังมีที่ทางอีกมากหากจะขวนขวายไขว่คว้า เธอใช้โอกาสนั้นอย่างดีมาก ถึงขนาดเป็นแชมป์เหรียญทองในการแข่งขันกีฬาเฟสปิกส์เกมส์ ทั้งที่เป็นเพียงการแข่งขันครั้งแรกเท่านั้น


     อย่างไรก็ตาม การยอมรับวิกฤติของชีวิตด้วยความนอบน้อมอาจทำให้จิตใจสงบนิ่ง และมองเห็นทางออกชัดเจนยิ่งขึ้น ดังเช่นสุปราณี พันธุ์ชัย


     บางทีคุณอาจนึกอยากขอบคุณความทุกข์เหล่านั้น ที่ช่วยให้คุณแข็งแกร่งและมีชีวิตอย่างเข้าใจโลกมากขึ้นก็เป็นได้




 



อ่านเพิ่มเติมในคอลัมน์ Health นิตยสาร Health & Cuisine ปีที่ : 2 ฉบับที่ : 24 เดือน
: มกราคม 2546






From: //healthandcuisine.com/health.aspx?cId=7&aId=189


Create Date : 18 มกราคม 2553
Last Update : 18 มกราคม 2553 20:21:48 น. 0 comments
Counter : 442 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Loveaddicted8
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add Loveaddicted8's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.