In the last analysis, our only freedom is the freedom to discipline ourselves. - Bernard Baruch
Group Blog
 
All Blogs
 
บ้านทรุดเกิดจากอะไร

ปัญหาของเสาเข็มเจาะระบบแห้งประการหนึ่งที่พบบ่อยคือ มักจะกำหนดให้ปลายเสาเข็มเจาะอยู่ในชั้นทรายหรือดินตะกอนปนทราย

นอกจากปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ในการทำเสาเข็มเจาะที่กล่าวถึงในตอนที่แล้วนั้น ปัญหาของเสาเข็มเจาะระบบแห้งประการหนึ่งที่พบบ่อยคือ มักจะกำหนดให้ปลายเสาเข็มเจาะอยู่ในชั้นทรายหรือดินตะกอนปนทราย แต่ดินทรายหรือดินตะกอนปนทรายนั้นน้ำไหลผ่านได้ง่าย

ดังนั้นเมื่อขุดเจาะดินถึงชั้นดังกล่าวน้ำใต้ดินจะไหลเข้ามาในหลุมเจาะทำให้ปลายเสาเข็มเต็มไปด้วยน้ำ ทรายใต้ปลายเสาเข็มจะอยู่ในสภาพหลวมรับน้ำหนักไม่ได้ คอนกรีตที่เทลงไปในหลุมเจาะจะกลายเป็นเทลงในน้ำ ทำให้คอนกรีตที่ปลายเสาเข็มมีคุณภาพไม่ดี เสาเข็มจึงรับน้ำหนักบรรทุกได้น้อยกว่าที่กำหนดไว้แต่แรก เมื่อขุดเจาะดินจนถึงชั้นดินที่มีน้ำ ผู้รับจ้างทำเสาเข็มมักจะแก้ปัญหาด้วยการหยุดเจาะแล้วรีบเทคอนกรีตทันทีหรือลดระดับความลึกเพื่อไม่ให้ถึงชั้นดินที่มีน้ำ

แต่การแก้ปัญหาดังกล่าวยังไม่ถูกต้องเพราะเสาเข็มจะรับน้ำหนักได้ต่ำกว่าที่ต้องการมาก อาคารหลายหลังเกิดปัญหาทรุดตัวเพราะเหตุนี้

การแก้ไขเมื่อขุดเจาะพบชั้นทรายที่มีน้ำมี 3 แนวทาง คือ

วิธีที่ 1
ลดระดับความลึกของปลายเสาเข็มและเพิ่มจำนวนเสาเข็ม อาจลดความลึกของเสาเข็มให้ตื้นกว่าเดิมได้ แต่ต้องพิจารณาสภาพของชั้นดินที่อยู่เหนือชั้นทรายว่าเป็นดินที่มีความแข็งเพียงพอหรือไม่ หากเป็นดินอ่อนหรือแข็งปานกลางไม่แนะนำให้ใช้วิธีนี้ ที่สำคัญคือควรเจาะสำรวจสภาพชั้นดินเพื่อทราบคุณสมบัติของดินและกำลังรับน้ำหนักบรรทุกของ|เสาเข็มเมื่อลดความลึก และควรเพิ่มจำนวนเสาเข็มให้เพียงพอที่จะรับน้ำหนักบรรทุกของตัวอาคารได้ (ควรปรึกษาวิศวกร)

วิธีที่ 2 ให้เปลี่ยนระดับปลายเสาเข็มไปอยู่ชั้นดินเหนียวด้านล่างใต้ชั้นดินทราย วิธีนี้จะต้องตอกปลอกเหล็กกันดินให้ลึกผ่านชั้นทรายลงไปจนปลายของปลอกเหล็กจมอยู่ในชั้นดินเหนียวแข็ง แล้วขุดเจาะดินลงไปจนถึงชั้นดินเหนียวแข็งนั้น วิธีนี้จะทำให้ได้เสาเข็มเจาะที่ดีมีกำลังรับน้ำหนักมากกว่าปลายเข็มอยู่ในน้ำ และถูกกว่าเสาเข็มเจาะระบบเปียกที่ใช้เครื่องมือชนิดสามขา แต่ต้องควบคุมให้เทคอนกรีตพ้นชั้นทรายไม่น้อยกว่า 3 เมตร ก่อนถอนปลอกเหล็ก มิฉะนั้นน้ำในชั้นทรายจะไหลดันเข้ามาได้ขณะถอนปลอกเหล็กกันดินพัง

วิธีที่ 3 ใช้เสาเข็มเจาะระบบเปียก นั่นหมายความว่าจะยังคงให้ปลายเสาเข็มอยู่ในชั้นทรายหรือดิน|ตะกอนปนทราย ถ้าเปลี่ยนระบบทำงานเป็นระบบที่ใช้สารละลายเบนโทไนท์หรือสารละลายอื่นใดที่ช่วยในการขุดเจาะก็สามารถทำได้ การทำเสาเข็มเจาะระบบเปียกสามารถใช้เครื่องมือชนิดสามขาทำได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงใช้กับเสาเข็มเจาะขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 35 เซนติเมตร ที่มีความลึกมากกว่า 20 เมตร เพราะจะควบคุมการไหลของคอนกรีตและการกำจัดตะกอนทรายที่ปลายเสาเข็มได้ยาก

โดย...ธเนศ วีระศิริ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีชนบท อาจารย์พิเศษ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
//www.posttoday.com/บ้าน-คอนโด/สารพันปัญหา/24831/บ้านทรุดเกิดจากอะไร


Create Date : 28 เมษายน 2553
Last Update : 28 เมษายน 2553 3:16:52 น. 0 comments
Counter : 1064 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ขอบฟ้าบูรพา
Location :
สมุทรปราการ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]




ผู้ประกาศกรุงเทพธุรกิจทีวี พิธีกรรายการแกะรอยหยักสมองและ World Class Smart Thai
สนใจประวัติศาสตร์ ศาสนา ปรัชญา ต่างประเทศ เทคโนโลยี สังคม และชนชั้น

ติดตามทวิตเตอร์ได้ที่ @atis_kttv นะครับ
New Comments
Friends' blogs
[Add ขอบฟ้าบูรพา's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.